Google เปิดให้ใช้งาน Imagen 3 เครื่องมือสร้างรูปภาพจากข้อความ (Text-to-Image) เวอร์ชันล่าสุดในสหรัฐฯ อัปเกรดความสามารถเพิ่มเติมจากโมเดลเวอร์ชันก่อน
ปลายปีที่ผ่านมา Google เปิดตัว Imagen 2 และเปิดให้ใช้ผ่านแพลตฟอร์ม Vertex AI และในงาน Google I/O เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาก็ประกาศเปิดตัว Imagen 3 แต่ก็เพิ่งจะเปิดให้ได้ลองใช้เงียบ ๆ ในอีกหลายเดือนต่อมา
Linux Foundation รับกลุ่มพัฒนาโมเดลปัญญาประดิษฐ์แบบเปิด Open Model Initiative (OMI) เข้ามาเป็นโครงการในสังกัด หวังแก้ปัญหาโมเดลสร้างภาพและวิดีโอรุ่นใหม่ๆ ใช้สัญญาอนุญาตที่จำกัดมากขึ้นเรื่อยๆ
OMI ก่อตั้งโดยหน่วยงานเล็กๆ 3 ราย ได้แก่ Invoke บริษัทแพลตฟอร์มสร้างภาพด้วย AI สำหรับงานโปรดักชันมืออาชีพ, ComfyOrg ทีมพัฒนา ComfyUI ระบบ GUI สำหรับโมเดล Stable Diffusion, Civitai แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนภาพ AI ของเหล่าครีเอเตอร์
GitHub เปิดบริการ Copilot Autofix การใช้ปัญญาประดิษฐ์ช่วยสแกนหาช่องโหว่ของโค้ด หลังเปิดทดสอบมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2024 โดยตอนแรกใช้ชื่อว่า Code scanning autofix แล้วเปลี่ยนมาใช้แบรนด์ Copilot แทน
ฟีเจอร์ Copilot Autofix เป็นส่วนหนึ่งของบริการสายความปลอดภัย GitHub Advanced Security (GHAS) โดยใช้เทคนิคหลายอย่างผสมผสานกัน ทั้งการใช้ภาษาคิวรีโค้ด CodeQL, โมเดล GPT-4o และเทคนิค heuristic ผสมกับ Copilot API สำหรับสร้างโค้ดที่แก้ไขช่องโหว่แล้ว
Runway เปิดตัว Gen-3 Alpha Turbo โมเดลสร้างวิดีโอด้วยปัญญาประดิษฐ์รุ่นล่าสุด ที่พัฒนาต่อจากรุ่นก่อนหน้าคือ Gen-3 Alpha โดยมีจุดเด่นตามชื่อนั่นคือ สร้างวิดีโอได้เร็วขึ้น 7 เท่า พร้อมกับค่าใช้จ่ายที่ถูกลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับ Gen-3 Alpha
โมเดล Gen-3 Alpha Turbo เปิดให้ใช้งานสำหรับลูกค้า Runway ทุกเทียร์ รวมทั้งแผนใช้งานฟรี ซึ่งเป็นเป้าหมายของ Runway ที่ต้องการให้โมเดลสร้างวิดีโอจาก AI เข้าถึงผู้ใช้งานในวงกว้างมากที่สุด
Cristóbal Valenzuela ซีอีโอ Runway พูดถึงความเร็วในการสร้างวิดีโอจากโมเดล AI ตัวใหม่ ว่าจากนี้ผู้ใช้งานอาจพบว่าการนั่งเขียน Prompt ใช้เวลานานกว่ารอวิดีโอถูกสร้างขึ้นมาเสียอีก
Grammarly เปิดตัว Grammarly Authorship เครื่องมือสำหรับตรวจสอบว่าบทความนั้นถูกเขียนโดยมนุษย์ หรือเขียนขึ้นด้วย AI หรือใช้ AI แก้ไขเนื้อหา ซึ่ง Grammarly บอกว่าปัจจุบันมีเครื่องมือหลายตัวที่อ้างว่าสามารถตรวจจับบทความที่เขียนด้วย AI แต่ Authorship ใช้วิธีเชื่อมโยงกับเนื้อหาต้นฉบับในแอปและเว็บไซต์ถึง 5 แสนแห่ง เพื่อระบุว่าส่วนใดในบทความที่เขียนโดยคน ส่วนใดที่ตัดแปะ และส่วนใดที่เขียนด้วย AI
