404 Media รายงานว่า NVIDIA แอบดูดข้อมูลจาก Youtube และ Netflix เพื่อนำมาเทรน AI อ้างอิงจากหลักฐานหลายส่วนไม่ว่าจะเป็นข้อความ Slack, อีเมล ตลอดจนเอกสารภายในอื่น ๆ
Ming-Yu Liu รองหัวหน้าทีมวิจัยของ Nvidia และผู้นำในโปรเจกต์ดังกล่าวเผยผ่านอีเมลว่า ในแต่ละวัน AI จะได้ข้อมูลภาพ ที่เยอะที่เทียบเท่ากับช่วงเวลาชีวิตของคนๆ นึงหรือราว 80 ปี มาฝึก
หนึ่งในพนักงานที่ไม่ประสงค์ออกนามเผยว่าตนได้รับมอบหมายให้ดึงข้อมูลจาก Netflix, Youtube และแหล่งข้อมูลออนไลน์อื่น ๆ สำหรับนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ AI ต่าง ๆ ของบริษัท ไม่ว่าจะเป็น Omniverse หรือระบบรถยนต์ไร้คนขับ ที่ต้องการการข้อมูลเชิงฟิสิกส์จำนวนมาก
หลังจาก Elon Musk ถอนฟ้อง OpenAI และสองผู้ร่วมก่อตั้งคือ Sam Altman ซีอีโอ และ Gregory Brockman ประธานบอร์ด ไปเมื่อเดือนเมษายน โดยไม่ระบุเหตุผลแน่ชัด
ล่าสุด Elon กลับมายื่นฟ้อง OpenAI และสองผู้ก่อตั้งใหม่อีกรอบ (โดยไม่ระบุเหตุผลเช่นกันว่าทำไมกลับมา) โดยเนื้อหาในคำฟ้องส่วนใหญ่ยังเหมือนของเดิม คือเป็นเรื่องผิดสัญญา ละเมิดข้อตกลง โฆษณาเกินจริง และความใกล้ชิดกับไมโครซอฟท์ซึ่งทำให้ภารกิจของ OpenAI ผิดจากที่เขาวางไว้ในตอนแรก
Grok โมเดล LLM ของ xAI ที่มี Elon Musk เป็นเจ้าของ ได้แพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ 2024 โดย Grok ได้ให้ข้อมูลว่า การเสนอชื่อกมลา แฮร์ริส เข้าเป็นผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ได้เลยกำหนดไปแล้วในบางมลรัฐ จึงไม่สามารถเสนอชื่อเธอแทนโจ ไบเดน ได้
Secretary of State จาก 5 มลรัฐ นำโดยสตีฟ ไซมอน จากมินนิโซตา จึงได้ร่อนจดหมายเปิดผนึกถึงอีลอน มัสก์ เพื่อให้เขาแก้ไขความผิดพลาดของ AI ผู้ช่วยดังกล่าวทันที “เพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง”
Secretary of State ในที่นี้คือตำแหน่งด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ใช่รัฐมนตรีต่างประเทศที่ใช้คำภาษาอังกฤษคำเดียวกัน
เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาทีมวิจัยรวมระหว่าง Massachusetts Institute of Technology, California Institute of Technology, และ Northeastern University นำเสนอรายงานถึงสถาปัตยกรรม Kolmogorov Arnold Networks (KANs) ที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก Kolmogorov–Arnold representation theorem โดย KAN อาจจะเป็นแนวทางใหม่ในการสร้าง neural network ที่ขนาดเล็กลงแต่ประสิทธิภาพคงเดิม และทำความเข้าใจโมเดลปัญญาประดิษฐ์ได้ง่ายขึ้นเทียบกับโมเดลที่พารามิเตอร์มหาศาลทุกวันนี้
The Wall Street Journal มีรายงานพิเศษอ้างแหล่งข่าวภายใน OpenAI ว่าบริษัทมีโครงการพัฒนาเครื่องมือตรวจจับ ว่าบทความหรือเอกสารงานวิจัยนั้นใช้ ChatGPT เขียนให้หรือไม่
โครงการดังกล่าวเริ่มพัฒนาและหารือกันตั้งแต่เมื่อสองปีที่แล้ว ตัวเครื่องมือนั้นพร้อมใช้งานได้ตั้งแต่หนึ่งปีก่อน เหลือแค่ OpenAI อยากจะปล่อยออกมาเมื่อใดเท่านั้น
อ่านถึงตรงนี้อาจมีคำถามว่าแล้วทำไม OpenAI ไม่เผยแพร่เครื่องมือที่ดูเป็นประโยชน์นี้?
