Lee Hsien Loong นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์โพสต์ผ่าน Facebook ว่าได้พบปะพูดคุยกับ Sheryl Sandberg ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายปฏิบัติการแห่ง Facebook ซึ่งเดินทางมาเยือนสิงคโปร์ โดยประเด็นพูดคุยคือความร่วมมือกันแก้ปัญหาข่าวปลอม Lee Hsien Loong ระบุว่าเขารู้สึกยินดีกับการพบกันครั้งนี้มาก
Infocomm Media Development Authority (IMDA) ของสิงคโปร์ประกาศแผนการสร้างตู้ล็อกเกอร์สำหรับส่งสินค้ากลางเพื่อให้บริษัทขนส่งต่างๆ สามารถเข้าใช้ตู้เหล่านี้ได้โดยไปตั้งตู้ของตัวเองตามสถานที่ต่างๆ โดยตั้งเป้าภายในกลางปี 2018 จะมีตู้ 75 ตู้ให้บริการ และคาดว่ารวมทั้งเกาะจะมี 760 ตู้ในระยะยาว
ตอนนี้บริษัทขนส่งต่างๆ พยายามตั้งตู้ล็อกเกอร์ส่งสินค้าของตัวเอง Singapore Post เป็นอันดับหนึ่ง มีตู้ POPStation ของตัวเอง 153 ตู้ ขณะที่บริษัทรองลงมาอย่าง bluPort ติดตั้งไปแล้ว 49 ตู้
Grab คู่แข่งสำคัญของ Uber ตะวันออกเฉียงใต้ จะไม่มีสถานะเป็นผู้ให้บริการแชรร์ถอย่างเดียว แต่จะเป็นบริษัทให้บริการด้าน Payment ด้วย Grab ซึ่งมีระบบจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตและเดบิตอยู่แล้วนั่นก็คือ Grab Pay โดยนี่จะเป็นครั้งแรกที่ Grab Pay ใช้เป็น E wallet จ่ายค่าอาหารได้
Grab Pay เริ่มจ่ายค่าอาหารได้ตามร้านค้า street food ในสิงคโปร์ก่อนเป็นที่แรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้วิธีการจ่ายเงินด้วยการสแกน QR Code มีร้านค้าในระบบแล้ว 25 ร้านค้า เป้าหมายคือจะเพิ่มเป็น 1,000 ร้านค้าภายในสิ้นปี 2017
ฮ่องกงและสิงคโปร์เผยแผนเตรียมเชื่อมต่อแพลตฟอร์มด้านการค้าระหว่างประเทศหรือ trade finance เข้าด้วยกันด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน เพื่อลดการโกงและความผิดพลาดในเงินทุนนับล้านล้านดอลลาร์ในการเทรดระหว่างประเทศ
Hong Kong Monetary Authority (HKMA) และธนาคาร HSBC, Standard Chartered ได้ทดสอบระบบบล็อกเชนสำหรับการสร้างแพลตฟอร์มด้านการค้าระหว่างประเทศ ส่วนทางสิงคโปร์ก็เริ่มทดสอบแล้วเช่นกัน โดยการเชื่อมต่อกันระหว่างสองแพลตฟอร์มข้ามประเทศนี้ HKMA และ Monetary Authority of Singapore (MAS) จะทำงานร่วมกันในการพัฒนาบล็อกเชนและเทคโนโลยี FinTech อื่น ๆ ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของแผนร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านการเงินของสองประเทศ
Google Pixel 2 และ Pixel 2 XL วางขายเพียง 9 ประเทศ โดยประเทศที่อยู่ใกล้บ้านเราที่สุดคือสิงคโปร์
