บทความนี้เป็นตอนแรกของซีรีย์ "ระดมพลนักแปล" ความยาว 4 ตอน เป้าหมายหลักคือส่งเสริมให้ผู้ใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สในประเทศไทยเข้ามามีส่วนร่วมกับการพัฒนามากขึ้น โดยเริ่มจากงานง่ายๆ อย่างการแปลส่วนติดต่อผู้ใช้หรือเอกสารก่อน
ในตอนแรกนี้ผมจะแนะนำข้อมูลคร่าวๆ ของวงการแปลก่อน ส่วนตอนต่อๆ ไปนั้นได้ผู้เชี่ยวชาญของการแปลซอฟต์แวร์โครงการใหญ่ๆ 3 ตัว (GNOME, KDE, Ubuntu) มาเจาะลึกลงรายละเอียดของแต่ละโครงการให้
คำถามที่พบบ่อยที่สุดในหมู่ power user ในประเทศไทยคือ "ทำไมจึงต้องแปลเมนูเป็นภาษาไทย" ส่วนสาเหตุนั้นส่วนมากจะอธิบายว่าคุ้นกับเมนูภาษาอังกฤษมากกว่า หรือแปลแล้วอ่านไม่เข้าใจ
Large Hadron Collider (LHC) เป็นเครื่องเร่งความเร็วอนุภาค ของศูนย์วิจัย CERN ในสวิตเซอร์แลนด์ มีลักษณะเป็นท่อใต้ดินวนเป็นวงกลมยาว 27 กิโลเมตร เป้าหมายของ LHC คือใช้ทดลองเร่งความเร็วอนุภาคแล้วเอามาวิ่งชนกัน เพื่อตรวจสอบทฤษฎีทางฟิสิกส์อนุภาคว่าเป็นไปได้จริงหรือไม่ โดยเฉพาะ Higgs Boson ซึ่งถ้าสร้างขึ้นมาได้จริงตามทฤษฎี วงการฟิสิกส์จะก้าวหน้าขึ้นไปอีกมาก LHC ตอนนี้กำลังสร้างอยู่และมีกำหนดเปิดใช้งานเดือนพฤษภาคมนี้
OpenOffice.org 2.4 ออกแล้ว โดยตัวนี้จะเป็น OOo 2.x ตัวสุดท้าย ก่อนเวอร์ชัน 3.0 จะออกช่วงปลายปี
ฟีเจอร์ใหม่บางส่วน
เมื่อปีที่แล้ว Bruce Chizen ซีอีโอของ Adobe ได้เผยวิสัยทัศน์ว่าในอนาคต ซอฟต์แวร์ของ Adobe จะทยอยย้ายไปอยู่บนเว็บ (ข่าวเก่า) ซึ่งเราเห็นได้ชัดจาก AIR และล่าสุด Photoshop Express โปรแกรมแต่งภาพออนไลน์ที่เขียนด้วย Flash/Flex ทั้งหมด
นอกจากการแต่งภาพตามปกติแล้ว ผู้ใช้ยังจะได้พื้นที่อัพโหลดภาพฟรี 2GB และฟีเจอร์ในการแชร์อัลบั้มภาพเป็น slideshow ให้คนอื่นดู ผมลองเล่นดูคร่าวๆ แล้วสามารถดึงภาพจาก Facebook, Picasa และ Photobucket มาได้โดยตรง อินเทอร์เฟซใช้สีเข้มเหมือนกับ Lightroom และที่เดาได้ไม่ยากคือ Adobe ประกาศว่าจะออกไคลเอนท์เวอร์ชันที่เป็น AIR ซึ่งสามารถแต่งภาพแบบออฟไลน์ได้ในอนาคต
ทั้ง Fedora และ Ubuntu มีกำหนดออกทุก 6 เดือน โดยผูกกับรอบของ GNOME เหมือนกัน เมื่อ Ubuntu ออก 8.04 รุ่นเบต้าไปแล้ว (ข่าวเก่า) ก็ถึงคิวของ Fedora 9 (โค้ดเนม Sulphur) บ้าง
รายการฟีเจอร์ใหม่ใน Fedora 9
