การใช้งาน SAP HANA platforms บนเครื่อง IBM Power Systems ขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมในองค์กรขนาดใหญ่ โดยทาง Nextech System Service เป็นผู้ให้บริการออกแบบ วางแผน และติดตั้ง SAP HANA บน IBM Power Systems ซึ่งมีประสิทธิภาพในการทำงานแบบเหนือชั้น
เมื่อวานนี้ SAP ประเทศไทย โดย Liher Urbizu กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคอินโดจีนของ SAP แถลงข่าวเปิดตัวรายงานวิจัยและผลสำรวจ Digital Experience Report ของประเทศไทย ที่บริษัทจัดทำโดยประยุกต์ใช้วิธีการของ Net Promoter Score จากบริษัท Bain & Company มาใช้ในการสำรวจและวิจัยครั้งนี้
Apple และ SAP ประกาศความร่วมมือเตรียมออกชุดพัฒนาแอปพลิเคชั่นใหม่ที่จะช่วยให้นักพัฒนาแอปสามารถพัฒนาแอปสำหรับลูกค้าองค์กรได้ง่ายขึ้น
ชุดพัฒนาใหม่นี้จะใช้ SAP HANA Cloud Platform เป็นส่วนสำคัญและรองรับภาษาพัฒนาส่วนติดต่อผู้ใช้ SAP Fiori และใน SAP Academy จะมีบทเรียนสำหรับเทคโนโลยีเหล่านี้ด้วย โดยทั้งชุดพัฒนาและบทเรียนจะพร้อมภายในปลายปีนี้
SAP เปิดตัวบริการใหม่ SAP Cloud for Analytics บริการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเช่าใช้งานบนกลุ่มเมฆ (SaaS)
SAP Cloud for Analytics ถูกพัฒนาขึ้นบนแพลตฟอร์ม SAP HANA Cloud Platform โดยมุ่งเป้าเป็นบริการวิเคราะห์ข้อมูลด้าน business intelligence (BI) และการวางแผนภายในองค์กร จุดเด่นคือมีฟีเจอร์ครบครัน แต่อยู่บนอินเทอร์เฟซเดียวกันหมด ออกแบบ UI ให้ใช้งานง่ายมาตั้งแต่แรก แถมในอนาคตจะเพิ่มฟีเจอร์ predictive ช่วยคาดเดาแนวโน้มของข้อมูลได้ด้วย
SAP จะเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมของ SAP Cloud for Analytics ในสัปดาห์หน้า
ค่าย SAP ลงมาบุกตลาด Internet of Things ด้วยผลิตภัณฑ์ชื่อยาวเหยียด SAP HANA Cloud Platform for the Internet of Things (ตัวย่อคือ HCP for IoT)
SAP HCP for IoT ทำตัวเป็นแพลตฟอร์มกลางสำหรับบริหาร device cloud โดยจะทำหน้าที่ทั้งบริหารจัดการระดับของอุปกรณ์และระดับของแอพพลิเคชัน มันจะกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถนำข้อมูลที่ได้จาก IoT ไปใช้งานต่ออีกชั้นหนึ่ง (ซึ่งองค์กรที่ใช้ SAP อยู่แล้วก็สามารถเชื่อมต่อข้อมูลไปยัง SAP Business Suite 4 ได้เลย)
ในโอกาสนี้ SAP ยังประกาศความร่วมมือกับ Intel ในการพัฒนา HCP for IoT ให้ทำงานได้กับแพลตฟอร์ม IoT ของอินเทลด้วย
