การวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์จากทั่วทุกมุมโลกทำให้เทคโนโลยีในด้านนี้มีความก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ และหากเราสังเกตดูดีๆแล้ว การพัฒนาหุ่นยนต์ในแต่ละทวีปนั้นมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกันเล็กน้อย
การพัฒนาหุ่นยนต์ในโซนเอเชียโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นนั้น เน้นหนักในงานวิจัยเกี่ยวกับหุ่นยนต์เสมือนคน (Humanoid) ในขณะที่งานวิจัยจากประเทศตะวันตกนั้น กลับเป็นงานวิจัยหุ่นยนต์ในเชิงระบบอัตโนมัติและเครื่องจักรอัจฉริยะ
จนมีผู้ตั้งข้อสงสัยว่า ความเชื่อทางศาสนาของนักวิจัยนั้นมีผลต่องานวิจัยเหล่านี้หรือไม่?
ทาง The folks กลุ่่มนักพัฒนาโปรแกรม iphone ได้เผยแพร่โปรแกรมปลดล็อก iphone เพื่อที่จะให้สามารถใช้ ซิม ของเจ้าอื่นแบบฟรีๆแล้ว
โปรแกรมรวมทั้ง source code ยังคงเปิดให้ดาวน์โหลด ควบคู่กันไปด้วยที่ Gizmodo mirror ส่วนวิธีการใช้ทีมพัฒนายังไม่ทำออก ซึ่งคาดว่าจะนำออกมาเผยแพร่เร็วๆนี้
ก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน ทาง iphonesimfree เพิ่งจะขาย โปรแกรมปลดล็อกในราคา 99$
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาไฟร์ฟ็อกซ์มีคนดาวน์โหลดไปใช้งานแล้ว สี่ร้อยล้านครั้ง
จากครั้งแรกที่เปิดตัวเมื่อปี 2004 (สามปีเองเหรอเนี้ย - -")
ผลการรายงานส่วนแบ่งตลาดผู้ใช้งานเบราว์เซอร์ พบว่า ไฟร์ฟ็อกซ์ แย่งส่วนแบ่งมาได้อีก 5.6 เปอร์เซ็นต์ เป็น 17.4 เปอร์เซ็นต์ ส่วนลูกพี่ใหญ่ของเราไมโครซอฟท์ ยอดรวมตกลงมา 9.6 เปอร์เซ็นต์ แต่ยังคงครองส่วนใหญ่ของเค้กก้อนนี้อยู่ถึง 63.9 เปอร์เซ็นต์
ที่มา : Slashdot
ว่าแล้วก็ลองไปค้นหาที่มาข้อมูลก็เจอ นี้ครับ เข้าไปดูได้เลยข้อมูลครบดีนะ :) ,
ไมโครซอฟท์เริ่มออกโรง กันวิสตาเถื่อน
โดยทำการเปิด Reduced Functionality mode ทำให้หน้าจอของผู้ใช้งานวิสต้าแบบไม่มีลิขสิทธิ์ทั้งหมด แสดงสีดำสนิททั้งหน้าจอ เป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง ผู้ใช้ไม่สามารถกดอะไรได้เลยแม้กระทั่งตัว desktop เอง (หรือกดได้แต่มองไม่เห็น)
คนที่ใช้วิสต้าอยู่คงร้อนๆ หนาวๆ กันนิดหน่อยละครับ
ปล. รอดูตัวแก้อีกเหมือนเดิม
ที่มา : Slashdot,,
บริษัท TerraNet AB. ในสวีเดน ได้พัฒนาระบบการเชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์มือถือ ให้ใช้พื้นฐานแบบ peer-to-peer ซึ่งจะทำให้เครื่องลูกข่ายติดต่อกันได้โดยตรงในรัศมี ๒ ก.ม. โดยไม่ต้องมีสถานีฐาน (Base Station) และสามารถเชื่อมโยงสัญญาณต่อกันเป็นเครือข่าย ซึ่งจะทำให้สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไป ผ่านทางเครื่องที่อยู่ระหว่างทางได้ด้วย (อ่านจากเว็บไซต์ สามารถเชื่อมต่อได้ 7 ช่วงเครื่อง) ทั้งหมดนั้นหมายความว่า ผู้ใช้ จะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์แต่ละครั้งด้วย
ทุกวันเสาร์ที่สามของเดือนกันยายนจะเป็นวัน Software Freedom Day หรือวันส่งเสริมการใช้งานซอฟต์แวร์เสรี/โอเพนซอร์ส โดยบรรดาอาสาสมัครจะช่วยกันจัดงานส่งเสริมโอเพนซอร์สในรูปแบบต่างๆ กระจายกันไปตามที่ต่างๆ ทั่วโลกในวันเดียวกัน (ตัวเลขปี 2005 มีมากกว่า 300 ทีมจาก 60 ประเทศ ส่วนของปีนี้ดูแผนที่)
