เราลองมาดูกันว่าในโค้งสุดท้ายก่อนที่ IPv4 จะถูกจัดสรรไปจนหมดนั้น แต่ละประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้รับการจัดสรร IPv4 กันไปประเทศละเท่าไหร่
จากข้อมูลของเมื่อวานนี้ (1 ก.พ. 54) APNIC ซึ่งเป็นนายทะเบียนของภูมิภาคนี้ได้จัดสรรไอพีไปแล้วทั้งหมด 17,610 ช่วง คิดเป็น 769,631,744 ไอพี โดยขนาดที่จัดสรรในแต่ละช่วงมีตั้งแต่ /24 (256 ไอพี) ไปจนถึง /8 (16,777,216 ไอพี) แน่นอนว่าประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกอย่างจีนได้ครองตำแหน่งประเทศที่ได้รับการจัดสรร IPv4 ไปมากที่สุดถึงประมาณ 293 ล้านไอพีใน 1,875 ช่วง คิดเป็น 38% ของไอพีที่ได้รับการจัดสรรในภูมิภาคนี้เลยทีเดียว
กระแส location-based service (LBS) มาแรงไม่น้อยตั้งแต่ปีก่อน ผู้นำในตลาดนี้คือ Foursquare แต่ก็ต้องพบกับคู่แข่งมากมาย ไม่ว่าจะเป็นหน้าใหม่เหมือนกันอย่าง Gowalla หรือ Loopt รวมถึงบริการใกล้เคียงอื่นๆ ที่เปิดให้ "เช็คอิน" เพิ่มทีหลังอย่าง Yelp หรือ Facebook Places
ยักษ์ใหญ่อย่างกูเกิลอาจจะขยับตัวช้าไปบ้างในเรื่องนี้ แต่ล่าสุดกูเกิลเพิ่มฟีเจอร์ให้กับ Google Latitude ให้ "เช็คอิน" สถานที่ได้แล้ว (จากเดิมทำได้แค่บอกว่าอยู่ตรงไหน แต่เช็คอินไม่ได้) ฟีเจอร์นี้จะถูกรวมเข้ามาใน Google Maps 5.10 บน Android ก่อน ส่วนแพลตฟอร์มอื่นๆ คงตามมาในไม่ช้า
ข่าวใหญ่ประจำวันนี้คือ "Bing ลอกผลการค้นหาจากกูเกิล" (ดูภาพประกอบจาก Search Engine Land เพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้น กรณีนี้ชัดเจนจริงๆ)
Harry Shum ผู้บริหารของไมโครซอฟท์ที่ดูแล Bing ออกมาเขียนบล็อกตอบโต้ โดยบอกว่า Bing ใช้ปัจจัยกว่า 1,000 ชนิดในการเรียงผลการค้นหา และปัจจัยหนึ่งก็คือ "ข้อมูลการค้นหา" ของผู้ใช้ที่ยินดีส่งให้ไมโครซอฟท์ (opt-in) เพื่อปรับปรุงผลการค้นหาให้ดีขึ้น ซึ่งเขาบอกว่าการที่ Bing มีผลการค้นหาเหมือนกูเกิล เป็นเพราะเหตุนี้เอง
เงื่อนไขการรับประกัน iPod/iPhone อันที่โด่งดังที่สุดคงไม่มีอะไรเกิน "จุดแดง" หรือตัววัดระดับความชื้น (ชื่ออย่างเป็นทางการของมันคือ Liquid Contact Indicator) ที่ใช้ตรวจว่าเราทำเครื่องตกน้ำหรือไม่
แต่เดิมนั้นแอปเปิลเข้มงวดมาก ถ้าพบจุดแดงจะถือว่าหมดประกันทันที ซึ่งก็มีปัญหากับผู้ใช้หลายคนที่ไม่ได้ทำเครื่องตกน้ำจริง แต่ด้วยสภาพความชื้นสูงทำให้เกิดจุดแดงได้เช่นกัน (ข่าวเก่า ฮ่องกงอากาศชื้นเกินไป ไม่เหมาะกับ iPhone?)
