ต้นปีที่แล้ว Huawei ยื่นฟ้องรัฐบาลสหรัฐ โดยระบุว่าคำสั่งแบนของรัฐบาลผิดรัฐธรรมนูญ ล่าสุดศาลมีคำสั่งติดเป็นประโยชน์กับรัฐบาลพร้อมตีตกคำร้องของ Huawei
ผู้พิพากษา Amos Mazzant ระบุว่าคำสั่งซื้อขายของภาครัฐเป็นเอกสิทธิ์ของรัฐบาล (ในการตัดสินใจว่าจะซื้อขายกับใคร) ไม่เกี่ยวข้องกับสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ แถมระบุด้วยว่า Huawei ก็ยังคงสามารถทำธุรกิจกับเอกชนหรือบริษัทไหนก็ได้ในสหรัฐและอีกกว่า 169 ประเทศที่ Huawei ทำธุรกิจด้วยมาโดยตลอด
ด้าน Huawei แสดงความผิดหวังต่อคำตัดสินนี้ โดยโฆษกระบุว่าเข้าใจเรื่องความมั่นคงของประเทศ แต่มาตรการของรัฐบาลเป็นการป้องกันภัยคุกคามที่ผิดที่ผิดทางและละเมิดสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญของ Huawei
DGCCRF หน่วยงานกำกับดูแลคุ้มครองผู้บริโภคของฝรั่งเศส สั่งปรับแอปเปิลเป็นเงิน 25 ล้านยูโร หรือราว 850 ล้านบาท จากเหตุออกอัพเดต iOS ที่ทำให้ iPhone ทำงานช้าลง
ศาลแคลิฟอร์เนียได้ตัดสินคดีที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (California Institute of Technology - CalTech) ฟ้องแอปเปิลและ Broadcom ฐานละเมิดสิทธิบัตรเกี่ยวกับเทคโนโลยี Wi-Fi โดยให้ CalTech เป็นฝ่ายชนะ และแอปเปิลกับ Broadcom ต้องจ่ายค่าเสียหายรวม 1,100 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 34,000 ล้านบาท
คดีดังกล่าวมีการยื่นฟ้องตั้งแต่ปี 2016 โดยมีผลกับสินค้าแอปเปิลที่ใช้ชิปของ Broadcom
ทั้งนี้แอปเปิลจะต้องจ่ายค่าเสียหาย 837.8 ล้านดอลลาร์ ส่วน Broadcom จ่ายค่าเสียหาย 270.2 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตามทั้งสองบริษัทระบุว่าจะมีการอุทธรณ์คดีนี้ต่อไป
ศาลในประเทศโคลอมเบียออกคำสั่งให้ Uber บริการแอปแชร์รถโดยสาร ยุติการให้บริการในประเทศ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไป โดยให้เหตุผลว่าบริการของ Uber ขัดต่อกฎหมายการขนส่ง ทำให้โคลอมเบียอาจเป็นประเทศล่าสุดที่ Uber ต้องถอนออกไปจากตลาด
ด้าน Uber ได้เตรียมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว พร้อมระบุว่าบริษัทจะทำทุกทางเพื่อผลประโยชน์ของผู้ใช้งานแอปในประเทศกว่า 2 ล้านคน และผู้ขับรถ 88,000 คน นอกจากนี้ยังบอกว่า Uber เป็นบริษัทแรกที่นำนวัตกรรมการเดินทางมาให้บริการที่โคลอมเบีย แต่เมื่อผ่านไป 6 ปี โคลอมเบียกลับเป็นประเทศแรกในภูมิภาคที่ตัดสินใจปิดกั้นเทคโนโลยีนี้
