ปัญหาการกลั่นแกล้งผู้อื่นผ่านโลกออนไลน์ (cyber bullying) ทำให้หลายประเทศเริ่มร่างกฎหมายฉบับใหม่เพื่อใช้ลงโทษผู้ที่ทำความผิดนี้โดยเฉพาะ นิวซีแลนด์ถือเป็นประเทศหนึ่งที่ได้อนุมัติกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว
ในงานเสวนา "เช็ค ก่อน แชร์ ข้อมูลโซเชียลมีเดีย" ซึ่งจัดโดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA (เอ็ดด้า) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระบุว่า การส่งต่อข้อมูลที่ผิดพลาดลงโซเชียลมีเดียจะส่งผลกระทบต่อสังคม ซึ่งมีข้อดีคือทำให้คนระมัดระวังตัวมากขึ้น แต่ข้อเสียคือทำให้ผู้คนตื่นตระหนก ผู้ที่ใช้โซเชียลมีเดียควรระมัดระวังว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นจริงหรือไม่ เพราะหากเกิดความเสียหายใดๆ ขึ้น ทั้งคนโพสต์, แชร์ และไลค์ก็ล้วนแล้วแต่มีความผิดด้วยกันทั้งหมด
นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ที่ประชุมคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิปรัฐบาล) ปรับแก้ร่าง พ.ร.บ.การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ฉบับล่าสุด ให้เพิ่มโทษด้านความมั่นคงมากขึ้น
นายสุวพันธุ์ให้สัมภาษณ์ว่า "ได้ให้พิจารณาการเพิ่มโทษด้านความมั่นคงมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้อินเทอร์เน็ตที่กระทบต่อความมั่นคงหรือกระทบต่อความสงบเรียบร้อย รวมถึงการเข้าถึงข้อความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ ซึ่งเราอยากให้กฎหมายตัวนี้บังคับใช้เร็วที่สุด เชื่อว่าจะออกมาทันกับสถานการณ์ในปัจจุบันแน่นอน"
วุฒิสภาออสเตรเลียผ่านกฎหมายเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ กฎหมายดังกล่าวมีเนื้อหาสำคัญคือ ให้อำนาจศาลในการวินิจฉัยออกคำสั่งบังคับให้ผู้ให้บริการในประเทศปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ต่างประเทศที่อำนวยความสะดวกในการดาวน์โหลดเนื้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ อาทิ ภาพยนตร์ ละคร หรือเพลง เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าระหว่างการพิจารณากฎหมายดังกล่าว พรรคกรีนของออสเตรเลียได้พยายามแก้ไขเนื้อหากฎหมายเล็กน้อย โดยพยายามเพิ่มเนื้อหาให้ครอบคลุมถึง "เว็บไซต์ที่เล็งเห็นได้ว่าอาจเป็นต้นทางของการอำนวยความสะดวกในการละเมิดลิขสิทธิ์" และให้บัญญัติอย่างชัดแจ้งว่า "ไม่รวมไปถึงการปิดกั้นการเข้าถึงเนื้อหาดังกล่าวด้วย VPN" แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
ที่ผ่านมา Uber มักจะบอกว่าคนขับรถบนแพลตฟอร์มของตัวเองนั้นไม่ใช่ลูกจ้าง แต่เมื่อวานนี้ (ตามเวลาในประเทศไทย) คณะกรรมการแรงงานของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มีคำสั่งให้ Uber ต้องจ่ายเงินให้กับผู้ขับรายหนึ่ง ที่ยื่นเรื่องร้องเรียน พร้อมกับระบุว่าพฤติการณ์ของ Uber มีลักษณะเหมือนเป็นนายจ้าง ทำให้คนขับรถบนแพลตฟอร์ม ถูกพิจารณาว่าเป็นลูกจ้างไปด้วย
สภาผู้แทนสหรัฐฯ ผ่านร่างกฎหมายป้องกันภัยไซเบอร์สองฉบับที่เปิดช่องให้บริษัทเอกชนสามารถแบ่งปันข้อมูลการโจมตีกับรัฐบาล เพื่อประสานงานป้องกันระหว่างกันโดยบริษัทที่เข้าร่วมจะได้รับความคุ้มครองจากการฟ้องร้องในกรณีที่มีข้อมูลส่วนตัวรั่วไหล
กฎหมายสองฉบับได้ แก่
รัฐบาลเยอรมัน โดยกระทรวงยุติธรรมและคุ้มครองผู้บริโภค (Ministry of Justice and Consumer Protection) ได้เสนอร่างรัฐบัญญัติฉบับใหม่ที่จะบังคับผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร ต้องจัดเก็บข้อมูล (data retention) ด้านการสื่อสารเอาไว้นานสูงสุด 10 สัปดาห์ และข้อมูลที่สามารถระบุพิกัดหรือตำแหน่งได้นานสูงสุด 4 สัปดาห์ ก่อนจะต้องลบทิ้ง
