บริการ Bitcoin เป็นบริการระบบสกุลเงินออนไลน์แบบไม่ระบุตัวตนที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ ในระยะเวลาที่ผ่านมา จนทำให้เกิดผู้ให้บริการรับแลกสกุลเงินตราจากเงินจริง เข้ามายังบริการ Bitcoin เป็นจำนวนมาก รวมถึงในไทยอย่างเช่น บริษัท บิทคอยน์ จำกัด ที่ได้พยายามตรวจสอบกฎหมาย และจดทะเบียนกับหน่วยงานภาครัฐต่างๆ มาโดยตลอด
ในวันนี้ทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการจัดสัมมนาเกี่ยวกับการทำงานของ Bitcoin และการดำเนินการธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง จนมีข้อสรุปจากทางฝ่ายนโยบายและกำกับการแลกเปลี่ยนเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่า เนื่องจากขาดข้อกฎหมายกำกับเฉพาะด้านที่ชัดเจนพอ จึงแจ้งว่าการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับ Bitcoin ต่อไปนี้ผิดกฎหมายการเงินประเทศไทย
จากกรณีปัญหาการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่น 1800MHz ในวันที่ 15 กันยายนนี้ (บทความชุด ตอนที่ 1, ตอนที่ 2, ตอนที่ 3) วันนี้โครงการประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับส่วนงาน กสทช. ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา สำนักงาน กสทช. จัดงานประชุมเรื่อง "ปัญหาทางกฎหมายกรณีการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่น 1800MHz และแนวทางการแก้ไขปัญหา" ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผมไปร่วมงานมาด้วย เลยจดประเด็นที่นักวิชาการด้านกฎหมายนำเสนอ + อัดเสียงพูดในงานสัมมนามาเผยแพร่ เพื่อเป็นประโยชน์ทางวิชาการต่อไปครับ
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ผ่านการแก้ไขมาหลายรอบ (นับตั้งแต่รัฐบาลที่แล้ว) ตอนนี้ร่างล่าสุดที่ สพธอ. เสนอเข้ามาและรับฟังความเห็นไปแล้วกำลังเตรียมเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อส่งเข้ากระบวนการรัฐสภาต่อไป
ความเปลี่ยนแปลงสำคัญของร่างล่าสุด คือ การให้อำนาจผู้ให้บริการสามารถระงับให้บริการได้โดยพิจารณาจาก "พฤติกรรมไม่เหมาะสม" โดยไม่ต้องรอกระบวนการทางกฎหมายอีกต่อไป และผู้ใช้บริการที่ถูกระงับบริการจะไม่สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้
คาดว่าร่างนี้จะเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในอีกสองเดือนข้างหน้า
ที่มา - เดลินิวส์
ช่วงนี้กำลังมีกระบวนการปรับปรุงแก้ไข "พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550" หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า พ.ร.บ.คอมฯ โดยกระทรวงไอซีทีมอบหมายให้ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) เป็นผู้รับผิดชอบ
เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา รัฐฟลอริดาได้ผ่านกฎหมายแบนร้านเน็ตซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีการใช้เป็นแหล่งในการเล่นพนัน เป็นผลให้ร้านเน็ตกว่าหนึ่งพันแห่งในรัฐดังกล่าวต้องปิดบริการทันที จนทำให้ Consuelo Zapata ที่เป็นเจ้าของร้านเน็ตต้องฟ้องร้องเพื่อขอเพิกถอนกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากมีการใช้คำคลุมเครือที่อาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ทุกชนิดที่สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตถูกแบนทั้งรัฐได้
