บริษัท Adobe ประกาศว่าจะโอเพ่นซอร์ส Flex ในช่วงซัมเมอร์นี้ โดยใช้สัญญาอนุญาตแบบ Mozilla Public License (MPL)
โดยส่วนที่จะทำการโอเพ่นซอร์สคือ Flex SDK, MXML Compiler และ ActionScript 3.0 ทั้งตัว Compiler, Debugger และรวมถึง Libraries หลัก ของ Flex ทั้งหมด แต่ไม่ได้รวม Adobe FlexBuilder ที่เป็น IDE สำหรับ Flex (ซึ่ง based on Eclipse)
โดยคาดว่า จะเริ่มทยอยเปิด ตั้งแต่เดินมิถุนายนเป็นต้นไป ซึ่งทางบริษัทแจ้งว่า การเปลี่ยนผ่านไปเป็นโอเพ่นซอร์สโปรเจคทั้งหมด จะเสร็จสิ้นในช่วงปลายปีนี้
สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่าซีอีโอของแอปเปิล นาย Steve Jobs ได้ออกมาพูดถึงความเป็นไปได้ของการเปิดบริการให้เช่าเพลงเป็นรายเดือนบน iTunes Store
"ผมจะไม่พูดว่าไม่มีวัน แต่ว่าตอนนี้ลูกค้าดูเหมือนจะไม่สนใจในบริการนี้" - Steve Jobs
นี่ก็เป็นอีกข่าวที่เกิดจากการที่แอปเปิลกำลังต่อรองกับค่ายเพลงต่าง ๆ ในขณะนี้ ทั้งเรื่องความเป็นไปได้เกี่ยวกับการให้บริการเช่าเพลงเป็นรายเดือนและการขายเพลงที่ไม่มีระบบป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ (DRM)
สิ่งที่แน่นอนตอนนี้คือแอปเปิลพยายามที่จะกระตุ้นให้ค่ายเพลงหลาย ๆ ค่ายหันมาขายเพลงที่ไม่มี DRM แต่กลับไม่ค่อยสนใจที่จะให้บริการเช่าเพลงเท่าไรนัก
Engadget mobile ไปได้ข้อมูลใหม่จากเอกสารภายในสำหรับพนักงานของ AT&T เกี่ยวกับมือถือ iPhone ที่พอจะสรุปคร่าว ๆ ได้ดังนี้
ช่วงนี้แม้กระแส SSD จะมาแรง แต่ด้วยราคาเกินหมื่นทุกตัวเลยทำให้ Geek ตกยากอย่างเราๆ อาจจะหามาใช้กันได้ลำบาก แต่ตอนนี้อาจจะมีทางเลือกที่ดีกว่า ด้วยอแดปเตอร์ CF-SATA ที่ทำให้เราสามารถใช้การ์ด CF ราคาถูกเพื่อเสียบเข้ากับช่อง SATA ได้ทันที
แนวคิดอย่างนี้เคยมีมาก่อนหน้านี้แล้วโดยมีคนใช้การ์ด SD มาต่อกัน 4 ชุดเพื่อทำเป็นฮาร์ดดิสก์ แต่ราคานั้นเหยียบหมื่นทำให้ความคุ้มค่าอาจจะไม่ดีเท่าใหร่ แต่อแดปเตอร์ CF-SATA นี้ราคานั้นเพียงประมาณพันบาทถ้วนๆ เท่านั้น
ใครทำงานอยู่บริษัทนำเข้าบอกเจ้านายนำเข้ามาด่วน ไม่เกินพันห้า (พร้อมประกันนะ) ผมจองตัวนึง
กูเกิลถือเป็นผู้ใช้ MySQL รายใหญ่อีกรายหนึ่ง แต่เนื่องจากความต้องการที่ค่อนข้างเหนือกว่าฐานข้อมูลขนาดเล็กทั่วไป ทางกูเกิลจึงต้องมีการปรับปรุงการทำงานเพื่อใช้งานภายใน และวันนี้ทางกูเกิลก็ออกมาประกาศเปิดเผยแพตซ์ชุดหนึ่งที่มีการใช้งานอยู่ในรูปแบบสัญญาอนุญาตแบบ GPL
ฟีเจอร์หลักที่ทางกูเกิลเพิ่มเข้ามาเกือบทั้งหมดเป็นฟีเจอร์ในเรื่องของ High Availability ซึ่งบ้านเราอาจจะมีคนใช้กันน้อยซักหน่อย (ปรกติก็ซื้อ 10g ใช้?) แพตซ์ทั้งหมดเป็นแพตซ์สำหรับ MySQL 4 โดยทางกูเกิลระบุว่าแพตซ์สำหรับ MySQL 5 กำลังจะตามมา
กูเกิลระบุชัดเจนว่าสนใจที่จะมอบแพตซ์เหล่านี้ให้ทาง MySQL นำไปดำเนินการต่อไป โดยการเปิดเผยแพตซ์ในตอนนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ชุมชนของนักพัฒนา MySQL ได้มีโอกาสพิจารณาแพตซ์เหล่านี้ได้
