Blognone Full Coverage
วันนี้ 16 พฤษภาคม ถือเป็นวันแรกที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย มีผลบังคับใช้ ส่งผลให้บัตรเอทีเอ็ม-บัตรเดบิตที่ออกใหม่จะต้องเปลี่ยนมาใช้ระบบชิป ตามมาตรฐาน EMV แทนระบบแถบแม่เหล็กอย่างในปัจจุบัน (ส่วนบัตรเดิมยังใช้ต่อไปได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562)
Blognone สำรวจสถานการณ์เรื่องบัตรแบบชิป จากเว็บไซต์และ Facebook ของธนาคารต่างๆ โดยสนใจประเด็นเรื่องวันที่เริ่มให้บริการบัตรแบบใหม่ และค่าธรรมเนียมของบัตรแบบใหม่
สถาบันเอไอที หรือ Asian Institute of Technology จัดงาน “ความร่วมมือด้านนวัตกรรม” เปิดโอกาสให้ นักศึกษา นักวิจัย และอาจารย์ ร่วมการประกวดความคิดสร้างสรรค์ทางนวัตกรรม เทคโนโลยี วันที่ 12-13 พ.ค. เน้นงานด้านการออกแบบหุ่นยนต์ ซอฟต์แวร์และไอที การลดความเสี่ยงทางภัยพิบัติ และ โครงสร้างพื้นฐาน
ข่าวการเมืองในช่วงนี้ สร้างความตื่นตัวเรื่องความปลอดภัยในการใช้งาน Facebook และบริการออนไลน์อื่นๆ ในหมู่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตชาวไทยขึ้นมาก บทความนี้เขียนขึ้นเพื่ออธิบายฟีเจอร์ความปลอดภัยต่างๆ ของ Facebook ที่มีอยู่แล้ว ที่ช่วยให้บัญชีผู้ใช้งานของเราแข็งแกร่ง ทนทานต่อการแฮ็กหรือการถูกเจาะมากขึ้น
ผู้ใช้ Facebook ทุกคนสามารถใช้งานฟีเจอร์เหล่านี้ได้ทันที และ Blognone แนะนำว่าเป็นสิ่งที่ผู้ใช้ Facebook ทุกคนควรทำ
สัปดาห์ที่ผ่านมาเรามีงาน Startup Thailand 2016 ซึ่งถือเป็นงานด้านสตาร์ตอัพงานใหญ่งานแรก ที่ภาครัฐไทยลงมาเป็นเจ้าภาพอย่างเต็มตัว ผลการจัดงานประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในแง่ผู้เข้าชม (ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการที่ผมทราบมาคือ "มากกว่า 3 หมื่นคน") และในแง่ความรับรู้ของคนทั่วไป
ผมมีโอกาสไปเดินดูงานในวันสุดท้ายคือวันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พบว่าคนเยอะมาก บางช่วงถึงกับเดินฝ่าเข้าไปไม่ได้เลย จากการเดินชมงานก็มีความเห็นและข้อสังเกตดังนี้
แม้จะผ่านไปแล้วไม่กี่วันสำหรับงาน Startup Thailand 2016 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในวันที่สองมีเสวนาที่น่าสนใจโดยเฉพาะเสวนาเรื่อง Corporate Venture Investment Strategy in Startups ที่กล่าวถึง Corporate Venture Capital ในมุมมองของธนาคารและบริษัทสื่อสารยักษ์ใหญ่ว่ามีมุมมองยังไงกับสตาร์ทอัพในช่วงนี้
ผู้ร่วมเสวนามีดังต่อไปนี้
เมื่อวันเสาร์ที่ 30 เมษายน 2559 ผมมีโอกาสได้เข้าร่วมงานเสวนาหัวข้อ “Lesson Learned form Overseas Thai Startups” ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งในงาน Startup Thailand 2016 ณ ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ว่าด้วยเรื่องราวของเทคสตาร์ตอัพหลายรายที่เป็นของคนไทย แต่ไปเติบโตในต่างประเทศ (หลักๆ คือในสหรัฐอเมริกา) โดยมีผู้ร่วมเสวนาดังนี้
แม้จะล่วงเลยมาหลายวัน แต่คิดว่าสาระสำคัญยังน่าจะมีประโยชน์ จึงขอสรุปมาเล่าต่อ ณ ที่นี้ครับ
