ในประกาศปรับโครงสร้างองค์กรรอบล่าสุดของกูเกิล นอกจากการรวมทีมซอฟต์แวร์ Android/Chrome และฮาร์ดแวร์เข้าด้วยกันเป็นฝ่าย Platforms and Devices ยังมีการเปลี่ยนแปลงฝั่ง AI ด้วยเช่นกัน
การเปลี่ยนแปลงนี้ต่อเนื่องจากการรวมทีม Google Brain กับ DeepMind เป็น Google DeepMind เมื่อ 1 ปีก่อน โดยกูเกิลโยกทีมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบงาน AI เข้ามาอยู่ใต้ Google DeepMind ดังนี้
Sundar Pichai ซีอีโอกูเกิล ประกาศปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในยุค AI โดยรวมทีมที่ดูแล Pixel, Android, Chrome, ChromeOS, Photos และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มาอยู่ในทีมเดียวกันคือ Platforms and Devices มี Rick Osterloh ที่เดิมรับผิดชอบ Devices and Services มารับผิดชอบฝ่ายใหม่นี้ ส่วน Hiroshi Lockheimer ที่เดิมดูแล Android และ Chrome จะเปลี่ยนไปรับผิดชอบโครงการอื่นภายในกูเกิล
พนักงาน Google 28 คนถูกไล่ออก หลังมีส่วนร่วมกับการประท้วงด้วยวิธีการต่างๆ จากกรณีที่ Google ทำสัญญาในโครงการ Project Nimbus ให้รัฐบาลอิสราเอลเช่าคลาวด์มูลค่า 1.2 พันล้านเหรียญ(โครงการนี้รวมคลาวด์ของ Amazon ด้วย)
พนักงานส่วนหนึ่งในออฟฟิศที่ Sunnyvale รัฐแคลิฟอร์เนีย ได้ยึดห้องทำงานของ Thomas Kurian ซีอีโอ Google Cloud เพื่อประท้วง ขณะที่พนักงานที่ออฟฟิศในนิวยอร์ค ได้รวมตัวประท้วงในพื้นที่ส่วนกลางของออฟฟิศชั้น 10 โดย Google ต้องใช้กำลังของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการเชิญตัวออกไปและควบคุมตัว
Google ได้ส่งจดหมายถึงพนักงานทั้งหมด โดยอ้างว่าพนักงานกลุ่มดังกล่าวละเมิดนโยบายและจรรยาบรรณในที่ทำงาน ซึ่งบริษัทจะไม่เพิกเฉยกับพฤติกรรมลักษณะนี้
OPPO และ OnePlus ประกาศจับมือกับ Google นำฟีเจอร์จาก Gemini ของ Google สร้างประสบการณ์การใช้งาน AI บนมือถือให้มีฐานผู้ใช้กว้างขึ้นในงาน Google Cloud Next '24 โดยจะรวมผลิตภัณฑ์ AI บนคลาวด์ของ Google เข้ากับอุปกรณ์มือถือต่าง ๆ ทำให้มีฟีเจอร์ AI เช่น การสรุปบทความข่าว, การจัดระเบียบเนื้อหาเสียงแบบเรียลไทม์ และการสร้างเนื้อหาโซเชียลมีเดีย เหมือน Samsung Galaxy S24 ซีรี่ส์ ซึ่งอาจตีความได้ว่าสัญญา Exclusive ของซัมซุงอาจสิ้นสุดแล้ว
เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว คณะลูกขุนได้ตัดสินให้ Epic Games ชนะคดีที่ฟ้องกูเกิลข้อหาผูกขาดระบบสโตร์บน Android ซึ่งขั้นตอนถัดมาคือผู้พิพากษาจะกำหนดบทลงโทษ เพราะการฟ้องร้องนี้ไม่ได้เรียกค่าเสียหาย แต่เป็นการเรียกร้องให้กูเกิลเปิดอิสระกับนักพัฒนาในการเผยแพร่แอปผ่านช่องทางต่าง ๆ
