ต่อจากร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ กฎหมายอีกฉบับที่เห็นชอบหลักการไปพร้อมกันคือ ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่แก้ไขฉบับเดิม
ตามร่างใหม่นี้ การแก้ไขสำคัญๆ ได้แก่
วันนี้คณะรัฐมนตรีเพิ่งผ่านเห็นชอบหลักการกฎหมาย 8 ฉบับเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัล หนึ่งในร่างที่ควรต้องสนใจคือร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ที่ก่อนหน้านี้ยังหาตัวร่างมาไม่ได้
วันนี้ทางเครือข่ายพลเมืองเน็ตโพสร่างกฎหมายทั้ง 8 ฉบับแล้ว ผมคงนำมาสรุปใจความสำคัญกันทีละร่าง ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ก็เป็นร่างแรกที่เลือกมา
รายชื่อกฎหมาย 8 ฉบับที่ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลออกมาแล้วเมื่อวานนี้ แม้รายละเอียดและร่างกฎหมายยังไม่ครบ แต่ก็ระบุว่าจะมีการตั้งหน่วยงานใหม่หรือโอนย้ายไปมามากมาย ตอนนี้เครือข่ายพลเมืองเน็ตก็ทำภาพสรุปโครงสร้างใหม่จากข้อมูลในตอนนี้
จากโครงสร้างจะเห็นหน่วยงานตั้งใหม่จำนวนมาก และบางส่วนเป็นการปรับหน้าที่รับผิดชอบของหน่วยงานเดิมที่มีอยู่แล้ว หรือบางส่วนแยกหน่วยงานออกมาจากหน่วยงานเดิม
ที่มา - Facebook: Thai Netizen Network
เมื่อวานนี้มีข่าวกฎหมายหลายฉบับเตรียมเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ ตอนนี้คณะรัฐมนตรีก็อนุมัติหลักการให้กับร่างทั้งหมดแล้ว โดยกฎหมายทั้ง 8 ฉบับได้แก่
ครอบครัวข่าวรายงานถึงนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในตอนนี้ที่กำลังจะแก้กฎหมายจำนวนมาก มีกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับคนทำงานไอทีหลายฉบับ
กฎหมายฉบับหนึ่งคือ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ หรือพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่มีกระบวนการแก้ไขมานานแล้วก็เป็นหนึ่งในนโยบายที่กำลังจะแก้ไขกัน ตอนนี้ผมยังหาไม่เจอว่าร่างล่าสุดมีการแก้ไขอย่างใดไปแล้ว กฎหมายที่น่ากังวลอีกฉบับเพิ่มเข้ามาคือ พ.ร.บ.ความมั่นคงทางไซเบอร์ กฎหมายฉบับนี้ผมเองไม่เคยได้ยินชื่อหรือเห็นร่างมาก่อน ตอนนี้รู้เฉพาะชื่อโดยยังไม่มีเนื้อหาเปิดเผยออกมา
อีกร่างหนึ่งที่กำลังพิจารณากันคือ พ.ร.บ.กสทช. ที่มีแนวโน้มว่าจะถูกปรับการทำงานค่อนข้างแน่ แต่ยังไม่ชัดเจนว่าจะปรับไปแบบไหนอย่างไร
การเปลี่ยนหัวข้อบทความบนเฟซบุ๊กมีช่องทางให้คนแชร์ข้อความสามารถเปลี่ยนหัวข้อข่าวได้ตามใจชอบ และมีคนแปลงหัวข้อเพื่อล้อเลียนเสียดสี ตอนนี้ทางไทยรัฐ หนึ่งในเว็บขนาดใหญ่ที่ถูกนำข่าวไปแก้ไขข้อความก็ออกมาระบุว่ากำลังเตรียมเข้าแจ้งความดำเนินคดี
ไทยรัฐยังรายงานถึงเว็บอื่นๆ ที่ยังถูกแก้ไขหัวข้อข่าวแบบเดียวกัน และบางครั้งก็เป็นการโพสต์เลียนแบบ เช่น Sanook หรือ Truelife
