หลายๆ คนที่ตามข่าวกล้องดิจิตอลมาเรื่อยๆ คงรู้กันว่าแคนนอนนั้นมีแนวทางการใช้งานเซ็นเซอร์ที่ต่างจากผู้ผลิตรายอื่นๆ เพราะแคนนอนนั้นใช้งานเซ็นเซอร์ในเทคโนโลยี CMOS เป็นหลัก ต่างจากเจ้าอื่นๆ ที่ใช้ CCD แทบทั้งหมด แต่การใช้งาน CMOS ในทุกวันนี้เองทางแคนนอนก็ยังใช้งานเฉพาะในกล้อง DSLR และกล้องคอมแพคระดับสูงเท่านั้น เนื่องจากกำลังผลิตมีจำกัด โดยกล้องรุ่นเล็กจะมีการสั่ง CCD จากผู้ขายรายอื่นๆ เช่น โซนี่ มาใช้ในการผลิตแทน
แต่หลังการเปิดตัวโรงงานแห่งใหม่ แคนนอนจะมีกำลังการผลิต CMOS ต่อปีเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว จากเดิมสามล้านชิ้นต่อปีกลายเป็น 6 ล้านชิ้นต่อปีโดยประมาณ ทำให้มีแนวโน้มว่าแคนนอนกำลังเตรียมตัวเปลี่ยนเซ็นเซอร์มาใช้งาน CMOS มากขึ้นเรื่อยๆ
ผลวิจัยล่าสุดจาก Trinity College Dublin พบว่าชาวสหราชอาณาจักร 25% (เฉพาะที่สำรวจ) ไม่สามารถจำเบอร์โทรศัพท์บ้านได้ และ 33% จำวันเกิดคนใกล้ชิดได้น้อยกว่า 3 คน
ศาสตราจารย์ Ian Robertson ผู้ทำการสำรวจนี้ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันเรามีสิ่งที่ต้องจำเพิ่มขึ้น (เช่น รหัสผ่าน เบอร์โทร เลขประชาชน เลขบัญชีธนาคาร ทะเบียนรถ) ซึ่งแก้ไขโดยการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ พีดีเอ มือถือและอุปกรณ์พกพาต่างๆ ช่วยเก็บข้อมูลได้ แต่ยิ่งใช้สมองส่วนความจำน้อยเท่าไร ประสิทธิภาพของมันก็ลดลงเท่านั้น
Robertson อ้างผลวิจัยอีกหลายชิ้น ที่บ่งบอกว่าคนอายุ 50 ปีขึ้นไป มีความจำในภาพรวมดีกว่าคนรุ่นอายุต่ำกว่า 30 ปี เนื่องจากโตมาสมัยที่เทคโนโลยียังไม่ก้าวหน้า และไม่พึ่งพาเทคโนโลยีมากนัก
โครงการ PHP ประกาศหยุดพัฒนา PHP4 และหยุดให้การสนับสนุนตั้งแต่สิ้นปี (31 ธ.ค. 2007) เป็นต้นไป
เหตุผลก็คือ PHP5 ออกมาได้สามปีแล้ว และ PHP6 กำลังจะตามมาในอีกไม่นาน ดังนั้นก็ย้ายไปใช้ PHP5 กันเสียโดยดี ใครเตรียมจะย้ายก็ควรอ่านคู่มือ Migrating from PHP 4 to PHP 5 ประกอบ
ข่าวเก่าที่เกี่ยวข้อง: CMS และเว็บโฮสติ้งผนึกกำลังผลัก PHP5
โฮสติ้งสัญชาติไทยเจ้าไหนใช้ PHP5.2 เป็นดีฟอลต์ มาโฆษณาไว้ได้เลย
ที่มา - Slashdot
จากข่าวคราวก่อนเรื่อง ร่างประกาศกระทรวงไอซีที (เสริม พ.ร.บ. ความผิดทางคอมพิวเตอร์) ให้เก็บเลขประชาชน 13 หลัก และกระทรวงได้จัดงานสัมมนาเกี่ยวกับ พ.ร.บ. เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม (ศุกร์ที่ผ่านมา)
