Blognone Full Coverage
วันนี้อินเทลประเทศไทยจัดงาน Intel Technology and Business Update 2014 สรุปความเคลื่อนไหวของอินเทลทั้งในแง่ผลิตภัณฑ์ (ที่รวมข้อมูลจากบริษัทแม่มาสรุปให้ฟัง) และทิศทางธุรกิจในบ้านเรา โดยคุณสนธิญา หนูจีนเส้ง กรรมการผู้จัดการคนใหม่ของอินเทลประเทศไทย (แต่อยู่กับอินเทลมานาน) เป็นคนบรรยายด้วยตัวเอง
ผมคิดว่าการบรรยายวันนี้สรุปให้เห็นทิศทางของอินเทลที่สะท้อนไปถึงตลาดพีซี อุปกรณ์พกพา และเซิร์ฟเวอร์ได้ดีพอสมควร จึงถ่ายรูปมาเยอะหน่อยนะครับ
คุณสนธิญา หนูจีนเส้ง
แนวทางของซอฟต์แวร์ในปัจจุบันและอนาคตที่เริ่มหมุนไปในทิศทางของการบริการ (SaaS) โดยใช้ระบบคลาวด์เข้ามาเป็นโครงสร้างหลักนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งในตลาดระดับองค์กรและผู้บริโภค (ตัวอย่างเช่น Adobe Creative Cloud หรือ Microsoft Office 365) ซึ่งในฝั่งองค์กร ความเปลี่ยนแปลงอาจจะเป็นไปค่อนข้างช้าพอสมควร เพราะการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของบริษัท (เช่น ระบบการจ่ายเงินเดือน) ถือเป็นเรื่องที่ต้องคิดให้รอบคอบพอสมควร
โลกของซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีเริ่มหมุนไปรับมือกับสิ่งที่เรียกว่า big data กันมากขึ้น ทำให้บทบาทของ data scientist’ หรือคนที่ทำหน้าที่เอาข้อมูลเหล่านี้มาประมวลผลเพื่อที่จะสร้างการคำนวณและวาดแนวโน้มได้อย่างแม่นยำ กลายเป็นสิ่งที่สำคัญมากขึ้นเช่นกัน
ในระยะหลังเราพบเห็นบรรดานักประมวลผลข้อมูลเหล่านี้เริ่มจัดตั้งบริษัท แสวงหาเงินทุน และนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือเครื่องมือที่เป็นไปในลักษณะโซลูชั่น หรือชุดของการบริการที่มุ่งจะตอบโจทย์ของบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้อย่างเต็มที่
ข่าวแอปเปิลเปิดตัว CarPlay เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สร้างกระแสความสนใจต่อเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ smart device เข้ากับแผงคอนโซลในรถยนต์ (ที่มักเรียกกันว่า IVI หรือ in-vehicle infotainment) อยู่พอสมควร
ฝั่งคู่แข่งอย่าง Android เองก็เพิ่งประกาศข่าวไปเมื่อต้นปีว่าจะตั้งกลุ่ม Open Automotive Alliance (OAA) แต่ยังไม่มีอะไรออกมาเป็นชิ้นเป็นอัน นอกจากนี้เราก็ยังเคยเห็นข่าวผลิตภัณฑ์ลักษณะเดียวกันอย่าง Ford SYNC ที่ใช้เทคโนโลยีค่ายไมโครซอฟท์
ข่าวใหญ่อีกข่าวของวงการมือถือโลกเมื่อวานนี้คือ การเปิดตัว Galaxy S5 ของผู้ขายสมาร์ทโฟนหมายเลขหนึ่งของโลก รายละเอียดเบื้องต้นว่ามันทำอะไรได้บ้าง ผู้อ่าน Blognone น่าจะรับทราบกันหมดแล้วนะครับ
