หลังจากออราเคิลออก Java SE 8 ตัวจริง ก็ถึงคิวของ IDE คู่บารมีอย่าง NetBeans ที่ออกเวอร์ชัน 8.0 ตามมา
ของใหม่ที่สำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้นการรองรับ Java 8 ยกชุด ทั้ง Java SE 8, Java SE Embedded 8, Java ME Embedded 8 ส่วนฝั่งของ Java EE ก็รองรับ PrimeFaces, Tomcat 8.0, TomEE
ฟีเจอร์อย่างอื่นคือการทำงานร่วมกับ Apache Maven, AngularJS, Apache Cordova 3.3+, PHP 5.5 และปรับปรุง UI ส่วนของการจัดการหน้าต่างและตัว editor
รายละเอียดของฟีเจอร์อ่านได้จาก NetBeans Wiki
หลังจากที่เป็น Release Candidate มากว่าเดือน ล่าสุด Oracle ก็ได้ฤกษ์ปล่อยตัว Java SE 8 ที่รอกันมานานแสนนานเสียที ในวันที่ 18 มีนาคม 2557 ที่ผ่านมา
สำหรับฟีเจอร์ใหม่ ๆ นั้นอ่านได้ในข่าวเก่าหรือเว็บไซต์ของ Oracleครับ
ที่มา: Oracle
ออราเคิลรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 3 ของปีการเงินบริษัท 2014 (ธันวาคม-กุมภาพันธ์) มีรายได้รวม 9.3 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 4% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 3.1 พันล้านดอลลาร์ใกล้เคียงกับปีก่อน
ออราเคิลบอกว่าหากวัดจากยอดขายจริงบริษัทควรมีรายได้เพิ่มขึ้นระดับ 10% แต่ที่โตเพียง 4% เป็นเพราะความผันผวนของค่าเงิน และส่วนธุรกิจคลาวด์ก็มีการสมัครใช้งานเพิ่มขึ้นมากกว่า 25% โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าคลาวด์แอพพลิเคชั่นที่สร้างรายได้ให้ออราเคิลระดับ 300 ล้านดอลลาร์ต่อไตรมาส
กลุ่มธุรกิจฮาร์ดแวร์ก็เติบโตเช่นเดียวกับคลาวด์ โดยเติบโตได้ในระดับ 30% หากตัดความผันผวนของค่าเงินออกไป
หลังจากไมโครซอฟท์ร่วมกับออราเคิล รองรับ Oracle Database และ WebLogic บน Windows Azure เมื่อกลางปีที่แล้ว ไมโครซอฟท์ก็ประกาศว่าจะเริ่มให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 มี.ค. นี้ และจะเริ่มคิดค่าไลเซนส์รวมเข้ากับค่าใช้บริการ Windows Server VM
สำหรับการคิดค่าใช้บริการนั้นจะขึ้นกับจำนวนนาทีทั้งหมดที่ VM รันซอฟต์แวร์ของออราเคิลใช้งานไป (license-included Oracle VM) รายละเอียดค่าใช้บริการเป็นรายชั่วโมงดูได้จากเว็บไซต์ Windows Azure ตามที่มาของข่าว และหากทำสัญญาแบบ 6 หรือ 12 เดือน ระหว่าง 12 มี.ค. - 30 มิ.ย. ปีนี้ จะได้ส่วนลด 20-32%
เมื่อต้นปีที่แล้ว ออราเคิลประกาศเลื่อน Java 8 มาเป็นเดือนมีนาคม 2014
วันนี้เข้าเดือนกุมภาพันธ์ 2014 สถานะของ Java 8 ก็ใกล้รุ่นจริงเข้ามาทุกที โดยออราเคิลเพิ่งออก Java 8 Release Candidate ตัวแรก (RC1) มาให้ทดสอบกันแล้ว
