US Department of Justice
Parisa Tabriz ผู้จัดการธุรกิจ Chrome ของกูเกิล ให้การในชั้นศาลในคดีกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ฟ้องกูเกิลผูกขาด Search และเสนอให้แยก Chrome เป็นบริษัทใหม่ ซึ่งมีผู้สนใจซื้อหลายราย
ข้อโต้แย้งของ Tabriz คือ Chrome ไม่ได้มีแต่ตัวเบราว์เซอร์ แต่ยังผูกกับบริการอื่นของกูเกิล เช่น Safe Browsing, ระบบแจ้งเตือนหากพบว่ารหัสผ่านถูกเจาะ ฯลฯ ซึ่ง Tabriz บอกว่ามีแต่กูเกิลเท่านั้นที่สามารถสร้างบริการในระดับนี้ได้
Perplexity เป็นอีกบริษัทที่เข้าร่วมการไต่สวนเรื่องมาตรการเยียวยา ที่กูเกิลแพ้คดีผูกขาดธุรกิจ Search ซึ่งกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ โจทก์ยื่นฟ้อง และได้เสนอให้ศาลสั่งกูเกิลแยกธุรกิจ Chrome ออกมา
Dmitry Shevelenko บอกว่ามีความเสี่ยงหากมีคำสั่งให้แยก Chrome ออกจากกูเกิล โดยมองว่าอาจส่งผลกระทบต่อโครงการโอเพนซอร์ส Chromium ที่เจ้าของใหม่อาจหารายได้จากตรงนี้ ส่งผลเสียต่อวงการพัฒนาเว็บเบราว์เซอร์ โดย Perplexity ต้องการให้ศาลห้ามกูเกิลทำข้อตกลงผูกขาดบริการค้นหาข้อมูลกับผู้ผลิตสมาร์ทโฟนมากกว่า
ข้อมูลเพิ่มเติมจากห้องไต่สวน คดีกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฟ้องกูเกิลผูกขาด Search และเสนอให้แยก Chrome เป็นอีกบริษัท
Peter Fitzgerald ผู้บริหารฝ่ายพาร์ทเนอร์ของแพลตฟอร์มและอุปกรณ์ ให้การต่อศาลยอมรับว่า กูเกิลจ่ายเงินให้ซัมซุง "เยอะมาก" เพื่อให้ซัมซุงใช้ Gemini เป็นผู้ช่วย AI บนฮาร์ดแวร์ของซัมซุง ถึงแม้เขาไม่ได้เปิดเผยตัวเลข แต่ก็ใช้คำว่า enormous sum of money ในคำให้การ และบอกว่าสัญญากับซัมซุงมีระยะเวลา 2 ปี กูเกิลต้องจ่ายเงินให้ซัมซุงนับตามจำนวนฮาร์ดแวร์ที่พรีโหลด Gemini และแบ่งเปอร์เซนต์จากรายได้โฆษณาให้ซัมซุงอีกส่วน
การไต่สวนพิจารณามาตรการเยียวยาที่เริ่มต้นสัปดาห์นี้ จากคดีกูเกิลผูกขาดธุรกิจ Search ที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เป็นโจทก์ฟ้อง และกูเกิลถูกตัดสินแพ้ไปตั้งแต่สิงหาคมปีที่แล้ว มีประเด็นน่าสนใจเมื่อตัวแทนของ OpenAI ได้ให้การต่อศาล
Nick Turley หัวหน้าฝ่าย ChatGPT ของ OpenAI บอกว่าบริษัทไม่ได้ต้องการสร้างแชทบอตอย่าง ChatGPT แต่ต้องการสร้างผู้ช่วยความสามารถสูงที่ทำงานได้หลากหลายและซับซ้อน เพื่อเสริมส่วนนี้บริษัทจึงต้องมีเทคโนโลยีระบบค้นหาหรือ Search ที่ทำให้ AI ได้ข้อมูลปัจจุบันที่สุด
ตอนนี้กูเกิลโดนคดีที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฟ้องข้อหาผูกขาดอยู่ 2 คดี ซึ่งศาลชั้นต้นตัดสินใจให้กูเกิลแพ้ทั้งคู่ ได้แก่ คดีผูกขาด search ที่ตัดสินในเดือนสิงหาคม 2024 และ คดีผูกขาดในธุรกิจเทคโนโลยีโฆษณาออนไลน์ ศาลเพิ่งตัดสินเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ผู้พิพากษา Leonie Brinkema แห่งศาลแขวงสหรัฐในเขตตะวันออกของรัฐเวอร์จิเนีย ออกคำตัดสินคดีที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ฟ้องกูเกิลข้อหาผูกขาดตลาดโฆษณาดิจิทัล โดยบอกว่ากูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาดในธุรกิจ Ad Exchange และ Ad Server ซึ่งสร้างผลกระทบต่อผู้ลงโฆษณาและลูกค้า ผ่านเครื่องมือของกูเกิลหลายตัวที่มีระบบเชื่อมต่อกันเช่น Google Ad Manager
