คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ภายใต้กระทรวงพาณิชย์มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ 44 พ.ศ.2560 เกี่ยวข้องกับการขายสินค้าออนไลน์ว่า ผู้ขายจะต้องแสดงราคาจำหน่าย ค่าบริการ รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ อาทิ ค่าส่ง ให้ชัดเจน ครบถ้วนและเปิดเผย หากไม่ทำตามมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
ผมได้โทรไปสอบถามกับกรมการค้าภายในเพื่อยืนยันว่า การประกาศขายสินค้าโดยไม่บอกราคาชัดเจน แต่กลับให้ inbox เพื่อสอบถามราคานั้นผิดกฎหมาย ซึ่งผู้ขายต้องบอกให้ชัดเจนด้วย หากมีส่วนลดหรือโปรโมชันกับสมาชิกหรือบัตรเครดิต และผู้ที่พบเห็นการกระทำผิดสามารถแจ้งได้กับสายด่วนกระทรวงพาณิชย์ (1569) พร้อมสินบนนำจับในอัตรา 25% ของค่าปรับหรือมูลค่าสุทธิของสินค้าที่ศาลมีคำสั่งยึด
วันนี้กระทรวงคมนาคมเรียกตัวแทน Uber และแท็กซี่เข้ามาหารือใช้เวลากว่าสามชั่วโมง ได้ข้อสรุปสำคัญคือทางกระทรวงจะจ้างที่ปรึกษามาศึกษาว่าควรทำอย่างไร โดยใช้เวลา 6-12 เดือน
ทางกระทรวงขอให้ Uber หยุดให้บริการไปก่อนระหว่างนี้แต่ทางบริษัทไม่ตกลง
จนตอนนี้ชาติในอาเซียนออกกฎหมายสำหรับบริการนำรถยนต์ส่วนบุคคลออกมาให้บริการแล้วหลายชาติ เช่น อินโดนีเซียออกกฎหมายตั้งแต่มีนาคมปี 2016, สิงคโปร์และมาเลเซียก็ออกกฎหมายหรืออยู่ระหว่างออกกฎหมาย หากไทยใช้เวลาศึกษาก่อนที่จะเริ่มกระบวนการออกกฎหมายเราก็อาจจะเริ่มกระบวนการร่างกฎหมายกันได้ประมาณปี 2018
ที่มา - ThaiPBS
นับเป็นอีกหนึ่งสัญญาณเชิงบวกสำหรับรถยนต์ไร้คนขับ เมื่อทางการของรัฐแคลิฟอร์เนียเสนอร่างกฎหมายฉบับใหม่ ที่เปิดทางให้รถยนต์ไร้คนขับออกมาวิ่งบนท้องถนนได้ง่ายมากขึ้น แค่บริษัทผู้ผลิตทำเรื่องขอใบอนุญาตจากกรมการขนส่งเท่านั้น โดยไม่จำเป็นต้องทดสอบวิ่งในรัฐมาก่อน
กฎหมายฉบับเดิมระบุให้กระบวการขอใบรับรองจะต้องมีการสาธิตเทคโนโลยีไร้คนขับ, ต้องมีคนขับที่มีใบขับขี่อยู่ในรถตลอด ส่วนใบอนุญาตมีหมดอายุและผู้ผลิตจะต้องส่งรีพอร์ทให้ทุกเดือน ขณะที่กรมการขนส่งก็เคยพิจารณาว่าบริษัทรถไร้คนขับจะต้องขออนุญาตรัฐบาลท้องถิ่นในทุกๆ เมืองที่รถไร้คนขับจะขับเข้าไป ก่อนที่จะมองว่าขั้นตอนต่างๆ นั้นยุ่งยาก จึงเปลี่ยนเป็นเงื่อนไขในร่างกฎหมายฉบับล่าสุดแทน และไม่จำเป็นต้องส่งรีพอร์ทให้กรมอีกต่อไป
กระทรวงการคลังเปิดเผยว่าเตรียมจะปรับโครงสร้างภาษีออนไลน์ เช่นเดียวกับที่หลายประเทศเริ่มดำเนินการไปบ้างแล้ว โดยจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% กับ 5 กลุ่มเว็บไซต์ยักษ์ใหญ่ ตั้งแต่อีคอมเมิร์ซอย่าง Lazada, Alibaba กลุ่มโซเชียลมีเดียที่มีรายได้จากโฆษณาอย่างเฟซบุ๊ก กูเกิลและ YouTube กลุ่มเว็บไซต์จองที่พักโรงแรม, กลุ่มเว็บไซต์จองตั๋วคอนเสิร์ต และเว็บไซต์นายหน้าขายสินค้าและบริการ อาทิ ประกันออนไลน์และเว็บไซต์หาคู่