ในลาสเวกัส เมื่อปี 2009 มีชายนามว่า John Kane ถูกรางวัลแจ๊คพอตถึงห้าครั้งภายในหนึ่งชั่วโมงจากเครื่อง video poker ของคาสิโนในลาสเวกัส รัฐเนวาดา กวาดเงินรางวัลไปถึง 8,200 เหรียญสหรัฐฯ โดยเขาค้นพบช่องโหว่ของตรรกะที่ใช้ในตัวเฟิร์มแวร์ของเครื่องและนำไปใช้ในการเล่นคราวนั้น
John และเพื่อนของเขาอีกคนที่มีส่วนช่วยในการค้นหาช่องโหว่กำลังถูกดำเนินคดีโดยรัฐบาลกลาง เขาถูกฟ้องในข้อหาละเมิดกฎหมาย Computer Fraud and Abuse Act ที่บังคับใช้ตั้งแต่ปี 1986 ซึ่งถ้าศาลตัดสินว่าผิดจริง John และเพื่อนของเขาจะมีโทษสูงสุดถึงขั้นจำคุกเป็นเวลา 5 ปี
เมื่อเดือนที่แล้วทางสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ได้จัดงานเผยแพร่ร่างพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ที่จะปรับปรุงใหม่ และทาง iLaw ก็ได้สรุปความเปลี่ยนแปลงสำคัญ 11 ข้อของร่างนี้ขึ้นมา
โดยรวมแล้วร่างนี้คล้ายกับร่างเมื่อปี 2011 ประเด็นใหญ่ๆ ที่เพิ่มขึ้นมาคือการเอาผิดเรื่องภาพอนาจารเด็ก, การทำสำเนาข้อมูล, และเอาผิดกับตัวกลางเมื่อมีประเด็นความมั่นคง
ข้อสังเกตุความเปลี่ยนแปลงทั้ง 11 ประการได้แก่
ภายหลังจากที่มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาเป็นระยะเวลากว่า 5 ปี ถึงเวลาแล้วที่พระราชบัญญัติฉบับนี้จะต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้มีความทันสมัยและเหมาะสม โดยสร้างสมดุลระหว่างเสรีภาพ กับความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งคุณสามารถมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายฉบับนี้ได้ นำไปประกอบการผลักดันเพื่อปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว ในวันที่ 3 เมษายน 2556 ณ โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท เวลา 8.30-12.30 น.
เพิ่งโดนแบนล่วงหน้าจากร้านอาหารในซีแอทเทิลไปไม่นาน กลุ่มนักกฎหมายในรัฐเวสต์เวอร์จิเนียก็เตรียมหาทางแบน Google Glass ไม่ให้ใช้งานในระหว่างขับรถแล้ว
ตามข้อเสนอที่กลุ่มดังกล่าวเรียกร้องมา ไม่ได้พูดถึง Google Glass เพียงอย่างเดียว แต่ครอบคลุมถึงอุปกรณ์ไอทีแบบสวมครอบหัวทุกชนิด โดยให้เหตุผลว่าเขาทำงานเพื่อสนับสนุนกฎหมายห้ามไม่ให้ส่งข้อความระหว่างขับรถมานาน เน้นไปที่ผู้ใช้ที่ยังอายุน้อย และยังขับรถไม่แข็งว่าหากใช้อุปกรณ์ดังกล่าวแล้วจะยิ่งทวีความเสี่ยงมากขึ้น
บทความโดย จันทจิรา เอี่ยมมยุรา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์บางฉบับวิพากษ์วิจารณ์การพิจารณาอนุมัติใบอนุญาตประกอบกิจการดาวเทียมให้แก่บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ไปในทางที่ว่า กสทช. อนุมัติใบอนุญาตให้แก่บริษัทไทยคมฯ โดยไม่ได้มีการประมูลคลื่นความถี่ ทั้งมิได้ประมูลวงโคจรให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 แต่ประการใด
การตายของ Aaron Swartz แม้จะไม่แน่ชัดว่าเป็นเพราะสาเหตุอะไร (และเป็นไปได้มากว่าจริงๆ แล้วมีหลายสาเหตุประกอบกัน) แต่การที่ Swartz ถูกฟ้องในคดีอาญาจากการใช้งานเว็บ JSTOR ผิดข้อตกลงการใช้งาน นับว่าเป็นเรื่องที่เกินกว่าเหตุ เมื่อสองวันที่ผ่านมา สส. Zoe Lofgren จากพรรคเดโมแครต ท้องที่แคลิฟอร์เนีย ก็ออกมาประกาศร่างแก้ไข้กฎหมาย Computer Fraud and Abuse Act (CFAA)