อาจไม่ใช่ข่าวดีสำหรับชาวรัสเซียนัก เมื่อ Roskomnadzor หน่วยงานที่รับผิดชอบและควบคุมอินเทอร์เน็ต สื่อมวลชน และการสื่อสารของรัสเซีย ออกมาระบุว่าการโพสต์รูปแบบแบบ meme (ภาพที่เอาหน้าคนมาตัดต่อแล้วใส่ข้อความ) เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับภาพของบุคคลสาธารณะ (public figures) ในประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์หรือตัวตนของคนๆ นั้น
สาเหตุที่กลายเป็นประเด็นขึ้นมา เพราะ Valeri Syutkin นักร้องชาวรัสเซีย ไม่พอใจที่ถูกนำภาพของตัวเองไปใส่คำพูดที่เป็นเนื้อหาของศิลปินอีกคนหนึ่งและมีเนื้อหาที่ค่อนข้างหยาบคาย จึงนำคดีขึ้นสู่ศาลและชนะคดีในที่สุด ทำให้ทาง Roskomnadzor ต้องแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับการตัดสินดังกล่าวนี้ด้วย
ที่ราชอาณาจักรสเปน กลุ่มนักเคลื่อนไหวทางการเมืองได้ออกมาประท้วงกฎหมายฉบับใหม่ที่มีสาระซึ่งเป็นการจัดระเบียบการประท้วงภายในราชอาณาจักร (เช่น จัดการประท้วงโดยไม่บอกรัฐบาลล่วงหน้า หรือไม่เชื่อคำสั่งของเจ้าหน้าที่ตำรวจ) แต่การจัดประท้วงกฎหมายฉบับนี้ภายใต้สภาวะที่กฎหมายฉบับนี้บังคับใช้แล้วอาจจะไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก กลุ่มนักเคลื่อนไหวจึงจัดประท้วงด้วยการฉาย "โฮโลแกรม" การประท้วงในครั้งนี้แทน
หลังจากที่เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา FCC ลงมติ 3-2 ให้บังคับใช้กฎตัวใหม่ที่จะบังคับใช้หลักเกณฑ์ Net Neutrality กับผู้ให้บริการโทรคมนาคมทุกรายในสหรัฐอเมริกา มาตอนนี้หลังจากที่หลักเกณฑ์ดังกล่าวประกาศใช้ในกิจจานุเบกษาของรัฐบาลกลาง (Federal Register) กลุ่มบริษัทผู้ให้บริการโทรคมนาคมซึ่งได้รับผลกระทบ ได้ดำเนินการฟ้องร้องทันที
แม้จะยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับการฟ้องร้องในครั้งนี้ รวมไปถึงว่ายื่นฟ้องที่ศาลในระดับใด แต่ที่ชัดเจนคือผู้ยื่นฟ้อง โดยเป็น USTelecom ซึ่งระบุว่าตัวเองเป็นตัวแทน (represents) บริษัทด้านโทรคมนาคมของสหรัฐฯ แต่ไม่เปิดเผยว่าเป็นตัวแทนของใครบ้าง ยื่นเรื่องฟ้องศาลให้ยกเลิกการบังคับใช้กฎดังกล่าวนี้
เมื่อวานนี้นอกจากจะมีงานแถลงข่าวความคืบหน้าของชุดร่างกฎหมายความมั่นคงไซเบอร์ที่จัดโดย สพธอ. ตามข่าวเก่า ที่รัฐสภาก็มีข่าวเกี่ยวกับชุดกฎหมายดิจิทัลเหมือนกัน
เมื่อวานนี้ในที่ประชุมสภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช. ) ได้มีการพิจารณาและลงมติเกี่ยวกับรายงานผลการพิจารณาศึกษากฎหมายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ของคณะกรรมาธิการการปฎิรูปการสื่อสารมวลชนเทคโนโลยีสารสนเทศ สปช. โดยมีผลการลงมติ เห็นชอบต่อรายงานนี้ 163 คะแนน ไม่เห็นด้วย 4 คะแนน และงดออกเสียง 13 เสียง จากจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม 180 คน
เนื้อหาสำคัญของผลการศึกษานี้ประกอบด้วย
วันนี้เมื่อช่วงบ่าย สำนักพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) นำโดย นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ สพธอ. จัดงานพบปะกับสื่อมวลชนเพื่อแถลงความคืบหน้าของร่างพระราชบัญญัติจำนวน 10 ฉบับ ที่เรียกกันว่าชุดกฎหมายดิจิทัล (ติดตามอ่านเพิ่มเติมจากข่าวเก่าๆ ในหมวด) โดยระบุว่ามีการเปลี่ยนแปลงเรื่องของตัวร่างค่อนข้างมาก ผมขออนุญาตสรุปคร่าวๆ ดังนี้นะครับ
