Microsoft ได้ซื้อกิจการใหม่อีกแห่งหนึ่ง โดยรอบนี้เป็นการซื้อกิจการ Wand Labs ซึ่งเป็นบริษัทที่เกี่ยวกับภาษาธรรมชาติและปัญญาประดิษฐ์
Wand Labs นั้นเป็นบริษัทสตาร์ทอัพ สร้างโดย Vishal Sharma ในปี 2013 มีผลงานคือแอพสำหรับส่งข้อความ ซึ่งมีเทคโนโลยีเบื้องหลังทำให้มันทำงานได้ฉลาดขึ้น ดีลนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างการสนทนาเป็นแพลตฟอร์ม "conversation as a platform" และทีมงานของ Wand Labs นี้จะเข้ามาทำงานกับทีมงาน Bing เพื่อทำงานด้าน intelligent agents และ chat bot
David Ku จาก Information Platform Group ของ Microsoft กล่าวว่า เทคโนโลยีและความสามารถของคนจาก Wand Labs จะช่วยให้ตำแหน่งของเราในยุคเริ่มต้นของ conversational intelligence นั้นแข็งแกร่งขึ้น
หลังจาก DeepMind เข้าสู่ตลาดการแพทย์ และประกาศความร่วมมือกับมูลนิธิ Ryal Free London NHS หรือบริการสุขภาพแห่งชาติของสหราชอาณาจักร เคยร่วมกันสร้างซอฟต์แวร์ Streams ที่ช่วยให้แพทย์ผู้ปฏิบัติงานสามารถดูผลแล็บของผู้ป่วยได้ในไม่กี่วินาที (เป็นโปรเจกต์เก่าปัจจุบันไม่ได้ใช้งานแล้ว) ล่าสุดทั้งสองมีโครงการใหม่ร่วมกันคือ นำระบบปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคให้ได้ภายใน 5 ปี ทำ MOU แล้วเมื่อต้นปีที่ผ่านมา
เมื่อไม่นานมานี้มีข่าว แพทย์สหรัฐฯทดลองให้หุ่นยนต์เย็บแผลผ่าตัดได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องมีมนุษย์ช่วย แม้เป็นการทดลองเย็บแผลผ่าตัดในสัตว์ แต่ผลออกมาดีเกินคาด แผลมีความเรียบร้อยเทียบเท่ากับหมอมืออาชีพทำ ล่าสุดนักวิจัยจากสถาบันการแพทย์ในวอชิงตันระบุว่า สิ่งนี้จะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิมต่อคนไข้
หุ่นยนต์ที่ว่านี้มีชื่อว่า Star รูปร่างเป็นแขนที่ยื่นออกมาพร้อมอุปกรณ์ติดตั้งแยก เช่น หน้าจอแสดงการผ่าตัด เครื่องมือผ่าตัด เซนเซอร์ ซึ่งแพทย์ทดลองให้ Star เย็บเนื้อเยื่อสองแผ่นของหมูให้ติดกัน โดยไม่ต้องมีแพทย์ช่วย ผลงานออกมาเทียบเท่าได้กับหมอผ่าตัดมืออาชีพมาทำเอง อย่างไรก็ตามการนำหุ่นยนต์มาแทนที่แพทย์ผ่าตัดในคนจริงๆยังต้องศึกษาอีกมาก
Keith Lillemoe หัวหน้าผ่าตัดที่โรงพยาบาลในแมสซาชูเซต ผู้ไม่ได้มีส่วนเกียวข้องกับงานวิจัยบอกกับผู้สื่อข่าวว่าไม่มีความกังวลว่าหุ่นยนต์จะมาแทนที่แพทย์ เพราะมีกรตัดสินใจในช่วงเวลาผ่าตัดอีกหลายอย่างที่หุ่นยนต์ทำแทนไม่ได้
ที่มา - The Washington Post
สำหรับคนที่ติดตามข่าวมหกรรมฟุตบอลชิงแชมป์ยุโรปหรือฟุตบอลโลก ไม่น่าจะพลาดข่าวสร้างสีสันกับการทำนายผลของสารพัดสัตว์ต่างๆ (ที่ดังที่สุดก็เห็นจะเป็นหมึกพอลที่ทายผลฟุตบอลโลก 2010 ได้แม่นถูกต้องทุกนัด) แต่ไหนเลยจะเอาแต่ปล่อยให้สัตว์ทำนาย นักวิจัยเองก็คิดว่าคอมพิวเตอร์ก็น่าจะฉลาดพอทำนายผลการแข่งขันได้เช่นกัน และสำหรับ Euro 2016 ที่เริ่มเปิดฉากขึ้นนี้ ก็มีปัญญาประดิษฐ์จากนักวิจัยในสวิตเซอร์แลนด์ทายผลการแข่งขันออกมาแล้ว ชื่อของมันคือ Kickoff.ai