นโยบายของออราเคิลคือจะออก Java Development Kit 8 (JDK8) ในวันที่ 18 มีนาคมนี้ถ้าไม่เจอบั๊กร้ายแรง ส่วนบั๊กย่อยอื่นๆ จะปล่อยผ่านและไปแก้ไขในรุ่น point release ต่อไปภายหลัง
ฟีเจอร์ใหม่ของ Java 8 อ่านได้ในข่าวเก่า
ที่มา - Phoronix
ตลาดกลุ่มเมฆแบบ Infrastructure as a Service (IaaS) กำลังจะได้ผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาอีกราย โดยออราเคิลที่ตีกินตลาดแอพพลิเคชันธุรกิจบนกลุ่มเมฆ (SaaS) มานาน ประกาศว่าจะเปิดบริการ IaaS cloud มาสู้กับ Amazon Web Services และ Azure แล้ว
Larry Ellison ซีอีโอของออราเคิลระบุว่าเราจะได้เห็น Oracle IaaS ภายในครึ่งแรกของปี 2014 และตั้งใจแข่งขันอย่างจริงจัง (we intend to compete aggressively) โดยตั้งราคาที่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดได้
Ellison บอกว่ายุทธศาสตร์ของออราเคิลคือสู้ราคาในตลาด IaaS และสร้างความแตกต่างในตลาดแอพพลิเคชันเพื่อกินส่วนต่างกำไรที่ดีกว่า
ออราเคิลยังเดินหน้าช็อปปิ้งต่อไปไม่มีหยุดยั้ง ล่าสุดประกาศซื้อบริษัท Responsys ผู้สร้างซอฟต์แวร์ด้านการตลาดที่อยู่บนกลุ่มเมฆ โดยมีลูกค้าเป็นบริษัทหรือห้างร้านที่อยากได้โซลูชันด้านการตลาดสำหรับผู้บริโภคในยุคออนไลน์ ทั้งเว็บไซต์ อีเมล โฆษณา โซเชียล และโมบาย
ซอฟต์แวร์ของ Responsys จะถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของชุด Oracle Marketing Cloud โดยการซื้อกิจการรอบนี้มีมูลค่า 1.5 พันล้านดอลลาร์
คดีสิทธิบัตรจาวาที่น่าจะเป็นคดีสำคัญที่สุดในบรรดาสิทธิบัตรแอนดรอยด์ ที่จบคดีในปีที่แล้ว ออราเคิลแพ้คดีสิทธิบัตรแทบทั้งหมด และชนะคดีชุดทดสอบเพียง 9 บรรทัด แต่ยังมีคดีหนึ่งที่ตัดสินไม่เด็ดขาด คือ ลิขสิทธิ์ของ API ที่ลูกขุนไม่สามารถตัดสินอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้ผู้พิพากษา Alsup ต้องตัดสินเอง และจบคดีด้วยการยกฟ้องไปเพราะ Alsup ระบุว่า API นั้นไม่มีลิขสิทธิ์
ออราเคิลประกาศว่าจะอุทธรณ์ประเด็นนี้มาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว และตอนนี้ก็ถึงช่วงเวลาการสอบพยานใหม่
นักข่าวที่อยู่ในห้องพิจารณาคดีระบุว่ากูเกิลอาจจะตกที่นั่งลำบากเพราะองค์คณะผู้พิพากษาทั้งสามคนมีแนวโน้มจะเห็นด้วยกับออราเคิล
แอพพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์ GlassFish กำลังจะกลายเป็นผลิตภัณฑ์ของซัน (เดิม) อีกหนึ่งตัวที่ถูกออราเคิลทอดทิ้ง โดยออราเคิลจะหยุดทำ GlassFish เวอร์ชันสำหรับองค์กร (GlassFish JEE 7 Server) และขอให้ลูกค้าย้ายไปใช้แอพพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์อีกตัวหนึ่งของออราเคิลคือ WebLogic แทน
