เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว James Damore ที่ขณะนั้นเป็นวิศวกรซอฟต์แวร์ของกูเกิลได้ส่งจดหมายเวียนเรื่องความหลากหลายทางเพศจนเกิดกระแสขึ้นมา ส่งผลให้เขาถูกไล่ออกจากบริษัทกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โต เมื่อสัปดาห์ก่อนเขาและวิศวกรชายอื่นๆ ก็ได้ฟ้องกูเกิลที่เขาโดนไล่ออก โดยให้เหตุผลว่าละเมิดสิทธิตามกฎหมาย
ล่าสุด Sundar Pichai ซีอีโอกูเกิลและ Susan Wojcicki (อ่านว่า โว-ชิส-กี้) ซีอีโอยูทูบได้ให้สัมภาษณ์กับ Recode และ MSNBC ว่าเหตุผลที่ไล่ Damore ออกเป็นเพราะต้องการทำให้ผู้หญิงในองค์กรมั่นใจว่าการทำงานที่กูเกิลนั้นให้ความรู้สึกอบอุ่น
ประเด็นความหลากหลายทางเพศ-เชื่อชาติ กลับมาคุกรุ่นใน Google อีกครั้ง เมื่อบริษัทถูกฟ้องข้อหาปฏิบัติไม่เท่าเทียม โดยกลุ่มผู้ชายผิวขาวในบริษัทถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
ส่วนผู้ฟ้องไม่ใช่ใครอื่น แต่เป็น James Damore เจ้าของจดหมายเวียนตั้งคำถามนโยบายความหลากหลายของ Google นั่นเอง
เนื้อหาในจดหมายเวียนของ James Damore อดีตพนักงานใน Google แบ่งแยกบทบาทชายหญิงชัดเจน ระบุว่าผู้หญิงสนใจเรื่องทางสังคมมากกว่า จึงเป็นสาเหตุให้จำนวนชายหญิงไม่อาจเท่าเทียมกันได้ในองค์กรเทคโนโลยี จดหมายของเขาจุดประเด็นถกเถียงครั้งใหญ่จน Google ต้องปลดเขาออก
ในคดีใหม่ที่ฟ้อง Google ไม่ได้ฟ้องในนามของ Damore คนเดียว แต่ยังรวมถึงกลุ่มผู้ชายวิศวกรคนอื่นอีก คำฟ้องระบุว่า พนักงานที่แสดงความคิดเห็นเบี่ยงเบนจากมุมมองส่วนใหญ่ใน Google เกี่ยวกับเรื่องการเมืองในที่ทำงาน,โยบายการจ้างงาน รวมทั้งนโยบายความหลากหลายจะถูกตำหนิและลงโทษ ถือเป็นการละเมิดสิทธิตามกฎหมายของพวกเขา
Farhad Manjoo คอลัมนิสต์ด้านเทคโนโลยี และผู้เขียนหนังสือ "True Enough: Learning to Live in a Post-Fact Society" ว่าด้วยความพยายามครอบโลกธุรกิจของ Apple, Amazon, Facebook และ Google โดย Farhad Manjoo เขียนบทความว่าปี 2017 เป็นปีแห่งจุดเปลี่ยนของบริษัทเทคโนโลยี โดยปี 2017 มีหลายเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าบริษัทเทคโนโลยีต้องมีส่วนรับผิดชอบสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกออฟไลน์ ไม่ว่าบริษัทจะเต็มใจหรือไม่ก็ตาม
เกมบริหารทีมฟุตบอล Football Manager 2018 ภาคใหม่ล่าสุด (วางขาย 10 พ.ย.) เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่ผู้เล่นบางคน (ในเกม) อาจประกาศตัวว่าเขาเป็นเกย์ต่อสาธารณะ
ฟีเจอร์นี้จะมีเฉพาะผู้เล่นที่เกมสุ่มสร้างขึ้นมาเท่านั้น และจะไม่เกิดกับผู้เล่นจริงๆ ที่มีชื่ออยู่ในเกม การประกาศตัวว่าเป็นเกย์ยังมีจะเกิดแบบสุ่ม และมีโอกาสเจอได้ค่อนข้างยาก
จุดเริ่มต้นของวิกฤตที่อูเบอร์เจอในช่วงหลังๆ จนนำมาสู่การลาออกของผุ้บริหารหลายรายไม่เว้นแม้แต่ซีอีโอคือ กรณีอดีตพนักงานหญิงของอูเบอร์ Susan J. Fowler เขียนบล็อกเล่าประสบการณ์ช่วงที่เธอทำงานอยู่กับอูเบอร์ว่าโดนเจ้านายล่วงละเมิดทางเพศด้วยวาจา และไม่มีใครทำอะไรแม้เธอจะร้องเรียนไปแล้ว
