ในปัจจุบันแม้การมี Server ภายในองค์กรยังมีจุดเด่นเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากองค์กรสามารถกำหนดความเข้มงวดในการเข้าถึงข้อมูลได้เองเพราะข้อมุลอยู่ภายในองค์กร แต่เมื่อมีการระบาดของโควิด การเข้าไปทำงานที่สำนักงานในช่วงสถานการณ์เป็นไปได้ยาก และควรหลีกเลี่ยง บริษัทส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะทำงานแบบ Work Form Home ซึ่งต้องพึ่งพิงการทำงานผ่านระบบ Cloud เป็นหลัก เพื่อให้สามารถทำงานได้จากทุกที่ ทุกเวลา และส่วนใหญ่มักจะฝากระบบไว้บน Cloud ของผู้ให้บริการที่น่าเชื่อถือ แต่การเข้าถึง และทำงานผ่านระบบ Cloud ทีมีมากขึ้นกว่าในช่วงสถานการณ์ปกติ องค์กรควรพิจารณาเรื่องการดูแลระบบ Cloud ขององค์กร ให้มีความเข้มข้น และรัดกุม เพื่อดูแลข้อมูล และทรัพยากรขององค์กร ให้การทำงานราบรื่น ไม่ติดขัด เมื่อการทำงานส่วนใ
ไมโครซอฟท์ประกาศออกรันไทม์ Microsoft Build of OpenJDK รุ่นเสถียร (general availability) หลังจากเปิดทดสอบมาตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน
Microsoft Build of OpenJDK เป็นการนำซอร์สโค้ดของ OpenJDK มาคอมไพล์แจก และเปิดให้คนทั่วไปดาวน์โหลดมาใช้ได้ฟรี เป็นทางเลือกแทน Java SE เวอร์ชันของออราเคิลที่คิดเงินหากใช้ในเชิงพาณิชย์ โครงการนี้เป็นผลงานของ jClarity ที่ไมโครซอฟท์ซื้อกิจการมาในปี 2019
Red Hat ออก Red Hat Enterprise Linux (RHEL) 8.4 ตามรอบการออกรุ่นย่อยทุก 6 เดือน ของใหม่ในรุ่นนี้ได้แก่
ภาษา COBOL กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้งในช่วง COVID-19 จากกรณีรัฐนิวเจอร์ซีย์ขอโปรแกรมเมอร์ COBOL เข้าไปช่วยแก้ระบบสวัสดิการช่วง COVID-19 ทำให้โลกกลับมาสนใจโค้ดเดิมที่เขียนไว้หลายสิบปีแล้ว และสนใจว่าจะหาทางแก้ปัญหาในระยะยาวได้อย่างไร
เว็บไซต์ InfoWorld รวบรวมข้อมูลประเด็นการย้ายระบบ COBOL ว่ามีหลายแนวทาง ตั้งแต่การเขียนใหม่ทั้งหมด (rewrite) ซึ่งมีข้อเสียว่าโค้ดเก่า 30 ปี เอกสารไม่มี อาจไม่มีใครเข้าใจมันอีกแล้ว ไปจนถึงการยกโค้ดเก่ามารันบนโครงสร้างพื้นฐานยุคใหม่ (lift-and-shfit) ซึ่งมีข้อเสียว่าไม่สามารถปรับซอฟต์แวร์เพื่อสนองความต้องการของคนรุ่นนี้ได้อีก
เมื่อพูดถึง Industry 4.0 สำหรับภาคการผลิตแล้ว เรื่องนี้คงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป และถือเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมฯ ต่างต้องเร่งปรับตัว ที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัล และอินเทอร์เน็ตมาใช้ เพื่อให้กระบวนการผลิตสินค้ามีประสิทธิภาพ และสามารถตอบสนองความต้องการของตลาด ตลอดจนสามารถรับมือกับสภาพการแข่งขันทั้งจากในประเทศ และในตลาดโลก ตอบโจทย์อุตสาหกรรมยุคใหม่ได้อย่างทันท่วงที
Confluent Inc. บริษัทที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนา Apache Kafka ยื่นเอกสารต่อ กลต. สหรัฐ เพื่อเตรียมเข้าขายหุ้น IPO แล้ว
