ที่สหรัฐอเมริกา เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ The Columbus Dispatch รายงานข่าวโดยอ้างจากรายงานข่าวของทางสำนักข่าว Bloomberg อีกทีหนึ่งว่า IBM กำลังอยู่ระหว่างการผลักดันการแก้ไขกฎหมายบางฉบับ ที่จะทำให้ระบบประมวลผลข้อมูล Watson ของตัวเอง ไม่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA: Food and Drug Administration) ซึ่งทาง IBM พยายามผลักดันมานานกว่า 2 ปีแล้ว
เมื่อเวลา 10.35 น. ที่รัฐสภา น.ส.สฤณี อาชวานันทกุล ประธานมูลนิธิเพื่ออินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง พร้อมด้วยตัวแทนองค์กรเครือข่าย สถาบันพัฒนาสื่อภาคประชาชน มูลนิธิโลกสีเขียว และสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย ยื่นจดหมายเปิดผนึกต่อนายจุมพล รอดคำดี ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยี สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษก กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ และนายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ กมธ.ปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยี เพื่อเรียกร้องให้มีการทบทวน และเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไปต่อร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล
เมื่อช่วงบ่ายวันนี้ (1 ก.พ.) จากงานเสวนา "สิทธิเสรีภาพของประชาชนภายใต้ ร่างพรบ ความมั่นคงไซเบอร์" ที่หอสมุดสันติประชาธรรม เจริญนคร โดยมีนายอาทิตย์ สุริยวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต และนายณรงค์ศักดิ์ เนียมสอน ตัวแทนจากโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ร่วมเสวนา พร้อมทั้งพันโทกิตติภพ เธียรสิริวงษ์ ผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 19 ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจมาสังเกตการณ์
ช่วงบ่ายของวันนี้ (1 ก.พ.) มีงานเสวนา "สิทธิเสรีภาพของประชาชนภายใต้ ร่างพรบ ความมั่นคงไซเบอร์" ที่หอสมุดสันติประชาธรรม เจริญนคร โดยมีตัวแทนจากเครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen) และโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) เข้าร่วม
อย่างไรก็ตาม ก่อนเริ่มงาน เจ้าหน้าที่ทหารได้ขอเข้าร่วมงาน โดยจะเข้ามาฟังการเสวนา บันทึกภาพ พร้อมนั่งเป็นวิทยากรเองด้วยเลย แต่ก็ไม่ได้ห้ามการจัดงานแต่อย่างใด
ที่มา - ประชาไท
สรุปความจาก งานเสวนา NBTC Public Forum 1/2558 หัวข้อ "ทรัพยากรคลื่นความถี่และทิศทางการสื่อสารภายใต้ร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล" ในส่วนของการวิจารณ์ร่างกฎหมายชุดเศรษฐกิจดิจิทัล (ตอนที่ 1, ตอนที่ 2,
ปัญหาอำนาจของพ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ สร้างคำถามว่าทำไมจึงต้องมีอำนาจตามมาตรา 35(3) ที่ให้อำนาจดักฟัง และทางผู้ร่างคือสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ได้ไปออกรายการคมชัดลึก ผมเพิ่งมาฟังแล้วพบว่ามีประเด็นที่สำคัญคิดว่าต้องมานำเสนอ
