เมื่อเดือนพฤษภาคม Huawei ได้ฟ้องร้อง Samsung ทั้งในสหรัฐอเมริกาและในประเทศจีนฐานละเมิดสิทธิบัตรด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร และเทคโนโลยีในสมาร์ทโฟน และในระหว่างที่คดีดังกล่าวยังไม่ได้เดินหน้าไปไหน Huawei ก็จัดการฟ้อง Samsung อีกครั้งในจีน โดยครั้งนี้ระบุว่าสมาร์ทโฟนของ Samsung จำนวน 16 รุ่นได้ละเมิดสิทธิบัตรของ Huawei ที่ว่าด้วยเรื่องการออกแบบไอคอนและวิดเจ็ต
Theranos บริษัทที่กำลังตกเป็นข่าวอื้อฉาวมาตลอดหลายเดือนหลัง เพราะโดนเพ่งเล็งทั้งเรื่องการหลอกลวงผู้บริโภคเกี่ยวกับเครื่องวิเคราะห์ตรวจเลือดซึ่งดูเหมือนจะไม่อาจเชื่อถือได้ดังที่กล่าวอ้าง ไม่เพียงแต่จะโดนหน่วยงานรัฐหลายแห่งรุมตรวจสอบจนจ่อจะโดนถอนใบอนุญาตห้องปฏิบัติการเท่านั้น ล่าสุดก็มีคนไปฟ้องร้อง Theranos ต่อศาลแล้ว โดยมีผู้ฟ้องดำเนินคดีแบบกลุ่ม (class action lawsuit) ถึง 3 คดีภายในช่วงเวลาแค่ 6 วันเท่านั้น
Huawei ยื่นฟ้องซัมซุงทั้งในสหรัฐและจีน ฐานละเมิดสิทธิบัตร 12 ชิ้น (บางสำนักข่าวระบุว่า 11 ชิ้น) ซึ่งเกี่ยวกับข้องกับเทคโนโลยีด้าน cellular เน็ตเวิร์คและเทคโนโลยีในสมาร์ทโฟน โดยทาง Huawei ระบุว่าซัมซุงนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในเรือธงตั้งแต่รุ่น Galaxy S2 เป็นต้นมา
อย่างไรก็ตามทาง Huawei ไม่ได้เรียกร้องให้มีคำสั่งห้ามขายสมาร์ทโฟนของซัมซุงในประเทศทั้งสอง แต่เป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหาย ขณะที่ BBC รายงานว่าแท้จริงแล้ว Huawei ต้องการตกลงแลกเปลี่ยนการใช้สิทธิบัตรกับซัมซุงมากกว่าเรียกค่าเสียหาย
ปีที่แล้วหนึ่งในข่าวการแฮคข้อมูลผู้ใช้ที่โด่งดังข่าวหนึ่ง คือกรณีที่ข้อมูลผู้ใช้เว็บหาชู้ Ashley Madison ถูกแฮคมาปล่อยบนอินเทอร์เน็ตแบบยกทั้งกระบิ ซึ่งผลที่ตามมาก็มีทั้งการลาออกของซีอีโอซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งเว็บด้วย และแน่นอนว่างานนี้มีเรื่องถึงโรงถึงศาล เพราะเชื่อได้เลยว่าชีวิตส่วนตัวของผู้ใช้เว็บไซต์หลายรายนั้นได้รับผลกระทบแบบจังๆ หลังความลับตัวเองรั่วไหล
การฟ้องร้องดำเนินคดีนั้น ฝ่ายที่ถูกฟ้องคือ Avid Life Media ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเว็บ Ashley Madison ในตอนแรกมีโจทก์ยื่นฟ้องโดยใช้นามแฝงทั้งสิ้น 42 ราย แต่ศาลไม่รับพิจารณาคดีหากโจทก์ผู้ฟ้องร้องไม่เปิดเผยชื่อจริงเพื่อยืนยันตัวตน ซึ่งนั่นก็ถือว่าทำให้โจทก์หลายคนทำใจอยู่นานเพื่อฝืนความอายของตนเองแล้ว ล่าสุดผู้พิพากษายังระบุสิ่งที่ทำให้ฝ่ายโจทก์ต้องปวดหัวยิ่งขึ้นไปอีกว่าจะไม่อนุญาตให้โจทก์ใช้เอกสารข้อมูลส่วนตัวที่รั่วไหลออกมาสู่อินเทอร์เน็ตมาเป็นหลักฐานประกอบการฟ้องร้อง