Stability AI เปิดตัว Stable Fast 3D (SF3D) เทคโนโลยีการสร้างวัตถุสามมิติจากรูปภาพเพียงหนึ่งรูป โดยมีจุดขายตามชื่อ นั่นคือการสร้างวัตถุสามมิติได้ในเวลาเพียง 0.5 วินาที
ก่อนหน้านี้ เคยออกโมเดลสร้างวัตถุสามมิติจากรูปภาพ Stable Video 3D แต่โมเดลนั้นใช้เวลาระดับ 10 นาที ในการสร้างผลลัพธ์ออกมา โมเดล Stable Fast 3D จึงรวดเร็วกว่ามาก
Character.AI แพลตฟอร์มแชทบอตที่ให้ผู้ใช้งานสนทนากับตัวแทนเสมือนของบุคคลมีชื่อเสียง หรือคาแรกเตอร์ที่เป็นที่รู้จัก ที่ก่อตั้งโดยสองอดีตพนักงานกูเกิล ประกาศการเปลี่ยนแปลงในฝ่ายบริหาร โดยสองผู้ร่วมก่อตั้ง Noam Shazeer (ซีอีโอ) และ Daniel De Freitas จะกลับไปร่วมงานกับกูเกิล รวมทั้งนำพนักงานไปด้วยจำนวนหนึ่ง
การกลับไปร่วมงานกับกูเกิลนี้เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลง ที่กูเกิลจะจ่ายเงินไลเซนส์ใช้งาน Character.AI สำหรับพัฒนาโมเดล LLM แบบไม่เอ็กคลูซีฟ โดยทีมงาน Character.AI ที่ย้ายไปกูเกิลจะเข้าร่วมทีม DeepMind
ไม่ได้มีแต่แอปเปิลเท่านั้นที่มีประเด็นเรื่องหนังโฆษณา ล่าสุดกูเกิลประกาศถอดโฆษณาที่ฉายเกาะกระแสโอลิมปิก เนื้อหาเป็นพ่อแนะนำให้ลูกใช้ Gemini ช่วยเขียนจดหมายถึงนักวิ่งที่ชื่นชอบ
โฆษณาชิ้นนี้เป็นกูเกิลร่วมกับทีมนักกีฬาสหรัฐ (Team USA) เนื้อหาเป็นพ่อที่สอนลูกสาวซึ่งสนใจกีฬาวิ่ง และเป็นแฟนของ Sydney McLaughlin-Levrone นักกรีฑาทีมชาติสหรัฐ จึงอยากเขียนจดหมายไปหา Sydney เพื่อแสดงความชื่นชม และบอกว่าในอนาคตอยากจะทำลายสถิติของ Sydney ให้ได้
ประเด็นที่เป็นปัญหาของโฆษณาชิ้นนี้คือการใช้ Gemini ช่วยแต่งจดหมายให้ แทนการให้ลูกสาวเขียนเอง ซึ่งถูกวิจารณ์ว่าไม่สะท้อนความตั้งใจของตัวลูกสาว และเรื่องแบบนี้ควรเขียนเองมากกว่าใช้ AI เข้ามาช่วย
กูเกิลเปิดตัว Project Green Light โครงการนำ AI มาช่วยวิเคราะห์จังหวะไฟเขียว-ไฟแดง เพื่อลดปัญหาจราจรติดขัด และลดมลพิษจากการที่รถยนต์ต้องจอดติดไฟแดงนานๆ ไปด้วยในตัว
โครงการนี้เริ่มมาจาก Google Research ที่พบปัญหาว่า การควบคุมไฟเขียวไฟแดงให้มีประสิทธิภาพ ต้องใช้ฮาร์ดแวร์ราคาแพง หรือใช้คนมานั่งนับจำนวนรถเอา ปัญหาลักษณะนี้สามารถใช้ AI มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลสภาพจราจร โดยดึงจากข้อมูลใน Google Maps แล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟที่เหมาะสมได้