เครือข่ายพลเมืองเน็ตเผยแพร่บทความสัมภาษณ์ ศ.ดร.กาญจนา กาญจนสุต หนึ่งในผู้บุกเบิกอินเทอร์เน็ตไทย ด้วยการนำอีเมลเข้ามาใช้ในไทยตั้งแต่ช่วงปลายยุค 1980 เธอระบุว่าที่ผ่านมาอินเทอร์เน็ตไม่ได้พึ่งภาครัฐนัก และการที่รัฐมาตื่นตัวก็เป็นเรื่องที่ดี
อย่างไรก็ดีเธอแสดงความเห็นเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ. เศรษฐกิจดิจิทัลทั้งสิบฉบับ "เท่าที่สังเกตดู ร่างพ.ร.บ.เหล่านี้เขียนมาโดยคนที่ไม่ค่อยซาบซึ้งกับพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต คิดว่ามันจะเป็นอุปสรรคในการเจริญเติบโตมากกว่าจะส่งเสริม ในขณะที่รัฐบาลต้องการที่จะทำให้เกิดเศรษฐกิจดิจิทัล กฎหมายทั้ง 10 ฉบับนี้จะทำให้เป็นอุปสรรคมากกว่า"
กฎหมาย Religious Freedom Restoration Act ให้สิทธิ์กับร้านค้าต่างๆ สามารถปฎิเสธให้บริการลูกค้าที่มีความหลากหลายทางเพศ ทางรัฐอินเดียน่าเพิ่งผ่านเป็นกฎหมายรัฐเมื่อวันที่ 26 มีนาคมที่ผ่านมา ตอนนี้ทำให้บริษัทไอทีและงานอีเวนต์สำคัญเริ่มประท้วงกฎหมาย ด้วยการประกาศย้ายที่จัดงานไปจนถึงการงดเข้าร่วมงาน
หลังจากที่มีการถกเถียงกันอย่างหนักถึงกฎหมายการเก็บล็อกของออสเตรเลีย โดยเฉพาะประเด็นค่าใช้จ่าย ในที่สุดวันนี้ วุฒิสภาของออสเตรเลียได้อนุมัติให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ ผ่านการพิจารณาแล้ว ซึ่งขั้นตอนจากนี้คือการประกาศใช้ร่างกฎหมายให้บังคับใช้ต่อไป
สิ่งที่น่าสนใจคือ สมาชิกสภาของสองพรรคใหญ่ในออสเตรเลีย คือพรรคเสรีนิยมออสเตรเลีย (Liberal) และพรรคแรงงาน (Labor) ต่างเห็นด้วย (bipartisan) กับกฎหมายฉบับนี้ ส่วนตัวแทนจากพรรคกรีนของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นฝ่ายลงมติคัดค้านในวุฒิสภา ระบุว่า กฎหมายฉบับนี้เปิดทางให้มีการสอดส่อง (surveillance) เป็นวงกว้าง และแสดงความผิดหวังที่ร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านการลงมติ
ช่วงนี้รัฐบาลออสเตรเลียกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณากฎหมายบังคับเก็บล็อกว่ามีผลกระทบต่อผู้ให้บริการมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ในรายงานของวุฒิสภาระบุว่าการศึกษาโดย PricewaterhouseCoopers ประมาณค่าใช้จ่ายการเก็บล็อกผู้ใช้อยู่ที่ 1.83-6.12 ดอลลาร์ออสเตรเลียต่อคนต่อปีเมื่อเฉลี่ยค่าใช้จ่ายตลอดสิบปี
ข้อโต้แย้งจากภาคธุรกิจออสเตรเลียออกมาระบุว่าหากรัฐบาลต้องการบังคับเก็บล็อกจริงก็ควรรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเหล่านี้เอง แต่จนตอนนี้รัฐบาลออสเตรเลียก็ยังไม่ได้ออกมาเสนอว่าจะช่วยเหลือภาระการติดตั้งระบบล็อกมากน้อยแค่ไหน ทางฝั่งรัฐบาลระบุว่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นในช่วงการพิจารณางบประมาณประจำปีในเดือนพฤษภาคม
รัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกา ภายใต้การนำของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ประกาศเผยแพร่ร่างรัฐบัญญัติว่าด้วยการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน (Consumer Privacy Bill of Rights Act of 2015) ซึ่งเคยมีการเผยแพร่ร่างฉบับแรกเมื่อปี 2012 มาก่อนแล้ว
สุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.), สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และหัวหน้าทีมร่างกฎหมายชุดเศรษฐกิจดิจิทัล ไปร่วมงานเสวนา “Digital Economy, เปลี่ยนผ่านหรือเปลี่ยนกลับ? ตลาดแข่งขันเสรีหรือรัฐวิสาหกิจ?” ของคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวานนี้ (25 ก.พ.)