Epic Games ออกแถลงการณ์ว่าศาลได้ให้บริษัทยื่นข้อเสนอที่ต้องการ เพื่อพิจารณากำหนดคำสั่งจากคำตัดสินนี้ ข้อเสนอของ Epic Games มีหลายอย่าง แต่ประเด็นสำคัญมีดังนี้
ที่งาน Google Cloud Next 2024 ปีนี้ Yulie Kwon Kim รองประธานกูเกิลที่ดูแล Google Workspace ให้สัมภาษณ์ถึงฟีเจอร์ใหม่ๆ และความปลอดภัยของ Google Workspace ว่ามีการใช้งาน AI อย่างต่อเนื่อง
Kim ระบุว่ากูเกิลลงทุนอย่างหนักและมีประสิทธิภาพ พร้อมกับพูดถึงคู่แข่งอย่างไมโครซอฟท์ที่กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐ (U.S. Department of Homeland Security - DHS) เพิ่งออกรายงานสอบสวนเหตุการณ์ระบบรัฐบาลถูกแฮก (ข่าวเก่า) รายงานระบุว่าเป็นเหตุที่ป้องกันได้ และวัฒนธรรมการให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของไมโครซอฟท์ไม่เพียงพอ
กูเกิลอีเมลแจ้งลูกค้าที่ใช้งานบริการ VPN ที่แถมมาให้กับแพ็คเกจ Google One ว่าบริการนี้จะปิดตัวในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า แต่ยังไม่ได้ระบุวัน
Google One VPN เปิดตัวในปี 2020 ตอนแรกแถมมาให้เฉพาะคนที่สมัครแพ็คเกจบนสุด 2TB รองรับบน iOS และ Android จากนั้นขยายมาใช้งานบน Windows กับ Mac ได้ด้วย เมื่อปีที่แล้วกูเกิลขยายบริการ VPN มาให้ลูกค้า Google One แพ็คเกจเล็กที่สุดด้วย แต่ที่ว่ามาทั้งหมด ลูกค้าในประเทศไทยก็ยังไม่สามารถใช้งานได้
Android 15 ออกรุ่นทดสอบ Beta 1 มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
ในงาน Google Cloud Next 2024 ผมได้มีโอกาสสัมภาษณ์ Zac Maufe ผู้บริหาร Google Cloud ที่ดูแลอุตสาหกรรมทางกรเงินถึงประเด็นการใช้งาน generative AI ในอุตสาหกรรมนี้
ราคาหุ้นของ Alphabet บริษัทแม่ของกูเกิล ปิดการซื้อขายวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาที่ 160.79 ดอลลาร์ต่อหุ้น ทำให้มูลค่าของบริษัทตามราคาหุ้นหรือ Market Cap อยู่ที่ 1.992 ล้านล้านดอลลาร์ ใกล้แตะด่านสำคัญ 2 ล้านล้านดอลลาร์ แล้ว
Alphabet เคยมีมูลค่าถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์ มาแล้วครั้งหนึ่งในปี 2021 ปัจจุบันเป็นบริษัทในตลาดหุ้นสหรัฐที่มีมูลค่ากิจการสูงสุดเป็นอันดับ 4 รองจาก ไมโครซอฟท์, แอปเปิล และ NVIDIA
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาหุ้นของกูเกิลและ Alphabet ปรับเพิ่มขึ้น มาจากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่เกี่ยวกับคลาวด์และ AI หลายอย่างตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