แนวทางหนึ่ง คือ ใช้ป้องกันการแฮกล่วงหน้า โดยคำพูดของผอ.สพธอ. ระบุว่า "ก่อนที่ไฟจะลามบ้าน ไฟจะไหม้บ้าน รู้แล้วว่าทราฟิกแบบนี้ แพตเทิร์นแบบนี้ ทราฟิกแบบนี้มา จะมีการเจาะและจู่โจมแน่นอน" (นาทีที่ 19) การวิเคราะห์แพตเทิร์นของทราฟิกที่เข้าออกจากเซิร์ฟเวอร์ก็คือการดักฟัง โดยปกติแล้วการวิเคราะห์แบบนี้มักใช้ระบบป้องกันการโจมตีที่ตั้งไว้โดยเจ้าของเซิร์ฟเวอร์เอง แต่กระบวนการที่รัฐมาช่วยจับแพตเทิร์นทราฟิกให้คงเป็นเรื่องแปลก
เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2558 ตอนหนึ่งในงานเสวนา "ทิศทางการปฏิรูปสื่อและสิทธิเสรีภาพด้านการสื่อสารภายใต้ร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล" ของเวทีเสวนา NBTC Public Forum ซึ่งพูดถึงร่างกฎหมายสิบฉบับเกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิทัลที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติเห็นชอบในหลักการเมื่อเร็วๆ นี้ อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวถึงกรณีมีผู้แย้งว่าชุดกฎหมายเหล่านี้เป็นเรื่องความมั่นคงทางระบบสารสนเทศ ไม่ใช่เรื่องของความมั่นคงของกองทัพว่า คิดว่าไม่ได้คิดไปเอง เพราะถ้าไปดูกฎหมายทั้งสิบฉบับ ภาษาในทุกฉบับ ไม่ว่าการเอาคลื่นคืนไปให้รัฐจัดสรร การใช้คลื่นเพื่อความมั่นคง การมีคลื่นเพื่อการนั้นอย่างเพียงพอหรือว่าคณะกรรมการ โครงสร้างต่างๆ ต่างสะท้อนความคิดของคณะรัฐประหารที่ยังมีอำนาจอยู่ในขณะนี้
จีนออกกฎหมายความมั่นคงไซเบอร์ฉบับใหม่ แสดงความพยายามเข้าควบคุมคอมพิวเตอร์ทั้งระบบที่ใช้งานในอุตสาหกรรมการเงินของจีนโดยระบุว่าต้องส่งซอร์สโค้ดของซอฟต์แวร์และเฟิร์มแวร์ให้รัฐบาลจีนตรวจสอบจึงสามารถใช้งานได้ และคอมพิวเตอร์เหล่านี้จำเป็นต้องใช้กระบวนการเข้ารหัสที่ได้รับอนุมัติโดยรัฐบาลเท่านั้น
รัฐบาลจีนระบุชัดในกฎมายว่าต้องการเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดในคอมพิวเตอร์ที่ขายให้กับภาคการเงิน โดยจำเป็นต้องมีพอร์ตพิเศษเพื่อเข้าจัดการและมอนิเตอร์การทำงานได้ เป้าหมายของรัฐบาลจีนตามกฎหมายนี้ คือ การเข้าควบคุมซอฟต์แวร์ 75% ที่ให้บริการในภาคการเงินของจีนภายในปี 2019
สรุปความจาก งานเสวนา NBTC Public Forum 1/2558 หัวข้อ "ทรัพยากรคลื่นความถี่และทิศทางการสื่อสารภายใต้ร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล" หลังจากการนำเสนอสาระสำคัญของกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล โดยผู้อำนวยการ สพธอ. ก็เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยวิทยากร 3 ท่าน
พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ มีร่างออกมาโดยให้อำนาจกรรมการและเจ้าพนักงานสั่งการได้ทั้งรัฐและเอกชน รวมถึงการดักฟังโดยไม่มีการตรวจสอบมากนัก ตอนนี้กลุ่มที่กังวลต่อผลกระทบล่าสุดคือกลุ่มธนาคาร โดยนายอาทิตย์ นันทวิทยา รองผู้จัดการใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ระบุกับโพสทูเดย์ว่ากลุ่มธนาคารกำลังหารือกันถึงผลกระทบจากกฎหมายนี้ เพราะกังวลว่าอาจจะกระทบการทำงาน ความปลอดภัย และความลับของลูกค้า