แวบแรกที่ผมอ่านข่าว Galaxy S5 ก็รู้สึกว่าไม่เห็นจะมีอะไรใหม่สักเท่าไรเลย แต่พอวันนี้ตอนเย็นๆ มีเวลานั่งดูคลิปงานแถลงข่าว Unpacked 2014 แบบละเอียดๆ ก็พบว่ามันมีอะไรน่าสนใจเยอะอยู่เหมือนกัน
บทความนี้จึงเป็นการ "วิจารณ์" ฟีเจอร์ต่างๆ ของ Galaxy S5 (แบบไม่เคยจับของจริง) ว่าอะไรบ้างที่น่าจะเวิร์คหรือไม่เวิร์คในมือถือเรือธงตัวล่าสุดของซัมซุงตัวนี้
ข่าวใหญ่ของงาน MWC 2014 รอบนี้คงหนีไม่พ้น Nokia X และ Nokia XL ซึ่งถือว่ามีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากเป็นก้าวแรกของโนเกียสู่โลกของ Android
โนเกียเคยปรามาส Android เอาไว้ตั้งแต่ปี 2010 (ช่วงปลายยุครุ่งเรือง) ว่าการเปลี่ยนมาใช้ Android เปรียบเหมือนการฉี่รดกางเกงให้อบอุ่นในฤดูหนาว แต่เพราะเหตุใด เวลาผ่านไปเพียง 3 ปีกว่าๆ โนเกียจึงกลับลำมาทำ Android เสียเอง
เรื่องนี้อธิบายค่อนข้างยากแต่จะพยายามครับ
ข่าว เลอโนโวซื้อโมโตโรลา ถือเป็นข่าวไอทีช็อคโลกประจำสัปดาห์ ผมเชื่อว่าทุกคนงง ผมก็งงครับ แต่พอภาวะความงงเริ่มหดหาย มานั่งพินิจพิเคราะห์ดีๆ ก็พบว่าดีลนี้มีความน่าสนใจอยู่หลายประการ
บทวิเคราะห์นี้จะ "พยายาม" อธิบายข้อดีข้อเสียของดีลครั้งนี้
เริ่มจากเลอโนโวในฐานะ "ผู้ซื้อ" ครับ ปัจจุบันเรารู้จักกันดีว่าเลอโนโวคือผู้ผลิตพีซีหมายเลขหนึ่งของโลก แซงหน้าคู่แข่งที่เป็นผู้ผลิตพีซีหน้าเก่าๆ ทั้งสายอเมริกัน (เอชพี เดลล์) และสายไต้หวัน (เอเซอร์ เอซุส) มาได้สักระยะแล้ว
หมายเหตุ: ต่อเนื่องจากข่าวที่แล้ว (ระบบอินเทอร์เน็ตทรูถูกโจมตี ฝังมัลแวร์ดักข้อมูลผู้ใช้งาน) ทางทีมงานทรูได้ประสานงานมาว่าทีมเครือข่ายได้รับทราบปัญหาแล้ว กำลังหาแนวทางในการแก้ไขเป็นการถาวรอยู่ครับ
ระบบอินเทอร์เน็ตมีพื้นฐานอยู่บนบริการหลายๆ อย่างทำงานร่วมกัน ในเงื่อนไขหลักที่ถือว่า "ข้อมูลที่อีกฝ่ายตอบมาเป็นความจริง" เป็นหลัก โดยบริการที่สำคัญมาก (และเป็นช่องโหว่ในการโจมตีมากเป็นอันดับต้นๆ) ในอินเทอร์เน็ตมีอยู่สองอย่างเท่านั้นครับ คือ routing และ DNS คือถ้าสามารถโจมตีสองอย่างในขนาดใหญ่มากๆ ได้ ก็อาจทำให้อินเทอร์เน็ตทั้งโลกหรือส่วนหนึ่งส่วนใดมีปัญหาได้เลยครับ
Routing
Windows XP จะสิ้นอายุขัยอย่างสมบูรณ์แบบในวันที่ 8 เมษายน 2014 หรืออีกไม่ถึง 3 เดือนนับจากนี้
Blognone เขียนเตือนเรื่อง Windows XP มานับครั้งไม่ถ้วน ผลลัพธ์ที่ได้คือมีผู้ใช้กลุ่มหนึ่งตอบกลับมาว่า "ก็ฉันจะใช้ต่อไป ใครจะทำไม" (อ่านแล้วอยากเลิกทำเว็บเลยครับ)
บทความนี้เขียนขึ้นโดยมีจุดประสงค์ว่าต้องการ "ท้าชน" ผู้ใช้ Windows XP ทุกท่าน ถ้าอ่านแล้วยังไม่รู้สึกอะไรก็คงทำอะไรไม่ได้อีกแล้วล่ะครับ
ปีนี้ปี 2014
Windows XP เปิดตัวและวางขายครั้งแรกในเดือนตุลาคม 2001
ย้ำว่า 2001
ลบเลขครับ
12 ขวบเกือบครึ่ง!
