ซัมซุงประเทศอินเดียได้ทวีตข้อความผ่าน @Samsung_Mobiles ยืนยันว่า Galaxy S จะได้อัพเกรดเป็น Android 2.3 Gingerbread แน่นอน
ก่อนหน้านี้ตัวแทนของซัมซุงให้ข่าวกับเว็บ Pocket-lint ว่าจะต้องพิจารณาปัจจัยหลายอย่างถึงจะบอกได้ว่า จะอัพเกรดรุ่น Android ตามกูเกิลหรือไม่ แต่หลังจากนั้นทางซัมซุงอินเดียได้ออกมาทวีตข้อความข้างต้น
ที่มา - Engadget
เพียงวันเดียวหลังจาก LG ระบุว่าจะไม่อัพเกรด Android 2.3 Gingerbread ให้กับ Optimus One กระแสตอบรับด้านลบก็กระจายไปทั่วอินเทอร์เน็ต จนกระทั่งทาง LG ต้องรับออกจดหมายข่าวแก้ว่าเอกสารความต้องการขั้นต่ำของ Gingerbread (Gingerbread Compatibility Definition Document - CDD) ยังไม่ออกมาจากกูเกิล โดยหลังจากเอกสารฉบับนี้มีการเผยแพร่แล้ว ทาง LG จะพิจารณาการอัพเกรดต่อไป
แต่ออกอาการไม่ดีอย่างนี้ก็น่ากลัวว่าสุดท้ายแล้วจะโดนดองรึเปล่า
ที่มา - LG
ความร้าวฉานระหว่างเอชพีและออราเคิลคงไม่มีทางที่จะแก้ไขได้ในเร็ววัน และวันนี้เองเอชพีก็ส่งโฆษกออกมาให้ข่าวเกี่ยวกับการเปิดตัว SPARC Supercluster ของออราเคิลว่าเป็นการลงทุนในธุรกิจที่ขาดทุน
เอชพีระบุว่าในตลาดยูนิกซ์ เอชพีเป็นบริษัทขนาดใหญ่เพียงบริษัทเดียวที่คงการเติบโตไว้ได้ที่ 25% ต่อปีขณะที่ผู้ผลิตรายอื่นๆ กลับมียอดขายที่ถดถอย และซันที่ Larry Ellison ซื้อเป็นนั้นเป็นบริษัทที่ทำอันดับได้แย่ที่สุดในการจัดอันดับ และลูกค้าของซันเองก็กำลังมาหาเอชพีเพราะเชื่อมั่นในเทคโนโลยี, ประสิทธิภาพ, และราคาที่ดีกว่า
Mike Lazaridis ซีอีโอร่วมของ RIM ขึ้นเวทีงาน D: Dive into Mobile (งานเดียวกับที่กูเกิลโชว์ Honeycomb Tablet) เผยแผนของระบบปฏิบัติการ QNX ที่ใช้ในแท็บเล็ต BlackBerry PlayBook
Mike บอกว่า QNX หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ BlackBerry Tablet OS ถือเป็นระบบปฏิบัติการที่ "มองไปยังอนาคต" และ RIM จะใช้ยุทธศาสตร์กลับกันกับแอปเปิล โดยจะทำ QNX สำหรับแท็บเล็ตที่มีพลังประมวลผลสูงกว่า แล้วค่อยย้าย QNX ไปลงโทรศัพท์มือถือเมื่อซีพียูแบบมัลติคอร์มาถึง
เขายังบอกอีกว่าตลาดหลักของ PlayBook คือลูกค้าองค์กรและรัฐบาล แม้จะประชาสัมพันธ์ตัวผลิตภัณฑ์ไปในทางลูกค้าทั่วไปก็ตาม
Facebook Mobile หนึ่งในบริการยอดนิยมของ Facebook ด้วยจำนวนผู้ใช้ผ่านโทรศัพท์มือถือกว่า 200 ล้านคน บริษัท Facebook ซึ่งมักตกเป็นเป้าของปัญหาด้านความเป็นส่วนตัว ก็ได้ออกมาแนะนำบริการใหม่ผ่านทาง blog ของบริษัทเมื่อวานนี้
บริการใหม่ที่เปิดตัวคือ แผงควบคุมความเป็นส่วนตัวเวอร์ชั่นมือถือตัวใหม่ ซึ่งสามารถปรับแต่งรายละเอียดได้มากกว่าเวอร์ชั่นเดิม โดยแผงควบคุมใหม่นี้ จะแสดงรายละเอียดถึงรายการแอพพลิเคชั่นทั้งหมดที่เราใช้, แสดงการเข้าถึงข้อมูลล่าสุดของแอพพลิเคชั่น, และอนุญาตให้เราปรับแต่งการเข้าถึงข้อมูลของแอพพลิเคชั่นแบบละเอียด เช่น ปรับให้เข้าถึงข้อมูลของเราได้เพียงบางส่วน หรือ ไม่อนุญาตให้โพสข้อมูล
