Mozilla ได้ยกเลิกการตั้งค่าฟีเจอร์ป้องกันการตามรอยหรือ Do Not Track ของ Firefox มีผลในเวอร์ชัน 135 เป็นต้นไป ซึ่งตอนนี้ออกมาในสถานะ Nightly และแนะนำให้ผู้ใช้งานที่ต้องการป้องกันความเป็นส่วนตัวไปตั้งค่าที่ส่วน Global Privacy Control แทน
Do Not Track เป็นฟังก์ชันของเบราว์เซอร์ที่เริ่มใช้งานมาตั้งแต่ปี 2009 โดยส่งสัญญาณไปที่เว็บไซต์ขอความร่วมมือไม่ให้เว็บไซต์ติดตามผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นประเด็นเพราะไม่ได้บังคับใช้จริง เว็บไซต์จะทำตามหรือไม่ก็ได้ ผลสำรวจในปี 2019 ก็พบว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่า Do Not Track ไม่ใช่การป้องกันอย่างแท้จริง
Mozilla องค์กรที่ทำเกือบทุกอย่างยกเว้นเว็บเบราว์เซอร์ จัดเทศกาล JavaScriptmas ออกโจทย์เขียนโปรแกรมภาษา JavaScript วันละ 1 โจทย์ ระหว่างวันที่ 1-24 ธันวาคม
ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมทำโจทย์ได้บน แพลตฟอร์มเขียนโค้ดออนไลน์ Scrimba โดยผู้โชคดี 2 รายที่ทำโจทย์ถูกอย่างน้อย 1 ข้อ จะได้รับรางวัลเป็น MacBook Air M3 และของที่ระลึกจาก Mozilla Developer Network (MDN) กับ Scrimba
ตัวอย่างโจทย์มีหลากหลาย ทั้งทำ DOM manipulation, UI design, CSS, accessibility, cyber security เป็นต้น
ที่มา - Mozilla
หลังจากปล่อยให้มีโลโก้ใหม่ของ Mozilla โผล่บนหน้าเว็บมาหลายเดือน ในที่สุด Mozilla ก็เปิดตัวโลโก้ใหม่อย่างเป็นทางการสักที
โลโก้ใหม่ตรงกับที่เผยโฉมมา คือเป็นสัญลักษณ์ตัว M เอียงข้างเป็นรูปหัวไดโนเสาร์ (หรือบางคนมองว่าเป็นธงก็ได้) สไตล์คล้ายตัวอักษร ASCII แล้ววางคู่กับคำว่า Mozilla ที่ออกแบบใหม่ เลิกใช้สัญลักษณ์ :// ของ URL แล้ว
Mark Surman ประธานของ Mozilla บอกว่าตั้งองค์กรมานาน 25 ปี ทำภารกิจเรื่องเว็บที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ตอนนี้ถึงเวลาคิดเรื่อง 25 ปีถัดไป โดยยอมรับว่าคนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจว่า Mozilla ทำเรื่องโอเพนซอร์สและความเป็นส่วนตัว จึงหวังจะใช้การรีแบรนด์ครั้งนี้กลับมาเชื่อมต่อผู้ใช้ทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่อีกครั้ง
Mozilla เปลี่ยนวิธีบีบอัดไฟล์ติดตั้ง Firefox บนลินุกซ์ จากเดิมใช้ .tar.bz2 มาเป็น .tar.xz เพื่อขนาดที่เล็กลงถึง 25%
xz เป็นซอฟต์แวร์บีบอัดที่ใช้อัลกอริทึม LZMA ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า gz หรือ bz2 ทั้งในแง่ขนาดไฟล์หลังบีบอัด และความเร็วในการคลายไฟล์ ช่วงหลังๆ ลินุกซ์ดิสโทรต่างๆ ล้วนแต่รองรับ xz หมดแล้ว ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องความเข้ากันได้ในการใช้งาน
Mozilla บอกว่าเลือกระหว่าง xz กับ Zstandard (.zst) ที่มีความเร็วการคลายไฟล์สูงกว่าเล็กน้อย แต่สุดท้ายเลือก xz เพราะบีบอัดได้มากกว่า ช่วยประหยัดพื้นที่และแบนด์วิดท์ รวมถึงมีดิสโทรที่รองรับมากกว่าด้วย