ผมได้ข้อมูลจากผู้ที่ได้ไปร่วมงานสัมมนาว่า ตอนนี้ในร่างฉบับล่าสุดได้เลิกบังคับให้ผู้บริการประเภทเนื้อหา (เว็บไซต์ต่างๆ) เก็บเลขประชาชน 13 หลักแล้ว
หลาย ๆ คนอาจจะเสียใจหรือดีใจไปกับการปรับลดราคาของโซนี่เพลย์สเตชั่นรุ่น 60GB ในสหรัฐจาก $599 เหลือ $499 แต่ข่าวล่าสุดนี้อาจจะทำให้คนได้ยัวะกันอีกรอบ
เนื่องจากว่าโซนี่ได้ยืนยันว่าโซนี่ได้เลิกสายการผลิตเครื่องเล่นเกมเพลย์สเตชั่น 3 รุ่น 60GB ไปเรียบร้อยแล้ว เพราะฉะนั้นการปรับราคาลงมา $100 นั้นเป็นเพียงการระบายของเก่าออกจากสต็อคเท่านั้นเอง
เมื่อรุ่น 60GB ขายหมดในสหรัฐ ทางโซนี่จะขายเพียงแค่รุ่น 80GB ที่ราคาเดิมของรุ่น 60GB ก่อนปรับลดราคาที่ $599 โดยทางเกมจะทำการแถม bundle เกม Motorstorm ลงไปในฮาร์ดดิสก์เพื่อเพิ่มมูลค่าของเครื่องรุ่น 80GB เมื่อเทียบกับรุ่น 60GB ที่ปรับลดราคาแล้ว กับการแลก $100 เพื่อพื้นที่เพิ่มจาก 60GB เป็น 80GB แต่ยังได้เกม Motorstorm กลับไปด้วย
ตามกฏหมายลิขสิทธิ์ (ซึ่งมีผลมาจาก Berne Convention) เมื่อเราสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาแล้ว ลิขสิทธิ์ในผลงานนั้นๆ จะเป็นของผู้สร้างอัตโนมัติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง (แปรตามกฎหมายแต่ละประเทศ และชนิดของผลงาน แต่ส่วนมากก็ 50 ปีขึ้นไป) จากนั้นลิขสิทธิ์จะขาด กลายเป็นของสาธารณชน (public domain)
เรื่องนี้ถูกวิจารณ์มาเยอะว่าเป็นระยะเวลาที่นานไป คนอื่นต้องรอกันนานมากกว่าจะนำผลงานเหล่านี้ไปใช้ได้ ปัญหามีอยู่ว่าระยะเวลาที่เหมาะสมเป็นเท่าไรกันแน่ ที่จะดุลระหว่างการคุ้มครองสิทธิ์เจ้าของ และการให้คนอื่นนำไปใช้ต่อ
ทีมจากกูเกิลค้นพบรูรั่วสำคัญใน JRE และ JDK ทุกรุ่น มีผลกับทุกแพลตฟอร์มไม่ว่าจะเป็นพีซี เบราว์เซอร์ หรือมือถือ
Chris Gatford ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยให้ความเห็นว่ารูรั่วนี้ค่อนข้างอันตราย และถ้ามีคนเขียนโค้ดประสงค์ร้ายที่ใช้รูรั่วนี้เร็วพอ จะมีผลต่อองค์กรจำนวนมาก
ในแหล่งข่าวมีรายละเอียดของรูรั่วค่อนข้างน้อย แต่จุดสำคัญอยู่ที่ว่าถึงแม้จะมีแพตช์ออกมา (ซึ่งต้องมีอยู่แล้ว) แต่เราจะตามไล่แพตช์ทุกอุปกรณ์ที่มี JRE ติดตั้งอยู่ได้แค่ไหนกัน
ที่มา - ZDNet Asia
Gigabyte ออกเมนบอร์ดรุ่น GA-N680SLI-DQ6 ซึ่งโฆษณาว่าเป็น "A Mother Of A Motherboard" ดูสเปกก่อนเชื่อ