อาคาร กสท บางรัก (อาคาร 30 ชั้นติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา) เป็นอาคารโทรคมนาคม และเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ภายในประกอบด้วย
ข่าวเด่นประจำสัปดาห์ ไมโครซอฟท์ประกาศเข้าซื้อโนเกีย 7.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ บทความนี้เป็นการเก็บรายละเอียดการซื้อกิจการ + บทวิเคราะห์แบบเร่งด่วนนะครับ
อย่างแรกสุดเลยต้องย้ำก่อนว่า ไมโครซอฟท์ไม่ได้ซื้อโนเกียหมดทั้งบริษัท ซื้อเฉพาะส่วนมือถือเท่านั้น โนเกียยังอยู่ไม่หายไปไหนในฐานะบริษัทอิสระ เพียงแต่จะไปทำอย่างอื่นที่ไม่ใช่มือถือแทนเท่านั้นเอง
ไมโครซอฟท์อธิบายเรื่องการซื้อกิจการรอบนี้ไว้ค่อนข้างละเอียด มีสไลด์ประกอบอย่างดี ผมแปะสไลด์เวอร์ชันเต็มไว้ด้วยจะได้อ้างอิงกันง่ายๆ ส่วนรูปที่ใช้ประกอบบทความจะคัดมาเฉพาะสไลด์สำคัญๆ เท่านั้น
จากกรณีปัญหาการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่น 1800MHz ในวันที่ 15 กันยายนนี้ (บทความชุด ตอนที่ 1, ตอนที่ 2, ตอนที่ 3) วันนี้โครงการประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับส่วนงาน กสทช. ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา สำนักงาน กสทช. จัดงานประชุมเรื่อง "ปัญหาทางกฎหมายกรณีการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่น 1800MHz และแนวทางการแก้ไขปัญหา" ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผมไปร่วมงานมาด้วย เลยจดประเด็นที่นักวิชาการด้านกฎหมายนำเสนอ + อัดเสียงพูดในงานสัมมนามาเผยแพร่ เพื่อเป็นประโยชน์ทางวิชาการต่อไปครับ
ความเดิมตอนที่ 1: อธิบายปัญหาการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่น 1800 MHz ของ TRUE และ DPC
ปัญหาการสิ้นสุดสัมปทาน 1800MHz มีองค์กรที่มีส่วนได้เสียโดยตรง 4 ฝ่าย ซึ่งแต่ละฝ่ายก็มีจุดยืนต่อปัญหาแตกต่างกันไป บทความตอนที่สองนี้จะมาย้อนดูว่าข้อเสนอของแต่ละฝ่ายเป็นอย่างไรบ้าง ส่วนวิธีไหนจะเวิร์คไม่เวิร์ค สมเหตุสมผลหรือไม่ ก็ขึ้นกับผู้อ่านจะตัดสินครับ
สัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยที่เกิดขึ้นพร้อมกับอุตสาหกรรมมือถือในบ้านเรา กำลังจะสิ้นสุดลงชุดแรกในวันที่ 15 กันยายน 2556 นี้ (เจ้าของสัมปทานคือ CAT Telecom ส่วนผู้รับสัมปทานคือ True Move และ DPC/GSM1800)
การที่มันเป็นสัญญาสัมปทานชุดแรกที่จะสิ้นอายุ บวกกับการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยจากระบบสัมปทาน (รัฐวิสาหกิจ-เอกชน) มาเป็นระบบใบอนุญาต (กสทช-เอกชน) ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมากมายเต็มไปหมด ซึ่งผู้อ่าน Blognone เองน่าจะพอทราบกันมาบ้างจากสื่อต่างๆ
ปัญหาเรื่องคลื่น 1800MHz มีความซับซ้อนสูงมาก (โดยเฉพาะประเด็นเรื่องกฎหมาย) บทความนี้จะอธิบายที่มาที่ไปของปัญหานี้ ก่อนจะเข้าสู่รายละเอียดให้มากขึ้นในบทความต่อๆ ไปครับ
