Blognone Full Coverage
การเปิดตัว Galaxy S III เมื่อคืนนี้ มีประเด็นที่น่าสนใจและน่าพูดถึงหลายอย่าง แต่ผมคิดว่าสิ่งที่น่าสนใจที่สุดคือ "ทิศทาง" การพัฒนาของสมาร์ทโฟนระดับ flagship ในรอบปีล่าสุด
หลังจากมีข่าวทั้งลือและไม่ลือออกมามากมาย วันนี้ SkyDrive รุ่นใหม่ได้เผยโฉมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
*หมายเหตุ - เช่นเคยครับ ภาพในบทความนี้ทั้งหมดมีคำอธิบายเมื่อใช้เมาส์ชี้ และสามารถคลิกดูภาพใหญ่ได้ทุกภาพ - ลิงก์ในบทความนี้ทั้งหมดมีคำอธิบายเมื่อใช้เมาส์ชี้เช่นกัน
เกริ่นนำ: บทความนี้แปลจากบทความ How to Start a Startup ของ Paul Graham นักลงทุนด้านไอที เจ้าของบริษัท Y Combinator ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของบริษัทอย่าง Dropbox, Disqus, Scribd, reddit
Paul Graham เป็นผู้ประกอบการไอทีตั้งแต่สมัยอินเทอร์เน็ตบูมใหม่ๆ เขาเริ่มเปิดบริษัท Viaweb เป็นบริการออนไลน์สำหรับร้านค้าผ่านเว็บในปี 1995 แล้วขายให้ยาฮูในปี 1998 ด้วยมูลค่า 49.5 ล้านดอลลาร์ จากนั้นในปี 2005 เขาก็มาเปิดบริษัท Y Combinator เป็นโรงเรียนสอนวิชาสตาร์ตอัพให้กับบริษัทรุ่นหลัง
ข่าว Facebook ซื้อ Instagram แล้ว เมื่อคืนนี้เป็นเรื่องเหนือความคาดหมายของใครหลายๆ คน (ผมด้วย) และมีปฏิกริยาที่หลากหลายแตกต่างกันไป แต่ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือคัดค้าน ดีลนี้ก็คงเดินหน้าต่อไปไม่มีย้อนกลับ
การซื้อกิจการครั้งนี้ถือว่าสำคัญมาก เพราะถ้าพิจารณาดีๆ แล้วมันคือ "social network ที่ใหญ่ที่สุดในโลก" ซื้อกิจการ "social network บนมือถือรายใหญ่ของโลก" (พูดง่ายๆ คือเบอร์ 1 ซื้อเบอร์ 1 ในอีกวงการที่ใกล้เคียงกัน) และสะท้อนให้เห็นความเคลื่อนไหว ยุทธศาสตร์ กลยุทธที่น่าสนใจมากมาย
ในโอกาสนี้ก็ขอลองเขียนบทวิเคราะห์มุมมองของผมไว้สักหน่อยนะครับ
โดยส่วนตัวแล้ว ผมว่าเทคโนโลยีในสมาร์ทโฟน-แท็บเล็ตช่วงนี้จะเริ่มตันๆ แล้ว หลังจากที่มันพัฒนาอย่างก้าวกระโดดมาประมาณ 5 ปี (นับตั้งแต่ iPhone ตัวแรกปี 2007) คือยัดฟีเจอร์เข้ามาจนนึกไม่ค่อยออกแล้วว่าจะใส่อะไรเข้ามาอีกได้บ้าง
แต่พื้นที่ที่กำลังน่าจับตาคืออุปกรณ์ชนิดอื่นๆ ที่พยายามผนวก "ความสมาร์ท" หรือฟีเจอร์ที่พบใน smart device ต่างๆ เข้ามาบ้าง วงการที่น่าสนใจในตอนนี้คือทีวีและรถยนต์
ฝั่งของรถยนต์ ค่ายที่โดดเด่นในเรื่องระบบบันเทิง-สั่งงานภายในรถคือ Ford ที่จับมือกับไมโครซอฟท์ทำระบบ Ford SYNC (ของแท้ต้องเขียนตัวใหญ่) มาตั้งแต่ปี 2007 และพัฒนาเรื่อยมา (ซึ่งเราก็รายงานข่าวอยู่เรื่อยๆ)
อย่างที่เคยบอกไว้ว่าผมได้รับเชิญจากทาง HTC ประเทศไทย ให้ร่วมโต๊ะอาหารในงานเปิดตัวอย่างไม่เป็นทางการของ HTC One ที่จัดขึ้นที่ห้องอาหาร The Porch โรงแรมศิวาเทล กรุงเทพ ถนนวิทยุ เมื่อคืนวันจันทร์ที่ผ่านมา วันนี้ผมก็มีบรรยากาศในงานมาฝากครับ
งานนี้จัดขึ้นเพื่อแนะนำผลิตภัณฑ์ตัวใหม่อย่าง HTC One ซึ่งก็มีแขกที่เข้าร่วมงานมากหน้าหลายตาเลยทีเดียว ทั้งคนในวงการมือถือ พิธีกร พรีเซ็นเตอร์ รวมถึงกูรูด้านไอทีอีกนับไม่ถ้วน และที่สำคัญที่สุด นอกจากแขกที่ผมกล่าวมา รวมถึงผู้บริหารของ HTC ประเทศไทยแล้วนั้น ยังมีแขกพิเศษจาก HTC สาขา Seattle มาเข้าร่วมงานนี้เพื่อแนะนำผลิตภัณฑ์ด้วยตนเองอีกด้วยครับ งั้นเรามาเข้าเรื่องของเราดีกว่า
ความเดิมตอนที่แล้ว รู้จักกับ HTML5 - ภาคหนึ่ง HTML5 คืออะไร?