วงการขายเกมแบบดิจิทัลปั่นป่วนอีกครั้ง เมื่อศาลฝรั่งเศสตัดสินให้ผู้ใช้ Steam มีสิทธิ์ที่จะขายต่อเกมของตัวเองได้ จากการโดนฟ้องร้องโดยกลุ่มปกป้องสิทธิ์ผู้บริโภคของฝรั่งเศส UFC-Que Choisir ในปี 2015
ผู้ฟ้องร้องกลุ่มนี้ได้ยื่นฟ้องศาลชั้นต้นแห่งกรุงปารีสว่าด้วยเงื่อนไขการใช้งานระบบ Subscriber ของ Steam ขัดต่อกฎหมายสหภาพยุโรปโดย UFC-Que Choisir แสดงข้อกังวลหลักว่าเกมในรูปแบบดิจิทัลนั้นควรจะเหมือนกับเกมในรูปแบบฟิสิคอลคือมีสิทธิ์ที่จะขายต่อได้
Ofo สตาร์ทอัพแชร์จักรยานชื่อดังจากจีน ที่เคยมีมูลค่ากิจการถึง 2 พันล้านดอลลาร์ แต่เริ่มเกิดปัญหาเมื่อซัพพลายเออร์ผู้ผลิตจักรยานทยอยฟ้องร้อง เนื่องจากเกิดการผิดนัดชำระหนี้ ล่าสุดข้อมูลพบว่าสถานการณ์ Ofo น่าจะลำบากขึ้นอีก
โดยบริษัท Tianjin Fuji-Ta Bicycle ผู้ผลิตจักรยานได้ฟ้องต่อศาล เพื่อให้ Ofo ชำระหนี้ 36 ล้านดอลลาร์ สิ่งที่น่าสนใจคือรายงานในศาล เปิดเผยว่า Ofo นั้นอยู่ในสถานะบริษัทที่ไม่มีสินทรัพย์ใด ๆ สำหรับการจ่ายหนี้เลย บัญชีธนาคารส่วนใหญ่ถูกอายัดไว้ ที่ไม่ถูกอายัดก็แทบไม่มีเงินในบัญชี แถมบริษัทยังไม่มีสินทรัพย์ถาวร อาทิ อาคาร รถยนต์ หรือเงินลงทุนในบริษัทอื่นด้วย
Walter Huang วิศวกรของ Apple เสียชีวิตบนรถ Tesla X ขณะที่รถทำงานด้วยโหมด "Autopilot" (ข่าว, รายงานเบื้องต้นของ NTSB) ยื่นฟ้อง Tesla โดยระบุว่าบริษัทประมาทที่ทดสอบซอฟต์แวร์ที่มีความน่าเชื่อถือระดับ "เบต้า" บนรถที่มีผู้โดยสารจริง และโฆษณาเกินจริงทำให้คนเข้าใจว่าระบบของ Tesla ปลอดภัยกว่าคนขับ ทำให้ครอบครัวควรได้เงินชดเชย
Mark Fong ทนายของครอบครัว Huang ระบุว่า "ระบบ [ของ Tesla] ไม่ปลอดภัย, ไม่ควรใช้งานบนถนนสาธารณะ, และไม่ควรถูกโฆษณาว่าเป็น Autopilot" ในคำฟ้องยังระบุว่าแม้จะมีระบบอัตโนมัติ แต่ Tesla X กลับไม่มีระบบชะลอความเร็วเมื่อเข้าใกล้วัตถุด้านหน้า ขณะที่รถหลายรุ่นในท้องตลาดมี
ศึกระหว่าง Elon Musk ซีอีโอ Tesla กับ SEC หรือ ก.ล.ต. ของสหรัฐฯ ในประเด็นที่ Musk ทวีตข้อมูลตัวเลขการดำเนินงานของบริษัท จนเข้าข่ายชี้นำราคาหุ้น และศาลให้สองฝ่ายเจรจาไกล่เกลี่ยก็ได้ข้อสรุปที่ลงตัวเสียที
โดย Elon Musk ได้ทำข้อตกลงกับ SEC โดย Elon Musk สามารถใช้งาน Twitter ได้อย่างอิสระแต่มีข้อจำกัดบางอย่าง โดยหากสิ่งที่เขาต้องการทวีตเป็นเรื่องเหตุการณ์สำคัญของบริษัท หรือเป็นเรื่องการบรรลุเป้าหมายสำคัญทางการเงิน เขาจะต้องส่งเนื้อหาให้ทนายความของ SEC ตรวจสอบก่อน จึงจะทวีตได้ทุกครั้ง