เมื่อวานกลุ่มแฮกเกอร์ที่เรียกตัวเองว่า "Anonymous" ได้เริ่มไล่โจมตีเว็บไซต์ของบริษัทต่างๆ ที่หยุดให้บริการกับ WikiLeaks (ถูกขนานนามว่า Operation Payback) โดยทางกลุ่มมีอุดมการณ์ในการต่อต้านการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต รายละเอียดอ่านต่อหลังเบรคครับ
รายชื่อเว็บไซท์ที่โดนโจมตีไปแล้วก็มี
ที่งาน Barclays Capital’s Global Technology Conference ปีนี้ Paul Otellini ขึ้นเวทีตอบคำถามถึงชิป Atom ตระกูล Medfield ที่จะมาแทน Moorestown ที่ล้มเหลวมากจนแทบไม่มีใครยอมใช้งานเลย โดยมีสองประเด็นคือ ครึ่งแรกของปีหน้าจะมีแท็บเล็ตที่ใช้ชิป x86 ออกมาถึง 35 รุ่น, ส่วนโทรศัพท์มือถือนั้นจะต้องรอไปอย่างน้อยถึงครึ่งปีหลังของปี 2012
ที่น่าสนใจคือรายชื่อผู้ผลิตแท็บเล็ต MeeGo นั้นเหลืออยู่เพียงสี่รายเท่านั้น ได้แก่ Acer, WeTab, indomixx, และ Gemtek ถ้านับผู้ผลิตกระแสหลักจริงๆ ก็จะเหลือเพียง Acer เท่านั้น โดยผู้ผลิตรายอื่นๆ มักเลือกแอนดรอยหรือวินโดวส์เป็นหลัก
คำถามที่หลายคนสงสัยคือ Chrome OS จะสั่งพิมพ์เอกสารอย่างไร คำตอบของกูเกิลคือ Cloud Print
ตอนนี้กูเกิลเพิ่มฟีเจอร์ Cloud Print เข้ามาใน Chrome รุ่นทดสอบแล้ว (ต้องเป็น 9.0.597.10 ขึ้นไป) วิธีการตั้งค่าดูได้จาก Connect your local printers with Google Cloud Print
เนื่องจากตอนนี้ยังไม่มีพรินเตอร์ตัวไหนที่รองรับ Cloud Print โดยตรง ดังนั้นเราต้องใช้วิธีแชร์ผ่านคอมพิวเตอร์อีกทอดหนึ่ง ซึ่งคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ต่อกับพรินเตอร์ก็ต้องติดตั้ง Chrome 9 เช่นกัน ตอนนี้ Cloud Print ทำงานได้เฉพาะบนวินโดวส์เท่านั้น ใครลองแล้วช่วยบอกเล่าหน่อยว่าเป็นอย่างไรบ้าง
ยิ่งแพลตฟอร์มอุปกรณ์พกพาแข่งกันมากเท่าไร เรายิ่งเห็นมหกรรมลดแลกแจกแถมเพื่อจูงใจนักพัฒนามากขึ้น ฝั่งของ RIM กับแท็บเล็ต PlayBook ก็หนีไม่พ้น โดย RIM ชักชวนให้นักพัฒนาเขียนโปรแกรมบน PlayBook (ต้องเป็น AIR โดยพัฒนาบน Simulator) และส่งเข้า AppWorld จากนั้นนักพัฒนาที่ได้รับการคัดเลือกจะได้ PlayBook รุ่น 16GB คนละเครื่อง (แจกเมื่อเครื่องจริงวางจำหน่าย)
ผมอ่านเงื่อนไขดูแล้ว ไม่ระบุว่านักพัฒนาต้องอยู่ในประเทศใดบ้าง คนที่สนใจลองดู BlackBerry PlayBook Offer
เว็บไซต์ในปัจจุบันเต็มไปด้วยเนื้อหาที่โหลดข้ามมาจากเว็บอื่น (เช่น โฆษณา, ตัวเก็บสถิติ หรือพวกปุ่ม Facebook Like) ซึ่งบางราย "ตามรอย" (tracking) ผู้ใช้ว่าเข้าเว็บไหน คลิกตรงไหน ใช้ระบบปฏิบัติการอะไรบ้าง ฯลฯ
