ประเด็นที่ถกเถียงกันมากใน ร่าง พ.ร.บ. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่ คือ มาตรา 20 เรื่อง "การระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์" ที่เป็นความผิด, อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคง, เป็นความผิดตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา, มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ออกจากระบบคอมพิวเตอร์
ในมาตรา 20 ของ พ.ร.บ. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ ประกาศหลักเกณฑ์ ระยะเวลา และวิธีการปฏิบัติสำหรับการระงับทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูล ของเจ้าหน้าที่หรือผู้ให้บริการ โดยในกฎหมายไม่ได้ให้รายละเอียดว่าประกาศฉบับนี้จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร
ความเคลื่อนไหวล่าสุดเรื่องการต่อต้านร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คือมีผู้มาลงชื่อไม่เห็นด้วยใน Change.org กว่า 1.8 แสนรายแล้ว ด้านพล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ประธาน กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ สภานิติบัญญ
iLaw หรือโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน เรียกร้องให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ยับยั้งร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่ผ่านวาระ 2 ไปแล้ว และกำลังจะเข้าสู่วาระ 3 ในวันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคมนี้ นอกจากนี้ iLaw ยังเชิญชวนประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับร่างให้เขียนจดหมายถึง สนช. ทุกช่องทาง ทั้ง Facebook Twitter และอีเมลของสมาชิก สนช.
ILaw สรุปข้อคิดเห็นสำคัญต่อร่างนี้ไว้ 2 หัวข้อใหญ่ คือ
งานสัมมนา"เกาะขอบสนามสนช. วิเคราะห์ พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ" จัดโดยเครือข่ายพลเมืองเน็ต ILaw และ SEAPA หรือสมาคมผู้สื่อข่าวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดขึ้นช่วงเวลาเดียวกันกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จัดงานสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่กำลังเป็นประเด็นในขณะนี้
Alibaba และ Tencent สองบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ของจีนพร้อมใจกันออกมาสนับสนุนกฎหมายความมั่นคงไซเบอร์ฉบับใหม่ ที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐบาล
ทั้งสองบริษัทยังสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในด้านการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ให้มากยิ่งขึ้น
ขณะที่กฎหมายฉบับใหม่นี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากบริษัทไอทีต่างชาติอย่างหนัก จากมาตรการการสอดส่อง (surveillance) ต่างๆ รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลของภาครัฐ ส่วนรัฐบาลจีนอ้างว่า เพื่อป้องกันและลดภัยคุกคามต่อุตสาหกรรมสำคัญ รวมถึงรับมือภัยก่อการร้าย ซึ่งแน่นอนว่าทั้ง Alibaba และ Tencent แทบไม่ได้รับผลกระทบหรือการเปลี่ยนแปลงจากนโยบายนี้
