หลังจากที่ไมโครซอฟท์เปิดตัวรายการเกมโชว์ "1 vs.
ปัญหาที่หลายๆ คนเคยเจอกันคือรู้สึกว่าเคเบิลทีวีบ้านเรานั้นมีตัวเลือกให้น้อยเหลือเกิน พอดีทาง DTV ผู้ให้บริการ เองก็ส่งข่าวมาว่าบริษัทกำลังมีโปรโมชั่นใหม่ให้สามารถเปลี่ยนเสาอากาศธรรมดาเป็นจานดาวเทียมได้ในราคาพิเศษ 2,950 บาท
DTV ทำการตลาดโดยเน้นการขายจานแบบขายขาด ไม่ต้องกังวลเรื่องเก็บจานคืนหรือเสียค่าประกันแบบรายอื่นๆ (แต่มีรับประกัน 1 ปีตามปรกติ) และราคาค่อนข้างถูกกว่าคือ 2,950 บาทพร้อมค่าติดตั้ง โดยตัวจานจะเป็นจานในระบบ KU Band ขนาดเล็กที่นิยมกันทุกวันนี้ คือขนาด 75 เซนติเมตร
ส่วนช่องกว่า 45 ช่องที่โฆษณานั้นเด่นๆ ก็มี
จากข่าวเก่า สงครามบทใหม่ใกล้เริ่ม Google vs News Corporation ทาง News Corporation เครือสื่อมวลชนขนาดยักษ์ของโลก เล็งจะปิดกั้นไม่ให้กูเกิลเข้าถึงเนื้อหาของบริษัท เพื่อเตรียมสร้างโมเดลธุรกิจในการขายเนื้อหาออนไลน์
สงครามเริ่มเข้มข้นเข้าไปอีก เมื่อมีรายงานจากวงในบอกว่าไมโครซอฟท์กำลังคุยกับ News Corporation เพื่อสนับสนุนให้ News Corp ถอดเนื้อหาจากกูเกิล แล้วมาใช้ Bing แทน โดยไมโครซอฟท์ยินดีจ่ายเงินให้ตอบแทน
นับถึงตอนนี้ กูเกิลมีระบบปฏิบัติการของตัวเองแล้ว 2 ตัวคือ Android และ Chrome OS ซึ่งแนวทางนี้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงการทับซ้อนตลาดกันเอง แม้แต่สตีฟ บัลเมอร์เองยังเตือนกูเกิลว่า การมีระบบปฏิบัติการสองสายไม่ใช่เรื่องง่ายนัก (ข่าวเก่า)
คำตอบมาตรฐานของผู้บริหารกูเกิลก็คือ ระบบปฏิบัติการแต่ละตัวจับตลาดที่แตกต่างกัน (ซึ่งไม่ค่อยน่าเชื่อถือเท่าไรนัก) แต่ล่าสุดมีคำตอบแบบอื่นออกมาจากปาก Sergey Brin ผู้ก่อตั้งบริษัท
กองทัพอากาศสหรัฐฯ กำลังสั่งซื้อ PlayStation 3 จำนวน 2,200 เครื่องมาต่อเสริมกับเครื่อง PlayStation 3 เดิมที่มีอยู่ 336 เครื่องเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการวิจัย โดยมุ่งเน้นการประยุกต์ใช้สถาปัตยกรรมของหน่วยประมวล Cell Broadband Engine ใน PlayStation 3 ในงานด้านการทหาร ทั้งการประมวลผลภาพถ่ายเรดาร์หลายภาพเข้าเป็นภาพถ่ายเชิงซ้อนที่มีความละเอียดสูงขึ้น (synthetic aperture radar image formation) การประมวลผลวีดีโอความละเอียดสูง และงานด้าน neuromorphic computing หรือการพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้ประมวลผลคล้ายสมองมนุษย์ โดยการสร้างอัลกอริทึมและไมโครโปรเซสเซอร์ที่จำลองคุณลักษณะของวงจรสมอง (brain circuits) ขึ้นมา
