เมื่อปี 2017 ไมโครซอฟท์ปรับวิธีการออกรุ่นของ Windows Server ใหม่เป็น 2 สายขนานกันไป คือรุ่นอัพเดตใหม่ทุก 6 เดือน (Semi-Annual Channel) แบบเดียวกับ Windows 10 และรุ่นซัพพอร์ตระยะยาว (Long-Term Servicing Channel) ที่ออกทุก 2-3 ปี แบบที่เราคุ้นเคยกันอย่าง Windows Server 2019/2022 ที่ซัพพอร์ตนาน 5+5 ปี
AIS Business ประกาศความร่วมมือกับ IBM Thailand เปิดบริการ Open Source Support Service ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสำหรับลูกค้าองค์กรในไทย
บริการนี้เป็นการให้คำปรึกษาด้านโอเพนซอร์สในภาพรวม ตัวอย่างซอฟต์แวร์ที่ระบุชื่อคือ MongoDB, Kubernetes, Red Hat OpenShift ซึ่งไม่น่าแปลกใจนัก เพราะ IBM ยุคใหม่มี OpenShift เป็นศูนย์กลาง
ผมสอบถามไปยัง AIS ได้ข้อมูลว่าบริการนี้จะซัพพอร์ตลูกค้าในไทย บนคลาวด์ยี่ห้อใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้คลาวด์ของ AIS แต่ AIS จะถือเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ในประเทศรายแรกที่มีบริการให้คำปรึกษาด้านโอเพนซอร์สเต็มรูปแบบ
Google Cloud ประกาศนโยบาย Google Enterprise API ให้ผลิตภัณฑ์กลุ่มองค์กร เช่น Google Cloud, Google Workspace, Google Maps Platform การันตีไม่ถอดฟีเจอร์หรือ API ง่ายๆ สร้างความมั่นใจให้ลูกค้าว่าเลือกใช้ API ของกูเกิลไปได้นานๆ
นโยบายกว้างๆ ของ Google Enterprise API คือ
ไมโครซอฟท์ประกาศซื้อกิจการ CloudKnox Security บริษัทความปลอดภัย Cloud Infrastructure Entitlement Management (CIEM) โดยไม่เปิดเผยมูลค่า
ซอฟต์แวร์ด้าน CIEM (บ้างก็เรียกว่า permissions management platform) เป็นการจัดการสิทธิการเข้าถึง (permission/privileged access) ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของโลกไอทีในปัจจุบัน ที่การจัดการสิทธิมีความยุ่งยากซับซ้อน และมักกลายเป็นช่องโหว่ที่คาดไม่ถึง
ซอฟต์แวร์ชอง CloudKnox ช่วยให้แอดมินเห็นภาพรวมของสิทธิการเข้าถึงทั้งองค์กร ช่วยวางแผนการเข้าถึงสิทธิของผู้ใช้แต่ละคนให้เหมาะสม โดยจุดเด่นที่ CloudKnox โฆษณาเอาไว้คือการทำงานแบบ multi-cloud รองรับคลาวด์หลายค่าย ทั้ง AWS, Azure, Google Cloud, VMware เป็นต้น
ไมโครซอฟท์ประกาศขยายเวลาซัพพอร์ตของระบบปฏิบัติการรุ่นเก่าคือ Windows Server 2012 และ 2012 R2 ออกไปจากเดิม โดยออกแพตช์ความปลอดภัยให้เพียงอย่างเดียว (Extended Security Updates) และหากรันบน Azure จะไม่ต้องจ่ายค่าซัพพอร์ตด้วย