ที่ไม่ธรรมดาก็คือฮีตซิงก์ซึ่งฝังติดกับบอร์ด และมีท่อส่งผ่านความร้อนระหว่างฮีตซิงก์แต่ละตัว (ของซีพียูกับของชิปเซ็ตอีก 2 ตัว - รูป)
ประสิทธิภาพที่ได้ก็ดีเยี่ยม คงนับว่าเป็นเมนบอร์ดไฮเอนด์อันดับหนึ่งของตอนนี้ ราคาก็ไม่ธรรมดาเหมือนกัน 285 เหรียญ
อินเทลและโครงการ OLPC หาจุดร่วมมือกันได้ในที่สุดเพื่อสร้างความร่วมมือกันในการพัฒนาคอมพิวเตอร์ราคาถูกเพื่อเด็กนักเรียนหลังจากที่ต้องฝ่าฟันสงครามน้ำลายระหว่างสองโครงการมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง
ไม่มีความแน่ชัดว่าความร่วมมือที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้จะเป็นไปในรูปแบบใด แต่ที่แน่ๆ คือทางอินเทลจะส่งคนเข้ามานั่งเป็นบอร์ดของทาง OLPC ด้วย โดยทางอินเทลระบุว่าโครงการขนาดใหญ่เช่นนี้ต้องการความร่วมมือมากกว่าการใช้นักพัฒนาเพียง 15 คนในโครงการ OLPC ในตอนนี้
ส่วนทางเอเอ็มดีซึ่งเป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ของโครงการ OLPC มาช้านานได้กล่าวว่ายินดีที่ทางอินเทลจะเข้ามาร่วมมือกับทางโครงการ และความร่วมมือในเชิงบวกจะส่งผลดีต่อโอกาสของเด็กๆ ในโลก
หลังจากไมโครซอฟท์วางจำหน่าย Vista แบบ Volume Licensing พร้อมกับ Office 2007 เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา และในเดือนต้นปีที่ผ่านมากไมโครซอฟท์ก็วางจำหน่ายแบบ Retail โดยไมโครซอฟท์คาดหวังว่าจะมีจำนวนผู้ใช้ 1 ใน 2 ผลิตภัณฑ์รวมกันแล้วไม่ต่ำกว่า 200 ล้านคน ผ่านมาเพียงไม่ถึงปี ไมโครซอฟท์ก็เตรียมปล่อย SP1 Beta ออกสู่ตลาดในวันที่ 16 กรกฏาคมนี้ ซึ่งเป็น Service Pack ที่หลายคนตั้งตารอคอย โดยสิ่งที่คาดว่าจะพบใน SP1 ก็คือ
ผู้ใช้งาน *nix หลายท่านคงจะคุ้นเคยกับ CUPS กันเป็นอย่างดี CUPS ย่อมาจาก Common UNIX Printing System เป็นระบบจัดการกับการพิมพ์ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายใน Linux และก็ถูกนำมาใช้งานในระบบ Mac OS X ของแอปเปิล ตั้งแต่ Mac OS X รุ่น 10.2 (Jaguar)
ข่าวของข้อตกลงนี้จะพึ่งประกาศออกมา ไม่กี่วันมานี้เอง แต่อันที่จริงแล้ว แอปเปิลและผู้พัฒนา CUPS ได้ทำข้อตกลงนี้ กันตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งประกาศที่ออกมานี้ก็ให้ความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ว่านอกจากที่แอปเปิล จะเป็นเจ้าของ ซอร์สโค้ด ของ CUPS แล้ว ก็ยังได้ว่าจ้าง Michael R. Sweet ผู้สร้างระบบ CUPS เข้าทำงานให้กับบริษัทอีกด้วย ส่วนรายละเอียดทางด้านตัวเลขซื้อขาย ของข้อตกลงในครั้งนี้ ยังไม่เป็นที่เปิดเผยจากทั้งสองฝ่าย
