IBM เป็นบริษัทไอทีสายองค์กรที่มีความเคลื่อนไหวน่าสนใจที่สุดในรอบปีนี้ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลายอย่าง ตั้งแต่การควบกิจการ Red Hat ที่ถือเป็นจุดเปลี่ยนของ IBM ในตลาดคลาวด์ มาสู่การแต่งตั้งซีอีโอคนใหม่ Arvind Krishna
ต้องยอมรับว่า IBM ยังไม่ประสบความสำเร็จมากนักในตลาด public cloud ที่มีผู้เล่น 3 รายใหญ่ AWS, Azure, Google Cloud แต่บริษัทก็ยังไม่ถอดใจ และเดินหน้าลุยในตลาดคลาวด์ต่อไป โดยซีอีโอ Arvind Krishna ก็ประกาศไว้ว่าจะใช้ hybrid cloud และ AI เป็นผลิตภัณฑ์หัวหอกของ IBM ในอนาคตหลังจากนี้
Parallels บริษัทพัฒนาโซลูชั่นสำหรับการอินทิเกรตระหว่าง OS ประกาศก้าวสำคัญคือการร่วมมือกับ Google เพื่อนำแอปบน Windows มารันบน Chrome Enterprise เพื่อให้ผู้ใช้งานองค์กรได้ใช้งานแอป Windows บน Chrome OS ได้อย่างเต็มรูปแบบ
ก้าวนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของ Chrome OS เพราะองค์กรสามารถนำแอป legacy ที่ออกแบบสำหรับใช้งานบน Windows มารันบน Chrome OS ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่ง Parallels ระบุว่าจะทำให้แอปบน Windows ซึ่งรวมถึง Microsoft Office ใช้งานได้เต็มฟีเจอร์บนฮาร์ดแวร์ Chromebook Enterprise
Slack ประกาศลงนามเป็นพาร์ทเนอร์กับยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon ภายใต้ข้อตกลงที่กินระยะเวลาหลายปี ทำให้ Amazon จะนำ Slack มาใช้งานภายในทั้งองค์กร (แต่ไม่ได้บังคับพนักงานทุกคนให้ใช้) ทำให้ Amazon ที่พนักงานกว่า 8 แสนคน กลายเป็นลูกค้าองค์กรรายใหญ่ที่สุดของ Slack กลาย ๆ หลังจากก่อนหน้านี้มี IBM เป็นลูกค้าองค์กรรายใหญ่ที่สุดอยู่
NetApp ประกาศซื้อกิจการ Spot บริษัทด้านจัดการระบบคลาวด์และทรัพยากรบนคลาวด์ให้ประหยัดค่าใช้จ่าย โดยไม่เปิดเผยมูลค่า
ผลิตภัณฑ์หลักของ Spot เรียกว่า Cloud Analyzer เป็นซอฟต์แวร์วิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานคลาวด์ และปรับแต่งวิธีการใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (จากทรัพยากรที่จองไว้เกิน หรือจองไว้แต่ไม่ได้รันงานจริง) เพื่อประหยัดค่าคลาวด์ลง สามารถใช้ได้กับคลาวด์ข้ามค่าย ทั้ง AWS, Azure, GCP และเวิร์คโหลดหลายรูปแบบ
นอกจาก Windows 10 v2004 ไมโครซอฟท์ยังออก Windows Server v2004 มาพร้อมกัน ตามรอบการอัพเดตทุกครึ่งปี
Windows Server version 2004 (ตั้งชื่อไม่ให้สับสนกับ Windows Server 2003) ถือเป็นระบบปฏิบัติการ Windows Server รุ่นออกทุกครึ่งปี Semi-Annual Channel (SAC) ที่เน้นฟีเจอร์ใหม่ๆ มากกว่าเสถียรภาพ และมีระยะซัพพอร์ตเพียง 18 เดือน (รุ่นเสถียรใช้ระยะยาวตัวล่าสุดตอนนี้คือ Windows Server 2019 ที่ซัพพอร์ตนาน 5+5 ปี)