ปกติแล้ว ไมโครซอฟท์จะออกแพตช์ความปลอดภัยให้ระบบปฏิบัติการที่หมดอายุไปแล้ว โดยต้องซื้อซัพพอร์ต Extended Security เพิ่ม ในราคาที่ค่อนข้างแพง เพื่อจูงใจให้คนอัพเกรดเวอร์ชันแทน
เดือนมีนาคมที่ผ่านมาซัมซุงเปิดตัว Galaxy XCover 5 เป็นมือถือตระกูล Rugged Phone หรือมือถือสำหรับใช้ในองค์กรหรือโรงงานที่มีสภาพแวดล้อมไม่ปกติ โดยวางขายในบางประเทศเท่านั้น แต่ล่าสุดซัมซุงนำเข้ามาขายในไทยแล้ว
ไมโครซอฟท์เปิดบริการ Windows 365 บริการเดสก์ทอปเสมือน (virtual desktop) สำหรับองค์กรที่ต้องการความปลอดภัยสูง สามารถเข้าใช้งานผ่านเบราว์เซอร์หรือจะใช้ซอฟต์แวร์ remote desktop เหมือนเดิมก็ได้เช่นกัน
บริการเดสก์ทอปเสมือนนั้นมีใช้ในโลกองค์กรเป็นเวลานานแล้ว แต่ไมโครซอฟท์ชูจุดเด่นว่า Windows 365 จะเป็นเหมือนเครื่องส่วนตัวของแต่ละคน ผู้ใช้แต่ละคนสามารถล็อกอินกลับเข้าระบบโดยเห็นหน้าจอเดิม และการจัดการระดับองค์กรจะใช้ Microsoft Endpoint Manager
ไมโครซอฟท์ระบุว่าบริการ Azure Virtual Desktop ยังคงพัฒนาต่อไป สำหรับองค์กรที่ต้องการการปรับแต่งละเอียดกว่า Windows 365
เมื่อต้นเดือนนี้ มีข่าว Jim Whitehurst อดีตซีอีโอ Red Hat ลาออกจาก IBM หลังควบกิจการมาได้ 14 เดือน สร้างความแปลกใจให้หลายคน
Whitehurst เป็นแกนหลักสำคัญในการขาย Red Hat ให้ IBM และหลังควบกิจการเสร็จ เขาเข้ามารับตำแหน่งเป็นประธานบริษัท (president) ของ IBM ถือเป็นเบอร์สองของบริษัท ในขณะที่ IBM แต่งตั้งลูกหม้อ Arvind Krishna เป็นซีอีโอคนใหม่
ล่าสุด Whitehurst ออกมาให้สัมภาษณ์แล้วว่า สาเหตุที่เขาลาออกจาก IBM ก็เป็นอย่างที่หลายคนคาดกัน เป็นเพราะเขาไม่มีโอกาสได้ขึ้นเป็นซีอีโอของ IBM นั่นเอง จึงลาออกเพื่อจะไปเป็นซีอีโอของ "ที่ไหนสักแห่ง" ซึ่งคงต้องรอดูกันว่าจะเป็นที่ไหน
เว็บไซต์ The Register รายงานว่าแผนการย้ายระบบอีเมลภายในของ IBM มีปัญหาถึงขั้นพนักงานใช้อีเมลไม่ได้อยู่หลายวัน ต้องหันมาใช้ Slack เป็นการภายในแทน และโฆษกของ IBM ต้องชี้แจงมายัง The Register ด้วยการโทรศัพท์
องค์กรขนาดใหญ่ระดับ IBM มีระบบอีเมลที่ซับซ้อน มีไคลเอนต์หลายตัว เท่าที่ระบุชื่อคือ IBM Notes (Lotus Notes เดิม), IBM Verse ที่เป็นเว็บเมล และ Outlook
ซัมซุงประกาศขยายระยะเวลาอัพเดตแพตช์ของสมาร์ทโฟนกลุ่ม Galaxy Enterprise Edition ให้เป็น 5 ปี สำหรับมือถือรุ่นใหม่ๆ บางรุ่นคือ Galaxy S20, S21, Note 20, XCover 5, Tab Active 3 ส่วนมือถือและแท็บเล็ตรุ่นอื่นๆ ยังได้แพตช์นาน 4 ปี