ฟีเจอร์การแก้หัวข้อและคำอธิบายบทความก่อนที่จะแชร์บนเฟซบุ๊กเปิดให้ทุกคนใช้งานมาตั้งแต่ปี 2011 แต่คนทั่วไปมักไม่ตระหนักนัก เพราะเราสามารถกดที่หัวข้อและคำอธิบายเพื่อแก้ไขค่าได้ทันที โดยไม่มีปุ่มระบุว่าแก้ไขได้
ที่มา - ไทยรัฐ
พรบ. คอมพิวเตอร์ฯ ถูกใช้เพื่อฟ้องการแสดงความคิดเห็นอีกครั้งเมื่อวู้ดดี้ หรือนายวุฒิธร มิลินทจินดา พิธีกรชื่อดังยื่นฟ้องนายจักริน ภัสสรดิลกเลิศ ช่างภาพที่ฟ้องวู้ดดี้ไปก่อนหน้านี้ว่าละเมิดลิขสิทธิ์ภาพถ่าย ที่น่าสนใจคือ จ่าพิชิตผู้ดูแลเว็บ Drama-Addict ถูกฟ้องไปด้วยเป็นจำเลยที่สาม
จ่าพิชิตระบุว่าเกี่ยวข้องกับคดีนี้เพราะไปแชร์ภาพจากตากล้องจักริน และเขียนว่า "ดราม่าครัชดราม่า"
ศาลนัดวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558 โดยทางจ่าพิชิตระบุว่าเตรียมทนายไว้แล้ว
ต่อจากข่าว รัฐบาลเตรียมเสนอกฎหมาย "กระทรวงดิจิทัล" วันนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกฎหมาย 2 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับ "กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม" แล้ว
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ประธานคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญด้านองค์กรอิสระ สรุปความเห็นของ กมธ. ในประเด็นการทบทวนภารกิจขององค์กรที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ว่าสมควรมีต่อไปหรือปรับปรุงอย่างไรบ้าง
ในส่วนของ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทาง กมธ. มีความเห็นว่าควรเปลี่ยนชื่อเป็น คณะกรรมการกำกับดูแลการสื่อสารสาธารณะแห่งชาติ และปรับปรุงกฎหมายให้กรรมการ กสทช. มีวาระครั้งละ 5 ปีจากเดิม 6 ปี ส่วนภารกิจขององค์กรจะเป็น "จัดสรรคลื่นความถี่และการสื่อสารในระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน ชุมชน และรัฐ"
วันนี้ศาลเมืองมาดริดพิพากษาคดีที่ฟ้องโดยสมาคมแท็กซี่มาดริดให้ Uber ต้องหยุดให้บริการทั้งหมดในสเปน ใช้รถให้บริการแท็กซี่โดยไม่ได้รับอนุญาตและแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรมกับแท็กซี่ในระบบ
คำพิพากษานี้เป็นการลงโทษล่าสุดในสเปนหลังจากที่รัฐบาลมาดริดและบาร์เซโลน่าประกาศลงโทษทางการเงิน (financial sanction) กับผู้ขับ Uber ทางรัฐบาลแคว้นแคทาโลเนียระบุว่ากำลังพิจารณาโทษยึดรถกับผู้ขับ Uber โดยค่าปรับไถ่ถอนรถคืนอยู่ที่ 6,000 ยูโรหรือ 250,000 บาท
ที่มา - The Local
วันนี้อธิบดีกรมการขนส่งทางบกให้ข่าวระบุว่าหลังจากเรียกผู้ให้บริการแอพพลิเคชั่นเรียกรถแท็กซี่เข้าพูดคุยทั้งสามราย ได้แก่ Grab Taxi, Easy Taxi, และ Uber ทางกรมการขนส่งทางบกได้สั่งให้ Uber หยุดให้บริการรถป้ายดำ (UberX) ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป และบริการ Uber ป้ายเขียวจะให้บริการต่อไปได้แต่ต้องทำตามกำหนด คือให้บริการในพื้นที่สนามบิน, โรงแรม, และนำเที่ยว