ส่วน GlassFish เวอร์ชันโอเพนซอร์สจะยังพัฒนาต่อไป โดย GlassFish Server Open Source Edition 4.1 มีกำหนดออกในปี 2014 และจะตามด้วย GlassFish 5.0 สำหรับ Java EE 8 ในอนาคต
ที่มา - ZDNet
งานแถลงข่าวผลประกอบการไตรมาสล่าสุดของออราเคิลยังคงโจมตีคู่แข่งตลอดกาลอย่างไอบีเอ็มอย่างต่อเนื่อง ด้วยการประกาศว่าออราเคิลขึ้นมาเป็นที่สองของโลกซอฟต์แวร์เมื่อนับตามรายได้ และพาดหัวรองจดหมายข่าวด้วยการระบุว่า "ไอบีเอ็มตกไปอยู่ที่สาม"
จดหมายข่าวนี้อาศัยรายงานรายได้ของไอบีเอ็มเองที่ระบุว่าสี่ไตรมาสล่าสุดมีรายได้จากซอฟต์แวร์รวม 25.7 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่ออราเคิลมีรายได้จากซอฟต์แวร์รวม 27.8 พันล้านดอลลาร์ ทำให้ออราเคิลขึ้นมาเป็นที่สองรองจากไมโครซอฟท์แทนที่ไอบีเอ็ม
กระบวนการนับรายได้และช่วงเวลาที่นับรายได้ทั้งสองบริษัทมีข้อแตกต่างกันพอสมควร ในแง่ของความต่างคงไม่มากนับ แต่ก็นับว่าออราเคิลไล่เบียดไอบีเอ็มขึ้นมาได้
เทคโนโลยี JavaFX ช่วงหลังๆ เงียบหายไปจากข่าว แต่ที่งาน JavaOne ของออราเคิลก็ยังมีการแสดงเทคโนโลยี JavaFX บน Raspbian โดยใช้ฮาร์ดแวร์เป็น Raspberry Pi ประกอบกับแบตเตอรี่, เซ็นเซอร์, จอ, และเคส ขึ้นมาเป็นแท็บเล็ตที่ชื่อว่า DukePad
ตัวซอฟต์แวร์แบ่งแต่ละแอพพลิเคชั่นเป็น JavaFX OSGi ทำงานอยู่บนเฟรมเวิร์ค Eclipse Equinox ข้อจำกัดสำคัญของซอฟต์แวร์คือมันต้องการหน่วยความจำกราฟิกค่อนข้างมาก ออราเคิลแนะนำว่าผู้ที่ต้องการทดลองให้แบ่งแรมไว้สำหรับกราฟิก 256MB หรือครึ่งหนึ่งของเครื่อง
ตัวซอฟต์แวร์ให้ดาวน์โหลดมาเล่นได้ฟรี ส่วนฮาร์ดแวร์มีต้นทุนรวม 367 ดอลลาร์
ทิศทางของโลกซอฟต์แวร์องค์กรในรอบ 2-3 ปีหลังนี้ชัดเจนมากว่า ซอฟต์แวร์องค์กรชื่อดังๆ เริ่มออกเวอร์ชันใช้งานบนกลุ่มเมฆ เพื่อเป็นทางเลือกนอกเหนือจากการใช้งานแบบติดตั้งในองค์กร (on premise) ลักษณะเดิม
ค่าย Oracle เริ่มผลักดันยุทธศาสตร์กลุ่มเมฆของตัวเองในชื่อแบรนด์ Oracle Cloud ตั้งแต่ปีที่แล้ว (เจาะยุทธศาสตร์ Oracle Cloud) และปีนี้ก็ประกาศบริการเพิ่มอีก 10 ตัว
บริการทั้ง 10 ตัวแบ่งกลุ่มได้เป็นบริการประมวลผลลักษณะเดียวกับ Amazon Web Services, ฐานข้อมูลบนกลุ่มเมฆ, WebLogic บนกลุ่มเมฆ และบริการแอพพลิเคชัน ERP ต่างๆ ที่รันบนกลุ่มเมฆ
