Blognone Full Coverage
ในสภาพเศรษฐกิจแบบนี้ หลายๆ ท่านที่อาจกำลังหาซื้อมือถือใหม่ ไม่ว่าจะเพื่อการทำงาน หรือเพราะมือถือเก่าใกล้หมดอายุขัยพอตัวแล้ว อาจจะต้องตัดงบลงมาพอสมควร แต่ก็คงยังอยากได้มือถือที่มีประสิทธิภาพตอบโจทย์การทำงานที่ต้องการ วันนี้ผู้เขียนจึงมีมือถือราคาคุ้ม ที่ซื้อหากันได้ในราคาต่ำกว่าหนึ่งหมื่นบาทมาแนะนำ
ไมโครซอฟท์ในยุค Satya Nadella มีทิศทางที่น่าสนใจอย่างมาก เราจะเห็นว่าไมโครซอฟท์ยุคหลังมานี้ มีจำนวนผลิตภัณฑ์ สินค้า บริการ เพิ่มขึ้นมากมาย ทั้งที่สร้างเอง (เช่น Teams, VS Code, Azure) และซื้อกิจการเข้ามา (Xamarin, GitHub, Minecraft) ถ้านับจำนวนทั้งหมดคงเป็นหลักหลายร้อย
คำถามที่น่าสนใจคือ ไมโครซอฟท์ "มอง" โครงสร้างผลิตภัณฑ์ของตัวเองอย่างไร เห็นความเชื่อมต่อและความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของบริษัทอย่างไร
คำตอบอยู่ในการนำเสนอของ Satya Nadella ในงานใหญ่ประจำปีของบริษัทคือ Build (ที่ปีนี้เปลี่ยนมาจัดเป็นงานออนไลน์)
สภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวของโลกตั้งแต่ปีที่แล้ว จนถึงวิกฤต COVID-19 ทำให้เศรษฐกิจโลกกำลังดิ่งจนไม่รู้จะดีขึ้นเมื่อไร พาให้และยอดขายสมาร์ทโฟนราคาแพงๆ ลดตามไปด้วย แต่สมาร์ทโฟน “เรือธง” ก็ยังมีราคาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สวนกระแสเศรษฐกิจ จนน่าสงสัยว่าจะแพงขึ้นไปถึงไหน
Samsung Galaxy S20 Ultra เริ่มต้นที่ราคา 31,900 บาท, Huawei P40 Pro เริ่มต้นที่ 31,900 บาท OnePlus 8 Pro ที่เปิดตัวไปเมื่อไม่นานมานี้ และยังไม่มีราคาในไทย เริ่มต้นที่ 899 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 29,300 บาท (ราคาไทยน่าจะอยู่ที่ประมาณ 31,900 บาท) และ OPPO Find X2 Pro 5G ก็ราคาพุ่งแรงไปถึงหลักสี่หมื่น ที่ 40,990 บาทแล้ว
สัปดาห์นี้คนจำนวนมากทั่วโลกต้องเริ่มทำงานจากที่บ้าน หรือที่เราเรียกกันว่า Work From Home (WFH) ความท้าทายที่สุดคือการสนทนาแบบเห็นหน้าจะต้องถูกทดแทนด้วยการสื่อสารแบบอื่น เช่น แชท โทรศัพท์ วิดีโอ ซึ่งคนทำงานย่อมต้องปรับตัวทั้งในแง่เครื่องมือ (tools) วิถีการทำงาน (process) และวัฒนธรรมองค์กร (culture)
บทความนี้จะแนะนำตัวเครื่องมือ (tools) นั่นคือโซลูชันการประชุมออนไลน์แบบวิดีโอเป็นกลุ่มใหญ่ (video meeting) ที่ได้รับความนิยมในตลาด 6 ตัวมาให้เป็นตัวเลือกกัน
โปรแกรมที่คัดมาเสนอรอบนี้เกือบทั้งหมดฟรี หรือมีแพ็กเกจแบบฟรีให้ลองใช้งาน
