Intrepid Ibex ออกยังไม่ทันไร (ผมยังไม่มีเวลาเขียนรีวิวเลย) Jaunty Jackalope หรือถ้าเรียกตามเลขเวอร์ชันคือ 9.04 ก็ออกรุ่นทดสอบแรกออกมาติดๆ
ฟีเจอร์ที่คาดว่าจะทำใน 9.04 ตัวเต็ม
โดยปกติแล้ว Ubuntu ตัวอัลฟ่าแรกๆ ยังเน้นไปในเรื่องการคัดแพกเกจจาก Debian มาใช้เป็นหลัก และจะค่อยๆ ปรับแต่งอุดขัดต่อไปจนออกมาเป็นรุ่นจริง
ตามกำหนดการบอกว่า Jaunty ออกตัวจริงวันท่ี 23 เมษายน 2009 ครับ ถ้าใครอยากเล่นตัวอัลฟ่าต้องโหลด ISO แบบดีวีดีไปลองกันเอง เพราะแบบซีดียังไม่สามารถตัดลงแผ่นเดียวได้
ข่าวลือจากแหล่งข่าวภายในบริษัทบอกว่าไมโครซอฟท์กำลังจะปรับแบรนด์ Live Search ใหม่ในช่วงต้นปีหน้า โดยใช้ชื่อใหม่ในการทำตลาดแทนแบรนด์ Live อันเดิม
ชื่อใหม่อาจเป็น Kumo ซึ่งแปลว่า "เมฆ" หรือ "แมงมุม" ในภาษาญี่ปุ่น
ไม่ว่ามันจะออกมาเป็นอะไร ผมคิดว่ายังไงชื่อสั้นๆ ที่เป็นเอกลักษณ์มันดีกว่า Windows Live XXX นะ อย่างน้อยก็เรียกง่ายดี
ที่มา - TechCrucnh
ย้ำอีกรอบก่อนว่าเป็นข่าวลือครับ ต้นตอมาจากเว็บไซต์ BoomTown บอกว่า Facebook ได้เปิดเจรจาซื้อกิจการ Twitter มาสามสัปดาห์แล้ว
ข่าววงในระบุว่าข้อเสนอของ Facebook เป็นหุ้นมูลค่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ข้อเสนอนี้ถูก Twitter ปฏิเสธด้วยเหตุผลทางธุรกิจหลายๆ ประการรวมกัน ทั้งเรื่องมูลค่าของ Twitter, สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐ และอิทธิพลในการตัดสินใจของนักลงทุนเดิมของ Twitter อีกด้วย
ที่มา - TechCrunch
ผลการจัดอันดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงที่สุดในโลกครั้งที่ 32 จาก TOP500 ได้ประกาศไปแล้วว่า Roadrunner จากไอบีเอ็มยังคงครองแชมป์โลกไปอีกสมัย แต่ผลประกาศครั้งนี้ เราได้เห็นคู่ปรับคนสำคัญของ Roadrunner ที่น่าจับตามองนั่นคือ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จากบริษัท Cray Inc. รุ่น Cray XT หรือเป็นที่รู้จักกันในนามว่า Jaguar
ผมรู้เรื่องนี้มาจากคนรู้จักท่านหนึ่งที่เกี่ยวข้องในแวดวง พยายามหารายละเอียดในเว็บของกระทรวงไอซีทีแล้วไม่พบอะไร ขอคัดเนื้อหาในร่าง พ.ร.บ. ส่วนเป้าหมายมาแทนละกันนะครับ ถ้าใครมีรายละเอียดเพิ่มเติม เขียนไว้ในคอมเมนต์แล้วผมจะมาอัพเดตตัวข่าวให้ครับ
ร่างพระราชบัญญัติสภาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. ...