อย่างไรก็ตามประเด็นที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐยื่นฟ้องนั้นไม่ได้ชนะทั้งหมด โดยผู้พิพากษาบอกว่ากูเกิลยังไม่เข้าข่ายผูกขาดในตลาดการแสดงผลโฆษณาตามเว็บไซต์ (Display Ad)
เมื่อปีที่แล้วหลังศาลรัฐบาลกลางสหรัฐตัดสินคดีกูเกิลผูกขาดบริการระบบค้นหา (Search Engine) ว่ามีการผูกขาดจริง ทำให้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐยื่นเรื่องให้ศาลมีคำสั่งแยก Chrome ออกมาจาก Google เป็นอีกบริษัท โดยตอนนี้ยังอยู่ในขั้นตอนพิจารณา อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นในยุคประธานาธิบดี Joe Biden จึงเกิดประเด็นว่าทิศทางจะเปลี่ยนหรือไม่ในยุค Donald Trump
ล่าสุดกระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ปรับปรุงข้อเสนอต่อศาลรัฐบาลกลางเรื่องนี้ แต่ยกเลิกเฉพาะส่วนที่ระบุว่า Google และ Alphabet บริษัทแม่ ต้องขายเงินลงทุนในบริษัท AI คู่แข่งอื่น เช่น Anthropic โดยมองว่าเป็นแนวทางหนึ่งในการส่งเสริมการผูกขาดบริการค้นหาข้อมูล ส่วนประเด็นที่ต้องแยก Chrome ออกมาเป็นอีกบริษัทนั้นยังอยู่ในข้อเสนอต่อไป
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (Department of Justice) ยื่นคำร้องต่อศาล คัดค้านดีล Hewlett Packard Enterprise ซื้อบริษัทอุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย Juniper ในราคา 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์
กระทรวงยุติธรรมให้เหตุผลว่า HPE และ Juniper เป็นเบอร์ 2 และ 3 ในตลาดอุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย (WLAN) ในสหรัฐ การควบรวมกันจะทำให้เหลือผู้เล่นรายใหญ่ 2 รายที่มีส่วนแบ่งตลาดรวมกัน 70% การแข่งขันในตลาดที่มีการแข่งขันน้อยอยู่แล้วยิ่งลดลง และจะทำให้ธุรกิจขนาดเล็กต้องจ่ายค่าอุปกรณ์เหล่านี้แพงขึ้น
มีความคืบหน้าคดีที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฟ้องกูเกิลเรื่องการผูกขาดธุรกิจระบบค้นหา (Search) และศาลรัฐบาลกลางสหรัฐตัดสินว่ากูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาดจริง ซึ่งกูเกิลก็เตรียมอุทธรณ์ ขณะเดียวกันศาลก็สั่งให้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ และกูเกิล เสนอแผนเยียวยาที่เป็นผลจากการผูกขาด
ประเด็นหนึ่งที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐใช้เป็นข้อมูลเพื่อแสดงว่ากูเกิลพยายามผูกขาดธุรกิจค้นหา คือการจ่ายเงินให้แอปเปิลจำนวนมากทุกปี แลกกับการเป็นระบบค้นหาค่าเริ่มต้น (default) โดยกระทรวงยุติธรรมสหรัฐบอกว่าถ้ากูเกิลต้องเลิกจ่ายเงินส่วนนี้ แอปเปิลก็จะพัฒนาระบบค้นหาของตนเองขึ้นมาแทน (เคยมีข่าวลือด้วย)
Bloomberg อ้างแหล่งข่าวจากกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ว่าทางกระทรวงจะเดินหน้าขอให้ผู้พิพากษาสั่งให้กูเกิลขายธุรกิจ Chrome ออกไป ในคดีที่ศาลตัดสินแล้วว่ากูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาด search engine
คดีนี้เพิ่งตัดสินในศาลชั้นต้นไปเมื่อเดือนสิงหาคม 2024 ว่ากูเกิลมีความผิดจริง ซึ่งกระทรวงยุติธรรมในฐานะผู้ฟ้องจะต้องเสนอมาตรการเยียวยาตลาดเพื่อลดผลจากการผูกขาดของกูเกิลลง ซึ่งขึ้นกับผู้พิพากษาในคดีว่าจะรับข้อเสนอนี้หรือไม่ แต่กูเกิลประกาศแล้วว่าจะยื่นอุทธรณ์