ข้อจำกัดของวิกิพีเดียอย่างหนึ่งในตอนนี้คือผู้ที่จะเข้าถึงมันได้ต้องสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้เท่านั้น โดรงการเพื่อแก้ปัญหานี้อย่าง WikipediaOnDVD ร่วมมือกับทางวิกิพีเดียเพื่อผลิตซีดีจากบทความที่ได้รับการคัดเลือกจากชุมชนให้มีการผลิตออกเป็นซีดีเพื่อจำหน่ายออกไป โดยผู้ใช้ไม่ต้องพึ่งพาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
โมเดล Fedora/RHEL ของเรดแฮทประสบความสำเร็จมาเป็นเวลานาน ด้วยการแยกระบบ Version Control สองชุดออกจากกัน โดยส่วนของ Fedora นั้นชุมชนจะเข้าถึงได้เต็มที่ขณะที่ส่วนของ RHEL นั้นจะแจกซอร์สเป็นรุ่นๆ ไป ข้อแตกต่างอีกอย่างคือ Fedora มีการเพิ่มความสามารถอย่างต่อเนื่อง ทางฝั่ง RHEL แต่ละรุ่นจะไม่มีการปรับปรุงใดๆ ยกเว้นการแก้บั๊กเท่านั้น
หลังจากเข้าซื้อ jBoss มาแล้วทางเรคแฮทก็ประกาศว่าถึงเวลาที่จะปรับกระบวนการของ jBoss ให้เป็นแบบเดียวกับ Fedora โดยการแยกรุ่นที่ขายออกจากรุ่นชุมชน แต่นอกจากการแยกระบบ Version Control แล้ว เร็วๆ นี้เราอาจจะได้เห็น jBoss ในชื่อใหม่แบบเดียวกับ Fedora ก็ได้
ตอนสัมภาษณ์งานเคยมีคนถามผมเรื่อง jBoss ด้วยนะ ใบ้สนิท...
ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา กระแส SSD (Solid State Disk) เข้ามาสู่ตลาดโน้ตบุ๊กอย่างชัดเจนด้วยการเปิดสายการผลิตของหลายบริษัทตั้งแต่ราคาถูกไปจนราคาเกินเอื้อม แต่ที่ผ่านมาผู้ผลิตโน้ตบุ๊กที่เลือกใช้งาน SSD ในเครื่องของตนก็ยังจำกัดอ อยู่ในผู้ผลิตรายย่อยที่มุ่งเป้าไปที่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มเท่านั้น แต่เมื่อเดลล์เข้ามาในตลาด อาจจะเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าในอนาคตตลาด SSD จะเข้ามามีบทบาทในตลาดโน้ตบุ๊กค่อนข้างแน่
ผมเพิ่งได้รับอีเมลล์จากเว็บมาสเตอร์ X-Ray Mobile ซึ่งเป็นเว็บที่โด่งดังในด้านการแฉวิธีการโกงและหลอกลวงของผู้ขายโทรศัพท์มือถือ และพวกแอบอ้างต่าง ๆ มาคราวนี้ทางเว็บเขายืนยันว่าเขาได้รับการคอนเฟิร์มโดยตรงจากแอปเปิลประเทศไทยว่า iPhone รุ่นที่จะวางขายในอเมริกานั้นจะไม่สามารถใช้ได้ในประเทศอื่น
มีสมาชิกเวบบอร์ดมือถือชื่อดัง ได้แจ้งว่า พบการจำหน่าย iPhone ปลอม ในเวบไซต์ของไทยแห่งหนึ่ง จึงนำมาแจ้งเตือนกันครับ
อย่างที่เคยเตือนกันไปหลายครั้ง ตั้งแต่ iPhone ออกมาใหม่ๆ กรณีมีคนฉวยโอกาสจากการออกมือถือ iPhone จาก Apple ด้วยการอ้างว่าหิ้วมาจากอเมริกา ขอยืนยันว่า ไม่สามารถนำมาใช้ในเมืองไทยได้นะครับ และอย่าหลงเชื่อเป็นอันขาด
ubuntuguide.org เป็นอีกเว็บนึงที่ช่วยเหลือผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี และเนื้อหาก็ค่อนข้างที่จะครอบคลุมดีซะด้วย แล้วตอนนี้เขาก็เริ่มจะทำส่วนของภาษาต่างๆกันแล้ว เพราะงั้นคนไทยเราก็ไม่ควรพลาดครับ ไปร่วมมือกันดีกว่า ตอนนี้สำเร็จไปแล้วบางส่วนอยากให้ช่วยกันครับ จะได้มีคู่มืออูบุนตูเป็นภาษาไทยที่ดีๆเพิ่มขึ้นอีกแหล่ง