ล่าสุดมีข้อมูลจาก Singtel ว่าตนเองเป็นโอเปอเรเตอร์รายเดียวที่จะมีสิทธิขายมือถือ Pixel (exclusive) และจะนำ Pixel 2 XL เข้ามาวางขายเพียงรุ่นเดียวเท่านั้น (ไม่มี Pixel 2 รุ่นปกติ) และเข้ามาทั้งสองสีคือ Just Black กับ Black and White ส่วนวันวางขายในสิงคโปร์คือ 15 พฤศจิกายน ราคายังต้องรอประกาศช่วงใกล้ๆ เปิดตัว
Singtel ยังให้ข้อมูลว่า Pixel 2 XL รองรับ LTE Cat 11 ซึ่งมีอัตราการดาวน์โหลดสูงสุดในทางทฤษฎีที่ 500 Mbps อีกด้วย
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารบางแห่งของสิงคโปร์ได้ปิดบัญชีของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับ cryptocurrency บ้างแล้ว
เรื่องนี้ถูกเปิดเผยโดย ACCESS สมาคมอุตสาหกรรม cryptocurrency และ blockchain ของสิงคโปร์ ที่ระบุว่ามีบริษัทประมาณ 10 แห่งมีปัญหาถูกปิดบัญชีธนาคาร โดยที่ธนาคารไม่ได้อธิบายเหตุผลที่ชัดเจน
ตัวอย่างบริษัทที่โดนปิดบัญชีคือ CoinHako ที่ให้บริการกระเป๋าเงินสำหรับ cryptocurrency ระบุว่าบัญชีที่เปิดกับธนาคาร DBS ถูกปิดโดยไม่ทราบสาเหตุ ส่วน DBS ปฏิเสธไม่ให้ความเห็นต่อกรณีนี้
Blognone เคยนำเสนอข่าว oBike อยู่บ่อยครั้ง ทั้งเปิดตัวใน AIT ปทุมธานีและการโดนยึดรถที่ไทเป ล่าสุดผมได้มีโอกาสลองใช้งานในประเทศบ้านเกิดของ oBike นั่นคือสิงคโปร์นั่นเองครับ ซึ่งในสิงคโปร์ก็มีการใช้งาน Bike Sharing กันอย่างแพร่หลาย ยิ่งถ้าเป็นช่วงเย็นๆ บริเวณแถว Garden By The Bay หรือตามสวนสาธารณะแทบจะหาจักรยานไม่ได้เลยทีเดียว
Oei Hong Leong เศรษฐีอันดับ 25 ของสิงคโปร์ประกาศตั้งบริษัท One Belt One Net โดยจะลงทุนรวมห้าพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 165,000 ล้านบาท สำหรับการสร้างอาคาร, เครื่องจักร, และการฝึกบุคลากร เพื่อสร้างศูนย์ข้อมูลสำหรับบริการทา่งการเงิน, และบล็อคเชน
ตัว Leong ไม่ได้ระบุว่าจะระดมทุนทั้งหมดมาทางช่องทางใด นิตยสาร Forbes รายงานมูลค่าทรัพย์สินรวมของเขาไว้ที่ 1.3 พันล้านดอลลาร์ และการลงทุนเดิมก็อยู่ในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์
ชื่อบริษัท One Belt One Net ดูจะล้อมาจากชื่อโครงการ One Belt One Road ของจีนที่เตรียมลงทุนขนานใหญ่ในหลายประเทศทั่วโลกเพื่อสร้างเส้นทางทางการค้า
Accenture บริษัทให้บริการและปรึกษาด้านเทคโนโลยีในสิงคโปร์ เปิดตัวศูนย์เรียนรู้และพื้นที่บ่มเพาะความรู้ทางธุรกิจบนโลกดิจิทัล ให้ลูกค้าที่มาใช้บริการพื้นที่สตูดิโอและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีเพื่อนำไปผลักดันธุรกิจดิจิทัลได้ ในการเปิดตัวศูนย์บ่มเพาะนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจสิงคโปร์ หรือ Singapore Economic Development Board หรือ SEDB ด้วย