ในงาน Build 2020 ไมโครซอฟท์เปิดตัวแอพใหม่ในตระกูล Microsoft 365 เพิ่มอีกตัวคือ Microsoft Lists
หากดูเผินๆ Microsoft Lists เป็นแอพจดรายการ ที่คล้ายกับ Microsoft To-Do ฝั่งคอนซูเมอร์ แต่จริงๆ แล้วมันมีฟีเจอร์สำหรับ issue tracking (คล้ายกับ Jira) และการวางแผนงานให้คนในทีม (คล้ายกับ Trello หรือ Asana) ในตัว มีระบบจัดหมวดด้วยสี, แจกงานให้เพื่อนร่วมทีม, คอมเมนต์ในรายการได้, กำหนดระยะเวลาพร้อมแสดงเป็นปฏิทิน
สงคราม Kubernetes สำหรับตลาดไฮบริดคลาวด์เริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมที่มี Red Hat OpenShift เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกตลาด ก็เริ่มมีคู่แข่งรายใหญ่คือ VMware Tanzu เข้ามาแข่งขัน ซึ่ง[ซีอีโอของ Red Hat เองก็ยอมรับว่า VMware เป็นคู่แข่งโดยตรงในตลาดนี้
ล่าสุด Sanjay Poonen ซีโอโอของ VMware ออกมาให้สัมภาษณ์ในประเด็นนี้ และพูดถึงการแข่งขันกับ Red Hat เช่นกัน เขายอมรับว่า VMware บุกมาในตลาดนี้ช้ากว่า แต่ก็มั่นใจว่าจะสามารถแซงหน้า OpenShift ได้ในแง่จำนวนลูกค้าองค์กร ด้วยปัจจัยว่าผลิตภัณฑ์ดีกว่า (VMware ซื้อกิจการ Pivotal และ Heptio ของผู้ก่อตั้ง Kubernetes) และปัจจัยว่า VMware มีฐานลูกค้า virtualization มากถึง 500,000 องค์กร ที่พร้อมจะขยับมาใช้ Tanzu ได้ไม่ยาก
Red Hat ประกาศความร่วมมือกับ AWS เปิดตัว Amazon Red Hat OpenShift ซึ่งเป็นการนำแพลตฟอร์ม OpenShift สำหรับจัดการ Kubernetes เชิงพาณิชย์ของ Red Hat ไปรันบน AWS โดยทั้งสองบริษัทร่วมกันบริหารและซัพพอร์ตให้ (ก่อนหน้านี้ AWS รัน OpenShift ได้อยู่แล้ว แต่ผู้ใช้ต้องจัดการระบบเอง)
ในแง่ฟีเจอร์ซอฟต์แวร์คงไม่มีอะไรต่างจาก OpenShift เวอร์ชันปกติของ Red Hat แต่จุดขายหลักคือการทำงานร่วมกับระบบของ AWS เช่น การเรียกใช้งาน Auto Scaling เพื่อขยายจำนวนโหนดในระบบ และช่วยเปิดทางให้ลูกค้าองค์กรสามารถย้ายโหลดงานจาก OpenShift แบบ on-premise มารันบนเครื่องของ AWS ได้ด้วย
Red Hat ระบุว่าเริ่มเปิดทดสอบ Amazon Red Hat OpenShift แบบ early access ในเร็วๆ นี้ โดยยังไม่ระบุราคา
กูเกิลเปิดตัว Google Cloud VMware Engine บริการสำหรับรัน VM จาก VMware เต็มรูปแบบบนเครื่องของ Google Cloud
เมื่อกลางปี 2019 กูเกิลจับมือกับ VMware เปิดตัวบริการลักษณะเดียวกันนี้ แต่บริหารโดยบริษัทพาร์ทเนอร์ชื่อ CloudSimple ซึ่งหลังจากนั้นไม่นาน กูเกิลก็ซื้อกิจการ CloudSimple มันซะเลย