บริษัท Primate Labs ผู้สร้างแอพวัดเบนช์มาร์คชื่อดัง Geekbench เปิดตัวแอพวัดเบนช์มาร์คปัญญาประดิษฐ์ Geekbench AI เวอร์ชัน 1.0
ก่อนหน้านี้ Primate Labs เปิดทดสอบแอพตัวนี้มาสักระยะ แต่ใช้ชื่อว่า Geekbench ML ล่าสุดเปลี่ยนชื่อมาเป็น Geekbench AI ซึ่งบริษัทยอมรับตรงไปตรงมาว่าเป็นเพราะเหตุผลทางการตลาด ผู้ใช้งานแอพจะได้เข้าใจตรงกันว่าเอาไว้ทำอะไร
กูเกิลประกาศขยายประเทศที่รองรับ Google Search AI Overviews ฟีเจอร์ที่นำ AI มาช่วยตอบคำถามในหน้าผลการค้นหา หลังจากเปิดให้ผู้ใช้งานในอเมริกาทุกคนเมื่อเดือนพฤษภาคม
6 ประเทศที่เพิ่มเติมในรอบนี้ได้แก่ สหราชอาณาจักร อินเดีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เม็กซิโก และบราซิล พร้อมรองรับการให้คำตอบเป็นภาษาท้องถิ่น ซึ่งกูเกิลบอกว่าได้ทดสอบมาแล้วระยะหนึ่ง
นอกจากนี้ AI Overviews ยังปรับปรุงการแสดงผลลิงก์เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง โดยเวอร์ชันเดสก์ท็อปจะแสดงรายการลิงก์ที่ด้านขวา จากเดิมเป็น Card ด้านล่าง ส่วนเวอร์ชันมือถือแสดงลิงก์ที่มุมบนขวา ซึ่งกูเกิลบอกว่าการแสดงลิงก์ประกอบคำตอบนั้น ทำให้ทราฟิกเว็บที่ถูกระบุถึงเพิ่มสูงมากขึ้นด้วย
Financial Times รายงานว่า SoftBank เคยหารือกับอินเทล ในการพัฒนาชิปประมวลผลสำหรับปัญญาประดิษฐ์หรือ AI แต่สุดท้ายการเจรจาไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากอินเทลไม่สามารถทำตามเงื่อนไขของ SoftBank ได้
แหล่งข่าวระบุว่า SoftBank เป็นฝ่ายที่ขอยกเลิกแผนดังกล่าว โดยบอกว่าอินเทลไม่สามารถรองรับความต้องการจำนวนชิปที่ SoftBank ต้องการ ตลอดจนความเร็วในการส่งมอบได้ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนที่อินเทลจะประกาศปลดพนักงาน 15%
รายงานบอกว่า SoftBank ยังคงแสดงความต้องการพาร์ตเนอร์ในการผลิตชิป AI โดยตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการเจรจากับ TSMC ทั้งนี้อินเทลและ SoftBank ยังไม่ได้ออกมาแสดงความเห็นต่อข่าวดังกล่าว
หลังจาก Andrew Ng หนึ่งในผู้บุกเบิกงานวิจัยด้าน deep learning มาบรรยายในงาน KBTG Techtopia เมื่อเดือนที่ผ่านมา วันนี้เขาก็เพิ่งเล่าถึงประสบการณ์การเยือนประเทศไทยว่ามองเห็นโอกาสที่ประเทศไทยจะใช้ประโยชน์จาก AI ได้มาก
ตอนหนึ่งของการเล่าประสบการณ์ครั้งนี้ Andrew ระบุถึงการเข้าพบนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีของไทย ณ เวลานั้น ว่าแสดงความสนใจเทคโนโลยี AI พร้อมกับพูดคุยกับรัฐมนตรีว่าจะฝีึกทักษะด้าน AI ได้อย่างไรบ้าง และจะนำ AI ไปใช้พัฒนาการศึกษาได้อย่างไร โดยบทสนทนาอยู่กับความเสี่ยงที่เป็นจริง เช่น ข่าวปลอม โดยไม่ได้ถามคำถามประเภทมนุษย์จะสูญพันธุ์หรือไม่แต่อย่างใด