หลังจาก Richard Garriott ผู้ให้กำเนิดเกมซีรีส์ Ultima และเกมล่าสุดคือ Tabula Rasa ประกาศลาออกจาก NCsoft เกมซึ่งมีชื่อของเขานำหน้าอย่าง Richard Garriott's Tabula Rasa ก็ดำเนินรอยตามผู้ให้กำเนิดไปด้วยเช่นกัน
เว็บไซต์ของ Tabula Rasa ระบุว่าจะยุติการให้บริการลงในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) โดยจะเปิดให้เล่นฟรีในช่วงสุดท้ายของเกมตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) เป็นต้นไป
Tabula Rasa เป็นเกม MMO แนวไซไฟอวกาศที่ NCsoft คาดหวังไว้มาก แต่ผลตอบรับและรายได้ไม่ดีเท่าที่ควร จนเมื่อ General British (Richard Garriott) ประกาศลาออก อนาคตของเกมก็สั่นคลอนและปิดตัวลงตามความคาดหมาย รวมมีอายุการให้บริการเพียง 15 เดือน
คดี SCO ที่อ้างความเป็นเจ้าของลินุกซ์นั้นเป็นคดีประวัติศาสตร์ที่ไล่ล่ากันมานานหลายปี โดยคู่คดีสำคัญรายหนึ่งคือ Novell (อีกรายคือ IBM) ชนะคดีที่ SCO ไปอ้างสิทธิ์เหนือ Unix ไปตั้งแต่ปี 2007
แต่คดียังไม่จบ เพราะทาง Novell ยังคงไล่บี้เอาคืนจาก SCO ต่อเพื่อเอาค่าเสียหาย จนวันนี้ศาลชั้นต้นได้ประกาศคำพิพากษาให้ SCO ต้องจ่ายเงินให้กับ Novell เป็นเงิน 3,506,526 ดอลลาร์สหรัฐฯ รวมกับดอกเบี้ยอีกกว่าหกแสนดอลลาร์
ชัยชนะครั้งนี้คงเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีมากกว่าเรื่องเงิน เพราะ SCO นั้นยื่นขอความคุ้มครองต่อศาลล้มละลายไปแล้วตั้งแต่ปีที่แล้ว
Microsoft Live Labs ปล่อยของเล่นมาให้เล่นกันอีกแล้วครับ คราวนี้เป็น Deep Zoom ที่พัฒนามาจากเทคโนโลยี Seadragon ที่ Microsoft ซื้อมาและพ่วงมากับ Silverlight ได้สักพักแล้วครับ แต่ว่าคราวนี้มาเป็น Seadragon Ajax คือเป็น Deep Zoom แบบไม่ต้องมี Silverlight ครับ คือใช้ Javascript เท่านั้น
ผมว่าไม่ต้องอารัมภบทมากว่ามันดียังไง ลองเข้าไปเล่น Sample ดูได้ที่หน้าลิงค์เลยครับลองซูมเข้าไปดูตรงแถวๆ ที่เป็นข้อความดูครับ
http://livelabs.com/seadragon-ajax/
แบบนี้น่าจะเริ่มเห็น Website เอาไปใช้กันบ้างแล้วล่ะครับ เพราะว่าไม่ได้ผูกกับ Silverlight อย่างเดียวแล้ว
ซีพียูที่ร้อนแรงที่สุดในปีนี้คงต้องยกให้ Intel Atom ที่เปิดตลาด netbook อย่างรุนแรง แต่ถ้าคนอยู่ในวงการวิจัยหรือกระทั่งคนที่ต้องดูแลเซิร์ฟเวอร์จำนวนมากๆ แล้วคงแอบหวังที่จะเอา Atom ไปใช้ในเซิร์ฟเวอร์กันอยู่ เพราะการปล่อยความร้อนที่ตำเอาเสียเหลือเกิน และเจ้าแรกที่เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์รุ่นต่อไปด้วยแนวคิดนี้จริงๆ ก็คือ SGI ที่เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ขนาด 3U ที่อัดซีพียู Atom ไว้ถึง 180 ตัว
ชื่อรหัสของโครงการนี้คือ Project Molecule (เอาอะตอมมาเรียงกันต้องเป็นโมเลกุลสิ) โดยทำเมนบอร์ดแบบพิเศษที่มีขนาดเล็กมาก แล้วใส่กล่องเป็นบล็อกเรียงกันไป
มาเลเซีย, นิวซีแลนด์, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ อยู่ในกลุ่ม Top 5 ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่ประชากรกว่า 55% – 80% สามารถเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตได้ในปี 2550