การตามรอยลักษณะนี้ถือว่าคุกคามความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้เว็บ และคณะกรรมการการค้าของสหรัฐ (FTC) ก็เคยออกมาเรียกร้องให้บริษัทต่างๆ มีนโยบายรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้เว็บอย่างจริงจัง
เมื่อวานนี้ไมโครซอฟท์เป็นรายแรกที่ประกาศว่า IE9 จะมีฟีเจอร์ Tracking Protection ที่ช่วยไม่ให้เราถูก "ตามรอย"
เชื่อว่าหลายๆคนคงจะเคยเห็นเช็คอินของ Foursqure ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในไทยอย่างสูง ไม่ใน Twitter ก็ Facebook มาก่อน ด้วยความนิยมที่เหลือล้น Foursqure ก็แตะยอดเช็คอิน 2 ล้านครั้งต่อวันไปแล้ว โดย Dennis Crowley ซีอีโอของ Foursquare กล่าวในงาน Le Web ซึ่งกำลังดำเนินอยู่ที่ปารีสว่า Foursquare มียอดเช็คอินเพิ่มสูงขึ้นถึง 2 ล้านครั้งต่อวัน เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา
โดย Crowley ยังเปิดเผยต่อถึงสถิติต่างๆ ดังนี้
ขณะที่ SAPRC T3 นั้นถูกโฆษณาว่าเป็นซีพียูตัวแรกในโลกที่ใส่มาถึง 16 คอร์ในชิปเดียว แต่สำหรับ T4 นั้นชิปจะมีเพียง 8 คอร์เท่านั้น เพื่อใช้พื้นที่ไปเพิ่มประสิทธิภาพให้แต่ละคอร์แทนการกระจายงานออกไปมากๆ
แม้ชิปที่มีจำนวนคอร์มากๆ จะทำงานได้ดีเมื่อต้องให้บริการงานเล็กๆ จำนวนมากๆ แต่กับงานฐานข้อมูลหนักๆ เช่นออราเคิลนั้นความเร็วต่อคอร์สำคัญกว่ามาก และ SPARC อยู่ในมือออราเคิลก็เป็นเรื่องสมเหตุสมผลที่จะออกแบบชิปให้ตอบรับกับซอฟต์แวร์หลักของบริษัทมากยิ่งขึ้น
ออราเคิลระบุว่า T4 ตัวต้นแบบนั้นทำงานจริงในห้องวิจัยแล้ว และจะวางตลาดในปีหน้า ส่วนแผนต่อๆ ไปนั้นคือการขยายเมนบอร์ดให้รองรับซีพียูได้มากขึ้น จาก 4 ซ็อกเก็ตในวันนี้กลายเป็น 8 ซ็อกเก็ตในปี 2013 และ 64 ซ็อกเก็ตในปี 2014
ดูท่าศึกระหว่าง Apple กับ Google จะไม่จบลงง่ายๆ หลังจากที่แอพพลิเคชั่นของ Google อย่าง Google Voice ถูกถอดออกจาก iPhone App Store เมื่อปีก่อน ล่าสุด Google Latitude ซึ่งปรากฏตัวอย่างเงียบๆ ใน App Store ของญี่ปุ่น ก็ถูกถอดออกอย่างรวดเร็วเช่นกัน
เว็บ The Register ได้ไปพบกับ Scott McNealy ซีอีโอของซันตั้งแต่ปี 1985 มาจนถึงปี 2006 ก่อนหน้า Jonathan Schwartz จะเข้ามารับตำแหน่งและขายบริษัทให้กับออราเคิลไปในปีนี้ในบทสัมภาษณ์ McNealy ได้เล่าถึงความสำเร็จและความล้มเหลวของซัน โดยประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือซันกับโอเพนซอร์ส
คำถามที่ The Register ถามกับ McNealy คือบทเรียนที่ได้จากความผิดพลาดของซันนั้นคืออะไร และ McNealy ตอบว่า "เอาใจผู้ถือหุ้นของคุณก่อนเสมอ"
กูเกิลไม่ได้เปลี่ยนแปลง Google Groups มานานมาก คราวนี้ประกาศ Google Groups รุ่นใหม่ให้ลองใช้แล้ว