ถัดจากการล่อจับในเชียงใหม่เมื่อสัปดาห์ทีแล้ว เมื่อวานก็มีข่าวว่ากรมการขนส่งได้ล่อจับ Uber ไปได้ถึง 18 คัน ซึ่งล่าสุดนายณันทพงศ์ เชิดชู รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบกเผยว่ากรมอาจจะใช้ ม.44 เป็นยาแรงสั่งปิด Uber จากการที่แอพลักษณะนี้ทำลายระบบขนส่งสาธาณะ
รองอธิบดีกรมการขนส่งระบุว่าว่าต้องสร้างความเข้าใจให้กับคนไทยว่าบริการเช่น Uber นั้นผิดกฎหมาย และหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น ประชาชนจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย รวมถึงเรียกร้องให้กลุ่มผู้ให้บริการแท็กซี่ปรับปรุงการให้บริการ เพื่อกระตุ้นให้คนใช้บริการมากขึ้น
ที่มา - The Nation
เราเห็นข่าวเรื่องการติดตามข้อมูลส่วนบุคคลและที่ตั้งของ Uber มาเนืองๆ ขณะเดียวกันในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาก็มีข่าวว่ากรมขนส่งของเชียงใหม่ ล่อซื้อ Uber ไปเพื่อปรับฐานให้บริการผิดกฎหมาย ซึ่งดูเหมือนในต่างประเทศการล่อจับ Uber ในลักษณะนี้มีมาซักระยะแล้วเช่นกัน และ Uber เองก็มีมาตรการป้องกันและรับมืออยู่แล้วด้วย จากการติดตามข้อมูลและที่ตั้งนี้เอง
ข้อมูลนี้ถูกเปิดเผยโดยอดีตพนักงาน Uber กับทาง The New York Times ซึ่งระบุว่า Uber มีโปรแกรมลับที่เรียกว่า Violation of Terms of Service (VTOS) สำหรับจัดการผู้ใช้ที่บริการของตนเองอย่างผิดที่ผิดทาง โดยหนึ่งในเครื่องมือของโปรแกรม VTOS มีชื่อเรียกว่า Greyball เพื่อหลอกเจ้าหน้าที่รัฐที่พยายามจะล่อซื้อ Uber
ก่อนหน้านี้เราเคยได้ยินข่าวทดลองใช้หุ่นยนต์ให้บริการส่งสินค้าถึงบ้านกันมาบ่อยครั้ง แต่ยังไม่เคยได้ยินว่ามีที่ไหนนำเรื่องนี้เป็นกฎหมายอย่างจริงจัง รอบนี้ รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐฯ เป็นที่แรกที่ทำเรื่องนี้ เปิดให้ 'หุ่นยนต์ส่งของ' สามารถใช้พื้นที่ทางเท้าในการให้บริการลูกค้าได้ทั่วรัฐอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีผล 1 กรกฎาคมนี้
Ron Villanueva และ Bill DeSteph นักกฎหมายร่วมมือกับบริษัท Starship Technologies ผู้ผลิตหุ่นยนต์ส่งของ ในการผลักดันและร่างกฎหมายดังกล่าว
กฎหมายระบุว่า อนุญาตให้หุ่นยนต์เดินทางเฉพาะทางเท้าและทางม้าลายเท่านั้น การที่ Starship ผลักดันเรื่องนี้ให้มีผลทางกฎหมายเป็นการเปิดทางให้คู่แข่งอย่าง Marble และ Dispatch เข้ามาทำการตลาดในพื้นที่นี้ด้วย
สำนักงานตำรวจแห่งชาติญี่ปุ่นเปิดเผยว่า หลังเริ่มใช้งานกฎหมายการบินพลเรือนที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานโดรนในช่วงปลายปี 2015 ปรากฎว่ามีผู้ละเมิดกฎหมายทั้งหมด 37 คน โดยส่วนใหญ่เป็นการบินเข้าไปในพื้นที่ห้ามบินและการใช้งานโดรนโดยไม่มีใบอนุญาต
คุณค่าของข่าวนี้คือการนำโดรนในบินถ่ายภาพในญี่ปุ่นนั้นจะต้องได้รับใบอนุญาตก่อน รวมถึงหลายพื้นที่ถูกกำหนดไว้เป็นเขตห้ามบิน ดังนั้นใครจะนำโดรนไปเที่ยวญี่ปุ่นก็ให้ระมัดระวังกฎหมายฉบับนี้เอาไว้ด้วย
ทั้งนี้กฎหมายเกี่ยวกับโดรนในญี่ปุ่น มีขึ้นหลังมีคนใช้โดรนขนวัตถุที่กัมมันตรังสีไปวางไว้บนหลังคาทำเนียบรัฐบาลในช่วงกลางปี 2015