iPhone X เปิดตัวไปแล้วด้วยราคาที่หลายคนบอกว่าแพงทีเดียวคือ $999 สำหรับ 64GB และ $1199 สำหรับ 256GB แต่นั่นคือราคาที่ขายในอเมริกา ซึ่งพอมาจำหน่ายในประเทศไทยราคาก็น่าจะเปลี่ยนไป ไม่ได้คูณด้วยอัตราแลกเปลี่ยนกันตรงๆ แต่ตอนนี้ราคาไทยยังไม่ออกมา ตัวเปรียบเทียบที่น่าจะพอใช้ได้ก็คือราคาของประเทศที่ใกล้กับเมืองไทย
โดยราคาขาย iPhone X ของประเทศในทวีปเอเชียบางส่วนที่อยู่กลุ่ม Tier-1 ซึ่งจะเริ่มจำหน่ายวันที่ 3 พฤศจิกายน มีราคาขายตามความจุ 64GB และ 256GB ดังนี้
รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมสิงคโปร์ประกาศในสภาว่าระบบขนส่งมวลชนจะรองรับการจ่ายค่าโดยสารเพิ่มเติม หลังจากตอนนี้ทดสอบการจ่ายผ่านบัตร Mastercard มาแล้วครึ่งปี โดยช่องทางจ่ายเงินที่จะรับเพิ่มเติมคือ Visa, Nets, Apple Pay, และ Android Pay
Apple Pay และ Android Pay จะเริ่มทดสอบในไตรมาสแรก ขณะที่ Visa และ Nets จะทดสอบช่วงกลางปี
การประกาศนี้เป็นการตอบกระทู้ถามในสภาสิงคโปร์ ขณะที่ขนส่งทางบกสิงคโปร์ระบุว่าจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการภายหลัง
ระบบทดสอบจ่ายผ่านบัตร Mastercard แบบ contactless พบว่ามีผู้ใช้งานรวมประมาณหนึ่งแสนคน และมียอดใช้งานวันละประมาณ 60,000 ครั้ง
Arthur Tugade เสขาธิการกระทรวงคมนาคมฟิลิปปินส์ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับ Singapore Cooperation Enterprise (SCE) หน่วยงานภายใต้กระทรวงพาณิชย์ของสิงคโปร์ เพื่อให้สิงคโปร์ช่วยเหลือในการพัฒนาระบบจัดการจราจรอัจฉริยะ (intelligent transport system - ITS)
แนวทางการจัดการจราจรของสิงคโปร์ มีตั้งแต่มาตรวจสอบการจราจรเต็มรูปแบบ เช่น การหาจุดคอขวดหรืออุบัติเหตุบนท้องถนน จากนั้นเป็นการจัดการ เช่น การเก็บค่าผ่านทางในช่วงการจราจรหนาแน่น, การตรวจจับผู้จอดรถผิดกฎหมาย, และตรวจจับผู้ใช้เลนรถโดยสารโดยไม่ได้รับอนุญาต
การซ้อมแผนสำรองในกรณีภัยพิบัติคงเป็นเรื่องปกติสำหรับองค์กรที่ต้องการความต่อเนื่องในการดำเนินการ แต่ภาคการเงินของสิงคโปร์ก็มีการซ้อมประจำปีขนานใหญ่ทั้งอุตสาหกรรมในชื่อ Exercise Raffles ที่ซ้อมรับมือทั้งภัยก่อการร้ายและการคุกคามไซเบอร์
Exercise Raffles เป็นการซ้อมรับมือเหตุการณ์ร่วมกัน ระหว่างธนาคาร, สถาบันทางการเงิน, บริษัทประกัน, หน่วยงานบริหารหลักทรัพย์, โบรกเกอร์, ไปจนถึงโครงสร้างตลาดทางการเงินต่างๆ รวม 139 องค์กร มีที่ตั้งอยู่ในอาคาร 50 อาคาร ร่วมกับหน่วยงานของรัฐ ตั้งแต่ ธนาคารกลางสิงคโปร์, ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์, ตำรวจ, กระทรวงสารสนเทศและการสื่อสาร, สำนักงานความปลอดภัยไซเบอร์