กูเกิลเผยแพร่คู่มือ 45 หน้า ว่าด้วยการเขียน Prompt สำหรับการใช้งานแชทบอต Gemini บน Google Workspace ซึ่งสามารถประยุกต์ได้เช่นกัน แม้ไม่ได้ใช่ Gemini เวอร์ชันนี้ โดยคู่มือนี้ชื่อว่า Prompting guide 101 เหมาะสำหรับคนทำงานในฝ่ายต่าง ๆ ที่ต้องการเขียนคำสั่งให้ Gemini ทำงานอย่างที่ต้องการ
กูเกิลอธิบายว่าในการเขียน Prompt ให้พิจารณาถึง 4 องค์ประกอบที่ควรกำหนดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ คือ Persona (บอกว่าเราคือใคร), Task (สิ่งที่ต้องการให้ AI ทำ), Context (รายละเอียดประกอบ) และ Format (รูปแบบ)
กูเกิลเปิดตัวบริการ Gemini Code Assist ที่เปลี่ยนชื่อมาจาก Duet AI for Developer แต่เปลี่ยนปัญญาประดิษฐ์ภายในเป็น Gemini ที่อ่านข้อมูลได้นับล้่านโทเค็น ทำให้เวลาแนะนำโค้ดนั้นไม่ใช่การอ่านทีละไฟล์ แต่อ่านทั้งโครงการทีละเป็นแสนบรรทัดและแนะนำได้ทันที
การประกาศรอบนี้ยังประกาศเป็นพันธมิตรกับบริษัทความปลอดภัยซอฟต์แวร์ Synk โดยตอนนี้ยังเป็นเพียงการแนะนำการใช้งาน Synk ในแชตก่อน แต่ภายในปีนี้จะรวมความสามารถในการสแกนโค้ดเข้าไว้ในบริการ Code Assist เลย ทำให้แนะนำช่องโหว่ในโค้ดได้ทันที
Gemini Code Assist เปิดให้ใช้ฟรีแล้ววันนี้ แต่จะเก็บเงินหลังวันที่ 11 มิถุนายนนี้ ราคา 19 ดอลลาร์ต่อคนต่อเดือน สามารถใช้งานได้บน VS Code และ JetBrains
กูเกิลเปิดตัวแพ็กเกจ Chrome Enterprise Premium สำหรับลูกค้าองค์กร เป็นการยกระดับความปลอดภัยของ Chrome สำหรับใช้ในองค์กรขนาดใหญ่
กูเกิลมีบริการชื่อ Chrome Enterprise ทำตลาดองค์กรมานานแล้ว ภายหลังกูเกิลแยกส่วนเป็นบริการจัดการเครื่องระดับพื้นฐานชื่อ Chrome Enterprise Core และล่าสุดเพิ่มบริการเสริมตัวนี้ Chrome Enterprise Premium เข้ามาในราคา 6 ดอลลาร์ต่อผู้ใช้ต่อเดือน
ความแตกต่างของเวอร์ชันพรีเมียมคือเพิ่มฟีเจอร์ความปลอดภัยระดับสูง เช่น การสแกนมัลแวร์อัตโนมัติ, การกรอง URL ของเว็บไซต์อันตรายแยกตามหมวด, การป้องกันข้อมูลสูญหายหรือรั่วไหล (data loss prevention), การรายงานข้อมูลความปลอดภัยของทั้งองค์กรให้แอดมินรับทราบ เป็นต้น
กูเกิลเพิ่มบริการด้าน LLM ตัวใหม่ คือ Vertex AI Agent Builder สำหรับการพัฒนาบริการจาก LLM โดยไม่ต้องเขียนโค้ดเองโดยตรง (ยกเว้นส่วนที่เป็น integration กับภายนอก)
บริการนี้รวมเอาความสามารถหลายตัว ได้แก่
นอกเหนือจาก Google Vids แอปสร้างวิดีโอจากเอกสารใน Google Docs และ Google Sheets กูเกิลยังประกาศฟีเจอร์ใหม่พลัง Gemini หลายอย่างสำหรับคนใช้งาน Google Workspace มีรายละเอียดดังนี้
ในงาน Google Cloud Next 2024 กูเกิลเชิญผู้ให้บริการองค์กร จากองค์กรขนาดใหญ่ เช่น กลุ่มโรงแรม IHG, Verizon, Bayer โดยองค์กรเหล่านี้เตรียมใช้งาน generative AI ในแอปพลิเคชั่นที่ติดต่อกับลูกค้าแล้ว แม้จะมองเห็นโอกาสมากแต่ก็ยังเป็นการใช้งานอย่างระมัดระวังอยู่