Upwork แพลตฟอร์มจัดหางานออกรายงานสำรวจคนทำงานในองค์กร 2,500 คนตั้งแต่ระดับบริหาร, พนักงาน, ไปจนถึงฟรีแลนซ์ ถึงการใช้เครื่องมือ AI ในการทำงาน พบว่าผู้บริหารตื่นเต้นกับ AI และสร้างความคาดหวังกับตัวพนักงานว่าจะต้องสามารถทำงานได้เพิ่มขึ้นขณะที่ตัวพนักงานนั้นอาจจะไม่ได้พร้อมใช้งานเครื่องมือเหล่านั้น และหลายครั้งการใส่เครื่องมือเข้ามาก็ทำให้ทำงานยากกว่าเดิม
ความคาดหวังสูงสุดของผู้บริหารต่อพนักงานคือการใช้ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (37%) เมื่อมองฝั่งพนักงานแล้วกลับพบอาการ burn-out จากความพยายามทำตามความคาดหวังขององค์กร และผู้บริหารส่วนใหญ่ (69%) ก็รู้ว่าพนักงานทำงานตามที่คาดหวังได้ลำบาก
Mark Zuckerberg ซีอีโอ Meta และ Susan Li ซีเอฟโอ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมหลังจากบริษัทรายงานผลประกอบการไตรมาสล่าสุด ซึ่งเติบโตทั้งรายได้และกำไรสุทธิ แม้บริษัทจะมีค่าใช้จ่ายการลงทุน AI ที่มากขึ้น
Li บอกว่าในแง่การเงินนั้น ผลตอบแทนการลงทุน AI คาดว่าต้องใช้เวลานานมากขึ้นกว่าที่เคยประเมินไว้ ขณะที่ Zuckerberg บอกว่าตอนนี้ยังเป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาว่าเทรนด์ AI จะเห็นผลตอบแทนเป็นรูปธรรมมากแค่ไหน แต่ในตอนนี้ Meta เลือกเสี่ยงสร้างทรัพยากรมารองรับไว้ก่อน เพื่อไม่ให้ช้าเกินไปหากเทรนด์นี้มาจริง ๆ
ไมโครซอฟท์ส่งรายงานประจำปีให้กับ SEC หรือ กลต. สหรัฐ หลังจากรายงานผลประกอบการตามปีการเงินบริษัทไตรมาสที่ 4 โดยมีข้อสังเกตคือบริษัทได้เพิ่ม OpenAI มาเป็นหนึ่งในบริษัทที่เป็นคู่แข่งของธุรกิจหลักบริษัทด้วย
ในเอกสารนั้นไมโครซอฟท์พูดถึงการแข่งขันในแต่ละธุรกิจบริการ โดยส่วนการให้บริการลูกค้าองค์กร ไมโครซอฟท์บอกว่ามีหลายบริษัทที่ให้บริการ AI ในสเกลขนาดใหญ่สำหรับองค์กร ทั้งบริษัทขนาดใหญ่อย่าง Amazon, กูเกิล รวมทั้งบริษัทที่เข้าสู่ตลาดนี้ไม่นานอย่าง Anthropic, OpenAI, Meta ตลอดจนบริการโอเพนซอร์สอื่น
มีรายงานจาก The Information อ้างเอกสายภายในไมโครซอฟท์ระบุว่า TikTok จ่ายเงินค่าใช้งาน Azure OpenAI Service ของไมโครซอฟท์ถึงเดือนละ 20 ล้านดอลลาร์ ซึ่งหากประเมินตามแผนของไมโครซอฟท์ที่คาดมีรายได้จากบริการ AI บน Azure ปีละ 1 พันล้านดอลลาร์ (เดือนละ 83 ล้านดอลลาร์) เท่ากับ TikTok เป็นแหล่งรายได้ถึงเกือบ 25% เลย โดยข้อมูลนี้เป็นข้อมูลช่วงเดือนมีนาคม ตัวเลขปัจจุบันจึงอาจสูงหรือน้อยกว่านี้