ปัจจุบัน รัฐเนแบรสกา (Nebraska) ในสหรัฐฯ มีกฎหมายหนึ่งที่ผู้ใช้มีสิทธิซ่อมของตัวเองได้หรือ right to repair ซึ่งตอนนี้ Apple กำลังล็อบบี้นักกฎหมายของทางรัฐให้ยกเลิกกฎหมายนี้เสีย ด้วยเหตุผลที่ว่าการซ่อมแบบที่ไม่ได้รับอนุญาตจะทำให้รัฐเป็นแหล่งชุมนุมของแฮกเกอร์
กฎหมาย right to repair ปัจจุบันมีการบังคับใช้ในแปดรัฐ คือ Nebraska, New York, Tennessee, Wyoming, Minnesota, Kansas, Illinois และ Massachusetts ซึ่งบังคับให้ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต้องทำให้อุปกรณ์สามารถซ่อมได้โดยผู้ใช้ทั่วไปและผู้เชี่ยวชาญที่ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้รับซ่อมที่ได้รับอนุญาตจากบริษัทด้วย และทางบริษัทต้องทำคู่มือเพื่อสำหรับการซ่อมด้วย
หน่วยงานเครือข่ายรัฐบาลกลางเยอรมัน (The Federal Network Agency) สั่งถอดตุ๊กตา My Friend Cayla ออกจากร้านขายของทั้งหมด เพราะในตัวตุ๊กตามีไมโครโฟนบันทึกการสนทนา เข้าข่ายการจารกรรมข้อมูล ส่วนผู้ปกครองที่ซื้อตุ๊กตาไปให้ลูกหลาน ทางการขอร้องให้ทำลายทิ้งเสีย
ตุ๊กตา Cayla มีไมโครโฟน ที่ใช้พูดคุยกับเด็กๆ ฟีเจอร์ของตุ๊กตาถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่อุปกรณ์จารกรรมข้อมูลแบบแอบแฝง (hidden espionage devices) ซึ่งผิดกฎหมายของเยอรมนี
สภาสูงออสเตรเลียผ่านกฎหมายให้ทุกองค์กรต้องรายงานหากเกิดเหตุการณ์ข้อมูลลูกค้ารั่วไหลภายใน 30 วัน หลังจากที่มีการพิจารณาร่างนี้มาตั้งแต่ปี 2012
กฎหมายระบุให้องค์กรต้องดูแลข้อมูลอย่างรัดกุม และหากมีการรั่วไหลต้องแจ้งคณะกรรมาธิการสิทธิส่วนบุคคลของออสเตรเลียหรือ Australia's Privacy Commissioner ภายใน 30 วัน คณะกรรมาธิการสามารถระบุข้อยกเว้น ให้บริษัทไม่ต้องแจ้งผู้ใช้เวลาข้อมูลของผู้ใช้นั้นๆ รั่วเป็นรายกรณีไปได้
ตัวอย่างข้อยกเว้นคือ หากข้อมูลรั่วไหลจากองค์กรการเงิน และรายงานได้ก่อนที่จะเกิดการขโมยเงินลูกค้า กรณีนี้ก็ไม่ต้องแจ้งผู้ใช้ หรือเกิดเหตุการณ์อีเมลรั่วจากคนหึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง โดยสามารถเจรจาให้คนที่สองลบข้อมูลอีเมลได้ หรือมีพนักงานเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้ขออนุญาตเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ แต่เข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้มีเจตนาร้าย เป็นต้น
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ฯ ที่ผ่านการโหวตของ สนช. เมื่อปลายปี ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาแล้ว โดยมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ (ลงราชกิจจานุเบกษาปีนี้ ดังนั้นนับเป็น 60 ไม่ใช่ 59)
เนื้อหาของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ปี 2560 เป็นข่าวกันไปเยอะแล้ว หาอ่านบทวิเคราะห์ได้จากข่าวเก่าในหมวด Law ส่วนคนที่อยากอ่านฉบับเต็ม ดูได้จาก เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
