19 พ.ค. 2553 - อินเดียปิดฉากการประมูลใบอนุญาต 3G แล้วหลังจากผ่านมา 34 วัน 183 รอบ มูลค่ารวมกว่าห้าแสนล้านบาท!
Bharti ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ที่สุดในอินเดียต้องจ่ายเงินสูงสุดราว 9.4 หมื่นล้านบาทเพื่อให้บริการใน 13 พื้นที่ ตามมาด้วย Vodafone 8.9 หมื่นล้านบาทสำหรับใบอนุญาตใน 9 พื้นที่ และ Reliance 6.5 หมื่นล้านบาทสำหรับใบอนุญาตใน 11 พื้นที่ มูลค่ารวมของการประมูลนั้นอยู่ที่ 5.2 แสนล้านบาท (เกือบสองเท่าจากที่ทางการอินเดียเคยคาดการณ์ไว้)
เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมามีข่าวลือว่า AutoCAD โปรแกรมชูโรงของ Autodesk จะกลับมาสู่แมคอินทอชแล้ว ล่าสุด The Apple Lounge ได้ทำการโพส Screenshot ต่าง ๆ ของ AutoCAD for Mac ขึ้นบนเว็บแล้ว
โปรแกรม AutoCAD เป็นที่รู้จักดีในกลุ่มดีไซน์เนอร์ที่ต้องการทำแบบดราฟท์ดีไซน์แบบสองและสามมิติ โดย AutoCAD บนแมคนั้นได้ถูกเลิกพัฒนาไปตั้งแต่ช่วงยุค 90s
แต่จากข้อมูลของผู้ที่ได้ทำการทดสอบนั้นพบว่าตัวเบต้าของ AutoCAD for Mac ในตอนนี้นั้นยังมีปัญหามากมาย แต่ Autodesk เองก็ยังมีเวลาอีกมากที่จะขัดเกลาโปรแกรมนี้ให้สมบูรณ์แบบมากขึ้น โดยตัวเบต้านี้รันเฉพาะบน 64-bit เท่านั้น และสนับสนุนการใช้งานมัลติทัช ส่วนวันวางขายจริง ๆ นั้นยังไม่มีการเปิดเผยแต่อย่างใด
เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2009 กูเกิลประกาศเข้าซื้อบริษัทโฆษณาบนมือถือ AdMob แต่ก็โดนสกัดดาวรุ่งโดย FTC (คณะกรรมการการค้าของสหรัฐ) เข้ามาตรวจสอบว่าการซื้อ AdMob จะช่วยให้กูเกิลผูกขาดตลาดหรือไม่
เวลาผ่านไปเกือบครึ่งปี ตอนนี้ FTC ออกมาประกาศแล้วว่าไม่มีปัญหา กูเกิลสามารถเดินหน้าควบรวม AdMob ได้เลย
แม้ว่าในงาน Google I/O ปีนี้จะมีการแจกเครื่อง HTC EVO 4G แต่พระเอกในงานอย่าง Android 2.2 Froyo กลับไม่มีเครื่องใดในตลาดรองรับ และกูเกิลแจ้งว่าต้องรออีก "ประมาณสัปดาห์" จึงจะเริ่มได้รับอัพเดตกัน แต่ปรากฏว่าวันนี้ก็เริ่มมีผู้ใช้ Nexus One ได้รับอัพเดตเป็น Android 2.2 เรียบร้อยแล้ว
นี่เป็นจุดเด่นของการใช้ "โทรศัพท์กูเกิล" อย่างหนึ่งส่วนผู้ใช้โทรศัพท์รุ่นอื่นๆ นั้นก็ต้องรอผู้ผลิตและผู้ให้บริการประเทศต่างๆ กันต่อไปตามข่าวเก่า