ITC (คณะกรรมการการค้าของสหรัฐอเมริกา) ได้เริ่มทำการสืบสวนผู้ผลิตสมาร์ทโฟน 7 ราย ว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัทดังกล่าวละเมิดสิทธิบัตรเกี่ยวกับการเล่นไฟล์สื่อหรือไม่ ซึ่งงานนี้หากผลการสืบสวนออกมาว่าเป็นการละเมิดจริง ITC จะสั่งระงับการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องมาขายในสหรัฐอเมริกา
ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนที่ว่านั้นมีด้วยกัน 8 แบรนด์ (จาก 7 บริษัท) ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นแบรนด์อันเป็นที่รู้จักกันดีทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น Samsung, Sony, LG, HTC, ZTE, Lenovo, Motorola และ BlackBerry
Apple ตัดสินใจยอมจ่ายเงิน 24.9 ล้านดอลลาร์ ให้แก่บริษัท Dynamic Advances เพื่อจบคดีสิทธิบัตรเกี่ยวกับ Siri
Dynamic Advances ได้ยื่นฟ้อง Apple ในปี 2012 ว่าละเมิดสิทธิบัตรฉบับหนึ่งของ Rensselaer Polytechnic Institute อันเป็นสถาบันวิจัย New York ซึ่งเป็นสิทธิบัตรที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ปี 2007 โดย Dynamic Advances เป็นผู้ได้รับสิทธิใช้งานสิทธิบัตรฉบับที่ว่าแต่เพียงผู้เดียว เนื้อหาของสิทธิบัตรต้นเรื่องนี้ว่าด้วยเรื่องของส่วนติดต่อผู้ใช้งานที่สามารถรับรู้ภาษาธรรมชาติแบบที่มนุษย์ใช้สื่อสารกัน
Oracle เรียกร้องเงิน 9.3 พันล้านดอลลาร์ เป็นค่าชดเชยความเสียหายจาก Google ในคดีที่มีการกล่าวหาว่า Google ละเมิดลิขสิทธิ์ซอร์สโค้ด Java โดยเอาไปใช้งานในระบบปฏิบัติการ Android
คดีระหว่าง Oracle กับ Google นี้จะมีการไต่สวนกันอีกครั้งในเดือนพฤษภาคมนี้ หลังจากที่ศาลฎีกาปฏิเสธที่จะรับคดีเข้าสู่การพิจารณา ส่วนศาลอุทธรณ์ก็ตีเรื่องกลับมาให้ศาลชั้นต้นตัดสินหาข้อสรุปว่าแท้จริงแล้วการที่ Google นำเอา API จำนวน 37 รายการของ Java ไปใช้งานใน Android นั้นถือเป็นการใช้งานโดยชอบธรรม (fair use) หรือไม่
ศาลฎีกาตัดสินคดีเรื่องการโก่งราคาอีบุ๊กของ Apple และยืนยันคำตัดสินของศาลอุทธรณ์ว่า Apple มีความผิดจริงตามคำฟ้องที่ยื่นร่วมกันโดยกระทรวงยุติธรรมและรัฐต่างๆ อีกกว่า 30 รัฐ ยังผลให้ Apple ต้องจ่ายเงิน 450 ล้านดอลลาร์