Lyft บริการเรียกรถแท็กซี่เบอร์สองในอเมริกา คู่แข่ง Uber นำบริษัทไอพีโอเข้าตลาดหุ้นไปเมื่อปลายเดือนที่แล้ว โดยจากราคาหุ้นไอพีโอที่ 72 ดอลลาร์ต่อหุ้น และราคาวันแรกก็ปรับเพิ่มถึง 21% ทุกอย่างนั้นดูสวยดี แต่ราคาหุ้นล่าสุดนั้นร่วงลงมาอยู่ที่ 59.51 ดอลลาร์ หรือลดลงถึง 17% ก็มีคนที่ไม่ถูกใจกับสิ่งนี้
Elon Musk ซีอีโอ Tesla ได้ขึ้นศาลเพื่อสืบพยานจากคดีล่าสุดที่เขาถูก SEC หรือ ก.ล.ต. ของสหรัฐฯ ฟ้อง จากการที่เขาทวีตตัวเลขกำลังการผลิตของ Tesla ในปี 2019 ว่าจะอยู่ที่ 5 แสนคัน โดยที่ทวีตนี้ไม่ผ่านการตรวจสอบข้อมูลก่อน
ศาลได้ออกคำสั่งให้ Musk และ SEC เจรจาหาข้อสรุปในเรื่องนี้ภายใน 2 สัปดาห์ ซึ่งผู้พิพากษาให้ความเห็นต่อคดีนี้ไว้น่าสนใจว่า ประเด็นนี้สำคัญมากและเชื่อว่าต่อให้ศาลตัดสินไปทางใด ข้อพิพาทของทั้ง Musk และ SEC ก็จะไม่จบอยู่ดี จึงแนะนำให้สองฝ่ายเจรจากันว่าอะไรที่ทำได้ และอะไรที่ทำไม่ได้
ปลายเดือนที่แล้ว SEC เคยส่งหนังสือถึงมัสก์ กรณีที่เจ้าตัวทวีตว่าปี 2019 จะผลิตรถได้ราวๆ 500,000 คัน ซึ่งไม่ตรงกับเอกสารที่ส่งให้นักลงทุน ซึ่ง SEC ส่งหนังสือถามว่าทวีตดังกล่าวผ่านการตรวจสอบภายในก่อนตามข้อตกลงยอมความหรือไม่ เพราะส่งผลต่อราคาหุ้น
ล่าสุด SEC ยื่นฟ้องศาลในกรณีนี้แล้วหลัง Tesla ตอบกลับมาสั้นๆ ว่า "ไม่ได้ตรวจสอบทวีตก่อน" โดยคำฟ้องระบุว่ามัสก์ไม่เคยทำตามข้อตกลงดังกล่าวเลยแม้แต่ทวีตเดียว ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวเป็นคำสั่งศาลด้วย
หลังหน่วยงานความมั่นคงสหรัฐออกมาเตือนเรื่องการสอดแนมของ Huawei จนกระทั่งรัฐบาลรับลูกต่อออกคำสั่งแบนการใช้งานอุปกรณ์ Huawei ลามไปรัฐบาลประเทศพันธมิตร
ล่าสุด Huawei เดินเกมโต้กลับด้วยการยื่นฟ้องรัฐบาลสหรัฐแล้วที่ศาลแขวงเมือง Plano รัฐ Texas ที่ Huawei ไปตั้งสำนักงานใหญ่ โดยระบุว่าคำสั่งแบนของรัฐบาลผิดรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเป็นคำสั่งลงโทษ โดยที่ยังไม่มีการไต่สวนในชั้นศาลเลย ด้าน Guo Ping ประธาน Huawei ให้ความเห็นว่าบริษัทไม่มีทางเลือกแล้ว หลังจากพยายามเจรจาพูดคุยกับหน่วยงานรัฐของสหรัฐมาตลอด
Paul Grewal รองประธานของ Facebook ที่ดูแลด้านคดีความการฟ้องร้อง เปิดเผยว่าทั้ง Facebook และ Instagram ได้ยื่นฟ้องต่อศาลอเมริกาวันนี้ กับ 4 บริษัท และ 3 บุคคล ในประเทศจีน เนื่องจากมีการประกาศขายบัญชีปลอม, ขายยอด Like และยอด Follower ซึ่งการประกาศขายนี้เกิดขึ้นทั้งบน Facebook กับ Instagram เอง ตลอดจนบนแพลตฟอร์มอื่นทั้งของ Amazon, Apple, Google, LinkedIn และ Twitter นอกจากนี้การฟ้องร้องยังรวมถึงการนำเครื่องหมายการค้าไปใช้อย่างไม่ถูกต้องด้วย