กิจการด้านโทรศัพท์มือถือของ Motorola ย่ำแย่มานาน ถึงแม้จะกระเตื้องมาช่วงหนึ่งตอนที่ออก RAZR แต่บริษัทกลับไม่สามารถสานต่อความสำเร็จที่ยั่งยืนได้ ก่อนหน้านี้ได้มีการคาดการณ์ว่า โมโตโรล่าเตรียมถอนตัวออกจากตลาดโทรศัทพ์มือถือ ซึ่งตอนนี้ประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่า Motorola จะแยกออกเป็น 2 บริษัท ซึ่งเป็นอิสระต่อกันและขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เป็นชื่อแยก
หลายคนที่ซื้อพีซีมีแบรนด์คงรำคาญกับบรรดาซอฟต์แวร์แถม ที่สุดท้ายแล้วจำกัดอายุการใช้งาน หรือไม่ก็ทำให้เครื่องบูตช้า สาเหตุนี้เป็นเพราะบริษัทซอฟต์แวร์จ่ายเงินให้บริษัทฮาร์ดแวร์ เพื่อลงซอฟต์แวร์แถมเหล่านี้มาให้ผ่านตาผู้บริโภค
โซนี่เริ่มเสนอบริการชื่อ Fresh Start ซึ่งเป็นบริการลบซอฟต์แวร์แถมเหล่านี้ออกจากโน้ตบุ๊คตระกูล VAIO ตั้งแต่ตอนซื้อเครื่อง แต่ที่เป็นข่าวใหญ่ก็เพราะตอนแรกมีข่าวออกมาว่า Fresh Start คิดค่าบริการ 50 ดอลลาร์ (ในการลบซอฟต์แวร์แถมจากโน้ตบุ๊คของโซนี่เอง) ข่าวนี้ก่อให้เกิดปฏิกริยาตอบโต้จากบล็อกเกอร์และเว็บไซต์ไอทีจำนวนมาก (Engadget พาดหัวว่า Sony Hates You)
ถ้ายังจำกันได้ เมื่อปีก่อนมีข่าวเรื่อง AACS (ระบบป้องกันการก็อปปี้ใน HD DVD และ Blu-ray) โดนแคร็กไปหลายรอบ ข่าวเก่า (รวมถึงการที่มีคนเอาคีย์ไปโพสต์ใน Digg และเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โต) อย่างไรก็ตาม ฝั่ง Blu-ray นั้นยังมีระบบป้องกันการก็อปปี้อีกชั้น ซึ่งแผ่นดิสก์ที่มีระบบ BD+ เพิ่งเริ่มวางจำหน่ายในช่วงไม่นานมานี้
ข่าวใหญ่ในสหรัฐแต่ไกลตัวคนไทยสักหน่อย อ่านข่าวเก่าประกอบด้วยจะดีมาก การประมูลคลื่นความถี่ 700MHz เริ่มขึ้นแล้ว
เรื่องมีอยู่ว่าความถี่ 700 MHz ในสหรัฐจะว่างลง เพราะเป็นคลื่นสำหรับสถานีโทรทัศน์เดิม แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นดิจิทัลหมดแล้ว ทางรัฐบาลสหรัฐจึงเปิดให้ประมูลความถี่กันรอบใหม่ โดยกติกาการประมูลจะซับซ้อนพอสมควร หลักสำคัญคือแบ่งความถี่เป็นบล็อคเล็กๆ และแยกประมูลกันไป โดยแต่ละบล็อคจะมีเงื่อนไขในการประมูลต่างกัน หมวดบล็อคใหญ่มี 5 อัน เรียกตามอักษร A-E
(หัวข้อข่าวมีแต่ตัวย่อแฮะ) ในงาน EclipseCon เมื่อวานนี้ Sam Ramji ผู้อำนวยการแล็บโอเพนซอร์สของไมโครซอฟท์ได้ประกาศความร่วมมือกับ Eclipse Foundation โดยไมโครซอฟท์จะให้ความช่วยเหลือทีม SWT (Standard Widget Toolkit - คู่แข่งของ Swing) พัฒนา SWT ที่ใช้เทคโนโลยี Windows Presentation Foundation ของไมโครซอฟท์