Meta จัดแข่งขัน AI Accelerator Program ปี 2024 ระดับเอเชียแปซิฟิก (รวมไทยด้วย) โดยแบ่งเป็นระดับประเทศ ที่นักพัฒนาไทยต้องส่งหัวข้อโครงการที่นำ Llama AI เข้าไปแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม จากนั้นผู้ผ่านการคัดเลือกจะไปแข่ง Meta Llama Hackathon ที่สิงคโปร์ในเดือนตุลาคม
การแข่งขันรอบประเทศไทย
ผู้ชนะจะไปแข่งต่อระดับภูมิภาคที่สิงคโปร์วันที่ 1-3 ตุลาคม 2024 โดยผู้ชนะจะได้รับเงินรางวัลมูลค่าสูงสุดถึง 100,000 เหรียญสหรัฐ รายละเอียดสามารถติดตามได้จากเว็บไซต์ของโครงการ
ที่มา - Meta
Anthropic ประกาศเพิ่มความสามารถ Prompt Caching สำหรับโมเดล Claude ให้กับนักพัฒนาเพื่อแคช Context ที่ถูกเรียกใช้ผ่าน Anthropic API บ่อย โดย Anthropic บอกว่าในคำตอบพื้นฐานหรือการให้ตัวอย่างผลลัพธ์นั้น สามารถลด Cost ได้สูงถึง 90% และลด Latency ได้ถึง 85% สำหรับ Prompt ที่มีขนาดยาว
ฟังก์ชัน Prompt Caching เริ่มใช้งานได้แล้วในสถานะพับลิกเบต้าบน Claude 3.5 Sonnet และ Claude 3 Haiku โดยจะรองรับ Claude 3 Opus เร็ว ๆ นี้
สหภาพนักแสดง-สมาคมศิลปินโทรทัศน์ และวิทยุแห่งอเมริกา หรือ SAG-AFTRA อนุมัติสัญญาระหว่างนักแสดงกับ Narrativ บริษัทปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้เสียงไปฝึกเพื่อใช้งานโฆษณา
สัญญาที่ Narrativ ทำกับนักแสดงจะเปิดให้นักแสดงสามารถระบุแนวทางการใช้งานเสียงของตัวเองได้ พร้อมกับระบุราคาค่าใช้งาน โดย SAG-AFTRA จะกำหนดราคาขั้นต่ำเอาไว้ หลังจากนั้นเมื่อผู้สร้างโฆษณาเลือกใช้เสียงของนักแสดงเพื่อทำโฆษณาแล้ว จะต้องส่งดราฟท์โฆษณาให้กับนักแสดงก่อน นักแสดงมีสิทธิ์ปฎิเสธไม่ให้ใช้เสียงของตัวเองได้ หากไม่พอใจโฆษณานั้น หรืออาจจะเรียกร้องค่าใช้งานเพิ่มเติมได้หลังดูตัวอย่างโฆษณา
xAI เผยแพร่โมเดล AI เวอร์ชันล่าสุดของ Grok มีสองโมเดลได้แก่ Grok-2 และ Grok-2 mini โดยทั้งสองโมเดลอยู่ในสถานะเบต้า ระบุว่าได้รับการปรับปรุงกระบวนการให้เหตุผล (reasoning) และมีผลทดสอบประสิทธิภาพที่ชนะทั้ง Claude 3.5 Sonnet และ GPT-4-Turbo
จุดเด่นของ Grok-2 คือการรองรับอินพุททั้งตัวหนังสือและรูปภาพ พร้อมกับเชื่อมต่อข้อมูลที่เป็นปัจจุบันจาก X ส่วน Grok-2 mini เป็นโมเดลที่มีขนาดเล็กกว่า โดยชดเชยเรื่องความเร็วในการให้คำตอบ นอกจากนี้ xAI ยังเริ่มทดสอบการทำงานร่วมกับโมเดลสร้างรูปภาพ FLUX.1 ของ Black Forest Labs ที่เพิ่งเปิดตัวด้วย จึงทำให้ Grok-2 รองรับการสร้างรูปภาพด้วย