เมื่อต้นปีนี้ ซัมซุงประกาศขยายระยะเวลาอัพเดตแพตช์เป็น 4 ปี สำหรับมือถือและแท็บเล็ตรุ่นคอนซูเมอร์อยู่แล้ว ประกาศนี้จึงเป็นการสร้างจุดขายให้มือถือกลุ่มลูกค้าองค์กรที่ได้ระยะเวลาเพิ่มมาอีก 1 ปี
นโยบายการอัพเดตแพตช์ความปลอดภัยของ Google Pixel ยังอยู่ที่ 3 ปีเท่านั้น
Google Cloud Compute ออก VM ชนิดใหม่ชื่อ Tau ที่ออกแบบมาสำหรับงาน scale-out โดยเฉพาะ
ที่ผ่านมา โลกของคลาวด์มี VM อยู่สองกลุ่มใหญ่ๆ คือ General Purpose รันงานทั่วไป มีสมดุลระหว่างสเปกและราคา กับ Workload-optimized สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น เน้นซีพียู เน้นแรม เน้นจีพียู ตามชนิดของงาน
Tau VM ถือเป็น VM ชนิดใหม่ในกลุ่ม General Purpose คือรันงานชนิดใดก็ได้ แต่ออกแบบมาสำหรับเวิร์คโหลดยุคใหม่ๆ ที่ขยายตัวด้วยวิธี scale-out (เพิ่มจำนวนเครื่อง) แทนการ scale-up (อัพเกรดเครื่อง) แบบเวิร์คโหลดในอดีต
Google Workspace เปิดตัวอินเทอร์เฟซใหม่ที่เรียกว่า Spaces มันเป็นการนำระบบแชท-วิดีโอคอลล์ Google Chat และ Google Meet เข้าไปฝังในแอพตัวอื่นอย่าง Gmail หรือ Google Docs
อินเทอร์เฟซนี้ไม่ใช่ของใหม่ทั้งหมด เพราะกูเกิลเคยทำมันออกมาแล้วในปี 2020 ชื่อว่า Rooms แต่บอกว่านี่เป็นวิวัฒนาการล่าสุดของ Rooms แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น Spaces (หรือจะมองว่ามันคือ Google Wave คืนชีพก็ได้เช่นกัน)
รูปแบบการใช้งาน Spaces จะเป็นการสร้างห้อง (space) เชิญคนที่เกี่ยวข้องมาเข้าห้อง ในห้องนั้นจะมีหน้าจอแชท ไฟล์ และงาน (tasks) ที่เกี่ยวข้องกับโปรเจคต์หรือทีมนั้นๆ
Tencent Cloud ประกาศเปิดศูนย์ข้อมูลแห่งที่ 2 ที่กรุงเทพ นับเป็น availability zone ที่สอง (AZ2) เพิ่มจากศูนย์ข้อมูลเดิมที่มีอยู่แล้ว (ศูนย์ข้อมูลแห่งแรกใช้ True IDC แห่งที่สองไม่ระบุยี่ห้อ บอกแต่ว่าเป็นระดับ Tier 3))
มร. ชาง ฟู ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จํากัด บอกว่าการเปิดศูนย์ข้อมูลแห่งนี้จะทำให้ Tencent เปิดบริการประมวลผล GPU ในประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นด้วย
นอกจากที่กรุงเทพแล้ว Tencent ยังเปิดศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่ที่แฟรงก์เฟิร์ต ฮ่องกง และโตเกียว ไปพร้อมกัน ปัจจุบัน Tencent มีศูนย์ข้อมูลใน 27 ภูมิภาค และ 66 พื้นที่บริการทั่วโลก
AIS ประกาศเซ็นสัญญาเป็น Exclusive Strategic Partner ด้านคลาวด์กับไมโครซอฟท์ โดยความร่วมมือประกอบด้วยงาน 3 ส่วนกว้างๆ คือ