ล่าสุดมีรายงานว่าเรื่องของ Susan J. Fowler กำลังจะทำเป็นหนัง ได้มือเขียนบท Allison Schroeder จากเรื่อง Hidden Figures มาเขียนบทให้
ข่าวฉาว Uber โดยเฉพาะการคุกคามทางเพศสงบลงไปได้ระยะหนึ่งแล้ว ความรุนแรงของข่าวฉาวดังกล่าวนำมาซึ่งการลาออกของผู้บริหารระดับสูงหลายราย รวมทั้ง Travis Kalanick ด้วย
ปัจจุบัน Uber มีซีอีโอใหม่แล้วคือ Dara Khosrowshah คำถามคือสถานการณ์ Uber โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมการทำงาน เป็นมิตรกับผู้หญิงแล้วหรือยัง
เว็บไซต์ Wall Street Journal ได้สัมภาษณ์ Liane Hornsey หัวหน้าฝ่ายบุคลากรของ Uber พูดคุยถึงประเด็นดังกล่าวพร้อมกับตั้งคำถามว่า Uber จะสามารถเป็นสถานที่ที่ผู้หญิงอยากเข้าไปทำงานหรือไม่
จากกรณีมีจดหมายเวียนจากพนักงาน Google เนื้อหาตั้งคำถามถึงประเด็นเพศในองค์กร นำมาสู่การปลดพนักงานคนดังกล่าว ก่อให้เกิดคลื่นใต้น้ำเมื่อมีผู้ชายจำนวนหนึ่งระบุว่าการพยายามสร้างความเท่าเทียมชายหญิงในองค์กรไอที บางครั้งก็เลยเถิดจนกลายเป็นล่าแม่มด
ผู้หญิงที่ทำงานในวงการวิศวกรและเทคโนโลยี เมื่อมีครอบครัวและต้องรับภาระดูแลครอบครัวจนต้องลาออก เป็นเรื่องยากที่จะได้กลับเข้ามาทำงานในวงการเดิมอีกรอบ เพราะทักษะงานและเทคโนโลยีเปลี่ยนเร็ว จึงมีแต่งานใหม่ที่กลุ่มคนเหล่านี้อาจไม่เคยจับต้องมาก่อน
IBM มีโครงการ Tech Re-Entry Program ให้ผู้หญิงที่ออกจากงานกลางคันเนื่องจากภาระครอบครัวสามารถเข้ารับการฝึกงานใน IBM ได้ โดยมีระยะเวลาฝึก 12 สัปดาห์ ผู้เข้ารับการอบรมจะมีเมนเทอร์ คอยให้ตำแนะนำลักษณะงานเช่น เขียนโปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูล เป็นโอกาสที่จะพิสูจน์ให้นายจ้างเห็นผลงานของพวกเขาก่อนจะจ้าง เป้าหมายของโครงการคือช่วยสร้างความหลากหลายในองค์กรด้วย
แม้เรื่องความชอบทางเพศ (sexual orientation) จะเป็นเรื่องส่วนบุคคล และในทางวิชาการสังคมศาสตร์ มีการถกเถียงกันอยู่เป็นระยะว่าเป็นเรื่องของสังคมสร้าง (social construction) หรือเรื่องทางชีววิทยา (biological determine) แต่งานวิจัยชิ้นล่าสุดที่กำลังจะตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Journal of Personality and Social Psychology ชี้ให้เห็นว่าระบบประสาทเทียมระดับลึก (deep neural network) ที่ใช้เป็นฐานของระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ระบุว่าคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกความชอบทางเพศได้ โดยใช้เทคนิคการสแกนภายใบหน้าเพียงครั้งเดียว
โลกของธุรกิจและสตาร์ทอัพไม่ง่ายสำหรับผู้หญิง ในหลายครั้งผู้หญิงต้องเจอกับพฤติกรรม คำพูดดูถูกเหยียดหยามจากเจ้านาย นักลงทุน เพื่อนร่วมงานที่เป็นผู้ชาย และยังมีเรื่องคุกคามทางเพศอีก Penelope Gazin และ Kate Dwyer สองผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์มขายสินค้าศิลปะเฉพาะทาง จึงสร้างตัวละครสมมติเป็นผู้ชายขึ้นมา โต้ตอบและประสานงานกับบุคคลภายนอกโดยเฉพาะ