ความผิดของ Apple นั้นมาจากการกำหนดเงื่อนไขการตั้งราคาอีบุ๊กใน iBookstore ตั้งแต่ปี 2010 โดยทำข้อตกลงกับสำนักพิมพ์รายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา 7 แห่ง ห้ามมิให้สำนักพิมพ์ตั้งราคาอีบุ๊กแพงกว่าแหล่งขายอื่น ส่งผลให้ราคาอีบุ๊กในร้านค้าออนไลน์ต่างๆ ที่เคยขายถูกสุดอยู่ที่ 9.99 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นเป็น 12.99-14.99 ดอลลาร์ ซึ่งการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายการฮั้วกันโก่งราคาขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการผูกขาดทางการค้า
จากกรณีที่แอปเปิลประกาศต่อสู้กับศาล เราเห็นแนวร่วมในวงการไอทีสนับสนุนกันมาแล้วถึง 3 ราย คือ กูเกิล, EFF และ WhatsApp ล่าสุดมีแนวร่วมเพิ่มมาอีก 3 ราย คือ ไมโครซอฟท์, เฟซบุ๊ก และ ทวิตเตอร์ ที่ออกมาสนับสนุนแอปเปิลในเรื่องนี้
ไมโครซอฟท์ใช้วิธีการสนับสนุนผ่าน Reform Government Surveillance (RGS) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ไมโครซอฟท์ตั้งขึ้น โดย RGS ระบุว่าเห็นด้วยกับความต้องการของ FBI แต่ก็ไม่เห็นด้วยที่จะต้องใช้วิธีการทำ Backdoor เพื่อเพิ่มความเสี่ยงให้กับข้อมูลของผู้ใช้ และ RGS จะร่วมสนับสนุนแอปเปิลในการต่อสู้คดีในครั้งนี้
5 ปีก่อน Frederic Durand-Baissas ผู้ใช้ Facebook ชาวฝรั่งเศสถูกแบนบัญชีผู้ใช้หลังจากที่เขาโพสต์ภาพศิลปะอันโด่งดังตั้งแต่สมัยคริศตศตวรรษที่ 19 ชื่อ L'Origine du monde (แปลว่าจุดกำเนิดของโลก) ซึ่งเป็นภาพช่องคลอดของหญิงสาว เขาฟ้องร้อง Facebook เพื่อให้ชดเชยและคืนบัญชีผู้ใช้งานให้แก่เขา ซึ่งล่าสุดศาลที่ปารีสได้พิจารณาสั่งฟ้องตามคำร้องของ Durand-Baissas
Facebook นั้นให้เหตุผลที่แบนบัญชีผู้ใช้ของ Durand-Baissas ว่าการโพสต์ภาพ L'Origine du monde นั้นขัดต่อ "มาตรฐานชุมชน" ซึ่งมีใจความตอนหนึ่งระบุว่า
Colin Brickman ชายอเมริกันใน Florida ทำการฟ้อง Facebook ด้วยข้อกล่าวหาว่าทำผิดกฎหมายของรัฐบาลกลางเรื่องการคุ้มครองผู้ใช้งานโทรศัพท์ จากการที่ Facebook ส่งข้อความ SMS ให้เขาเพื่อแจ้งเตือนให้อวยพรวันเกิดเพื่อน โดยต้องการเรียกค่าเสียหาย 1,500 ดอลลาร์ต่อหนึ่งข้อความที่เขาเองและผู้ใช้คนอื่นได้รับ
Brickman เป็นตัวแทนในการดำเนินคดีฟ้องร้องแบบกลุ่ม โดยเขาอ้างว่า Facebook ไม่เคยได้รับสิทธิ์ในการส่งข้อความถึงตัวเขา แต่เขากลับได้รับ SMS ที่มีใจความว่า "วันนี้คือวันคล้ายวันเกิดของ Jim Stewart ตอบกลับเพื่อโพสต์คำอธิษฐานบน timeline ของเขา หรือพิมพ์ 1 เพื่อโพสต์ 'สุขสันต์วันเกิด!'"