ความเร็วของบรอดแบนด์ที่เข้าไปยังบ้านเรือนทั้งหลายกำลังเร็วขึ้นเรื่อยๆ โดยปีที่แล้วในญี่ปุ่นก็มีการเปิดตัวบริการบรอดแบนด์แบบไฟเบอร์ออปติกส์ กันไปด้วยความเร็ว 1 กิกะบิตต่อวินาทีกันไปแล้ว ในตอนนี้ดูเหมือนว่าความเร็จจะไม่ได้หยุดนิ่งอยู่แค่นั้น เมือนักวิจัยชาวสวีเดนได้ทดสอบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วถึง 40 กิกะบิตต่อวินาทีเข้าไปยังบ้านของแม่นักวิจัยผู้หนึ่ง
การทดสอบครั้งนี้เป็นการทดสอบการเข้าสัญญาณแบบใหม่ที่ทำความเร็วสูงได้ระยะทางกว่า 2000 กิโลเมตรโดยไม่ต้องมีการทวนสัญญาณแต่อย่างใด โดยงานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท Cisco นั่นเอง
มหกรรมโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์แห่งชาติ ครั้งที่ 7 กลับมาแล้ว งานนี้จัดวันที่ 2-3 สิงหาคม 2550 ที่ห้องบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลลาดพร้าว
ในงานจะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือสัมมนาหลัก, สัมมนา CMS และเวิร์คช็อป OOo
ส่วนสัมมนาหลักดูกำหนดการได้ที่นี่ ที่น่าสนใจ (สำหรับผมนะ) มีคนจาก OOo/Sun มาพูดเรื่อง OOo 3.0, เรื่องมาตรฐานเอกสารแบบเปิด, ดร. ธวัชชัยจาก Gotoknow มาพูดเรื่อง RoR และประสบการณ์การนำโอเพนซอร์สมาใช้ในองค์กรของการบินไทย, การไฟฟ้าฝ่ายผลิต
สตีฟ บัลเมอร์ ซีอีโอของไมโครซอฟท์เปิดเผยทิศทางใหม่ของบริษัท ที่จะพ่วงบริการไปกับซอฟต์แวร์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ในชื่อ software-plus-services
บัลเมอร์บอกว่า software-plus-services นั้นต่างไปจากแนวคิด software-as-services หรือ web 2.0 โดยคำนิยามสั้นๆ ของ software-plus-services คือการเปลี่ยนแปลงทั้ง "ส่วนติดต่อผู้ใช้และการประมวลผล" (user interface and computational changes) อย่างไรก็ตามในแผน software-plus-services จะมีบริการที่มีอยู่แล้วในวงการ software-as-services อย่างพวก CRM เป็นต้น
software-as-services จะเป็นการสร้างชุดของบริการซึ่งใช้ได้กับเซิร์ฟเวอร์ ไคลเอนต์ และอุปกรณ์พกพาอื่นๆ โดยอิงอยู่บนฐานของ Windows Live Core ที่บริษัทกำลังพัฒนาอยู่
ตอบสัมภาษณ์คุณ apples ผู้พัฒนาโปรแกรม AppServ (คำถาม)
iake: Apple นี่ชื่อใครหรือครับ ชื่อตัวเอง หรือชื่อคนอื่น?