ตอนนี้มีรายงานอย่างไม่เป็นทางการแล้วว่า แอปเปิลเพิ่มข้อยกเว้นไปในเงื่อนไขการรับประกันที่ส่งให้พนักงานทราบ ถ้ามีจุดแดงแต่เครื่องไม่พบอาการเป็นสนิม (corrosion) ก็อาจจะยังอยู่ในประกันได้
บริษัท Localytics ศึกษาพฤติกรรมการใช้งานแอพบนมือถือบน Android, iPhone, iPad, BlackBerry และ Windows Phone 7 โดยใช้สถิติจริงจากตัวแอพตลอดปี 2010 พบว่าแอพจำนวน 26% จากแอพทั้งหมดที่ผู้ใช้ดาวน์โหลดมาติดตั้งในเครื่อง ถูกเรียกใช้เพียงครั้งแรกครั้งเดียวเท่านั้น
Localytics บอกว่าตัวเลขการดาวน์โหลดแอพเยอะๆ อาจดูดี แต่ถ้าผู้ใช้ดาวน์โหลดมาลองแล้วไม่ค่อยเปิดใช้ ก็ถือว่าแอพนั้นไม่ประสบความสำเร็จมากนัก (พร้อมโฆษณาบริการเก็บสถิติภายในตัวแอพของบริษัทเอง)
ที่มา - Localytics
Patrick Lo ซีอีโอของบริษัท Netgear ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวออสเตรเลีย และวิจารณ์แอปเปิลกับไมโครซอฟท์ จนเกิดประเด็นถกเถียงตามมา ล่าสุดเขาออกแถลงการณ์ขอโทษสำหรับคำพูดของตัวเองแล้ว
Patrick Lo บอกว่าเขายังยืนยันแนวคิดเดิมว่าระบบเปิดดีกว่าระบบปิด เพียงแต่ขอโทษที่เลือกใช้คำไม่เหมาะสมนัก (หมายถึงคำว่า "Steve Jobs going away") เขาบอกว่าตอนพูดคำนี้ เขาไม่ได้หมายถึงสุขภาพของจ็อบส์แต่อย่างใด และขออวยพรให้จ็อบส์มีสุขภาพที่ดี
ที่มา - Macgasm
ค่าย Mozilla ออกรุ่นทดสอบที่สี่ของ Firefox 4 for Android/Maemo (อ่าน รีวิว Firefox for Mobile 4.0 Beta 3)
ของใหม่ในรุ่นนี้คือปรับปรุงความเร็ว ทั้งความเร็วในการเปิดโปรแกรม และความเร็วของจาวาสคริปต์ที่เพิ่มจาก Beta 3 ขึ้นมา 15% ที่เหลือคือปรับวิธีการแสดงผลข้อความให้เหมาะกับจอมือถือมากขึ้น, ปรับหน้าตั้งค่า Firefox Sync และรองรับขนาดหน้าจอที่หลากหลาย ทั้งจอใหญ่อย่าง Galaxy Tab หรือจอเล็กอย่าง Droid Pro
ใครที่มือถือใช้งานได้ สามารถดาวน์โหลดได้จาก Android Market (ผมลองแล้วแครชกระจายเลยแฮะ)
มีคนสูญหายและถูกจับกุมตัวไปเป็นจำนวนมากในการประท้วงที่อียิปต์ และหนึ่งในนั้นก็คือ Wael Ghonim หรือ @Ghonim ฝ่ายการตลาดของ Google สาขาตะวันออกกลางและอัฟริกาเหนือครับ
Ghonim เป็นชาวกรุงไคโร แต่ทำงานประจำอยู่ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และบังเอิญต้องไปประชุมที่กรุงไคโรช่วงก่อนการประท้วงพอดี เพื่อนของ Ghonim ติดต่อสำนักข่าว Al Jazeera ตั้งแต่เมื่อวันที่ 31 มกราคมเพื่อตามหา และวันนี้ (1 กุมภาพันธ์) Google ก็ออกประกาศตามหาเช่นกัน พร้อมให้หมายเลขโทรศัพท์แจ้งข่าว