ไมโครซอฟท์และบริษัท Tmsuk จากญี่ปุ่นได้ประกาศความร่วมมือในการนำซอฟต์แวร์ Microsoft Robotics Studio (MSRS) มาใช้ในหุ่นยนต์ของตัวเอง
บริษัท Tmsuk นั้นเป็นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นที่ได้ทำการผลิตเครื่องจักรและหุ่นยนต์มาตั้งแต่ปี 1992 ซึ่งหุ่นยนต์ที่ผลิตนั้นมีทั้งหุ่นยนต์ที่ใช้ล้อในการเคลื่อนที่ และหุ่นยนต์เสมือนคน (Humanoid) โดยหุ่นยนต์แต่ละชนิดจะถูกออกแบบสำหรับงานที่แตกต่างกันไป เช่นหุ่นยนต์ทำงานออฟฟิศ และหุ่นยนต์ช่วยดูแลสุขภาพมนุษย์
วันที่ 15 กันยายน
เวลา: 12:00 – 20:00 (ตามเวลาประเทศไทย)
สถานที่: Milton Bender Auditorium, Asian Institute of Technology
Mozilla 24 เป็นงานสัมมนาเกี่ยวกับแนวโน้มของเว็บออนไลน์ และบันทึกเทป
มี 3 หัวข้อ คือ
ที่มา - Mozilla 24
หลายๆ คนติดใจกับข่าวเมื่อการย่อและขยายภาพไม่จำเป็นต้องคงอัตราส่วนเสมอไป และเรียกร้องให้ Adobe ซื้อฟีเจอร์นี้ไปใช้ แต่ที่ไหนได้ GIMP มาแรงแซงทางโค้ง พัฒนาฟีเจอร์นี้เสร็จไปเรียบร้อย ที่ไม่ธรรมดาคือมีคนทำถึง 2 ทีมเสียด้วย
ของทีมแรกพัฒนาด้วย Python และผู้เขียนบอกว่าอัลกอริทึมที่ทีมนักวิจัยเขียนอธิบายนั้นเข้าใจได้ง่ายมาก เผอิญว่าตอนที่ผมเขียนนี้เว็บพังเลยไม่รู้รายละเอียดเพิ่มเติม
แม้จะสนับสนุนอยู่เรื่อยมา แต่ทางไอบีเอ็มก็เพิ่งประกาศตัวเข้าร่วมพัฒนาโปรแกรมชุด OpenOffice.org อย่างเต็มรูปแบบแล้วในวันนี้ พร้อมประเดิมด้วยการบริจาคโค้ดจากโปรแกรมของทางไอบีเอ็มเช่น Lotus Notes และโค้ดอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่งให้เป็นก้อนแรก พร้อมคำมั่นว่าจะมีการใช้ทรัพยากรของทางไอบีเอ็มอีกบางส่วนมาเพื่อช่วยพัฒนาต่อไป
งานนี้นอกจากซันที่ออกมาแสดงความยินดีที่ไอบีเอ็มเข้าร่วมอย่างเต็มตัวแล้ว ยังมีบรรดาผู้ผลิตดิสโทรต่างๆ ของลินุกซ์พากันออกมาแสดงความยินดีอย่างครบถ้วนนับแต่ Red Hat, Ubuntu และ Red Flag Linux
หวังว่าเราคงได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของ OpenOffice.org เร็วขึ้นเรื่อยๆ หลังจากนี้ไป
เมื่อประมาณสัปดาห์ก่อน นักวิจัยด้านความปลอดภัยชาวสวีเดน Dan Egerstad ได้เปิดเผยชื่อและรหัสผ่านของกว่า 100 บัญชีจดหมายอิเล็คทรอนิกส์ เขาได้เปิดเผยว่าได้ข้อมูลเหล่านี้มาจากการดักฟังทางโหนดปลายทาง (exit node) ของ Tor 5 เครื่องที่เขาได้กระจายติดตั้งไว้ในที่ต่างกันบนอินเทอร์เน็ต ระบบของ Tor จะใช้เครื่องสามเครื่องส่งข้อมูลต่อกันเป็นทอด ๆ เพื่อป้องกันการติดตามที่มา การส่ง-รับข้อมูลระหว่างโหนดต่าง ๆ จะถูกเข้ารหัสไว้ อย่างไรก็ตามที่โหนดสุดท้าย ข้อมูลจะต้องถูกถอดรหัสก่อนส่งไปยังเครื่องภายนอกซึ่งทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีดักฟังได้
ในวันนี้แอปเปิลได้ขาย iPhone เครื่องที่หนึ่งล้านไปแล้ว โดย Steve Jobs ซีอีโอของแอปเปิลก็ได้ออกมาบอกว่าเพียงแค่ 74 วันเท่านั้นก็สามารถขาย iPhone ได้หนึ่งล้านเครื่องแล้ว มันใช้เวลากว่า 2 ปีกว่าที่ไอพ็อดจะทำได้ขนาดนี้