งาน Startup Thailand 2016 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เปิดตัวธุรกิจสตาร์ทอัพของไทยกว่า 200 ราย พร้อมทั้งหน่วยงานสนับสนุนสตาร์ทอัพจากต่างประเทศ เป้าหมายของงานคือ เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้สตาร์ทอัพไทย และสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ประกอบการที่สนใจสร้างสตาร์ทอัพ
จึงเก็บบรรยากาศและตัวอย่างบริษัทสตาร์ทอัพส่วนหนึ่ง (มีเยอะมาก) ในงานวันแรก (28 เมษายน) มาให้ชมกัน
ช่วงนี้กระแสสตาร์ตอัพกำลังร้อนแรง เดินไปไหนก็เจอคนอยากเปิดสตาร์ตอัพของตัวเองกันเยอะมาก
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญไปพูดเรื่องสตาร์ตอัพให้กับชมรม CEO Chulalongkorn Entrepreneurs Organization คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีกลุ่มผู้ฟังเป็นนิสิต-นักศึกษาระดับปริญญาตรี จึงขอนำสไลด์เก่ามาเล่าใหม่ในรูปแบบบทความ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับน้องๆ ที่กำลังจะเรียนจบ และสนใจงานด้านนี้ครับ
ปี 2016 ถือเป็นปีที่เจ้าของเว็บไซต์ต้องปรับตัวครั้งใหญ่ จากเดิมที่เรามีเว็บเพจในรูปแบบ HTML เพียงเวอร์ชันเดียว ตามด้วยเว็บเพจในฟอร์แมต RSS ที่ได้รับความนิยมในช่วงกลางทศวรรษ 2000s พอมาถึงปีนี้ เรามีฟอร์แมตเว็บรูปแบบใหม่เพิ่มเข้ามาทีเดียว 2 แบบจาก 2 ค่าย (ซึ่งน่าจะต้องทำทั้งคู่) นั่นคือ Facebook Instant Articles และ Google Accelerated Mobile Pages (AMP)
เนื่องในโอกาส Facebook Instant Articles จะเปิดให้เว็บไซต์ทุกรายใช้งานในวันนี้ (12 เมษายน) บทความนี้จะอธิบายที่มาที่ไปของทั้ง Instant Articles และ AMP รวมถึงพยายามตอบคำถามว่า สุดท้ายแล้วเจ้าของเว็บควรปรับตัวอย่างไร
ชัยชนะของ AlphaGo สร้างความตื่นตัวเรื่องเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) ไปทั่วโลก ในแวดวงวิชาการของบ้านเราก็มีการจัดเสวนา เชิญผู้เชี่ยวชาญมาพูดคุยเรื่องนี้เช่นกัน
ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมเสวนา ไขความลับ อัลฟ่าโกะ การเรียนรู้แบบเชิงลึก และอนาคตของปัญญาประดิษฐ์ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2559 ผู้เขียนมีโอกาสเข้าร่วมงาน และขอสรุปเนื้อหาจากงานมาเผยแพร่ต่อ
โชคดีที่เมื่อวานนี้ผมมีโอกาสเข้าฟังสัมมนาหัวข้อ "AlphaGO: Mastering the game of Go with deep neural networks and tree search" โดยวิทยากรคือ Dr. David Silver จาก DeepMind ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในทีมวิจัยและพัฒนา AlphaGo จาก Google DeepMind
David เป็นหนึ่งในผู้เขียนบทความวิชาการชื่อเดียวกันกับหัวข้อสัมมนา ซึ่งอธิบายเทคนิคเบื้องหลังความสำเร็จของ AlphaGo และได้ตีพิมพ์ในนิตยสาร Nature เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