ตามร่างพ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ นอกจากมาตรา 35(3) ที่ให้อำนาจการดักฟังแล้ว ยังมีมาตรา 34 ให้อำนาจในการสั่งเอกชนให้กระทำตามคำสั่งได้อีกด้วย
วันนี้ (29 ม.ค.) สำนักงาน กสทช. จัดเสวนา NBTC Public Forum 1/2558 หัวข้อ "ทรัพยากรคลื่นความถี่และทิศทางการสื่อสารภายใต้ร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล" โดยเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ "ร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล" ที่กำลังเป็นประเด็นอยู่ตอนนี้มาร่วมเสวนา
ผมไปร่วมงานช่วงเช้า และได้ขอเอกสารนำเสนอของวิทยากรมาเผยแพร่ต่อ พร้อมสรุปประเด็นของวิทยากรแต่ละท่านนะครับ (คำเตือน: ภาพประกอบเยอะหน่อย)
เริ่มจากคุณสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ที่รู้จักกันในชื่อย่อ สพธอ. หรือ ETDA ในภาษาอังกฤษ การร่างกฎหมายชุดนี้ สพธอ. ถือเป็นแกนหลัก และคุณสุรางคณาในฐานะผู้อำนวยการก็เป็นหัวหน้าทีมร่างกฎหมายทั้งหมด
เมื่อวันที่ 27 มกราคม ที่ผ่านมา คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน จัดแถลงข่าววิเคราะห์ร่างชุดกฎหมายเกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิทัล ขึ้นที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พร้อมเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณากฎหมายอย่างรอบคอบ และให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ เพื่อสร้างหลักประกันให้แก่ผู้บริโภค รวมถึงเสนอให้มีมาตรการเยียวยาความเสียหาย
ทางการไต้หวันออกกฎหมายใหม่ หวังจะให้ผู้ปกครองควบคุมบุตรหลานมิให้เล่นโทรศัพท์เป็นเวลานานเกินไป โดยคาดโทษปรับผู้ปกครองที่ละเลยเรื่องดังกล่าวสูงสุดกว่า 50,000 บาท
กฎใหม่นี้เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายป้องกันสิทธิ์และสวัสดิภาพของเด็กและเยาวชนในไต้หวัน ซึ่งแต่เดิมมีการห้ามมิให้ผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปีสูบบุหรี่, ดื่มสุรา, เคี้ยวหมาก และใช้ยา โดยตอนนี้ได้ครอบคลุมมาถึงพฤติกรรมด้านการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (ซึ่งครอบคลุมทั้งโทรศัพท์, แท็บเล็ต, คอมพิวเตอร์ รวมทั้งเครื่องเกมคอนโซลต่างๆ)
เนื้อความในกฎหมายใหม่นี้ระบุให้ผู้ปกครองควบคุมเด็กมิให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเวลานานเกินไป ทว่าระยะเวลาที่ว่า "นานเกินไป" นี้มิได้ถูกระบุไว้อย่างชัดเจนว่ากี่ชั่วโมงต่อวัน
เมื่อคืนที่ผ่านมามีผู้ใช้ KARNT บนเว็บไซต์ Pantip.com ตั้งกระทู้ "ทำไมประชาชน ทุกคน ทุกสี ทุกฝ่าย ทุกแนวคิดทางการเมือง ฯลฯ จึงควรค้าน ชุดกฎหมายความมั่นคงดิจิทัล ??!! (ลิงก์เดิม, Google Cache) แต่ถูกลบออกไปภายในเวลาไม่ถึงชั่วโมง โดยระบุเหตุผลว่า "เกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของสังคม"
นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีไอซีทียืนยันว่าพ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ที่สร้างหน่วยงานใหม่ มีอำนาจดักฟังและสั่งการเอกชน ว่าจะเดินหน้าต่อ โดยทุกอย่างยังแก้ไขได้ทั้งในชั้นกฤษฎีกาและชั้นสนช.