กระบวนการพิจารณาร่างพรบ.คอมพิวเตอร์ชุดใหม่ พร้อมกับร่างประกาศกระทรวงประกอบกับพรบ. นอกจาก "หลักเกณฑ์ ระยะเวลา และวิธีการปฏิบัติสำหรับการระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ให้บริการ" แล้ว ร่างอีกฉบับหนึ่งที่สำคัญใกล้เคียงกัน คือ "ขั้นตอนการแจ้งเตือนการระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์และการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์"
ประกาศนี้ระบุถึงธุรกิจ 4 ประเภทที่ไม่ถือเป็นการร่วมมือหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดจากการให้บริการ ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 15 ของพรบ.คอมพิวเตอร์
บริการ 4 ประเภท ได้แก่
สถานการณ์การรักษาความมั่นคงในอังกฤษมีความคืบหน้าในวันนี้ คือ ร่างกฎหมาย Investigatory Powers ที่ให้อำนาจเจ้าหนาที่สืบสวนในการเข้าถึงข้อมูลอุปกรณ์ไอทีต่างๆ ผ่านสภาในอังกฤษทั้งสองสภาแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายเหลือเพียงพระราชินีลงนามยอมรับเท่านั้น
กฎหมายตัวนี้มีการถกเถียงกันมานานเป็นปี เพราะฝั่งปกป้องสิทธิมนุษยชนเห็นว่ากฎหมายนี้ละเมิดความเป็นส่วนตัว เนื้อหาของกฎหมายฉบับนี้ครอบคลุมและมีอำนาจจัดการในเรื่องต่างๆ ดังนี้
ร่างกฎหมายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ฉบับใหม่ของไต้หวันกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา แต่เนื้อหาเบื้องต้นก็ออกมาแล้วว่าจะมีการแบ่งหน่วยงานรัฐออกเป็นสามระดับ A, B, และ C
หน่วยงานระดับ A เป็นหน่วยงานที่มีข้อมูลสำคัญยิ่งยวด เช่น สำนักงานประธานาธิบดี, สำนักงานความมั่นคง, กระทรวงกลาโหม หน่วยงานเหล่านี้ทั้งหมด 123 หน่วยงานจะถูกตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยปีละสองครั้ง และจะต้องจัดซ้อมการโจมตีไซเบอร์เองอีกปีละครั้ง และการเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดจะต้องมีการยืนยันตัวตนก่อนเข้าถึงทุกกรณี รวมถึงผู้ใช้งานระบบจะต้องได้รับการรับรองก่อนทั้งหมด
แม้แต่หน่วยงานที่สำคัญน้อยลงมา เช่น สำนักงานการบินพลเรือน, กรมอุตุนิยมวิทยา, หรือระบบคอมพิวเตอร์ของส่วนปกครองท้องถิ่นขนาดใหญ่ ก็จะอยู่ใต้ระดับ A เช่นกัน
ผู้ใช้ไวไฟชาวฝรั่งเศสรายหนึ่ง อายุ 18 ปี ถูกฟ้องข้อหาสนับสนุนการก่อการร้าย หลังเจ้าตัวตั้งชื่อไวไฟของตัวเองว่า "Daesh 21" โดย Daesh เป็นตัวย่อในภาษาอารบิกของกลุ่ม Isis และ 21 ตามบริบทนี้หมายถึงหมายเลขของ Côte d’Or เป็นจังหวัดทางตะวันออกของฝรั่งเศส ที่มีเมือง Dijon ที่ผู้ชายคนนี้อาศัยอยู่
ตามข้อหาจากกฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายฉบับใหม่ของฝรั่งเศส ออกเมื่อปี 2014 ถือว่าเป็นอาชญากรรม หากมีพฤติกรรมสนับสนุน กระตุ้นการก่อการร้าย หรือยกย่องการกระทำดังกล่าว และมีการเผยแพร่ต่อสาธารณชน หากศาลตัดสินออกมาว่าเขาผิด จะถูกลงโทษจำคุกห้าปี ปรับ 75,000 ยูโร หรือ 83,000 ดอลลาร์ และโทษจะเพิ่มขึ้นเป็นจำคุก 7 ปี ปรับ 100,000 ยูโร หรือ 111,000 ดอลลาร์ หากการกระทำผิดนั้นใช้บริการการสื่อสารออนไลน์
คณะกรรมการประจำกรมการเมืองของจีน (Politburo Standing Committee of the Communist Party of China - PSC) ซึ่งมีหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบายของประเทศ กำลังพิจารณาร่างกฎหมายด้านความมั่นคงไซเบอร์ ที่ทางการจีนสามารถเอาผิด จับกุมและลงโทษแฮกเกอร์ต่างชาติตามเห็นสมควร รวมถึงสามารถยึดทรัพย์สินเป็นของกลางได้
