ปกติแล้ว เว็บไซต์ Adobe จะมี Community เปิดให้แลกเปลี่ยนความรู้กัน แต่ส่วนมากแล้วจะเป็นภาษาอังกฤษซะส่วนมาก มีอีกมุมหนึ่งใน Adobe Community ที่หน้า http://feeds.adobe.com/ จะเป็นที่จะรวบรวม RSS Feed จากเว็บต่างๆ มารวมไว้เป็นหมวดหมู่ โดยปรกติแล้วเราจะสามารถ Submit บล็อกของเราเข้าไปได้ และต้องระบุภาษาก่อน แต่น่าน้อยใจที่ไม่มีภาษาไทยให้เราเลือก
ที่งานสัมมนาเชิงวิชาการ Jefferies Annual Technology Conference คุณ Charles Songhurst ผู้จัดการทั่วไปของฝ่าย Corporate Strategy ของไมโครซอฟท์ได้พูดคุยและตอบคำถามเกี่ยวกับวินโดวส์แก่ผู้เข้าฟัง สรุปได้ดังนี้
ความล่าช้าในการขนส่งข้อมูลขนาดใหญ่ถือว่าเป็นหนึ่งในอุปสรรคที่ทำให้ผู้ใช้ส่วนหนึ่งไม่อยากฝากระบบไอทีไว้กับ cloud computing ซึ่งสาเหตุหนึ่งของปัญหานี้เกิดจากกระบวนการที่ฟุ่มเฟือยของโปรโตคอล TCP และเพื่อจัดการกับปัญหานี้ บริษัท Aspera จึงได้พัฒนาโปรโตคอลชื่อ Fast and Secure Protocol หรือมีชื่อย่อว่า FASP เพื่อตัดขั้นตอนบางขั้นตอนของ TCP ออกไป ทั้งนี้ ข้อมูลจากแหล่งข่าวได้ยกตัวอย่างการขนส่งข้อมูลข้ามสหรัฐอเมริกาผ่านแบนด์วิธขนาด 100 Mbps ว่า ถ้าหากใช้โปรโตคอล TCP แล้ว ความเร็วที่ได้จริงอ
หลังจากเมื่อปีที่แล้วกูเกิลได้เปิดบริการ Ajax Libraries API ที่รับฝากไลบรารีจาวาสคริปต์ไว้ให้ ทำให้ผู้ใช้งานเว็บสามารถโหลดไลบรารีเหล่านั้นได้เร็วขึ้นและช่วยประหยัดแบนด์วิธของเว็บ ในวันนี้คุณ Scott Guthrie ซึ่งเป็นรองประธานฝ่ายนักพัฒนาของไมโครซอฟท์ ก็ได้ออกมาประกาศเปิดตัวบริการฟรีในลักษณะเดียวกันภายใต้ชื่อ Microsoft Ajax CDN
ท่านที่เคยใช้แมคในสมัยสักเกือบสิบปีที่แล้ว ช่วง MacOS 8 ถึง MacOS 9 บางท่านอาจจะเคยผ่านตา BeOS มาบ้าง ในสมัยนั้น BeOS เป็น OS ที่กล่าวถึงกันมากในยุคนั้นทีเดียวด้วยแนวคิดและการออกแบบที่ดูสวยงาม ทันสมัยในยุคนั้น เน้นสีเหลืองเป็นธีมหลัก ลูกเล่นด้านมัลติมีเดียค่อนข้างมากมาย แต่ไม่ค่อยมีโปรแกรมในการใช้งานจริงๆ ส่วนมากผมจึงใช้ทดลองเป็นส่วนมาก พอถึงช่วงหนึ่ง BeOS ก็ได้หายไปจากแวดวงคอมพิวเตอร์ หลังจาก Palm Inc. ซื้อไป จากนั้นได้เปลี่ยนไปสู่ ZetaOS เป็น Commercial Software และ OpenBeOS เป็น Open Source ซึ่ง OpenBeOS พัฒนาค่อนข้างช้ามาก
คนแถวนี้น่าจะรู้จักบริการตรวจว่าเป็นคนหรือเป็นคอม หรือที่เราเรียกกันเป็นภาษาเทคนิคว่า CAPTCHA เมื่อปี 2007 เราเคยลงเรื่อง reCAPTCHA ซึ่งนำบริการ CAPTCHA มาผนวกกับ OCR