ทางด้านพลเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด ก็ยืนยันแบบเดียวกันว่าขณะนี้ร่างอยู่ในชั้นกฤษฎีกา และหากมีข้อทักท้วงสามารถเสนอเข้าไปยังชั้นสนช.
งานนี้คงแสดงว่า ที่ปรึกษารองนายกออกมาพูด, สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ออกมาเรียกร้อง, หรือเครือข่ายพลเมืองเน็ตเข้าชื่อหยุดกฎหมาย ยังไม่มีผลอะไรครับ
สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) ซึ่งเกิดจากบริษัทด้านสื่อรวมตัวกัน ร้องนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ให้ชะลอการพิจารณาร่างกฎหมายชุดเศรษฐกิจดิจิทัล โดยระบุว่าเนื้อหากฎหมายควบคุมมากกว่าส่งเสริม ซ้ำให้อำนาจเจ้าหน้าที่ไร้ขอบเขต-ตรวจสอบไม่ได้ ละเมิดความเป็นส่วนตัวของประชาชน โดยทางสมาคมได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มกราคมที่ผ่านมา ให้ชะลอการพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวทั้ง 10 ฉบับและเปิดการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
เนื้อหาโดยย่อของจดหมายมีดังต่อไปนี้
ประเด็นเรื่องร่างพ.ร.บ. ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ที่ถูกติงเรื่องการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวยังคงเป็นประเด็นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดนายสิทธิชัย โภไคยอุดม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ออกมาเผยว่า หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล หรือหม่อมอุ๋ย ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจออกมาแสดงความกังวลว่าตัวกฏหมายให้อำนาจรัฐมากกว่าจะส่งเสริมเศรษฐกิจตามที่ระบุไว้
เครือข่ายพลเมืองเน็ตเปิดแคมเปญรณรงค์เข้าชื่อหยุดชุดกฎหมาย “ความมั่นคงดิจิทัล” บนเว็บไซต์ Change.org โดยตั้งข้อสังเกตกฎหมายชุดดังกล่าวที่ทางคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการไปแล้ว 10 ฉบับ และยังรอพิจารณาในขั้นตอนต่างๆ อีกอย่างน้อย 3 ฉบับ ว่าแม้บางส่วนจะเป็นประโยชน์ แต่ในภาพรวมแล้ว ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนและผู้ประกอบการในหลายด้าน ผูกขาดการเข้าถึงทรัพยากร ไม่ได้ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลดังที่กล่าวอ้าง
ประเด็นหลักๆ ที่ทางเครือข่ายพลเมืองเน็ตหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นสำคัญของแคมเปญนี้ได้แก่
ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ยังเป็นประเด็นข่าวอย่างต่อเนื่อง ทาง Blognone เคยเสนอเนื้อหาบางส่วนของร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ไปแล้ว แต่ก็เป็นการดีที่เราจะพิจารณาร่างกฎหมายจากหลายมุมมอง
โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) มีบทความสรุปประเด็นและแสดง "ข้อกังวล" ต่อร่างกฎหมายฉบับนี้ เราเลยนำมาเผยแพร่ต่อเพื่อให้กระจายข้อมูลกันในวงกว้างมากขึ้น ประเด็นสำคัญได้แก่
ประเด็นเรื่องการให้ผ่าน พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่เมื่อวานนี้นักข่าวถามพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แล้วได้คำตอบที่อาจจะสั้นเกินไป วันนี้ในระหว่างการเปิดประชุมสัมมนาการเตรียมการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2559 ของสำนักงบประมาณ นายกรัฐมนตรีได้ออกมาชี้แจงเรื่องนี้อย่างละเอียดอีกครั้ง