Firefox มีอายุครบ 20 ปีแล้ว โดยนับจากวันที่ออกเวอร์ชัน 1.0 เมื่อ 9 พฤศจิกายน 2004 ซึ่งตลอดช่วงที่ผ่านมา Firefox ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นจนเคยมีส่วนแบ่งตลาดเบราว์เซอร์สูงมากกว่า 30% ทั่วโลก จากนั้นก็มีส่วนแบ่งที่ลดลงจากการมาของ Google Chrome
Laura Chambers ซีอีโอรักษาการณ์ของ Mozilla ที่รับตำแหน่งเมื่อต้นปี บอกว่าปัญหาของ Mozilla ในช่วงที่ผ่านมาคือการเสียโฟกัสจากผลิตภัณฑ์หลักคือ Firefox และให้ความสำคัญกับโครงการอื่น แนวทางจากนี้คือการเพิ่มความสามารถ Firefox ให้เป็นตัวเลือกเบราว์เซอร์ที่น่าสนใจขึ้น
Mozilla Foundation มูลนิธิซึ่งเป็นหน่วยงานไม่แสวงหากำไร ประกาศปลดพนักงาน 30% แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นจำนวนเท่าใด โดยให้เหตุผลว่าตอนนี้องค์กรกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง
Mozilla มีหน่วยงานหลายแห่ง โดยมีมูลนิธิ Mozilla Foundation เป็นแกนหลัก ซึ่งบริษัทแสวงหากำไรในเครือที่มีผลิตภัณฑ์ซึ่งหลายคนคุ้นเคยก็คือ Mozilla Corporation ดูแลการพัฒนาเบราว์เซอร์ Firefox และ MZLA Technologies ที่ดูแลโปรแกรมอีเมล Thunderbird
Thunderbird for Android ออกรุ่นเสถียรเป็นครั้งแรก หลังเปิดทดสอบรุ่น Beta เมื่อเดือนที่แล้ว
Thunderbird for Android พัฒนาต่อจากอีเมลไคลเอนต์ชื่อ K-9 Mail ที่ Mozilla ซื้อมาเมื่อ 2 ปีก่อน หลังจากใช้เวลาพัฒนามายาวนาน ตอนนี้ Thunderbird for Android นับเป็นเวอร์ชัน 8.0 พร้อมใช้งานในวงกว้าง รองรับการย้ายข้อมูลจากทั้ง Thunderbird Desktop และ K-9 Mail เข้ามาในไคลเอนต์ตัวใหม่ และปรับธีมเป็น Material 3 ให้สอดคล้องกับหน้าตาของ Android ยุคปัจจุบัน
แอพสามารถดาวน์โหลดได้แล้วจาก Google Play Store
หลังจากรอคอยกันมายาวนานหลายปี Mozilla ก็ออก Thunderbird เวอร์ชัน Android มาให้ทดสอบกันแบบ Beta แล้ว
Thunderbird for Android เป็นการนำอีเมลไคลเอนต์โอเพนซอร์สชื่อ K-9 มาพัฒนาต่อ โดย Christian Ketterer (cketti) นักพัฒนาหลักของ K-9 เข้ามาเป็นพนักงานเต็มเวลาของ Mozilla ตั้งแต่ปี 2022 เพื่อต่อยอด K-9 ให้มีฟีเจอร์เท่ากับที่ Mozilla ต้องการ ตัวโครงการยังพัฒนาแบบโอเพนซอร์สต่อไป เปิดซอร์สบน GitHub
Mozilla ออก Firefox 131 มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญคือ Tab Preview เมื่อนำเคอร์เซอร์เมาส์ไปวางบนแท็บที่ไม่ได้แสดงผลอยู่ จะเห็นภาพตัวอย่างของหน้าเว็บในแท็บนั้นๆ แบบเดียวกับที่มีในเบราว์เซอร์ตัวอื่นๆ แล้ว
Firefox 131 ยังรองรับการให้สิทธิการเข้าถึง (permission) ของเว็บไซต์แบบชั่วคราว (allowed temporarily) โดยสิทธิเหล่านี้จะถูกถอดโดยอัตโนมัติเมื่อปิดแท็บ หรือเวลาผ่านไป 1 ชั่วโมง