จีนดำเนินนโยบาย Great Firewall ปิดกั้นการเข้าถึงบริการและสื่อสังคมออนไลน์ของต่างประเทศ ทำให้ชาวจีนและชาวต่างประเทศที่อยู่ในจีนหากจะเข้าถึงบริการเหล่านั้น จะต้องมุดผ่าน VPN เอา แต่ล่าสุดทางการจีนตัดสินใจปิดช่องทางนี้อีกช่องทาง พร้อมประกาศว่าบริการ VPN ต่างๆ นั้นผิดกฎหมายแล้ว
กระทรวงอุตสาหกรรมและไอที (Ministry of Industry and Information Technology) ได้ประกาศว่าการให้บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านช่องทางพิเศษและบริการ VPN นั้นจะต้องได้รับการยินยอมจากรัฐบาลก่อน โดยนโยบายนี้จะมีผลทันทีไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2018
สืบเนื่องจากกรณีความขัดแย้งระหว่าง Uber และรัฐบาลไต้หวันตั้งแต่ช่วงกลางปีที่แล้ว ที่รัฐบาลไต้หวันยกเลิกใบอนุญาต Uber เนื่องจากจดทะเบียนบริษัทผิดประเภท จนรัฐบาลต้องขอความร่วมมือแอปเปิลและกูเกิล นำ Uber ออกจาแอพสโตร์
ล่าสุดรัฐบาลประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน ผ่านร่างแก้ไขกฎหมายลงโทษคนขับแท็กซี่ผิดกฎหมายและคนขับฉบับใหม่ เป็นค่าปรับขั้นต่ำ 3,164 เหรียญสหรัฐและสูงสุด 791, 277 เหรียญสหรัฐ โดยทางการจะแบ่งส่วนหนึ่งของค่าปรับเป็นรางวัลให้กับคนนำจับด้วย
คณะกรรมาธิการด้านกฎหมายของรัฐสภายุโรป (European Parliament) ออกมาเรียกร้องให้คณะกรรมการยุโรป (EU Commission) ออกกฎควบคุมเรื่องจริยธรรมการใช้หุ่นยนต์ ซึ่งจะเป็นประเด็นใหญ่ในอนาคต
คณะกรรมาธิการเสนอให้ยุโรปต้องมีกฎ Ethical Conduct Code เพื่อกำกับดูแลการใช้หุ่นยนต์ และหาผู้รับผิดชอบผลกระทบที่ตามมาในแง่มุมต่างๆ เช่น ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม สุขภาพ ไอเดียหนึ่งที่เสนอคือหุ่นยนต์ต้องมีปุ่มหยุดการทำงาน (kill switch) เพื่อสั่งปิดหุ่นยนต์ในยามฉุกเฉินด้วย
ข้อเสนออื่นคือยุโรปต้องติดตามปัญหาเรื่องอาชีพการงานที่จะโดนแย่งโดยหุ่นยนต์ และเสนอว่ายุโรปต้องตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาดูแลเรื่องหุ่นยนต์และ AI โดยเฉพาะ ข้อเสนอนี้จะถูกส่งเข้าไปยังรัฐสภายุโรปในเดือนกุมภาพันธ์นี้
รัฐสภาสิงคโปร์กำลังพิจารณาร่างแก้ไขกฎหมายจราจรใหม่ ที่มีบทลงโทษคนขับรถให้กับแอพเรียกรถ (Ride-Sharing) อาทิ Uber และ Grab ที่นำรถยนต์ส่วนตัวมาให้บริการ, ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ที่ถูกต้องและไม่มีประกันภัย
คนขับที่ถูกจับได้ว่าทำผิดตามกรณีข้างต้น อาจถูกแบนจากการให้บริการในลักษณะนี้ ขณะที่แอพที่มีคนขับทำผิดกฎครบ 3 ครั้ง อาจถูกพักหรือระงับการให้บริการ โดยตัวกฎหมายระบุให้คนขับรถต้องเข้าคอร์สอบรบ ตรวจสอบภูมิหลังและตรวจสุขภาพก่อนสอบใบขับขี่สำหรับให้บริการรถสาธารณะ ขณะที่รถที่นำมาให้บริการก็ต้องขึ้นทะเบียนกับกรมการขนส่งด้วยว่า เป็นรถส่วนตัวที่นำมาให้บริการรับจ้าง
ผู้ให้บริการเรียกรถ Ride-Sharing ในจีนอย่าง Didi Chuxing และ Uber กำลังจะประสบปัญหาการให้บริการในแง่ของคนขับ อย่างน้อยๆ ตอนนี้ก็ในกรุงปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ หลังทั้งสองเมือง ประกาศใช้กฎหมายใหม่ที่ระบุว่าคนขับรถแท็กซี่แบบ on-demand จะสามารถให้บริการในเมืองหนึ่งๆ ได้ก็ต่อเมื่อลงทะเบียนว่าเป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองนั้นๆ