จากข่าว Meta เปิดบริการ AI Studio ให้ผู้ใช้งานสร้างอวาตารที่อิงกับความสนใจและลักษณะผู้ใช้งาน รวมทั้งสร้างแชทบอตไว้โต้ตอบกับผู้ติดตามได้ด้วย มีผลกับผู้ใช้งานในอเมริกา ก็มีประเด็นข้างกันนั่นคือแชทบอต Meta AI ที่นำคาแรกเตอร์บุคคลมีชื่อเสียง ซึ่งเปิดตัวเมื่อปีที่แล้วได้ปิดให้บริการด้วยเช่นกัน
เหตุผลที่ Meta อธิบายก็ตรงไปตรงมา ในเมื่อ AI Studio สามารถคัสตอมคาแรกเตอร์ขึ้นมาได้เองแล้ว Meta ก็ไม่จำเป็นต้องให้บริการแชทบอตที่อิงคาแรกเตอร์บุคคลมีชื่อเสียงอีกต่อไปนั่นเอง หากบุคคลมีชื่อเสียงต้องการสร้างแชทบอตก็พัฒนาขึ้นมาเองได้เลย
Meta เปิดบริการ AI Studio ให้ผู้ใช้สร้างอวตาร AI ของตัวเอง มีทั้งหน้าตา และลักษณะนิสัยเพื่อพูดคุยโต้ตอบกับเราในเรื่องที่สนใจได้
รูปแบบการใช้งานคล้ายกับแชทบอท Meta AI ที่เปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว ของเดิมเอาบุคลิกของดาราเซเล็บมาทำเป็นแชทบอท ของใหม่คือเปิดให้ปรับแต่งเองได้อิสระ สามารถแชทคุยได้ผ่าน Instagram, Messenger, WhatsApp รวมถึงแชร์ให้เพื่อนๆ คุยกับบอทของเราได้ด้วย
แอปเปิลเผยแพร่เอกสาร รายละเอียดของโมเดลปัญญาประดิษฐ์ที่พัฒนาขึ้นซึ่งเรียกว่า Apple Intelligence Foundation Language Models (AFM) โดยมีประเด็นน่าสนใจคือเทคโนโลยีที่แอปเปิลเลือกใช้ในการเทรนโมเดล AI เพราะแอปเปิลไม่ได้ใช้จีพียูของ NVIDIA
NVIDIA ประกาศความร่วมมือกับ Hugging Face นำเซิร์ฟเวอร์ NVIDIA DGX Cloud ชิป H100 ออกมาให้บริการขายปลีกสำหรับรันโมเดลโดยคิดตามเวลารันจริง
ผู้ใช้ที่ต้องการใช้บริการนี้ต้องเป็นสมาชิก Hugging Face แบบ Enterprise (เดือนละ 20 ดอลลาร์ต่อคน) และจะสามารถเรียกใช้โมเดลผ่านทางตัวเลือก "NVIDIA NIM Enterprise" โดยเรียกผ่านทางไลบรารี openai ในภาษา Python ได้เลย โดยก่อนหน้านี้ Hugging Face เคยนำชิป H100 มาให้บริการสำหรับการฝึกโมเดลมาก่อนแล้ว
Canva ประกาศซื้อกิจการ Leonardo.AI หนึ่งในสตาร์ทอัปที่มาแรงในออสเตรเลีย ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของ Canva เช่นกัน ดีลดังกล่าวไม่ได้เปิดเผยมูลค่าในการซื้อ โดยเป็นดีลซื้อกิจการแห่งที่สองในปีนี้ของ Canva ต่อจาก Affinity