นอกจากนี้ร่างกฎหมายนี้ยังบังคับให้อุตสาหกรรมและภาคส่วนต่างๆ ของรัฐอาทิ ฝ่ายประชาสัมพันธ์, พลังงานและการเงิน ต้องปรับปรุงและออกมาตรการด้านความปลอดภัยไซเบอร์เพิ่มเติม รวมถึงมีการพูดถึงระเบียบใหม่ที่ว่าด้วย การเก็บและเข้าถึงข้อมูลประชาชนของเจ้าหน้าที่รัฐด้วย
วันนี้เว็บราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่คำสั่ง ม.44 จัดตั้งสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ มาทำหน้าที่แทน หน่วยงานสามหน่วยงาน ได้แก่ สภาวิจัยแห่งชาติ, คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ, และคณะกรรมการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ
สภานี้ประกอบไปด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจำนวนมาก (22 รายการจาก 36 รายการ) รวมถึงประธานสภา/กรรมการ/ที่ประชุม ต่างๆ ขณะที่มีผู้ทรงคุณวุฒิไม่ระบุสาขา 8 คน
ประชาชนในมาเก๊ามากกว่า 300 คน ได้ออกมาเดินประท้วงเมื่อวานนี้ เรียกร้องให้ทางการปรับเปลี่ยนแก้ไขข้อกฎหมาย เพื่อให้ Uber และบริการเรียกรถอื่นๆ มีสภาพเป็นธุรกิจบริการที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยผู้ประท้วงได้เดินตามถนนจากจัตุรัส Tap Seac ไปยังสำนักงานรัฐของมาเก๊าที่ Avenida da Praia Grande
การประท้วงครั้งนี้มีขึ้นหลังจากที่ Uber ประกาศเตรียมปิดบริการในมาเก๊าหลังวันที่ 9 กันยายนที่จะถึงนี้ หลังประสบปัญหามากมายในการทำธุรกิจ ซึ่งมีทั้งเรื่องบทลงโทษต่อผู้ขับขี่, ปัญหาการคุกคามลูกค้าผู้ใช้บริการ ตลอดจนความหละหลวมของภาครัฐที่ควรจะบังคับใช้กฎหมายควบคุมบริการรถโดยสารอย่างเท่าเทียมและมีประสิทธิภาพ
คงจะจำกันได้เรื่องที่แชทบ็อตให้คำปรึกษาด้านกฎหมายช่วยคนชนะคดีเจอใบสั่งในที่ห้ามจอด โดยแชทบ็อตดังกล่าวมาจากบริษัท DoNotPay ในอังกฤษ ก่อตั้งโดย Joshua Browder อายุ 19 ปี ล่าสุด Browder สร้างผลงานใหม่ ด้วยการให้แชทบ็อตหาที่อยู่อาศัยให้คนไร้บ้าน
Mark Correia นักแสดงตลกชาวโตรอนโต โพสต์คลิปล้อเลียนที่ตัวเองเล่นเกมโปเกมอนในสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตราย แต่ในคลิปมีตอนที่ Correia ลงไปจับโปเกมอนบนรางรถไฟใต้ดินด้วย (นาทีที่ 0.25) งานนี้เลยเป็นเรื่องขึ้นมา
หน่วยงานคมนาคมทางรถไฟในเมืองโตรอนโตเห็นว่าสิ่งที่ Correia ทำนั้นอันตรายมาก กลัวว่าจะมีใครทำตาม จึงแจ้งจับเขาข้อหาเข้าไปบนรางรถไฟใต้ดินโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีอำนาจหน้าที่ให้เข้าไปในนั้น ไม่ถึงกับจำคุกแต่ต้องเสียค่าปรับเป็นเงิน 425 ดอลลาร์ กลายเป็นว่าจากที่ Correia พยายามจะเตือนผู้เล่นคนอื่นกลับโดนซะเอง
ที่มา - Polygon
dtac เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม และเสนอให้มีการแก้ร่างใน 3 ประเด็นสำคัญ ดังนี้
ถึงแม้จะเผชิญปัญหาด้านกฎหมายในหลายๆ ประเทศ แต่ในตลาดที่ใหญ่อย่างจีนกลับไม่เป็นปัญหาแล้วสำหรับ Uber รวมถึง Didi Chuxing คู่แข่งท้องถิ่นด้วย หลังรัฐบาลจีนเปิดทางให้การนำรถส่วนตัว มาให้บริการในลักษณะคล้ายแท็กซี่ไม่ผิดกฎหมายอีกต่อไป โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 1 พฤศจิกายนนี้เป็นต้นไป