Grewal ย้ำว่ากิจกรรมดังกล่าวไม่ถูกต้อง และต้องไม่เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มของ Facebook ซึ่งทุกวันนี้ Facebook ยังคงเดินหน้าปิดบัญชีปลอมเป็นจำนวนหลายล้านบัญชีในแต่ละวัน การดำเนินคดีความครั้งนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของการหยุดกิจกรรมดังกล่าวเช่นกัน
เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าการเปิดบริการยืนยันตัวตนสองขั้นตอน (Two-factor Authentication) ช่วยให้การใช้งานบริการออนไลน์มีความปลอดภัยขึ้น แต่ถ้ามันมาพร้อมความยุ่งยาก ก็ดูเหมือนผู้ใช้งานบางคนอาจจะไม่ใช่แค่อารมณ์เสีย แต่ต้องฟ้องร้องเลยทีเดียว
เรื่องมีอยู่ว่านาย Jay Brodsky ได้ยื่นฟ้องต่อศาลแคลิฟอร์เนีย บอกว่าแอปเปิลไม่ได้ขออนุญาตผู้ใช้ก่อนเลือกเปิดการยืนยันตัวตนสองขั้นตอน และเมื่อเปิดใช้แล้วก็ยุ่งยากมาก เพราะต้องจำทั้งรหัสผ่านล็อกอิน แล้วต้องล็อกอินเข้าอุปกรณ์ที่เชื่อถือได้อีก
The Wall Street Journal รายงานข้อมูลจากแหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยชื่อ ระบุอัยการสหรัฐเตรียมยื่นฟ้อง Huawei คดีขโมยเทคโนโลยีที่เป็นความลับทางการค้าจากจาก T-Mobile ที่เป็นพาร์ทเนอร์ในสหรัฐฯ ผู้สร้างเทคโนโลยีสำหรับทดสอบโทรศัพท์มือถือที่เรียกว่า Tappy โดยเตรียมฟ้องเป็นคดีอาญา
คดีนี้สอบสวนต่อจากคดีแพ่งระหว่าง T-Mobile และ Huawei เมื่อปี 2014 ที่ T-Mobile ยื่นฟ้องว่าพนักงานงาน Huawei ลักลอบเข้าไปในห้องปฏิบัติการเพื่อถ่ายภาพ Tappy โดยไม่ได้รับอนุญาต และยังพยายามนำปลายนิ้วของหุ่น Tappy ใส่ในกระเป๋าโน้ตบุ๊กและนำออกจากห้องปฏิบัติการ
สัปดาห์ที่แล้ว Qualcomm ชนะคดีแอปเปิลละเมิดสิทธิบัตรฟีเจอร์ 2 รายการในจีน ซึ่งศาลสั่งให้แอปเปิลเลิกขาย iPhone X ลงไปจนถึง iPhone 6s ทว่าแอปเปิลบอกว่ายังคงขายได้ แต่ก็บังคับอัพเดต iOS ใน iPhone รุ่นเก่าในจีน เพราะมองว่าบน iOS 12 ไม่ละเมิดฟีเจอร์ดังกล่าวของ Qualcomm และขายต่อ
เรื่องมีอยู่ว่าสุภาพสตรีชื่อ Courtney Davis ได้ให้ทนายยื่นฟ้องแอปเปิลต่อศาลแคลิฟอร์เนียเหนือ โดยกล่าวหาว่าแอปเปิลใช้ภาพโฆษณา iPhone XS Max ที่ทำให้เธอเชื่อว่า iPhone XS นั้น ไม่มีติ่งสองข้าง ซึ่งเธอมาทราบในภายหลังจากที่พรีออเดอร์ไปแล้ว