Leonardo.AI เป็นบริษัทพัฒนาโมเดล Generative AI และทำงานด้านวิจัยโดยเฉพาะ มีโมเดลหลักคือ Phoenix ที่สามารถสร้างรูปภาพจาก Prompt ซึ่งมีรายละเอียดและสามารถนำไปใช้งานต่อได้ทันที แพลตฟอร์มมีผู้ใช้งานลงทะเบียนมากกว่า 19 ล้านบัญชี ลูกค้ามีทั้งอุตสาหกรรมโฆษณา การตลาด ออกแบบ บันเทิง สถาปัตยกรรม แฟชั่น อีคอมเมิร์ซ และการศึกษา
Meta ปล่อยโมเดล Segment Anything Model (SAM) เวอร์ชั่นที่สองที่สามารถแยกส่วนวัตถุใดๆ ก็ได้ในภาพ โดยมีความสามารถเพิ่มขึ้นระดับที่สามารถจับวัตถุที่ไม่มีในชุดข้อมูลฝึกมาก่อน
แนวทางการใช้งานโมเดล SAM เช่น การจับการเคลื่อนไหววัตถุ, การสร้างเอฟเฟควิดีโอ, ตลอดจนการลบฉากหลังเมื่อประชุม โดยโมเดลต้องการอินพุตเป็น จุด, กล่อง, หรือพื้นที่ ของเฟรมเริ่มต้น ทั้งแบบ positive พื้นที่แสดงวัตถุกที่ต้องการ, และ negative พื้นที่แสดงว่าไม่ใช่วัตถุที่ต้องการ จากนั้นโมเดลสามารถวาดหาพื้นที่ของวัตถุทั้งหมดได้อัตโนมัติ และสามารถจดจำได้ว่ากำลังจับวัตถุอะไรอยู่
Getty Images ประกาศอัปเดตโมเดล Generative ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เคยเปิดตัวไปก่อนหน้านี้ ได้แก่ Generative AI by Getty Images และ Generative AI by iStock โดยเพิ่มความเร็วในการสร้างรูปภาพอยู่ที่ระดับ 6 วินาทีต่อ 4 รูป เร็วขึ้นสองเท่าจากโมเดลก่อนหน้านี้ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้ผู้ใช้งาน
โมเดลตัวใหม่นี้สร้างขึ้นบนสถาปัตยกรรม NVIDIA Edify ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ NVIDIA Picasso สำหรับงาน Generative AI ด้านการออกแบบรูปภาพ ที่ได้ปรับปรุงการรองรับ Prompt ที่ยาวและลงรายละเอียดมากขึ้น, อัปสเกลภาพเป็น 4K, กำหนดรายละเอียดมุมกล้อง และปรับแต่งโมเดลได้
Getty Images ใช้คลังรูปภาพของตนเองในการเทรนโมเดล
กูเกิลสร้างโมเดลปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถทำนายความเสี่ยงถึงเหตุการณ์ชนิดรุนแรงจากสาเหตุหัวใจและหลอดเลือด (Major adverse cardiovascular events - MACE) ได้ใกล้เคียงกับการตรวจในโรงพยาบาลเป็นผลสำเร็จ แม้จะใช้เพียงสัญญาณหัวใจจากเครื่องอ่านแบบ photoplethysmographs (PPGs) หรือเซ็นเซอร์หัวใจที่เราใช้งานกันในเครื่องวัดออกซิเจนหรือนาฬิกาวัดอัตราการเต้นหัวใจโดยทั่วไป แต่ยังได้ความแม่นยำในการเตือนใกล้เคียงกับการตรวจในโรงพยาบาล
คำถาม: (ซึ่งมีคนถามในช่องความเห็น) จากข่าว X เพิ่มการตั้งค่าการนำข้อมูลโพสต์ไปเทรน AI Grok โดยเปิดอนุญาตเป็นค่าเริ่มต้น แบบนี้ EU ไม่ว่าเหรอ?