เมื่อโครงการนี้สำเร็จ นักพัฒนาจาวาที่ใช้ SWT จะได้มีแอพพลิเคชันที่หน้าตาเข้ากับ Windows Vista มากขึ้น ในระยะหลังเราจะเห็นท่าทีของไมโครซอฟท์ต่อโอเพนซอร์สที่เปลี่ยนไปค่อนข้างมาก จากที่เคยมองว่าเป็นศัตรู ก็หันมาเป็นพันธมิตรกันในบางจุดแล้ว
สถานีโทรทัศน์ CBC ของแคนาดาเตรียมทดลองแจกรายการ Canada’s Next Great Prime Minister ให้คนทั่วไปดาวน์โหลดทาง BitTorrent โดยไม่มี DRM ใดๆ
รายการนี้จะฉายทางโทรทัศน์ในเย็นวันอาทิตย์ ซึ่งทาง CBC จะนำไฟล์ขึ้นเผยแพร่ในวันถัดไป โปรดิวเซอร์ของ CBC ยังยืนยันว่าการดาวน์โหลดนี้ถูกกฎหมาย ฟรี ไม่มี DRM และสามารถนำไปทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ การทดลองของ CBC ครั้งนี้ถ้าได้รับเสียงตอบรับดี เราจะได้เห็นการเผยแพร่ไฟล์อย่างถูกกฎหมายผ่านเครือข่าย P2P มากขึ้น
เว็บไซต์ OpenOffice.org Ninja มีพรีวิวความสามารถใหม่บางส่วนของ OOo 3.0 ที่จะออกช่วงกลางปีนี้
หลังจากมีข่าวว่าเข้าสายการผลิตไปเมื่อต้นเดือนก่อน (ข่าวเก่า) แต่เอาเข้าจริงก็ต้องเลื่อนซ้ำอีกรอบ ตอนนี้ไมโครซอฟท์พร้อมสำหรับ Vista SP1 ตัวจริงแล้ว
ผู้ใช้ Windows Vista สามารถเลือกอัพเดตได้จากทาง Windows Update หรือดาวน์โหลดได้โดยตรงจากเว็บไซต์ของไมโครซอฟท์ ก่อนอัพเดตเป็น SP1 อาจจำเป็นต้องอัพเดตแพตช์บางตัวของ Vista ก่อน สำหรับรายละเอียดว่า Vista มาเป็น Vista SP1 มีอะไรบ้าง อ่านได้ในข่าวเก่า
Adobe ประกาศข่าวว่าไมโครซอฟท์ได้ซื้อสิทธิ์ติดตั้ง Flash Lite และ Acrobat Reader LE ไปกับ Windows Mobile แล้ว
Flash Lite เป็นเวอร์ชันลดรูปของ Flash ตัวเต็ม โดยสนับสนุน Flash 8 และ ActionScript 2 (ปัจจุบันคือ Flash 9 กับ ActionScript 3) รวมถึงวิดีโอแบบ MPEG-4 และวิดีโอสตรีมมิ่ง โดยไมโครซอฟท์จะรวม Flash Lite 3 ซึ่งเป็นเวอร์ชันล่าสุดไปกับ Windows Mobile ในแบบ OEM
MonoDevelop คือ IDE ของแพลตฟอร์ม Mono ซึ่งมีฐานมาจาก SharpDevelop (IDE ของ .NET แบบโอเพนซอร์ส เป็นทางเลือกนอกเหนือจาก Visual Studio) ได้ออกรุ่น 1.0 แล้ว
MonoDevelop เน้นนักพัฒนาสาย .NET ที่ใช้ภาษา C# เป็นหลัก และพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วย GTK หรือ ASP.NET (เพราะว่า Win.Forms กับ VB.NET ยังสนับสนุนไม่เต็มที่นัก) ฟีเจอร์ที่น่าสนใจมีดังนี้
Facebook กำลังทดสอบระบบ IM เป็นการภายใน และคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในเร็วๆ นี้