Tharman Shanmugaratnam รองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ กล่าวปาฐกถาสั้นๆ ในโอกาสเปิดตัวศูนย์ IBM Watson Center Singapore เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีด้าน cognitive, AI, blockchain ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
รองนายก Tharman บอกว่าสิงคโปร์เป็นประเทศเล็ก มีคนน้อย เป้าหมายของรัฐบาลสิงคโปร์คืออยากให้ประชาชนทุกคนได้ทำงานที่มีคุณภาพ (ใช้คำว่า quality jobs) แม้การมาถึงของเทคโนโลยีใหม่ๆ จะทำลาย (disrupt) อุตสาหกรรมเก่าๆ บางอย่างลง ตำแหน่งงานบางอย่างจะหายไป แต่ในอีกมุม เทคโนโลยีเหล่านี้ก็เป็นตัวช่วย (enabling technology) สร้างตำแหน่งงานใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นด้วย
Tharman ยกตัวอย่างตำแหน่งงานใหม่ๆ อย่างงานด้าน AI, cognitive และอีคอมเมิร์ซ
เราคงเคยเห็นจากภาพยนตร์แนวไซ-ไฟหลายเรื่องที่ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI พัฒนาตนเองไปไกลจนถึงขั้นที่พวกมันไม่ต้องการมนุษย์อีกต่อไป เช่น The Terminator และ I, Robot และกลับกลายมาเป็นการทำลายหรือควบคุมมนุษย์แทน ซึ่ง Bill Gates และ Elon Musk ก็เคยแสดงความกังวลถึงประเด็นนี้เช่นกัน
ล่าสุดนักวิจัยจาก Google DeepMind องค์กรที่พัฒนา AlphaGo และนักวิจัยจาก The Future of Humanity Institute มหาวิทยาลัย Oxford ได้ร่วมกันตีพิมพ์เอกสารวิชาการเกี่ยวกับการ "กดปุ่มแดง" หรือการสั่งให้ AI หยุดการกระทำใดๆ ที่อาจนำไปสู่อันตราย โดยที่ AI ไม่สามารถเรียนรู้ที่จะขัดคำสั่งนั้นได้ด้วย
EFF (Electronic Frontier Foundation) องค์กรไม่หวังผลกำไรที่ทำด้านสิทธิของผู้ใช้งานไอที ได้เผยข้อมูลจากการศึกษาจนทราบว่าขณะนี้ FBI กำลังร่วมกับ NIST ซึ่งเป็นหน่วยงานออกมาตรฐานอุตสาหกรรมสหรัฐอเมริกา พัฒนาปัญญาประดิษฐ์ที่จะวิเคราะห์ภาพรอยสักเพื่อช่วยในการระบุตัวตนอาชญากร
แนวคิดของโครงการนี้คือการใช้พลังการวิเคราะห์ภาพถ่ายรอยสักเพื่อนำมาทำข้อมูลเฉพาะตัวของอาชญากรแต่ละคน ขั้นตอนแรกของการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์นี้เป็นการใช้ภาพถ่ายรอยสักของผู้ต้องคดีกว่า 15,000 ภาพ มาสอนให้ระบบรู้จักจำแนกแยกแยะลักษณะเฉพาะของรอยสักเหล่านั้น หลังจากนั้นจะเพิ่มจำนวนภาพถ่ายอีกกว่า 100,000 ภาพ โดยนำมาจากฐานข้อมูลของหน่วยงานรัฐใน Florida, Michigan และ Tennessee
Honda ตั้งศุนย์วิจัย AI แห่งใหม่ในโตเกียว โดยใช้ชื่อว่า Honda R&D Innovation Lab Tokyo หลังจากที่ก่อนหน้านี Honda ตั้งศูนย์วิจัยในไซตามะ และวาโกะเพื่อทำการวิจัยพัฒนาหุ่นยนต์ Asimo