ถ้าให้ผมอธิบายง่ายๆ Google Groups รุ่นใหม่นี้เพิ่มส่วนประกอบของ Google Wave กับ Gmail เข้ามาด้วย (ลองดูวิดีโอประกอบท้ายข่าวน่าจะเข้าใจง่ายขึ้น) อีกฟีเจอร์ที่เพิ่มเข้ามาอย่างชัดเจนคือ sidebar ด้านซ้ายมือเหมือนกับ Google Reader สำหรับกลุ่มที่เราใช้งานบ่อยๆ และมีหน้าเว็บเวอร์ชันมือถือให้ใช้ด้วย
ลองกับ Blognone Group ได้ผลดังภาพ สำหรับหน้ารวมบทสนทนาจะคล้าย Google Wave
ผู้อ่าน Blognone คงเริ่มคุ้นกับบริษัท OnLive ที่ให้บริการ cloud gaming ที่การประมวลผลทั้งหมดทำที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ ก่อนหน้านี้ไม่นาน OnLive ยังออกเครื่องเล่นเกมของตัวเองในชื่อ MicroConsole ที่ใช้หลักการเดียวกัน
วันนี้ OnLive บุก iPad แล้ว โดยตอนนี้เจ้าของ iPad สามารถ "ดู" การเล่นเกมของเพื่อนๆ บน OnLive ได้ แต่ยังเล่นไม่ได้เพราะยังไม่มีเกมที่ควบคุมด้วยจอสัมผัสให้เล่น
Salesforce.com ประกาศเข้าซื้อบริษัท Heroku (อ่านว่า "เฮอ-โอ-คู") ซึ่งให้บริการกลุ่มเมฆสำหรับแอพพลิเคชันที่เขียนด้วย Ruby
Heroku บอกว่าปัจจุบันให้บริการ PaaS (platform as a service) ให้กับแอพพลิเคชันมากกว่า 100,000 ตัว
ช่วงหลังนี้ Salesforce.com กำลังขายแนวคิด "Cloud 2" ซึ่งเน้น social network และ collaboration มากขึ้น ตัวอย่างบริการแบบ Cloud 2 ได้แก่ Chatter ซึ่งเป็นโปรแกรมสื่อสารภายในองค์กรที่พัฒนาโดย Salesforce.com เอง (อ่านรายละเอียดเรื่อง Cloud 2 ได้จาก Bangkok Post)
จากข่าว Cr-48 ที่รายงานไปก่อนหน้านี้ เราได้ทราบว่า Cr-48 จะแจกฟรีให้แก่ผู้เข้าร่วม Chrome OS Pilot Program เท่านั้น โดย Google บอกว่าจะแจกเพียงจำนวนจำกัด ตอนนี้ Inventec บริษัทที่รับผลิต Cr-48 ให้กับ Google ได้ออกมาให้ข้อมูลว่าส่งมอบเน็ตบุ๊ค Chrome OS รุ่นนี้ให้ทาง Google ไปแล้วจำนวน 60,000 เครื่อง ก็คงเดากันได้ไม่ยากว่าจำนวนจำกัดที่ว่านั้นเป็นเท่าไหร่
กูเกิลออกมาประกาศข่าวดี 2 ข่าวให้กับผู้ใช้บริการ Google Wave ข่าวแรกคือ proposal ของโครงการ Apache Wave ได้รับการอนุมัติเข้า Apache Incubator แล้ว ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนจัดการโครงสร้างภายในและเตรียมส่งมอบให้กับ Apache จัดการต่อ
อีกข่าวนึงคือกูเกิลจะให้บริการ wave.google.com ต่อไปจนกว่าจะสามารถหาผู้มาดูแลข้อมูลทั้งหมดต่อได้ จากเดิมที่เคยออกมาประกาศว่าจะหยุดให้บริการภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งไม่แน่ว่าจะเป็นทาง Apache มาช่วยดูแลให้หรืออาจจะเป็นผู้ให้บริการรายอื่น คงต้องรอดูกันต่อไป
ค่าย Mozilla ออกส่วนเสริมของ Thunderbird ชื่อ Thunderbird Conversations ซึ่งจะเปลี่ยนวิธีการเรียงอีเมลของ Thunderbird ให้เป็น thread conversation แบบเดียวกับ Gmail
ส่วนเสริมนี้ทำงานได้เหมือนกับ Gmail แทบทุกประการ มีทั้ง thread conversation, inline reply และทำงานร่วมกับส่วนเสริมอื่นๆ อย่าง Contacts ได้ด้วย รายละเอียดดูในวิดีโอท้ายข่าว