ที่มา - Mozilla
Mozilla ประกาศปิดบริการแพลตฟอร์มโซเชียลกระจายศูนย์บน Fediverse โดเมน Mozilla.Social มีผลตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคมเป็นต้นไป โดยแนะนำให้ผู้ใช้งานดาวน์โหลดข้อมูลของตนเองออกมา หรือย้ายข้อมูลไปอยู่ที่บริการอื่นบน Fediverse เช่น Mastodon แทน ซึ่งสามารถทำได้เพราะ Fediverse เป็นระบบเปิด
Mozilla.Social เป็นโครงการสร้างโซเชียลแบบกระจายศูนย์ ที่มีสถานะโครงการทดลอง เริ่มทดสอบในปี 2023 จำนวนผู้ใช้งานเป็นประจำมีไม่ถึงพันคน ทำให้มีข่าวก่อนหน้านี้แล้วว่า Mozilla.Social จะถูกยกเลิกโครงการตามแผนลดการลงทุนโครงการที่ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์หลักของ Mozilla
มีคนไปค้นพบโลโก้ใหม่ขององค์กร Mozilla ปรากฏขึ้นบนเว็บไซต์ mozilla.org บางหน้า รวมถึงมีสินค้าที่ระลึกลายโลโก้ใหม่ วางขายบน Mozilla Store ในยุโรป
โลโก้ปัจจุบันของ Mozilla เริ่มใช้เมื่อปี 2017 โดยเป็นข้อความเขียนว่า "moz://a" เพื่อแสดงถึงสัญลักษณ์ :// ใน URL ของเว็บ
เมื่อต้นปีนี้ Mozilla มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญทั้งเปลี่ยนตัวซีอีโอ ปลดพนักงาน ยกเลิกโครงการที่ไม่จำเป็น
เวลาผ่านมาหลายเดือน Laura Chambers ซีอีโอรักษาการณ์ (interim CEO) ของ Mozilla ให้สัมภาษณ์กับ Fast Company ยอมรับแต่โดยดีว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา Mozilla หันไปสนใจกับโครงการอื่นๆ เช่น VPN และ บริการส่งต่ออีเมล Relay จนสูญเสียโฟกัสกับผลิตภัณฑ์หลักอย่าง Firefox ไป
จากข่าวก่อนหน้านี้ที่ศาลรัฐบาลกลางสหรัฐตัดสินให้กูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาดบริการระบบค้นหาหรือ Search ตามที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฟ้องร้อง ถึงแม้กูเกิลจะเตรียมยื่นอุทธรณ์แต่สิ่งที่น่าสนใจคือคนที่เสียหายจากคำตัดสินนี้ อาจไม่ใช่กูเกิล
Fortune ให้ข้อสังเกตจากคำตัดสินที่ผู้พิพากษา Amit Mehta อธิบาย โดยบอกว่ากูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาดเพราะใช้การทำข้อตกลงเอ็กซ์คลูซีฟทั้งกับผู้ผลิตสมาร์ทโฟนและแพลตฟอร์ม เพื่อให้กูเกิลยังเป็นระบบค้นหาหลักต่อไป นั่นแปลว่ากูเกิลอาจถูกสั่งให้หยุดการทำข้อตกลงประเภทนี้ คนที่ได้รับผลกระทบจริง ๆ จึงอาจเป็นคนที่ได้รับเงินผลประโยชน์จากกูเกิล ซึ่งมีสองรายที่น่าสนใจคือ แอปเปิล และ Mozilla
Thunderbird ออกเวอร์ชันใหญ่ประจำปี ตามแนวทางการออกปีละครั้ง โดยนับเลขเวอร์ชันเป็น Thunderbird 128 (นับเลขตาม Firefox) โค้ดเนม Nebula