ข่าวใหญ่ในรอบสัปดาห์นี้ คงไม่มีอะไรดังไปกว่าการเปิดตัว Chrome OS แนวคิดอันล้ำลึกของกูเกิลที่ต้องการให้ทุกอย่างอยู่บน cloud เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ไปทั่วทั้งในทางเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ก่อนที่ผมจะวิจารณ์ Chrome OS ในโอกาสต่อๆ ไป ตอนนี้เรามาลองดูกันก่อนว่า Chrome OS ตัวจริงๆ จับต้องได้มันเป็นยังไงบ้าง
มีเรื่องราวแปลกๆ เกิดขึ้น เมื่อมีลูกค้าแอปเปิล 2 รายที่ซื้อเครื่องแมคพร้อมกับประกัน AppleCare แต่ถูกปฏิเสธการรับประกัน เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกปนเปื้อนด้วย "ควันบุหรี่"
ลูกค้าทั้งสองรายต่างอยู่กันคนละพื้นที่ และไม่ได้ใช้บริการจากศูนย์แอปเปิลที่เดียวกัน แต่ได้รับการปฏิเสธจากทางแอปเปิลที่จะบริการซ่อมเครื่องให้ในกรณีใดๆ แม้ว่าจะจ่ายเงินก็ตาม โดยทางแอปเปิลได้อ้างว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ส่งซ่อมมีการปนเปื้อนของน้ำมันทาร์ที่มาจากบุหรี่ ซึ่งอยู่ในรายชื่อสารอันตรายของ OSHA (Occupational Safety and Health Administration) ดังนั้นแอปเปิลจึงไม่สามารถให้พนักงานของตนทำงานกับสารอันตรายเหล่านี้ได้
Chris Kenyon ผู้บริหารของบริษัท Canonical ผู้พัฒนา Ubuntu ได้เปิดเผยผ่านบล็อกของบริษัทว่า Canonical ได้ทำงานกับกูเกิลในโครงการ Chrome OS ด้วย โดยรูปแบบเป็นกูเกิลจ้างพัฒนา เขาไม่ได้ระบุว่า Canonical รับผิดชอบในส่วนไหนบ้าง แต่คาดว่าเป็นระบบพื้นฐานของลินุกซ์ซึ่งเป็นความเชี่ยวชาญของ Canonical อยู่แล้ว ข้อมูลจาก ComputerWorld บอกว่า Canonical ร่วมงานกับกูเกิลมาตั้งแต่การเปิดตัว Chrome OS เมื่อเดือนกรกฎาคมปีนี้
Sundar Pichai กับ Linus Upson ซึ่งเป็นนักพัฒนาของกูเกิลเองก็ระบุว่า กูเกิลพยายามจะใช้ "ส่วนประกอบที่มีอยู่แล้ว" ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ใน Chrome OS
Computerworld ได้รายงานว่า ไมโครซอฟท์ได้ออกมาปฏิเสธการฝัง backdoors ลงวินโดวส์ 7 สืบเนื่องจากความกังวลที่เกิดขึ้นหลังจากสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ (National Security Agency หรือย่อว่า NSA) ได้บอกวุฒิสภาว่าหน่วยงานของตนได้มีส่วนร่วมการพัฒนาวินโดวส์ 7
เรื่องราวคือ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (ตามเวลาสหรัฐฯ) คุณ Richard Schaeffer จากสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติได้บอกคณะกรรมการที่ดูแลเรื่องการก่อการร้ายและความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐฯ (Terrorism and Homeland Security) ของวุฒิสภาว่าหน่วยงานของตนได้มีส่วนร่วมในการให้คำปรึกษาในระหว่างการพัฒนาวินโดวส์ 7 (ดูข่าวประกอบ)