หลังซื้อกิจการเรียบร้อยแล้ว กูเกิลจึงนำโซลูชันของ CloudSimple มาให้บริการภายใต้ชื่อกูเกิลเองโดยตรง กลายมาเป็น Google Cloud VMware Engine นั่นเอง
Oracle ประกาศฉลอง Java อายุครบ 25 ปี (เปิดตัวครั้งแรกปี 1995) ด้วยสโลแกน “Our World. Moved by Java.” และประกาศยืดอายุซัพพอร์ตของ Java SE 8
ปัญหาอย่างหนึ่งของระบบอีเมล ที่คนออกแบบในยุคแรกคงไม่เคยนึกถึง คือการ Reply All ในเมลกลุ่มที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมากๆ (เช่น กด Reply All ขององค์กรที่มีคนเป็นล้าน) จนทำให้ระบบอีเมลล่มไปหลายวัน
ไมโครซอฟท์เองก็เคยเจอปัญหานี้ (มีคน Reply All ในกลุ่มที่มีพนักงาน 52,000 คน) และประกาศแก้ปัญหานี้ที่ระดับเมลเซิร์ฟเวอร์ Exchange ล่าสุดฟีเจอร์นี้เริ่มเปิดใช้งานแล้วบน Exchange Online เวอร์ชันโฮสต์บนเซิร์ฟเวอร์ไมโครซอฟท์สำหรับลูกค้า Office 365
IBM เปิดตัว Watson AIOps แอดมินยุคใหม่ไม่ต้องใช้คน เพราะใช้ AI ช่วยอ่านไฟล์ log ของระบบไอทีองค์กร แล้ววิเคราะห์ต้นเหตุของปัญหาให้อัตโนมัติ
Watson AIOps เป็นผลงานวิจัยของ IBM Research โดยใช้เทคโนโลยี natural language processing (NLP) อ่านข้อความใน ticket ที่แจ้งปัญหาเข้ามา วิเคราะห์หาสาเหตุและวิธีแก้ไข จากนั้นจะคอยเฝ้ามอนิเตอร์ปัญหาจากช่องทาง log/alert ต่างๆ แล้วตรวจสอบว่าตรงกับแพทเทิร์นของปัญหาในอดีตหรือไม่ เพื่อนำเสนอวิธีการแก้ไขที่เหมาะสม
IBM ยังร่วมมือกับ Slack (ที่เพิ่งได้ IBM เป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุด) ทำระบบ ChatOps สำหรับแจ้งเตือนข้อมูลจาก AIOps ผ่านทาง Slack ด้วย
IBM ร่วมกับ Red Hat เปิดตัวโซลูชันสำหรับ Edge Computing ที่จะได้รับความนิยมมากขึ้นในยุค 5G จากปัจจัยเรื่อง latency ของเครือข่ายที่ลดลง
โซลูชันของ IBM ใช้เทคโนโลยีจากฝั่ง Red Hat คือ OpenStack และ OpenShift (Kubernetes) เป็นแกนกลาง แล้วปรับแต่งให้เหมาะกับการใช้งานในแต่ละอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นความถนัดของ IBM (และเป็นตัวอย่างที่ดีว่า IBM ซื้อ Red Hat ไปทำไม)
Paul Cormier ซีอีโอคนใหม่ของ Red Hat ให้สัมภาษณ์กับ The Register ในโอกาสรับตำแหน่งใหม่ (แต่ตัวเขาอยู่กับ Red Hat มาตั้งแต่ปี 2001) มีประเด็นที่น่าสนใจคือวัฒนธรรมองค์กร Red Hat ที่มาจากโลกโอเพนซอร์ส เคลื่อนตัวเร็ว จะโดนวัฒนธรรมองค์กรใหญ่ของ IBM กลืนกินหรือไม่
Cormier ยืนยันว่าจะไม่มีปัญหานี้ เพราะ Red Hat จะแยกขาดจาก IBM ไม่ไปยุ่งกันเลย เขามีฝ่ายทรัพยากรบุคคล ฝ่ายกฎหมาย การเงิน ระบบไอทีภายในของตัวเองโดยไม่ต้องใช้ของ IBM และไม่มีแผนจะรวมแผนกหลังบ้านเหล่านี้เข้าด้วยกันด้วย