Honda เชื่อว่าการตั้งศูนย์วิจัยในเมืองใหญ่อย่างโตเกียวจะช่วยให้ง่ายขึ้นในการร่วมงานกับบรรดามหาวิทยาลัย องค์กรต่างๆ รวมถึงบริษัทด้านเทคโนโลยีด้วย
Honda ตั้งเป้าว่าจะเร่งพัฒนาหุ่นยนต์และรถไร้คนขับที่ซึ่งหวังให้ใช้งานตามทางด่วนได้ภายในปี 2020
ที่มา - Japan Times
วันนี้ Blog ของ Facebook เปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ชื่อ Deep Text ที่ช่วยให้ Facebook เข้าใจข้อความที่ผู้ใช้โพสต์ และการสนทนาโต้ตอบมากขึ้น Deep Text คือระบบ deep learning ที่เข้าใจข้อความหรือเนื้อหาได้ถูกต้องและใกล้เคียงกับมนุษย์ ใช้เวลาในการทำความเข้าใจกว่า 1,000 โพสต์ต่อวินาที ใช้งานได้มากกว่า 20 ภาษา
แนวทางของ Amazon ที่เปิด Alexa ให้กับนักพัฒนาเข้าใช้งานได้อย่างเต็มที่ ทำให้บริการนี้เริ่มกระจายตัวไปยังอุปกรณ์อื่นๆ และล่าสุดเว็บไซต์ Echosim.io ได้เปิดบริการ Amazon Alexa ที่ใช้งานได้ผ่านเว็บไซต์ โดยไม่ต้องมีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการทดลองแต่อย่างใด ซึ่งทำเลียนแบบคุณสมบัติของ Amazon Echo แทบทุกประการ และสั่งงานได้ใกล้เคียงกัน (บางอันที่ต้องใช้งานคุณสมบัติเฉพาะทางอาจจะสั่งไม่ได้)
รศ.ดร.จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้พัฒนาแอพ Bagtector แอพมือถือที่อาศัยพลังของปัญญาประดิษฐ์มาวิเคราะห์ภาพถ่ายกระเป๋าหรูยี่ห้อ Hermes ว่ากระเป๋าใบดังกล่าวเป็นของแท้หรือไม่
Bagtector (bag + detector) ใช้พลังของโครงข่ายประสาทเทียมเชิงลึกที่ผ่านการสอนให้รู้จักภาพถ่ายโลโก้ Hermes ที่ถ่ายมาจากกระเป๋าของแท้กว่า 200 ใบ เทียบกับภาพถ่ายโลโก้ Hermes จากกระเป๋าปลอมสารพัดเกรดอีกกว่า 100 ใบ โดยใช้เวลานานกว่า 2 เดือน จนทำให้มันสามารถแยกแยะได้ว่าภาพโลโก้ Hermes แต่ละภาพนั้นเป็นภาพจากกระเป๋าของแท้หรือไม่ ซึ่งโลโก้บนกระเป๋าของแท้จะมีรายละเอียดเรื่องริ้วรอยที่เกิดจากแรงอัดในการประทับตราในกระบวนการผลิต ทั้งยังร่องรอยพื้นผิวของวัสดุกระเป๋าซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่ Bagtector สามารถนำมาใช้เพื่อการแยกแยะตรวจสอบหาของแท้-ของปลอมได้
Sony ประกาศว่าได้เข้าร่วมลงทุนกับ Cogitai บริษัทสตาร์ทอัพด้านปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถเรียนรู้ได้เองจากประสบการณ์จริงของสหรัฐอเมริกา เป็นจำนวนเงินที่ไม่เปิดเผย
Dr. Satinder Singh ผู้ร่วมก่อตั้ง Cogitai ระบุว่าการสร้างปัญญาประดิษฐ์ให้เรียนรู้ได้ด้วยตัวเองถือเป็นความท้าทายสำคัญ และการที่ปัญญาประดิษฐ์สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองนั้นถือเป็นก้าวต่อไป โดยบทบาทของ Sony นอกจากจะเป็นผู้ร่วมลงทุนแล้ว ยังจะทำงานร่วมกับทาง Cogitai ด้วย