ก่อนหน้านี้เคยมีข่าว Twitter เตรียมเปิด Location API เป็นอีกหนึ่งในฟีเจอร์ใหม่ของ Twitter (ควบคู่ไปกับ Lists และ Retweet) ตอนนี้มันถูกเปิดใช้แล้ว ในชื่ออย่างเป็นทางการว่า Geotagging API ครับ
หลังจากเงียบหายไปนาน Camino เว็บเบราว์เซอร์ของค่าย Mozilla ซึ่งใช้เอนจิน Gecko แต่เขียนส่วนที่เหลือด้วย Cocoa ก็ได้ออกรุ่น 2.0 เสียที
ของใหม่ในรุ่นนี้ได้แก่
ที่มา - Camino Release Notes
ในงาน Professional Developers Conference ได้มีสองสไลด์เป็นอย่างน้อยที่บอกโรดแมปว่าวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ตัวใหม่จะเปิดตัวราวปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555) และมีหนึ่งสไลด์ที่ยืนยันวินโดวส์โค้ดเนม "8" ที่จะเปิดตัวในช่วงดังกล่าวเช่นกัน แต่เมื่อทาง C|Net ได้ถามคุณ Steven Sinofsky ระหว่างการสัมภาษณ์เมื่อวันพุธที่ผ่านมา เขาก็ไม่ยอมตอบอะไรเกี่ยวกับวินโดวส์ 8 ทั้งสิ้น
ที่มา: C|Net
ZDNet ได้เปิดเผยข้อมูลจากแหล่งข่าวว่าไมโครซอฟท์ได้เปิดให้นักทดสอบเฉพาะกลุ่มได้ลองใช้ Office Starter 2010 เบต้าแล้ว โดยมีฟีเจอร์หนึ่งที่น่าสนใจคือ "Office to GO" ซึ่งช่วยให้สามารถดาวน์โหลดโปรแกรม Word Starter และ Excel Starter รวมถึงไฟล์เอกสารที่เกี่ยวข้องลงธัมป์ไดร์ฟ และนำไปรันบนวินโดวส์วิสต้าหรือวินโดวส์ 7 ได้เลยโดยไม่ต้องติดตั้ง Office Starter ลงคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นแต่อย่างไร
นอกจากนั้น ZDNet ยังได้เปิดเผยภาพหน้าจอ Word Starter ได้มา (ดูได้จากท้ายข่าว) จะเห็นได้ว่ามี sidebar ตายตัว ปิดไม่ได้ และป้ายโฆษณาเล็กๆ อยู่มุมล่าง รวมถึงมีลิงก์ให้ซื้อ PowerPoint หรือ Outlook เพิ่มเติม
ที่มา: ZDNet
จากความเดิมตอนที่แล้ว ของ งาน BlogFest.Asia ที่ฮ่องกง ตอนที่ 1 ก็จะมาต่อวันที่ 2 ซึ่งในวันที่ 2 งานยังคงจัดขึ้นที่เดิม คือ ที่ศูนย์ชุนชม Yau Ma Tei (Yau Ma Tai Community Center) โดยวันนี้งานจะแบ่งเป็น 2 งานย่อยภายในคือ งาน HKbloggercon และงานที่เป็นส่วน Open group discussion
มีภาพหลุดและข้อมูลของ Motorola "Motus" (น่าจะยังเป็นชื่อชั่วคราว) มือถือ Android ตัวที่สามของ Motorola ต่อจาก CLIQ และ Droid
Motus เป็นมือถือในตระกูลเดียวกับ CLIQ คือใช้อินเทอร์เฟซ Motoblur บน Android 1.5 (ต่างจาก Droid ที่ใช้ Android 2.0 แบบไม่มีอินเทอร์เฟซครอบ) ผมเข้าใจว่า Motorola คงแบ่งสายมือถือของตัวเองค่อนข้างชัดระหว่างตระกูล CLIQ และตระกูล Droid ครับ