Kubernetes รุ่นต้นน้ำรองรับ Windows container มาตั้งแต่เวอร์ชัน 1.14 ในเดือนเมษายน 2019 (เวอร์ชันล่าสุดตอนนี้คือ 1.18) ฝั่งของดิสโทรและผู้ให้บริการคลาวด์หลายราย ก็เริ่มทยอยอัพเดตบริการ Kubernetes ของตัวเองให้รองรับฟีเจอร์นี้กัน
Microsoft Azure เริ่มรองรับ Windows container มายาวนานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2019 แต่มีสถานะพรีวิว ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศรองรับ Windows Server container อย่างเป็นทางการบน Azure Kubernetes Service (AKS) แบบ general availability เรียบร้อยแล้ว
ปัญหาสำคัญของการอัพเดตเคอร์เนลลินุกซ์ คือต้องรีบูตเครื่องซึ่งเกิดดาวน์ไทม์ ทางออกในเรื่องนี้จึงเกิดเทคนิคที่เรียกว่า Kernel Live Patching (บ้างก็เรียก KLP, Livepatch, Kpatch ตามแต่ละยี่ห้อ) ที่สามารถอัพเดตแพตช์ให้เคอร์เนลโดยไม่ต้องรีบูต (รายละเอียดทางเทคนิคว่าทำอย่างไร)
ฟีเจอร์ Kernel Live Patching มักมีในลินุกซ์เวอร์ชัน Enterprise ที่ต้องเสียเงินซื้อ subscription เช่น RHEL, Oracle Linux, Ubuntu Enterprise, SUSE Enterprise หรือบริการ KernelCare ที่ใช้กับดิสโทรได้หลายราย
เราเห็นไมโครซอฟท์ขยายระยะเวลาซัพพอร์ต Windows 10 ให้เป็นกรณีพิเศษ ในช่วงวิกฤต COVID-19 เพื่อให้แอดมินองค์กรมีระยะเวลาเตรียมตัวกันนานขึ้น
วันนี้ Red Hat ประกาศขยายระยะเวลาซัพพอร์ตผลิตภัณฑ์หลายตัวในลักษณะเดียวกัน
ที่มา - Red Hat
Zoom ผู้ให้บริการประชุมทางไกลประกาศเลือก Oracle Cloud Infrastructure เป็นผู้ให้บริการคลาวด์หลักที่จะรองรับการสเกลรองรับการใช้งานในอนาคต
Zoom ได้เซ็นสัญญากับ Oracle และดีพลอยระบบคอร์มีตติ้งบน Oracle Cloud มาแล้วกว่า 6 สัปดาห์ ซึ่งทาง Oracle ระบุว่าตอนนี้ Zoom มีการรับส่งข้อมูลมากกว่า 7 เพตะไบต์ต่อวันผ่าน Oracle Cloud Infrastructure
Brent Leary ผู้ก่อตั้งบริษัท CRM Essentials บริษัทด้านการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าให้ความเห็นว่า Zoom ตั้งใจจะเน้นกลุ่มตลาดลูกค้าองค์กร จึงต้องให้ทั้งความมั่นใจทั้งในด้านการสเกลและความปลอดภัยของข้อมูล และค่อนข้างมั่นใจว่า Oracle น่าจะให้ข้อเสนอ Zoom ดีพอที่ทำให้ Zoom ตัดสินใจไม่เลือกรายใหญ่อย่าง AWS หรือ Azure
Red Hat เปิดตัว Ansible Automation Platform ตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว โดยเป็นแพลตฟอร์มรวบรวมสคริปต์สำหรับการแปลงงานให้เป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้น ปีนี้ Ansible Automation Platform เพิ่มฟีเจอร์อีกสองรายการหลัก