อย่างไรก็ตามถึงแม้การให้บริการจะเสรี แต่กฎระเบียบหลายๆ อย่างยังค่อนข้างเข้มงวด อย่างการขอใบอนุญาตในการให้บริการสำหรับคนขับ ที่รัฐบาลจีนกำหนดว่าจะต้องมีประสบการณ์ในการขับรถไม่ต่ำกว่า 3 ปี ไม่มีประวัติอาชญากรรม และรถที่วิ่งเกิน 6 แสนกิโลเมตรแล้วไม่สามารถนำมาให้บริการได้ รวมถึงต้องติดตั้ง GPS บนรถด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย
ศาลสูงของแคนาดาบังคับใช้บทบัญญัติที่ 7-2 ของกฎหมาย Safe Streets and Communities Act ที่ให้อำนาจผู้พิพากษาในการสั่งแบนการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แก่ผู้ต้องหาในคดีที่เกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดทางเพศโดยเฉพาะในเด็ก
ตัวกฎหมายให้เหตุผลไว้ว่า เนื่องจากอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางเพศมากขึ้นเรื่อยๆ และผู้ที่มีเป้าหมายเป็นเด็ก ก็มีแนวโน้มจะทำความผิดซ้ำ โดยกฎหมายฉบับนี้ออกมาตั้งแต่ปี 2012 และบทบัญญัติที่ 7-2 นอกจากจะบัญญัติเรื่องการแบนการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตแล้ว ยังมีการบัญญัติไม่ให้ศาลลดโทษผู้ต้องหา หากประมวลกฎหมายอาญามีการเปลี่ยนแปลงโทษ ในช่วงเวลาระหว่างการกระทำความผิดและการที่ศาลตัดสินโทษ
รัฐสภาสหภาพยุโรป (European Parliament) โหวตรองรับแนวทาง (directive) การจัดการความปลอดภัยเน็ตเวิร์คและระบบข้อมูลข่าวสารที่เสนอมาตั้งแต่ปี 2013 เพื่อเสริมความปลอดภัยไซเบอร์ให้กับสหภาพยุโรปโดยรวม ภายใต้แนวทางนี้ทุกชาติสมาชิกจะต้องวางหน่วยงานเพิ่มเติม ได้แก่
ในขณะที่กระแสการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live กำลังเป็นที่นิยม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีออกมาเตือนกลุ่มทางการเมืองต่างๆ ว่าการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับร่างรัฐธรรมนูญนั้น อาจผิดกฎหมายประชามติ
นายกรัฐมนตรีระบุว่าได้แจ้งเตือนเรื่องการใช้ Facebook Live นี้ไปยังนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการกลุ่ม กปปส. รวมถึงนายจตุพร พรหมพันธ์ุ หัวหน้ากลุ่ม นปช. แล้ว
ทั้งนี้ในประเด็นเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ทางกกต. กำลังเตรียมการจัดดีเบตเรื่องร่างรัฐธรรมนูญระหว่างกลุ่ม กปปส. และ นปช. ผ่านทางโทรทัศน์อยู่ด้วย
ต่อจากการชวนอ่านร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ) เมื่อวานนี้ แม้จะมีหลักข้อแรกในการแก้ไขคือ "ถ้าไม่รู้ ไม่ผิด" แต่ในความเป็นจริงก็มีรายละเอียดจำนวนหนึ่ง
มาตราที่ผมให้ความสนใจเป็นพิเศษ คือ มาตรา 15 ที่ระบุถึงความรับผิดชอบของตัวกลาง ซึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับคนทำงานไอทีเป็นวงกว้าง มาตรานี้มีการแก้ไขอ้างอิงตามกลุ่มพลเมืองเน็ตรวบรวมไว้ดังนี้ (ขีดฆ่าคือตัดออก มีเส้นใต้คือเพิ่มเข้ามา)
เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา สถานีโทรทัศน์ PPTV ได้เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับร่างกฎหมายดิจิทัลที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ร่าง พ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์, ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์,ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) โดยมีการสัมภาษณ์นายสุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย หนึ่งในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบาย และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายและกฎ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ที่ระบุว่าคณะอนุกรรมการมีความกังวลเกี่ยวกับร่างกฎหมายเหล่านี้
