Blognone Full Coverage
อาจจะช้าไปสักนิดสำหรับบทความนี้ แต่พบกันอีกเช่นเคยสำหรับงานเกมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดประจำปีของญี่ปุ่น Tokyo Game Show 2015 โดยปีนี้งานจัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 - 20 กันยายนที่ผ่านมา ณ Makuhari Messe
ตัวงานแบ่งเป็น 2 ช่วงโดยวันที่ 17-18 จะเป็น Business Day เปิดให้เฉพาะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวงการเกมรวมถึงสื่อมวลชนเข้าร่วม และวันที่ 19-20 เป็น Public Day เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าร่วมได้ด้วยครับ
หลังจากที่ผมเขียนบทความ แอปเปิล vs กูเกิล - ความแตกต่างที่ลงลึกตั้งแต่ปรัชญารากฐานของบริษัท ไปเมื่อประมาณ 2 สัปดาห์ก่อน มีหลายคอมเมนต์ที่ถามว่า "แล้วไมโครซอฟท์ล่ะเป็นอย่างไร"
ตอบตามตรงคือผมก็ยังมองไม่ค่อยออกนักว่าที่ทางของไมโครซอฟท์อยู่ตรงไหนในโลกไอทียุคใหม่ ตัวไมโครซอฟท์เองก็อยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ อย่างไรก็ตาม ประจวบเหมาะกับที่ผมได้รับเชิญไปงานของไมโครซอฟท์ที่สิงคโปร์ ผู้บริหารของไมโครซอฟท์พูดเรื่องนี้ให้ฟังพอดี ผมคิดว่าเห็นภาพของไมโครซอฟท์ชัดเจนขึ้น เลยมาสรุปให้อ่านกันครับ
ประเทศไทยมีประวัติการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมายาวนานเป็นประเทศแรกๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ยุคบุกเบิกโดยมหาวิทยาลัยต่างๆ จนกระทั่งมีการเชื่อมต่อโครงข่ายเป็นการถาวรและเป็นกิจลักษณะ โดยมีบริษัท เค เอส ซี คอมเมอร์เชียล อินเทอร์เน็ต จำกัด (KSC) เป็นผู้ให้บริการเชิงพาณิชย์รายแรกในไทยในปี พ.ศ. 2537
ประเด็นในช่วง 1-2 วันที่ผ่านมาบนโลกอินเทอร์เน็ตของไทยที่กล่าวถึงกันมาก คือเรื่องของมติคณะรัฐมนตรีที่ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำระบบ Single Gateway หรือกล่าวอย่างง่ายคือ รวม Gateway ของประเทศที่ออกไปต่างประเทศมาอยู่จุดเดียว เหตุผลหลักคือเรื่องของความมั่นคงเป็นหลัก และหลายภาคส่วนเริ่มต้นกล่าวถึงประเด็นเหล่านี้บ้างแล้ว
บทความขนาดสั้นชิ้นนี้จะให้มุมมองอีกด้านหนึ่งที่มาจากรัฐศาสตร์ แม้จะไม่นำเสนอว่าควรจะทำอย่างไร แต่จะเป็นฐานของความเข้าใจว่าเรากำลังเจออะไรอยู่ครับ
ทำไมรัฐถึงต้องการควบคุมอินเทอร์เน็ต?