เว็บไซต์นิตยสาร Wired ฝั่งประเทศอังกฤษ รายงานว่าระบบเครือข่ายประสาทเทียม (artificial neural network) ของ Google เริ่มสามารถแต่งกลอนเป็นภาษาอังกฤษได้แล้ว หลังจากที่นักวิจัยได้ฝึกระบบมาระยะหนึ่ง
รายงานข่าวระบุว่า ระบบเครือข่ายประสาทเทียมถูกฝึกจากนักวิจัยด้วยหนังสือที่ไม่ได้ตีพิมพ์มากกว่า 11,000 เล่ม โดยมีหนังสือในหมวดโรแมนติกมากกว่า 3,000 เล่ม ซึ่งทำให้ระบบประสาทเทียม สามารถแต่งกลอนขั้นพื้นฐานออกมาได้ โดยในงานวิจัยที่อธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม (อ่านได้จากที่มา) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทและนักวิจัยจาก Stanford University และ University of Massachusetts Amherst ระบุว่ากลอนดังกล่าวได้มาด้วยวิธีการแบบ continuous sampling และมีสัมผัสกันในบทกลอน
ข่าวเดี๋ยวนี้คงทำให้ผู้ที่ติดตามอ่านรู้กันดีอยู่แล้วว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์นั้นก้าวหน้าจนสามารถคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้มากมาย ด้วยพลังการคิดที่น่าทึ่ง มันสามารถหาคำตอบที่หลายคนคงไม่อาจคาดเดาได้ แน่นอนว่าการวิเคราะห์ประเมินและทำนายอันเป็นหลักใหญ่ใจความของการพนันก็ไม่เกินความสามารถของปัญญาประดิษฐ์เช่นกัน ล่าสุดก็สามารถทำนายผลแข่งม้าชนะเงินรางวัลที่มีอัตราสูงถึง 540:1 ได้สำเร็จ
หลังจากที่ปัญญาประดิษฐ์ชื่อ Ms. Watson เป็นผู้ช่วยอาจารย์มหาวิทยาลัยไปแล้ว คราวนี้ถึงคราวอาชีพนักกฎหมายกันบ้าง ROSS Intelligence ผู้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์สำหรับงานกฎหมาย ประกาศเมื่อวันพฤหัสที่แล้ว (5 พ.ค. 59) ว่า บริษัทที่ปรึกษากฎหมายชื่อดังอย่าง Baker & Hostetler LLP ซึ่งมีที่ปรึกษากฎหมาย 940 คน ใน 14 สาขาทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จ้าง ROSS เป็นที่ปรึกษากฎหมายซึ่งเป็นปัญญาประดิษฐ์คนแรกของโลก (the world’s first artificially intelligent attorney)
กูเกิลเปิดซอร์ส SyntaxNet เครือข่ายประสาทเทียมที่สร้างบน TensorFlow สำหรับการวิเคราะห์รูปประโยคโดยเฉพาะ โดยตัวอย่างที่ให้มาเพียงพอที่จะสร้างโมเดลภาษาขึ้นมาเองได้ หรือจะใช้โมเดล Parsey McParseface ที่มาในตัวก็ได้เช่นกัน
ความยากของการวิเคราะห์รูปประโยคเกิดจากความกำกวมของภาษาที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เช่นประโยค "อลิซขับรถไปตามถนน" อาจจะแปลเป็น "อลิซขับรถเพื่อไปตามถนน" หรือ "อลิซขับไปตามถนน" แม้ว่าการแปลแบบแรกจะแปลกๆ สำหรับคนทั่วไปก็ตาม ถ้าใครทันหนังสือเรียนมานีมานะก็อาจจะจำประโยค "ยานี้กินแล้วแข็งแรงไม่มีโรคภัยเบียดเบียน" กันได้
Ms.Watson คือใคร?