จนถึงตอนนี้ ผู้ขับ UberX ถูกลงโทษปรับ 2,000 บาทไปแล้วสิบราย หลังจากจับรายแรกไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และทางกรมการขนส่งทางบกจะปรึกษาสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อเพิ่มโทษต่อไป
จากนโยบายเปลี่ยนชื่อกระทรวงไอซีทีเป็น "กระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม" ความคืบหน้าล่าสุดคือ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี และผู้ผลักดันนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล ระบุว่าจะลัดคิวเสนอร่างกฎหมายเกี่ยวกับนโยบายนี้ 2 ฉบับให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาในสัปดาห์หน้า ร่างกฎหมายที่ว่าได้แก่
ร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เพื่อเปลี่ยนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ให้เป็นกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
จากนั้นอีก 3 สัปดาห์ จะเสนอกฎหมายอีก 6 ฉบับ คือ
นายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ระบุว่าเมื่อวานนี้มีทีมตรวจจับปรับรถ Uber ได้จับกุมรถหนึ่งรายแล้ว หลังจากประกาศว่าจะเริ่มเข้มงวดตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยรถคันแรกถูกปรับ 2,000 บาทฐานใช้รถป้ายแดงมาให้บริการ
ค่าปรับที่กรมการขนส่งทางบกประกาศออกมาก่อนหน้านี้มีค่าปรับสูงสุดถึง 4,000 บาท โดยเป็นค่าปรับใช้รถยนต์ผิดประเภท 2,000 บาท, ค่าปรับไม่มีใบขับขี่สาธารณะ 1,000 บาท, และค่าปรับคิดค่าบริการไม่ตรงประกาศอีก 1,000 บาท
ตอนนี้กรมการขนส่งทางบกได้เชิญตัวแทน Uber เข้ามาหารือแต่ทางบริษัทยังไม่ได้ส่งตัวแทนเข้ามา
ที่มา - ไทยรัฐ
จดหมายข่าวกรมการขนส่งทางบกฉบับที่ 35 มีการระบุถึง Uber โดยระบุว่ากรมการขนส่งทางบกได้ประชุมร่วมกับกระทรวงไอซีที, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, และมณฑลทหารบกที่ 11 ในประด็นการรับส่งผู้โดยสารผ่านแอพพลิเคชั่นอย่าง เช่น Uber ได้ข้อสรุปว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ใน 3 ประเด็นได้แก่
นับแต่วันขึ้นปีใหม่ของปีหน้า iPhone และ iPad ทุกรุ่นจะไม่ได้รับอนุญาตให้วางขายในรัสเซียอีกต่อไป
แม้ว่าข่าวนี้จะประจวบเหมาะออกมาในช่วงที่มีประเด็นข่าวการต่อต้าน Apple ด้วยเหตุผลที่มีซีอีโอเป็นเกย์ แต่เหตุผลเบื้องหลังการแบนผลิตภัณฑ์ของ Apple นั้นดูจะไม่ได้เกี่ยวโยงกับเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด โดยสาเหตุที่แท้จริงของการแบน iPhone และ iPad นั้นเป็นเรื่องของความปลอดภัยในข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน
รัสเซียได้ออกกฎหมายว่าบริษัทผู้ให้บริการออนไลน์ต่างๆ ในรัสเซีย ต้องจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานไว้ภายในประเทศเท่านั้น การจัดเก็บข้อมูลบนกลุ่มเมฆไว้ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ตั้งอยู่ในประเทศอื่นจึงถือเป็นเรื่องผิดกฎหมายของรัสเซียไปในทันที ซึ่ง iCloud ของ Apple ก็อยู่ในข่ายนี้ด้วย
นี่เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ Google โดนศาลตัดสินสั่งให้จ่ายเงินชดเชยแก่ผู้เสียหายที่โดนละเมิดความเป็นส่วนตัว จากการใช้รถเก็บข้อมูลภาพ Street View โดยผู้เสียหายรายนี้เป็นหญิงสาวชาวแคนาดาที่มีภาพของเธอนั่งเปิดร่องอกอยู่หน้าบ้านของตนเองติดอยู่ในชุดภาพถ่ายแผนที่ Street View ของ Google
ผู้พิพากษาศาลในรัฐ Virginia ของสหรัฐอเมริกา เพิ่งมีคำวินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานโดยระบุว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจทางกฎหมายที่จะสั่งให้ผู้ต้องสงสัยทำการปลดล็อกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ระบบล็อกเครื่องด้วยลายนิ้วมือได้ ซึ่งแตกต่างจากระบบการล็อกด้วยรหัสผ่านหรือด้วยรูปแบบอื่นที่เจ้าหน้าที่ไม่มีสิทธิ์บังคับให้ทำการปลดล็อก
ที่มาที่ไปของเรื่องนี้มาจากการไต่สวนในคดีพยายามฆ่าคดีหนึ่ง ซึ่งฝ่ายผู้ฟ้องได้ร้องขอให้มีการตรวจสอบสมาร์ทโฟนของฝ่ายผู้ต้องหาด้วยเชื่อว่ามีการบันทึกวิดีโอที่จะเป็นหลักฐานเอาผิดเขาได้ หากแต่ทนายฝ่ายผู้ต้องหาได้ปฏิเสธที่จะให้มีการตรวจสอบสมาร์ทโฟน ร้อนถึงผู้พิพากษาที่ต้องวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ทางการมีอำนาจสั่งให้ผู้ต้องหาปลดล็อกเครื่องและเปิดให้มีการตรวจสอบข้อมูลได้หรือไม่
ประเด็นว่า Uber ทำถูกกฎหมายไทยหรือไม่ โดยเฉพาะ UberX ที่มีนักกฎหมายเคยให้ความเห็นว่าผิดกฎหมาย ตอนนี้ก็มาถึงกลุ่มเครือข่ายสหกรณ์แท็กซี่ที่เป็นคู่แข่งโดยตรง ออกมาเรียกร้องให้กรมการขนส่งทางบกเข้ามาจัดการแล้ว
ประเด็นเครือข่ายออกมาระบุคือ Uber ให้บริการแท็กซี่ป้ายดำ แต่สามารถเข้ามาแย่งผู้โดยสารกับรถสาธารณะที่จดทะเบียนถูกต้องได้
จากประเด็นเรื่อง UberX เริ่มให้บริการในไทย แต่พบว่ากลับใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคล (ที่เรียกกันว่าป้ายดำ) จนเกิดคำถามว่าผิดกฎหมายหรือไม่
ทีม Blognone สอบถามประเด็นนี้ไปยัง Uber ประเทศไทยแล้ว แต่ได้รับคำตอบว่าให้สอบถามไปยัง Uber ที่สิงคโปร์ และยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ระหว่างนี้เราจึงสอบถามความเห็นจากนักกฎหมายหลายท่าน และได้รับคำตอบมาดังนี้ครับ