Thomas Oppermann สมาชิกพรรค SPD ของเยอรมันเผยว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องใช้กฎหมายจัดการกับปัญหาข่าวปลอมใน Facebook ถ้ามีข่าวปลอมปรากฏบนหน้าฟีด แล้ว Facebook ไม่ลบออกภายใน 24 ชั่วโมง จะลงโทษปรับ 5 แสนยูโรต่อ 1 ข่าว
นอกจากนี้กฎหมายดังกล่าวมีแผนจะประกาศใช้ให้เร็วที่สุด สำนักข่าวเยอรมัน Deutsche Welle รายงานว่า มีแผนจะบังคับใช้ก่อนการเลือกตั้งปีหน้า และจะเริ่มอภิปรายกันหลังวันหยุดคริสต์มาสนี้
มีฝ่ายโต้แย้งเรื่องการผลักดันกฎหมายนี้เหมือนกัน คือสมาคมสำนักพิมพ์หนังสือพิมพ์ของเยอรมันหรือ BDZV (Germany’s federal association of newspaper publishers) แย้งว่า Facebook ไม่ใช่สำนักข่าว เป็นเพียงแพลตฟอร์มกลางในการนำเสนอข่าว ไม่ใช่ฟันเฟืองเครื่องมือที่สร้างหรือเขียนข่าวขึ้นมา
พ.ร.บ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ ผ่านการโหวตของ สนช. ไปเรียบร้อยแล้ว แต่กฎหมาย "ชุด" นี้ยังไม่จบ เพราะมีร่าง พ.ร.บ. อีกฉบับที่ใช้ควบคู่กัน นั่นคือ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคง ปลอดภัยไซเบอร์ ที่อาจน่ากลัวกว่า พ.ร.บ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์ด้วยซ้ำ
ประเด็นที่หลายคนติดตามในวันนี้คือ ร่าง พ.ร.บ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ ที่เข้าพิจารณาวาระ 3 ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
ล่าสุด ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ ผ่านการโหวตของสมาชิก สนช. เรียบร้อยแล้ว โดยมีสมาชิกเข้าร่วมประชุมทั้งหมด 172 คน โหวตเห็นด้วย 167 คน งดออกเสียง 5 คน และไม่มีใครโหวตคัดค้านเลย
สมาคมฟินเทคแห่งประเทศไทย (Thai FinTech Association) นำโดยนายกรณ์ จาติกวณิช ประธานสมาคม ออกมาแสดงความกังวลต่อร่าง พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ ที่จะเข้าพิจารณาในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วันนี้
นายกรณ์ โพสต์แสดงความเห็นใน Facebook ว่าประเด็นที่กังวลที่สุดคือการให้อำนาจคณะกรรมการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของประชาชนได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการยุติธรรมปกติ และไม่ต้องมีการบันทึกการปฏิบัติหน้าที่โดยเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจความเหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ในภายหลัง
ในโพสต์ยังมองว่ากฎหมายฉบับนี้สวนทางกับนโยบายเศรษฐกิจ Thailand 4.0 ที่ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลกำลังผลักดันอยู่ และจะบีบให้ผู้ประกอบการ FinTech ต้องออกไปทำธุรกิจที่ต่างประเทศแทนประเทศไทย
หลังเครือข่ายพลเมืองเน็ตและองค์กรนิรโทษกรรมสากล ประเทศไทย ยื่นรายชื่อกว่าสามแสนรายที่ไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้สภาลงมติไม่รับร่างพ.ร.บ. ในวาระ 2 และวาระ 3 นั้น