ของใหม่ที่เปิดตัวพร้อม Pixel 9 เมื่อคืนนี้คือ Gemini Live หรือปัญญาประดิษฐ์ Gemini เวอร์ชันคุยโต้ตอบเสียงได้ตลอดเวลา แถมผู้ใช้ยังพูดแทรกได้เลย ไม่ต้องรอ Gemini พูดจบก่อนเหมือนกับ Google Assistant ในอดีต
ตอนนี้ Gemini Live ยังใช้ได้เฉพาะบน Pixel 9 แต่จริงๆ แล้วมันจะเปิดให้ผู้ที่ซื้อแพ็กเกจ Gemini Advanced ใช้งานได้ด้วย
เว็บไซต์ The Verge มีโอกาสทดสอบ Gemini Live ในงานเปิดตัว Pixel 9 และพบว่าใช้งานได้ดี ให้ความรู้สึกเหมือนคุยกับเด็กวัยสักประมาณ 9 ขวบที่พูดอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ The Verge ยังได้คำยืนยันจากกูเกิลว่า Gemini Live เวอร์ชัน iOS จะตามมาในอีกไม่ช้า
ในงาน Made by Google วันนี้กูเกิลเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ใน Pixel 9 หลายรายการ โดยอาศัยฟีเจอร์ด้านปัญญาประดิษฐ์ ได้แก่ Gemini Live, Pixel Studio, Pixel Screenshots, และ Call Notes
Gemini Live เปิดตัวตั้งแต่งาน Google I/O ที่ผ่านมา เป็นแอป Gemini เวอร์ชั่นเสียงที่สามารถตอบโต้ได้คล้ายการพูดคุยกับคนจริงๆ ฟีเจอร์นี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะ Pixel แต่ให้ทุกคนที่สมัครแพ็กเกจ Gemini Advanced ดังนั้นผู้ซื้อ Pixel 9 ทั้งหมดก็จะได้ใช้งานด้วย
Pixel Studio เป็นแอปสร้างภาพจากข้อความโดยอาศัยโมเดลในโทรศัพท์เอง และ Imagen 3 บนคลาวด์ สามารถใช้สร้างสติกเกอร์เฉพาะไว้คุยแชตได้
เมื่อ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา Black Forest Labs สตาร์ทอัปด้านปัญญาประดิษฐ์ ได้เปิดตัวบริษัทอย่างเป็นทางการ พร้อมกับเปิดตัวโมเดล AI สร้างรูปภาพจากข้อความ (Text-to-Image) ชื่อว่า FLUX.1 ซึ่งเป็นกระแสทันทีที่เปิดตัว เพราะ FLUX.1 ชูจุดขายการสร้างรูปภาพบุคคลที่สมจริงมากกว่าโมเดลอื่นในตลาด
FLUX.1 มี 3 โมเดลให้ใช้งานได้แก่ Pro สามารถใช้งานได้ผ่าน API ของ Black Forest Labs หรือผ่านพาร์ตเนอร์ Replicate และ fal.ai, Dev สำหรับงาน Non-commercial สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ GitHub หรือ HuggingFace และ Schnell สำหรับการใช้งานส่วนบุคคลหรือรันบนโลคอล นอกจากนี้มีช่องทางอื่นสำหรับทดลองใช้งานเช่น NightCafe เป็นต้น
Palantir บริษัทซอฟต์แวร์วิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ที่มีลูกค้าเป็นหน่วยงานรัฐบาลด้านความมั่นคง ประกาศความร่วมมือกับไมโครซอฟท์ เพื่อนำเทคโนโลยี AI และการวิเคราะห์ข้อมูล มาให้บริการกับหน่วยงานความมั่นคงของสหรัฐ