ช่วงวันสองวันนี้มีงาน Oracle OpenWorld ซึ่งเป็นงานใหญ่ประจำปีของออราเคิลและบริษัทในเครือ (งานสาย Java/MySQL ก็ย้ายมาจัดช่วงเวลาเดียวกันนี้) รูปแบบของงาน OpenWorld แบ่งการสัมมนาออกเป็นหลายวัน และแต่ละวันจะมี keynote ประกาศข่าวผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ชุดใหญ่
งาน OpenWorld 2013 วันแรก เราเห็นผู้ก่อตั้งและซีอีโอ Larry Ellison ขึ้นเวทีเปิดตัวผลิตภัณฑ์สำคัญอย่าง Oracle Database In-Memory
แต่งานวันที่สองของ OpenWorld ซึ่งมี keynote อีกนัด เรากลับไม่เห็นตัวของ Ellison ที่มีคิวพูดเช่นกัน ด้วยเหตุผลว่า Ellison ตัดสินใจโดดงานเพื่อไปดูการแข่งเรือใบแทนครับ
จากที่เคยเกริ่นไว้เมื่อกลางปี เมื่อวานนี้ออราเคิลก็อาศัยเวที Oracle OpenWorld เปิดตัว Oracle Database In-Memory ฐานข้อมูลเวอร์ชันทำงานในหน่วยความจำอย่างเป็นทางการ
ฟีเจอร์นี้เป็น "ตัวเลือก" ให้กับ Oracle Database 12c ที่ออกมาตั้งแต่ปีก่อนให้สามารถทำงานในหน่วยความจำได้ โดยที่แอพพลิเคชันระดับบนไม่ต้องแก้โค้ดใดๆ แต่จะได้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมาอีกมาก นอกจากนี้ออราเคิลยังเพิ่มฟอร์แมตการเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่เก็บลง column แทน row เพื่อให้เหมาะกับงานวิเคราะห์ข้อมูล (analytic) อีกด้วย
ที่มา - Oracle
Larry Ellison เปิดตัว Oracle Database In-Memory
ออราเคิลประกาศในวันนี้ ยืนยันว่ากระบวนการพัฒนา Java 8 ยังคงทำได้ตามกำหนด และจะเปิดตัวเวอร์ชั่น SE ในเดือนมีนาคมปีหน้า โดยสถานะการพัฒนาตอนนี้ จะเป็นช่วงให้นักพัฒนาทดลองใช้งาน (Developer Preview) หลังจาก JDK 8 รุ่นแรกที่ฟีเจอร์ครบตรมเสปคนั้นออกมาได้เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
Java 8 จะมีฟีเจอร์ใหม่เข้ามาอีกหลายอย่าง ที่สำคัญได้แก่
ออราเคิลเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่ที่ใช้ชิป SPARC M6 ที่เปิดตัวไปแล้วก่อนหน้านี้ โดยเปิดตัวมาพร้อมกันสองรุ่นได้แก่ SPARC M6-32 และ SuperCluster M6-32
SPARC M6-32 รองรับซีพียูสูงสุด 32 ซ็อกเก็ต โดยชิปแต่ละตัวมี 12 คอร์ รวม 384 คอร์ รองรับหน่วยความจำสูงสุด 32TB ใช้ Oracle Solaris สำหรับ SuperCluster M6-32 คือ SPARC M6-32 ที่ขายคู่กับเซิร์ฟเวอร์สตอเรจ Exadata
ออราเคิลระบุว่าเซิร์ฟเวอร์ทั้งสองตัวออกแบบมาสำหรับการประมวลผลฐานข้อมูลในหน่วยความจำโดยเฉพาะ และหากใช้ Oracle VM Server for SPARC ก็จะสามารถแบ่งเครื่องออกมาได้ถึง 128 เครื่องต่อโดเมน
ที่มา - Oracle
Christopher Budd ผู้บริหารของบริษัทความปลอดภัย Trend Micro เปิดเผยข้อมูลผ่านบล็อกของบริษัทว่า ลูกค้าองค์กรที่ใช้งาน Java 6 (ที่ออราเคิลหยุดสนับสนุนไปแล้ว) กำลังมีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีจากบรรดาแฮ็กเกอร์มากขึ้น