ต่อยอดอีกสักเล็กน้อยจากบทความ Cloud Gaming แพลตฟอร์มเกมยุคหน้าที่อาจทำให้ไมโครซอฟท์กลับมาครองตลาดเกม โดยใจความสำคัญของบทความดังกล่าวคือการชี้ว่าในยุค Cloud Gaming ที่น่าจะเป็นยุคหลังคอนโซลรุ่นถัดไป ไมโครซอฟท์มีภาษีในอุตสาหกรรมเกมดีกว่าโซนีที่ครองตลาดอยู่ตอนนี้และ Stadia ที่เป็นผู้เปิดศักราช Cloud Gaming
ช่วงหลังมานี้เจอใครก็มักพูดว่า กระแสสตาร์ตอัพที่เคยบูมในบ้านเราช่วง 4-5 ปีก่อนอาจเริ่มดูซาๆ ลงไปบ้างแล้ว
Blognone มีโอกาสสัมภาษณ์คุณธนพงษ์ ณ ระนอง นายกสมาคม Thai Venture Capital Association (TVCA) ในฐานะผู้มีประสบการณ์ลงทุนกับสตาร์ตอัพในบ้านเรามาอย่างโชกโชน (เคยดูแลโครงการ InVent ของ Intouch และปัจจุบันดูแลบริษัท Beacon VC ในสังกัดธนาคารกสิกรไทย) เพื่อขอมุมมองวิเคราะห์ว่าเพราะเหตุใด สตาร์ตอัพบ้านเราถึงดูซบเซาลงไป
ปี 2019 ที่ผ่านมาอาจเป็นหมุดหมายสำคัญของวงการเกม จากการเปิดตัวแพลตฟอร์มการให้บริการเกมผ่านคลาวด์ Stadia ของกูเกิลและ Project xCloud ของไมโครซอฟท์ ในเวลาไล่เลี่ยกัน
อันที่จริงแนวคิดของ Stadia หรือ xCloud ไม่ใช่ของใหม่ เพราะโซนี่่เองก็มีบริการลักษณะเดียวกันมาสักพักแล้ว แต่การมาถึงของ Stadia และ xCloud สร้างแรงกระเพื่อมในวงการเกมและทำให้ Cloud Gaming ถูกพูดถึงมากขึ้นมาก
หากมองในระยะยาวที่ Cloud Gaming อาจกลายเป็นแพลตฟอร์มเล่นเกมในยุคหลังคอนโซล กลับเป็นไมโครซอฟท์ที่มีความได้เปรียบที่สุดในตอนนี้
บทความนี้จะพาไปสำรวจสถานการณ์ Cloud Gaming พร้อมกับการมองอนาคตว่าทำไมไมโครซอฟท์ถึงกุมความได้เปรียบเอาไว้ตั้งแต่วันนี้แล้ว
วงการโน้ตบุ๊คเป็นวงการที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกปีเช่นเดียวกับสมาร์ทโฟน และด้วยหลายๆ คนอาจกำลังมองหาโน้ตบุ๊กเครื่องใหม่ในช่วงต้นปีใหม่ ไม่ว่าจะด้วยให้ของขวัญตัวเอง ของขวัญคนอื่นหรือกำลังอยากเปลี่ยนเครื่องพอดีก็ตาม
Blognone ขอรวบรวมโน้ตบุ๊คแนะนำใน 3 กลุ่มราคาด้วยกันสำหรับผู้ใช้ทั่วไปใช้ทำงาน ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อเล่นเกม ตั้งแต่รุ่นเริ่มต้นราคาต่ำ 2 หมื่น, รุ่นกลางราคาราว 2 หมื่นถึง 3 หมื่น และสุดท้ายคือสายธุรกิจระดับท็อปที่ราคา 4 หมื่นบาทขึ้นไป
เราคงพูดได้เต็มปากแล้วว่า Kubernetes กลายเป็นเทคโนโลยีสำคัญของโลกเซิร์ฟเวอร์ในยุคนี้ (อ่าน รู้จัก Container มันคืออะไร และ Kubernetes คืออะไร)