คำตอบ: EU ยังไม่มา แต่สหราชอาณาจักรกับไอร์แลนด์มาแล้ว
หน่วยงานกำกับดูแลด้านการปกป้องข้อมูล ทั้งของสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ เปิดเผยว่าได้ติดต่อ X ในประเด็นดังกล่าวแล้ว โดยทางสหราชอาณาจักรบอกว่าข้อกำหนดด้านข้อมูลของสหราชอาณาจักร ซึ่งอิงแนวทางของกลุ่มสหภาพยุโรป ระบุว่าบริษัทไม่สามารถติ๊กถูกอนุญาตเป็นค่าเริ่มต้น หากเป็นหัวข้อที่ต้องได้รับการยินยอม ฉะนั้นกรณีของ X ที่ติ๊กถูกให้นำข้อมูลไปเทรน AI เป็นค่าเริ่มต้น จึงไม่ถูกต้อง
เมื่อปีที่แล้วรัฐบาลไบเดนได้ให้บริษัทที่พัฒนาปัญญาประดิษฐ์ในสหรัฐ ให้สัญญากับสังคมแบบสมัครใจ ว่าจะพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ที่ปลอดภัย (Safety), มั่นคง (Security) และน่าเชื่อถือ (Trustworthy) โดยมีบริษัทร่วมทำข้อตกลง 15 แห่ง
ล่าสุดรัฐบาลไบเดนประกาศว่า แอปเปิล คือบริษัทล่าสุดที่ประกาศร่วมทำข้อตกลงนี้ด้วย เนื่องจากบริษัทเพิ่มเปิดตัวปัญญาประดิษฐ์ Apple Intelligence นั่นเอง
ข้อตกลงนี้ยังมีสถานะเป็นแนวทางที่สะท้อนการควบคุมกำกับดูแลปัญญาประดิษฐ์ แต่ยังไม่มีผลในทางกฎหมาย
X หรือ Twitter ได้เพิ่มการตั้งค่าที่ระบุว่าบริษัทสามารถนำข้อมูลโพสต์ของผู้ใช้งานที่เป็นสาธารณะ ไปใช้เทรนโมเดล AI ของ Grok ระบบ AI ผู้ช่วยของ xAI ที่ Elon Musk เป็นเจ้าของเช่นกัน การตั้งค่านี้จะเปิดเป็นค่าเริ่มต้น ดังนั้นหากไม่ต้องการให้ข้อมูลถูกนำไปเทรนต้องไปปิดเอง
ในตอนนี้การตั้งค่าดังกล่าวมีเฉพาะเวอร์ชันบนเว็บเท่านั้น หน้าการตั้งค่านี้ของแอปมือถือจะมีตามมาในภายหลัง หากต้องการปิดการนำข้อมูลไปเทรน ให้ไปที่ Settings > Privacy and safety > Grok และเลือกเครื่องหมายถูกออก
นอกจากนี้ยังสามารถเลือกลบประวัติการสนทนากับแชทบอต AI เพิ่มเติมได้ด้วย
กูเกิลประกาศอัปเดตความสามารถของแชทบอต Gemini มีรายละเอียดดังนี้
นอกจากนี้ Gemini ยังปรับปรุงการให้คำตอบ โดยเพิ่มส่วนตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อคลิกที่ลูกศรท้ายคำตอบ จะแสดงลิงก์ที่เกี่ยวข้องมาให้
Gemini ยังประกาศขยายฟีเจอร์ใช้งานผ่าน Google Messages รองรับประเทศกลุ่มภูมิภาคยุโรปแล้ว และ Gemini for teens รองรับเพิ่มเป็น 40 ภาษา ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า (มีภาษาไทยด้วย)
ที่มา: กูเกิล