ถ้านึกถึงผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ เราคงไม่ค่อยนึกถึง Acer กันสักเท่าไร แต่เหมือนว่าการผลิตมือถือเป็นเส้นทางที่หลีกเลี่ยงได้ยากของบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลาย Acer จึงรุกเข้ามาในตลาดมือถือแบบเงียบๆ ไม่ค่อยหวือหวานัก โดยเน้นที่มือถือ Windows Mobile เป็นหลัก
Acer Liquid เป็นความพยายามครั้งแรกของบริษัทกับระบบปฏิบัติการ Android (คาดว่าในอนาคต มือถือ Android ของ Acer จะยังใช้แบรนด์ Liquid ต่อไป) และนี่คือรีวิวของ Liquid ครับ
สเปกแบบเต็มๆ ของ Liquid สามารถอ่านได้จาก เว็บของ Acer แบบคร่าวๆ คือ
หลายคนคงรู้จักโฆษณาชุด Get a Mac ของแอปเปิล (ซึ่งสร้างชื่อจากภาพยนตร์โฆษณา I'm PC และ I'm Mac) แต่ตอนนี้มันถึงเวลาเปลี่ยนแปลงแล้ว
แคมเปญโฆษณาชุดใหม่ของแอปเปิลจะเปลี่ยนมาใช้สโลแกน "Why You'll Love a Mac" แทน ตอนนี้ยังไม่มีภาพยนตร์โฆษณาที่ฉายทางโทรทัศน์ แต่หน้าเว็บของแคมเปญนี้แสดงให้เราเห็นว่า แอปเปิลหันมาเน้นจุดเด่นของแมคเป็นหลัก แทนการเปรียบเทียบกับวินโดวส์แบบตรงๆ อย่างที่เคยทำมา
ที่มา - MacRumors
ผู้สื่อข่าวสายไอทีในสหรัฐได้รับจดหมายเชิญให้ไปร่วมงานแถลงข่าวของยาฮูในสัปดาห์หน้า ซึ่งแหล่งข่าววงในระบุว่ายาฮูจะประกาศความร่วมมือกับโนเกีย เพื่อผลักดันบริการต่างๆ ของยาฮูบนมือถือของโนเกีย
ความร่วมมือนี้มีรหัสเรียกขานว่า “Project Nike” ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนนัก แต่กระแสข่าวบางแห่งบอกว่าอาจถึงขั้น "มือถือยาฮูที่ผลิตโดยโนเกีย" เลยก็ได้
ตอนนี้ยักษ์ใหญ่ในตลาดต่างมีแพลตฟอร์มมือถือของตัวเอง ที่ผูกกับบริการบนอินเทอร์เน็ตของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นกูเกิล แอปเปิล ไมโครซอฟท์ หรือแม้กระทั่ง RIM (ที่ผูกกับ BES/BIS) การจับมือของผู้ตามในตลาดเว็บอย่างยาฮู และผู้ตามในตลาดสมาร์ทโฟนอย่างโนเกีย อาจเป็นยุทธศาสตร์ที่น่าจับตา? (ผมเริ่มคิดถึงความเป็นไปได้ของมือถือ Facebook)
ช่วงหลังๆ กูเกิลเริ่มให้ความสำคัญกับการเข้ารหัสข้อมูลมากขึ้นเรื่อยๆ นับแต่การปรับค่าพื้นฐานของ GMail ให้เป็น SSL มาถึงวันนี้ก็ได้เวลาของ Google Search
อย่างไรก็ตาม เราควรตระหนักว่าข้อมูลที่ส่งผ่าน SSL นั้นไม่ได้ทำให้ข้อมูลที่เราส่งไปยังกูเกิลน้อยลงแต่อย่างใด กูเกิลยังคงเก็บพฤติกรรมการใช้งานของเราเช่นเดิม แต่ผู้ให้บริการและผู้ไม่หวังดี (รวมถึงรัฐบาล) จะเข้ามาดูพฤติกรรมการใช้งานของเราได้ลำบากขึ้น
เริ่มใช้งานได้ทันที โดยพิมพ์ https ขึ้นต้น URL หรือเข้าที่นี่