ไมโครซอฟท์ได้ปล่อย GPS Emulator สำหรับ Windows Phone 7 ช่วยให้นักพัฒนาแอพฯ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ A-GPS สามารถดีบักแอพฯ ดังกล่าวบนอีมูเลเตอร์ที่อยู่บนคอมพิวเตอร์หรือบนสมาร์ทโฟนจริงได้โดยที่ไม่ต้องยุ่งยากกับการทดลองเคลื่อยย้ายอุปกรณ์เพื่อทดสอบการระบุตำแหน่งที่ตั้งแต่อย่างไร
นักพัฒนาสามารถกำหนดตำแหน่งที่ตั้งเริ่มต้นที่ใดก็ได้ รวมถึงเส้นทางที่จะมุ่งสู่จุดหมายปลายทางโดยผ่านจุดแวะผ่าน (intermediate waypoint) ต่างๆ บน GPS Emulator ได้ หลังจากกำหนดค่าต่างๆ แล้วอีมูเลเตอร์ก็จะจำลองการทำงานจากค่าที่กำหนดไว้
Amit Singhal หนึ่งในผู้ร่วมงานของกูเกิล (Google Fellow) ได้ออกมาแฉว่า ระบบการค้นหาของบิงนั้น ได้ทำการขโมยผลการค้นหาของกูเกิล
เขาได้ทดสอบโดยการสร้างหน้าเพจหลุมพลาง (Honeypot) เพื่อให้เกิดผลการค้นหาสำหรับข้อความที่ไม่มีความหมาย และไม่เคยมีอยู่ในการผลการค้นหาใดๆทั้งในหน้าของกูเกิลและบิง อย่าง mbrzxpgjys, hiybbprqag และ indoswiftjobinproduction หลังจากนั้นเขาได้ให้พนักงานกูเกิล 20 คน ใช้ Internet Explorer ที่เปิดการใช้งาน Suggested Sites และ Bing Toolbar ทำการระดมค้นหาคำดังกล่าวในหน้าของกูเกิล เป็นเวลา 2 อาทิตย์ ผลที่ได้คือ ประมาณ 7-9 ผลการค้นหาใน 100 ลำดับแรก ปรากฏผลการค้นหาของหน้าปลอมๆนี้ในหน้าผลการค้นหาของบิง
บริษัทวิจัยตลาด NPD ประกาศตัวเลขส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟนสหรัฐประจำไตรมาส 4 ปี 2010 อันดับหนึ่งเป็นของ Android ที่ 53% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 6 จุด, ส่วน iOS ลดลงจากไตรมาสก่อน 4 จุดลงมาเหลือ 19%, ส่วน RIM ลดลง 2 จุดมาเหลือที่ 19% เท่ากับ iOS
แต่ประเด็นที่น่าสนใจอยู่ที่ Windows Phone 7 ซึ่งเปิดขายในไตรมาสนี้เป็นไตรมาสแรก มีส่วนแบ่งตลาด 2% ถือว่ายังไม่ร้อนแรงเท่าไร และที่แย่ไปกว่านั้นคือถ้าเทียบกับ Windows Mobile 6.x ซึ่งเก่ากว่า ยังเป็นรองด้วยซ้ำ เพราะ Windows Mobile มีส่วนแบ่งยอดขายที่ 4% (ตกลงจากไตรมาสก่อน 3 จุด)
ไม่นานมานี้มีรายงานว่า Windows Phone 7 เจอปัญหา "data leak" หรือใช้ data transfer เยอะผิดปกติจนผู้ใช้หลายคนบ่น สืบไปสืบมาพบว่าปัญหาเกิดจากแอพภายนอกบางตัว ซึ่งวันนี้ไมโครซอฟท์ชี้ชัดแล้วว่าเกิดจากแอพ Yahoo! Mail รุ่นบน WP7