หลังจากที่นายกรัฐมนตรี Lee Hsien Loong เพิ่งจะกล่าวสุนทรพจน์ไปเมื่อวันก่อนว่าจะเปลี่ยนสิงคโปร์ให้เป็น Smart Nation เปลี่ยนประเทศให้เป็นสังคมไร้เงินสด และยังใช้ทวิตเตอร์โพสต์ข้อความว่าสิงคโปร์กำลังต้องการทำระบบ e-payments และต้องการรวมจุดระบบขายหน้าร้าน (unified POS systems) แต่ว่าระบบยังมีปัญหา ยังไม่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้
จากนั้น CEO จากบริษัท Razer ซึ่งเป็นชาวสิงคโปร์ก็เข้ามาตอบทวีตของ Lee ว่าเขารันระบบ e-payment ให้ภายใน 18 เดือน สำหรับชาวสิงคโปร์ โดยชาวสิงคโปร์ Lee จึงตอบข้อความเขาว่า ให้ทำ proposal มา เขาจะศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง ก่อนหน้านี้ สิงคโปร์ก็เพิ่งเปิดตัว PayNow ที่จ่ายเงินด้วยหมายเลขโทรศัพท์และบัตรประชาชนและกำลังจะปรับให้ใช้ QR Codeได้ด้วย
ต่อต้านไม่ได้ก็เข้าร่วมมันซะเลย ComfortDelGro ผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะซึ่งมีจำนวนรถแท็กซี่เยอะเป็นอันดับต้นๆ ในประเทศสิงคโปร์ เตรียมจับมือเป็นพันธมิตรกับ Uber
ประกาศของทาง ComfortDelGro ที่ส่งให้ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์เมื่อวานนี้ แจ้งว่าบริษัทได้เตรียมทำข้อตกลงแบบ exclusive กับ Uber ในความเป็นไปได้ที่จะเป็นพันธมิตรซึ่งกันและกัน
ข้อตกลงดังกล่าว คาดว่าจะนำรถแท็กซี่กว่า 15,500 คันของ ComfortDelGro มารวมไว้ในระบบของ Uber ซึ่งจะทำให้การเรียกรถแท็กซี่ของ ComfortDelGro ง่ายขึ้นกว่าเดิม และเพิ่มจุดแข็งของ Uber ในสิงคโปร์ขึ้นไปอีก
ก่อนหน้านี้ เพิ่งจะมีข่าวสิงคโปร์เตรียมปรับระบบขนส่งสาธารณะให้เป็นแบบไร้เงินสดทั้งหมดภายในปี 2020 ล่าสุด นายกรัฐมนตรี Lee Hsien Loong กล่าวสุนทรพจน์ในวันชาติโดยให้ความสำคัญ 3 เรื่องคือการศึกษา สาธารณสุข-ต่อสู้กับโรคเบาหวาน และการผลักดันประเทศให้เป็น Smart Nation
Lee พูดถึงอัตราส่วน 6 ใน 10 ของการ transaction ในสิงคโปร์ยังใช้เงินสดและเช็คอยู่ ขณะที่จีนนั้นก้าวหน้าไปมากเรื่อง e-payment พลเมืองส่วนใหญ่ใช้แอพพลิเคชั่นในการจ่ายเงิน เช่น WeChat Pay และ AliPay
ขนส่งทางบกสิงคโปร์ (Land Transport Authority - LTA) ประกาศโครงการรถเมล์แบบปรับเส้นทางตามความต้องการของผู้ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการแทนที่จะเป็นการปล่อยรถเมล์ตามรอบเวลาและตามเส้นทางที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเช่นทุกวันนี้
การบริการแบบใหม่นี้ผู้ใช้จะสามารถเรียกรถเมล์ไปยังป้ายที่กำหนดไว้ พร้อมกับแจ้งป้ายที่ต้องการลงจากรถ แนวทางนี้ทำให้ผู้ให้บริการรถเมล์สามารถปล่อยรถตามความต้องการจริงแทนที่จะวิ่งรถเปล่าตามเส้นทาง พร้อมๆ กับอาจจะปรับเส้นทางไปตามความต้องการผู้ใช้ โดยคาดว่าจะนำระบบนี้ไปทดสอบในเขตที่มีการใช้งานรถเมล์นอกช่วงเร่งด่วนจำนวนน้อย