ในขณะเดียวกัน พม่า, ติมอร์-เลสเต้, ทาจิกิสถาน, บังคลาเทศ และกัมพูชา ติดกลุ่ม 5 อันดับรั้งท้าย (Bottom 5) ของภูมิภาค ที่มีประชากรไม่ถึง 1% เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้ค่าเฉลี่ยของภูมิภาคอยู่ที่ 20%
เมื่อเร็วๆนี้ องค์การสหประชาชาติ (UN) รายงานว่า ในขณะที่บางประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกสามารถเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดายและด้วยความเร็วสูง ทว่ายังมีอีกหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศยากจน ยังไม่มีโอกาสแม้แต่การเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ต หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า “ช่องว่างดิจิตอล” (digital divide)
จากรายงานที่เปิดเผยในคราวจัดงาน ITU Telecom Asia 2008 ที่กรุงเทพฯ ไม่นานมานี้ ได้ระบุว่า ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เป็นภูมิภาคที่เป็นตลาดบรอดแบนด์ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 39% ของตลาดโลก ในขณะที่การใช้อินเทอร์เน็ตของประเทศยากจนยังมีปัญหาในเรื่องข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐานและความเร็วใช้งานค่อนข้างต่ำ
ท่ามกลางการต่อสู้ระหว่างเทคโนโลยีวิทยุกับการใช้งานต่างๆ บนพื้นฐานอินเทอร์เน็ต ปรากฏว่าเมื่อเร็วๆนี้ “Radiolicious” เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ชุดหนึ่งที่พัฒนาขึ้นโดย MySimBook.com ซึ่งเป็นผู้พัฒนาและผู้ทำการตลาดผลิตภัณฑ์โฆษณา มีบริษัท Global Security Systems หรือที่รู้จักกันดีในวงการอุตสาหกรรมวิทยุคือ เทคโนโลยี FM Alert
Radiolicious กำลังจะสร้างโมเดลธุรกิจหนึ่งที่คาดว่าจะเป็นที่สนใจของบรรดาผู้ประกอบการด้านบรอดคาสต์ ทั้งนี้ Radiolicious เป็นเพลเยอร์ที่ผู้ใช้เครื่องไอโฟนดาวน์โหลดได้ฟรี
เราคงจะเคยเห็นการทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โค้งงอ และสามารถดึงยืดกันมาบ้างแล้ว ตอนนี้มาถึงเป้าหมายใหญ่ของบรรดานักวิจัยคือ การทำให้มันมีคุณสมบัติที่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปได้ เช่น บิดเบี้ยวได้
สมาคมมาตรฐานอิเล็กทรอนิกส์จีน ประกาศที่กรุงปักกิ่งเมื่อมานานมานี้ว่า OASIS (Organization for the Advancement of Structured Information Standards) ซึ่งเป็นหน่วยงานมาตรฐานกลางที่ไม่หวังผลกำไร มีหน้าที่ในการออกมาตรฐานสารสนเทศ ให้การรับรองมาตรฐาน “Unstructured Operation Markup Language” หรือ UOML ซึ่งเป็นมาตรฐานในการเขียนและดึงข้อมูลสำหรับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่พัฒนาขึ้นโดย CESA ซึ่งนับเป็นมาตรฐานสากลที่พัฒนาโดยจีนเป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
บริษัท ซิตี้บัส (Citybus) และบริษัท นิว เวิลด์ เฟิร์ส บัส (NWFB) ของเขตปกครองพิเศษฮ่องกง ร่วมกันประกาศต่อสาธารณชนเมื่อเร็วๆนี้ว่า รถโดยสารประจำทางที่สามารถใช้บริการไว-ฟาย (Wi-Fi)ได้คันแรกเริ่มวิ่งแล้ว และอีก 10 คันใน 11 เส้นทางอยู่ระหว่างติดตั้งอุปกรณ์ไว-ฟาย คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์