ช่วงนี้มีวิวาทะ iPhone vs Android กลับมาอีกครั้ง (ดูบทความต้นทางที่ Droidsans) เรื่องแบบนี้เถียงกันไปยังไงก็ไม่มีทางจบ
คำถามที่น่าสนใจกว่าคือทำไมสาวกและแฟนบอยทั้งสองค่ายถึงเถียงกันอยู่ตลอดเวลา คำตอบที่ผมพยายามอธิบายคือความต่างระหว่าง 2 ค่ายนี้ มันเป็นความแตกต่างที่ลงไปลึกถึงระดับปรัชญาหรือรากฐาน (fundamentalism) ของบริษัทที่คงไม่มีใครถูกผิด (และประสบความสำเร็จกันทั้งคู่) ส่วนรายละเอียดของความแตกต่างจะอธิบายในบทความนี้
ลองนึกภาพ จู่ๆ คุณก็อยากทำอาหาร อยากแสดงฝีมือเอาใจเจ้ากวางน้อยกับไม้แขวนเสื้อในมือ ทว่าขี้เกียจออกไปหาวัตถุดิบตามตลาดสด
ตอนนี้โลกเรามีอีคอมเมิร์ซแบบใหม่อย่าง Instacart เป็นระบบรับฝากซื้อของชำ (grocery) ไปส่งถึงบ้านภายในหนึ่งชั่วโมง แถมไม่สดมีคืนเงิน ที่บอกว่าเป็นระบบฝากซื้อเพราะโมเดลนี้ไม่มีสต๊อกของ แล้วเขาบริหารจัดการอย่างไร วันนี้ Blognone มีเรื่องราวของสตาร์ตอัพรายนี้มาฝากกัน
เมื่อวานนี้ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) จัดงานสัมมนาประจำปี Creative Unfold 2015 โดยหนึ่งในวิทยากรที่เชิญมาคือ Porter Erisman อดีตผู้บริหารของ Alibaba ยักษ์ใหญ่แห่งวงการอีคอมเมิร์ซจีน ที่มาเล่าประวัติศาสตร์เชิงลึกของ Alibaba ในฐานะอดีตพนักงาน
ผมฟังแล้วได้ประโยชน์มาก เลยเก็บเนื้อหา + ถ่ายสไลด์มาเผยแพร่ต่อครับ (รูปเยอะหน่อยนะครับ)
เมื่อวานนี้ได้รับมอบหมายจาก cofounder ให้ไปงานบรรยายสาธารณะหัวข้อ Internet Governance : legal and policy challenges ซึ่งบรรยายโดย Jovan Kurbalija ผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้งมูลนิธิดิโพล ประธานเวทีอินเทอร์เน็ตเจนีวา และผู้เขียนหนังสือ An Introduction To Internet Governance (ดาวน์โหลดได้จาก Thai Netizen) ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์มาค่ะ ซึ่งในงานบรรยายสาธารณะดังกล่าวมีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้
วงการอีคอมเมิร์ซเฟื่องฟูต่อเนื่องตั้งแต่สมัยยุคดอทคอม วันนี้ถ้าจะนับ Etsy เป็นพ่อค้ายักษ์ใหญ่อีกราย คงเป็นพ่อค้าที่ฮิปสักหน่อย ใส่แว่นกรอบดำ แต่งตัวมีสไตล์ ใจอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กินเบอร์เกอร์บนฟู้ดทรัค คราฟต์เบียร์ดื่มเอง เพราะร้านค้าออนไลน์แห่งนี้เน้นแต่ของทำมือ มีคุณค่าทางจิตใจ และบางทีก็วินเทจได้เหมือนกัน จุดนี้เองที่ทำให้ Etsy ยั่งยืนและทัดเทียมกับยักษ์ใส่สูทรายอื่นในยุทธภพ วันนี้ Blognone มีเรื่องนี้มาฝากกัน
Etsy (อ่านว่า “เอ๊ท-ซี่” แผลงจากคำว่า eh, si (oh, yes) ในรากภาษาอิตาเลียน) สาเหตุที่ใช้ชื่อนี้มาจากความต้องการของผู้ก่อตั้งอยากใช้ชื่อแบบไม่สื่อความหมาย ซึ่งเขาจับคำนี้ได้จากการดูหนังอิตาเลียนเรื่อง 8½ ที่มีบทสนทนาใช้คำนี้จนติดหู