ต้นปีที่ผ่านมา รถเมล์และ MRT เปิดทดสอบให้ผู้ใช้บริการใช้บัตรเครดิต Mastercard แบบ contactless จ่ายค่าบริการโดยตรง ล่าสุดกรมการขนส่งเตรียมขยายให้ระบบขนส่งสาธารณะเป็นแบบไร้เงินสดทั้งหมดภายใน 2020
ปัจจุบัน ผู้ใช้สามารถแตะบัตร Mastercard แบบ contactless สำหรับเข้าใช้งาน MRT หรือรถโดยสารสาธารณะได้แล้ว ขณะที่บัตรโดยสารแบบเติมเงิน (top-up) ยังรองรับการเติมทั้งเงินสด, บัตรเครดิต, Apple Pay และ Android Pay ผ่านทางตู้ตามสถานี ซึ่งทางกรมการขนส่งเตรียมจะปรับให้ตู้เติมเงินเหล่านี้เลิกรับเงินสดและรับเฉพาะบัตรเครดิต ไปจนถึง Apple Pay และ Android Pay เพิ่มเติม
M1 ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในสิงคโปร์เปิดบริการ NB-IoT เป็นเครือข่าย IoT เครือข่ายแรกในอาเซียน โดยให้บริการพร้อมกันทั่วประเทศ (ไม่รู้ใช้เสากี่ต้น) พร้อม Keppel Electric ผู้ให้บริการไฟฟ้าในสิงคโปร์ประกาศมิเตอร์ไฟฟ้าที่ให้ลูกค้าเข้าตรวจสอบการใช้ไฟฟ้าผ่านเว็บ
ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ใช้มิเตอร์รุ่นใหม่จะสามารถตรวจสอบปริมาณการใช้ไฟฟ้าได้ตลอดเวลา ข้อมูลที่ได้อาจช่วยตรวจสอบอุปกรณ์ที่เสียหายจากการใช้ไฟฟ้าผิดปกติ
คู่แข่งของ M1 อย่าง Singtel ประกาศจะให้บริการเครือข่าย IoT ในเดือนหน้า โดยเตรียมวางสองเครือข่าย คือ NB-IoT และ CAT-M1 ที่ความเร็วสูงกว่าไปพร้อมกัน
สิงคโปร์เพิ่งปรับกฎหมายรองรับรถโดยสารส่วนบุคคล (private-hire) เช่น Uber และ GrabCar แต่ตอนนี้ก็มีข้อขัดแย้งกับกฎหมายอีกครั้งเมื่อรถโดยสารเหล่านี้ไปรับงานรับส่งสินค้า แต่กฎหมายขนส่งทางบกสิงคโปร์กลับไม่เปิดช่องให้ทำได้หากไม่มีผู้โดยสารถือสินค้าไปด้วย
ร้านสะดวกซื้อ Cheers ในเครือ NTUC FairPrice ประกาศเปิดสาขาไร้พนักงานประจำร้านเป็นสาขาแรก แม้จะไม่ใช่ระดับที่ไม่มีแคชเชียร์แบบ Amazon Go แต่ก็มีระบบอัตโนมัติ เช่น การตรวจจับพฤติกรรมของผู้ซื้อ และการตรวจสต็อกสินค้า
ลูกค้าของสาขาทดลองนี้ยังต้องไปจ่ายเงินด้วยตัวเองอยู่ โดยจะมีแคชเชียร์แบบบริการตัวเองเอาไว้ และสามารถจ่ายเงินได้หลากหลายช่องทางยกเว้นเงินสด ตั้งแต่บัตร NETS, NETS QR, EZ-Link, บัตรเครดิต, DBS Paylah, OCBC Pay Anyone, และ UOB Mighty ในแง่ของความปลอดภัยจากขโมย ลูกค้าของสาขานี้จะต้องลงทะเบียนผ่านแอป Shop It Yourself เสียก่อน จากนั้นจึงจะสามารถสร้าง QR เพื่อปลดล็อกประตูเข้าไปซื้อสินค้า