ที่หลายคนอาจจะไม่รู้อีกคือทั้ง Facebook และ Twitter ก็รองรับ HTTPS แล้วเช่นกัน
คำถามยอดนิยมตลอดกาล: วินโดวส์กับแมคใครดีกว่ากัน? คนที่ตอบเรื่องนี้ได้อาจเป็น Gabe Newell ผู้ก่อตั้งบริษัทเกม Valve ที่เพิ่งเปิดตัว Steam for Mac ไปไม่นานมานี้
ในเรื่องประสิทธิภาพของเกม แมคยังตามวินโดวส์อยู่มาก (จากการทดสอบของ Phoronix แมคช้ากว่า Ubuntu ด้วยซ้ำ) แต่ Valve บอกว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะบริษัทเองก็ยังไม่เชี่ยวชาญการเขียนโปรแกรมบนแมคด้วย และสถานการณ์จะปรับปรุงขึ้นอย่างแน่นอน อีกปัจจัยที่มีผลคือผู้ใช้วินโดวส์จะได้อัพไดรเวอร์การ์ดจอบ่อยกว่า ในขณะที่ผู้ใช้แมคต้องรอรุ่นย่อยของ Mac OS X
หลายคนในที่นี้ที่เล่นเอ็มเอสเอ็นคงเคยเห็นโลโก้ "I'm" ที่ชื่อเอ็มเอสเอ็นของใครหลายคนมาบ้างแล้ว ซึ่ง "I'm" นั้นเป็นชื่อโครงการการกุศลที่ไมโครซอฟท์ริเริ่มขึ้นเมื่อสามปีก่อน โดยให้ผู้คนที่เล่นเอ็มเอสเอ็นหรือใช้ฮอตเมลแปะโค้ดโลโก้ "I'm" ที่ระบุองค์การปลายทางที่ต้องการให้ไมโครซอฟท์บริจาคเงินให้ไปด้วย
แต่ล่าสุดไมโครซอฟท์ได้ประกาศว่าได้ปิดตัวโครงการดังกล่าวแล้ว ได้ยอดเงินบริจาคสูงถึง 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 95 ล้านบาท) ซึ่งได้ทยอยมอบให้ 10 องค์การ อาทิ ยูนิเซฟ กาชาดของสหรัฐฯ เป็นต้น ไปแล้ว และไมโครซอฟท์ยังเผยว่าจะมีโครงการการกุศลใหม่ในเร็วๆ นี้อีกด้วย
จากข่าวเก่า เอชพีเผยจะ ใส่ webOS ลงแท็บเล็ตและพริ้นท์เตอร์ที่สามารถต่ออินเทอร์เน็ตได้ เมื่อวานนี้รองประธานที่เอชพีประเทศไต้หวันได้ยืนยันว่าจะปล่อยแท็บเล็ตใหม่ (ที่ข่าวว่าถูกยกเลิกโครงการไปแล้ว) ภายในเดือนตุลาคมปีนี้ และลูกค้าน่าจะได้เห็นซอฟต์แวร์จำนวนมากที่ใช้ร่วมกับแท็บเล็ตได้เมื่อวันเปิดตัวมาถึง
ไม่รู้ว่าแท็บเล็ตที่เอชพีจะเปิดตัวนี้มีชื่อว่า Hurricane ตามข่าวลือก่อนหน้านี้หรือไม่ ยังไงก็คงต้องติดตามกันต่อไป
ข่าวเงียบๆ อีกอันหนึ่งแต่สำคัญไม่ใช่เล่น ที่งาน Google I/O ทาง Facebook ได้ไปออกบูตด้วยเช่นกัน และสิ่งที่เอามาโชว์คือ Facebook SDK for Android
ความสามารถพื้นฐานของมันคือเป็น SDK ให้โปรแกรมอื่นๆ บน Android เรียกใช้ฟีเจอร์ของ Facebook (เช่นเดียวกับ Facebook SDK for iPhone ที่ออกมานานแล้ว) เพียงแต่จุดน่าสนใจคือ SDK ภาค Android รวมฟีเจอร์ Open Graph Protocol ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ของ Facebook มาให้ในตัว (อ่านข่าวเก่า แปลงเว็บเพจเป็น Facebook Pages ด้วย Open Graph Protocol) นอกจากนี้ยังมีของใหม่อื่นๆ เช่น OAuth 2.0 และ Graph API