Kalyani Sekar Chief Data Officer จาก Verizon ระบุว่าการสร้างแอปพลิเคชั่น generative AI นั้นควรเริ่มปล่อยให้ใช้งานจากวงเล็กภายในองค์กรเองก่อน และค่อยๆ ขยายไปยังกลุ่มใหญ่ขึ้นจนถึงผู้ใช้ภายนอกองค์กร เพื่อจะได้เห็นความสามารถและข้อจำกัดของระบบ และจุดสำคัญที่สุดของการใช้งาน generative AI นั้นอาจจะไม่ใช่ปัญหาว่ามันตอบอะไรได้บ้าง แต่ต้องพยายามไม่ให้ AI ตอบคำถามที่มันจะตอบผิด แล้วส่งให้คนทำงานเป็นคนตอบแทน
Google Workspace เพิ่มแอปสร้างวิดีโอในชื่อ Google Vids ที่สามารถขึ้นโครงวิดีโอจากเอกสารเดิม เช่น Google Docs หรือ Google Sheets ทำเป็นบทวิดีโอ แล้วสามารถใช้เสียงพูดจากปัญญาประดิษฐ์เพื่อพากษ์วิดีโอ หรือจะใช้เสียงผู้ใช้เองก็ได้
ตอนนี้ Google Vids ยังเป็นโปรแกรมทดสอบ จะเริ่มเปิดให้ผู้ใช้เปิดใช้งานจาก Workspace Labs เดือนมิถุนายนนี้ โดยบริการนี้เป็นส่วนหนึ่งของฟีเจอร์ Gemini for Workspace ต้องเป็นลูกค้าแพ็กเกจนี้ (ส่วนเสริมขายแยก 20-30 ดอลลาร์ต่อเดือน)
ที่มา - Google Workspace Blog
กูเกิลอัพเดตโมเดลปัญญาประดิษฐ์สร้างภาพ Imagen 2.0 โดยเพิ่มฟีเจอร์สำคัญคือการสร้างภาพเคลื่อนไหว และการแก้ไขภาพที่มีอยู่เดิม
การสร้างภาพเคลื่อนไหว เรียกว่า text-to-live image ยังจำกัดที่ความละเอียด 360x640 ยาว 4 วินาที ที่ 24 เฟรมต่อวินาที
สำหรับการแก้ไขภาพ รองรับทั้ง inpainting แก้ไขภายในภาพ และ outpainting เติมภาพเพื่อขยายขนาด รองรับการเพิ่มหรือลดวัตถุในภาพ
ภาพทั้งหมดที่สร้างโดย Imagen จะถูกฝังข้อมูล SynthID เพื่อระบุว่าภาพถูกสร้างโดยปัญญาประดิษฐ์ของกูเกิล
กูเกิลเปิด Gemini 1.5 Pro ให้คนทั่วไปใช้งานแล้ว หลังจากเปิดตัวแบบจำกัดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พร้อมกับเพิ่มฟีเจอร์ค้นหาข้อมูลอ้างอิง (grounding) ทั้งการค้นด้วย Google Search และการค้นข้อมูลภายในองค์กรเอง
สำหรับการค้นข้อมูลในองค์กร เดิม Vertex AI มีบริการ Enterprise Search อยู่แล้ว ตอนนี้เพิ่มความสามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลภายนอก เช่น AlloyDB หรือ BigQuery เข้ามาเพิ่ม และยังเชื่อมต่อแอปที่องค์กรใช้งานอยู่ เช่น Workday, Salesforce, ServiceNow, Hadoop, Confluence, และ JIRA
กูเกิลปล่อยโมเดลปัญญาประดิษฐ์ LLM สำหรับเขียนโค้ดในชื่อ CodeGemma เน้นใช้งานเป็นตัวช่วยเขียนโค้ดโดยเฉพาะ โดยมีโมเดล 3 รุ่น ได้แก่
กูเกิลเปิดเผยว่าบริษัทได้พัฒนาชิปประมวลผลใหม่ เรียกชื่อว่า Axion เพื่อรองรับงานด้าน AI เป็นหลัก ซึ่งกูเกิลมีแผนการพัฒนาซีพียูส่วนนี้มาหลายปีแล้ว แต่มาเร่งมากขึ้นหลัง ChatGPT เปิดตัวช่วงปลายปี 2022