Ms.Watson หรือชื่อเต็มคือ Jill Watson คือหนึ่งใน 9 ผู้ช่วยอาจารย์แห่ง Georgia Institute of Technology เธอคอยให้คำแนะนำนักศึกษากว่า 300 คนในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับคอร์สเรียนออนไลน์ เธอช่วยตอบคำถามให้นักศึกษาทางอีเมล คอยแจ้งเตือนเมื่อถึงเวลาต้องส่งงาน แต่ในบรรดานักศึกษาที่ Ms.Watson ได้ให้การช่วยเหลือ กลับไม่มีใครเคยเห็นหน้าเธอเลย
ทุกอย่างดูเป็นเรื่องราวปกติจนกระทั่งความจริงมาแตกโพละว่า Ms.Watson ที่หนุ่มสาวนับร้อยคนใน Georgia Institute of Technology ได้เคยรู้จักผ่านการโต้ตอบทางอีเมลนั้น แท้จริงแล้วเธอคือ Watson ปัญญาประดิษฐ์ของ IBM นั่นเอง ซึ่งเรื่องนี้ก็ทำเอาหลายคนเงิบกันไป
Picturesqe ซอฟต์แวร์ใหม่ช่วยให้งานช่างภาพง่ายขึ้น มาพร้อมกับฟีเจอร์อัจฉริยะโดยปัญญาประดิษฐ์ Windows และ Adobe Lightroom ช่วยคัดเลือกรูปภาพที่ดีที่สุดให้ และจัดกลุ่มรูปภาพให้ใช้งานง่ายขึ้น zoom in zoom out อัจฉริยะนอกจากนี้ ระบบซอฟต์แวร์อัลกอริทึมจะทำงานฉลาดขึ้นได้ด้วยฟีดแบคของผู้ใช้แต่ละคน
หนึ่งในแผนพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาของรัฐบาลญี่ปุ่นคือการเตรียมผลักดันให้ผลงานการสร้างสรรค์ของปัญญาประดิษฐ์มี "ลิขสิทธิ์" ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา
ก่อนหน้านี้เราเคยเห็นข่าวปัญญาประดิษฐ์เขียนนิยายส่งเข้าไปประกวดแข่งขันกับผลงานการเขียนของคนจริงๆ ในญี่ปุ่นมาแล้ว ดังนั้นคงไม่น่าแปลกใจที่ทางการญี่ปุ่นจะมีความตื่นตัวเรื่องศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ในการสร้างสรรค์ผลงานในทางศิลป์
Dag Kittlaus หนึ่งในผู้สร้าง Siri ได้เปิดตัว Viv ปัญญาประดิษฐ์แบบ Voice-Controlled Assistance ตัวล่าสุดบนเวที TechCrunch Disrupt NY เมื่อคืนที่ผ่านมา ซึ่งทาง Kittlaus ระบุว่า Viv จะนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านของปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์
บนเวที Kittlaus ได้ทดลองเดโม่ความสามารถของ Viv ด้วยคำสั่งที่ค่อนข้างซับซ้อนอย่าง "อุณหภูมิบริเวณสะพาน Golden Gate วันมะรืนนี้หลัง 5 โมงเย็น จะสูงกว่า 70 องศาหรือไม่" หรือแม้แต่สั่งให้จองโรงแรมหรือเรียก Uber ตามที่เราต้องการได้เลย ซึ่งแตกต่างจาก Siri ที่เราจะต้องกดเข้าไปจองหรือเรียก Uber ด้วยตัวเองอีกที
การใช้หุ่นยนต์ในการผ่าตัดไม่ใช่เรื่องใหม่ โรงพยาบาลหลายแห่งในอังกฤษและสหรัฐฯใช้หุ่นยนต์ผู้ช่วยเพื่อให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพมากขึ้นมาแล้ว แต่คราวนี้คณะแพทย์จากศูนย์การแพทย์เด็กแห่งชาติ ในกรุงวอชิงตัน ของสหรัฐฯ ทดลองให้หุ่นยนต์ Star ปฏิบัติการเย็บแผลผ่าตัดตรงลำไส้หมูด้วยตนเองโดยไม่มีมนุษย์ช่วย เป้าหมายคือ ลบความผิดพลาดที่เกิดจากมือมนุษย์ที่เกิดขึ้นในการผ่าตัดและลดอัตราการเสียชีวิตลงได้