สเปกคร่าวๆ ดังนี้
BlackBerry Pearl เป็นมือถือ BlackBerry ตระกูลที่ใช้คีย์บอร์ดแบบย่อ (1 ปุ่มมี 2 คีย์) ที่เรียกว่า SureType แม้ว่าเครื่องตระกูลนี้จะไม่เด่นเท่ารุ่นคีย์บอร์ดเต็มอย่าง Bold หรือ Curve แต่ก็มีดีที่ราคาและขนาดครับ
BlackBerry Pearl ในปัจจุบันใช้รหัส 8xxx แต่ตอนนี้เริ่มมีภาพของ Pearl รุ่นใหม่ที่ใช้รหัส 9100 ออกมาแล้ว โค้ดเนมของมันคือ Striker หรือบางแหล่งข่าวเรียก Stratus
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ เปลี่ยนจาก trackball มาเป็น trackpad แบบเดียวกับ Bold 9700 และปรับคีย์บอร์ด SureType ให้หน้าตาไปในทิศทางเดียวกับมือถือรุ่นหลังๆ ของ BlackBerry
ที่มา - CrackBerry
บริษัทซอฟต์แวร์ความปลอดภัย Symantec ออกรายงาน Security Trends to Watch in 2010 กล่าวถึงแนวโน้มของวงการความปลอดภัย 13 ข้อดังนี้
บริษัทวิจัยการตลาด Nielsen ได้เปิดผลสำรวจเว็บไซต์ที่มีผู้ชมวีดีโอมากที่สุด 10 อันดับในสหรัฐฯ ประจำเดือนตุลาคม อันดับหนึ่งนั้นเป็นยูทูปอย่างไม่ต้องสงสัย ส่วนอันดับสองก็เป็น Hulu แต่ที่น่าฉงนสักหน่อยคงเป็นอันดับสาม คือ "เฟสบุ๊ก" นั่นเอง โดยมีผู้ชมวีดีโอ (unique viewer) ถึง 31.5 ล้านคน รวมจำนวนการสตรีมวีดีโอสูงถึง 217 ล้านครั้ง ซึ่งขยับจากเดือนที่แล้วที่อยู่แค่อันดับ 10 เท่านั้น!
คุณ Ken Harrenstien วิศวกรหูหนวกของ Google ประกาศผ่าน Google Blog ว่าถึงแม้ว่า YouTube เปิดให้บริการใส่ซับไตเติลมาได้เป็นปีแล้ว แต่ก็ยังมีวิดีโอที่มีซับไตเติลเพียงหลักแสนเท่านั้น แต่เพราะความยุ่งยากในการใส่ซับไตเติลทำให้ยังมีวิดีโออีกจำนวนมากที่ยังไม่มีซับไตเติล ในปัจจุบันวิดีโอความยาว 20 ชั่วโมงถูกอัปโหลดไปที่ YouTube ทุกๆ นาที จึงแทบเป็นไปไม่ได้ที่เจ้าของวิดีโอจะทำซับไตเติลได้ทั้งหมด เพื่อแก้ปัญหานี้ ภายในสุดสัปดาห์นี้ Google จะเพิ่มความสามารถในการเพิ่มคำบรรยายอัตโนมัติในช่องภาษาอังกฤษ และใส่คำบรรยายให้ตรงกับเสียงอัตโนมัติสำหรับวิดีโอภาษาอังกฤษ
เรื่องราวก็มีอยู่ว่า บริษัท The Little App Factory ได้รับการติดต่อจากบริษัททนายของแอปเปิล เกี่ยวกับชื่อของซอฟต์แวร์ iPodRip ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับดึงเพลงจาก iPod หรือ iPhone เซฟมาไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากว่ามีการละเมิดเครื่องหมายการค้าของแอปเปิล หรือนั่นก็คือ "iPod"