ช่วงนี้ SAP จัดงานประจำปี SAPPHIRE NOW มีข่าวผลิตภัณฑ์ใหม่หลายอย่าง ที่น่าสนใจคือ SAP ประกาศความร่วมมือกับกูเกิลชุดใหญ่ ดังนี้
ช่วงหลังเราเห็นบริษัทด้านไอทีพยายามตั้งกลุ่มมาตรฐานด้าน Internet of Things (IoT) เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองในวงการ ตัวอย่างเช่น AllJoyn ที่นำโดย Qualcomm, Open Interconnect Consortium จากอินเทล, Industrial Internet Consortium
อย่างไรก็ตาม กลุ่มมาตรฐานเหล่านี้ผลักดันโดยบริษัทไอทีฝั่งอเมริกันเป็นหลัก ทำให้บริษัทจากประเทศอื่นเริ่มกังวลว่าจะต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหรัฐมากเกินไป ล่าสุดบริษัทฝั่งเยอรมนีจึงเริ่มขยับทำกลุ่มมาตรฐาน IoT ของประเทศตัวเองบ้าง
คดีระหว่างออราเคิลและ SAP ที่บริษัทลูกคือ TomorrowNow ไปดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ของออราเคิลเพื่อให้บริการลูกค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต คดีนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2007 และมีการปรับค่าเสียหายกันหลายครั้งจากครั้งแรกที่ลูกขุนสั่งให้จ่ายค่าเสียหายถึง 1,300 ล้านดอลลาร์ ตอนนี้ทั้งสองบริษัทก็ตกลงกันได้โดยจะจ่ายค่าเสียหาย 359.2 ล้านดอลลาร์
ค่าเสียหายแยกเป็นค่าเสียหายโดยตรง 356.7 ล้านดอลลาร์ และดอกเบี้ยอีก 2.5 ล้านดอลลาร์ นอกจากนั้น SAP ยังจ่ายค่าใช้จ่ายทางกฎหมายให้ออราเคิลไปแล้วอีก 120 ล้านดอลลาร์
ปิดคดียาวนาน 7 ปีไปอีกคดี
เมื่อกลางปีเราเห็นข่าว แอปเปิลผนึกกำลังไอบีเอ็ม ลุยตลาดอุปกรณ์พกพาสำหรับองค์กร คราวนี้เป็นคู่แข่งของสองบริษัทข้างต้นหันมาจับมือกันเพื่อต่อกรบ้าง
Samsung Electronics ประกาศความร่วมมือกับ SAP เพื่อพัฒนาโซลูชันสำหรับอุปกรณ์พกพาในองค์กร ( enterprise mobility) เช่นกัน โดยโซลูชันนี้จะอิงอยู่บนอุปกรณ์พกพา-อุปกรณ์แบบสวมใส่ของซัมซุง และโซลูชันซอฟต์แวร์-กลุ่มเมฆของ SAP
SAP นั้นเชี่ยวชาญเรื่องซอฟต์แวร์สำหรับอุตสาหกรรมเฉพาะทาง ความร่วมมือนี้จะเน้นไปที่อุตสาหกรรมค้าปลีก (เช็คสต๊อกผ่านอุปกรณ์พกพา) พลังงาน (แอพภาคสนามของ SAP ทำงานบน Galaxy Tab Active) การเงิน (mobile banking) สุขภาพ (วิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพผ่านอุปกรณ์พกพา)
บริษัทไอที 7 แห่ง ประกอบด้วย Asana, Canon, Dropbox, Google, Newegg, Pure Storage, SAP ประกาศตั้งกลุ่ม License on Transfer (LOT) Network หรือ LOTNET ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อแลกเปลี่ยนสิทธิบัตรกันระหว่างสมาชิก เพื่อใช้ป้องกันตัวถ้าหากต้องเจอคดีฟ้องสิทธิบัตรในอนาคต