ศาลอุทธรณ์ของรัฐ Georgia ในสหรัฐอเมริกา ได้พิจารณาตัดสินคดีเกี่ยวกับการกระทำผิดทางอินเทอร์เน็ตที่มีเด็กชายคนหนึ่งได้ปลอมแปลงข้อมูลสร้างหน้า Facebook และสวมรอยเป็นเด็กที่ร่วมชั้นเรียนของเขา เพื่อทำการกลั่นแกล้งคนที่ถูกสวมรอยนั้น โดยศาลระบุว่าผู้ปกครองต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการกระทำดังกล่าว
เมื่อวานนี้ กสทช. สุภิญญา กลางณรงค์ โพสต์ข้อความผ่านโซเชียล อธิบายประเด็นเรื่องช่อง 3 ถึงมติบอร์ด กสท. เรื่องการออกอากาศคู่ขนาน (ที่ช่อง 3 บอกว่าไม่แก้ปัญหา) หลังจากได้หารือกับตัวแทนช่อง 3 ช่วงเย็นเมื่อวานนี้
โพสต์ต้นฉบับค่อนข้างยาว ฉบับเต็มอ่านได้ท้ายข่าว ส่วนประเด็นแบบสรุปมีดังนี้
วันนี้ทางช่องสามประกาศจะยื่นฟ้องกสทช. เมื่อสัปดาห์ที่แล้วทาง iLaw เอ็นจีโอด้านกฎหมายเสรีภาพก็ออกรายงานปัญหาพรบ. คอมพิวเตอร์ฯ โดยเฉพาะมาตรา 14(1) ที่กลายสภาพเป็นกฎหมายหมิ่นประมาทไป
มาตรา 14(1) ออกมาโดยมีเหตุผลว่าป้องกันข้อมูลเท็จที่มุ่งทำลายคอมพิวเตอร์หรือระบบรักษาความปลอดภัย เช่น มัลแวร์ที่ปลอมเป็นซอฟต์แวร์อื่น หรือหน้าเว็บ phishing ที่มุ่งหลอกเอาข้อมูลจากผู้ใช้ แต่จากสถิติการใช้งานมาตรานี้จริงกลับพบว่าคดีส่วนใหญ่เป็นคดีหมิ่นประมาทแทบทั้งสิ้น ทาง iLaw ระบุปัญหาของมาตรา 14(1) ไว้ 5 ประการ
ความขัดแย้งระหว่างกสทช. สามรายที่มีแนวทางจะผลักดันให้ช่องสามย้ายมาออกอากาศทางช่องดิจิตอลกับทางช่องสามดูจะมาถึงจุดแตกหักเมื่อทางช่องสามประกาศจะฟ้องกสทช. สามคนได้แก่ สุภิญญา กลางณรงค์, ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์, และพีระพงษ์ มานะกิจ
กสทช. ทั้งสามคนถูกฟ้องข้อหาปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบเหมือนกัน ยกเว้นกสทช. สุภิญญา ถูกฟ้องข้อหาหมิ่นประมาท และความผิดตามพรบ. คอมพิวเตอร์ฯ ไปด้วย
คงเป็นอีกครั้งพรบ. คอมพิวเตอร์ฯ ของไทยกลายเป็นยาวิเศษเอาเรื่องได้ทุกคนครับ
เพื่อลดปัญหาการโจรกรรมสมาร์ทโฟนที่มีมากขึ้นในปัจจุบัน นอกจากจะมีฟีเจอร์สำหรับติดตามเครื่องหายได้แล้ว ดูเหมือนมลรัฐแคลิฟอร์เนียจะต้องการมากกว่านั้น หลังจากให้ผ่านร่างพระราชบัญญัติที่ระบุว่าสมาร์ทโฟนที่ขายในมลรัฐจะต้องมีฟังก์ชันสำหรับหยุดการทำงานของตัวเครื่องได้ (kill switch)
หยุดการทำงานตัวเครื่องที่ว่านี้ คือการหยุดการทำงานโดยสมบูรณ์ ราวกับว่าทำให้เครื่องบริก เพื่อให้เครื่องที่ถูกโจรกรรมไปไม่สามารถใช้งานหรือนำไปขายต่อได้นั่นเอง โดยร่างฯ นี้ถูกเสนอขึ้นโดยส.ว. Mark Leno เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา และจะเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคมปีหน้า
หลังจากกรณีที่ EU ได้ประกาศคำตัดสินให้บรรดาผู้ให้บริการเครื่องมือค้นหาบนอินเทอร์เน็ตดำเนินการค้นหาบางส่วนเพื่อพิทักษ์ "สิทธิ์ที่จะถูกลืม" ทาง Bing และ Google ก็ได้ออกแบบฟอร์มสำหรับผู้ที่ต้องการลบผลการค้นหาออกจากเครื่องมือค้นหา