Game of Thrones ซีซั่นนี้สร้างปรากฏการณ์การวิเคราะห์อย่างกว้างขวางบนโลกออนไลน์ ไม่เว้นแม้แต่โปรแกรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ที่ออกมาวิเคราะห์ตัวละครและทำนายตัวละคร ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ก็ขอเข้ามาแจมกับเขาด้วย หัวข้อคือ ตัวละครใดใน GOT น่าจดจำมากที่สุด โดยใช้อัลกอริทึมคอมพิวเตอร์ช่วยค้นหา
เมื่อไม่นานมานี้ Google คิดโปรเจกต์ใหม่ ให้ปัญญาประดิษฐ์อ่านนิยายรักโรแมนติกหลายเล่ม ทีมวิจัยเล็งเห็นว่า หากต้องการพัฒนาทักษะการสนทนาที่ยังเป็นจุดอ่อนของปัญญาประดิษฐ์ ทางที่ดีคือให้อ่านนิยายรัก ด้วยหวังว่าข้อความและภาษาที่ปรากฏในนิยายเหล่านี้จะช่วยให้ AI มีพัฒนาการทางการสนทนา และมันก็ได้ผล
บริษัทพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ในมณฑลเฉิงตูของจีน เตรียมนำ AI ร่วมทำข้อสอบเอ็นทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัยของจีน (高考 - gāo kǎo) ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสนามปราบเซียน ในช่วงเดือนมิถุนายนปี 2017
ตัว AI จะต้องเผชิญข้อสอบเช่นเดียวกับมนุษย์ อาทิ วิชาเลข ภาษาและวรรณกรรม วัฒนธรรม ยกเว้นเพียงบางวิชาอาทิ ภาษาต่างประเทศ รวมถึงต้องเผชิญกับคำถามที่ต้องใช้สามัญสำนึกในการตอบ คำถามปลายเปิดและการเขียนบทความด้วย ซึ่งทีมพัฒนา AI ระบุว่าความท้าทายในการสอบครั้งนี้ คือการให้ AI เรียนรู้การตีความจากภาษาและการอนุมาน
เป้าหมายของการทดสอบในครั้งนี้ คือต้องการให้ AI สามารถทำคะแนนถึงระดับที่สามารถเข้าเรียนมหาวิทยาลัยระดับท็อปของประเทศได้ แต่ถึงกระนั้นก็จะไม่มีการบันทึกคะแนนอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด
ทั้งนี้การสอบเอ็นทรานซ์หรือเกาเข่าของจีน นับเป็นหนึ่งในการสอบที่หินที่สุดสำหรับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมปลาย ไม่เฉพาะความยากของข้อสอบ แต่รวมถึงจำนวนผู้เข้าแข่งขันหลายล้านคนทั่วประเทศ และหากพลาดก็ต้องรอสอบใหม่ในปีถัดไป (ประหนึ่งสอบจอหงวน)
ที่มา - People's Daily Online. Tech in Asia
DeepMind บริษัทปัญญาประดิษฐ์ในเครือกูเกิลผู้สร้าง AlphaGo อันโด่งดัง ย้ายแพลตฟอร์มไปใช้ TensorFlow ของกูเกิลเองแล้ว หลังจากที่ก่อนหน้านี้ใช้ Torch7
ทาง DeepMind ระบุว่าได้ทดลองโครงการใหม่ๆ ด้วย TensorFlow มาแล้ว 6 เดือนและเชื่อว่าการใช้ TensorFlow จะช่วยเปิดทางให้การวิจัยใหม่ๆ บนเครื่องขนาดใหญ่ขึ้น และการพัฒนาเองก็จะเร็วขึ้นด้วย
แม้จะแยกจาก Torch7 มาแล้ว ทาง DeepMind ก็แสดงความชื่นชมโครงการว่าเป็นโครงการที่ทำงานด้วยกันได้ดี และตอนนี้ Torch7 ก็ถูกใช้งานโดยบริษัทใหญ่ๆ อย่างเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์