ระบบ IM นี้จะใช้โพรโทคอล Jabber/XMPP เหมือนกับ GTalk และคาดว่า Facebook จะเปิดให้เราคุยกับเพื่อนใน Facebook ผ่านทางหน้าเว็บได้โดยตรง การใช้โปรโตคอล Jabber ส่งผลให้ผู้ใช้สามารถคุยผ่าน IM client อย่าง Pidgin, Trillian หรือเว็บไซต์อย่าง Meebo ได้เช่นกัน
ก่อนหน้านี้ เว็บไซต์ social network คู่แข่งอย่าง MySpace ได้เปิดบริการ IM ล่วงหน้าไปก่อนแล้ว (ข่าวเก่า) เพียงแต่ใช้โพรโทคอลของตัวเอง ไม่ได้อิงบน Jabber
บทความนี้เป็นตอนสุดท้ายในชุด FOSDEM สำหรับสองตอนแรกเป็นเนื้อหาในห้องสัมมนา ส่วนตอนนี้เน้นรูป พาเที่ยวดูบรรยากาศอย่างเดียวว่า geek ฝรั่งมันทำอะไรกันบ้าง
สองตอนที่แล้ว
Tim Sweeney ผู้ก่อตั้งค่ายเกม Epic Games และมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเอนจิน Unreal ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ TG Daily ถึงอนาคตของ Unreal Engine ว่าช่วงอายุของตัวเอนจินจะสัมพันธ์กับฮาร์ดแวร์ของเกมคอนโซล สำหรับ Unreal Engine 3 ตัวปัจจุบันนั้นจะได้รับการปรับปรุงสำหรับ Gear of Wars 2 ปลายปีนี้ (นับเวอร์ชันเป็น 3.25/2.5) และอีกครั้งหนึ่งในช่วงปลายของคอนโซลยุคนี้ ประมาณปี 2011 หรือ 2012
ข่าวกำหนดวางตลาดของ "Windows 7" รหัสเรียกขานของวินโดวส์รุ่นถัดไปยังออกมาเรื่อยๆ เริ่มจากข่าวลือว่าออกปี 2009 (ข่าวเก่า) จากนั้นไมโครซอฟท์ออกมาแก้ข่าวว่าใช้เวลาพัฒนาอีก 3 ปี (ข่าวเก่า) แต่ปัญหาคือไม่บอกว่า 3 ปีนี้เริ่มนับเมื่อไร
ตอนนี้ไมโครซอฟท์ออกมาให้ข้อมูลเพิ่มแล้วว่านับจากวันวางจำหน่าย Vista (30 มกราคม 2007) ถ้าวัดกันเป๊ะๆ ก็คือ 30 มกราคม 2010 แต่ไมโครซอฟท์ยังบอกอีกว่า Windows 7 นั้นวางแผนจะออกในปี 2010 ชัดเจน
Windows 7 ได้ออกรุ่น Milestone 1 มาทดสอบเป็นการภายในแล้ว แต่บริษัทยังไม่ให้ข่าวของ M2 แต่อย่างใด
นิตยสาร Technology Review ของ MIT จัดอันดับ 10 เทคโนโลยีใหม่ที่น่าจับตามอง หรือที่รู้จักกันในชื่อ TR10 มีรายชื่อดังนี้ครับ
ตามกำหนดทุกหกเดือน GNOME 2.22 ออกแล้ว สำหรับฟีเจอร์ใหม่ ดูใน ข่าวเก่า หรือแบบเต็มๆ ในบันทึกประจำรุ่นของ GNOME 2.22 (ภาษาไทย) ก็ได้เช่นกัน
สำหรับผู้ใช้ทั่วไปก็เช่นเดิมครับ รอ Ubuntu 8.04 หรือ Fedora 9 ซึ่งจะออกช่วงเดือนเมษายนนี้ ผมใช้ 8.04 alpha 6 อยู่ก็โอเคพอสมควร ทำงานได้ราบรื่นดี โปรแกรม Cheese นี่สนุกใช้ได้เลย
ที่มา - Ars Technica
Yahoo! เตรียมแถลงข่าวเข้าร่วม OpenSocial ในเร็วๆ นี้