อย่างแรกคือ automation services catalog ตรวจสอบการใช้งานทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นเซิร์ฟเวอร์, virtual machine, คลาวด์, หรือคอนเทนเนอร์ ว่ามีการรันสคริปต์ใดไปแล้วบ้าง ควบคุมการทำตามนโยบายองค์กร อย่างที่สองคือ Automation Analytics แสดงสถิติและสถานะของการรัน automation เช่น ระยะเวลาที่รัน, อัตราความสำเร็จและล้มเหลว
นอกจากการอัพเดตฟีเจอร์ สคริปต์ automation ใน Ansible Content Collections ก็เพิ่มขึ้น มีสคริปต์จากพันธมิตร 26 ราย และโมดูลรวมกว่า 1,200 โมดูล
ความปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กรเป็นปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญมากเป็นอันดับต้น ๆ จากทั้งการใช้งานเทคโนโลยีที่เพิ่มและหลากหลายมากขึ้น ขณะที่ภัยคุกคามที่มีความล้ำหน้าและซับซ้อนขึ้นอยู่ตลอดเวลา นอกจากการวางระบบที่ปลอดภัยตามมาตรฐานแล้ว องค์กรที่มีระบบซับซ้อนขึ้นจำเป็นต้องมีการมอนิเตอร์ตลอดเวลาว่ามีความผิดปกติใดบ้างหรือไม่
การลงทุนเพื่อมอนิเตอร์ความปลอดภัยไซเบอร์จึงเป็นสิ่งที่องค์กรหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ด้วยเม็ดเงินที่ค่อนข้างมาก อาจทำให้หลายองค์กรไม่กล้าลงทุนด้านนี้อย่างเต็มที่ทั้งที่มีความสำคัญ เพราะการดูแลความปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กรจำเป็นต้องมีการตั้งทีมแยกออกมา ไม่รวมการลงทุนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพิ่ม หากเป็นองค์กรขนาดใหญ่หน่อย การลงทุนก็น่าจะมากตาม ทั้งการลงทุนฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บุคลากร ไม่รวมกระบวนการจัดการต่าง ๆ อีก
บริการ Managed Security Service จึงเข้ามาตอบโจทย์องค์กรนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ AIS เปิดบริการ AIS Cyber Secure ที่จะเข้ามาช่วยดูแลความปลอดภัยไซเบอร์ให้องค์กร โดยที่ไม่ต้องลงทุนและดูแลจัดการเอง
กูเกิลประกาศเพิ่มความสามารถให้ G Suite โดยแอดมินขององค์กรสามารถใช้หน้า Admin Console ของ G Suite จัดการคอนฟิกฮาร์ดแวร์ที่เป็น Windows 10 ได้แล้ว (ก่อนหน้านี้ทำได้เฉพาะ Android, iOS, Chrome, Jamboard)
กูเกิลเรียกฟีเจอร์นี้ว่า Enhanced desktop security for Windows โดยแอดมินสามารถสั่งลบข้อมูลในเครื่อง, อัพเดต Windows, ปรับแต่งคอนฟิกต่างๆ และลบบัญชี หรือปรับสิทธิการเข้าถึงของผู้ใช้งานได้จากระยะไกล
AWS ออกบริการตัวใหม่ชื่อ Amazon AppFlow มันเป็นการเชื่อมข้อมูลจากบริการ SaaS ยอดนิยมในท้องตลาด (เช่น Salesforce, ServiceNow, Slack, Zendesk, Google Analytics) กับบริการเก็บข้อมูลของ AWS เอง (ตอนนี้ยังรองรับเฉพาะ S3 กับ Redshift) โดยไม่ต้องเขียนโค้ดเอง