บริษัทอย่าง VMware ที่สร้างชื่อมาจากเทคโนโลยี virtualization ย่อมเริ่มโดนคุกคามจากเทคโนโลยี container ที่สามารถทดแทนกันได้ (ในบางรูปแบบการใช้งาน) ทำให้รอบปีที่ผ่านมา เราเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างหนักของ VMware ในการปรับตัวเข้าสู่ยุค Kubernetes
ผมได้รับเชิญจาก VMware ให้เข้าร่วมงาน vFORUM 2019 Singapore ที่สิงคโปร์ เปรียบได้กับการยกงานใหญ่ VMworld จากสหรัฐอเมริกามาจัดที่เอเชีย โดย Pat Gelsinger ซีอีโอของ VMware เป็นคนบินมากล่าวเปิดงานเอง และหัวใจสำคัญของงานปีนี้ก็คือคำนี้ "Kubernetes"
Zhang Ping'an ประธานฝ่ายธุรกิจ Consumer Cloud Service ของ Huawei กล่าวเปิดงาน Huawei Developer Day APAC 2019 ที่สิงคโปร์ ด้วยคำถามที่ทุกคนสงสัยว่า "Huawei จะเอาตัวรอดอย่างไรจากสถานการณ์ในตอนนี้"
คำตอบของ Zhang คือ "พวกเราเตรียมพร้อมอยู่แล้ว" คำตอบนี้อาจดูอหังการ แต่เมื่อผลประกอบการไตรมาสล่าสุดออกมาดีเยี่ยม เสียงวิจารณ์ก็เงียบลง
แต่การขาด Google Mobile Services (GMS) ทำให้บริษัทต้องพยายามสร้าง Huawei Mobile Services (HMS) ขึ้นมาทดแทน ก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก และเป็นผลให้บริษัทต้องเร่งจัดงานสัมมนาสำหรับนักพัฒนา เพื่อสื่อสารกับนักพัฒนาทั่วโลกให้หันมาสนใจ HMS กันมากขึ้น
ข่าวเซอร์ไพรส์หนึ่งของวงการไอทีช่วงปลายปี 2019 คือ กูเกิลซื้อกิจการ Fitbit ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์แบบสวมใส่ได้ (wearable) ชื่อดัง
บทความนี้เป็นการวิเคราะห์เหตุผลว่าทำไมกูเกิลถึงต้องซื้อ Fitbit (และทำไม Fitbit ถึงต้องขายให้ใครสักคน) แต่ก็ยังมีความท้าทายอีกมาก เพราะทั้งกูเกิลและ Fitbit ต่างเป็นผู้เล่นอันดับรองๆ ในตลาด wearable ที่แข่งขันสูงมาก
ปีนี้นับเป็นช่วงเวลาที่โลกกำลังเข้าสู่สงครามสตรีมมิ่งรอบใหม่ หลังจาก Netflix สามารถสร้างฐานผู้ใช้ได้นับร้อยล้านราย ผู้เล่นรายใหญ่ทั้ง Disney+, Apple TV+, HBO Max, Peacock ต่างเตรียมจะเปิดบริการในเร็วๆ นี้ และยังมีบริการสตรีมมิ่งรายเดิมที่พยายามตีตื้น Netflix ขึ้นมาอย่าง Hulu, Amazon Prime Video, YouTube Original ซึ่งแต่ละเจ้าก็พยายามลงทุนทำซีรีส์ด้วยทุนสูงเพื่อดึงดูดผู้ใช้งาน ผู้บริโภคโดยเฉพาะฝั่งสหรัฐฯ จะมีทางเลือกจำนวนมาก และกำลังจะเข้าสู่สภาวะเลือกไม่ถูกเพราะมีให้เลือกดูเต็มไปหมด (แต่เวลาชีวิตมีเท่าเดิม)
โมเดลธุรกิจหลักของโซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊กคือโฆษณา ที่ผ่านมาบริษัทก็พยายามทำให้โฆษณามีความเกี่ยวข้อง (relevant / personalized) กับความสนใจของผู้ใช้งานแต่ละคนมากที่สุด