รายละเอียดของความร่วมมือบอกว่าไมโครซอฟท์จะนำเทคโนโลยีโมเดลภาษาขนาดใหญ่หรือ LLM ที่ให้บริการบน Azure OpenAI Service มาเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์ม AI ของ Palantir หรือ AIP ทั้งหมดทำงานบนคลาวด์ที่ให้บริการสำหรับลูกค้ารัฐบาลของไมโครซอฟท์
Palantir และไมโครซอฟท์ไม่ได้ลงรายละเอียดว่าเทคโนโลยีนี้จะนำมาใช้กับข้อมูลส่วนใด แต่บอกว่ามีส่วนความลับขั้นสุดยอด (Top Secret) รวมอยู่ด้วย
OpenAI ประกาศว่าผู้ใช้งาน ChatGPT แบบฟรี สามารถสร้างรูปภาพด้วย DALL·E 3 สองรูปภาพต่อวัน จากก่อนหน้านี้ความสามารถถูกจำกัดให้เฉพาะลูกค้าเสียเงิน ChatGPT Plus และ Enterprise
การสร้างรูปภาพด้วย DALL·E 3 สามารถทำได้ผ่าน Prompt ใน ChatGPT ได้เลย
OpenAI บอกว่าตอนนี้กำลังทยอยอัปเดต DALL·E 3 ให้ผู้ใช้งาน ChatGPT แบบฟรี บางคนจึงอาจยังไม่ได้ความสามารถดังกล่าวในตอนนี้
ที่มา: The Verge
Hugging Face ประกาศซื้อกิจการ XetHub สตาร์ทอัปที่พัฒนาสตอเรจสำหรับงานแอพพลิเคชัน Machine Learning และ AI ซึ่งสามารถรองรับความต้องการของ Hugging Face ได้
Yucheng Low ซีอีโอ XetHub กล่าวว่าวิสัยทัศน์ของ Hugging Face คือการนำโมเดล AI มาเผยแพร่ให้กับทุกคน ซึ่งต้องการพื้นที่รองรับการเก็บข้อมูลและการเข้าถึง การที่ XetHub เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ Hugging Face จึงช่วยเติมเต็มวิสัยทัศน์นี้สำหรับอนาคตของ AI ได้ ส่วน Julien Chaumond ซีทีโอ Hugging Face บอกว่าความท้าทายจากนี้คือขนาด Repository ที่ใหญ่มากขึ้น ปัจจุบัน Hugging Face มี Repo ถึง 1.3 ล้านโมเดล, ข้อมูล 450k datasets, รีเควสวันละ 1B และแบนด์วิธที่ Cloudfront วันละ 6PB
DeepMind เผยแพร่งานวิจัยการพัฒนาหุ่นยนต์ตีปิงปองหรือเทเบิลเทนนิส ซึ่งสามารถแข่งขันกับมนุษย์ได้ โดยมีความท้าทายในการพัฒนาทั้งความเร็วของหุ่นยนต์ การระบุตำแหน่งที่แม่นยำ และการตัดสินใจวิธีตีตอบโต้ตามสถานการณ์
ในการพัฒนาความสามารถหุ่นยนต์ DeepMind ใช้ 4 เทคนิค ได้แก่ การให้เข้าใจกติกาพื้นฐาน, เทรนข้อมูลวิธีตีลูกกลับ, การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมจากคู่แข่งที่ไม่เคยเจอ และการเรียนรู้ปรับปรุงเพิ่มเติมจากวิธีการใหม่ที่ไม่เคยเจอมาก่อน
Humane สตาร์ทผู้พัฒนาอุปกรณ์ผู้ช่วยปัญญาประดิษฐ์ AI Pin อาจยังอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก โดยมีรายงานจาก The Verge ซึ่งอ้างเอกสารภายในเกี่ยวกับยอดขายและยอดคืนสินค้า พบว่าตัวเลขเมื่อเดือนมิถุนายน หลังจากสินค้าเริ่มจัดส่งในเดือนเมษายน มีจำนวนคนที่มีอุปกรณ์นี้อยู่ประมาณ 8,000 ชิ้น แต่ตัวเลขล่าสุดในเดือนสิงหาคม มีคนที่ยังมีอุปกรณ์นี้เหลืออยู่ 7,000 ชิ้น เนื่องจากมีการขอคืนสินค้า เท่ากับว่าแม้ช่วงที่ผ่านมา AI Pin อาจขายเพิ่มเติมได้บ้าง แต่จำนวนการคืนสินค้ามีมากกว่ามาก