กฎหมาย CFAA เดิม ระบุให้การใช้ "เกินกว่าที่ได้รับอนุญาต" (exceeding authorized access) เป็นความผิดอาญาที่มีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ โดยนิยามเดินนั้นรวมถึงการใช้งานอย่างหนัก เช่น การใช้แบนด์วิดท์อินเทอร์เน็ตอย่างมาก หรือการดาวน์โหลดเอกสารด้วยสคริปต์ในกรณีของ Swartz เอง
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) จัดอภิปรายเรื่องผลกระทบจากพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ Ann Lavin ตัวแทนจากกูเกิลระบุถึงปัญหาของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ของไทยว่ามีปัญหาหลักคือมาตรา 15 ที่ระบุถึงความผิดของผู้ให้บริการ ทำให้ทั้งที่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้กูเกิลสามารถเข้าไปทำธุรกิจได้ ทั้ง สิงคโปร์, มาเลเซีย, และอินโดนีเซีย
ปัญหากฎหมายที่ทำให้กูเกิลไม่เข้ามาเปิดธุรกิจ YouTube ซึ่งเปิดให้เจ้าของเนื้อหาทำเงินจากการโฆษณาที่ส่งลงบนวิดีโอได้ เป็นปัญหาที่คุณกริช ทอมมัสได้เคยระบุว่าเป็นปัญหาทางกฎหมายจนแกรมมี่ไม่ต้องการนำวิดีโอขึ้น YouTube อีกต่อไปเพราะไม่สามารถสร้างรายได้กลับเข้ามาได้
เมื่อวันที่ 25 ธันวาคมที่ผ่านมา ศาลอาญาได้พิพากษาคดีของนายคธา พนักงานการตลาดของบริษัทหลักทรัพย์ให้จำคุก 4 ปี จากการแปลข่าวจากสำนักข่าว Bloomberg ที่ทำให้เกิดความตื่นตระหนกจนกระทั่งหุ้นตกอย่างมากในวันที่ 14 ตุลาคม 2552
คุณสฤณี อาชวานันทกุล แสดงความเห็นเรื่องนี้ลงหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ว่ามาตรฐานของคดีนี้จะเป็น "บรรทัดฐานแย่ๆ" ของการใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เพราะข้อความที่โพสระบุว่ามีข่าวลือ ไม่ใช่การอ้างว่าเป็นเรื่องจริง ซึ่งไม่ตรงกับกฎหมายที่ระบุว่าต้องเป็น "ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ" อีกทั้งเวลาโพสก็เป็นตอนบ่ายหลังจากหุ้นตกตั้งแต่เช้า
Google Maps สำหรับ iOS ซึ่งเพิ่งถูกปล่อยออกมาไม่นานถูกตั้งข้อสังเกตว่าอาจมีการทำงานขัดต่อกฎหมายของ EU
ศูนย์พิทักษ์ข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศเยอรมนีให้ความเห็นว่า เนื่องจากตัวแอพลิเคชันตั้งค่าเริ่มต้นให้ติดตามตำแหน่งของผู้ใช้งานโดยอัตโนมัติ นี่เองจึงเป็นจุดที่อาจมองได้ว่าขัดต่อกฎหมายของ EU ว่าด้วยเรื่องการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
ข่าวนี้รวมสองข่าวเก่าเข้าด้วยกันเพราะคิดว่าอย่างไรเสียผู้อ่าน Blognone ควรรับรู้ครับ
ข่าวแรกคือร่างพ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ แก้ไขจากฉบับ 2537 ได้ผ่านครม. แล้วเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยส่วนสำคัญอยู่ที่ร่างใหม่นี้จะรองรับการใช้งาน DRM (Digital Rights Management) เช่น ส่วนห้ามทำสำเนาของเกมหรือเพลงทั้งหลาย หากร่างนี้ผ่านสภาจะทำให้การฝ่าฝืน DRM มีโทษของมันเองอีกส่วนหนึ่ง
นอกจากเพิ่มโทษแล้วยังมีการแก้ไขเพิ่มข้อยกเว้นการทำสำเนาที่จำเป็น และยกเว้นการละเมิดของผู้ให้บริการ ซึ่งนับเป็นเรื่องดีที่ผู้ให้บริการถูกกันออกจากประเด็นลิขสิทธิ์ไปแล้วเรื่องหนึ่ง
เมื่อวันที่ 31 ที่ผ่านมา ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีของนายสุรภักดิ์ โปรแกรมเมอร์ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้โพสหน้าแฟนเพจบนเฟซบุ๊กที่มีข้อความหมิ่น