หน้าที่ต้องแปล
เนื่องจากวันนี้ผมได้รับมอบหมายให้ไปงานเปิดตัวโครงการ Thailand ICT Awards 2007 ที่กระทรวงไอซีทีมา ก็เลยขอมาเผยแพร่โครงการซะหน่อย เผื่อจะได้เห็นความดีของกระทรวงบ้าง :D
โครงการ Thailand ICT Awards (TICTA) ในปีนี้ จัดเป็นปีที่ 4 แล้ว โดยเป็นโครงการประกวดผลงานด้านซอฟต์แวร์แห่งชาติ โดยซิป้า (สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ) ภายใต้กระทรวงไอซีทีและสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย เพื่อกระตุ้นส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการในไทย รวมทั้งสร้างโอกาสให้ซอฟต์แวร์ไทยได้รู้จักในนานาชาติ เนื่องจากผู้ชนะ จะได้ไปประกวดต่อในระดับภูมิภาค (APICTA -- Asia Pacific ICT Awards) และในปีที่ผ่านๆ ประเทศไทยก็ได้รางวัลจาก APICTA มาหลายรายการด้วย
Times Online รายงานว่าอเมซอนกำลังเตรียมตัวเปิดร้านขายเพลงออนไลน์ใหม่ ต้องการส่วนแบ่งตลาดเพิ่มจากแอปเปิล
ก่อนหน้านี้ อเมซอนพยายามติดต่อค่ายเพลงต่าง ๆ เกี่ยวกับการขายเพลงแบบไม่มีระบบป้องกันการละเมิดลิขสิทธิหรือ DRM แต่แหล่งข่าวไม่ได้คาดหวังอะไรมากกว่าไปกว่าความร่วมมือจาก EMI ที่เพิ่งตัดสินใจขายเพลงแบบไม่มี DRM ใน iTunes Store และค่ายเพลงอินดี้ต่าง ๆ ในขณะที่ค่ายเพลงดังอื่น ๆ ยัง "ไม่พร้อม" หรือ "ทำใจไม่ได้"
DirectX 10 ระบบกราฟฟิคเพื่อการเล่นเกมส์ของไมโครซอฟต์นั้น อาจจะไม่ใช่สำหรับวินโดวส์วิสต้า และ Xbox 360 อย่างเดียวอีกต่อไป เพราะตอนนี้มีโปรแกรมเมอร์/แฮกเกอร์ชื่อ Cody Brocious ได้เริ่มทำการพอร์ตโค๊ด DirectX 10 เพื่อให้ทำงานได้บนลินุกซ์ และแม็ค เพื่อให้ผู้ใช้ทั้งสองระบบปฏิบัติการนี้สามารถใช้งาน DirectX 10 ได้ด้วย
นาย Cody Brocious คนนี้ได้ร่วมงานกับ Jon Lech Johansen (DVD-Jon) แฮกเกอร์ชาวนอร์วีเจี้ยนชื่อดัง เจ้าของสโลแกน "So sue me" ในโปรเจ็ค PyMusique ที่ได้ทำการแงะระบบ copyright protection ของ iTunes
กระทรวงไอซีทีของเรากำลังเร่งสร้างเว็บชุมชนแห่งใหม่สำหรับพวกเราทุกคนในชื่อ "สภาซุบซิบ" ตอนนี้ยังไม่อยู่ระหว่างดำเนินการ เท่าที่อ่านทำความเข้าใจ รู้สึกว่าจะมีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ
รูปแบบของเว็บนี้จะประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ เนื้อหาบทความ การแสดงความคิดเห็น และการนำเสนอข้อความเชิงความรู้ด้านการเมือง ทั้งหมดนี้อยู่บนพื้นฐานของความเป็นกลาง และสมานฉันท์
ประธานาธิบดีหู จิ่นเทา ออกมาแถลงนโยบายใหม่ของคณะกรรมการโปลิตบูโร โดยจะขจัดเรื่องร้ายๆ ออกไปจากอินเทอร์เน็ต และส่งเสริมเยาวชนรุ่นใหม่ให้รู้จักกับลัทธิมาร์กซิสต์ผ่านอินเทอร์เน็ตมากขึ้น
คำแถลงแบบเป็นทางการในโทรทัศน์บอกแบบอ้อมๆ ว่า
"Internet cultural units must conscientiously take on the responsibility of encouraging development of a system of core socialist values."