บริการไว-ฟาย เป็นบริการเสริมพิเศษของรถโดยสารประจำทาง ที่ต้องการอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารในการใช้อินเทอร์เน็ต และเพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนา ไว-ฟาย ในฮ่องกง ทั้งนี้จะมีการประเมินผลเป็นเวลา 3 เดือน เพื่อดูการสนองตอบของผู้โดยสารต่อบริการใหม่ หากได้ผลเป็นที่น่าพอใจ บริษัทจึงจะตัดสินใจอีกครั้งว่าจะเพิ่มบริการดังกล่าวไปยังรถโดยสารคันอื่นๆอีกหรือไม่
บริษัท Ovum เชื่อว่าภาคอุตสาหกรรมสื่อสารไร้สายในภูมิภาคเอเซียจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้นหลายแห่งทั่วโลกในขณะนี้ เช่น สหรัฐอเมริกา และบางประเทศในยุโรป
นักวิจัยของบริษัทรายหนึ่งกล่าวว่า แต่ก็มีข้อยกเว้นอยู่บ้าง โดยเฉพาะกรณีเศรษฐกิจมหภาคอาจอ่อนตัวลงบ้าง จึงอาจได้รับผลกระทบพอควร
ผู้ให้บริการที่ใช้เงินลงทุนส่วนใหญ่จากต่างประเทศอาจมีปัญหาอยู่บ้าง จากผลกระทบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
บรรดาผู้ให้บริการออกมาแจ้งกับนักลงทุนว่า ผู้ให้บริการอาจจะมีการลดเงินลงทุนลงบ้างหากเริ่มมีสัญญาณว่าจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ดังกล่าว
บริษัท ไดอะล็อก เทเลคอม (Dialog Telekom) ของศรีลังกาเปิดตัวบริการเกมบน 3G ที่สามารถเล่มรวมกันได้หลายคนผ่านทางบริการวิดิโอ คอลล์ (video call) บนเครื่องโทรศัพท์มือถือที่ใช้ 3G ได้ทุกเครื่อง
“3G Play” ซึ่งพัฒนาโดย WaveNET ได้แนะนำเกมใหม่พร้อมกัน 8 เกม บริการดังกล่าวทำให้ผู้ใช้บริการของบริษัทสามารถชักชวน ญาติมิตร เพื่อนฝูง ให้มาเล่นเกมด้วยกันโดยใช้บริการเสริมพิเศษ วิดิโอ คอลล์ เรียกเข้าไปยังระบบ หรืออาจเล่นคนเดียว (กับระบบ) ก็ได้ ตัวอย่างเกม เช่น Tic Tac Toe, Black Jack 21 และ Pokerและในขณะที่เล่น ผู้ใช้ยังสามารถแชท (chat) ได้ด้วย
ชินคอร์ป กลุ่มยักษ์ใหญ่สื่อสารที่ลงทุนในกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในไทย กัมพูชา และลาว ประกาศว่า บริษัท AIS ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ของไทย มีฐานลูกค้าเมื่อสิ้นไตรมาส 3 ปี 2551 จำนวน 26.77 ล้านราย ในขณะที่จำนวนลูกค้าของบริษัท ลาวเทล (Laotel) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของชินคอร์ปในลาวมีลูกค้าจำนวน 800,000 รายเมื่อสิ้นไตรมาส 3 ปีเดียวกัน และบริษัท แคมชิน (Camshin) ในกัมพูชามีลูกค้า 710,000 ราย แต่ทั้ง 2 บริษัทในลาวและกัมพูชายังคงมีอนาคตที่สดใส
ฐานลูกค้าของชินคอร์ปเพิ่มขึ้นจาก 4.5% เมื่อสิ้นไตรมาส 3 ปี 2550 เป็น 5.4% โดยมีจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้นต่อไตรมาสประมาณ 810,000 ราย จากปีก่อนที่มีจำนวนลูกค้าเพียง 510,000 ราย
เป็นที่รู้กันว่าเงินในการดำเนินการของ Mozilla Foundation เจ้าของ Mozilla Corporation นั้นมาจากกูเกิลผ่านข้อตกลงที่จะให้กูเกิลเป็นเว็บค้นหามาตรฐานของไฟร์ฟอกซ์ วันนี้ทางสรรพากรสหรัฐฯ ได้เตรียทการตรวจสอบความถูกต้องของการจ่ายเงินนี้