LOTNET ระบุว่ามีสิทธิบัตรในมือทั้งหมดเกือบ 300,000 รายการ (นับรวมสิทธิบัตรที่อยู่ระหว่างการยื่นจด) ในจำนวนนี้มีสิทธิบัตรที่จดในสหรัฐมากกว่า 50,000 รายการ
LOTNET ประกาศชัดเจนว่าความเสี่ยงจากการถูกฟ้องสิทธิบัตรโดย patent troll หรือบริษัทที่จดสิทธิบัตรเพื่อตั้งใจฟ้องมีสูงขึ้นเรื่อยๆ และตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา มีคดีฟ้องร้องด้านสิทธิบัตรมาแล้วมากกว่า 10,000 คดี
รายงานผลประกอบการของ SAP ไตรมาสแรกของปีนี้ยังคงเติบโตเล็กน้อย รายได้รวม 3,698 ล้านยูโร เพิ่มจากไตรมาสแรกของปีที่แล้ว 97 ล้านยูโรหรือประมาณ 3% แต่แนวทางที่เห็นชัดคือรายได้จากการสมัครใช้บริการคลาวด์เพิ่มขึ้นถึง 82% เป็น 219 ล้านยูโรแล้ว แม้จะเป็นรายได้ส่วนเล็กๆ ของบริษัทแต่ก็นับว่าเติบโตอย่างรวดเร็ว
ขณะที่รายได้จากการขายซอฟต์แวร์มีแนวโน้มส่วนทาง จากเดิม 657 ล้านยูโร ปีนี้กลับลดลงเหลือ 623 ล้านยูโร อย่างไรก็ดีรายได้จากการซัพพอร์ตซอฟต์แวร์เดิมซึ่งเป็นรายได้ก้อนใหญ่ ยังคงเติบโตเพิ่มขึ้น 5% มาเป็น 2,213 ล้านยูโร
SAP เปิดตัวโมเดลการใช้ระบบฐานข้อมูลในหน่วยความจำ HANA ให้เช่าใช้งานรายเดือน โดยให้ลูกค้าสามารถซื้อได้สามรูปแบบ คือ Infrastructure Services เช่าเฉพาะเซิร์ฟเวอร์และใช้ไลเซนส์ที่มีอยู่แล้วมารันบนโครงสร้างของ SAP, DB Service มาพร้อมกับไลเซนส์ HANA สามารถเช่าใช้งานได้เลย, App Service วางแอพพลิเคชั่นบนโครงสร้างของ SAP สามารถขายบน Marketplace ของ SAP ได้อีกด้วย
เมื่อต้นเดือนนี้มีข่าวลือมาว่า SAP เป็นหนึ่งในบริษัทที่สนใจซื้อ BlackBerry (บริษัทอื่นที่มีชื่อคือ Cisco/Google) แต่ล่าสุดซีเอฟโอของ SAP ออกมาปฏิเสธข่าวนี้แล้ว
Werner Brandt ซีเอฟโอของ SAP ให้สัมภาษณ์กับสื่อเยอรมันสั้นๆ ว่า "BlackBerry ไม่ตรงกับยุทธศาสตร์ของ SAP"
เว็บไซต์ Business Insider ประเมินว่า SAP มีผลิตภัณฑ์ด้านการบริหารจัดการอุปกรณ์พกพาในองค์กรอยู่แล้วคือแบรนด์ Afaria และยุทธศาสตร์ธุรกิจของ SAP ก็ไม่น่าสนใจแอพแชทอย่าง BBM สักเท่าไร (หรือถ้าสนใจแอพแชทจริงๆ ไปซื้อ WhatsApp น่าจะยังดีกว่าด้วยซ้ำ)
สำนักข่าว Reuters รายงานข่าววงในว่ามีบริษัทหลายรายสนใจซื้อกิจการ BlackBerry (ยังไม่แน่ชัดว่าทั้งหมดหรือบางส่วน) โดยบริษัทที่มีข่าวว่ากำลังพูดคุยเจรจากับ BlackBerry อยู่ตอนนี้มี 3 รายคือ Cisco, SAP, Google
นอกจากนี้ยังมีข่าวว่าฝั่งของ BlackBerry เองก็ได้สอบถามไปยังบริษัทอีกหลายรายว่าสนใจซื้อหรือไม่ บริษัทเหล่านี้ได้แก่ LG, Samsung, Intel ซึ่งก็ยังไม่แน่ชัดว่ามีบริษัทใดสนใจบ้าง