รอยเตอร์ให้ความเห็นว่า นโยบายนี้บอกชัดเจนว่าจีนต้องการควบคุมอินเทอร์เน็ตมากยิ่งขึ้น โดยจะจำกัดทั้งเรื่องภาพโป๊ และ "ข่าวลือ" ทางการเมืองต่างๆ
ปัจจุบันจีนมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 137 ล้านคน โดยเพิ่มขึ้น 26 ล้านคนในปี 2006
RIM บริษัทแม่เจ้าของ BlackBerry ประกาศพัฒนาชุดซอฟต์แวร์สำหรับ Windows Mobile 6 เพื่อใช้บริการต่างๆ ที่เดิมมีเฉพาะบน BlackBerry (BlackBerry มีระบบเซิร์ฟเวอร์ของตัวเอง ที่ใช้ BlackBerry Enterprise Server ซึ่งการใช้อีเมล ปฏิทิน ฯลฯ ต้องทำผ่านเซิร์ฟเวอร์นี้ทั้งหมด)
ตัวแทนจาก BlackBerry ประกาศว่านี่เป็นการขยายโอกาส โดยสร้างแพลทฟอร์มเปิดที่ไม่จำกัดเฉพาะฮาร์ดแวร์ใดฮาร์ดแวร์หนึ่ง
นี่อาจเป็นสัญญาณว่า BlackBerry เริ่มเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ จากขายเครื่องเอง+บริการ มาเน้นการขายบริการ (โดยไม่สนว่าคุณใช้เครื่องแบบไหน BlackBerry หรือ Windows Mobile เอามันทั้งคู่) แต่ยังไม่มีรายละเอียดว่าเครื่องรุ่นใหม่ของ BlackBerry จะใช้ Windows Mobile หรือไม่
หลังจากที่เสนอซื้อ DoubleClick แพ้แล้วออกมาโวยวาย (ข่าวเก่า) เราอาจคิดว่าไมโครซอฟท์ขี้แพ้ชวนตี แต่จริงๆ มันอาจมีนอกมีในมากกว่านั้น
มีการอ้างแหล่งข่าวภายในที่ไม่เปิดเผยชื่อว่า ข้อเสนอราคา 3.1 พันล้านเหรียญของกูเกิลนั้น ไมโครซอฟท์ได้ให้ไม่น้อยไปกว่ากัน และยินดีจะให้มากกว่านั้นอีก เพียงแต่ผู้ถือหุ้นส่วนมากของ DoubleClick ตัดสินใจว่าไปอยู่กับกูเกิลน่าจะดีกว่า
ดีลนี้อาจมีข้อเสนอในทางลับที่ไม่เปิดเผย หรือไม่ก็ DoubleClick พิจารณากระแสตลาดแล้วเห็นว่าในระยะสั้นกูเกิลอนาคตสดใสกว่า ปัจจุบันไมโครซอฟท์มีมูลค่าตลาดประมาณ 248 พันล้านเหรียญ กูเกิลมี 150 พันล้านเหรียญ
ยอดขายเกมในสหรัฐอเมริกาประจำไตรมาสแรกปี 2007 นินเทนโดเป็นแชมป์แบบหายห่วง ขาย DS ได้ 1.2 ล้านเครื่อง และ Wii 1 ล้านเครื่อง
อันดับสามน่าสนใจมากเพราะเป็น PS2 8.7 แสนเครื่อง (อาจเป็นเพราะราคาที่ถูกลงมาก และเกมดีๆ จำนวนไม่น้อย) ตามมาด้วย Xbox 360 ที่ 7.2 แสนเครื่อง ส่วน PS3 ขายได้ประมาณ 5 แสนเครื่อง ซึ่งน้อยกว่า PSP เสียอีก
อย่างไรก็ตามถ้าดูยอดขายซอฟต์แวร์ นินเทนโดทำได้ไม่ค่อยดีนักถ้าเทียบกับจำนวนคอนโซลที่ขายออกไป ตรงนี้ Xbox 360 ทำได้ดีกว่า แต่เกมอันดับหนึ่งก็เป็น God of War 2 ของ PS2
อันดับเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าถ้าเกมดี เครื่องก็ขายดีตามไปด้วย และ PS3 ยังมีอนาคตที่น่าเป็นห่วงมากมาย ยิ่งเมื่อเทียบกับ PS2 ด้วยกันเอง
Dell เป็นเหมือนกับผู้ผลิตพีซีทั่วๆ ไปที่ตอน Vista ออกสิ้นเดือนมกราคม ก็เปลี่ยนมาลง Vista ให้กับเครื่องแทบทุกรุ่น แต่สองสามเดือนผ่านไป ลูกค้ากลับเรียกร้องผ่านเว็บไซต์ IdeaStorm ให้นำ XP กลับมาอีกครั้งเนื่องจากปัญหาด้านไดรเวอร์และเรื่องจุกจิกอื่นๆ ใน Vista ซึ่ง Dell ก็ตอบสนองด้วยดีโดยเปิดโอกาสให้เลือกระบบปฏิบัติการในโน้ตบุ๊คตระกูล Inspiron 4 รุ่น และพีซี Dimension 2 รุ่น
โฆษกของไมโครซอฟท์ให้ความเห็นว่า นี่เป็นเรื่องปกติที่ผู้ขายฮาร์ดแวร์จะสนับสนุนเทคโนโลยีเก่าต่อไปอีกระยะหนึ่ง แต่เรายังเชื่อว่าลูกค้าส่วนมากจะอยากได้ของใหม่ล่าสุดแบบ Vista อยู่ดี
XP แบบ OEM จะขายถึงเดือนมกราคม 2008 เท่านั้น
เว็บไซต์ Tech ARP ทำการวัดประสิทธิภาพของโปรแกรมบีบอัดข้อมูล 11 ตัว โดยใช้ฟอร์แมตที่โปรแกรมนั้นๆ เน้นเป็นหลัก แบ่งการวัดออกเป็น 3 ส่วน คือ การบีบอัดแบบไม่ตั้งค่าพิเศษ, เน้นขนาด และเน้นความเร็ว (ขณะที่เขียนนี้ ส่วนของการเน้นความเร็วยังไม่ตีพิมพ์ผลออกมา)
ผลการทดสอบ 2 ส่วนแรกออกมาคล้ายๆ กัน คือผลัดกันแพ้ชนะ ขึ้นกับว่าเราต้องการเน้นไปด้านไหน ถ้าต้องการบีบอัดได้เยอะแต่ยอมช้าหน่อยก็เลือก WinRK, SBC Archiver ถ้าเน้นเร็ว (แบบไม่ปรับแต่ง) เลือก ARJ32 ส่วนพวก gzip, bzip2, Stuffit หรือแม้แต่ WinZIP, WinRAR อยู่ในระดับกลางๆ ผลการทดสอบค่อนข้างละเอียดตามไปอ่านกันเองน่าจะดีกว่า
ที่มา - Tech ARP
สงครามซีพียูรอบใหม่ใกล้เริ่ม เมื่อ AMD ออกมาบลัฟอินเทลว่าซีพียู Quad-core รหัส Barcelona ของตัวเองนั้น มีประสิทธิภาพเหนือกว่า Xeon 5300-series (รหัส Clovertown ตัวเดียวกับที่ใช้ใน Mac Pro Quad) ที่สัญญาณนาฬิกาเท่ากัน
เอเอ็มดียังระบุอีกว่าถ้าเอาเฉพาะ floating point จะเร็วกว่าถึง 50% แต่ถ้าเป็น integer ก็ 20% โดยเทียบกับ "รุ่นสูงสุด" ของคู่แข่ง ตอนนี้คงทำอะไรไม่ได้ ต้องรอจนกว่า Barcelona จะออกในช่วงไตรมาสที่สามของปีนี้
ข้อแตกต่างของ Barcelona กับ Clovertown คือ Barcelona มี 4 คอร์บน die แผ่นเดียว ส่วน Clovertown เป็น 2 คอร์มาประกบกัน (อ่านเพิ่มเติมเรื่องสถาปัตยกรรม K10)