หลายครั้งโฆษณาของเฟซบุ๊กมีความเกี่ยวข้องกับเรามากเกินไปจนน่ากลัว เช่น โฆษณาปรากฎขึ้นมาหลังการสนทนากับเพื่อนไม่นาน เลยกลายมาเป็นประเด็น (บางทีก็กลายเป็นข้อสรุปเลย) ว่าเฟซบุ๊กต้องแอบดักฟังเสียงเราแน่ ๆ ถึงสามารถแสดงโฆษณาได้แม่นยำและถูกต้องขนาดนั้น
โดยส่วนตัวผู้เขียนเชื่อว่าเฟซบุ๊กไม่ได้ดักฟังเราจริง ๆ โดยบทความนี้จะพยายามอธิบายว่าทำไมผมถึงเชื่อเช่นนั้น แล้วเมื่อเฟซบุ๊กไม่ได้ดักฟังแล้ว มันแสดงโฆษณาขึ้นมาได้ตรงเผงตามที่เราพูดคุยกันได้ยังไง
ผ่านไปอีกครั้งกับนิทรรศการเกมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่น Tokyo Game Show 2019 โดยในปีนี้งานจัดขึ้นเมื่อวันที่ 12-15 กันยายนที่ผ่านมา ณ Makuhari Messe เช่นเคยครับ สำหรับปีนี้มีบริษัทมาร่วมงานทั้งสิ้น 655 บริษัท (น้อยกว่าปีที่แล้ว 13 บริษัท) และมีผู้ร่วมงานตลอดสี่วันรวมทั้งสิ้น 262,075 คน (น้อยกว่าปีที่แล้วราว 36,000 คน) แม้ตัวเลขจะเงียบเหงากว่าปีที่แล้ว แต่บรรยากาศภายในงานก็ยังคงคึกคักเช่นเคยครับ ปีนี้ผมมีโอกาสไปร่วมงานสองวัน คือวันที่ 13 ซึ่งเป็น Business Day และวันที่ 15 ซึ่งเป็น Public Day ครับ
คำเตือน: ภาพประกอบเยอะมาก
ไฮไลท์อย่างหนึ่งของงาน Tokyo Game Show 2019 คือเดโมของเกม Final Fantasy VII Remake ที่เปิดให้คนทั่วไปได้ทดลองเล่นเป็นครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นครับ และแน่นอนว่าเกมนี้ก็เป็นเป้าหมายหลักของผมในทริปนี้ จึงขอลัดคิว จับมาเขียนถึงก่อนเลยครับ
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ เคยเปิดรายงานศึกษา Hyperloop และความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเป็นรายงานที่คุณธนาธรจ้างให้บริษัท Hyperloop ในแคนาดาทำการศึกษา โดยเริ่มศึกษาในเส้นทางเชียงใหม่-กรุงเทพ-ภูเก็ต
ธนาธร บรรยายในหัวข้อ Hyperloop and Path Skipping Development Strategy ที่งาน Blognone Tomorrow 2019 ระบุว่าแนวคิดของ Hyperloop ไม่ใช่แค่การอำนวยความสะดวกในการเดินทางด้วยความเร็วสูง แต่ยังเป็นโอกาสของคนไทย ที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง (middle income trap) และโอกาสในการเป็นเจ้าของเทคโนโลยีของตัวเอง
The International เวทีศักดิ์สิทธิ์เพื่อค้นหาทีมที่แข็งแกรงที่สุดแห่งปีของเกม Dota 2 เจ้าของตำแหน่งทัวร์นาเมนต์ esports ที่มีเงินรางวัลรวมสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ เป็นรายการแข่งขันที่แฟน Dota 2 อยากไปสัมผัสด้วยตัวเองสักครั้งในชีวิต