บริษัท Kleiner Perkins Caufield & Byers (KPCB) ถือเป็นนักลงทุนแบบ Venture Capital (VC) อันดับต้นๆ ของโลกไอที บริษัทเปิดมาตั้งแต่ปี 1972 โดยมีผลงานลงทุนในบริษัทไอทีชื่อดังมากมาย เช่น AOL, Amazon, Google, EA, Lotus, Netscape รวมถึงบริษัทรุ่นใหม่อย่าง Nest, Facebook, Twitter, Uber, Groupon
งาน WWDC 2015 ที่ผ่านไปเมื่อคืนนี้ อาจมีเสียงสะท้อนกลับมาว่า "ไม่ค่อยมีอะไรมากนัก"
ถ้าวัดจาก "จำนวน" ของใหม่ที่ประกาศในงานก็ถือว่าไม่น้อย เพราะแอปเปิลเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ให้กับสินค้าเดิมเกือบครบทุกตัว ทั้งระบบปฏิบัติการ OS X 10.11 El Capitan, iOS 9, Apple Watch, Apple Pay รวมถึงเปิดตัวบริการใหม่ Apple Music ด้วย
แต่ถ้าวัดจาก "ความสดใหม่" ของฟีเจอร์แต่ละอย่าง เราคงเห็นชัดเจนว่าแอปเปิลเดินตามหลังคู่แข่งแทบจะทุกเรื่องเลยทีเดียว
บทความนี้เป็นตอนสุดท้ายในชุด "พาเที่ยวซิลิคอนวัลเลย์" ครับ คราวนี้เป็นคิวของอินเทล บริษัทที่ร่วมก่อร่างสร้างตัวมาอย่างยาวนาน พร้อมกับซิลิคอนวัลเลย์และอุตสาหกรรมไอทีของสหรัฐ (อีกบริษัทที่มีสถานะคล้ายๆ กันคือเอชพี)
สำนักงานใหญ่ของอินเทลอยู่ในเมืองซานตาคลารา (Santa Clara) ใต้ลงมาจากสำนักงานใหญ่ของแอปเปิลอีกหน่อย และอยู่ใกล้กับเมืองซานโฮเซ (San Jose) ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในเขตเบย์แอเรีย (Bay Area)
งาน Google I/O 2015 เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา อาจดูจืดๆ ไปบ้างเมื่อเทียบกับ I/O 2014 เมื่อปีที่แล้ว ที่กูเกิลเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ชุดใหญ่ ทั้ง Android 5.0, Art Runtime, Material Design, Android One, Android Auto, Android TV, Android Wear, Polymer, Google Fit,
ซีรีส์พาเที่ยวซิลิคอนวัลเลย์ พาไปดูสำนักงานใหญ่ Twitter, Facebook, Apple กันมาแล้ว รอบนี้พาไปดู Googleplex สำนักงานใหญ่ของกูเกิลครับ
Googleplex ตั้งอยู่ที่เมือง Mountain View ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ระหว่าง Palo Alto กับ Cupertino ถ้ามาจากสำนักงานใหญ่ของแอปเปิลก็ไม่ไกลนัก (จาก Cupertino มายัง Mountain View ต้องใช้ทางหลวงหมายเลข 85 กูเกิลเลยเอาไปตั้งเป็นชื่อ รายการออนไลน์สำหรับนักพัฒนาบน iOS)
หลังจากไปชมสำนักงานใหญ่ของ Twitter และ Facebook กันมาแล้ว ก็ได้เวลาของบริษัทในฝันของใครหลายคน "แอปเปิล" นั่นเองครับ
คนที่ซื้อสินค้าของแอปเปิลคงคุ้นกับคำว่า Designed in California และน่าจะได้ยินชื่อ "Cupertino" กันมานาน สำนักงานใหญ่ของแอปเปิลตั้งอยู่ที่เมือง Cupertino แห่งนี้เอง เมืองจะอยู่ทางใต้ลงไปจาก Palo Alto ไปอีกหน่อย แต่ไม่ไกลกันมาก