Apple นั้นมีเหตุให้ต้องค้าความเรื่องสิทธิบัตรอยู่เนืองๆ แต่คดีกับ VirnetX ที่เพิ่งมีการตัดสินให้ Apple เป็นฝ่ายแพ้เมื่อไม่นานนี้ถือเป็นข่าวใหญ่มากสำหรับ Apple เพราะเจอคำสั่งศาลให้จ่ายเงินชดเชยสูงถึง 625.6 ล้านดอลลาร์ ซึ่ง Bloomberg ระบุว่านี่เป็นตัวเลขเงินชดเชยสูงติด 1 ใน 10 อันดับแรกนับแต่มีการตัดสินคดีเกี่ยวกับสิทธิบัตรมาเลย
เมื่อเดือนมีนาคมปีก่อน มีข่าวการพบมัลแวร์ของ Android ที่มีการตั้งชื่อให้มันว่า Dendroid ซึ่งแท้จริงคือชุดเครื่องมือสร้างมัลแวร์สำหรับการล้วงข้อมูลจากผู้ใช้ มาวันนี้หน้ากากของผู้ที่สร้างมันได้ถูกฉีกออกมาแล้ว และโฉมหน้าที่แท้จริงของผู้สร้าง Dendroid นั้นเป็นนักศึกษาวัย 20 ปี โดยหลังการจับกุมและถูกไต่สวนในศาล ตอนนี้เขาอาจต้องเจอโทษจำคุก 10 ปีสำหรับสิ่งที่เขาทำ
เชื่อว่าหลายคนยังจำกันได้กับมหากาพย์คดีสิทธิบัตรระหว่าง Apple และ Samsung ที่จะกลายเป็นหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์วงการไอทีกับคำตัดสินมูลค่าเงินชดเชยที่ Apple ผู้ชนะคดีจะได้รับจากการที่ Samsung ละเมิดสิทธิบัตรเป็นมูลค่าสูงกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ ตอนนี้ตัวเลขเงินชดเชยอาจหายไปวูบเดียวกว่า 500 ล้านดอลลาร์ หลังสิทธิบัตรสำคัญฉบับหนึ่งของ Apple ที่เกี่ยวพันคดีนี้เพิ่งถูกพิจารณาใหม่ว่าเป็นโมฆะ
แม้ว่า Apple จะเลือกใช้ชื่อ "Apple Watch" สำหรับผลิตภัณฑ์นาฬิกาข้อมือของตนเองแทนชื่อ "iWatch" ที่หลายคนเก็งกันเอาไว้ ซึ่งมีผู้ให้ความเห็นว่าเป็นเพราะต้องการเลี่ยงปัญหาเรื่องชื่อทางการค้าที่จะไปคล้ายกับชื่อ "iSwatch" ที่ถูกผู้ผลิตนาฬิกา Swatch จดทะเบียนไปก่อนหน้านั้นแล้ว กระนั้นก็ตาม Apple ก็ยังโดนฟ้องร้องเรื่องชื่อผลิตภัณฑ์กับคำว่า "iWatch" อีกจนได้ ทว่าผู้ที่ฟ้องร้องในครั้งนี้กลับไม่ใช่ผู้ผลิตนาฬิกาชื่อดัง
ศาลฎีกามีคำพิพากษาตัดสินลงโทษจำคุก 3 แฮกเกอร์ที่เข้าไปแก้ไขวงเงินค่าโทรในระบบบัตรเติมเงินของ TrueMove โดยตัวการหลักโดนโทษ 50 ปี
สำหรับการกระทำผิดของกลุ่มแฮกเกอร์นี้ มีการเข้าไปแก้ไขตัวเลขค่าโทรของผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือของ TrueMove โดยมีการขโมยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านเพื่อเข้าไปทำการแก้ไขตัวเลขในระบบให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 105 ล้านบาท ก่อนจะทำบัตรเติมเงินปลอมออกจำหน่ายได้เงิน 12 ล้านบาท โดยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2548 ในช่วงวันที่ 5 เมษายน ถึง 21 กรกฎาคม ทาง TrueMove พบการกระทำผิดและได้เข้าแจ้งความจนนำไปสู่การจับกุมผู้ต้องหาในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการดำเนินคดี จนในที่สุดได้มีคำตัดสินของศาลฎีกาเมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา
MakerBot ผู้ผลิตเครื่องพิมพ์ 3 มิติชื่อดัง กำลังตกเป็นจำเลยโดนฟ้องร้องฐานจงใจส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหาการใช้งานให้แก่ลูกค้า