ตอนแรกเราดู "ภาพรวม" ของ HTML5 ไปแล้ว คราวนี้จะมาดูเจาะเป็นบางประเด็นให้ละเอียดขึ้นนะครับ สำหรับตอนที่สองจะเป็นเรื่องของ Web Video หรือ HTML5 Video ซึ่งเป็นที่สนใจต่อสาธารณะไม่น้อย โดยเฉพาะในเรื่อง "สงคราม codec" ที่ยังไม่จบไม่สิ้น และกลายเป็นความซวยของนักพัฒนาเว็บไปแทน
จบลงไปแล้วกับกิจกรรม Global Android Dev Camp 2012 หรือ GADC2012 ที่เหล่าสุดยอดนักพัฒนาแอพพลิเคชันแอนดรอยด์ทั่วเมืองไทยรวมตัวกัน เพื่อพัฒนาแอพพลิเคชันแอนดรอยด์ภายใน 48 ชั่วโมง และจัดขึ้นพร้อมกันกว่า 50 ประเทศทั่วโลก ในวันที่ 17-19 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมา สำหรับในประเทศไทยนั้น จัดขึ้นที่ร้าน IfItIs สุขุมวิท ซอย 38
ซึ่งจัดโดย Thailand GTUG (Thailand Google Technology User Group) โดยได้รับการสนับสนุนหลักจาก Google และของรางวัล Galaxy Nexus จำนวน 5 เครื่อง รวมทั้งเครื่องสำหรับทดสอบแอพพลิเคชันในการพัฒนาจาก Samsung
บทความชุดนี้จะแนะนำข้อมูลเบื้องต้น (ย้ำว่า "เบื้องต้น") ของเทคโนโลยีใหม่ที่ทุกคนจับตาอย่าง HTML5 เพื่อเตรียมความพร้อมและปูพื้นฐานของ HTML5 ให้กับนักพัฒนาเว็บในประเทศไทย
ภาคแรกของบทความนี้จะกล่าวถึงข้อมูลของ HTML5 ในภาพรวม ว่ามันคืออะไร มันทำอะไรได้บ้าง ก่อนจะเข้าสู่รายละเอียดของเทคโนโลยีบางตัวที่สำคัญในภาคต่อๆ ไป
"คุยกันแบบ GEEK 2 GEEK พร้อมกับสัมผัสอากาศหนาว และท่องเที่ยวไปกับธรรมชาติภาคเหนือ" ข้อความจากบทความก่อนที่ผมได้เขียนเชิญชวนเข้าร่วมงานซึ่งมันไม่ได้เกินจริงไปเลยกับงาน BarCamp ChiangRai ครั้งแรกนี้
วันนี้ ASUS ประเทศไทยมีงานแถลงข่าวเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ 2 ตัว คือ ASUS Transformer Prime และ Zenbook โน้ตบุ๊กสาย ultrabook
งานแถลงข่าวยังไม่เคาะราคาขายอย่างเป็นทางการ แต่มีผลิตภัณฑ์ของจริงมาให้จับ ก็เข้าเรื่องเลยไม่ต้องเสียเวลา
ตัวนี้เป็น Prime ตัวแรกที่เปิดตัวตั้งแต่ปีที่แล้ว ยังไม่ใช่ Prime TF700T ที่เปิดตัวในงาน CES
สรุปสั้นๆ
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคมที่ผ่านมาผมได้ไปร่วมงานเสวนา "สิทธิพลเมืองกับหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์" ที่จัดโดย Thai Netizen การพูดครั้งนั้นมีผลมากกว่าที่ผมคิด คือหนังสือพิมพ์และสื่อหลายฉบับนำข้อมูลไปอ้างอิง เช่น กรุงเทพธุรกิจ, The Nation, และ
note: วันนี้ผมมาร่วมงาน NBTC Public Forum ที่รับฟังความคาดหวังของภาคประชาสังคมต่อกสทช. ผมและ mk จึงร่างจดหมายเพื่อแสดงความคาดหวังของเราในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อแสดงต่อกสทช. ในงานนี้ครับ
ถึง กสทช. ทุกท่าน
ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา บริการโทรคมนาคมมีความสำคัญต่อชีวิตประชาชนขึ้นอย่างมาก คนจำนวนมากมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการเข้ามาของเทคโนโลยีโทรคมนาคม คนจำนวนมากมีชีวิตโดยต้องพึ่งพิงโทรคมนาคมเพื่อการดำรงค์ชีวิต ทั้งการอาชีพและการปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคมตามอัตภาพ
ช่วงหลังๆ นี่ Blognone มีข่าวโทรคมนาคมจำนวนมากทั้งในไทยและต่างประเทศ แต่ผมพบว่าความเห็นจำนวนมากนั้นจะซ้ำไปมาจากความเข้าใจผิดในความรู้พื้นฐาน ผมจึงตัดสินใจว่าถึงเวลาที่จะเขียนบทความเพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกันเสียที
บทความนี้เน้นระบบ โทรคมนาคมไร้สาย เช่นโทรศัพท์มือถือ หรือการสื่อสารดาวเทียม ฯลฯ นะครับ ผมจะไม่ลงไปอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เราอาจจะเจอคาบเกี่ยวกันบ่อยๆ เช่นโทรทัศน์วิทยุ (ที่ใช้คลื่นความถี่เหมือนกัน), หรือโทรคมอื่นๆ (เช่นโทรศัพท์บ้าน, ADSL, หรือบริการสายไฟเบอร์)
ถึง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี, และนาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
จากเหตุการณ์ซึ่งมีผู้ส่ง SMS ไปที่โทรศัพท์มือถือของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข แล้วมีการบุกจับนายอำพล [สงวนนามสกุล] ดำเนินคดี จนกระทั่งศาลอาญามีคำพิพากษาในสัปดาห์ที่ผ่านมา
หมายเหตุ: วันอาทิตย์ไม่ค่อยมีข่าว ก็ขอเขียนบทความย้อนอดีตประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจของวงการไอทีละกันนะครับ
ผมคิดว่า บุคคลในวงการไอทีที่สตีฟ จ็อบส์ ควรจะรู้สึก "ขอบคุณ" ที่สุดในชีวิต อาจเป็น ฌอง หลุยส์ กัสซี (Jean-Louis Gassée) อดีตพนักงานชาวฝรั่งเศสของแอปเปิล และผู้บริหารแอปเปิลสาขาฝรั่งเศส ซึ่งพิจารณาจากผลงานต่างๆ แล้ว เราอาจถือว่าเขาเป็น "ร่างขนาน" ของสตีฟ จ็อบส์ก็ว่าได้
แต่สิ่งที่กัสซีสร้างบุญุคุณให้กับจ็อบส์มากที่สุด ไม่ได้เกิดขึ้นตอนที่ทั้งคู่กำลังทำงานกับแอปเปิล (โดนระเห็จออกมาทั้งคู่) และก็ไม่ใช่สิ่งที่ตัวของกัสซีเองตั้งใจให้มันเกิดขึ้นด้วยซ้ำ
จากข่าว ผู้จัดการฝ่ายสินค้า Adobe บอกแอปเปิลทำให้ Flash บนมือถือ "ตาย"
ผมจึงขอแปลฉบับเต็มจากบล็อกของ Mike Chambers มาให้ทุกคนอีกครั้งหนึ่งครับ
จากบทความที่แล้วที่ลงไว้ที่เว็บ Thailand GTUG ผมได้พาทุกคนไปรู้จักกับงาน Google Developer Day กันแล้ว สำหรับบทความนี้ เราจะมาต่อกันที่บรรยากาศภายในงาน Google Developer Day 2011 Tokyo ที่ผมได้มีโอกาสไปเข้าร่วมมาในฐานะตัวแทนจาก Thailand GTUG ครับ ในบทความนี้จะไม่เน้นลงรายละเอียดเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆ ที่ Google นำมาเสนอ เพราะสามารถหาอ่านได้ตามข่าวเก่าๆ และเว็บไซต์อื่นๆ ทั่วไป ไม่มีอะไรแปลกใหม่มากนัก แต่จะเน้นในส่วนของบรรยากาศภายในงาน เพื่อเป็นการแบ่งปัน
ในงาน Barcamp Bangkhen ที่ผ่านมา พอดีผมได้มีโอกาสไปแชร์ในหัวข้อ "Geek อย่างไรให้ไม่โสด" ซึ่งเดิมทีเคยคิดที่จะเขียนเป็นบทความใน Blognone มานานแล้ว แต่ก็มีโอกาสได้ไปแชร์ในงานสัมมนาก่อน จากเสียงตอบรับก็ค่อนข้างดี และก็คิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับผู้อ่าน Blognone ซึ่งตรงกับกลุ่มเป้าหมายในหัวข้อนี้ เลยขอนำมาแชร์ให้ได้อ่านกันครับ