Thunderbird 128 พัฒนาต่อจาก Thunderbird 115 รุ่นของปี 2023 ที่เพิ่มธีมใหม่ Supernova เข้ามา โดย Nebula ได้ปรับดีไซน์ธีมเพิ่มเติมอีกหลายจุด เช่น card view ของหน้ารายการอีเมลใช้ดีไซน์ใหม่, รายการโฟลเดอร์รองรับ multi-selection เลือกได้หลายโฟลเดอร์พร้อมกัน, รองรับ accent color ค่าสีตามระบบปฏิบัติการบางตัว (เช่น Ubuntu/Mint), รองรับการตั้งค่าสีแยกตามบัญชีอีเมลแล้ว, แจ้งเตือนเมลใหม่ผ่านกล่องข้อความแจ้งเตือนของ Windows แบบเนทีฟ
Firefox ออกอัปเดตเวอร์ชัน 128 มีของใหม่ดังนี้
ของใหม่อื่นได้แก่ รองรับการเล่นเนื้อหา Protected จากเว็บสตรีมมิ่งเช่น Netflix ในโหมด Private, ปรับปรุงคุณภาพเสียงไมโครโฟนใน macOS, รองรับภาษาซะราอีกี
ที่มา: Mozilla
Firefox ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ AI Chatbot เข้ามาในแถบ sidebar ของเว็บเบราว์เซอร์ เพื่อให้ใช้งานแช็ทบ็อทสะดวก ไม่ต้องเปิดแท็บแยกอีกต่อไป
ผู้ใช้สามารถเลือกแช็ทบ็อทได้หลายตัว (คล้ายกับการเลือกเครื่องมือค้นหาของเบราว์เซอร์) ในเบื้องต้นรองรับแช็ทบ็อท 4 ตัวคือ ChatGPT, Google Gemini, HuggingChat, Le Chat Mistral
นอกจากการแช็ทในแถบ sidebar แล้ว ผู้ใช้ยังสามารถลากข้อความในหน้าเว็บ คลิปขวาแล้วส่งให้บ็อทสรุปเนื้อหา หรือเขียนเนื้อหาใหม่ได้ ขึ้นกับฟีเจอร์ของบ็อทแต่ละตัว
Mozilla ประกาศซื้อกิจการ Anonym สตาร์ตอัพด้านระบบข้อมูลสำหรับยิงโฆษณาออนไลน์ แบบเจาะจงตัวบุคคลไม่ได้ รักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน
Anonym ก่อตั้งในปี 2022 โดยอดีตผู้บริหารของ Meta สองราย โซลูชันของ Anonym คือการนำข้อมูลจากแพลตฟอร์มโฆษณา กับข้อมูลจากผู้ลงโฆษณา มาวิเคราะห์หาความเชื่อมโยงของบุคคลที่ต้องการยิงโฆษณา (ตรงนี้เหมือนกับระบบโฆษณาทั่วไป) แต่จุดต่างคือทำในสภาพแวดล้อมปิดที่ปลอดภัย (secure environment) มีเทคนิคการลบข้อมูลส่วนตัว (anonymized) และอัลกอริทึมที่แทรก noise เข้าไปในข้อมูล เพื่อไม่ให้ตามรอยย้อนกลับได้ว่าบุคคลที่เห็นโฆษณาคือใคร
ในขณะที่ Chrome เริ่มถอดส่วนขยายแบบ Manifest V2 ตามแผนการเปลี่ยนผ่านสู่ Manifest V3
ฝั่งของ Firefox ที่เคยประกาศไว้ตั้งแต่ปี 2021 ว่าจะรองรับส่วนขยายแบบ Manifest V3 ก็พัฒนาฟีเจอร์นี้เสร็จ และเริ่มใช้งานใน Firefox 127 แล้ว โดยจะใช้งานได้บน Firefox for Android ในเวอร์ชันหน้า 128
แนวทางของ Firefox ประกาศตัวชัดเจนว่าจะรองรับส่วนขยายทั้งแบบ V2 และ V3 เพื่อให้ใช้งานส่วนขยาย (ซึ่งส่วนใหญ่เขียนมาเพื่อ Chrome) ได้กว้างขวางที่สุดเท่าที่จะทำได้
Mozilla ประกาศแผน roadmap ของ Firefox ระยะสั้น 1-2 ปี โดยมีรายการฟีเจอร์ที่เตรียมออกช่วงปีนี้-ปีหน้า (2025) ดังนี้
ผู้ใช้ Firefox อาจเคยเจอปัญหาแอพแครช และเจอหน้าจอส่งรายงานการแครช Firefox Crash Reporter กลับไปยัง Mozilla เพื่อใช้วิเคราะห์
Firefox Crash Reporter มีสถานะเป็นแอพแยกขาดจาก Firefox แต่บันเดิลมาในชุดติดตั้งเดียวกัน เหตุผลที่ต้องแยกขาดจากกันเป็นเพราะเมื่อ Firefox แครช ตัว Crash Reporter จะยังทำงานได้ต่อไป ไม่ใช่โดนลากให้แครชตามไปด้วยกัน