ล่าสุดกูเกิลซื้อกิจการ reCAPTCHA ไปเรียบร้อยโดยไม่เปิดเผยวงเงิน คาดว่าเทคโนโลยีของ CAPTCHA ด้านการทำ OCR โดยใช้พลังมวลชน จะช่วยงานของกูเกิลในบริการ Google Books และ Google News Archive Search ได้มาก ถ้าคิดไม่ออกลองนึกดูว่าถ้าคนที่ค้นหาข้อมูลบนกูเกิลจะต้องป้อน reCAPTCHA ทุกคน หนังสือที่สแกนเข้ามาเก็บใน Google Books คงถูกแปลงเป็นตัวหนังสือในเวลาไม่นาน
ปิดท้ายข่าวนี้ด้วยภาพความร่วมมือระหว่างกูเกิลกับ reCAPTCHA
ที่มา - Official Google Blog
หลายคนในที่นี้คงรู้จัก Splashtop ซึ่งเป็นลินุกซ์รุ่นเล็กที่ติดตั้งอยู่ในเมนบอร์ด จุดเด่นของมันคือบูตเร็วมาก เหมาะสำหรับเจ้าของโน้ตบุ๊กที่ต้องการทำอะไรสั้นๆ ด่วนๆ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาบูตระบบปฏิบัติการหลักขึ้นมาทั้งตัว ก่อนหน้านี้ ASUS เคยเอา Splashtop ลงในเมนบอร์ดที่วางขายมาแล้ว (ใช้ชื่อว่า Express Gate)
Linus Upson หัวหน้าทีมวิศวกรของ Chrome ให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ว่าตอนนี้ Chrome มีส่วนแบ่งตลาดเว็บเบราว์เซอร์ประมาณ 3% ซึ่งกูเกิลตั้งเป้าว่าอีก 1 ปีถัดจากนี้ ตัวเลขน่าจะขึ้นมาที่ 5%
และถ้าภายใน 2 ปีนับจากนี้ Chrome ยังไม่สามารถกินส่วนแบ่งตลาด 10% ได้ กูเกิลจะ "ผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง"
นอกจากเรื่องส่วนแบ่งตลาด Linus ยังให้สัมภาษณ์ว่า Chrome รุ่นสำหรับแมคจะออกภายในปีนี้แน่นอน
ที่มา - TechCrunch
ตอน Bing เปิดตัวใหม่ๆ คนเข้าเพิ่มขึ้นเยอะมากเพราะอยากลองของใหม่ แต่หลังจากเวลาผ่านไป 1 เดือนแรรก ส่วนแบ่งตลาดค้นหาของไมโครซอฟท์ (เฉพาะในสหรัฐ) เพิ่มจาก 6.2% มาเป็น 6.5% เท่านั้น (ข่าวเก่า)
แต่พอเวลาผ่านมาอีกสักพัก ความพยายามของไมโครซอฟท์เริ่มเห็นผล เพราะเดือนสิงหาคม 2009 ไมโครซอฟท์มีส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐ 10.7% แล้ว ถ้านับอัตราเติบโตเทียบกับเดือนก่อนหน้า Bing โตถึง 22.1%
ส่วนแบ่งตลาดที่ Bing ได้มา ส่วนใหญ่มาจากยาฮู ซึ่งในระยะเวลาเท่ากันคนเข้าน้อยลง 4.2% ตอนนี้มีส่วนแบ่งตลาดที่ 16%
ส่วนแชมป์อย่างกูเกิลยังมีส่วนแบ่งที่ 64.6% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ถ้ามองจำนวนผู้ค้นหาข้อมูลทั้งหมดของสหรัฐ โตขึ้น 2.9%
มาอัพเดต 2 gadget ใหม่ของไอโฟนกัน
มีคนไปแกะซอร์สไฟล์ของโปรแกรม Zune โดยใช้ PE Explorer และพบภาพ Zune HD หลากสีจำนวนสี่ภาพ ประกอบด้วยสีชมพู สีแดงอมม่วง สีม่วง และลายอะตอมมิก (ดูจากรูปข้างล่าง) และ Engadget ได้ยืนยันแล้วว่ามีอยู่จริง
ถ้าเป็น Easter eggs ในโปรแกรมก็แล้วไป แต่ถ้าเป็นของจริงนี่ "ไมโครซอฟท์จะทำตลาด Zune HD นอกจากเครื่องสีดำหรือ"!?