คำฟ้องในคดีนี้ซึ่งเป็นการร่วมฟ้องของกลุ่มลูกค้าหลายคน ระบุว่าทาง MakerBot จงใจส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพให้แก่ลูกค้า ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าชิ้นส่วนสำคัญอย่าง extruder ซึ่งทำหน้าที่หลอมละลายเส้นพลาสติกและฉีดมันออกมาเพื่อขึ้นรูปชิ้นงานตามคำสั่งพิมพ์นั้นมีปัญหาอุดตันอย่างรวดเร็วหลังผ่านการใช้งานไปเพียงไม่กี่ครั้ง (ผู้ใช้รายหนึ่งระบุว่าจากประสบการณ์ตรงของเขา ตัว extruder ของเครื่อง MakerBot นี้ใช้งานได้ไม่ถึง 10 ครั้งก็ตันแล้ว)
เรื่องมีอยู่ว่าศาลแมนแฮตตันได้พิพากษาคดี โดยโจทก์ที่ยื่นฟ้องชื่อ Araceli King ระบุว่าเธอถูกบริษัทเคเบิ้ลทีวี Time Warner Cable โทรศัพท์มาหาด้วยระบบโทรศัพท์อัตโนมัติเป็นจำนวนรวม 153 ครั้ง โดยมีการโทรมาต่อเนื่องแม้เธอจะร้องเรียนไปแล้วว่ามันเป็นการโทรผิดเบอร์
ศาลได้พิพากษาให้ Time Warner จ่ายเงินค่าเสียหายแก่ Araceli King รวม 229,500 ดอลลาร์ เนื่องจากการกระทำของบริษัทถือว่าละเมิดกฎหมายการติดต่อลูกค้าทางโทรศัพท์
ในคำพิพากษานั้นศาลระบุว่าจำเลยไม่พยายามตรวจสอบควบคุมระบบอัตโนมัติให้ดีมากพอ ปล่อยให้มีการโทรหาบุคคลเดิมซ้ำอยู่เป็นร้อยครั้ง แทนที่จะตรวจสอบว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่
สืบเนื่องมายาวนานกับคดีโก่งราคาอีบุ๊กของ Apple ที่ดำเนินมาถึงการตัดสินของศาลชั้นอุทธรณ์ หลังจากที่ปลายปีก่อนมีความเคลื่อนไหวจากทาง Apple ที่ออกมาเสนอยอมจ่ายเงินเพื่อจบคดีและได้รับการอนุมัติจากศาลชั้นต้นแล้ว ล่าสุดศาลอุทธรณ์มีคำตัดสินว่า Apple ผิดจริงเช่นเดียวกับศาลชั้นต้น ยังผลบังคับให้ Apple ต้องจ่ายเงิน 450 ล้านเหรียญตามที่ได้ทำข้อเสนอยอมความเอาไว้
Apple ถูกฟ้องร้องฐานใช้ชิปที่ผลิตโดยใช้กระบวนการที่สงวนไว้ตามสิทธิบัตรที่มีการจดไว้ตั้งแต่ปี 1997 โดยเจ้าของสิทธิบัตรผู้ยื่นฟ้องในครั้งนี้ก็คือ MIT
MIT ได้ยื่นฟ้องที่ศาลใน Boston โดยระบุว่าผู้ผลิตชิป Micron Technology จาก Idaho นั้นผลิตชิป DRAM ให้ Apple โดยอาศัยเทคนิคการผลิตที่มีการตัดวัสดุด้วยเลเซอร์ ซึ่ง MIT อ้างว่าเทคนิคการผลิตชิปดังกล่าวนั้นได้รับความคุ้มครองตามสิทธิบัตรหมายเลข 6,057,221 ที่ MIT ถือครองอยู่ ซึ่งสิทธิบัตรนี้ถูกยื่นจดตั้งแต่ปี 1997 และได้รับการอนุมัติในปี 2000 ทั้งนี้ชื่อของผู้คิดค้นกระบวนการตัดชิ้นงานผลิตชิปด้วยเลเซอร์ตามที่ระบุในสิทธิบัตรนั้นก็คือ Joseph Bernstein และ Zhihui Duan
ศาล California ระบุว่า Facebook จะถูกดำเนินคดีด้วยข้อกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้ใช้จากการสแกนข้อความในแอพ Messenger