ผมเขียนบทวิเคราะห์เรื่อง Google I/O และ Apple iOS 7 มาแล้ว คงต้องเขียนเรื่อง Windows 8.1 บ้างเดี๋ยวไมโครซอฟท์จะน้อยใจนะครับ :P
ข่าวใหญ่ที่สุดของไมโครซอฟท์ในรอบปีนี้คงหนีไม่พ้น Windows 8.1 ซึ่งถือเป็นภาคต่อของ Windows 8 ที่สร้างความฮือฮาอย่างมาก (ทั้งแง่บวกและแง่ลบ) ในปีที่แล้ว
ผมมองว่า Windows 8.1 ไม่ได้เป็นเพียง "ผลิตภัณฑ์" เดี่ยวๆ เพียงหนึ่งตัว แต่มันสะท้อน (และตอกย้ำซ้ำอีกครั้ง) ให้เห็นถึงทิศทางใหม่ที่ไมโครซอฟท์กำลังมุ่งไปให้ชัดเจนมากขึ้น
การประมูลทีวีดิจิตอลกำลังเดินหน้าไป แต่ช่วงนี้ก็มีข่าวถึงการใช้ LTE ย่าน 700 ที่ทับซ้อนกันทางด้าน AIS เองก็มีการแถลงข่าวในเรื่องนี้ ทาง Blognone ได้มีโอกาสขอนัดสัมภาษณ์คุณศรัณย์ ผโลประการ (@Saran2530) ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานวางแผนระบบเครือข่ายและบริการของ AIS ถึงที่มาที่ไปรวมถึงความคืบหน้าของเครือข่าย 3G และการทักท้วงของแผนความถี่ในการประมูลคลื่นดิจิตอล ที่ GSMA เพิ่งส่งหนังสือขอให้ทางกสทช. ยืนยันว่าจะมีการเตรียมคลื่นย่าน 700 MHz ไว้ใช้สำหรับ LTE เพื่อให้เข้ากันกับประเทศเพื่อนบ้าน และขอให้มีการทำแผนการปิดคลื่นความถี่อนาล็อกและการจัดคลื่นความถี่ใหม่
กระบวนการเข้ารหัสที่สำคัญอย่างแบบกุญแจสมมาตร (symmetic key encryption) ในตอนที่แล้วแม้จะสามารถป้องกันการดักฟังได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ข้อจำกัดคือทั้งสองฝ่ายต้องรับรู้ “ความลับ” ร่วมกัน และข้อจำกัดที่สำคัญมากคือ ผู้ที่รู้ความลับนี้ทุกคนจะเข้าไปอ่านข้อความได้ทั้งหมด
ข่าวการเปิดตัว iOS 7 หน้าตาใหม่เมื่อวานนี้ กลายเป็นประเด็นใหญ่ของโลกไอทีประจำสัปดาห์ เนื่องจากหน้าตาอันคุ้นเคยของ iOS ที่สืบทอดกันมานาน 6 ปีเต็ม (ถ้าย้อนไปเก่ากว่านั้นก็อาจนับตั้งแต่ Mac OS X รุ่นแรกได้เลยด้วยซ้ำ) ถูกฉีกทิ้งไปทั้งหมด และเปลี่ยนใหม่กลายเป็นหน้าตาแบบแบนราบ (ที่ไม่มีชื่ออย่างเป็นทางการแต่เราเรียกกันเองว่า flat design)
นับตั้งแต่การเปิดตัว Microsoft Surface ตั้งแต่เมื่อมิถุนายนปีที่แล้ว (ข่าวเก่า) จนกระทั่งจำหน่ายจริงในช่วงเดือนตุลาคมของปีที่แล้ว (ข่าวเก่า) วันนี้ (5 มิถุนายน) ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ได้เปิดตัวและจำหน่าย Microsoft Surface อย่างเป็นทางการ โดยผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงานและเก็บบรรยากาศของการเปิดตัวดังกล่าว (ไปพร้อมกับคุณ Blltz) โดยงานเปิดตัวและวางจำหน่ายวันแรกนี้จัดขึ้นที่ห้างสรรพสินค้า Terminal 21 ครับ
งาน Google I/O 2013 แถลงข่าวเสร็จสิ้นไปเมื่อคืนนี้ (ดูข่าวหมวด Google I/O) สิ่งที่พลิกโผชนิดหักปากกาเซียนทั่วโลกก็คือ เราไม่เห็นข่าว "ฮาร์ดแวร์ใหม่" และ "ระบบปฏิบัติการเวอร์ชันใหม่" จากกูเกิลเลย
ไม่ว่าจะเป็น Nexus 4 LTE, Nexus 7 รุ่นอัพเดต, Android 4.3 หรือแม้แต่ Chromebook/Chrome OS รุ่นใหม่ ไม่มีให้เห็นแม้แต่เงา (มีแต่แจก Chromebook Pixel ที่หลายคนมองว่าล้างสต๊อก ฮา)