Automattic บริษัทแม่ของ WordPress.com เปิดตัวเครื่องมือ Write Brief with AI เป็นการนำ AI มาช่วยปรับสำนวนการเขียนบล็อกของเราให้สั้นกระชับมากขึ้น
รูปแบบการใช้งานคือใช้ AI ให้อ่านเนื้อหาที่เราเขียน แล้วให้คะแนน "ความอ่านง่าย" พร้อมแนะนำจุดที่ควรปรับปรุง เช่น การเลือกใช้คำที่ซับซ้อนเกินไป การแต่งประโยคที่ยาวเกินไป หรือการเลือกใช้คำที่ไม่มีความหมายชัดเจน แสดงถึงความไม่มั่นใจของผู้เขียน (เช่น may / could / might / possibly) เราสามารถเลือกประโยคที่ขีดเส้นใต้เพื่อให้ AI ช่วยแนะนำได้ว่าควรแก้อย่างไร
สำนักข่าว Reuters รายงานข้อมูลอ้างจากคนที่เกี่ยวข้องโดยตรง 4 คน บอกว่าเมื่อประมาณ 7 ปีที่แล้ว อินเทลได้รับข้อเสนอให้ลงทุนใน OpenAI ที่เวลานั้นยังมีสถานะเป็นบริษัทวิจัยปัญญาประดิษฐ์ที่ไม่แสวงหากำไร กำลังวิจัยหัวข้อเกี่ยวกับ Generative AI
ผู้บริหารของอินเทลและ OpenAI ได้หารือกันหลายครั้งช่วงปี 2017-2018 ข้อเสนอการลงทุนนั้นมีหลายอย่าง เช่น OpenAI เสนอให้อินเทลถือหุ้น 15% โดยจ่ายเงินสด 1 พันล้านดอลลาร์ รวมทั้งให้ข้อเสนอถือหุ้นเพิ่มอีก 15% แลกกับอินเทลต้องขายฮาร์ดแวร์ประมวลผลให้ OpenAI ที่ราคาต้นทุน
KNIME บริษัทซอฟต์แวร์ด้าน Data Science และ AI แบบโอเพนซอร์ส ประกาศรับเงินเพิ่มทุน 30 ล้านดอลลาร์ จากผู้ลงทุนเดิมคือกองทุน Invus ซึ่งลงทุนแล้วรวม 50 ล้านดอลลาร์
เงินลงทุนรอบใหม่นี้ KNIME บอกว่าจะนำมาใช้ขยายทีมงาน จากปัจจุบันมีพนักงาน 250 คนทั่วโลก ดูแลลูกค้าองค์กรที่จ่ายเงินใช้งานเกือบ 400 แห่ง มีรายได้ปีที่ผ่านมา 30 ล้านยูโร
KNIME เป็นซอฟต์แวร์ด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลแบบ low-code มีผู้ใช้งานเกือบ 5 แสนคน โมเดลรายได้คือการขายซอฟต์แวร์ให้ลูกค้าองค์กรที่มีการสนับสนุน และใช้งานฟีเจอร์ต่าง ๆ ได้เต็มประสิทธิภาพ
404 Media รายงานว่า NVIDIA แอบดูดข้อมูลจาก Youtube และ Netflix เพื่อนำมาเทรน AI อ้างอิงจากหลักฐานหลายส่วนไม่ว่าจะเป็นข้อความ Slack, อีเมล ตลอดจนเอกสารภายในอื่น ๆ
Ming-Yu Liu รองหัวหน้าทีมวิจัยของ Nvidia และผู้นำในโปรเจกต์ดังกล่าวเผยผ่านอีเมลว่า ในแต่ละวัน AI จะได้ข้อมูลภาพ ที่เยอะที่เทียบเท่ากับช่วงเวลาชีวิตของคนๆ นึงหรือราว 80 ปี มาฝึก
หนึ่งในพนักงานที่ไม่ประสงค์ออกนามเผยว่าตนได้รับมอบหมายให้ดึงข้อมูลจาก Netflix, Youtube และแหล่งข้อมูลออนไลน์อื่น ๆ สำหรับนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ AI ต่าง ๆ ของบริษัท ไม่ว่าจะเป็น Omniverse หรือระบบรถยนต์ไร้คนขับ ที่ต้องการการข้อมูลเชิงฟิสิกส์จำนวนมาก