ไมโครซอฟท์ระบุว่าปัญหาเกิดจากการซิงค์ข้อมูลอีเมลของ Windows Phone Mail และ Yahoo! Mail ที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ใช้บางคนเจอปัญหามือถือใช้ข้อมูลเยอะผิดปกติ
ไมโครซอฟท์กับยาฮูกำลังร่วมมือกันแก้ปัญหานี้ และจะมีซอฟต์แวร์รุ่นแก้ไขตามมาในไม่ช้า ระหว่างนี้ถ้าใครเจอปัญหาก็มีวิธีแก้แบบชั่วคราวโดยตั้งค่า Yahoo! Mail ไม่ให้ดาวน์โหลดอีเมลอัตโนมัติ (อ่านรายละเอียดในลิงก์ที่มา)
"ความเข้มงวด" ของแอปเปิลกลับมาเป็นข่าวอีกครั้งหลังเงียบหายไปนาน หนังสือพิมพ์ The New York Times ลงข่าวว่าแอปเปิลปฏิเสธไม่ให้แอพ Sony Reader (ข่าวเก่า) เข้าไปขายใน App Store ด้วยเหตุว่า Sony Reader ขายหนังสือผ่านระบบร้านค้าอื่นที่ไม่ใช่ของแอปเปิล
ก่อนหน้านี้แอปเปิลปล่อยให้แอพ Kindle ที่มีลักษณะการขายหนังสือแบบเดียวกัน ให้ขึ้น App Store แบบไม่มีปัญหาอะไร แต่เมื่อแอปเปิลปรับเปลี่ยนนโยบายภายในใหม่ บังคับว่าการขายเนื้อหาภายในแอพต้องผ่านระบบของแอปเปิลเท่านั้น และห้ามผู้ใช้ดาวน์โหลดเนื้อหาที่ซื้อจากที่อื่นผ่านแอพบน iPhone ด้วย ทำให้แอพ Sony Reader ไม่ผ่านเกณฑ์ดังกล่าว
ไม่ใช่ทุกคนจะมีโอกาสบินไปยุโรปเพื่อชมงานศิลปะ แต่ในโลกยุคนี้อาจจะไม่ใช่เรื่องลำบากนักเมื่อกูเกิลร่วมกับพิพิธภัณฑ์ 17 แห่งเข้าไปเก็บบรรยากาศภายในด้วยเทคโนโลยีแบบเดียวกับ Google Street View ทำให้เราสามารถเดินชมบรรยากาศและงานศิลปะจากที่บ้านได้ นอกจากนี้งานชิ้นสำคัญบางส่วนยังถูกเก็บภาพระดับ 7 พันล้านพิกเซล ให้เราซูมดูได้แบบเดียวกับ Google Earth อีกด้วย
โครงการนี้เป็นหนึ่งในโครงการที่เกิดจาก 20% ของเวลาทำงานที่พนักงานกูเกิลสามารถนำไปทำเรื่องที่สนใจได้ตามต้องการ ส่วนวีดีโอแนะนำโครงการอยู่ท้ายข่าว
หลังจากที่ Facebook ส่งปุ่ม Connect with Facebook และปุ่ม Like ออกมายังโลกอินเทอร์เน็ตภายนอกและระบาดไปทั่ว ก็มีข่าวว่า Facebook จะส่ง "ระบบคอมเมนต์" มาให้เว็บไซต์และเว็บบล็อกอื่นๆ ใช้บริการเช่นกัน
ระบบคอมเมนต์ที่ว่านี้มีลักษณะเหมือนกับ Disqus หรือ Intense Debate เพียงแต่เป็นของ Facebook ทำเอง และมีข้อได้เปรียบกว่ามากตรงฐานผู้ใช้ Facebook จำนวนมหาศาลที่มีอยู่แล้ว
เมื่อต้นปีที่แล้ว Google Docs เปิดให้เราอัพโหลดไฟล์ชนิดอื่นๆ นอกจากไฟล์เอกสาร และภายหลังรองรับไฟล์วิดีโอ ทำให้การบริหารจัดการไฟล์บน Google Docs เริ่มซับซ้อนมากขึ้น