เอกสารยื่นฟ้องระบุว่าภาพโฆษณา iPhone XS ซึ่งปรากฏอยู่ทั้งในเว็บไซต์, ร้านค้าต่าง ๆ นั้น พยายามหลบเลี่ยงโดยใช้รูปบนหน้าจอที่ซ่อนพื้นที่สีดำไว้ จนทำให้แยกไม่ได้ว่า iPhone XS และ iPhone XS Max มีติ่งสองข้างในด้านบนของโทรศัพท์
ข้อกล่าวหายังไม่หมดแค่นี้ Davis ยังบอกว่าจำนวนพิกเซลบนหน้าจอ iPhone XS ที่ระบุก็ควรปรับให้ถูกต้อง เพราะพิกเซลบริเวณมุมเครื่องนั้นไม่เต็มพื้นที่ จึงควรปัดเลขลงไม่ใช่ปัดขึ้น
ศาลชั้นต้นจีนได้ตัดสินคดีที่ Qualcomm ฟ้องร้องแอปเปิลจากคดีละเมิดสิทธิบัตร 2 รายการ โดยศาลตัดสินให้ Qualcomm เป็นฝ่ายชนะ พร้อมออกคำสั่งห้ามแอปเปิลนำเข้าและจัดจำหน่าย iPhone รุ่นที่อยู่ในการละเมิด ได้แก่ iPhone 6S, 6S Plus, 7, 7 Plus, 8, 8 Plus และ X
อย่างไรก็ตามรายละเอียดการละเมิดในคำสั่งฟ้อง เป็นเรื่องของการลอกเลียนซอฟต์แวร์การทำงานในสมาร์ทโฟน ซึ่ง Qualcomm ระบุว่า iOS 11 มีการละเมิดสิทธิบัตรนี้ แต่แอปเปิลก็มีทางแก้ไขจากคำสั่งแบนได้ทันที เพราะปัจจุบันระบบปฏิบัติการล่าสุดที่วางจำหน่ายคือ iOS 12 ซึ่งไม่ได้ละเมิดสิทธิบัตรที่มีปัญหาแล้ว
ตัวแทนแอปเปิลกล่าวว่า iPhone ทุกรุ่นจะยังมีจำหน่ายในจีนต่อไป ส่วนฝั่ง Qualcomm ก็จะทำการอุทธรณ์ในลำดับต่อไป
จากเหตุ ก.ล.ต. สหรัฐ ยื่นฟ้อง Elon Musk เนื่องจากการทวีตข้อความเกี่ยวกับแผนซื้อหุ้นของ Tesla คืน ซึ่ง ก.ล.ต. มองว่าเป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และไม่เป็นตามขั้นตอนการเปิดเผยข้อมูลสำคัญของบริษัทในตลาดหุ้น ล่าสุดคดีนี้มีความคืบหน้าอีกขั้นแล้ว
โดย Elon Musk ในฐานะซีอีโอของ Tesla ได้ยื่นขอยอมความในคดีดังกล่าว ซึ่ง Elon Musk จะชำระค่าปรับเป็นเงิน 20 ล้านดอลลาร์ และลาออกจากตำแหน่งประธานบอร์ดบริหารของ Tesla โดยไม่กลับมาดำรงตำแหน่งเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี ส่วนตำแหน่งซีอีโอเขายังคงเป็นต่อไป
สถานการณ์ของสตาร์ทอัพแชร์จักรยาน Ofo ดูยากลำบากขึ้นไปอีก หลังจากทยอยปิดสาขาในต่างประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ล่าสุดมีรายงาน Ofo ถูกผู้ผลิตจักรยานฟ้องร้อง เนื่องจากค้างจ่ายเงิน
โดยบริษัทผู้ผลิตจักรยาน Shanghai Phoenix Bicycles ได้ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหาย Ofo เป็นจำนวนเงินราว 10 ล้านดอลลาร์ อธิบายว่า Ofo ได้เซ็นสัญญาให้ผลิตจักรยานจำนวน 5 ล้านคัน โดยจะทยอยซื้อตลอดปี ตั้งแต่พฤษภาคม 2017 ซึ่งตลอดปีที่แล้ว Ofo ซื้อจักรยานไปรวม 2 ล้านคัน แต่พอขึ้นปี 2018 ถึงตอนนี้ Ofo ซื้อจักรยานเพิ่มไปเพียง 1 แสนคันเท่านั้น จึงผิดข้อตกลงและทำให้บริษัทได้รับผลกระทบ