Budd บอกว่าแฮ็กเกอร์ใช้วิธีนำแพตช์ของ Java 7 (ที่ออราเคิลยังสนับสนุนอยู่) มาแกะหรือ reverse engineering เพื่อดูว่ามีช่องโหว่อะไรบ้าง จากนั้นก็นำข้อมูลที่ได้ไปเจาะกับ Java 6 (ที่มีช่องโหว่ลักษณะเดียวกัน แต่ไม่ถูกอุด) ซึ่งตอนนี้มีการโจมตีลักษณะนี้เกิดขึ้นจริงแล้ว
ออราเคิลเปิดตัวชิป SPARC M6 รุ่นล่าสุดที่งาน Hot Chip โดยมีฟีเจอร์สำคัญที่สุดคือการขยายจำนวนซ็อกเก็ตต่อเครื่องได้ถึง 96 ซ็อกเก็ต รวมจำนวนคอร์ถึง 1,152 คอร์ และ 9,216 เธรดในเครื่องเดียว
ชิป M6 นั้นมาพร้อมกับส่วนเชื่อมต่อสองฝั่ง ได้แก่ Scalability Links จำนวน 6 ชุด เอาไว้เชื่อมต่อกับซีพียูในโดเมนเดียวกัน ทำให้ซีพียูแต่ละกลุ่มสามารถจัดเป็นชุดได้ชุดละ 8 ตัว ขณะเดียวกันก็มีช่องทาง Coherence Links ไว้เชื่อมต่อกับซีพียูนอกกลุ่มผ่านระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เรียกว่า Bixby มันสามารถส่งข้อมูลหลายทอด (multiple hops) เพื่อเรียกข้อมูลจากหน่วยความจำที่อยู่บนซ็อกเก็ตอื่นๆ ได้ ทำให้สามารถขยายจำนวนซ๊อกเก็ตไปได้สูงสุด 96 ซ๊อกเก็ต
Larry Ellison ซีอีโอและผู้ก่อตั้งออราเคิล แถมยังเป็นเพื่อนรักของสตีฟ จ็อบส์ และคอยช่วยเหลือเขาในช่วงเวลาที่ยากลำบาก ให้สัมภาษณ์กับสถานีทีวี CBS ของสหรัฐถึงทิศทางของแอปเปิลในยุคหลังสตีฟ จ็อบส์ ว่าจะเป็นอย่างไร
Ellison บอกว่าเรารู้คำตอบนี้กันดีอยู่แล้ว และเราเคยเจอสถานการณ์แบบนี้มาก่อนแล้วหนึ่งครั้ง เขาบอกว่าเราเคยเห็นแอปเปิลที่มีจ็อบส์ (ทำนิ้วชี้ขึ้น) แอปเปิลที่ไม่มีจ็อบส์ (ทำนิ้วชี้ลง) แอปเปิลที่จ็อบส์กลับมาอีกครั้ง (ทำนิ้วชี้ขึ้น) และแอปเปิลที่ไม่มีจ็อบส์อีกครั้ง (ทำนิ้วชี้ลง)
บทสัมภาษณ์ฉบับเต็มของ Ellison จะเผยแพร่ผ่าน CBS ในวันพรุ่งนี้ ตอนนี้ยังมีแต่คลิปทีเซอร์ที่ตัดออกมาบางส่วนครับ
ออราเคิลฟ้องบริษัทให้บริการซัพพอร์ตระบบปฎิบัติการ Solaris สองบริษัทคือ Terix และ Maintech ฐานให้บริการอัพเดตกับลูกค้าอย่างผิดกฎหมาย โดยออราเคิลอ้างว่าทั้งสองบริษัทใช้บัญชีของบริษัทเองเข้าไปดาวน์โหลดอัพเดตให้กับลูกค้า ทำให้ลูกค้าไม่ต้องซื้อบริการซัพพอร์ตรายปีจากออราเคิลโดยตรง
Terix ปฎิเสธข้อกล่าวหาของออราเคิล โดยระบุว่าลูกค้าของ Terix นั้นมีบัญชีผู้ใช้ในระบบของออราเคิลและมีสัญญาการซัพพอร์ตอยู่แล้ว ทาง Terix เข้าไปดาวน์โหลดอัพเดตออกมาให้เพื่อประโยชน์ของลูกค้าเท่านั้น ส่วนทาง Maintech ยังไม่ออกมาตอบโต้ใดๆ