ความคืบหน้าต่อจากคดีศาลสหรัฐตัดสิน Google มีพฤติกรรมผูกขาดบริการ Search Engine เมื่อเดือนสิงหาคม 2024
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (Department of Justice หรือ DoJ) ในฐานะผู้ยื่นฟ้อง ได้ยื่นแนวทางบรรเทา (remedies proposal) พฤติกรรมการผูกขาดต่อศาล ทั้งหมด 4 ข้อ
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ยื่นฟ้อง Visa ด้วยข้อหาผูกขาดเครือข่ายการชำระเงินของบัตรเดบิตในสหรัฐ
ในคำฟ้องของกระทรวงยุติธรรม ระบุว่าธุรกรรมบัตรเดบิต 60% ของสหรัฐอยู่บนเครือข่ายชำระเงินของ Visa สร้างรายได้จากค่าธรรมเนียมปีละ 7 พันล้านดอลลาร์ ความผิดของ Visa คือกีดกันคู่แข่งรายที่เล็กกว่า เช่น PayPal, Square ผ่านสัญญากับธนาคารและร้านค้า ถ้าคู่ค้าเหล่านี้ไปใช้เครือข่ายเดบิตหรือระบบชำระเงินรายอื่น ก็จะถูกลงโทษจาก Visa ด้วยค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้น
กระทรวงยุติธรรม สรุปว่าพฤติกรรมของ Visa กีดกันการแข่งขัน และสร้างต้นทุนที่เพิ่มขึ้นให้ธนาคารหรือร้านค้า ซึ่งจะส่งต่อต้นทุนเหล่านี้มายังผู้บริโภคผ่านราคาสินค้าที่แพงขึ้น
NVIDIA ชี้แจงหลังมีรายงานข่าวว่ากระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ส่งหมายเรียก เพื่อทำการสอบสวนประเด็นผูกขาดในธุรกิจเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ โดย NVIDIA บอกว่าบริษัทได้สอบถามไปยังกระทรวงยุติธรรมฯ แล้ว แต่ไม่มีการแจ้งหมายเรียกแต่อย่างใด
ตัวแทนของ NVIDIA บอกว่าบริษัทยินดีที่จะตอบทุกคำถามกับหน่วยงานกำกับดูแลเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัท
ปัจจุบัน NVIDIA มีส่วนแบ่งตลาดในชิปประมวลผลปัญญาประดิษฐ์มากกว่า 80% ซึ่ง NVIDIA ชี้แจงเรื่องนี้ว่าลูกค้าเลือก NVIDIA เพราะประสิทธิภาพและความคุ้มค่าสำหรับพวกเขา ในมุมลูกค้าเองพวกเขาก็สามารถเลือกใช้งานชิปประมวลผลใดก็ได้ที่ดีที่สุดสำหรับตน
Bloomberg รายงานว่ากระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ส่งหมายเรียก NVIDIA แจ้งการสอบสวนการผูกขาดในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ตามที่มีรายงานออกมาเมื่อเดือนที่แล้ว โดยมีบริษัทผู้ผลิตชิป AI รายอื่นได้รับหมายเรียกนี้เช่นกัน
ประเด็นที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐตั้งข้อสังเกตจนนำมาสู่การสอบสวน มีทั้งการออกแบบที่ทำให้ลูกค้าเปลี่ยนค่ายผู้ผลิตชิปสำหรับงาน AI ได้ยาก รวมทั้งประเด็นที่บริษัทคู่แข่งร้องเรียนว่า NVIDIA ใช้อำนาจเหนือตลาดคิดราคาอุปกรณ์เน็ตเวิร์กที่แพงขึ้น หากใช้ชิปคู่แข่งในการประมวลผล
ศาลรัฐบาลกลางสหรัฐตัดสินคดีที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (Department of Justice) ร่วมกับอัยการใน 38 รัฐ ฟ้องกูเกิลข้อหาผูกขาดบริการระบบค้นหา (Search) ซึ่งฟ้องไปตั้งแต่ปี 2020 โดยคำตัดสินคือกูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาดจริง
ผู้พิพากษา Amit Mehta อธิบายในคำตัดสินว่ากูเกิลนั้นผูกขาดตลาดระบบค้นหาอยู่แล้ว และยังมีพฤติกรรมที่พยายามรักษาการผูกขาดตลาด ด้วยการทำข้อตกลงเอ็กซ์คลูซีฟกับผู้ผลิตสมาร์ทโฟนทั้ง Android และ iPhone, iPad ของแอปเปิล ซึ่งมองว่าเป็นพฤติกรรมต่อต้านการแข่งขันและทำเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดระบบค้นหาต่อไป
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (DoJ) ร่วมกับคณะกรรมการกำกับดูแลการค้าของสหรัฐ (FTC) ยื่นฟ้อง TikTok ต่อศาลกลางรัฐแคลิฟอร์เนีย ระบุว่าบริษัทละเมิดกฎหมายการปกป้องข้อมูลความเป็นส่วนตัวของเด็ก ซึ่งกฎหมายนี้กำหนดให้แพลตฟอร์มออนไลน์ ต้องไม่เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ใช้งานเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี จนกว่าจะได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง รวมทั้งต้องลบข้อมูลทั้งหมดหากถูกร้องขอจากผู้ปกครอง
DoJ ยังอ้างถึงคำสั่งของ FTC ในปี 2019 ที่สั่งปรับเงิน TikTok ในประเด็นเดียวกันนี้ จึงมองว่าเป็นการทำความผิดซ้ำ โดยเอกสารอ้างคำร้องเรียนจากผู้ปกครองจำนวนมากที่พบปัญหานี้
กระทรวงยุติธรรมเริ่มการสอบสวน NVIDIA ฐานผูกขาดจาก 2 กรณี คือการซื้อ Run:ai สตาร์ทอัพรัน AI บน Kubernetes และการใช้อำนาจเหนือตลาดกีดกันลูกค้า ไม่ให้ซื้อสินค้าของคู่แข่ง
กรณีแรกรายงานโดย Politico อ้างอิงคนในกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นการสืบสวนเรื่องการผูกขาดจากการซื้อกิจการตามปกติ
ส่วนกรณีที่สองรายงานโดย The Information หลังกระทรวงยุติธรรมได้รับคำร้องจากคู่แข่งของ NVIDIA ที่กล่าวหาว่า NVIDIA ใช้อำนาจเหนือตลาด คิดราคาอุปกรณ์เน็ตเวิร์คราคาแพง หากลูกค้าซื้อชิป AI จากคู่แข่ง
The New York Times อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง บอกว่าหน่วยงานของสหรัฐเตรียมทำการสอบสวนบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ ในประเด็นการผูกขาดในอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์หรือ AI
โดยกระทรวงยุติธรรม (DoJ) จะรับผิดชอบในการสอบสวน NVIDIA ส่วนคณะกรรมการกำกับดูแลการค้าของสหรัฐ (FTC) จะตรวจสอบ OpenAI และไมโครซอฟท์
ไมโครซอฟท์นั้นอยู่ในขั้นตอนการสอบสวนของ FTC ในเรื่องเกี่ยวกับ AI อยู่แล้ว จากการตั้งซีอีโอ Inflection AI เป็นหัวหน้าฝ่าย Microsoft AI ซึ่ง FTC บอกว่ารูปแบบดีลนี้เป็นการซื้อตัวซีอีโอและเทคโนโลยีสำคัญเข้ามา เพื่อหลบเลี่ยงการซื้อกิจการโดยตรงที่ต้องรายงานต่อหน่วยงานกำกับดูแล
จากข่าวใหญ่เมื่อปลายสัปดาห์ที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฟ้องแอปเปิล ว่ามีพฤติกรรมผูกขาดทางการค้านั้น อาจใช้เวลาในการสอบสวนและคงมีข้อมูลออกมาเพิ่มเติมเป็นระยะ อย่างไรก็ตามในสำนวนการฟ้องนั้น กระทรวงยุติธรรมสหรัฐระบุหลายประเด็นที่มองว่าแอปเปิลพยายามผูกขาดธุรกิจ บางประเด็นผู้อ่านก็อาจพยักหน้าเห็นด้วยได้ไม่ยาก แต่บางประเด็นก็อาจขมวดคิ้วสงสัยแทน
หัวข้อหนึ่งที่สื่อในอเมริกาหยิบมาตั้งคำถามว่าการฟ้องร้องนี้ เป็นการหยิบหลายเรื่องมาผสมกันเกินไป ก็คือการบอกว่า CarPlay ระบบเชื่อมต่อหน้าจอ iPhone กับหน้าจอรถยนต์ เป็นความพยายามของแอปเปิลในการผูกขาดระบบควบคุมของอุตสาหกรรมรถยนต์