เจ้าหน้าที่ตำรวจบุกจับนายสุรภักดิ์ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2554 จากการชี้เบาะแสของนายมานะชัย ที่แจ้งชื่อและที่อยู่ของนายสุรภักดิ์ว่าเป็นเจ้าของเพจเฟซบุ๊กที่มีข้อความหมิ่น ให้กับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี แต่ภายหลังเจ้าหน้าที่ไม่สามารถตามตัวนายมานะชัยนี้มาเบิกความได้
หลังจากนั้นจึงมีผู้ร้องทุกข์อีกรายหนึ่งได้ตามหาเจ้าของอีเมล dorkao@hotmail.com
และคาดว่าเจ้าของเฟซบุ๊กนั้นเป็นผู้ใช้อีเมลนี้ โดยไม่ทราบว่าเจ้าของอีเมลนี้จริงๆ แล้วเป็นใคร
ข่าวนี้เป็นข่าวที่ตกจาก Blognone ไปนานสักหน่อย คือมีการเสนอข้อตกลงระหว่างประเทศในการโทรคมนาคม (International Telecommunications Rules - ITRs) ฉบับใหม่หลังจากที่ฉบับเดิมลงนามกันไปตั้งแต่ปี 1988 โดยกลุ่มผู้ให้บริการเครือข่ายในสหภาพยุโรป (European Telecommunications Network Operators' Association - ETNO) ที่เสนอให้มีการเข้ามาควบคุมอินเทอร์เน็ตในรูปแบบต่างๆ โดยมีเหตุผลหลักคือความไม่พอใจของผู้ให้บริการเครือข่ายที่ทำกำไรมหาศาลจากเครือข่าย
กรณีเช่นนี้เป็นปัญหาเดียวกับในสหรัฐฯ ที่ผู้ให้บริการไม่พอใจที่ YouTube กินแบนด์วิดท์อย่างมาก แต่คนได้กำไรเป็นกูเกิล ขณะที่ผู้ให้บริการเครือข่ายต้องแบกรับค่าบริการโดยไม่กล้าที่จะส่งต่อค่าใช้จ่ายนี้ไปเป็นค่าบริการกับผู้บริโภคเพราะการแข่งขันที่สูง
ศาลฎีกาของฟิลิปปินส์ได้มีคำสั่งระงับการเริ่มใช้งานกฎหมายป้องกันการอาชญากรรมออนไลน์ หรือ Anti-Cybercrime Law แล้ว เนื่องจากรายละเอียดของกฎหมายดังกล่าวถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน โดยคำสั่งของศาลในวันอังคารนี้เป็นคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวไม่ให้รัฐบาลนำกฎหมายดังกล่าวมาใช้ได้
ก่อนหน้านี้กลุ่มสื่อและองค์กรสิทธิมนุษยชนได้อกมาต่อต้านกฎหมายนี้ เพราะมันทำให้การดูหมิ่นบนโลกออนไลน์ผิดกฎหมายและมีโทษมากกว่าคดีหมิ่นประมาทปรกติสองเท่า และนอกจากนี้กฎหมายยังทำให้เกิดการปิดกั้นหรือบล็อคเว็บได้อีกด้วย โดยองค์กรและกลุ่มสื่อเหล่านี้กลัวว่านักการเมืองจะใช้กฎหมายนี้เพื่อปิดปากประชาชน ทำให้ระบบตรวจสอบไม่โปร่งใส
Jerry Brown ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนียไปที่สำนักงานใหญ่ของ Google เพื่อเซ็นร่างกฏหมาย SB 1298 ว่าด้วยการอนุญาตให้รถยนต์แบบไร้คนขับวิ่งบนท้องถนนจริงได้
ร่างกฏหมายนี้ว่าด้วยเรื่องข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ของรถยนต์แบบไร้คนขับ โดยหลังจากกฏหมายฉบับนี้บังคับใช้งาน ผู้ผลิตรถยนต์สามารถนำรถแบบไร้คนขับออกทดสอบจริงบนท้องถนนได้ ตราบใดที่มีผู้ขับรถที่มีใบขับขี่นั่งประจำตำแหน่งผู้ขับเพื่อควบคุมรถในกรณีฉุกเฉิน
Brown กล่าวว่าร่างกฏหมายนี้จะช่วยผลักดันให้เทคโนโลยีในนิยายไซ-ไฟกลายเป็นจริง และเป็นก้าวใหม่ในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีของรัฐแคลิฟอร์เนีย และโลกทั้งใบ
Cybercrime Prevention Act of 2012 เป็นกฎหมายแบบเดียวกับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ของไทยที่เพิ่งผ่านสภาไปเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มีเนื้อหาหลายอย่างน่าสนใจ มันกำหนดโทษให้กับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์หลายแบบ เช่น การดักฟัง, การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต, การรบกวนการทำงานของคอมพิวเตอร์, ตลอดจนการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการหลอกลวง เช่น การทำ phishing