สถาปัตยกรรมซีพียู ARMv8 แบบ 64 บิตกำลังใกล้เป็นจริงขึ้นเรื่อยๆ และลูกค้าหลักของซีพียูกลุ่มนี้ย่อมหนีไม่พ้นตลาดเซิร์ฟเวอร์องค์กรประหยัดพลังงาน (micro server) ซึ่งก็ใกล้เคียงกับกลุ่มลูกค้าสาย Java เดิม
ออราเคิลในฐานะเจ้าของ Java จึงเป็นเสือปืนไว ประกาศปรับปรุงประสิทธิภาพของ Java SE ให้ทำงานกับสถาปัตยกรรม ARM มากขึ้น (ทั้งรุ่น 32 และ 64 บิต)
ตามข้อตกลงนี้ ออราเคิลกับ ARM จะร่วมกันปรับปรุง Java ทั้งเรื่องประสิทธิภาพ การประหยัดพลังงาน และความเข้ากันได้ของไลบรารีต่างๆ โดยเน้นไปที่ลูกค้ากลุ่มองค์กรและตลาดฝังตัวเป็นหลัก
ที่มา - ARM
นักวิจัยด้านความปลอดภัยจากบริษัท Security Explorations ค้นพบช่องโหว่ใหม่ของ Java 7 (มีผลกระทบกับ Java SE 7 Update 25 ซึ่งเป็นตัวล่าสุดด้วย)
ปัญหาอยู่ที่ส่วนของ Reflection API ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่เพิ่มเข้ามาใน Java 7 แต่กลับเป็นต้นเหตุของรูโหว่ใน Java เป็นจำนวนมาก ช่องโหว่นี้เป็นเรื่องของ data type ที่ต่างกันระหว่าง integer/pointer ซึ่ง Security Explorations บอกว่าเปิดให้ถูกโจมตีแบบง่ายๆ ซึ่งไม่ควรเกิดขึ้นแล้วในยุคนี้
Security Explorations จึงตั้งคำถามกับกระบวนการด้านตรวจสอบความปลอดภัยของออราเคิลว่ามีประสิทธิภาพมากเพียงใด เพราะปัญหารูโหว่ใน Java ช่วงหลังมาจากโค้ดใหม่ๆ ที่เพิ่มเข้ามาในเวอร์ชันหลังๆ นั่นเอง
ออราเคิลซื้อซันไปเมื่อปี 2009 และนำผลิตภัณฑ์ของซันมาใช้ต่ออีกหลายตัว อย่างไรก็ตามล่าสุดออราเคิลประกาศหยุดพัฒนาฮาร์ดแวร์-ซอฟต์แวร์เดิมของซันดังนี้
เหตุผลที่ออราเคิลเลิกทำซอฟต์แวร์กลุ่ม VDI ของซันคงเป็นเพราะซ้ำซ้อนกับ Oracle Secure Global Desktop ที่เป็น VDI แบบรันผ่านเซิร์ฟเวอร์เหมือนกัน ส่วนซอฟต์แวร์ desktop virtualization ของซันอย่าง VirtualBox นั้นยังพัฒนาต่อไปเหมือนเดิม
ออราเคิลเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลสำหรับการประมวลผลในหน่วยความจำ Oracle Exalytics In-Memory Machine X3-4 สำหรับการประมวลข้อมูลธุรกิจขนาดใหญ่ในหน่วยความจำโดยตรง
Exalytics X3-4 เป็นเซิร์ฟเวอร์ Xeon E7-4800 สูงสุด 40 คอร์, แรม 2TB, SSD ขนาด 2.4TB, และฮาร์ดดิสก์ 5.4TB ตัวเครื่องมาพร้อมกับ Oracle BI และ Oracle TimesTen
ราคาตั้งแต่ 200,000 ดอลลาร์ไปจนถึง 1,600,000 ดอลลาร์ ขึ้นกับคอนฟิก คงเหมาะกับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ที่ต้องการความเร็วสูงๆ
ที่มา - eWeek
ในขณะที่ Steve Ballmer ให้สัมภาษณ์กับ BusinessWeek เรื่องการปรับโครงสร้างองค์กรนั้น มีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้