การที่กูเกิลลงทุนพัฒนาชิปสำหรับใช้งาน AI บนคลาวด์ของตนเองไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะทั้งอเมซอนและไมโครซอฟท์ ก็พัฒนาชิปสำหรับงานด้าน AI ของตนเองเช่นกัน กูเกิลเองก็มีหน่วยประมวลผลที่พัฒนาเองเรียกว่า TPU ซึ่งมีใช้งานมาตั้งแต่ปี 2016 แต่กรณีของ Axion นั้นทำงานเป็นหน่วยประมวลผลกลางหรือเป็นซีพียู
กูเกิลประกาศนำโมเดล Gemini 1.0 Pro มาใส่ในเครื่องมือสำหรับนักพัฒนา Android Studio พร้อมรีแบรนด์ Studio Bot ที่เป็น AI ช่วยการเขียนโค้ด ในชื่อใหม่ Gemini in Android Studio เพื่อให้ทิศทางผลิตภัณฑ์ AI ของกูเกิลเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมดภายใต้แบรนด์ Gemini
Gemini in Android Studio เป็นผู้ช่วยการเขียนโค้ดซึ่งสามารถเรียกใช้งานได้โดยตรงใน IDE กูเกิลบอกว่าทำให้การพัฒนาโค้ดคุณภาพสูง ทำได้รวดเร็วขึ้น ช่วยแก้ไขปัญหาโค้ดที่ซับซ้อน สามารถถาม-ตอบ ตลอดจนเพิ่มคอมเมนต์และค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ ตอนนี้มีให้ใช้งานแล้วใน Android Studio Jellyfish
กูเกิลประกาศเปิดเครือข่าย Find My Device ตามหาอุปกรณ์หายแบบออฟไลน์ ตามที่แจ้งไว้ก่อนหน้านี้ โดยเริ่มจากในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาก่อน
Find My Device สามารถตามหาสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตแอนดรอยด์ได้แม้ไม่ต่อเน็ต เพราะใช้เครือข่าย Bluetooth แบบ mesh ของอุปกรณ์ที่กระจายตัวทั่วโลก (ลักษณะเดียวกับ Find My ของแอปเปิลที่มีตั้งแต่ปี 2019) ในกรณีของ Pixel 8 และ Pixel 8 Pro ยังมีฮาร์ดแวร์พิเศษที่ตามรอยได้แม้ปิดเครื่องหรือแบตหมดด้วย
กูเกิลโพสต์บล็อกรายงานผลกระทบที่เกิดขึ้น หลังจากกฎหมายดิจิทัล Digital Markets Act หรือ DMA มีผลบังคับใช้ในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป เพื่อให้แพลตฟอร์มออนไลน์ขนาดใหญ่ เพิ่มโอกาสในการแข่งขันสำหรับผู้ให้บริการรายเล็ก โดยบอกว่าการเปลี่ยนแปลงนี้อาจมีข้อดี แต่ก็มีบางอย่างที่ต้องแลกด้วย
เมื่อกลางปี 2023 กูเกิลช็อควงการด้วยการประกาศเลิกทำธุรกิจรับจดโดเมนเนม และโอนลูกค้าไปยัง Squarespace
ล่าสุดกูเกิลเริ่มทยอยส่งอีเมลถึงลูกค้า ว่าย้ายโดเมนเนมจาก Google Domains ไปยัง Squarespace แล้ว หากลูกค้าลองสั่ง WHOIS ดูจะพบว่าข้อมูลติดต่อเปลี่ยนเป็น Squarespace เรียบร้อยแล้ว แต่ก็ยังใช้งานโดเมนเดิมกับบริการในเครือกูเกิลได้เหมือนเดิม
ฝั่ง Squarespace เองก็เปิดหน้าเพจต้อนรับลูกค้าจาก Google Domains ว่าบริการจะใช้ได้ต่อเนื่อง คงราคาเดิมที่จ่ายให้กูเกิลไปอีกอย่างน้อย 12 เดือน และมีหน้าตาของเว็บจัดการโดเมนที่ใช้งานง่ายด้วย