นอกจากนี้แล้วเขายังได้กล่าวถึงความตั้งใจที่จะเห็นตัวเลขยอดขายพุ่งขึ้นอีกในช่วงวันหยุดยาววันขอบคุณพระเจ้าและช่วงคริสต์มาสปลายปีนี้
ก่อนหน้านี้แอปเปิลได้ปรับลดราคา iPhone รุ่น 8GB ลงมากว่า $200 (ประมาณ 7300 กว่าบาท) และได้เลิกขายรุ่น 4GB โดยลูกค้าผู้ที่ซื้อ iPhone ในราคาเดิมจะได้รับเงินชดเชยจำนวน $100 แก่ลูกค้าทุก ๆ คนเพื่อใช้จับจ่ายสินค้าจากแอปเปิลโดยมีข้อแม้ว่าลูกค้าคนเดียวกันนี้จะต้องไม่ได้รับการชดเชยไปก่อนหน้านี้แล้วจากแอปเปิล
โปรแกรม Google Earth เวอร์ชัน 4.2 มีความสามารถที่ซ่อนอยู่คือ Flight Simulator หรือการจำลองการบิน โดยผู้ใช้บนวินโดวส์ หรือ Linux สามารถทดลองด้วยการกด Ctrl + Alt + A พร้อมกัน ส่วนผู้ใช้บนแมค สามารถทดลองด้วยการกด Command/Open Apple Key + Option + A ครับ
สามารถเลือกเครื่องบินได้ 2 แบบ คือ F16 และ SR22 ส่วนสนามบิน เท่าที่ลองดู (บนเวอร์ชันแมค) สามารถเลือกได้ 27 สนาม แต่ยังไม่มีดอนเมือง กับ สุวรรณภูมิ ให้เห็นครับ
เมื่อสามปีก่อนหน้านี้องค์การอาหารและยาของสหรัฐเพิ่งออกใบรับรองให้กับชิป RFID สำหรับใช้ในมนุษย์ไป ในวันนี้แม้ยังไม่มีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางเท่าใดนัก แต่นักวิจัยก็เริ่มตั้งคำถามกับใบอนุญาตดังกล่าวแล้ว เมื่อมีการพบความเกี่ยวเนื่องระหว่างการฝังชิปกับการเกิดโรคมะเร็ง จากการทดลองในสัตว์
การทดลองให้ข้อสังเกตว่าเหตุที่ทำให้สัตว์ที่ติดตั้งชิป RFID มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งมากขึ้นอาจจะเนื่องจากการอักเสบของแผลที่ฝัง RFID นั่นเอง โดยในปัจจุบันมีคนประมาณ 2000 คนฝังชิปดังกล่าวไปแล้ว
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้บอกว่า ISP ควรจะมีสิทธิในการเรียกค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเพื่อที่จะจัดลำดับความสำคัญของข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต (Traffic Prioritization) ในขณะเดียวกันได้แสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับการที่จะให้ข้อมูลทุกชนิดบนอินเทอร์เน็ตนั้นมีความสามารถในการเข้าถึงและเชื่อมต่อที่เท่าเทียมกัน
ก่อนหน้านี้นั้น ISP หลาย ๆ รายในอเมริกาเหนือ รวมไปถึง AT&T, Roger และ Verizon ได้ออกมาบอกว่าบริษัทน่าจะมีสิทธิในการเก็บเงินเพิ่มเติมสำหรับลูกค้าที่ต้องการชนิดของข้อมูลที่แตกต่างกัน
กล้องดิจิตอลรุ่นใหม่ๆ เราอาจจะเห็นระบบตรวจจับใบหน้ากันเป็นเรื่องปรกติไปแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นถ้ากล้องดิจิตอลบอกได้ด้วยว่าหน้าที่อยู่ในกล้องนั้นยิ้มแย้มดีแค่ไหน เรื่องนี้กำลังจะไม่ไกลเกินความจริงเมื่อบริษัท Omron ได้เสนอซอฟต์แวร์ที่สามารถประมวลผลภาพและบอกได้ว่าหน้าใดในภาพบ้างกำลังยิ้ม และที่เท่กว่านั้นคือยังบอกได้ด้วยว่ายิ้มมากน้อยเพียงไร
โปรแกรมที่ว่านี้จะให้คะแนนระดับความยิ้มแย้มตั้งแต่ 0 ถึง 100 โดยสามารถบอกได้แม้แต่หน้าที่ไม่ได้มองกล้องโดยตรงก็ตาม ที่น่าสนใจคือความเร็วที่ทำได้ค่อนข้างดี โดยทาง Omron อ้างว่าโปรแกรมสามารถให้คำตอบได้ใน 0.044 วินาทีเมื่อใช้เครื่องเดสก์ทอปประมวลผลภาพ