ก่อนหน้านี้ BlackBerry ประกาศข้อตกลงเบื้องต้นกับกลุ่มทุนประกันภัย Fairfax ของแคนาดา โดยถ้าหากว่า BlackBerry ยังไม่สามารถหาผู้ซื้อรายอื่นๆ ได้ในวันที่ 4 พฤศจิกายน ก็จะตกลงขายหุ้นให้กับ Fairfax แทน
เอชพีประกาศเปิดบริการฐานข้อมูลในหน่วยความจำ (in-memory database) ด้วยซอฟต์แวร์ SAP HANA ในศูนย์ข้อมูลของตัวเองในนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย
ชื่อเต็มของบริการนี้คือ HP As-a-Service Solution for SAP HANA โดยคิดค่าบริการรายเดือนเพื่อเช่าใช้ทั้งไลเซนส์ซอฟต์แวร์และโครงสร้างพื้นฐานของเอชพี
บริการนี้มาคู่กับบริการ HP Migration Factory for SAP HANA ที่ให้บริการย้ายฐานข้อมูล ส่วนเซิร์ฟเวอร์นั้นจะใช้เซิร์ฟเวอร์ HP AppSystem for SAP HANA ที่เปิดตัวไปแล้วก่อนหน้านี้
เอชพียังไม่ระบุว่าจะเปิดบริการนี้ในประเทศอื่นๆ เมื่อไหร่ แต่แนวทางช่วงหลังของเอชพีก็คงพยายามหันไปให้บริการซอฟต์แวร์มากขึ้นเรื่อยๆ บริการนี้ก็น่าจะกระจายไปตลาดหลักอื่นๆ ต่อไป
ออราเคิลเปิดตัว Oracle Database 12c ตั้งแต่ปีที่แล้ว แม้ตอนนี้ยังไม่ออกตัวจริงแต่ทางซีอีโอ Larry Ellison ก็เริ่มพูดถึงเวอร์ชันต่อไป Oracle Database 12.1c แล้ว
ฟีเจอร์ใหม่ของ Oracle 12.1c จะเน้นเรื่องการใช้งานฐานข้อมูลแบบโหลดทั้งหมดใส่หน่วยความจำ (in-memory database) แทนการอ่านข้อมูลจากดิสก์เพราะมีประสิทธิภาพดีกว่ากันมาก และคู่แข่งอย่าง SAP ก็ล้ำหน้าไปก่อนแล้วด้วย SAP HANA
อย่างไรก็ตาม Ellison ยืนยันว่า Oracle 12.1c จะมีประสิทธิภาพดีกว่า SAP HANA มากจนถึงขนาดว่า HANA สู้ไม่ได้เลยทีเดียว (แต่ออราเคิลก็ยังไม่บอกว่าจะออก 12.1c เมื่อไร)
Update lew: ข่าวนี้ผมได้รับอพเดตจากคุณ @Thepparith ที่เป็นนักข่าวและติดต่อไปยัง SAP Thailand ว่าเป็นทาง SAP จริงและข่าวของ Telecom Asia ผิดพลาดนะครับ ก่อนหน้าได้รับการติดต่อผมเองก็ตั้งข้อสังเกตุว่าไม่มี SAP อื่นอีก ที่ให้บริการสายไอที ตอนนี้ได้รับการยืนยันก็จะเอาข่าวนี้ลงจากหน้าแรก
สิ่งที่กระทรวงไอซีทีถูกถามเรื่อยมาในการแจกแท็บเล็ตคือจะทำอย่างไรหากเด็กนำไปใช้เข้าเว็บไม่เหมาะสม วันนี้ก็มีการให้ข่าวจากที่ปรึกษารัฐมนตรี ว่าได้เลือก SAP เข้ามาทำโปรแกรมควบคุมเว็บ
โครงการนี้มีมูลค่า 120 ล้านบาท จะบันทึกว่าเด็กเข้าเว็บอะไรบ้าง และจำกัดสิทธิการเข้าถึงเว็บไว้ในตัว โดยมูลค่าโครงการจะรวมถึงค่าติดตั้งเครื่องทั้งหนึ่งล้านเครื่อง (ข่าวระบุว่ามี 9 ฟีเจอร์แต่ไม่ระบุว่ามีอะไรบ้าง)