Apache Kafka เป็นซอฟต์แวร์จัดการ event streaming (บ้างก็เรียก data pipeline) เพื่อนำข้อมูลปริมาณมากๆ เข้าระบบอย่างรวดเร็ว ตัวซอฟต์แวร์เริ่มพัฒนาโดยทีมวิศวกรของ LinkedIn ช่วงปี 2011 ก่อนเปิดเป็นโอเพนซอร์ส และยกให้ Apache Software Foundation ดูแลต่อ
ปีที่แล้ว IBM ประกาศแยกธุรกิจบริการ infrastructure ตั้งเป็นบริษัทใหม่ (บทวิเคราะห์ว่าทำไมจึงต้องแยก) เวลาผ่านมาประมาณครึ่งปี ในที่สุด IBM ก็ประกาศชื่อบริษัทใหม่ว่า Kyndryl
ชื่อ Kyndryl อ่านว่า "คินดริล" มาจากการผสมคำว่า "kinship" (ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน) กับ "tendril" (กิ่งก้านของไม้เลื้อย) มีความหมายว่าเติบโตไปด้วยกันกับลูกค้าและพาร์ทเนอร์ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจบริการไอที
Kyndryl จะมีสถานะเป็นอิสระจาก IBM และสามารถเป็นพาร์ทเนอร์กับคู่แข่งของ IBM ได้ มีพนักงานประมาณ 90,000 คนทั่วโลก
ที่งาน GTC2021 วันนี้ NVIDIA เปิดตัว NVIDIA Omniverse Enterprise แพลตฟอร์มจำลองโลกความเป็นจริง หลังจากเมื่อต้นปีที่ผ่านมา NVIDIA ปล่อยแพลตฟอร์มนี้ให้นักพัฒนาทดสอบไปก่อนแล้ว
องค์กรขนาดใหญ่ใช้ Omniverse สำหรับการจำลอง (digital twin) เพื่อปรับแต่งการทำงาน ลูกค้าที่ทดลองใช้ Omniverse แล้วเช่น BMW Group สร้างโรงงานจำลองจากโรงงานจริง 31 แห่ง เพื่อปรับแต่งโรงงาน, ฝึกหุ่นยนต์สำหรับใช้งานในโรงงาน, และการทำนายการซ่อมบำรุงล่วงหน้า หรือ Ericsson ใช้ Omniverse จำลองโครงสร้าง 5G
NVIDIA เปิดให้องค์กรที่สนใจสมัครสมาชิกใช้งาน NVIDIA Omniverse Enterprise ได้แล้ว
VMware เพิ่มไลเซนส์แบบ subscription แบบใหม่ในชื่อ VMware Cloud Universal เปิดทางให้ลูกค้าสามารถย้ายไปใช้งานคลาวด์ได้โดยไม่ต้องซื้อไลเซนส์ในแต่ที่แยกกัน
ไลเซนส์รูปแบบใหม่ลูกค้าจะซื้อเป็นเครดิตใช้งานไว้ และสามารถใช้เครดิตสำหรับไลเซนส์ VMware Cloud Foundation ในศูนย์ข้อมูลของตัวเอง หรือแปลงไลเซนส์ไปใช้กับ VMware Cloud on AWS หรือ VMware Cloud on Dell EMC ก็ได้ นอกจากนี้ยังมี VMware Cloud Console ช่วยให้ลูกค้าจัดการคลัสเตอร์ทั้งในศูนย์ข้อมูลและบนคลาวด์ตลอดจนจัดการเครดิต
CNBC อ้างว่าได้อ่านอีเมลภายในของ Alphabet บริษัทแม่ของกูเกิลที่ประกาศกับพนักงานว่าบริษัทกำลังย้ายระบบการเงินหลังบ้านจากออราเคิลไปยัง SAP ภายในเดือนพฤษภาคมนี้
บริษัทไอทีขนาดใหญ่นั้นแม้จะเป็นคู่แข่งกันเบื้องหน้าแต่ระบบหลังบ้านก็มักซื้อสินค้าและบริการข้ามกันไปมาเป็นเรื่องปกติ แต่หากความสัมพันธ์ต่อกันมีปัญหาก็อาจจะทำให้ต้องเปลี่ยนระบบ ตัวอย่างสำคัญเช่น อเมซอนและออราเคิล ที่ AWS กลายเป็นคู่แข่งสำคัญของออราเคิล และ Larry Ellison พูดย้ำหลายครั้งว่าสุดท้ายอเมซอนก็ต้องใช้ฐานข้อมูลออราเคิลอยู่ดี จนอเมซอนพยายามย้ายฐานข้อมูลออกไปยัง AWS และเมื่อทำสำเร็จก็โฆษณาใหญ่โต