ในบรรดาชุดกฎหมายดิจิตอลกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนทั่วไปมากที่สุดคงเป็น "พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์" (พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ) ที่มีคดีมากมายนับแต่ออกเป็นกฎหมายมา ตอนนี้ร่างแก้ไขได้มีการแก้ไขไปหลายครั้ง และร่างล่าสุดที่มีการเปิดเผยออกมาคือร่างวันที่ 26 เมษายน 2559 ทางกลุ่มพลเมืองเน็ตได้ออกตารางเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงแก้ไข พร้อมกับหมายเหตุจุดที่น่ากังวลต่างๆ
วันนี้ ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีก็โพสภาพสรุปการแก้ไขร่างพรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ไว้ด้วยเช่นกัน ผมมองว่าคนทำงานไอทีและผู้สนใจควรอ่านเอกสารทั้งสองฉบับครับ
Airbnb เป็นอีกหนึ่งผู้ให้บริการที่พักแนว Sharing Economy ที่ได้รับผลกระทบทางกฎหมายจากหลายๆ ประเทศอย่างกรณีล่าสุด วุฒิสมาชิกของมลรัฐนิวยอร์กผ่านกฎหมาย ห้ามปล่อยเช่าห้องพักเป็นระยะเวลาน้อยกว่า 30 วันบน Airbnb
กฎหมายฉบับนี้ถูกผลักดันเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาต เปิดให้บริการห้องพักในลักษณะเดียวกับโรงแรมผ่านทาง Airbnb โดยผู้ที่ละเมิดครั้งแรกจะถูกปรับไม่เกิน $1,000, ไม่เกิน $5,000 ในครั้งที่สอง และปรับอีกไม่เกิน $7,500 หากละเมิดกฎครั้งที่ 3
กระบวนการต่อไปของการออกกฎหมายฉบับนี้คือ รอให้ผู้ว่าการรัฐเห็นชอบและลงนามออกบังคับใช้เป็นกฎหมายเท่านั้น
ที่มา - CNET
สภามลรัฐ New York ประกาศเพิ่มโทษผู้ค้ากำไรเกินควร ที่ใช้ Bot ซื้อตั๋วคอนเสิร์ตและตั๋วชมการแสดง กีฬาต่างๆ มากักตุนเพื่อขายต่อในราคาแพง จะต้องโทษคดีอาญาจากที่ก่อนหน้านี้การกระทำดังกล่าวผิดกฎหมายคดีแพ่งเท่านั้น
ชาว New York ประสบปัญหาซื้อตั๋วไม่ทันเพราะโดนแย่งซื้อเพื่อขายต่อในราคาสูงกว่ามานานแล้ว ปัจจุบันเทคโนโลยี bot พัฒนาขึ้น สามารถกวาดซื้อตั๋วที่นั่งดีๆ ได้อย่างรวดเร็ว เช่น ในปี 2012 มีการใช้ bot กว้านซื้อตั๋วคอนเสิร์ต U2 ที่ Madison Square ถึง 1,012 ที่นั่ง โดยใช้เวลาไม่ถึง 1 นาที
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มโทษเป็นคดีอาญา อยู่ในคดีอาญาลหุโทษหรือเป็นประเภทคดีอาญาไม่ร้ายแรง กฎหมายนี้ไม่เพียง bot เท่านั้นที่โดนเพ่งเล็งแต่ยังรวมถึงคนวงในอีเวนท์นั้นๆ ศิลปิน แม้กระทั่งตัวแทนขาย ที่มักจองตั๋วทีละมากๆให้พรรคพวกตัวเอง
จากข่าวสภาวิศวกรเตรียมกำหนดให้การออกแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ต้องผ่านการรับรองจากวิศวกรไฟฟ้าสื่อสาร ตอนนี้ทางสภาวิศวกรก็ชี้แจงเพิ่มเติมถึงร่างใหม่ที่กำลังเสนอ ระบุว่าไม่ได้เป็นการก้าวล่วงไปถึงงานคอมพิวเตอร์แต่อย่างใด
ร่างใหม่ของกฎกระทรวงกำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม มีการแก้ไขเพิ่มเติมให้งานวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร ครอบคลุมถึงงานอีก 2 ประเภท จากเดิมที่กำหนดเฉพาะเสาส่งคลื่นความถี่ที่กำลังส่งเกิน 30 วัตต์ EIRP เท่านั้น โดยประเภทงานที่เพิ่มเติมเข้ามาได้แก่ (ตัวเน้นโดยผู้เขียนข่าว)