นายกรัฐมนตรีระบุว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์นั้นไม่ได้ทำมาเพื่อล้วงตับใคร ไม่ได้ทำมาเพื่อปิดกั้น แต่ทำมาเพื่อจัดการกับพวกหมิ่น ส่วนใครจะพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือบริการใดๆ เรื่องส่วนตัวพวกนั้นจะไม่มีใครไปยุ่ง ยกเว้นแต่ว่าทำผิดก็ต้องเข้าไปดูแล ที่ต่างชาติมีเว็บไซต์เหล่านั้นแล้วอยู่ได้เพราะเขาไม่มีกฏหมายแบบบ้านเรา
พ.ร.บ. ความมั่นคงไซเบอร์ ผ่านมติคณะรัฐมนตรีในช่วงเห็นชอบหลักการ แต่ถูกวิจารณ์จากหลายหน่วยงานว่ามีปัญหาละเมิดสิทธิ์ วันนี้นักข่าวก็เข้าไปถามพลเอกประยุทธ์ถึงเหตุผลที่ต้องออกกฎหมายนี้ ก็ได้คำตอบมาว่า "จะผ่านแล้วจะทำไม ไม่งั้นจะเป็นนายกไปทำไม"
ผมเขียนข่าวถึงกฎหมายฉบับนี้ครั้งแรกที่เห็นร่างว่า "ขอให้ทุกท่านโชคดี" ตอนนี้ก็คงต้องพูดคำเดิมอีกครั้งครับ
ที่มา - @WassanaNanuam
ร่าง พ.ร.บ. กสทช. ฉบับใหม่ ถือเป็นร่างกฎหมายด้านเศรษฐกิจดิจิทัลอีกฉบับที่ผ่านมติคณะรัฐมนตรี และกำลังจะเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
บทความนี้จะอธิบายว่าบทบาทของ กสทช. ภายใต้ "ร่าง" กฎหมายฉบับใหม่นั้นต่างจากกฎหมายฉบับปัจจุบันอย่างไรบ้าง
จากร่างกฎหมายด้านเศรษฐกิจดิจิทัลชุดใหม่ 10 ฉบับ ที่เพิ่งผ่านมติคณะรัฐมนตรีไปเมื่อเร็วๆ นี้ ถ้าอ่านร่างกฎหมายอย่างละเอียด (ดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ Thai Netizen)จะพบว่าหน่วยงานด้านไอซีทีของประเทศไทยจะถูกเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
เนื่องจากรายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงมีมากพอสมควร ผมขอสรุปเป็นแผนผังและข้อมูลคร่าวๆ ตามนี้ครับ (หมายเหตุ: ผมอ่านกฎหมายแล้วมีความเห็นต่างจาก แผนผังของ Thai Netizen อยู่บ้างบางจุด แต่หลักๆ แล้วเหมือนกัน)
หลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎหมายด้านดิจิทัล 8 ฉบับรวด (รวมทั้งชุด 10 ฉบับ) ก็เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงร่างกฎหมายชุดนี้ตามมา (ดูรายละเอียดของ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และ เปิด ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่)
กระทรวงมหาดไทยของญี่ปุ่นออกร่างแนวทางการให้บริการอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ตำรวจสามารถสอบสวนคดีได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยเริ่มขอให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเก็บล็อก
คาดว่าร่างแนวทางนี้จะไม่ได้เป็นข้อบังคับตามกฎหมาย แต่เป็นการขอความร่วมมือกับผู้ให้บริการรายใหญ่ที่มีศักยภาพ เพื่อให้ตำรวจสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น โดยสาเหตุที่กระทรวงมหาดไทยไม่บังคับแนวทางนี้เป็นกฎหมายเพราะญี่ปุ่นมีกฎการรักษาความเป็นส่วนตัวของประชาชนที่เข้มงวด การบังคับเก็บข้อมูลไว้ในเซิร์ฟเวอร์เช่นนี้ทำให้ผู้ให้บริการต้องเก็บข้อมูลจำนวนมากและทำตามแนวทางการรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ไปพร้อมกัน ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง และกระทบต่อกิจการขนาดเล็ก