หลังจากที่แอปเปิลได้ออก iTunes 7.4 ได้ไม่นานนักตัวอัพเดทใหม่ 7.4.1 ก็ออกตามมาติด ๆ
ล่าสุดพบว่าตัวอัพเดทตัวใหม่นั้นทำออกมาเพื่อปิดช่องโหว่ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถทำริงโทนฟรี ๆ ได้จากไฟล์ AAC ธรรมดาที่ผมได้เขียนมาในข่าวก่อนหน้านี้ได้อย่างง่าย ๆ โดยวิธีการ Rename ให้นามสกุลของไฟล์มาเป็น M4R ไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป
ถ้าใครตามข่าวในหมวดสิทธิบัตรมาบ้าง คงพอรู้ว่าระบบกฎหมายสิทธิบัตรในสหรัฐมันออกจะมั่วๆ แถมยังไม่ทันสมัยเพราะออกเมื่อปี 1952 โน่น พอเอาปัญหานี้มารวมกับการที่สหรัฐมีสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ (ซึ่งประเทศไทยและอีกหลายประเทศไม่มี แต่ในความเป็นจริงซอฟต์แวร์ที่เราใช้ก็มาจากสหรัฐซะมาก) จึงเกิดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไฮเทคอย่างเลี่ยงไม่ได้
ถึงแม้การโหวตรับ Office OpenXML เข้าเป็นมาตรฐาน ISO จะลงเอยด้วยความพ่ายแพ้ของไมโครซอฟท์ (ข่าวเก่า) แต่การโหวตครั้งนี้ก็ส่งผลสะเทือนวงการผู้ออกมาตรฐานอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งดูได้จากข่าวการล็อบบี้ของไมโครซอฟท์ต่อหน่วยงานผู้ออกมาตรฐานในประเทศต่างๆ ทั่วโลก (ข่าวเก่า)
จากเหตุการณ์นี้จึงมีคนเสนอว่ากระบวนการโหวตรับของ ISO ที่ใช้คะแนนจากหน่วยงานผู้ออกมาตรฐานของประเทศสมาชิกนั้นยังไม่มีมาตรฐานเพียงพอ จึงเสนอว่าถึงเวลาแล้วที่ ISO จะต้องปรับปรุงกระบวนการของตัวเองเสียใหม่ ดังนี้
หลังจากออก iPod Nano ตัวใหม่พร้อมหน้าตาเป็นที่ชวนถกเถียงว่าดีหรือไม่ดีกันแน่ ทางเวบ Arstechnica จึงได้ทำการรวบรวมผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่ายเดียวกัน (คือหน้าตาชวนถกเถียงกัน) ในรอบ 10 ปีของแอปเปิลมาให้ดูกันครับ
www.blackle.com ลองเข้าไปดูคับก็ไม่ต่างอะไรจาก google อะไรนะแต่ตัวเว็บบอกว่ามันช่วยประหยัดพลังงาน ช่วยเรื่องโลกร้อน เพราะว่าเขาใช้สีดำ และอีกอย่างใช้ฐานข้อมูลของกูเกิ้ล ไม่แน่อนาคตอาจจะมีแนวทางในการพัฒนาเว็บไซต์แบบใหม่ก็ได้
โปรแกรม Terminal เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้บนระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ (ถึงแม้ว่าคุณจะใช้ Mac OS X ก็ตาม!!) แต่ท่ามกลางโปรแกรม Terminal ที่มีมากมายในท้องตลาด การเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมก็ทำได้ยากพอสมควร นอกจากจะต้องมีคุณสมบัติตามที่เราต้องการแล้ว เรื่องของความเร็วยังเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เพราะวันนึงต้องพิมพ์คำสั่งกันตั้งเยอะ ถ้าบนจอแสดงผลไม่ทันใจก็คงแย่
จากเดิม KDE 4.0 มีกำหนดออกเดือนตุลาคม (ข่าวเก่า) แต่เพราะเวอร์ชันนี้มีการยกเครื่องขนานใหญ่ในระดับล่างๆ ทำให้การพัฒนาล่าช้าออกไปบ้าง โครงการ KDE จึงประกาศเลื่อนวันออก KDE 4.0 ออกไปเป็นเดือนธันวาคม
ส่วนเดือนตุลานี้ KDE4 จะออก KDE Development Platform ซึ่งเป็นชุดไลบรารีและส่วนประกอบพื้นฐานออกมาก่อน (เทียบได้กับ GNOME Development Platform) เพื่อให้บรรดา 3rd party ทั้งหลายมีเวลาปรับโปรแกรมของตัวเองให้เข้ากับ KDE4 ตัวจริงเดือนธันวาคม