Facebook มีระบบสแกนเนื้อหาที่ผู้ใช้สนทนาผ่าน Messenger เพื่อใช้สำหรับการกำหนดโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของผู้ใช้ ซึ่งทาง Facebook แย้งว่ากลไกการทำงานดังกล่าวเป็นไปตามข้อยกเว้นภายใต้ "กฎหมายเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลในการสนทนาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์" (Electronic Communications Privacy Act) ที่ได้ยกเว้นให้ผู้ให้บริการสามารถสกัดกั้นหรือแทรกกลางการสื่อสาร (interception) ได้เพื่อให้กิจกรรมการประกอบธุรกิจโดยปกติสามารถเป็นไปได้ อย่างไรก็ตามศาลกล่าวว่า Facebook ยังไม่อาจอธิบายได้ว่าการกระทำที่สอดส่องเนื้อหาในการสนทนาของผู้ใช้นั้นเป็นไปเพื่อ "การประกอบธุรกิจโดยปกติ" อย่างไร
สำนักงานอัยการแห่งศาลแขวงกลางของกรุง Seoul ได้ตั้งข้อหาดำเนินคดีกับ Travis Kalanick ซีอีโอของ Uber และนาย Lee ตัวแทนบริษัท MK Korea ผู้ให้บริการรถเช่าในเกาหลีใต้ ฐานร่วมกันประกอบธุรกิจโดยละเมิดกฎหมายด้านบริการโดยสาร
ข้อกฎหมายของเกาหลีใต้ระบุว่า ห้ามมิให้มีการนำเอารถซึ่งมีไว้เพื่อให้เช่าไปให้บริการโดยสารสาธารณะ โดยผู้ประกอบการที่ละเมิดกฎหมายนี้อาจต้องรับโทษสูงสุดคือจำคุก 2 ปี (แหล่งข่าวต้นทางมิได้ระบุชัดเจนว่า Uber ร่วมมือกับ MK Korea เป็นทางการในการให้ผู้คนเช่ารถไปขับรับผู้โดยสารที่เรียกบริการผ่านแอพ Uber หรือต่างฝ่ายต่างให้บริการกันแน่)
ความเสียหายที่เกิดจากการถูกแฮคระบบคอมพิวเตอร์ของ Sony Pictures นั้นไม่เพียงทำให้ตัวบริษัทเองตกอยู่ในความเสี่ยงเท่านั้น แต่ข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมากที่ถูกแฮคไปด้วยย่อมหมายถึงความเสียหายที่เกิดกับตัวบุคคลเหล่านั้นเองด้วยเช่นกัน และสำหรับอดีตพนักงานส่วนหนึ่งของ Sony Pictures เห็นว่าอดีตนายจ้างควรรับผิดชอบในเรื่องนี้ จึงได้ยื่นฟ้องร้องต่อศาลให้เอาผิดกับสตูดิโอดังฐานหละหลวมเรื่องมาตรการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในความรับผิดชอบ
ถัดจาก Xiaomi ที่โดนศาลสั่งแบนห้ามจำหน่ายในอินเดีย คราวนี้เป็นทีของ OnePlus One บ้าง หลังจากศาลสูงของเมืองเดลีมีคำสั่ง ตามคำฟ้องของทาง Micromax ห้ามจำหน่ายและโฆษณาผลิตภัณฑ์ของ OnePlus One ในอินเดีย
สาเหตุของการยื่นฟ้อง มาจากการที่ตรา Cyanogen ด้านหลังของเครื่อง OnePlus One นั้นเป็นการละเมิดข้อตกลงที่ Micromax จะเป็นพาร์ทเนอร์แต่เพียงผู้เดียวของ Cyanogen ในอินเดีย หลังจากที่ Cyanogen ประกาศทำรอมให้กับทาง Micromax
ศาลเมือง Oakland รัฐ California ได้อ่านคำตัดสินคดีกลุ่มผู้ใช้ iPod ที่รวมตัวกันฟ้องแอปเปิลข้อหากีดกันทางการค้า จากการที่ iTunes เวอร์ชัน 7.0 ซึ่งเปิดตัวในปี 2006 ปิดกั้นไม่ให้ใช้แอพดาวน์โหลดเพลงอื่น รวมทั้งปิดการให้ซอฟต์แวร์เล่นเพลงอื่นเข้าถึง iPod โดยผลการตัดสินนั้นคณะลูกขุนมีมติให้แอปเปิลไม่มีความผิดในข้อกล่าวหาดังกล่าว โดยมองว่า iTunes 7.0 เป็นการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ ไม่ใช่ทำเพื่อกีดกันทางการค้าอย่างที่กล่าวหา
แอปเปิลออกแถลงการณ์หลังอ่านคำตัดสิน โดยยืนยันว่าแอปเปิลได้สร้าง iPod และ iTunes เพื่อสร้างประสบการณ์การฟังเพลงที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า และดียิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