อย่างไรก็ตาม Crash Reporter ถูกเขียนขึ้นมานานมากแล้ว (เบื้องหลังเป็น C++ และบางส่วนเป็น Objective-C สำหรับเวอร์ชันแมค) หลายส่วนเริ่มล้าสมัย เช่น เวอร์ชันแมคจะสร้างไฟล์ไบนารีด้วยเครื่องมือตัวเก่าที่แอปเปิลเองยังเลิกใช้ไปแล้ว โค้ดตัวเดิมจึงกลายเป็นภาระในการดูแลมากขึ้นเรื่อยๆ
Mozilla ออก Firefox 125 มีอัปเดตหลายรายการ ที่เด่นหน่อยคือ URL Paste Suggestion ซึ่งแสดงที่อยู่ URL ที่คัดลอกไว้ใน clipboard ใน address bar ให้สามารถเลือก URL นั้นได้เลยในคลิกเดียว ไม่ต้องกด Paste หรือกดคีย์บอร์ดทางลัด Ctrl + V ซ้ำ
ของใหม่อย่างอื่นได้แก่ โคเด็ค AV1 รองรับ Encrypted Media Extensions (EME), Firefox PDF รองรับการไฮไลท์ข้อความ, บล็อกการดาวน์โหลดจาก URL ที่ไม่น่าเชื่ออัตโนมัติ, เลือกใช้ Web Proxy Auto-Discovery ได้, Firefox View แสดงแท็บที่ปักหมุดได้
ที่มา: Mozilla
กลุ่มผู้พัฒนาเว็บเบราว์เซอร์ 4 รายใหญ่คือ Apple, Google, Microsoft, Mozilla ที่เป็นเจ้าของเอนจิน 3 ตัวหลัก Blink/V8, Gecko/SpiderMonkey, WebKit/JavaScriptCore ร่วมกันเปิดตัวเบนช์มาร์คเวอร์ชันใหม่ Speedometer 3
Speedometer เริ่มพัฒนาครั้งแรกในปี 2014 โดยทีม WebKit จากนั้นออกเวอร์ชัน 2 ในปี 2018 และใช้งานเรื่อยมา ในปี 2022 กลุ่มผู้พัฒนาเว็บเบราว์เซอร์ประกาศร่วมกันทำ Speedometer 3 และวันนี้สำเร็จเป็นรูปเป็นร่างมาให้ใช้งานกันแล้ว
Mozilla Corporation ประกาศเปลี่ยนตัวซีอีโอ โดย Mitchell Baker ซีอีโอที่รับตำแหน่งนี้มาตั้งแต่ปี 2020 จะกลับไปเป็นประธานบอร์ดอีกครั้ง (เธอเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง Mozilla และเป็นซีอีโอมารอบหนึ่งในปี 2003-2008) และไปทำงานด้านนโยบาย การเป็นตัวแทนองค์กรบนเวทีสัมมนา การพบปะกับภาคส่วนต่างๆ ให้มากขึ้น
Mozilla เคยมีบริการเฝ้าระวังรหัสผ่าน-ข้อมูลส่วนตัวหลุดตามเว็บไซต์ต่างๆ ชื่อ Firefox Monitor โดยจะตรวจสอบบัญชีอีเมลและรหัสผ่านของเราที่เซฟใน Firefox เทียบกับข้อมูลหลุดที่ขายอยู่บนอินเทอร์เน็ต
ล่าสุด Mozilla เปลี่ยนชื่อบริการตัวนี้เป็น Mozilla Monitor และออกแพ็กเกจพรีเมียม Mozilla Monitor Plus ราคา 8.99 ดอลลาร์ต่อเดือน ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวได้ละเอียดขึ้น (เช่น ที่อยู่บ้าน บัญชีธนาคาร) พร้อมช่วยขอลบข้อมูลจากเว็บไซต์ซื้อขายข้อมูล (สายขาว) ให้เราได้อัตโนมัติ
Mozilla ออกมาแสดงความเห็นจากนโยบายใหม่ของแอปเปิล ที่ปฏิบัติตามกฎหมาย DMA ของสหภาพยุโรป ซึ่งเปิดให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้เบราว์เซอร์อื่นเป็นค่าเริ่มต้นง่ายขึ้น และผู้พัฒนาก็ไม่ต้องใช้ WebKit เป็นเอ็นจินได้ด้วย ทั้งหมดอาจฟังดูเป็นประโยชน์สำหรับผู้พัฒนาเบราว์เซอร์ 3rd Party แต่ Mozilla ไม่คิดเช่นกัน