ข่าวไม่มีข้อมูลว่าค่าบำรุงรักษาปีละเท่าไหร่ กับค่าไลเซนส์ซื้อเพิ่มเติมจะคิดเครื่องละกี่บาท
ที่มา - DailyNews
Thomas Langenbach รองประธาน SAP ถูกจับในร้าน Target หลังเขาเปลี่ยนป้ายบาร์โค้ดเลโก้รุ่น Millennium Falcon ที่มีราคาถึง 279 ดอลลาร์เป็นป้ายที่เขาพิมพ์ขึ้นเองจนเหลือราคาที่เครื่องคิดเงินเพียง 49 ดอลลาร์ รวมของที่เขาเปลี่ยนป้ายราคา 7 รายการมูลค่ากว่า 1,000 ดอลลาร์
หลังการสืบสวนพบว่า Langenbach นำเลโก้ที่ซื้อมาได้ไปขายใน eBay ปีที่แล้วกว่า 2,100 รายการเป็นเงินกว่า 30,000 ดอลลาร์ นอกจากนี้ในบ้านของเขายังมีเลโก้อีกนับร้อยกล่อง
การกระทำที่ต่อเนื่องทำให้ร้าน Target สงสัย Langenbach มาก่อนหน้านี้นานแล้ว และเมื่อเขาเข้าไปในร้านวันนี้ทางหน่วยรักษาความปลอดภัยจึงเฝ้ามองเขาตลอดเวลาจนกระทั่งจ่ายเงินจึงเข้าคุมตัวและเรียกตำรวจ
SAP ยักษ์ใหญ่ด้านซอฟต์แวร์องค์กรจากเยอรมนี ประกาศซื้อกิจการบริษัท Ariba ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำธุรกิจซื้อ-ขาย ซัพพลายเชน และการจัดซื้อระดับองค์กรผ่านกลุ่มเมฆ
การซื้อกิจการรอบนี้ SAP จ่ายเงินหุ้นละ 45 ดอลลาร์ (สูงกว่าราคาหุ้นของ Ariba อยู่ 20%) คิดเป็นมูลค่ารวม 4.3 พันล้านดอลลาร์ ปัจจุบัน Ariba มีรายได้ปีละ 444 ล้านดอลลาร์ มีกำไร 33.3 ล้านดอลลาร์ มีพนักงาน 2,600 คน
SAP แถลงข่าวว่า Ariba จะช่วยให้ SAP เป็นผู้นำด้านการพาณิชย์บนกลุ่มเมฆ ครองตลาดเครือข่ายการทำธุรกิจแบบ B2B เนื่องจาก Ariba เป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่สุดในตลาดนี้ และจะต่อยอดผลิตภัณฑ์ของ Ariba เข้ากับฐานลูกค้าจำนวนมหาศาลของ SAP ต่อไป
โครงการ General Fund Enterprise Business System (GFEBS) เป็นโครงการใช้ ERP ในกองทัพบกสหรัฐฯ ด้วยงบประมาณโครงการ 2,400 ล้านดอลลาร์ มีผู้ใช้ 80,000 คนและต้องบริหารงบประมาณปีละ 140,000 ล้านดอลลาร์ มาถึงวันนี้โครงการกำลังอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะล้มเหลว
เป้าหมายโครงการนั้นตั้งไว้ให้เริ่มใช้งานได้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2007 และทำงานได้เต็มรูปแบบในธันวาคม 2009 แต่การเริ่มใช้งานเพิ่งเริ่มได้เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา และการทำงานเต็มรูปแบบถูกปรับไปอยู่ปลายปีนี้ ส่วนงบประมาณในการวางระบบครั้งแรกนั้นก็เกินกว่าที่ตั้งไว้ไป 53 ล้านดอลลาร์แล้ว