ตอนนี้มันใช้ได้กับ Thunderbird 3.3 (ซึ่งยังไม่ออกตัวจริง) เป็นต้นไปครับ
ที่มา - Mozilla Labs
iOS 4.2.1 ออกมาแล้วได้ซักระยะนึงก็คงพอทราบกันว่าพอจะมีเครืองมือในการ "แหกคุก" (Jailbreak) แตก็ยังไม่ค่อยสมบูรณ์นัก กล่าวคือถ้าผู้ใช้ต้องการรีบูตเครื่องจะต้องมีวิธีการบางอย่าง (Tethered) เพื่อให้เครื่องกลับมาสู่สถานะ "แหกคุก" (Jailbreak) ดังเดิม
ซึ่งทีมพัฒนาเครื่องมือ (dev-team) ดังกล่าวก็สัญญาว่าจะออกเวอร์ชั่นที่ทำงานได้สมบูรณ์เมื่อเครื่องต้องทำการรีบูต (Untethered)โดยเร็ว
ซึ่งในตอนนี้มีคนแอบไปเห็นการเปลี่ยนแปลงในหน้าเว๊บหลักของทีมพัฒนา ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าคงเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อออกเครื่องมือดังที่กล่าวมาข้างต้น
ถ้ามีความคืบหน้าประการใดจะมาแจ้งข่าวให้ทราบครับ
มีคนถามทีมโทรศัพท์มือถือของ LG ประเทศสหรัฐอเมริกาผ่านทาง Facebook ว่าเมื่อไหร่ Optimus One ถึงจะได้รับการอัพเกรดเป็น Android 2.3
ทาง LG ได้ตอบกลับมาว่า "Optimus จะไม่ได้รับการอัพเกรดเป็น Gingerbread เพราะมันมีหน่วยประมวลผลที่มีความเร็วเพียง 600MHz ซึ่งความต้องการขั้นต่ำนั้นระบุว่าต้องมีความเร็ว 1GHz เป็นอย่างน้อย อีกนัยนึง มันเป็นไปไม่ได้ที่จะอัพเกรดหน่วยประมวลผล"
จากนั้น Dan Morrill ผู้ซึ่งเป็น Technical Lead ของ Android ได้โพสต์ข้อความบน Twitter ว่า "ไม่มีความต้องการขั้นต่ำเกี่ยวกับหน่วยประมวลผลบน Gingerbread ...เชื่อเถอะ ถ้ามันมีจริงผมก็ต้องรู้"
เมื่อเดือนกันยายน Amazon เปิดบริการ Kindle for the Web ซึ่งเป็นการ "พรีวิว" บทแรกของหนังสือให้อ่านบนเว็บ โดยมีเป้าหมายเพื่อขายหนังสือเป็นหลัก (ถือเป็น affiliate แบบหนึ่ง)
วันนี้ Amazon ขยายความสามารถของ Kindle for the Web ให้เป็น "ตัวอ่านอีบุ๊ก" เหมือนกับ Kindle Reading Apps บนอุปกรณ์พกพาชนิดต่างๆ ที่เปิดตัวมาก่อนแล้ว เพียงแต่คราวนี้มันอยู่บนเว็บโดยตรงเท่านั้น
หน้าเว็บแบบใหม่ของ Twitter ที่ใช้กันในปัจจุบัน (มันมีชื่อเรียกว่า New Twitter) มีฟีเจอร์สำคัญคือการพรีวิวลิงก์ เช่น ภาพใน Twitpic, พิกัดใน Foursquare (รายละเอียดดูข่าวเก่า Twitter.com โฉมใหม่ ฝัง content ได้ในตัว)
ล่าสุดทาง Twitter ประกาศว่า New Twitter รองรับการพรีวิวลิงก์อีก 5 ชนิด ได้แก่
ที่มา - Twitter Blog
หลังจากเป็นข่าวมานานนับปี ในที่สุดกูเกิลก็เผยโฉม Chrome OS แบบจริงจังเสียที
หน้าตาของมันไม่มีอะไรน่าตกใจ เพราะกูเกิลเองก็โฆษณาว่า "Nothing but the web" เปิดมาแล้วก็เจอแต่เบราว์เซอร์ Chrome ล้วนๆ
แต่ข้อมูลที่กูเกิลประกาศรอบนี้ มีหลายอย่างที่น่าสนใจครับ
การตั้งค่าเริ่มต้นจะมีเพียง 4 หน้าจอเท่านั้น คือ