ล่าสุด พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ สมาชิก สนช. และประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ยืนยันว่าคณะกรรมาธิการจะพิจารณาแก้ไขร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ให้รัดกุมและชัดเจนมากยิ่งขึ้น พร้อมยืนยันว่าไม่มีการนำเรื่องซิงเกิลเกตเวย์เข้ามาปนอย่างที่เข้าใจผิดกัน เนื่องจากเป็นกฎหมายอีกฉบับ ไม่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์
ประเด็นค่าจ้าง-ค่าแรงของคนขับอูเบอร์ควรจะได้เท่าไร และสถานะคนขับอยู่ตรงไหนระหว่างทำงานชั่วคราวหรือพนักงานก็ยังไม่ชัดเจน สตาร์ทอัพอีกแห่งที่เจอปัญหาแบบนี้เช่นกันคือ Postmates บริการส่งอาหาร เพิ่งถูกศาลตัดสินให้จ่ายค่าคอมมิชชั่นคนขับกว่า 3,000 คน ย้อนหลัง 2 ปี
เรื่องราวเริ่มต้นจากการบาดเจ็บระหว่างส่งอาหารของคนขับ Postmates คนหนึ่ง และเมื่อกรมแรงงานวอชิงตัน (Washington’s Department of Labor & Industries) มาตรวจสอบ ก็พบว่าทางบริษัทไม่เคยจ่ายค่าคอมมิชชั่น ค่าชดเชยจากการขนส่งสินค้าให้กับคนทำงานเหล่านี้เลย โดยบริษัทให้เหตุผลว่าเพราะพวกเขาเป็น "คนทำงานอิสระ" ไม่ใช่พนักงาน
วันนี้มีผู้สื่อข่าวเข้าสัมภาษณ์พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. เรื่อง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่จะประชุมพิจารณาวาระสุดท้ายในวันพรุ่งนี้ โดยนายกฯ ยังยืนกรานว่า พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์มีความจำเป็น โดยเฉพาะสกัดเว็บหมิ่นสถาบันเบื้องสูง
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวถึงซิงเกิ้ลเกตเวย์ว่าจะไม่นำมาใช้ แต่จำเป็นต้องมี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เพราะมีข้อมูลด้านลบมาจากต่างประเทศ ซึ่งป้องกันยาก โดยเฉพาะการหมิ่นสถาบัน
ช่วงเช้าวันนี้ เครือข่ายพลเมืองเน็ตและแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้เข้ายื่นรายชื่อกว่าสามแสนรายที่ไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว
วันนี้มีผู้สื่อข่าวจากมติชน เข้าสัมภาษณ์ พล.ต.ฤทธี อินทราวุธ ผู้อำนวยการศูนย์ไซเบอร์ของกองทัพบก ถึงร่าง พ.ร.บ. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ที่กำลังเป็นประเด็นร้อนแรง โดยพล.ต.ฤทธี ยืนยันว่า พ.ร.บ. คอมฯมีประโยชน์ เหมาะกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยี
"ขอเรียนประชาชนทุกท่านควรอ่านข้อกฎหมายให้ครบถ้วน และไม่ควรหลงเชื่อกระแสบิดเบือนข้อมูลจนทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม โดยเฉพาะในช่วงเวลานี้ ซึ่งเป็นเวลาที่คนไทยทั้งชาติอยู่ในความอาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งต้องการความรัก สามัคคี และกำลังใจในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กลับคืนมาโดยเร็ว" พล.ต.ฤทธี กล่าว
พล.ต.ฤทธี กล่าวเพิ่มเติมว่า วอนอย่าเชื่อคนสร้างกระแสบิดเบือน เพื่อไม่ให้เกิดความแตกแยกในสังคม