สุรางคณา เผยความคืบหน้าของร่างกฎหมายว่าจะต้องปรับแก้ถึง 70% ของร่างเดิม รายการเปลี่ยนแปลงที่กล่าวถึงได้แก่
ที่ประเทศออสเตรเลีย รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี Tony Abbott กำลังพยายามผลักดันร่างรัฐบัญญัติการเก็บข้อมูล ซึ่งจะมีผลทำให้บริษัทโทรคมนาคมต้องเก็บข้อมูลการจราจรของการสื่อสารต่างๆ เป็นระยะเวลานาน 2 ปี (ของบ้านเราอยู่ที่ 90 วัน) และเป็นที่แน่นอนว่าถูกต่อต้านอย่างหนักหน่วงจากบริษัทผู้ให้บริการโทรคมนาคมในประเทศ รวมถึงกลุ่มที่มองว่าเป็นการคุกคามสิทธิส่วนบุคคล
เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2558 ในงานประชุม "เวทีประชาสังคมไทยว่าด้วยการอภิบาลอินเทอร์เน็ต" ที่มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น อานนท์ ชวาลาวัณย์ เจ้าหน้าที่ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ได้กล่าวในหัวข้อเรื่อง ผลกระทบทางการเมืองต่อบรรยากาศโลกออนไลน์
กฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัลที่กลายเป็นเรื่องของความมั่นคง (และการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลก็กลายเป็นการยืนยันสิทธิการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล) เมื่อวานนี้ เมธินี เทพมณี ปลัดกระทรวงไอซีทีให้สัมภาษณ์นักข่าวในงานเสวนาของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ยอมรับถึงปัญหาว่าบริษัทต่างชาติไม่กล้าเอาเซิร์ฟเวอร์มาไว้ในไทย โดยทางออกที่เสนอคือ ผ่อนปรนกฎหมายบางฉบับ บางมาตรา ให้กับบริษัทต่างชาติที่ต้องการเอาเซิร์ฟเวอร์มาวางไว้ในประเทศไทย
เมธินี ระบุว่าแนวทางนี้มาจากแนวทางของ BOI (ซึ่งยกเว้นภาษีให้กับการลงทุนเพื่อการส่งออก) โดยยกตัวอย่างไปถึงพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ที่บังคับเก็บล็อก ในงานนักข่าวถามว่าแนวทางนี้จะกลายเป็นสองมาตรฐานกับบริษัทไทย ทางปลัดก็รับเรื่องไปพิจารณา
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 ได้มีการเสวนาในหัวข้อ "บทบาท กสทช.
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 ราชกิจจานุเบกษาได้ลงประกาศพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558 โดยเพิ่มเติมเนื้อหา "ข้อมูลการบริหารสิทธิ" (Rights Management Information) เป็นข้อมูลบ่งชี้ในตัวผลงานอันมีลิขสิทธิ์ และ "มาตรการทางเทคโนโลยี" (Technological Measures) คือเทคโนโลยีให้ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (เช่น การเข้ารหัสหรือถอดรหัส การตรวจสอบสิทธิใช้งาน) ให้มีผลคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์
เมื่อวานนี้ (6 ก.พ.) ตัวแทนสมาคมวิชาชีพด้านสื่อและไอทีหลายราย เช่น สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ, สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, สมาคมผู้ดูแแลเว็บไทย, สมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต, สมาคมผู้ผลิตสื่อออนไลน์, กลุ่มอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ได้เข้าพบนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เพื่อเสนอความเห็นต่อร่างกฎหมายดิจิทัล 10 ฉบับ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในชั้นของคณะกรรมการกฤษฎีกา
นายวิษณุ ให้สัมภาษณ์หลังการพูดคุยว่ารัฐบาลต้องการรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยยอมรับว่าร่างกฎหมายชุดนี้มีปัญหาจริงใน 3 ประเด็น คือ
เราอ่านความเห็นของนักวิชาการหลายรายเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.เศรษฐกิจ-ความมั่นคงไซเบอร์ 10 ฉบับกันมาเยอะแล้ว คราวนี้มาดูความเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงคือกรรมการ กสทช. 3 ท่าน ได้แก่
ที่ร่วมกันแสดงความเห็นเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ชุดนี้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานของ กสทช. คือ ร่าง พ.ร.บ.กสทช. ฉบับใหม่, ร่าง พ.ร.บ.กองทุนดิจิทัลฯ และความสัมพันธ์ระหว่าง กสทช. กับคณะกรรมการดิจิทัลแห่งชาติฯ ครับ
ความเห็นของ กสทช. อ่านได้จากเอกสารฉบับเต็มท้ายข่าว ประเด็นโดยสรุปมีดังนี้
ปัญหาของกระบวนการออกกฎหมาย