ถัดจากตลาดผู้ใช้ตามบ้านก็ถึงเวลาที่ค่ายโทรศัพท์มือถือจะชิงตลาดองค์กรที่เคยเป็นพื้นที่ผูกขาดของ BlackBerry กันแล้ว เมื่อซัมซุงประกาศว่าโทรศัพท์จากซัมซุงจะมี API เพิ่มเติมเพื่อรองรับระบบจัดการโทรศัพท์มือถือของ Sybase Afaria ซึ่งอยู่ภายใต้ SAP ได้ในสองรุ่น Galaxy S II และ Galaxy Tab รุ่นจอ 10 นิ้ว
API ส่วนมากเป็นการพอร์ตมาจาก Android 3.0 Honeycomb โดยจะมีฟีเจอร์ความปลอดภัยเพิ่มเติมเช่นการควบคุมกล้อง, ไมโครโฟน, บลูทูธ, การควบคุมนโยบายรหัสผ่านที่แข็งแรงกว่าเดิม, การเข้ารหัสข้อมูลทุกอย่างในอุปกรณ์ นอกจากนี้ซัมซุงยังสัญญาว่าจะเพิ่ม API ด้านความปลอดภัยไปเรื่อยๆ เช่นสามารถควบคุมการลงแอพพลิเคชั่นบนเครื่อง
งาน BlackHat DC 2011 กำลังจะเริ่มขึ้นในวันศุกร์นี้ หัวข้อหนึ่งที่อยู่ในรายการอาจจะสร้างความปวดหัวให้กับผู้ดูแลระบบทั่วโลกได้ในเร็ว เมื่อนักวิจัยด้านความปลอดภัยกำลังนำเสนอช่องโหว่ในการยืนยันบุคคล (authentication)
Mariano Nuñez Di Croce จากบริษัท Onapsys ซึ่งเป็นนักวิจัยที่จะนำเสนอช่องโหว่นี้ระบุว่า ช่องโหว่ของระบบเว็บของ SAP ที่เขาพบนั้นเกิดจากการระบบยืนยันตัวบุคคลแบบใช้การยืนยันสองชุด (two-factor authentication) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบได้เป็นอย่างดี แต่หากหน่วยงานใดอิมพลีเมนต์ระบบนี้โดยไม่ได้ทำตามคำแนะนำด้านความปลอดภัยของ SAP ให้ดีก็จะทำให้เกิดช่องโหว่จนผู้โจมตีสามารถผ่านระบบยืนยันบุคคลนี้ไปได้
SAP กำลังต่อสู้เรื่องที่ Oracle ยื่นบังคับให้ชำระดอกเบี้ยเพิ่มอีก 212 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อยอดที่ศาลชั้นต้นในเมืองโอ๊กแลนด์ มลรัฐแคลิฟอร์เนียได้ตัดสินให้ SAP ชำระค่าปรับเป็นเงิน 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา
คดีนี้เกิดขึ้นสืบเนื่องจาก Oracle จับได้ว่าอดีตบริษัทลูกของ SAP ที่ชื่อ TomorrowNow แอบเข้าไปล้วงข้อมูลลับบนระบบเครือข่ายของตน ซึ่งทำให้ TomorrowNow สามารถให้บริการดูแลรักษาซอฟต์แวร์ SAP ของลูกค้าได้ถูกกว่าที่บริษัท SAP ทำเอง
แม้คดี SAP ละเมิดลิขสิทธิ์ออราเคิลจะจบคดีไปแล้วโดยศาลได้สั่งให้ SAP จ่ายเงินให้ออราเคิล 1,300 ล้านดอลลาร์ แต่ทางออราเคิลก็ได้ยื่นคำร้องต่อศาลของพิจารณาให้ SAP จ่ายดอกเบี้ยค่าปรับ 1,300 ดอลลาร์นั้นเพิ่มเติมเป็นเงิน 211.7 ล้านดอลลาร์
ออราเคิลนั้นฟ้อง SAP มาตั้งแต่ปี 2007 ไม่ชัดเจนว่าตัวเลข 211.7 ล้านดอลลาร์คำนวณมาอย่างไร แต่น่าจะเป็นดอกเบี้ยทบต้นโดยนับจากปีที่เริ่มฟ้องร้อง
งานนี้ SAP ออกมาให้ข่าวทันทีว่าออราเคิลไม่ควรได้รับเงินเพิ่มเติมจากที่ได้ค่าปรับไปอีกแล้ว
ที่มา - PhysOrg