แน่นอนว่าทางบริษัทผู้พัฒนาในตอนแรกก็พยายามเจรจากับบริษัททนายตัวแทนของแอปเปิล เพื่อหาข้อยุตินี้โดยไม่ต้องเปลี่ยนชื่อซึ่งสื่อถึงคุณสมบัติของซอฟต์แวร์ แต่ก็ไม่เป็นผล จึงตัดสินใจเขียนอีเมลยาวยืดหาจ็อบส์ โดยหวังว่าจะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ (ดูได้ในที่มา)
หลังจากการประชุมทีมบริหารของโซนี่ในญี่ปุ่นวันนี้ โซนี่ได้ประกาศการเปลี่ยนแปลงแผนธุรกิจออนไลน์ด้วยการเปิดตัว Sony Online Service ที่จะมีลักษณะใกล้เคียงกับ iTunes โดยจะเป็นการพัฒนาเพิ่มเติมจาก PlayStation Network (PSN) เดิม โดยนอกเหนือจากทุกวันนี้ที่ขายเพียงแค่เกม มาเป็นการขายเพลง หนัง และหนังสือด้วย
เช่นกัน อุปกรณ์โซนี่หลาย ๆ อย่างทุกวันนี้สามารถที่จะเพิ่มความสามารถให้กลายเป็นเครื่องอ่าน e-Book ได้เหมือนกัน เช่น PSP และเครื่องเล่นดนตรีพกพา Walkman รุ่นที่สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายได้ แต่จะประสบความสำเร็จหรือไม่ และจะสู้ iTunes Store ได้หรือไม่ คงต้องรอดูกันต่อไป
คิดไปคิดมาคาดว่าหลังจากการเปิดตัว Tablet ของแอปเปิลแล้ว iTunes Store จะต้องขาย e-Book ด้วยอย่างแน่นอน
โซนี่ประกาศว่าเฟิร์มแวร์รุ่น 3.10 ของ PlayStation 3 จะเพิ่มฟีเจอร์เชื่อมต่อกับเฟสบุ๊กเข้ามา โดยผู้เล่นเกมสามารถแบ่งปันสถานะรางวัล (trophy) ที่ได้รับ คอนเทนต์ที่ซื้อใหม่จาก PlayStation Store รวมถึง game events ที่เล่นด้วย นอกจากนั้นเฟิร์มแวร์ดังกล่าวยังปรับปรุงโฟโต้เบราว์เซอร์ให้แสดงผลเป็นแบบกริด รวมถึงสามารถเปลี่ยนสีภาพพื้นหลังในหน้าจอโปรไฟล์ได้
ผ่านไปอีก 1 วันก็มีข่าวลือว่าโซนี่ได้พูดคุยกับมอซิลล่าในการจะนำไฟร์ฟ็อกซ์เบราว์เซอร์มาใส่ใน PlayStation 3 แต่ก็ไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามีการตกลงกันไปหรือยัง
ขณะนี้ใกล้ได้เวลาที่จะจบงานเปิดตัว Chrome OS ของกูเกิลลงแล้ว โดยรายละเอียดส่วนใหญ่ก็มีการเปิดเผยออกมาเกือบครบทั้งหมด รายการฟีเจอร์มีดังนี้
ที่เหลือดูวีดีโอทั้งหมดหลัง break ได้เลยครับ
ที่มา - Chromium.org
ไม่ว่าจะมีคนรอคอยอยู่หรือไม่ แต่ก็ได้เปิดตัวให้ผู้ใช้ทั่วไปได้ทดลองใช้กันแล้วครับสำหรับ Office 2010 beta ทั้งสำหรับ Desktop และ Windows Mobile โดยตัวสำหรับ Desktop หาได้จากที่นี่ แต่ถ้าไม่สามารถเข้าได้ให้เข้าไปที่นี่แทน (ปัญหาจากเรื่องสถานที่ หากเลือกไว้ว่าอยู่ไทยจะเข้าลิงก์แรกไม่ได้)
และส่วนของ Windows Mobile ก็สามารถเข้าไปรับมาจาก Marketplace ได้เลยครับ โดยมีขนาด 4.5MB และในคำอธิบายแจ้งว่าจะปิดการทำงานหลังจากวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๓