กูเกิลจึงปรับปรุงหน้ารายการไฟล์ (Documents List) ใหม่ เพื่อให้ผู้ใช้อย่างเราๆ สามารถจัดการไฟล์ได้สะดวกมากขึ้น
ฟีเจอร์ใหม่ของหน้า Documents List ได้แก่
ถัดจาก Optimus 2X และ Optimus Black ก็ถึงคราวของ Optimus 3D จาก LG
จุดขายของมันก็ตามชื่อครับ จอภาพ 3 มิติแบบไม่ต้องใส่แว่น และกล้องเลนส์คู่ที่ใช้ถ่ายภาพ 3 มิติได้ สเปกอื่นที่ LG ระบุคือพอร์ท HDMI และฟีเจอร์ DLNA
สเปกอย่างไม่เป็นทางการคือจอภาพขนาด 4.3 นิ้ว, ซีพียูดูอัลคอร์และแรมแบบมัลติแชนเนล (รวมแล้วอาจแรงกว่า Optimus 2X) และจากภาพที่หลุดออกมาเราเห็นกล้องหน้าที่มุมขวาบนของเครื่อง ดูภาพตัวเครื่องได้จากที่มาครับ
ที่มา - Phandroid (1), Phandroid (2)
ในการแถลงข่าวผลประกอบการไตรมาส 4 ปี 2010 ของซัมซุง บริษัทประกาศไว้ว่าขาย Galaxy Tab ได้ 2 ล้านเครื่องแล้ว
แต่บริษัทก็มายอมรับในภายหลังว่า ตัวเลข "2 ล้าน" คือยอดที่ซัมซุงส่งให้กับร้านค้าปลีกและผู้ให้บริการมือถือ ไม่ใช่ยอดที่ขายออกไปจริงๆ (จะคล้ายๆ กับกรณี WP7 ขายส่งได้ 1.5 ล้านเครื่องใน 6 สัปดาห์แรกหลังเปิดตัว) และเมื่อนักวิเคราะห์กับนักลงทุนถามจี้ว่ายอดขายจริงๆ เป็นเท่าไร Lee Young-hee ผู้บริหารหญิงของซัมซุงก็ตอบเพียงว่า "quite small" และ "ขายออกไม่เร็วอย่างที่คาด" โดยไม่ยอมบอกตัวเลขที่ชัดเจน
ทิศทางของซอฟต์แวร์องค์กรที่อยู่บนเว็บนั้นชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเว็บรายใหญ่อย่าง Google Apps, ราชาอย่างไมโครซอฟท์ที่ดัน Office 365 และรายล่าสุดก่อนหน้านี้คือ Cloud Office จากออราเคิล
IBM ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดซอฟต์แวร์องค์กรไม่น้อย โดยเฉพาะซอฟต์แวร์ตระกูล Lotus ก็เริ่มขยับขยายมาบุกตลาดนี้เช่นกัน ก่อนหน้านี้ IBM มีแบรนด์ LotusLive สำหรับซอฟต์แวร์บนกลุ่มเมฆอยู่แล้ว คราวนี้จึงนำ Lotus Symphony ชุดโปรแกรมสำนักงานของตัวเอง (พัฒนาจาก OpenOffice.org อีกที) ขึ้นมาอยู่บนกลุ่มเมฆเช่นกัน
จุดขาย (หรือจุดอ่อน?) ที่สำคัญของ PlayBook คือการเชื่อมต่อกับมือถือ BlackBerry โดยเฉพาะโปรแกรมจัดการข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ทั้งอีเมล สมุดที่อยู่ ปฏิทิน และ BBM จำเป็นต้องต่อกับมือถือ BlackBerry ก่อนจึงจะใช้งานได้
แนวคิดนี้ออกจะแปลกๆ อยู่บ้าง ทาง RIM เองจึงออกวิดีโอตัวใหม่สาธิตการต่อเชื่อมระหว่าง PlayBook กับ BlackBerry ให้เราดูกัน ในวิดีโอเป็นการใช้โปรแกรมอีเมลบน PlayBook ซึ่งจะซิงค์กับโปรแกรมอีเมลบน BlackBerry Torch ด้วย