ตอนนี้มีรายชื่อของมือถือบางรุ่นที่ผู้ผลิตประกาศว่าจะได้อัพเป็น Android 2.2 อย่างเป็นทางการแล้ว ได้แก่
ในเบื้องต้นยังไม่มีชื่อของ HTC Legend ที่เพิ่งวางขาย (ออกปี 2010 เหมือนกันนะ!) ส่วนมือถือที่เก่ากว่านั้นอย่าง G1, Magic, Hero คงต้องพึ่งบรรดา ROM cooker ทั้งหลายแทน
ที่มา - ComputerWorld
หลังจาก กูเกิลเปิดตัวโครงการ WebM หนึ่งในคำถามที่คนทั้งโลกสนใจมากที่สุด (ถัดจาก "Flash 10.1 Android ลื่นแค่ไหน") คงเป็นคำถามว่า สตีฟ จ็อบส์ คิดยังไงกับ WebM
โชคดีที่เดี๋ยวนี้จ็อบส์ตอบอีเมลบ่อย เลยมีผู้อ่านคนหนึ่งของเว็บไซต์ The Register ส่งเมลไปถามว่าเขาคิดยังไงกับการประกาศเปิด VP8 คำตอบของจ็อบส์สั้นๆ ตามปกติ แต่คราวนี้เขาไม่ตอบด้วยคำพูด และให้ลิงก์มาแทน
หลังจากที่ผู้บริหารของ ARM เริ่มพูดถึงเซิร์ฟเวอร์เพียงสองสัปดาห์ ก็เริ่มมีข่าวว่าสองผู้ผลิตคือเดลล์และไอบีเอ็ม กำลังทดสอบและดูความเป็นไปได้ที่จะทำตลาดเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ชิป ARM
สำหรับเดลล์, นี่ไม่ใช่เรื่องแปลกใจอะไรโดยก่อนหน้านี้เดลล์เคยทำตลาดเครื่อง Dell DCS ที่ผลิตให้กับศูนย์ข้อมูลแห่งหนึ่งเป็นพิเศษ โดยศูนย์ข้อมูลนั้นใช้ซีพียู VIA Nano ถึงห้าพันชุด และในข่าวนี้เองทางเดลล์ก็ออกมาให้ข่าวว่าบริษัทได้ทดสอบการทำงานของชุดซอฟต์แวร์ LAMP บนชิป ARM Cortex A8 แล้ว และเตรียมจะทดสอบกับ Cortex A9 ที่ Marvell กำลังจะวางตลาด
หลังจาก กูเกิลเปิดตัว Chrome Web Store ซื้อขายแอพลิเคชั่นบนเว็บได้เหมือนบนโทรศัพท์ ก็ได้มีปฏิกริยาออกมาจากฝั่ง Mozilla ซึ่งเป็นทั้งคู่แข่งและพันธมิตรของกูเกิล
Mozilla ได้เสนอแนวทางที่เรียกว่า "Open Web App Store" ซึ่งเป็นร้านขายเว็บแอพพลิเคชันลักษณะเดียวกับ Chrome Web Store แต่มีแนวทางการดำเนินการต่างไปนิดหน่อยดังนี้
ผ่านช่วงเวลาแห่งข่าวดีมาได้เพียงสองวันหลังกูเกิลเปิดโครงการ WebM ทาง MPEG-LA ซึ่งเป็นผู้เสียผลประโยชน์จากโครงการนี้อย่างชัดเจนก็ออกมาให้สัมภาษณ์แล้วว่าบริษัทกำลังเตรียมการออกขายใบอนุญาตในการใช้สิทธิบัตรจาก MPEG-LA เพื่อใช้งาน WebM