เมื่อ Valve ประกาศว่า The International 2019 (หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า TI 9) จะจัดขึ้นที่ประเทศจีน แทนที่จะเป็นซีกโลกตะวันตกเหมือนที่แล้วมา ทำให้ผมมีความหวังเล็กๆ ที่จะได้ไปชมงาน TI 9 แบบสดๆ ในสนาม และโชคดีอย่างมากที่สามารถทำได้สำเร็จ
แล้วบรรยากาศในงานจะเป็นแบบไหน จะสนุกเร้าใจเหมือนที่คิดไว้หรือไม่ มาลองติดตามเดินทางไปงาน The International 2019 นี้ไปด้วยกันครับ
Cisco ร่วมมือกับ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (ม.อ.) พัฒนาโมเดลสมาร์ทซิตี้ครอบคลุมหลายด้าน โดยทำเป็นโครงการนำร่องเฟสแรกในเขตมหาวิทยาลัยก่อน Blognone มีโอกาสได้ลงไปยังพื้นที่และดูตัวอย่างสมาร์ทซิตี้ในด้านต่างๆ ด้วยจึงเขียนเป็นบทความมาฝาก
ช่วงหลังแนวคิด Agile เริ่มได้รับความนิยมในโลกธุรกิจมากขึ้น ถึงแม้ Agile จะเริ่มเกิดขึ้นจากโลกของซอฟต์แวร์ แต่ตัวมันเองเป็นแนวคิดและวิธีการทำงานที่ใช้ได้กับทุกระดับขององค์กร
KBTG (Kasikorn Business Technology Group) บริษัทด้านเทคโนโลยีของธนาคารกสิกรไทย จึงจัดงานสัมมนา Beyond Agile ขึ้น โดยเชิญวิทยากรชื่อดังระดับโลก เข้ามาชี้ให้เห็นตัวอย่างและแนวทางการใช้ Agile ในองค์กร
Mary Meeker นักวิเคราะห์ชื่อดังที่มีธรรมเนียมออกสไลด์รายงาน Internet Trends ทุกปีตั้งแต่ปี 1995 โดยในปีนี้ Internet Trends Report 2019 ก็ได้เผยแพร่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งได้ฉายให้เห็นภาพรวมและแนวโน้มที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมไอทีว่าเป็นอย่างไร
ภาพรวมใหญ่ของรายงานในปีนี้สะท้อนว่าอินเทอร์เน็ตโลกนั้นยังคงเติบโต แต่ด้วยแนวโน้มที่ลดลง เนื่องจากมีฐานที่ใหญ่มากจากการเติบโตสูงต่อเนื่องหลายปี อัตราเติบโตจึงลดลง
สไลด์ของปีนี้มีจำนวน 333 หน้า (ลิงก์สำหรับดาวน์โหลดเอง) ครอบคลุมทุกหัวข้อในวงการไอทีทั่วโลก ซึ่งมีไฮไลท์น่าสนใจบางส่วนที่คัดมาดังนี้
จากข่าว กูเกิลหยุดทำธุรกิจกับ Huawei ตามคำสั่งของรัฐบาลสหรัฐ สร้างความตื่นตระหนกไปทั่วโลก และเกิดคำถามตามมามากมายว่า จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป สมาร์ทโฟน-แท็บเล็ต Huawei ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android จะได้รับผลกระทบแค่ไหน