หลังจาก Hasbro ได้ประกาศที่จะเปิดตัวเกมออนไลน์ Monopoly City Streets ไปเมื่อวันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมา (ข่าวเก่า) และข่าวนี้แพร่กระจายบนอินเทอร์เน็ตทำให้มีคนสนใจทดลองเล่นเกมดังกล่าวเป็นจำนวนมาก โดยเมื่อเปิดระบบเกมไปได้ไม่นานเซิร์ฟเวอร์ก็ไม่สามารถให้บริการผู้เล่นได้ รวมทั้งมีจุดอ่อนและบั๊กที่ทำให้เกมโดนโกงได้ เช่น ผู้เล่นที่เพิ่งเล่นมีเงินหลักล้านล้าน ทั้งๆ ที่เริ่มต้น จะได้รับเพียง 3 ล้าน จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมายถึงความพร้อมของผู้พัฒนาที่เปิดบริการโดยไม่มีการทดลองก่อน (เบต้า) แถมยังมีการประชาสัมพันธ์ให้คนจำนวนมากสนใจแต่ไม่วางแผนรองรับ
วันนี้ไมโครซอฟท์ชวนผม @lewcpe @fordantitrust @9aum @kengdotcom และบล็อกเกอร์อีก 2-3 คนไปนั่งคุยเรื่อง Windows 7 แน่นอนว่าบุกไปถึงรังไมโครซอฟท์ทั้งทีจะคุยแค่ Windows 7 ก็เสียเที่ยว ผมได้ถามคำถามบางข้อที่หลายๆ คนในนี้อยากรู้ และได้คำตอบที่น่าสนใจมาเล่าให้ฟังครับ
ดูเหมือนสงครามของเว็บภาษาจะค่อนข้างเงียบในช่วงนี้ แต่สำหรับคนไทยน่าจะดีใจสักเล็กน้อยว่าภาษาไทยก็มีการให้ความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะจากไมโครซอฟท์
Bing Translator ได้เพิ่มการสนับสนุนการแปล "ภาษาไทย" เมื่อไม่นานมานี้ ส่งผลให้ Bing รองรับถึง 20 ภาษาแล้ว ในขณะที่กูเกิลมีถึง 51 ภาษา (รวมถึงภาษาไทยที่มีได้สักพัก) ในขณะที่ยาฮูนั้นรองรับเพียง 13 ภาษาไม่เปลี่ยนแปลง
แต่ Ars Technica ได้เน้นว่า ไม่ใช่แค่ดูว่าแต่ละผู้ให้บริการจะรองรับกี่ภาษา แต่จะต้องดูถึง "คุณภาพ" ด้วย
ที่มา: Ars Technica
แม้ว่าในระยะหลังไมโครซอฟท์ได้พัฒนา Silverlight จนมีความสามารถทัดเทียมกับ Flash แล้ว แต่ในแง่ฐานผู้ใช้ Flash ยังนำห่างอยู่หลายช่วงตัว อย่างไรก็ตามสถานการณ์ในเกมนี้กลับกลายเป็นว่าทั้งสองฝ่ายก็กลัวซึ่งกันและกัน
Bob Muglia ประธานฝ่ายเซิร์ฟเวอร์ของไมโครซอฟท์เปรียบเทียบ Adobe และ Flash ในตลาด Rich Internet Application ว่าเป็น "กอริลลายักษ์หนัก 800 ปอนด์" และมองการแข่งขันกับ Adobe ในตลาดนี้ว่าเป็น "สิ่งที่น่าหวั่นเกรงที่สุดที่ผมเจอมาในระยะหลังๆ"