Nero Linux 3 ออกรุ่นเบต้า โดยมีฟีเจอร์เด็ดที่เหนือกว่า K3b คือสามารถเบิร์น HD DVD และ Blu-ray ได้ (เราจะได้ใช้กันไหมละเนี่ย) อย่างอื่นๆ คือปรับมาใช้ GTK+ 2 และทาง Nero บอกว่าหน้าตาคล้ายคลึงกับ Nero 7 บนวินโดวส์มากยิ่งขึ้น
ตามปกติ Nero Linux สามารถโหลดมาใช้ได้ฟรีแต่จำกัดระยะเวลา อยากได้ต้องเสียเงินซื้อ serial number ไม่แน่ใจว่าเวอร์ชันเบต้าจะเป็นอย่างไร ใครลองแล้วก็รายงานด้วยครับ มีให้โหลดทั้งแบบ .deb และ .rpm
ที่มา - NeroPortal
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเซิร์ฟเวอร์ของ Research In Motion (RIM) ผู้ให้บริการ Blackberry เกิดการดาวน์ลงเป็นเวลา 11 ชั่วโมง ทำให้ผู้ใช้จำนวนนับล้านไม่สามารถรับและส่งอีเมล ตลอดจนเข้าเว็บได้เหมือนปรกติ
ทาง RIM ระบุว่าปัญหานี้เกิดจากการอัพเดตซอฟต์แวร์โดยไม่ได้รับการทดสอบอย่างเพียงพอ ทำให้เมื่ออัพเดตแล้วเซิร์ฟเวอร์เกิดปัญหาขึ้น ทางวิศวกรจึงพยายามย้ายไปใช้ชุดสำรอง แต่ก็ล้มเหลวอีกครั้งทำให้ระบบล่มลงอย่างสมบูรณ์
เรื่องเจ๊งเพราะอัพเดตนี่ถ้าใครจำได้ปีก่อนก็จะมีข่าวที่ Ubuntu 6.06 เจ๊งเพราะสาเหตุแบบเดียวกัน
ที่มา - BetaNews
บทความนี้ผมเขียนลงนิตยสาร DNS Thailand (ไม่รู้ว่าเล่มของเดือนไหน รู้แต่ บก. เอาขึ้นเว็บเรียบร้อยแล้ว) เลยเอามาลงเป็นบางส่วนพอ เนื้อหาเกี่ยวกับ DRM โดยทั่วๆ ไปไม่ลงลึกมาก อ่านเต็มๆ ได้ตามลิงก์ด้านล่าง
ผมยังพอจำสมัยที่เราไปเช่าวิดีโอตามร้านแล้วถามพนักงานว่า "ม้วนมาสเตอร์หรือเปล่า" ได้ สื่ออนาล็อกแบบดั้งเดิมไม่ว่าจะเป็นเทปคาสเซ็ตหรือวิดีโอเทปมีจุดอ่อนในเรื่ องการทำซ้ำที่คุณภาพจะลดลงไปเรื่อยๆ ตามจำนวนก็อปปี้ ซึ่งตรงนี้เป็นอีกเหตุผลหลักที่ทำให้สื่อดิจิทัลเข้ามากลืนตลาดไปจนหมด เนื่องจากข้อดีในการทำซ้ำได้อย่างไม่จำกัด คุณภาพคงเดิม และราคาที่ถูกเหลือหลาย
ขอประชาสัมพันธ์งาน YouFest รอบใหม่หลังจากที่เลื่อนมาครั้งก่อน งาน YouMove ขอชวนคนที่สนใจปัญหาการเซ็นเซอร์ (ไม่ว่าจะเห็นด้วย, คัดค้านเยอะหน่อย, คัดค้านครึ่งเดียว, ยังงงๆ ตัวเองอยู่) มาสนทนาพูดคุยว่าเราจะแก้ปัญหานี้อย่างไร
วันเวลาสถานที่: อาทิตย์ 29 เมษายน 2550 ที่เก่าเวลาเดิม (13.00) รายละเอียดกว่านี้ดูที่นี่
รายชื่อผู้ร่วมเสวนาที่ได้รับคำยืนยัน