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ร่วมด้วย 15 รัฐ และวอชิงตัน ดี.ซี. ยื่นฟ้องแอปเปิลต่อศาลกลางนิวเจอร์ซีย์ ข้อหามีพฤติกรรมผูกขาดทางการค้า ตามที่มีข่าวเมื่อวานนี้
Merrick B. Garland อัยการสูงสุดสหรัฐ กล่าวว่า iPhone เป็นธุรกิจที่แข็งแกร่งมากของแอปเปิล เป็นรายได้หลักของบริษัท ส่วนแบ่งเฉพาะในอเมริกามากกว่า 65% ด้วยราคาขายต่อเครื่องเฉลี่ยที่สูงกว่า 1,600 ดอลลาร์ สาเหตุหนึ่งเพราะบริษัทละเมิดกฎหมายผูกขาดทางการค้า ด้วยกลยุทธ์ต่าง ๆ ซึ่งส่งผลเสียต่อทั้งลูกค้าและนักพัฒนา
สำนักข่าว Bloomberg อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องเผยว่า กระทรวงยุติธรรมสหรัฐเตรียมยื่นฟ้องแอปเปิลอย่างเป็นทางการภายใน 1-2 วันนี้ ตามที่เคยมีรายงานออกมาก่อนหน้านี้ในประเด็นผูกขาดทางธุรกิจ
ในตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดของสำนวน แต่คาดว่าเรื่องราวจะคล้ายกับกรณีที่เกิดขึ้นจากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ว่าแอปเปิลจำกัดการเข้าถึงเนื่องจากเป็นระบบปิด ทั้งส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ รวมถึงประเด็นสำคัญที่เพิ่งมีการแก้ไขไปในกลุ่มสหภาพยุโรปคือ App Store
ตอนนี้กูเกิลกำลังเจอกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (Department of Justice หรือ DoJ) สั่งฟ้องข้อหาผูกขาดตลาด Search ในสหรัฐ กระบวนการไต่สวนยังอยู่ในชั้นศาล
ฝั่งกูเกิลได้ส่งเอกสารแก้ต่างต่อศาล เอกสารฉบับนี้ได้เปิดเผย "ข้อมูลใหม่" ว่าไมโครซอฟท์เคยเสนอขาย Bing ให้แอปเปิลในช่วงปลายปี 2018 แต่สุดท้ายแอปเปิลปฏิเสธข้อเสนอนี้
The New York Times รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องเผยว่า กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ เข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายของการสอบสวนประเด็นผูกขาดทางการค้าของแอปเปิลแล้ว โดยน่าจะยื่นฟ้องร้องได้ภายในครึ่งแรกของปี 2024
ประเด็นหลักที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐใช้ในการฟ้องร้องแอปเปิลข้อหาผูกขาดทางธุรกิจ คือการออกแบบการทำงานที่เป็นระบบปิดของแอปเปิล เช่น Apple Watch เป็นสมาร์ทวอทช์ที่ทำงานได้ดีร่วมกับ iPhone มากกว่าการใช้สมาร์ทวอทช์อื่นหรือไม่ ไปจนถึงประเด็นร้อนล่าสุดอย่าง iMessage, ระบบการจ่ายเงิน Apple Pay, AirTag ทำงานได้ดีบน iPhone เมื่อเทียบกับแทร็กเกอร์อื่น, การปิดไม่ให้ใช้คลาวด์เกมมิ่ง เป็นต้น
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ยื่นฟ้องกูเกิลในข้อหาผูกขาดตลาดโฆษณาดิจิทัล (กลุ่ม display ad ไม่ใช่ search ad ที่เคยฟ้องแยกไปแล้วตั้งแต่ปี 2020 และคดียังอยู่ในชั้นศาล) จากการซื้อคู่แข่งและปรับเปลี่ยนวิธีการประมูลโฆษณาให้คู่แข่งเข้ามาสู้ไม่ได้
พฤติกรรมของกูเกิลที่ทำลายการแข่งขัน มีหลายอย่างประกอบกัน ได้แก่
แหล่งข่าวของ POLITICO และเอกสารระบุว่า กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ (Department of Justice - DOJ) กำลังเตรียมสอบสวนเชิงลึกกรณีที่ Adobe ซื้อ Figma ด้วยมูลค่า 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ว่าเป็นการผูกขาดการค้าของฝั่งบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ออกแบบหรือไม่