MPEG-LA เป็นการรวมตัวกันของบริษัทกว่า 20 บริษัทที่เอาสิทธิบัตรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาเทกองรวมกัน แล้วเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้และผู้ผลิตเทคโนโลยีหลายๆ ตัวเช่น MPEG2, MPEG4 หรือกระทั่ง IEEE1394 ด้วยกองสิทธิบัตรที่ใหญ่มาก ทำให้ยากที่ VP8 จะรอดเงื้อมมือ MPEG-LA ไปได้ง่ายๆ หรืออย่างน้อยๆ กูเกิลก็อาจจะต้องสู้รบไปอีกหลายปี
ทั้งไมโครซอฟท์และแอปเปิลก็เป็นสมาชิกผู้อนุญาตให้ MPEG-LA ใช้งานสิทธิบัตรของตนด้วยเช่นกัน
สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศญี่ปุ่นได้เปิดเผยแผนที่ส่งไปยังฟีฟ่าเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เพื่อเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดฟุตบอล 2022 โดยหนึ่งในนั้นคือโครงการมูลค่า 550 พันล้านเยน (ราว 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ชื่อ Universal Fan Fest หรือระบบถ่ายทอดสามมิติจากระยะไกล (3-D telecasts)
กูเกิลร่วมฉลองครบรอบ 30 ปีเกม Pac-Man โดยเปลี่ยนโลโก้ของหน้าแรกตัวเองเป็นลาย Pac-Man
แต่เท่านั้นยังธรรมดาไป โลโก้ Pac-Man อันนี้สามารถเล่นได้ด้วย ถ้าลองดูในโค้ดมันเขียนด้วย HTML/JavaScript ครับ
หยุดเสาร์-อาทิตย์นี้ มาเล่น Pac-Man กันเถอะทุกคน!
ที่มา - Joystiq
ที่งาน Google I/O (อีกแล้ว) Adobe ได้ประกาศ Dreamweaver HTML5 Pack ซึ่งเป็นส่วนขยายสำหรับ Dreamweaver CS5 ในชุดประกอบด้วย
ตอนนี้ยังเป็นผลิตภัณฑ์ใน Adobe Labs แต่เข้าใจว่าเป็นรุ่นจริงแล้ว ใครมี CS5 ก็สามารถทดลองกันได้ครับ นโยบายเล่นสองขาทั้ง HTML5 และ Flash ของ Adobe เริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ
แม้ว่าจะโดน Flash 10.1 for Android บดบังรัศมีไปบ้างในช่วงนี้ แต่ทางแฝดน้องอย่าง AIR ก็ได้ตามลงมาสู่ Android แล้วเช่นกัน โดยเบื้องต้นยังเป็นรุ่น Developer Prerelease อยู่
จุดเด่นของ AIR คือการพัฒนาครั้งเดียวแล้วใช้ได้ข้ามแพลตฟอร์ม (คุ้นๆ ใช่ไหมครับ) นักพัฒนา AIR สามารถพอร์ตโปรแกรมเดิมบนพีซีมาลงมือถือได้ไม่ยากนัก ซึ่งตลาดใหม่นี้กำลังจะเป็นอีกสมรภูมิของ AIR (เริ่มจาก AIR) กับ Silverlight (เบื้องต้นรันบน WP7 และ S60) ในอีกไม่ช้า
AIR for Android จะรองรับ ActionScript 3.0 เท่านั้น ใช้ได้บน Android 2.1 และ 2.2 แต่ช่วงแรกจะยังมีแค่ 2.2 ครับ
อดีตผู้ผลิตพีซีอันดับหนึ่งของโลก Dell ประสบปัญหาด้านการจัดการมากในช่วงหลัง แถมโดนวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐปี 2009 ซ้ำเข้าไป ถึงขนาดต้องไปตามตัวไมเคิล เดลล์ กลับมาเป็นซีอีโออีกครั้ง