Oracle เปิดตัวบริการใหม่ชื่อ Java Management Service (JMS) เป็นระบบดูแลรันไทม์ Java เวอร์ชันต่างๆ ที่ใช้งานอยู่ โดยสามารถใช้กับคลาวด์ยี่ห้อใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็น Oracle รวมถึงการรันแบบ on-premise ด้วย
แอปพลิเคชันองค์กรจำนวนมากต้องใช้ Java ทำงาน (ตัวเลขของ Oracle บอกว่าโลกเรามี JVM รันอยู่บนคลาวด์ 30 พันล้านตัว) แต่การจัดการ JRE/JDK สารพัดเวอร์ชันก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ทำให้บริการ JMS ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาเรื่องการจัดการเวอร์ชัน การอัพเดตแพตช์ความปลอดภัย
วิธีการทำงานของ JMS คือติดตั้ง agent สำหรับมอนิเตอร์เพิ่มเติม แล้วส่งข้อมูล telemetry กลับมาเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล สรุปเป็นแดชบอร์ด รายงานสถานะของเวอร์ชัน ผู้พัฒนา และแพตช์ให้อ่านกันง่ายๆ
ไมโครซอฟท์เปิดตัวบริการใหม่ Scheduler ช่วยดูตารางนัดของคนในองค์กร แล้วหาเวลาว่างที่ตรงกันมาจัดสล็อตประชุม
ไมโครซอฟท์บอกว่าพนักงานองค์กรเสียเวลากับการนัดประชุมเฉลี่ย 6-29 นาที กว่าจะหาเวลาที่เหมาะสมมานัดประชุมกันได้ จึงพัฒนาซอฟต์แวร์ Scheduler มาเพื่อแก้ปัญหานี้
ตัว Scheduler เป็นบริการฝั่ง backend แต่ก็สามารถเชื่อมต่อกับ Cortana ที่ปัจจุบันกลายมาเป็นบริการฝั่งองค์กร เพื่อทำงานเป็น frontend ให้ช่วยหาตารางประชุมได้ง่ายขึ้น เพียงแค่พูดว่า
ไมโครซอฟท์ในอดีตเป็นศัตรูกับโลกโอเพนซอร์สมายาวนาน แต่ท่าทีของไมโครซอฟท์ช่วงหลังก็เปลี่ยนไปมาก ในปี 2019 เราเห็นข้อตกลงช็อกโลกอย่าง ไมโครซอฟท์ช่วย Red Hat ขาย OpenShift บน Azure รวมถึงการออก SQL Server บนลินุกซ์ เป็นต้น
สัปดาห์ที่ผ่านมา Red Hat ออกมาเล่าตัวอย่างความสำเร็จของความร่วมมือนี้ โดยลูกค้าคือบริษัทลอจิสติกส์ Andreani Logistics Group จากอเมริกาใต้ ที่เจอปัญหาดีมานด์พุ่งสูงขึ้นมาจาก COVID-19 จึงหาวิธีสเกลระบบไอทีของตัวเอง และลงเอยด้วยการเลือกใช้ Red Hat OpenShift รันบน Microsoft Azure
ถึงแม้ Kubernetes กลายเป็นผู้ชนะของโลกแอพพลิเคชันบนคลาวด์ไปแล้ว แต่ก็ยังมีแอพพลิเคชันที่สร้างบนแพลตฟอร์มลักษณะเดียวกันตัวอื่นๆ เช่น Cloud Foundry (ริเริ่มโดย VMware ปัจจุบันเป็นโอเพนซอร์สภายใต้ Cloud Foundry Foundation)
ล่าสุดกูเกิลออกตัวช่วยแปลงแอพ Cloud Foundry มารันบน Kubernetes โดยใช้ชื่อโครงการว่า Kf (ตั้งชื่อล้อกับคำสั่งของ Cloud Foundry ที่ใช้ "cf")