Blognone จึงพยายามตอบคำถามเหล่านี้ ตามข้อมูลเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ประกาศสำคัญของ Facebook ในงาน F8 2019 นอกจากการปรับดีไซน์ครั้งใหญ่ เลิกใช้สีน้ำเงิน หันมาใช้สีขาวล้วน ยังมีการประกาศยุทธศาสตร์ใหม่ของบริษัทที่เน้นความเป็นส่วนตัว ถึงขนาด Mark Zuckerberg ประกาศคำว่า "The Future is Private" ขึ้นบนจอภาพ
เรามาดูกันว่าเพราะเหตุใด Facebook ที่มีชื่อเสียงย่ำแย่มาตลอดในเรื่องความเป็นส่วนตัว จึงกลับลำ 180 องศา หันมาเชิดชูความเป็นส่วนตัวขนาดนี้ และในทางปฏิบัติแล้ว Facebook จะทำอย่างไรบ้าง
ข่าวสำคัญที่สุดของงาน F8 2019 เมื่อคืนนี้คือ Facebook ประกาศปรับดีไซน์ครั้งใหญ่ เปลี่ยนมาใช้ธีมสีขาวล้วน (เหลือแค่ไอคอนที่เป็นสีน้ำเงิน) และหันมาเน้นฟีเจอร์ Groups มากขึ้นมาก
ดีไซน์ใหม่ของ Facebook ที่เรียกว่า FB5 (นับเป็นเวอร์ชัน 5) เปิดให้ผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกาเริ่มใช้งานแล้ว และจะทยอยเปิดให้ผู้ใช้ทั่วโลกในเร็วๆ นี้ (เห็นในไทยก็มีบางคนได้กันแล้ว) ระหว่างนี้ เรามาดูกันว่าหน้าตาของ Facebook FB5 เป็นอย่างไรกันบ้าง
สภาพการณ์ในตลาดสมาร์ทโฟนปัจจุบันค่อนข้างอิ่มตัว เทคโนโลยีบนสมาร์ทโฟนก็ไม่ได้ใหม่หรือสร้างความฮือฮาจนสร้างแรงกระเพื่อมในตลาดมาหลายปีแล้ว จำนวนยอดขายรวมทั่วโลกก็ค่อยๆ ลดลง ทำให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนตอนนี้อยู่ในสภาพหลังพิงฝาก็ไม่ปาน มีอะไรใหม่ต้องขนออกมาให้ได้มากและเร็วที่สุด ด้วยหวังว่าจะสร้างโมเมนตัมและพื้นที่ด้านการตลาดให้ตัวเอง
Mobile World Congress งานใหญ่ประจำปีสำหรับสมาร์ทโฟนกำลังจะเริ่มในช่วงสิ้นเดือนนี้ จึงเป็นอีกหนึ่งโอกาสที่แต่ละแบรนด์ที่จะขนของใหม่ที่เท่าที่มาโชว์หรือเปิดตัวในงานนี้กัน ซึ่งก็น่าจะพอเป็นตัวชี้วัดภาพรวมของหน้าตาเทคโนโลยีสมาร์ทโฟนในปีนี้ ซึ่งหลายๆ อย่างเราน่าจะพอได้เห็นกันไปแล้วในปีที่แล้ว แต่ปีนี้จะถูกนำออกสู่ตลาดมากขึ้นและกว้างขวางขึ้น
ในแต่ละปี โลกไอทีเกิดการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก ปี 2019 นี้ก็น่าจะเช่นกัน โดยเฉพาเทคโนโลยีใหม่ที่เริ่มออกมาให้เห็นตั้งแต่ปีที่แล้วอย่าง 5G หรือรถยนต์ไร้คนขับ หลายคนอาจสงสัยว่ามันจะมาในปีนี้แล้วจริงๆ ใช่ไหม ไปจนถึงสภาพการณ์อื่นๆ บนโลกไอทีอาทิ สมาร์ทโฟนระยะหลังๆ ซบเซาลง ปีนี้จะกลับมาได้ไหม, Facebook ที่ปีก่อนเผชิญมรสุมทั้งปี ปีนี้จะเป็นยังไง, สตรีมมิ่ง Disney+จะเปิดตัวในปีนี้ Netflix จะเป็นยังไง
Blognone จะวิเคราะห์ประเด็นทั้งหมดในบทความนี้ครับ