โปรแกรมที่น่าสนใจอีกตัวบน PlayBook ที่เห็นตอนท้าย คือ SAP BusinessObjects Explorer ซึ่งสร้างด้วย Flash ครับ
ที่มา - Inside BlackBerry
เป็นเรื่องน่าชื่นชมจากสองบริษัทชื่อดังครับ เมื่อ Google นำโดยอดีตทีมบริษัท SayNow ที่เพิ่งซื้อกิจการมาเมื่อสัปดาห์ก่อน และวิศวกรจาก Twitter กลุ่มหนึ่ง ใช้เวลาช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาพัฒนาบริการส่งเสียงพูดผ่านโทรศัพท์ไปออกเป็นทวีต พร้อมแปะ hashtag #egypt อัตโนมัติเพื่อให้ชาวอียิปต์ได้สื่อสารกับโลกภายนอก ท่ามกลางความโกลาหลจากการประท้วงและการถูกตัดอินเทอร์เน็ต
โฆษณาแท็บเล็ตชิ้นล่าสุดของ Motorola แอบกระทบคู่แข่งคนเดิม (คนที่คุณก็รู้ว่าใคร)
ตั้งแต่เริ่มด้วยประโยค "2011 LOOKS A LOT LIKE 1984" (ใครนึกไม่ออก ดูนี่ นาทีที่ 0:55) พร้อมกับรูปลูกโลกและหูฟังหน้าตาคุ้นๆ จากนั้นก็เป็นการโฆษณาฟีเจอร์ของ XOOM แบบเกทับเห็นๆ ตั้งแต่ CPU แบบ 2 คอร์ เล่นวีดีโอ 1080p Flash Player และ กล้องหน้าหลัง จากนั้นก็ปรากฏภาพดาวสีแดงๆ และสัญลักษณ์ตัว M
ผมชอบโฆษณาของ Motorola ทุกตัวเลยนะ, วีดีโอหลังเบรกครับ
ที่มา - Engadget
แผนการกู้เศรษฐกิจอเมริกาของโอบามาคือ "การสร้างงาน" ซึ่งอุตสาหกรรมดาวรุ่งในอเมริกาที่ยังสร้างงานได้อีกมากคืออุตสาหกรรมพลังงานทดแทน และอุตสาหกรรมไฮเทค
ล่าสุดทำเนียบขาวได้ประกาศโครงการ Startup America Partnership เพื่อลงทุนให้เกิดบริษัทหน้าใหม่ (ที่เราเรียกกันว่า startup) มากขึ้น ประธานโครงการนี้คือ Steve Case อดีตผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ AOL ในยุครุ่งเรือง
งานนี้มีบริษัทไอทีใหญ่ๆ เข้าร่วมด้วยมากมาย เช่น อินเทลประกาศลงทุน 200 ล้านเหรียญ, ไอบีเอ็มลง 150 ล้านเหรียญ, เอชพีเปิดโครงการสอนการตั้งบริษัท และเฟซบุ๊กจะจัดงาน Startup Days ทั่วสหรัฐ นอกจากนี้ยังมีบริษัทอื่นๆ นอกวงการไอทีและมูลนิธิอีกหลายแห่งเข้าร่วมด้วย
อินเทลแถลงข่าวว่าชิปเซ็ต Cougar Point ซึ่งเป็นชิปเซ็ตสำหรับแพลตฟอร์ม Sandy Bridge มีปัญหาในส่วนควบคุม SATA ทำให้ความเร็วตกลงเมื่อใช้งานไประยะเวลาหนึ่ง และบริษัทได้ตัดสินใจเรียกชิปเซ็ตทั้งหมดกลับบริษัทแล้ว โดยชิปทดแทนจะเริ่มส่งมอบในปลายเดือนกุมภาพันธ์ และกำลังผลิตจะกลับมาเป็นปรกติในเดือนเมษายน