ชื่อผมเอง เมื่อก่อนเล่น irc สมัย irc.au.ac.th โน่นครับ ตั้งชื่อ apple แล้วมันชอบซ้ำกับชาวบ้าน เลยเติม s ไปอีกตัวกลายเป็น apples จนถึงทุกวันนี้
iake: เป็นคนเชียงใหม่ ใช่ไหม?
เป็นคน อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอนโดยกำเนิดครับ อิอิ
eak: เรียนจบสาขาอะไร, เรียนจบจากที่ไหนครับ
จบ Computer Science จากราชภัฏเชียงใหม่ครับ
iake, narok119: แล้วเป็นอาจารย์ หรือเคยเป็นอาจารย์มาก่อน?
แม้บ้านเราจะเริ่มฮิตเครื่องดื่มแบบไม่มีน้ำตาลกัน แต่แนวทางนี้อาจจะช้าเกินไป เมื่อยอดผู้เสียชีวิตเนื่องจากโรคอ้วนนั้นค่อนข้างสูงโดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยแรงบันดาลใจเช่นนี้ นักวิจัยในอังกฤษได้นำข้อมูลทางเศรษฐศาสตร์มาคำนวณเพื่อหาแนวทางการลดการบริโภคไขมันอิ่มตัว, น้ำตาล และโซเดียม (เกลือ) ลง และแนวทางที่เสนอออกมาคือการเพิ่มภาษีกับอาหารที่ "ไม่เป็นมิตร" ต่อสุขภาพทั้งหลาย งานวิจัยเสนอไว้สามแนวทางคือ
เว็บไซด์ CUPS.org ได้ประกาศผ่านเว็บตัวเองว่า Apple ได้เข้าซื้อกิจการของ CUPS แล้วและได้จ้างนักเขียน Source code ของบริษัทนี้
ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2007 ได้เข้าเป็นเจ้าของของ CUPS source code และได้จ้างผม (Michael R Sweet), นักโปรแกรมเมอร์ของ CUPS, CUPS จะออก source code ตัวใหม่ภายลิขสิทธิ์ของ GPL2/LGPL2 และผมจะพัฒนา CUPS ต่อให้ Apple
CUPS ย่อมาจาก Common Unix Printing System และได้ถูกใช้ใน Mac OS X ของ Apple ในปี 2002
เว็บไซต์ Mac News Online นำเสนอ GUI 5 จุดที่เพิ่มเข้ามาใน Mac OS X 10.5 Leopard แล้วทำให้ชีวิตแย่ลงกว่าเดิม
ภาพประกอบดูกันเองตามลิงก์ และ Leopard เวอร์ชันที่วิจารณ์ยังเป็นแค่เบต้า
ที่มา - Mac News Online
IBM ประกาศว่าคนทั่วไปสามารถใช้งานสิทธิบัตรกว่า 200 รายการได้โดยไม่ต้องขออนุญาต และไม่เสียค่าใช้จ่าย ตราบเท่าที่การใช้งานนั้นเป็นไปในทางส่งเสริมมาตรฐานเปิด และการทำงานข้ามกันได้ระหว่างระบบ (interoperable)
IBM สนับสนุนมาตรฐานเปิดมานานแล้ว และสิทธิบัตรเหล่านี้ได้แจกให้ใช้ฟรีอยู่ก่อนแล้วเช่นกัน เพียงแต่ผู้ใช้ต้องร้องขอไปยัง IBM ก่อนซึ่งมีกระบวนการเอกสารพอสมควร ทาง IBM จึงตัดสินใจเปลี่ยนวิธีการเป็นเปิดให้ใช้ได้อย่างเสรี
service ใหม่บนมือถือของทางฝั่งอเมริกา ที่คอนเซปท์สุดเรียบง่ายแต่ประโยชน์มหาศาล ก็คือการหาห้องน้ำใกล้ตัว ในเวลาที่บอกไม่ได้ ไปไม่ถูก
วิธีใช้ก็คือ ยกมือถือขึ้นมากดเข้าเว็ย www.mizpee.comเลือก Find Toilet