วันนี้คุณพูนสุข พูนสุขเจริญ หนึ่งในทีมทนายของคุณอำพล (อากง SMS) ได้โพสเอกสารความเห็นในคดีของคุณอำพล มันเป็นเอกสารที่เตรียมไว้สำหรับการยื่นอุทธรณ์ พร้อมกับเตรียมให้ผู้เชี่ยวชาญจาก Security Research Labs (SR Labs) มาขึ้นศาลเป็นพยานแต่สุดท้ายคุณอำพลตัดสินใจไม่ยื่นอุทธรณ์เพื่อขออภัยโทษแทน
เอกสารฉบับนี้ออกโดยดร. Karsten Nohl หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของบริษัท สำหรับ SR Labs นี้เป็นบริษัทที่นำเสนองานวิจัยเรื่องการปลอมแปลงหมายเลขโทรศัพท์เพื่อส่ง SMS ในยุโรป ที่งาน 29C3 เมื่อปลายปีที่แล้ว
ปัญหากฎหมายอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องที่ยังหาจุดสมดุลไม่ได้ในหลายๆ ประเทศ เช่นประเทศไทยเอง และเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียก็กำลังเจอกับปัญหานี้ เมื่อเว็บไซต์จำนวนมากนัดกัน "จอดำ" เหมือนเมื่อครั้งที่เว็บทั่วโลกทำเพื่อประท้วงกฎหมาย SOPA
ที่จริงแล้วมาตรา 114A ไม่ใช่กฎหมายคอมพิวเตอร์โดยตรงแต่เป็นกฎหมายว่าด้วย "หลักฐาน" ของการเผยแพร่ข้อมูล โดยกฎหมายนี้เป็นกฎหมายเดิมที่กำหนดมาตรฐานการใช้หลักฐานในคดีต่างๆ แต่เมื่อต้นปีที่ผ่านมารัฐสภาของมาเลเซียได้แก้กฎหมายนี้จนเกิดเป็นมาตรา 114A ในปัจจุบัน ใจความของมันแบ่งออกเป็นสามส่วน และส่วนที่สี่คือนิยามคำตามกฎหมาย ได้แก่
ประเด็นลิขสิทธิ์ของ YouTube ที่มีข่าวมาก่อนหน้านี้ (1, 2) วันนี้ทางแกรมมี่โดยคุณกริช ทอมมัส ก็จัดแถลงข่าวอย่างเป็นทางการแล้ว โดยประเด็นที่ทาง GMM ชี้แจงมาคือในความเป็นจริงแล้วทั่วโลก เช่น สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, เยอรมัน, หรืออังกฤษ ล้วนมีโมเดลธุรกิจระหว่าง YouTube กับค่ายเพลงในประเทศเหล่านั้นทั้งสิ้น แต่สำหรับประเทศไทยนั้นมีปัญหาทางกฎหมายทำให้ YouTube ไม่สามารถเข้ามาเปิด YouTube.co.th เพื่อทำธุรกิจในประเทศไทยได้
เคยมีข่าว Wikipedia เตรียม "จอมืด" ประท้วงกฎหมาย SOPA มาก่อน ซึ่งครั้งนั้นเป็นภาคภาษาอังกฤษ มาคราวนี้ภาคภาษารัสเซียได้ปิดตัวไป 24 ชั่วโมงในวันอังคารที่ 10 กรกฏาคม (ไม่ได้ระบุช่วงเวลา แต่เข้าใจว่าน่าจะเป็นเวลามอสโก) เพื่อประท้วงกฎหมายที่กำลังถกเถียงกั้นในสภาของรัสเซียที่เกี่ยวกับการขึ้นบัญชีดำเว็บที่จะนำไปสู่การปิดกั้นอินเทอร์เน็ต
วันนี้ (10 กรกฏาคม 2555) เป็นแบบนี้ ลองเข้าไปดูซิครับ http://ru.wikipedia.org
รัฐโรดไอแลนด์นั้นเคยตรากฎหมายคล้ายกับพรบ.คอมพิวเตอร์บ้านเรา คือ การห้ามส่งข้อความเท็จ (false information) จะกลายเป็นความผิดอาญาตามกฎหมายมาตรา 11-52-7 โดยกฎหมายนี้ความตั้งใจเดิมคือการห้ามไม่ให้ปลอมตัวเพื่อไปทำธุรกรรมทางการเงิน หรือหลอกลวงผู้อื่น (เหมือนบ้านเราอีกแล้ว) แต่ในการใช้งานจริง ผลคือการหลอกคนอื่นว่าสวยหรือหล่อกว่าความจริงก็อาจจะกลายเป็นความผิดอาญาไปได้
กลุ่ม Rhode Island American Civil Liberties Union ที่เรียกร้องเสรีภาพทางการพูดระบุว่ากฎหมายมาตรานี้ทำให้คนในรัฐแทบทุกคนกลายเป็นอาชญากร และแม้การโกหกจะเป็นเรื่องที่ผิด มันก็ไม่ใช่เรื่องที่ควรเอาผิดทางอาญา