Allegra Schawe-Lane ผู้หญิงข้ามเพศและสามี Dane Lane ทั้งคู่ทำงานที่บริษัท Amazon ในส่วนโรงงานจัดส่งสินค้าในเมือง Hebron รัฐ Kentucky ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2014 ถึงเดือนตุลาคม 2015 ทั้งสองฟ้องบริษัท Amazon ฐานเพิกเฉยต่อการละเมิดและกลั่นแกล้งพนักงานข้ามเพศ
องค์กร Transgender Legal Defense & Education Fund (TLDEF) เป็นผู้ทำสำนวนส่งฟ้อง เนื้อหาส่วนหนึ่งระบุว่า การละเมิดและกลั่นแกล้งเริ่มขึ้นเมื่อพนักงานคนหนึ่งรู้ว่า Allegra เป็นผู้หญิงข้ามเพศ เพื่อนร่วมงานใช้สรรพนามเรียกเธออย่างหยาบคาย (chick with a dick), "แฟนหนุ่มของ Dane", "shemale" และ โสเภณี เป็นต้น รวมทั้งมีพฤติกรรมคุกคามต่อทั้งคู่เป็นบางโอกาส โดยทั้งสองรายงานเรื่องการกลั่นแกล้งไปยังฝ่ายบุคคลของบริษัทหลายครั้ง ทั้งแบบลายลักษณ์อักษร โทรศัพท์ แต่ฝ่ายบุคคลก็ยังเพิกเฉย
หลังจากที่มีข่าวการส่งเมมโมหรือจดหมายเวียนภายในองค์กรที่พูดถึงเรื่องเพศ จนทำให้ต้องปลดพนักงานที่เขียนจดหมายเวียนนี้ออกจาก Google โดยอ้างว่าเนื้อหาของจดหมายนั้นละเมิดหลักจริยธรรมขององค์กรและการกำหนดรูปแบบระหว่างเพศไม่สอดคล้องในการทำงาน
ล่าสุด Susan Wojcicki ซีอีโอ YouTube เผยว่า ลูกสาวของเธอตั้งคำถามเรื่องการมีผู้หญิงในองค์กรไอทีน้อยและผู้นำที่เป็นผู้หญิงน้อย มันเป็นเหตุผลทางชีวภาพจริงหรือ?
จากกรณีมีจดหมายเวียนจากพนักงาน Google เนื้อหาตั้งคำถามถึงประเด็นเพศในองค์กร จนเป็นประเด็นให้พูดถึงกันพอสมควรช่วงไม่กี่วันมานี้ ล่าสุด Google ปลด James Damore พนักงานตำแหน่งวิศวกรคอมพิวเตอร์ที่เขียนจดหมายเวียนดังกล่าวแล้ว
Damore เขียนอีเมลระบุว่าเขาถูกไล่ออก และกำลังมองหาช่องทางกฎหมายที่จะช่วยเยียวยาเรื่องนี้ และเมื่อวาน ซีอีโอ Sundar Pichai เขียนอีเมลถึงพนักงาน และมีเผยแพร่ผ่านบล็อกด้วย เนื้อหาส่วนหนึ่งระบุว่า เราสนับสนุนการแสดงความคิดเห็นของพนักงานอย่างเต็มที่ แต่เนื้อหาในจดหมายเวียนดังกล่าว "ละเมิดหลักจริยธรรมของเรา และการกำหนดรูปแบบระหว่างเพศก็ไม่สอดคล้องต่อสังคมการทำงานในบริษัทของเรา" อย่างไรก็ตาม Sundar ไม่ได้ระบุมาตรการต่อคนเขียนจดหมายเวียนว่าจะทำอย่างไรต่อไป จนกระทั่งมีข่าวปลดพนักงานคนนั้นออก
2-3 วันที่ผ่านมาเกิดประเด็น gender ขึ้นในองค์กร Google เมื่อมีอีเมลไวรัลที่ส่งมาจากพนักงานคนหนึ่งใน Google ตั้งข้อสงสัยถึงความพยายามสร้างความหลากหลายในองค์กร อีเมลนี้ใช้ชื่อว่า Google’s Ideological Echo Chamber หรือแนวคิดที่สะท้อนไปมาอยู่ใน Google
ปัญหาเรื่องความหลากหลายของพนักงานในองค์กรด้านเทคโนโลยี ที่คนส่วนใหญ่มักมองว่ามีแต่คนทำงานที่เป็นผู้ชาย เป็นคนผิวขาว Google เองก็เคยเปิดเผยว่าให้ความสำคัญเรื่องนี้แต่ผลลัพธ์ก็ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ จนต้องจ้างอดีตผู้บริหารอินเทลมาดูแลงานด้านนี้โดยตรง ถึงขนาดที่วงการเกมเมื่อสร้างความหลากหลายสำเร็จยังต้องเปิดเผยเทคนิคด้วย ถือว่าประเด็นนี้สร้างปัญหาพอสมควร