คนที่ติดตามข้อมูลข่าวสารวงการไอทีมาบ้าง คงคุ้นเคยกับคำว่า "ซิลิคอนวัลเลย์" ซึ่งเป็นจุดกำเนิดบริษัทไอทีชั้นจำนวนมาก คำว่า "ซิลิคอนวัลเลย์" เป็นชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการของพื้นที่ตอนใต้ในแถบ Bay Area ของรัฐแคลิฟอร์เนีย (อยู่ระหว่างเมืองซานฟรานซิสโก กับซานโฮเซ่)
บริษัทที่ตั้งอยู่ในแถบซิลิคอนวัลเลย์ จะกระจายตัวอยู่ตามเมืองต่างๆ ซึ่งเป็นเมืองขนาดไม่ใหญ่มาก ตัวอย่างชื่อเมืองในแถบนี้ที่อาจคุ้นๆ หูกันก็ได้แก่ Palo Alto (เอชพี), Menlo Park (เฟซบุ๊ก), Mountain View (กูเกิล), Sunnyvale (ยาฮู), Cupertino (แอปเปิล), Santa Clara (อินเทล), Redwood City (EA) เป็นต้น
ตอนที่แล้วเราพาไปเที่ยว Twitter HQ กันไปแล้ว วันนี้เป็นคิวของ Facebook HQ กันบ้างครับ
ย้ำอีกรอบว่าการไปเยี่ยมชมสำนักงานของบริษัทไอทีลักษณะนี้ ต้องมีคนในพาเข้า และห้ามถ่ายรูปในส่วนที่เป็นพื้นที่ทำงานนะครับ ดังนั้นรูปประกอบในบทความก็จะมีแต่บริเวณโรงอาหาร หรือที่พักผ่อนหย่อนใจเท่านั้น เพราะอาจส่งผลต่ออาชีพการงานของคนที่พาเข้าได้
ผมมีโอกาสไปเยือนสำนักงานใหญ่ของบริษัทไอทีหลายแห่ง จะทยอยนำมาเขียนลง Blognone ครับ ลำดับแรกเป็นสำนักงานใหญ่ของ Twitter หรือที่เรียกกันว่า Bird's Nest รังของเจ้านกสีฟ้านั่นเอง
บริษัทไอทีเหล่านี้มักไม่เปิดให้คนทั่วไปเข้าภายในสำนักงาน เว้นแต่มีพนักงานคนในพาเข้าไปชม ซึ่งคราวนี้ได้คุณเพชร วรรณิสสร (Blognone เคยสัมภาษณ์ไปแล้ว) พาเข้าไป ก็ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ
หมายเหตุ: ภายในสำนักงานห้ามถ่ายภาพบริเวณพื้นที่ทำงานครับ ดังนั้นจะมีแต่ภาพของโรงอาหารและพื้นที่นั่งพักเท่านั้น
Blognone เคยนำเสนอเรื่องของ Maker Movement ที่มีแกนกลางอยู่ที่นิตยสาร Make มาแล้วครั้งหนึ่ง
ล่าสุดผมมีโอกาสผ่านไป Maker Media Lab ในซานฟรานซิสโก ซึ่งเป็นห้องแล็บที่เพิ่งเปิดใหม่ของนิตยสาร Maker และเปรียบเสมือน "หน้าบ้าน" ต้อนรับชาว Maker จากทั่วโลก เลยนำภาพมาฝาก เผื่อจะเป็นแรงบันดาลใจสำหรับชาว Maker ในไทยกันบ้าง
เมื่อพูดถึงชื่อ Amazon ทุกคนคงนึกถึงร้านค้าออนไลน์ที่ไม่จำเป็นต้องมีตัวตนทางกายภาพ มีหน้าร้านเหมือนร้านค้าทั่วไป แต่เอาเข้าจริงแล้ว Amazon เพิ่งปรับนโยบายหันมาเปิด "หน้าร้าน" ของตัวเองบ้างกับเขาเหมือนกัน
ร้านของ Amazon เป็นร้านแนวทดลองที่ใช้ชื่อว่า Amazon Pop Up Store เป้าหมายหลักคือให้ลูกค้าทั่วไปได้ลองจับผลิตภัณฑ์ตระกูล Kindle ของจริงก่อนตัดสินใจซื้อ ร้านลักษณะนี้มีเพียง 2 แห่งในสหรัฐอเมริกา คือที่เมืองซานฟรานซิสโกและซาคราเมนโต แถมเพิ่งเริ่มทำเมื่อปีที่แล้วนี้เอง (ข่าวใน CNET)
ไม่กี่ปีที่ผ่านมาเราคงคุ้นชื่อแบรนด์ Xiaomi ในนามผู้ผลิตสมาร์ทโฟนและฮาร์ดแวร์สเปกสูงราคาประหยัดจากจีน ด้วยอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วในระยะเวลาไม่นาน จึงจูงใจให้เราอยากนำเสนอเรื่องราวของสตาร์ตอัพรายนี้ครับ เผื่อจะจุดไฟแรงบันดาลใจผู้คนให้ลุกขึ้นมาสร้างสิ่งใหม่กัน