ปัญหาเกิดจาก Mozilla Foundation นั้นเป็นหน่วยงานไม่หวังผลกำไร ทำให้เงินรายได้ทั้งหมดไม่ว่าจะมากมายเพียงใดก็ไม่ต้องเสียภาษีแม้แต่น้อย แต่ทางสรรพากรของสหรัฐฯ ไม่เห็นด้วยนักเพราะการตกลงอย่างมีข้อแลกเปลี่ยนเช่นนี้อาจจะนับเป็นข้อตกลงทางธุรกิจ
Agere Systems ฟ้องคดีนี้เมื่อสองปีที่แล้ว กล่าวหาโซนี่ว่าละเมิดสิทธิบัตรเกี่ยวกับ "wireless local area network apparatus" ของทาง Agere Systems
อุปกรณ์ของโซนี่ที่ละเมิดสิทธิบัตรประกอบไปด้วย PSP, mylo Personal Communicator, และ Network Walkman โดยศาลมีคำพิพากษาให้โซนี่จ่ายค่าเสียหายแก่ Agere Systems เป็นจำนวนเงิน 18.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เล่าเหตุการณ์ให้ฟังกันก่อน
สัปดาห์ที่แล้วมี โอกาสได้ลงโปรแกรมให้กับเพื่อน ซึ่งเพิ่งโดนไวรัสไปสดๆ หมาดๆ เพิ่งจะฟอร์แมท ได้แผ่นสำหรับลงโปรแกรมมา 3 แผ่น คือ office 2007, Adobe CS3 suite และ ACDsee ซึ่งแผ่นทั้งหมดนี้มาจากแถวพันทิพย์นั่นเอง ถือว่าเป็นโอกาสดีมากสำหรับครั้งนี้ที่ได้เห็นว่า ซอฟต์แวร์เถื่อนนี่อันตรายจริงๆ มาดูกันค่ะว่าเกิดอะไรขึ้น นี่ขนาดมีแค่ 3 โปรแกรมเอง รอบนี้แจ๊กพ็อตจริงๆ เริ่มต้นด้วยการติดตั้ง Adobe CS3 Master Collection ยังไม่ทันไรก็เจอเลย พยายามจะเปิดโปรแกรม Key generator เพื่อสร้าง serial number ให้ เจ้า Trojan ก็ฝังตัวอยู่ในตัว Key generator นี่แหละ
Gmail ประกาศวันนี้ว่าผู้ใช้สามารถเลือกธีมอย่างเป็นทางการ มาเสริมแต่งในหน้ากล่องข้อความได้แล้ว ธีมที่มีให้บริการมีทั้งรูปแบบที่เหมือน Chrome หรือแบบที่หน้าตาจะเปลี่ยนตามสภาพอากาศ หรือแม้กระทั่งแบบจอสีเขียว ascii (Terminal) เพื่อเอาใจ geek ตัวพ่อตัวแม่
มีให้เลือกถึง 30 แบบในตอนนี้เชิญเลือกแต่งกันได้ตามอัธยาศัย
ที่มา: Gmail Blog
Lively.com เป็นบริการ chat online ที่มีตัวการ์ตูนและสามารถตกแต่งห้องพูดคุยได้เอง ผลิตผลจากกูเกิลแล็บ ที่รอการพิสูจน์ตัวเองเหมือนพวกรุ่นพี่อย่าง Google Reader, Google Documents เป็นต้น
แต่หลังจากเปิดตัวมาได้ประมาณสี่เดือนครึ่ง ก็ประกาศจะปิดตัวลง สิ้นเดือนธันวาคมนี้แล้วครับ
ปล. สาเหตุที่ปิดตัวลง ยังเดาไม่ออกแต่จากประสบการณ์ใช้งานพบว่า ช้ามากคุยไม่ได้เลย บางทีก็เข้าห้องไม่ได้ เลยเลิกเล่นไปเลย :p
ที่มา : googleblog
หากกล่าวถึง PC Magazine ทุกคนคงจะรู้จักดี เนื่องจากนิตยสารดังกล่าวเป็นหนึ่งในสื่อแรกๆ (ตั้งแต่ปีค.ศ. 1982) เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่ได้รับความนิยมในวงกว้าง และมีการขายลิขสิทธิ์ออกไปยังหลายประเทศ (รวมถึงประเทศไทยด้วย) แต่วันนี้บริษัท Ziff Davis เจ้าของ PC Magazine ได้ออกมาประกาศว่าจะไม่ผลิตนิตยสาร PC Magazine แบบกระดาษอีกต่อไปแล้ว และจะหันมาเอาดีทางด้านออนไลน์แทน
หลังจากที่แข่งกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่เดือนมิถุนายน จากเซียนนักเขียนโปรแกรมกว่า 11,000 คน เหลือเพียง 100 คน ในรอบสุดท้ายได้ตั๋วบินไปแข่งขันที่กูเกิลสำนักงานใหญ่ ในที่สุดก็ได้ผู้ชนะเลิศคือนาย Tiancheng Lou จากเมืองจีน ได้รับรางวัล $10,000 ส่วนที่สองเองก็มาจากเมืองจีนเช่นกันคือนาย Zeyuan Zhu และที่สามคือ Bruce Merry จากอังกฤษ