หลังจากออกรุ่นเบต้ามาหลายตัว ตอนนี้ Chrome 3.0 มีสถานะเป็นรุ่นเสถียร (stable) แล้ว
ของใหม่ในรุ่น 3.0 ได้แก่
เลขเวอร์ชันของรุ่นเสถียรคือ 3.0.195.21 ผู้ที่ใช้ Chrome อยู่จะได้รับแจ้งให้อัพเดตโดยอัตโนมัติ
Zune HD เครื่องเล่นเพลงพกพาจากไมโครซอฟท์ที่เปิดตัวในวันนี้ ถึงแม้ว่าจะติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมได้จาก Zune Marketplace และมีเกมชื่อดังอย่าง Forza 3 ให้ดาวน์โหลดไปเล่น แต่ไมโครซอฟท์ออกมาเปิดเผยข้อมูลแล้วว่าจะไม่เปิด Marketplace ส่วนของโปรแกรมและเกมให้นักพัฒนาภายนอกได้ส่งเข้ามา
เงื่อนไขที่สำคัญอันหนึ่งของแอปเปิลต่อนักพัฒนาโปรแกรมบน iPhone ก็คือห้ามรันโค้ดของโปรแกรมอื่นๆ ต่ออีกชั้น เงื่อนไขนี้ส่งผลให้โปรแกรมที่เขียนด้วย Java หรือ .NET ไม่สามารถทำงานบน iPhone ได้ และเครื่องมือที่ใช้พัฒนาโปรแกรมบน iPhone "อย่างถูกต้อง" มีแค่ภาษา Objective-C และ Cocoa Touch ของแอปเปิลเท่านั้น
ตอนนี้มีคนหาช่องว่างจากเงื่อนไขนี้ และเสนอทางเลือกอื่นในการพัฒนาโปรแกรมบน iPhone ได้แล้ว ไม่ใช่บริษัทหน้าใหม่ที่ไหน แต่เป็น Novell และทีมงานผู้สร้าง Mono นั่นเอง
แนวทางการพัฒนาแบบโอเพนซอร์สของ Android ทำให้การออกเวอร์ชั่นใหม่ๆ กลายเป็นเรื่องปรกติไปแล้ว หลังจากที่เราเห็น Cupcake ไปเมื่อไม่กี่เดือนมานี้ ตอนนี้ Donut หรือ Android 1.6 ก็ออกมาใน SDK แล้ว
สำหรับเวอร์ชั่นใหม่นี้เป็นการปรับปรุงตามแผนปรกติ มีฟีเจอร์หลักๆ ที่เพิ่มขึ้นคือ
ดูเหมือนว่าเจ้าพ่อแห่งวงการโน้ตบุ๊คอย่างเอชพีจะเริ่มตันมุขในการออกแบบโน้ตบุ๊คซะแล้ว เมื่อโน้ตบุ๊ครุ่นล่าสุดที่ประกาศเปิดตัวใหม่ภายใต้ชื่อรุ่นว่า "Envy" ดันไปละม้ายคล้ายคลึงกับ MacBook Pro ตั้งแต่ตัวเครื่อง ไปจนถึงคีย์บอร์ดเลยทีเดียว
ซึ่งเอชพีนั้นแบ่ง Envy ออกเป็นสองรุ่นคือ Envy 13 และ Envy 15 โดยให้ Envy 13 จับตลาดโน้ตบุ๊คพกพา มีสเปคดังนี้
หลายๆ คนก็คงทราบดีแล้วว่าในที่สุดประเทศไทยก็ใกล้ที่จะมีการแข่งขันการให้บริการ 3G จริงๆ แล้ว วันนี้ DTAC ได้ออก Aircard สำหรับเชื่อมต่อเครือข่ายด้านข้อมูลที่สนับสนุน 3G แล้วครับ โดย Aircard รุ่น E1553 นี้มีคุณสมบัติคือ
สำนักข่าว Taiwan Economic News ของไต้หวันรายงานข่าวว่าแอปเปิลได้ติดต่อผู้ผลิตฮาร์ดแวร์จากไต้หวันบางรายให้ส่งชิ้นส่วนของ Internet Tablet ที่จะเปิดตัวในเดือนกุมภาพันธ์ 2010