จุดเด่นของ Amazon AppFlow คือส่งข้อมูลระหว่าง SaaS กับ AWS ได้ทั้งส่งไปและส่งกลับ ต่างจากบริการพวก automation หลายๆ ตัวในท้องตลาดที่รองรับการดึงออกจาก SaaS เพียงอย่างเดียว
AppFlow เข้ามาช่วยจัดการเรื่องการ map ข้อมูล การฟิลเตอร์ข้อมูล และรองรับการโอนถ่ายข้อมูลขนาดใหญ่ สูงสุด 100GB ส่วนวิธีคิดเงินแยกเป็นตามจำนวน flow (0.001 ดอลลาร์ต่อ flow) และค่าประมวลผลข้อมูลอีก 0.02 ดอลลาร์ต่อ GB
Google Cloud ประกาศอัพเดตฟีเจอร์ที่ Anthos รองรับ โดยฟีเจอร์สำคัญคือการรองรับ AWS ที่เข้าสู่สถานะ GA มีการซัพพอร์ตเต็มรูปแบบแล้ว ส่วน Azure นั้นยังอยู่ในสถานะพรีวิว
Anthos เป็นชุดบริการหลายส่วน แต่ส่วนสำคัญสองส่วน คือ Athos GKE on-prem สำหรับการติดตั้ง Kubernetes ในองค์กรเอง และ Multi-cluster management ระบบจัดการคลัสเตอร์ทั้งภายในและภายนอก Google Cloud
ฟีเจอร์อีกส่วนที่ขยายขึ้นมาคือการจัดการคอนฟิกที่รองรับ virtual machine บน Google Cloud เพื่อลดการคอนฟิกด้วยมือ ขณะที่ Anthos Service Mesh ก็เตรียมจะซัพพอร์ตแอปพลิเคชั่นบน virtual machine ด้วยเช่นกัน
Javier Soltero ผู้บริหารของกูเกิลให้ข้อมูลกับ CNBC ว่ามีลูกค้า G Suite เพิ่มถึง 1 ล้านบริษัทในรอบปีที่ผ่านมา โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2019 G Suite มีลูกค้าองค์กร 5 ล้านราย ตัวเลขนี้เพิ่มมาเป็น 6 ล้านรายในเดือนมีนาคม 2020 อันเป็นผลมาจากกระแส Work from Home ทั่วโลก
Soltero ยอมรับว่า G Suite เติบโตเร็วในระดับที่เขาเองก็ยังตกใจ ข้อมูลอีกอย่างที่เขาเปิดเผยคือ Google Meet (ชื่อใหม่ของ Hangouts Meet) มีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นถึง 25 เท่าจากเดือนมกราคม
หลังจากมีข่าวเกี่ยวกับช่องโหว่ด้านความปลอดภัยของ Zoom แอพประชุมทางไกลที่โด่งดังขึ้นมาในช่วงนี้ ทำให้ Zoom ประกาศหยุดออกฟีเจอร์ใหม่ 90 วันเพื่อมาโฟกัสกับการยกเครื่องและสะสางประเด็นด้านความปลอดภัยของแพลตฟอร์มตัวเอง
ผ่านมา 1 สัปดาห์หลังจากการประกาศดังกล่าว วันนี้ Eric S. Yuan ซีอีโอของ Zoom ได้โพสต์ถึงความคืบหน้าในประเด็นนี้ โดยเขาบอกว่า Zoom ได้จัดตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย (CISO Council) ที่ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญจากหลายธุรกิจ เช่น ธนาคาร HSBC, NTT Data, Procore และ Ellie Mae โดยจะเข้ามาดูแลด้านความเป็นส่วนตัว, ความปลอดภัย และประเด็นด้านเทคโนโลยีต่างๆ