บริษัทประมวลผลการจ่ายเงินอย่าง Visa มีศูนย์ข้อมูลเฉพาะในอเมริกาเหนือมาโดยตลอด วันนี้บริษัทก็ประกาศเตรียมขยายศูนย์ข้อมูลทีเดียวอีกสองประเทศ คือ สิงคโปร์ และอังกฤษ
ศูนย์ข้อมูลในสิงคโปร์นับเป็นศูนย์ข้อมูลการจ่ายเงินศูนย์แรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 10,000 ตารางเมตร โดยก่อนหน้านี้ Visa เคยลงทุนในสิงคโปร์ด้วยการเปิด Visa University และ Singapore Innovation Center สำหรับการศึกษาและการลงทุนนวัตกรรมมาก่อนแล้ว สำหรับศูนย์ข้อมูลในอังกฤษจะเป็นศูนย์ข้อมูลเก่าที่มาปรับปรุงใหม่ มีพื้นที่ใช้สอย 10,000 ตารางเมตรเช่นเดียวกัน
ศูนย์ข้อมูลทั้งสองศูนย์จะเริ่มประมวลผลการจ่ายเงินในปี 2018
Amazon ยังคงขยายตลาดอีคอมเมิร์ซสู่ประเทศใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด TechCrunch รายงานว่า Amazon เตรียมเปิดตัวบริการในประเทศสิงคโปร์ในสัปดาห์นี้ ซึ่งถือเป็นการเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งแรก
ในการเปิดตัวนี้ Amazon จะเปิดบริการ Amazon Prime และ Amazon Prime Now ไปพร้อมกันด้วย
แผนการตลาดของ Amazon ได้เริ่มมาระยะหนึ่งแล้ว โดยทำการตลาดผ่านบัญชี Instagram ที่มีผู้ติดตามเยอะของสิงคโปร์ โพสต์ภาพบอกใบ้เป็นนัยว่า Amazon จะมาให้บริการในประเทศเร็วๆ นี้
สิงคโปร์เปิดบริการ PayNow หลังไทยมาหลายเดือน แต่ตอนนี้ธนาคาร OCBC ในสิงคโปร์ก็พยายามก้าวไปอีกขั้นด้วยการจ่ายเงินผ่าน QR ที่ไม่ต้องบอกข้อมูลใดๆ ไม่ว่าจะเป็นเบอร์โทรศัพท์, หมายเลขบัตรประชาชน, หรือแม้แต่หมายเลขบัญชี
แนวทางของ OCBC เป็นการสร้างตั๋วเงินโดยระบุจำนวนเงินที่ต้องการจ่ายสร้างเป็น QR แล้วส่งไปให้ผู้รับ โดยจะแสกนโดยตรงจากโทรศัพท์หรือส่งทางอีเมลหรือแชตใดๆ ก็ได้ เมื่อผู้รับใช้แอป Pay Anyone สแกนตัว QR ก็จะได้รับเงินเข้าบัญชี โดยก่อนหน้านี้ตัวแอป Pay Anyone สแกน QR สำหรับจ่ายเงินผ่านระบบ NETS ที่ร้านค้าบางร้านจะมีหน้าจอสำหรับแสดง QR เพื่อรับเงินได้อยู่แล้ว
Brijesh Pande ผู้ก่อตั้งกองทุน Tembusu ICT ให้สัมภาษณ์กับ IEEE Spectrum ถึงภาพรวมการลงทุน โดยเขาเชื่อว่าการตั้งบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับ (cryptography) ในสิงคโปร์นั้นดีกว่าสหรัฐฯ เพราะกฎข้อบังคับที่ไม่บังคับให้บริษัทต้องทำตามคำสั่งของ NSA
บริษัทที่ Tembusu ลงทุนด้วยตอนนี้เช่น Sixscape ขายโซลูชั่นเข้ารหัสจากปลายทางถึงปลายทาง และการจัดการโครงสร้างกุญแจสาธารณะ Lawrence Hughes ผู้ก่อตั้งบริษัทเคยทำบริษัท Ciphertrust ในสหรัฐฯ และ Infoweapons ในฟิลิปปินส์มาก่อน Hughes ระบุว่าการทำสินค้าเกี่ยวกับการเข้ารหัสลับจากสหรัฐฯ จะถูกมองว่ามีช่องโหว่สำหรับ NSA ฝังเอาไว้ทำให้ทำตลาดทั่วโลกได้ยาก