OpenSocial เป็นชุด API กลางสำหรับเว็บไซต์จำพวก social network ทั้งหลาย มีเป้าหมายเพื่อให้เว็บไซต์เหล่านี้ทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น OpenSocial ริเริ่มโดยกูเกิลเมื่อปลายปี 2007 และมีพันธมิตรเข้าร่วมมากมาย เช่น MySpace, Hi5, Friendster และ LinkedIn โดยในทางธุรกิจจะมองว่า OpenSocial เป็นการรวมตัวกันของมวยรอง เพื่อสกัดความแรงของดาวรุ่งอย่าง Facebook ก็ได้
ถ้า Yahoo! เข้าร่วม ยอดผู้ใช้จำนวนมากของ Yahoo! จะเพิ่มน้ำหนักให้กับ OpenSocial อีกมากมาย ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลอย่างเป็นทางการจาก Yahoo!
ในแง่ฟีเจอร์คงไม่มีอะไรเพิ่มมาจาก Beta ก่อนๆ นักเพราะเน้นแก้บั๊ก (อ่านข่าวเก่าของ Beta 1 และ Beta 2) การเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดได้แก่
ใครดาวน์โหลดมาใช้แล้วก็ช่วยกันค้นหา-รายงานบั๊กบนแพลตฟอร์มต่างๆ (โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับภาษาไทย) รายงานไม่เป็นมาแจ้งไว้ในคอมเมนต์แถวนี้ได้ครับ จะได้ช่วยกันทดสอบ
บทความนี้ผมตั้งใจเขียนให้เป็นภาคต่อของ Android Developer Challenge โอกาสทองของเด็กไทย ซึ่งลงใน Blognone ไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว
เป้าหมายหลักของบทความนี้ (รวมถึงบทความ Android) คือตอบคำถามที่ว่า โทรศัพท์มือถือเป็นอนาคตของการพัฒนาซอฟต์แวร์หรือเปล่า และถ้าเป็น แพลตฟอร์มที่เราควรเลือกคืออะไร บทความนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาเป็นการให้ข้อมูลของ iPhone SDK ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถหาอ่านได้จากแหล่งข้อมูลอื่นๆ บนอินเทอร์เน็ต กลุ่มผู้อ่านเป้าหมายคือนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์เฮาส์หรือนักเรียนนักศึกษาที่มีความฝันจะเปิดบริษัทซอฟต์แวร์ก็ตาม
ในงาน SXSW ที่เท็กซัส Mark Zuckerberg ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Facebook (ซึ่งอายุแค่ 23 ขวบ) ขึ้นเวทีให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับ Facebook
เขายอมรับว่าแผนโฆษณา Social Ads หรือโค้ดเนม Baecon (ข่าวเก่า) นั้นเป็นนโยบายที่ผิดพลาด เพราะว่าหลังจากนั้น Facebook โดนรุมถล่มจากผู้ใช้อย่างหนักว่าละเมิดความเป็นส่วนตัว (โดยการเอาข้อมูลบางส่วนไปใช้กับการโฆษณา) Zuckerberg บอกว่าบทเรียนที่สำคัญคือ ต้องให้ผู้ใช้มีสิทธิ์ควบคุมข้อมูลส่วนตัวของตัวเองอย่างเต็มที่