ในการแถลงผลประกอบการไตรมาสล่าสุด (ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2010) สถานการณ์ของ Dell กลับมาดีอีกครั้ง ทั้งด้านยอดขายและกำไรที่เติบโตขึ้นทั้งคู่ ยอดขายเดิมของปีก่อน 12.3 พันล้านดอลลาร์ โตขึ้นเป็น 14.9 พันล้าน ส่วนกำไรเพิ่มจาก 290 ล้านเป็น 441 ล้าน
Dell ให้เหตุผลว่าการเติบโตของบริษัทครั้งนี้ เป็นสัญญาณว่ากำลังซื้อของตลาดไอทีองค์กร (ซึ่งเป็นลูกค้าหลักของ Dell) กำลังกลับมา
Seesmic บริษัทที่หากินกับโปรแกรม Twitter บนแพลตฟอร์มต่างๆ ได้เปิดตัว Seesmic for iPhone (และ iPod touch) เป็นแพลตฟอร์มมือถือตัวที่สามต่อจาก Android และ BlackBerry
ฟีเจอร์ที่สำคัญของมันคือการโพสต์ทีเดียวหลายเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็น Twitter, Facebook และ Ping.fm ฟีเจอร์อย่างอื่นได้แก่ รองรับ Twitter List และ native retweet รวมถึงฟีเจอร์ที่ปัจจุบันกลายเป็นมาตรฐานไปแล้วอย่าง location และ URL shortener ผ่าน bit.ly
ที่มา - Seesmic Blog
ที่งาน Google I/O นอกจากพระเอกอย่าง Froyo แล้ว ทาง Vic Gundotra ได้โชว์ Android Market แบบผ่านหน้าเว็บ (สามารถเข้าไปดูและซื้อโปรแกรมผ่านหน้าเว็บได้โดยตรง เหมือนกับ iPhone App Store ในตอนนี้)
แต่ที่น่าสนใจกว่าคือ กูเกิลยังเพิ่มเนื้อหาหมวด "Music" เข้ามาใน Android Market ซึ่งมันเทียบเท่ากับการซื้อเพลงผ่าน iTunes Store นั่นเอง
นอกจากนี้ กูเกิลยังประกาศการซื้อกิจการบริษัท Simplify Media เจ้าของซอฟต์แวร์บนเดสก์ท็อปที่ช่วย sync เพลง-ภาพ-วิดีโอ กับมือถือ Android โดยผ่านอินเทอร์เน็ต (เทียบเท่าโปรแกรม iTunes)
ช่วงงาน Google I/O ข่าวกูเกิลจะเยอะหน่อยนะครับ แม้จะถูกกลบด้วยข่าว Android 2.2 Froyo และ Google TV แต่ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่น่าสนใจอีกตัว (แถมมาเงียบๆ) คือ Google Storage for Developers
มันคืออะไร? อธิบายง่ายๆ ว่ามันคือ Amazon S3 เวอร์ชันกูเกิล ซึ่งเป็นพื้นที่เก็บข้อมูลบนกลุ่มเมฆของกูเกิล ตอนนี้มันยังเป็นผลิตภัณฑ์ใน Google Labs และมีชื่อ "for Developers" ห้อยท้ายอยู่ แต่อนาคตอีกไม่นานมันจะเหลือแค่ "Google Storage" แน่นอน
Google Storage for Developers คิดราคาพื้นที่ GB ละ 17 เซนต์ต่อเดือน ในช่วงแรกยังเปิดให้นักพัฒนาเฉพาะในสหรัฐเท่านั้น