Git เป็นระบบจัดการซอร์ส (source code management หรือบางที่ก็เรียกว่า version control system) ตัวหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในปัจจุบัน เพียงแค่หน้าที่หลักของมันในการติดตามการเปลี่ยนแปลงและเรียกคืนไฟล์ตามช่วงเวลาต่างๆ ก็ทำให้การทำงานโดยใช้ Git บริหารไฟล์มีประสิทธิภาพมากขึ้นหลายเท่าตัว
สัปดาห์นี้ผมมีโอกาสไปร่วมงาน Digi.travel Thailand 2015 งานสัมมนาด้านเทคโนโลยีกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของบ้านเรา
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวก็เหมือนกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เผชิญความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเรื่อง sharing economy ที่ธุรกิจโรงแรมตื่นตัวกันมาก แต่ก็ยังรวมถึงบริการอื่นๆ เช่น การจองไกด์ การทำการตลาดออนไลน์ ฯลฯ ด้วย
วิทยาการส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ แต่เนื้อหาหลายส่วนก็เกี่ยวข้องกับประเทศไทยครับ
ปี 2016 เป็นปีสำคัญสำหรับความเปลี่ยนแปลงด้านความปลอดภัยของความปลอดภัยของเว็บ เพราะเป็นปีที่ใบรับรองดิจิทัล Let's Encrypt เริ่มให้บริการฟรีตั้งแต่ต้นปี พร้อมทั้งฝั่งโฮสติงที่ทยอยรองรับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปีนี้เราจึงมาสำรวจกันว่าเว็บใดใช้การรองรับแบบใดกันแล้วบ้าง
การรองรับ HTTPS มีได้หลายแบบ หลายเว็บเลือกที่จะรองรับทั้ง HTTP และ HTTPS ไปพร้อมกัน ซึ่งอาจเกิดจากข้อจำกัดบางประการของแอปพลิเคชันภายใน บางเว็บอาจจะเปิดให้บริการไว้โดยที่รองรับเพียงบางหน้า เช่น หน้าจ่ายเงิน บางเว็บอาจจะยอมรับการโหลดภาพจากเว็บ HTTP ธรรมดา เบื้องต้นเราทำความเข้าใจกับความแตกต่างของการรองรับแต่ละแบบกันก่อน
สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสไปเยือนกรุงเวียงจันทน์ เมืองหลวงของประเทศลาว เพื่อนบ้านของเรา ไหนๆ ไปถึงเวียงจันทน์แล้วก็ถือโอกาสแวะดูวงการไอทีของประเทศลาวสักหน่อยครับ (บทความเก่าที่เกี่ยวข้อง: พาสำรวจวงการไอทีพม่า)
ต้องออกตัวว่าผมมีเวลาค่อนข้างน้อยในเวียงจันทน์ สามารถแวะไปดูแค่ย่านถนนดงป่าลาน (Dongpalane Road) แหล่งรวมร้านขายโทรศัพท์-สินค้าไอทีในเวียงจันทน์ได้เพียงแห่งเดียวเท่านั้น (ใน Blognone มีผู้อ่านจากประเทศลาวอยู่ไม่น้อย ถ้ามีอะไรเพิ่มเติมก็แจ้งไว้ได้ในคอมเมนต์ครับ)
ถนนดงป่าลานเป็นย่านการค้าสำคัญอีกแห่งของเวียงจันทน์ มีร้านค้ามากมาย โดยเฉพาะร้านขายสินค้าไอทีและเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่มากระจุกตัวอยู่บนถนนแห่งนี้
Let's Encrypt (LE) เป็นระบบหน่วยงานออกใบรับรอง (Certification Authority หรือ CA) ที่สามารถใช้งานได้ฟรีและใช้ระบบอัตโนมัติในการจัดการใบรับรองความปลอดภัยสำหรับเว็บไซต์เข้ารหัส โดยเราจะใช้งานผ่าน client ที่มีให้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสาธารณประโยชน์ ระบบของ LE ให้บริการโดย Internet Security Research Group (ISRG)
ใบรับรองที่ออกโดย LE จะมีอายุเพียงแค่ 90 วันเท่านั้น ซึ่งดูเป็นช่วงเวลาที่สั้นสำหรับผู้ดูแลระบบหลายๆคนที่ใช้งานใบรับรองที่มีอายุ1ปี ซึ่งทาง LE ให้เหตุผลในการออกใบรับรองที่มีอายุเพียงแค่ 90 วันไว้ดังนี้
ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ถือว่าเป็นอีกหนึ่งประวัติศาสตร์ของวงการวิทยุโทรทัศน์ของประเทศไทย เมื่อองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ร่วมกับ สำนักงาน กสทช. ประกาศความร่วมมือในการยุติระบบการออกอากาศโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อก เพื่อก้าวเข้าสู่การออกอากาศโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลแบบเต็มตัวอย่างเป็นทางการ โดยเริ่มจากอำเภอเกาะสมุย และอำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมถึงอำเภอฝาง อำเภอแม่อาย และอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่เป็นพื้นที่แรกเมื่อคืนวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เวลา 0.00 น. ที่ผ่านมา
หลายปีผ่านมาแล้วที่ iPad เกิดมาเพื่อเปิดตลาดแท็บเล็ตอีกครั้ง ช่วงแรกอุปกรณ์ตระกูลนี้ทำได้เพียงเข้าเว็บ เล่นเกม ทำงานพื้นฐาน แต่หลังจากนั้นประสิทธิภาพของอุปกรณ์ตระกูลนี้ก็สูงขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถทำงานหนักได้ในระดับหนึ่ง ช่วงหลังจึงเห็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับการจดโน้ตหรือเติมเต็มการทำงานมาลงบนแท็บเล็ตมากขึ้น
ปัจจุบัน แท็บเล็ตมีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก แต่ซอฟต์แวร์ที่จะทำงานสร้างสรรค์ได้ระดับต้นจนจบบนแท็บเล็ตยังน้อย เพราะแอพส่วนใหญ่ แม้กระทั่งแอพของ Adobe ก่อนหน้านี้ยังคงทำงานเป็นส่วนเติมเต็มเท่านั้น แต่ตอนนี้ Adobe กำลังบุกตลาดงานสร้างสรรค์บนแท็บเล็ตเต็มตัวด้วย Creative Cloud ซึ่งจะทำให้การทำงานระหว่างแอพบนอุปกรณ์พกพาและคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันเพื่อความสะดวกยิ่งขึ้น
การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800MHz ของ กสทช. ในช่วง 2 วันที่ผ่านมา มีผลลัพธ์ที่เหนือความคาดหมายทั้งในแง่ตัวเลขเงินที่ประมูล และความยืดเยื้อยาวนานของการประมูลที่กินเวลารวมเกือบ 2 วันเต็ม
คำถามที่หลายคนสงสัยคือคลื่น 1800MHz มีอะไรน่าสนใจ จนบรรดาโอเปอเรเตอร์ต้องต่อสู้กันดุเดือดถึงเพียงนี้ อันนี้เป็นบทวิเคราะห์ขั้นต้นแบบด่วนๆ หลังประกาศผลประมูลครับ (ข้อมูลอาจไม่ครบถ้วนนัก และวิเคราะห์ด้วยยอดรวมการประมูลของแต่ละบริษัทเท่านั้น ไม่ได้สนใจจังหวะการประมูลแต่ละขั้นตอนนะครับ)
สรุปเนื้อหาจาก งานเสวนา Sharing Economy 'เศรษฐกิจแบ่งปัน' เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2558 ที่ร้าน Books&Belongings สุขุมวิท 91 ร่วมจัดโดย กลุ่ม Digital Culture Thailand ร่วมกับมูลนิธิ Heinrich Böll Stiftung และ Siam Intelligence Unit
บริษัทไอทีที่ทำผลงานได้ย่ำแย่อย่างน่าผิดหวังในรอบหลายปีมานี้ ย่อมหนีไม่พ้น HTC หนึ่งในผู้บุกเบิกวงการสมาร์ทโฟนของโลก ที่ช่วงหลังดูจะทำอะไรผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำอีก
ผมเชื่อว่าแถวนี้คงมีอดีตแฟนๆ HTC มากมายที่เคยประทับใจกับผลงานในอดีตของบริษัท แต่พอมาถึงทุกวันนี้มันไม่ไหวจริงๆ เปลี่ยนไปใช้มือถือค่ายอื่นสบายใจกว่ามาก แม้จะยังอยากเอาใจช่วยบริษัทก็ตาม (กรณีเดียวกับแฟนๆ AMD)
เรามาดูกันว่าสถานการณ์ของ HTC เป็นเช่นไร และบริษัทมีทางเลือกอะไรบ้าง
ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา เรามักจะได้ยินถึงเรื่องของการทำ DDoS (Distributed Denial of Service) ในฐานะเครื่องมือของการประท้วงอยู่บ่อยครั้ง ในกรณีของไทยคือการประท้วงเรื่องของ Single Gateway (ข่าวเก่า) ซึ่งถือเป็นการใช้ DDoS ในการประท้วงเพื่อแสดงออกทางการเมืองในรูปแบบหนึ่ง
บทความชิ้นนี้จะกล่าวถึง DDoS ในฐานะเครื่องมือในการประท้วงและแสดงออกทางการเมือง โดยจะกล่าวถึงความรู้เบื้องต้นโดยพื้นฐานของ DDoS จากนั้นจะกล่าวถึงการใช้ DDoS ในฐานะเครื่องมือประท้วงทางการเมืองว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร และเคยใช้ในกรณีใดบ้าง
ผมได้รับเชิญจากบริษัทเน็ตแอพ ประเทศไทย ให้มาร่วมงานสัมมนาใหญ่ประจำปีของบริษัท NetApp Insight 2015 ที่เมืองลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา จึงนำข้อมูลจากในงานมาฝากกันครับ
ก่อนอื่นต้องแนะนำบริษัท NetApp ก่อน เพราะคนที่ไม่ได้อยู่ในโลกไอทีองค์กร (แถมต้องเป็นสายสตอเรจด้วย) อาจไม่เคยได้ยินชื่อนี้มาก่อน
จริงๆ แล้ว บริษัท NetApp ก่อตั้งมานานตั้งแต่ปี 1992 เข้าตลาดหุ้นในปี 1995 มีธุรกิจหลักคือฮาร์ดแวร์ด้านสตอเรจสำหรับลูกค้าองค์กร ถือเป็นบริษัทสตอเรจรายใหญ่รายหนึ่งของโลกไอทีฝั่งองค์กร (Blognone เคยสัมภาษณ์ คุณวีระ อารีรัตนศักดิ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย NetApp มีรายละเอียดพื้นฐานพอสมควร แนะนำให้อ่านกัน)
Indie games have once again occupied a humble, yet meaningful place at the Tokyo Game Show 2015. In fact, Sony Computer Entertainment had subsidized the Indie Game Area for a second year in a row. What that essentially means for budding indie and doujin game developers is that what used to cost about $2000 US Dollars is now completely free of charge, and that exhibiting at the TGS is now a matter of submitting a game for demonstration and then subsequently passing the evaluation process. As a result of this opportunity, the Indie Game Area at TGS has been steadily growing in both participation and popularity over recent years, and 2015 has been no exception.
“♫ ...คนเหงาย่อมเข้าใจคนเหงา เมื่อสายตาเศร้าๆ ส่งไปทักทายกัน” เชื่อได้ว่าหลายท่านคงกำลังเฝ้ารออีกครึ่งหนึ่งของชีวิตกันอยู่
แต่ตอนนี้ นอกจากคอลัมน์มาลัยเสี่ยงรัก, เว็บหาคู่ชื่อดังที่ข้อมูลผู้ใช้เพิ่งรั่ว แล้ว ล่าสุดไม่นานนี้ บนสมาร์ทโฟนของหนุ่มสาวหลายคนคงมีแอพ Tinder ปรากฏอยู่ ด้วยคอนเซปต์ของแอพนี้ที่ว่า “Any swipe can change someone’s life” ทุกการปัด เปลี่ยนชีวิตบางคนได้ ชักน่าสนใจแล้วสิ
วันนี้ผมในนาม Blognone ขอหยิบเรื่องราวของปรากฏการณ์ตามหารักแท้แบบใหม่มาฝากกัน