เมื่อพูดถึง Dell หลายๆ คนคงนึกถึงคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊กมาเป็นอันดับแรก และอาจมีฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์ตามมาเป็นลำดับถัดไป
แต่บริษัทไอทีสายองค์กรทุกวันนี้จะขายเพียงฮาร์ดแวร์อย่างเดียวคง "อยู่ยาก" และหลายบริษัทก็ปรับตัวไปเป็นการขายโซลูชันครบวงจนตั้งแต่ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และการบริหารจัดการระบบ เพื่อสร้างความแตกต่างและมูลค่าของสินค้า-บริการให้มากขึ้น
เมื่อวันที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมา Samsung ได้เปิดตัว Galaxy S4 ทั่วโลกที่นครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา (คุณ mk ได้ไปร่วมในงานครั้งนั้นด้วย) ผ่านมาเป็นเวลาเดือนเศษ วันนี้ (3 พฤษภาคม) ก็ได้เวลาเปิดตัวในเมืองไทยอย่างเป็นทางการ โดยงานแถลงข่าวจัดขึ้นที่โรงแรม W Hotel Bangkok ตรงถนนสาทร โดยใช้ชื่องานอย่างเป็นทางการว่า "Samsung Unpacked 2013 Bangkok" ซึ่งผมมีโอกาสได้ไปเก็บบรรยากาศและรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องครับ
ต้องถือว่าจำนวนผู้มาร่วมงานเปิดตัวในครั้งนี้หนาแน่นอย่างมาก มีทั้งผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของบริษัท ไทยซัมซุงอิเลคโทรนิคส์ จำกัด เอง ตัวแทนจำหน่าย ตัวแทนจากผู้ให้บริการโทรศัพท์ทั้งสามค่าย และสื่อมวลชน (เดินแทบจะไหล่ชนกัน)
เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2556 Panasonic เปิดตัวแท็บเล็ตและโน้ตบุ๊กที่ผลิตเพื่อจับกลุ่มความต้องการของลูกค้าองค์กรในภาคอุตสาหกรรมที่เน้นความทนทานสูง เหมาะกับผู้ใช้งานที่ต้องการใช้งานในสภาพแวดล้อมหลากหลาย โดยเปิดตัวทั้งหมด 3 รุ่น รองรับ Microsoft Windows 8 ทั้งหมด ได้แก่ Panasonic Toughbook CF-AX2, Panasonic Toughbook CF-C2 และ Panasonic Toughpad FZ-G1
บทความนี้เป็นตอนต่อของซีรีส์ พาสำรวจวงการไอทีพม่า โดยเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ผมไปเที่ยวประเทศอินเดียพอดีเลยเก็บบรรยากาศ-ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวงการไอทีของอินเดีย (รอบนี้เน้นไปที่มือถือเสียเยอะ) มาฝากกันครับ
แน่นอนว่าการเดินทางของผมไปในฐานะนักท่องเที่ยวเต็มขั้น รับรู้ข้อมูลเฉพาะเท่าที่ตาเห็นซึ่งก็คงไม่ละเอียดเท่าไรนัก ถ้าสมาชิก Blognone มีใครอยู่ที่อินเดียหรือมีข้อมูลเพิ่มเติมก็คอมเมนต์ได้เต็มที่
หมายเหตุ: ภาพเยอะมากครับ ใครใช้เน็ตแบบมีข้อจำกัดก็พึงระวัง
จบไปเรียบร้อยกับงาน Bangkok Ingress Meetup #1 เมื่อวานนี้ ผมก็มาเล่าบรรยากาศผ่านภาพและวิดีโอสำหรับคนที่ไม่ได้ไปนะครับ
งานนี้มีผู้เข้าร่วมประมาณ 60 คน มีทั้งฝ่าย Enlightened และ Resistance จำนวนใกล้เคียงกัน (แต่ฝั่ง Enlightened มีเลเวล 8 มาร่วมงานหลายคน ส่วน Resistance มี 2 คน เป็นฝรั่งที่มาเมืองไทยช่วงนี้พอดีหนึ่งคน)