โครงการ Kf ประกอบด้วย เครื่องมือแบบคอมมานด์ไลน์ kf ที่มาใช้แทน cf โดยจะแปลงคำสั่งพื้นฐานของ Cloud Foundry มาเป็น Kubernetes ให้ ส่วนในฝั่งเซิร์ฟเวอร์ก็เป็นบริการในเครือกูเกิล เช่น GKE, Anthos Service Mesh, Tekton
Michael Dell ซีอีโอของ Dell Technologies ให้สัมภาษณ์ถึงแผนการแยกหุ้นของ Dell กับ VMware ที่จะทำให้ VMware เป็นอิสระจาก Dell อีกครั้ง (EMC ซื้อ VMware ในปี 2003 แล้วนำหุ้นบางส่วนมาขาย IPO ก่อนที่ EMC จะถูก Dell ซื้อในปี 2016)
เขาให้เหตุผลว่าการที่ VMware เป็นอิสระจาก Dell ทำให้ทั้งสองบริษัทมีอิสระในการเลือกโซลูชันมากขึ้น โดย Dell จะยังเลือกใช้โซลูชันของ VMware ต่อไปในหลายส่วน แต่ก็เปิดโอกาสให้ทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์รายอื่นได้ด้วย
โครงการ openSUSE ประกาศออกรุ่นย่อย openSUSE Leap 15.3 แม้จะเป็นรุ่นย่อยตามรอบปกติแต่ความเปลี่ยนแปลงภายในค่อนข้างใหญ่ คือการใช้ไบนารีโดยตรงจาก SUSE Linux Enterprise (SLE) รุ่นสำหรับขายองค์กรโดยตรง
โครงการ openSUSE Leap และ SLE นั้นเป็นคู่กันระหว่างโครงการชุมชน และรุ่นขายไลเซนส์สำหรับองค์กร คล้ายกับ RedHat Enterprise Linux และ CentOS แต่ที่ผ่านมาแม้ openSUSE Leap และ SLE จะใช้ซอร์สโค้ดร่วมกัน แต่กระบวนการคอมไพล์นั้นแยกกัน ทำให้บางครั้งพบปัญหาต่างกันจากพารามิเตอร์การคอมไพล์ ในเวอร์ชั่น 15.3 นี้ไบนารีจะตรงกับ SLE 15 SP3
แนวทางนี้ทำให้นักพัฒนาและผู้ใช้ลินุกซ์มือสมัครเล่นสามารถพัฒนาแอปพลิเคชั่นบน openSUSE Leap แล้วย้ายงานไปยัง SLE โดยมีปัญหาน้อยลง
ในงาน AIS Business Digital Future 2021 ที่ผ่านทาง AIS Business ผู้นำโซลูชันดิจิทัล แก่กลุ่มองค์กรนำเสนอแนวคิด Your Trusted Smart Digital Partner โดยเปิดช่องทางให้พันธมิตรสำคัญของ AIS ทำงานร่วมกันกับธุรกิจต่างๆ จนก้าวขึ้นมาเป็นผู้ชนะในยุค Digital Transformation
และหนึ่งในหัวข้อที่พลาดไม่ได้ของงานคือหัวข้อ Enterprise 5G Private Network & Edge Computing การพูดคุยเพื่อหาคำตอบว่าความสามารถใหม่ๆ ของเครือข่าย 5G จะช่วยสนับสนุน Digital Transformation สำหรับภาคธุรกิจได้อย่างไร ผู้ร่วมเสวนาในหัวข้อนี้ ได้แก่ AIS ในฐานะผู้นำโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลไทย, Bosch Thailand บริษัทผู้ให้บริการโซลูชัน Industry 4.0 และ SNC Former จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าในเขตพื้นที่อีอีซี มาแลกเปลี่ยนกรณีศึกษาร่วมกัน