คำเตือน: ยาวมาก เพราะถอดเทปจากที่คุยในงานมา
เมื่อตอนงาน F8 ที่ผ่านมาเราจะเห็นการเปิดตัวของ Facebook Timeline รูปแบบใหม่ ที่จะมาแทนที่ Wall เดิมของ Facebook หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ หลายต่อหลายครั้งในช่วงเวลาที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นการเปิดตัว Ticker และปรับหน้า News Feed ใหม่, เปิดตัวปุ่ม Subscribe และ Friends List รูปแบบใหม่ การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้หลายๆ คน คงจะตั้งคำถามว่า.. ทำไมเหมือน Hi5 จัง ทำไมเหมือน Google+ จัง วันนี้ผมก็จะมารีวิวกันให้ดูแบบเผาบุคคลใกล้ชิดกันนิดๆ นั่นแหละครับ ^^
บทความนี้จริงๆ แล้วพี่ Master_Vivi วานให้ผมช่วยเขียนเพื่อลงเว็บ GConsole นะครับ แต่ไหนๆ ก็เขียนแล้ว เลยขอเอามาลงนี่ด้วยเลยครับ
สวัสดีครับ วันนี้ผม KnightBaron ขอรับหน้าที่พาเพื่อนๆ ทุกคนไปเที่ยวงาน Tokyo Game Show 2011 แทนพี่ Master_Vivi ที่ปีนี้ติดภารกิจนะครับ ก่อนอื่นต้องออกตัวก่อนว่า ผมเองก็ไม่ใช่เกมเมอร์อาชีพ ไม่ค่อยได้ติดตามข่าวสารในวงการเท่าไหร่ คราวนี้เลยจะมานำเสนอบรรยากาศรวมๆ ในงาน กับบูธของค่ายเกมต่างๆ และความรู้สึกของผมที่ได้ร่วมงาน แล้วกันนะครับ
ต้องขอโทษอีกครั้งที่เขียนช้าไปหน่อย ด้วยเหตุผลเดิมๆ ว่างานยุ่งและสถานการณ์มันพลิกเร็วมาก เขียนตามไม่ทัน โดยเฉพาะเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญมากเกิดขึ้นสองอย่างคือ การซื้อ Motorola และการลงจากตำแหน่งซีอีโอของสตีฟ จ็อบส์
ไหนๆ ช่วงนี้พอมีเวลาก็ขอสรุปสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในรอบ 2-3 เดือนนี้ ด้วยกรอบการวิเคราะห์แบบ "สามก๊กไอที" ว่าทั้งสามก๊กมีความเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
เหมือนจะกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติไปแล้ว เมื่อมีข่าวเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างซอฟแวร์ที่ฝั่ง โอเพนซอร์ส (ต่อไปจะเรียก OSS) กับฝั่ง Proprietary Software (ต่อไปจะเรียก PS) ก็จะมีการถกเถียง แลกเปลี่ยนประเด็นและความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งส่วนมากก็มักจะเป็นประเด็นเดิม ๆ หัวข้อเดิม ๆ ที่ผมอ่านมาตั้งแต่เริ่มสนใจพัฒนาซอฟแวร์ใหม่ ๆ (ราว ๆ ปี 2002 เห็นจะได้)
จากการลงข่าว WikiLeaks: ไมโครซอฟท์และ BSA กังวลต่อแนวทางโอเพนซอร์สของไทย ใน blognone และก็เหมือนทุก ๆ ครั้งที่ผ่านมา ก็จะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งพอจะสรุปเป็นความคิดเห็นมีอยู่ 2 ประเด็นหลัก ๆ ดังนี้
หมายเหตุ mk มาถึงตอนนี้เราคงเห็นกันชัดว่า cloud computing คืออนาคตของการประมวลผลขนาดใหญ่ แต่สิ่งที่บ้านเรายังขาดแคลนมากคือประสบการณ์ ความรู้ความเชี่ยวชาญในการสร้างแอพพลิเคชันบนกลุ่มเมฆ (ยังไม่ต้องพูดถึงการสร้าง cloud infrastructure แบบ AWS หรือ Azure ที่ต้องใช้ทรัพยากรเยอะกว่านั้นมาก)