ย้อนกลับไปในปี 2015 เกม FIFA มีผู้เล่นเป็นทีมผู้หญิง ล่าสุดบริษัท EA ขยายทีมผู้หญิง (WNBA) ไปสู่เกมบาสเกตบอลด้วย
ทีมผู้หญิงจะยังไม่มีการแข่งเป็นทัวร์นาเมนต์ และจะยังไม่มีปรากฏใน NBA Live หรือเกม NBA ที่เล่นบนมือถือ จะสามารถเล่นทีมผู้หญิงได้ผ่านออนไลน์และออฟไลน์กับทีมผู้หญิงด้วยกัน ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดาย
ประธานาธิบดี Donald Trump ทวีตว่า หลังจากที่เขาได้ปรึกษากับบรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารแล้ว รัฐบาลสหรัฐฯ รับไม่ได้ หากทหารที่มารับใช้ชาติจะเป็นคนข้ามเพศ (transgender) เขาเห็นว่าทหารต้องมุ่งเป้าไปที่ชัยชนะและรัฐไม่สามารถที่จะแบกรับภาระมากมายจากต้นทุนทางการแพทย์และการเข้ามาเกี่ยวพันของกลุ่มคนข้ามเพศในกองทัพได้
การคุกคามทางเพศในซิลิคอนวัลเล่ย์เป็นประเด็นร้อนแรงในช่วงระยะหลังนี้ โดยมีผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบกล้าออกมาเปิดเผยความจริงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้หญิงอีกมากไม่กล้าออกมาเปิดเผยความจริงเพราะกลัวจะเสียตำแหน่งงานไป
ผู้ประกอบการหญิงบางส่วนในซิลิคอนวัลเล่ย์จึงร่วมมือกันสร้างเว็บไซต์ BetterBrave ที่ระบุข้อมูลทางกฎหมายหากเจอเหตุการณ์คุกคามทางเพศ ระบุสิ่งที่ต้องทำ know-how เพื่อแก้ไขปัญหา หลักการของแพลตฟอร์มคือทำเนื้อหากฎหมายให้อ่านง่าย รวมทั้งวิธีรับมือหากถูกขู่กรรโชก และมีเครื่องมือให้ติดต่อทนายความผ่านเว็บไซต์ได้ด้วย
วงการเกมมีความเหลื่อมล้ำด้านจำนวนบุคลากรพัฒนาเกมระหว่างเพศชายกับหญิงไม่ต่างจากอุตสาหกรรมไอที จากสถิติของ IGDA (International Game Developer Association) ระบุว่าผู้หญิงในวงการนี้มีเพียง 22% เท่านั้น และเป็นหน้าที่ของบริษัทเกมที่ต้องสร้างความหลากหลายในองค์กรมากกว่านี้ และมีหนึ่งบริษัทที่น่าประทับใจคือ Blizzard ผู้พัฒนาเกม World of Warcraft ได้จัดหานักศึกษาฝึกงานผู้หญิงเข้ามาในบริษัทเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว จากปีที่แล้ว 12% ปีนี้จ้างเพิ่มมาเป็น 32%
Janine Tedford รองผู้จัดการด้านการสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัย เผยเคล็ด 5 อย่างที่ช่วยสร้างความหลากหลายในองค์กร
AP Computer Science คือหลักสูตรและการสอบระดับสูงที่ครอบคลุมสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จัดให้เด็กไฮสคูลมาสอบเพื่อเอาเครดิตไปเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ ปีนี้มีตัวเลขน่าสนใจพบว่า มีผู้หญิงเข้าร่วม AP CS มากขึ้นอย่างก้าวกระโดด คือ 29,000 คน มากกว่าปีที่แล้วกว่าเท่าตัวที่มีเพียง 12,642 คน
นอกจากจำนวนนักเรียนหญิงที่เข้าสอบจะเพิ่มขึ้นแล้ว ความหลากหลายทางเชื้อชาติเพิ่มขึ้นด้วย โดยตัวเลขของนักเรียนจากเชื้อชาติที่เป็นส่วนน้อยในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นมาเป็น 13,024 คน คิดเป็น 20% ของจำนวนผู้เข้าสอบทั้งหมด
นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์กลุ่มหนึ่งจาก California Polytechnic State University และ North Carolina State University สำรวจกลุ่มนักโปรแกรมเมอร์ที่เขียนโค้ดลง GitHub พบตัวเลขน่าสนใจว่า ผลงานซอร์สโค้ดที่เขียนโดยผู้หญิงได้รับการนำไปใช้มากกว่าผู้ชาย ในขณะที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่ได้ระบุเพศบนแพลตฟอร์ม
GitHub บริการที่จัดเก็บซอร์สโค้ดของโปรแกรม เป็นโอเพ่นซอร์สเปิดให้นักพัฒนานำโค้ดไปต่อยอดได้ ตัวแพลตฟอร์มมีตัวเลขผู้ใช้กว่า 12 ล้านคนแล้ว ทีมวิจัยสำรวจ pull request ที่ส่งเข้าโครงการต่างๆ รวม 3 ล้านรายการแล้วพบว่าอัตราการรับโค้ดไปใช้เมื่อโค้ดส่งมาจากผู้หญิง มีการนำไปใช้ 78.6% สูงกว่าผู้ชายที่มีอัตรา 74.6%
กรณีคุกคามทางเพศในบริษัทเทคโนโลยีค่อยๆ เผยออกมาเรื่อยๆ ในบริษัทเทคโนโลยี โดย Beatrice Kim ฟ้องร้องซีอีโอบริษัทอดีตนายจ้าง BetterWorks คือ Kris Duggan ข้อหากระทำคุกคามทางเพศ และฟ้องร้องผู้บริหารรายอื่นคือ Matt Hart ผู้จัดการซอฟต์แวร์ส่วนภูมิภาค และ Tamara Cooksey ผู้จัดการการดำเนินงานส่วนบุคคล ฐานปล่อยให้การคุกคามทางเพศเกิดขึ้น และไม่จัดการอะไรแม้จะได้รับรายงานเรื่องนี้แล้วก็ตาม
Conor D. Mack ทนายความของผู้ฟ้องระบุกับนักข่าวว่า โจทก์คือ Beatrice Kim ระบุว่า Kris Duggan ได้ทำร้ายโจทก์ในลักษณะที่เป็นการกระทำคุกคามทางเพศ (เมื่ออ่านจากรายละเอียดคำให้การของ Kim อาจเรียกได้ว่าเธอเกทอบจะถูกข่มขืน) โดยไม่สนใจความพยายามของโจทก์ในการประท้วงและเรียกร้องปล่อยตนเองให้เป็นอิสระจากการกระทำนั้น จนกระทั่งมีเพื่อนร่วมงานเข้าไปขัดขวาง
เว็บไซต์ New York Times ตีแผ่ปากคำของผู้หญิงจำนวนหนึ่งที่ทำงานในซิลิคอนวัลเล่ย์ ต่อประเด็นคุกคามทางเพศจากบรรดานักลงทุน โดยกลุ่มนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ New York Times ระบุว่ายังมีอีกเป็นโหล ที่ไม่กล้าออกมาพูดอะไรเพราะกลัวกระทบหน้าที่การงาน และเป็นความจริงที่น่าเจ็บปวดที่ได้รู้ว่า ผู้หญิงหลายคนถูกสั่งห้ามไม่ให้แพร่งพรายเรื่องนี้ ไม่เช่นนั้นจะโดนไล่ออก
เรียกได้ว่ายังมีอะไรต้องทำอีกมาก สำหรับการพยายามสร้างความหลากหลายในองค์กรเทคโนโลยี ล่าสุด Google จ้าง Danielle Brown อดีตผู้บริหาร Intel มาทำหน้าที่เป็นรองประธานด้านความหลากหลายในองค์กร (VP of Diversity) โดย Brown เคยทำหน้าที่เป็น Chief Diversity & Inclusion Officer หรือหัวหน้าด้านความหลากหลายของ Intel มาก่อนด้วย
เว็บไซต์ Propublica เผยรายงานเอกสารสอนระบบอัลกอริทึมภายใน Facebook ที่ทำหน้าที่คัดกรอง Hate Speech พบเอกสารบางชุดสอนระบบให้ปกป้องคนขาวจาก Hate Speech มากกว่าผู้หญิงและเด็กผิวสี
เอกสารฝึกอบรมระบบที่กำลังเป็นประเด็นตอนนี้คือ คำถามว่า เราจะปกป้องคนกลุ่มใดจาก hate Speech โดยให้ระบบเลือกหนึ่งในสามภาพ ประกอบด้วย คนขับรถผู้หญิง (Female Drivers) เด็กผิวสี (Black Children) และ คนขาว (White Men) ปรากฏว่าระบบเลือกข้อสามคือคนขาว