บริษัทความปลอดภัย FireEye ประกาศขายกิจการส่วนของ FireEye เดิม (network, email, endpoint, cloud security) รวมถึงชื่อแบรนด์ FireEye ให้กับกลุ่มบริษัท Symphony Technology Group (STG) ในราคา 1.2 พันล้านดอลลาร์
หลังจากขายกิจการแล้ว FireEye เดิมจะเหลือส่วนธุรกิจวิเคราะห์ข้อมูลความปลอดภัย Mandiant ที่ซื้อกิจการมาในปี 2013 (และคาดว่าจะเปลี่ยนชื่อนิติบุคคลกลับมาเป็น Mandiant)
ซีอีโอคนปัจจุบันของ FireEye คือ Kevin Mandia ผู้ก่อตั้ง Mandiant นั่นเอง (รับตำแหน่งในปี 2016) ส่วนเหตุผลที่ต้องแบ่งครึ่งบริษัทเป็นเพราะธรรมชาติของธุรกิจทั้งสองปีกต่างกัน และมองว่า Mandiant มีโอกาสเติบโตมากกว่า จึงแยกบริษัทเพื่อให้โฟกัสกับ Mandiant เต็มที่
SAP เปิดตัวบริการ SAP Business Network แพลตฟอร์มสำหรับสำหรับเชื่อมต่อธุรกิจเข้าด้วยกัน โดย SAP หวังว่าบริการนี้จะเป็นศูนย์รวมสำหรับคู่ค้าต่างๆ ให้ทำงานร่วมกัน
ก่อนหน้านี้ SAP มีบริการสำหรับเชื่อมต่อธุรกิจเข้าด้วยกันแยกเป็นด้านๆ เช่น Ariba Network, SAP Logistics Business Network, และ SAP Asset Intelligence Network ต่อจากนี้ทาง SAP จะเชื่อมบริการเหล่านี้เข้ามาใน SAP Business Network
ฟีเจอร์ที่ SAP เตรียมเพิ่มเข้ามาในบริการนี้ เช่น การติดตามรายการซื้อสินค้าให้ติดตามการส่งสินค้าได้ทั่วโลก, ระบบให้บริการทางการเงินเพื่อให้ธุรกิจหาคู่ค้าที่เข้ามาช่วยการบริหารกระแสเงินสด, การแสดงข้อมูลวัดประสิทธิภาพการทำงาน เทียบกับธุรกิจอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
(ISC)2 หน่วยงานเทรนนิ่งและออกใบรับรองด้านความปลอดภัยดิจิทัล ประเมินความต้องการตำแหน่งงานด้าน cybersecurity ว่าพุ่งสูงขึ้นมากในรอบปีหลังๆ ทำให้แรงงานสายนี้ขาดแคลนมาก
จากการสำรวจของ (ISC)2 พบว่ามีองค์กรสัดส่วน 64% ระบุว่ายังรับคนทำงานสายนี้ได้ไม่พอกับที่ต้องการ มีเพียง 30% ที่บอกว่ามีจำนวนพนักงานพอแล้ว และ 2% ที่บอกว่ามีเยอะเกินไป
ส่วนความต้องการคนทำงาน cybersecurity ทั่วโลกมีอยู่ราว 3.1 ล้านตำแหน่ง (ลดลงจากปี 2019 ที่ประมาณ 4 ล้านตำแหน่ง) โดยภูมิภาคที่ขาดแคลนมากที่สุดคือเอเชียแปซิฟิก ขาดคนมากถึง 2 ล้านตำแหน่ง
(ISC)2 ประเมินว่าเหตุที่ความต้องการคน cybersecurity ลดลง มาจากการลดจำนวนพนักงานทุกประเภทลงในภาพรวม ที่มาจากปัญหาเศรษฐกิจในช่วง COVID-19
ไมโครซอฟท์ประกาศของใหม่ที่อัพเดตใน Microsoft Teams ตลอดเดือนพฤษภาคม บางอย่างเป็นฟีเจอร์ที่เคยประกาศแล้วแต่เพิ่งปล่อย เช่น Presenter Mode เห็นตัวคนพูดพร้อมสไลด์บรรยาย
ของใหม่อย่างอื่นที่น่าสนใจได้แก่