แล้วก็ใส่ location ของตัวเองเข้าไป (อีกหน่อยน่าจะใส่ได้อัตโนมัติเนาะ)
เสร็จแล้วก็จะมีรายการห้องน้ำที่ใกล้ที่สุด แล้วก็เตรียมวิ่งได้เลย
ในห้องน้ำแต่ละที่ก็จะมีที่อยู่ เรทติ้ง และรายละเอียดอื่นๆ รวมถึงคอมเมนท์ของผู้ใช้อื่นๆให้ทราบด้วย
นอกจาก 3 ค่ายหลักแล้ว ค่ายเกมอื่นๆ ก็แถลงข่าวกันถ้วนหน้า แต่ผมคงลงแค่สามอันนี้เท่านั้นนะครับ
คนแถลงคือ Reggie Fils-Aime ประธานของนินเทนโดอเมริกา และ Satoru Iwata ประธานใหญ่ของนินเทนโด
ระหว่างการแข่งขันระหว่างมาตรฐาน OOXML จากฝั่งไมโครซอฟท์ และ ODF จากฝั่งซัน ประเด็นหนึ่งที่ทางไมโครซอฟท์ยกมาข่มได้นั่นคือมาตรฐานด้าน Spreadsheet ที่นับได้ว่าเป็นจุดอ่อนของ ODF เนื่องจากมีการอธิบายวิธีการคำนวณเอาไว้เพียง ประมาณ 10 หน้ากระดาษเท่านั้น นับว่าน้อยจนไม่สามารถอิมพลีเมนต์ได้จริง เรื่องนี้ทำให้ไมโครซอฟท์แสดงตัวเรื่อยมาว่ามาตรฐาน OOXML นั้นชัดเจนกว่า เนื่องจากมีการอธิบายขั้นตอนการคำนวณสูตรต่างๆ ไว้ถึง 325 หน้ากระดาษ
ผมกับลิ่วตัดสินใจว่าต่อไปนี้ กระบวนการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ของ Blognone (ที่เกี่ยวกับตัวเว็บ และเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น BTD3) จะย้ายจาก IM ที่คุยกันสองคนไปไว้ใน mailing list เพื่อความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของสมาชิก
ดังนั้นขอเชิญสมาชิกระดับ Writer เข้ามาสมัคร Blognone mailing list เพื่อรับทราบข้อมูลและร่วมตัดสินใจด้วยกัน สำหรับท่านอื่นที่สนใจก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด สมัครเข้ามาได้เลย
สำหรับเรื่องอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับทิศทางของเว็บ คุยกันใน Forum เหมือนเดิม
ผู้ใช้งานบริการ Google Maps สามารถจะปรับแต่งแผนที่ของตนเองได้ เช่น การให้ข้อมูลปั๊มที่มีน้ำมันลดราคา หรือประกาศขายที่ดิน เราสามารถที่จะเขียนเส้นทางบนแผนที่ได้ แนบแฟ้มข้อมูลภาพถ่าย ไม่ว่าจะเป็นภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหว โดยใช้บริการออนไลน์อย่างเช่น YouTube และ Picasa มาเสริมการใช้งานกันได้
แผนที่ที่ได้รับการปรับแต่งแล้ว สามารถจะกำหนดได้ ว่าจะให้เป็นแผนที่ส่วนตัว หรือแผนที่สาธารณะที่คนอื่นจะเข้ามาดูได้ รวมถึงแผนที่ที่เราปรับแต่งนั้น ก็จะได้รับการเก็บข้อมูลเข้าฐานข้อมูลระบบค้นหาของกูเกิลด้วย
นอกจากนั้นก็ยังสามารถที่จะนำแผนที่ไปใช้งานในโปรแกรม Google Earth ในรูปแบบของแฟ้มข้อมูลชนิด KML (Keyhole Markup Language) ได้อีกด้วย