Apple ได้ยื่นเรื่องให้ USPTO ซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลทรัพย์สินทางปัญญาในสหรัฐอเมริกา ประกาศยกเลิกสิทธิบัตรของ Qualcomm จำนวน 4 ฉบับ โดยให้ถือเป็นโมฆะ ทั้งนี้สิทธิบัตรที่ว่านี้เป็นสิทธิบัตรที่ Qualcomm ใช้ฟ้องร้อง Apple ว่ามีการละเมิดใช้งานเทคโนโลยีในสิทธิบัตรโดยเรียกร้องเงินชดเชยนับพันล้านดอลลาร์
จากข่าวที่ Elon Musk ส่งอีเมลถึงพนักงานของ Tesla ระบุว่ามีคนเป็นหนอนบ่อนไส้ในบริษัท ซึ่งล่าสุด Tesla ได้ไล่พนักงานคนดังกล่าวออกไปและฟ้องร้องอดีตพนักงานผู้นี้ซึ่งมีชื่อว่า Martin Tripp ในข้อหาขโมยข้อมูลของบริษัทไปให้บุคคลภายนอก ล่าสุด Tripp ผู้ถูกฟ้องได้บอกเล่าเรื่องราวในมุมมองของฝั่งตนเองผ่านทางสื่อ The Washington Post บ้าง
Tripp บอกว่าสิ่งที่เขาทำลงไปนั้นหาได้เป็นเพราะความไม่พอใจกับการที่ไม่ได้เลื่อนขั้นอย่างที่บริษัทรถชื่อดังกล่าวหาไม่ หากแต่เขาตัดสินใจกระทำการลงไปเพราะต้องการตีแผ่ให้สังคมได้รับรู้ถึง "สิ่งน่าสะพรึงที่เขาได้เห็น" ในบริษัท Tesla
Samsung แพ้คดีที่ถูกฟ้องร้องว่าละเมิดสิทธิบัตรเกี่ยวกับ FinFET และถูกสั่งให้จ่ายเงินเพื่อชดใช้เป็นมูลค่า 400 ล้านดอลลาร์ให้แก่ KAIST เจ้าของสิทธิบัตร
FinFET เป็นทรานซิสเตอร์ MOSFET ชนิดหนึ่งที่ส่วนของ Source และ Drain ยื่นสูงขึ้นมาเป็นครีบ (อันเป็นที่มาของชื่อ) ซึ่ง KAIST มหาวิทยาลัยในเกาหลีใต้ได้ทำการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับ FinFET และจดสิทธิบัตรผลงานดังกล่าวได้ โดยมีการจดสิทธิบัตรในสหรัฐอเมริกาด้วย และตัวแทนที่ดูแลเรื่องผลประโยชน์ด้านทรัพย์สินทางปัญญาในสหรัฐอเมริกานี้เองที่ดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลว่า Samsung เอาผลงานวิจัยเกี่ยวกับ FinFET ไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต
ผ่านมาเกือบ 4 ปี เรื่องยังไม่จบสำหรับ iPhone 6 และ iPhone 6 Plus ถ้ายังจำกันได้มีการฟ้องร้องแอปเปิลแบบกลุ่มเรื่อง Touch Disease ที่หน้าจอไม่ตอบสนองทัชสกรีน ซึ่งสาเหตุอาจมาจากเครื่องที่บิดงอเพียงเล็กน้อย ทำให้ชิปคอนโทรลเลอร์ของทัชสกรีนหลุดจากบอร์ดและทำงานผิดพลาดได้
ในคดีนี้ ผู้พิพากษา Lucy Koh เปิดเผยถึงเอกสารภายในของแอปเปิลว่า แอปเปิลรู้อยู่ก่อนแล้วว่า iPhone 6 และ iPhone 6 Plus มีแนวโน้มจะงอได้ง่ายกว่าไอโฟนรุ่นก่อนหน้า ซึ่งเป็นประเด็นที่เกี่ยวเนื่องให้เกิด Touch Disease