Tablet ตัวนี้จะมีหน้าจอ 9.6 นิ้วแบบสัมผัส ต่อ 3G ได้ในตัว มีแบตเตอรีที่ใช้งานได้นาน และใช้ซีพียูตระกูล ARMS จากบริษัท P.A. Semi ที่แอปเปิลซื้อกิจการไปเมื่อเดือนเมษายน 2008
เวลาไปแผงหนังสือ (โดยเฉพาะแผงใหญ่ๆ) สิ่งที่หลายคนคงเคยทำคือกวาดสายตาดูหัวข่าวหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารที่วางเรียงอยู่บนแผง เพื่อดูว่าวันนี้มีข่าวอะไรสำคัญบ้าง (และจากไปโดยไม่ต้องเสียเงิน :P)
พอเข้ามาสู่ยุคออนไลน์ บางคนอ่านข่าวผ่าน RSS feed หรือ Twitter นอกจากนี้บางเว็บยังมีบริการรวมหัวข่าวจากสำนักข่าวทั่วโลก เช่น Google News หรือ TechMeme แต่โดยสรุปแล้ว สิ่งที่เราอ่านคือ "ข้อความ" ที่เป็นหัวข่าว ไม่ใช่ภาพ
มาตราฐานการแสดงผลสามมิติกำลังเป็นสงครามครั้งใหม่ของเว็บอีกครั้ง เมื่อ WebKit เริ่มมีการรับเอามาตรฐาน WebGL เข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ
นับแต่มาตรฐาน VRML (ที่เหมือนจะตายไปนานแล้ว) มาตรฐานเว็บสามมิติเพิ่งมาได้รับความสนใจในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มาตรฐานในตอนนี้ที่มีการประกาศออกมาได้แก่ O3D ของกูเกิลที่มีการโปรโมทเมื่องาน Google I/O ที่ผ่านมา, ส่วนแอปเปิลเองนั้นก็มี 3D CSS อยู่ก่อน
ข้อดีของ WebGL คือการเร่งความเร็วด้วยฮาร์ดแวร์นั้นทำได้โดยง่าย เพราะ WebGL คือ OpenGL ES 2.0 ที่อยู่บน Javascript นั่นเอง
ทางกลุ่ม Khronos ที่ดูแลมาตรฐาน OpenGL พยายามดึงกลุ่มต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในมาตรฐาน WebGL นี้เพื่อให้มาตรฐานได้รับการยอมรับ
ไมโครซอฟท์ได้ปล่อยอัพเดตให้กับ Bing "decision engine" แล้ว โดยฟีเจอร์แรกที่เปิดตัวคือ Visual Search (เบต้า) ส่วนฟีเจอร์อื่นนั้นจะเปิดตัวหลังจากนี้ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง
Visual Search เป็นฟีเจอร์ที่ให้ผู้ที่ค้นหาข้อมูลสามารถค้นหาโดยการ "คลิก" แทนการ "พิมพ์" ต้องการซิลเวอร์ไลท์ 3.0 และสามารถใช้ได้กับหน้า Bing ประเทศสหรัฐฯ เท่านั้น (ถ้าหากเข้าถึงไม่ได้ก็ไปเปลี่ยนเป็น "สหรัฐอเมริกา - อังกฤษ" หรือ "United States - English" ก่อน)