(disclaimer: ผมยังไม่กล้าเขียนชื่อแบรนด์-ชื่อผู้คนในงานเขียนนี้เป็นภาษาไทยนะครับ เพราะยังไม่ทราบว่าวิธีการอ่านที่ถูกต้องว่าเขาอ่านอย่างไร)
"21 ภาพแมวอ้วนกลมดุ๊กดิ๊กที่จะทำให้คุณใจละลาย" "เมื่อภรรยานอกใจ สามีจึงวางแผนเอาคืนแบบแสบทะลักขีด" พาดหัวข่าวแบบนี้กลายเป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไปในแวดวงโซเชียล เว็บเนื้อหาแนวไวรัลกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดา อย่างไรก็ตาม การพาดหัวชวนคลิกแบบโอเวอร์เกินจริง บวกกับปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์เนื้อหาจากเว็บอื่นๆ ทำให้เริ่มมีคนตั้งคำถามกับเว็บไซต์เหล่านี้
เว็บลักษณะนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ในต่างประเทศ และถ้าพูดถึง "ต้นฉบับ" ของเว็บข่าวแนวไวรัลเหล่านี้ก็ย่อมหนีไม่พ้น BuzzFeed ที่เริ่มกิจการมาตั้งแต่ปี 2006 (เกือบสิบปีแล้วนะ) บทความนี้จะแนะนำต้นกำเนิดของเว็บไวรัล และพัฒนาการของเว็บเหล่านี้ทั้งในและต่างประเทศ คำเตือน: รูปเยอะมาก
พระเอกของงานสัมมนาประจำปี Facebook F8 2015 คือ Facebook Messenger อย่างไม่ต้องสงสัย และในงาน F8 รอบนี้ เราอาจพูดได้ว่า Facebook ตั้งใจดัน Facebook Messenger แยกเป็นโซเชียลเน็ตเวิร์คอีกอันใน "ครอบครัว Facebook" เลยด้วยซ้ำ
มาถึงวันนี้ บริษัท Facebook ไม่ได้มีแค่โซเชียลเน็ตเวิร์คชื่อ Facebook เพียงอย่างเดียวอีกแล้ว และในการนำเสนอของ Mark Zuckerberg ซีอีโอและผู้ก่อตั้งบริษัท ก็มีภาพน่าสนใจที่แสดงให้เราเห็นว่า "บริษัท Facebook คิดอย่างไร" กับบริการโซเชียลทั้งหมดที่มีอยู่ในมือ
แนวคิดธุรกิจแบบ Sharing Economy กำลังเบ่งบานบนโลกออนไลน์ ใครมีทรัพยากรอะไรก็นำมาแลกเปลี่ยนกันบนนี้โดยไม่ต้องพึ่งพาระบบซื้อ-ขาย-เช่าแบบเดิม ไม่ว่าจะเป็นระบบขนส่งโดย Uber, จ้างคนช่วยงานกับ TaskRabbit หรือการเช่าห้องพักทั่วโลกซึ่งผู้คนทั่วไปนำมาปล่อยเช่ากับ Airbnb เรามาอัพเดตเรื่องราวชีวิตของสตาร์ตอัพรายนี้กัน
โลโก้ Airbnb ปัจจุบัน (ที่มีเสียงวิพากษ์ว่าเหมือนอะไรบางอย่าง)
งานบางประเภทไม่ว่าจะอยู่ในองค์กรไซส์ไหน ในแต่ละหนึ่งโปรเจกต์มักจะต้องทำงานร่วมกับหลายแผนก คิดค้นเสร็จ ต้องส่งต่อ รอหัวหน้าเคาะแล้วจึงเริ่มทำ แถมจะต้องเหนื่อยโทร. เดินประสานงาน แก้ไขส่งต่อกันไปมา แม้จะมีตัวช่วยอย่างอีเมล กรุ๊ปแชท ไดรฟ์แชร์ไฟล์ หรือแม้แต่คลาวด์สตอเรจที่ซิงค์ถึงกันบางครั้งก็ยังไม่ครอบคลุม
ถึงตอนนี้ก็สบายใจไปเปลาะหนึ่งเมื่อมีระบบ Workflow Management เข้ามาช่วยจัดการเนื้องานให้เป็นระเบียบ และ Slack ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือประเภทนี้ที่ทำให้เราและทีมทำงานง่ายขึ้น ด้วยหน้าตาที่เป็นมิตร และที่สำคัญ 'ฟรี' ทำให้ทุกคนเห็นความคืบหน้าตลอดเวลา ไม่มีใครถูกทิ้งกลางทาง