ลูกค้าของ SUSE จำนวนหนึ่งได้รับแจ้งจากบริษัทว่ากำลำลังเลิกขาย SUSE Enterprise Storage (SES) ซอฟต์แวร์สตอเรจที่พัฒนามาจาก Ceph แต่จะหันไปทำตลาด Longhorn ซอฟต์แวร์สตอเรจแบบโอเพนซอร์สที่ได้มาจากการเข้าซื้อ Rancher
ทางฝั่ง Rancher นั้นมี Longhorn ที่เป็นสตอเรจสำหรับ Kubernetes โดยเฉพาะแม้จะรองรับการใช้งานแบบ iSCSI ด้วยก็ตาม จุดเด่นของ Longhorn อยู่ที่ความง่ายในการจัดการ และได้รับการยอมรับในวงการค่อนข้างดี ปัจจุบัน Longhorn เป็นโครงการระดับ Sandbox ของ CNCF
ทาง The Register ติดต่อ SUSE และทางบริษัทยืนยันว่าจะซัพพอร์ตลูกค้าเดิมของ SES ต่อไปแม้จะหยุดขายแล้ว นอกจากนี้ทางบริษัทกำลังพัฒนาโซลูชั่นสตอเรจสำหรับอนาคตต่อไป
X.Org Foundation หน่วยงานที่รับผิดชอบการพัฒนาระบบ X Window (X11) และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้อง เช่น Wayland, ไดรเวอร์กราฟิก Mesa/Nouveau (รายชื่อซอฟต์แวร์ทั้งหมด) ตัดสินใจย้ายระบบเซิร์ฟเวอร์เดิมมาเป็นขึ้นคลาวด์ในปี 2017 แต่ก็พบเจอปัญหาที่หลายองค์กรเจอกันคือ "ค่าคลาวด์แพง" จนต้องหาวิธีปรับลดให้ค่าคลาวด์ลดลง
UiPath บริษัทซอฟต์แวร์ด้าน robotic process automation (RPA) ที่มีต้นกำเนิดจากโรมาเนีย ยื่นเอกสาร S-1 ต่อ ก.ล.ต. สหรัฐ เพื่อเตรียมขายหุ้น IPO ในตลาดหลักทรัพย์แล้ว
ซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า robotic process automation (RPA) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้เปลี่ยนการทำงานซ้ำๆ (เช่น การเคลมประกัน อ่านข้อมูลจากฟอร์มเอกสาร) ให้เป็นอัตโนมัติ ลดการใช้มนุษย์ลง ซึ่งถือเป็นตลาดที่กำลังมาแรงในโลกยุค digital transformation ที่องค์กรทั่วโลกเริ่มนำระบบอัตโนมัติมาใช้งาน ลดการใช้คน ลดความผิดพลาดจากมนุษย์ลง
Wikimedia Foundation หน่วยงานแม่ของ Wikipedia และโครงการอื่นๆ ในเครือ เปิดตัว Wikimedia Enterprise เป็นบริการ API เพื่อเข้าถึงข้อมูลของโครงการในสังกัด แบบคิดเงิน สำหรับกลุ่มลูกค้าองค์กร
ตัวโครงการของ Wikimedia ทั้งหมดจะยังเป็นเนื้อหาฟรีเช่นเดิม แต่สำหรับองค์กรที่อยากดึงข้อมูลจำนวนมากแบบเรียลไทม์ (bulk and realtime) ต้องมาจ่ายเงินเพื่อใช้ API ตัวนี้แทน (ตอนนี้ยังไม่เสร็จ ยังไม่มีราคา คาดว่าจะออกเวอร์ชันแรกในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2021)
NVIDIA เปิดตัวชุดซอฟต์แวร์ AI Enterprise ที่ปรับแต่งมารันบน VMware vSphere โดยระบุว่าได้ประสิทธิภาพด้อยกว่าการรันบนฮาร์ดแวร์จริง (bare metal) ไม่มากนัก
AI Enterprise เป็นชื่อเรียกรวมๆ ของซอฟต์แวร์ฝั่ง AI และ data science ของ NVIDIA ตั้งแต่ระดับล่างคือ CUDA, CUDA-X, GPU Operator, TensorRT, RAPIDS รวมถึงเฟรมเวิร์คโอเพนซอร์สยอดนิยมอย่าง TensorFlow, PyTorch
NVIDIA เปิดตัว NVIDIA AI Enterprise ชุดซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ระดับองค์กร เปิดทางให้องค์กรพัฒนาและใช้งานปัญญาประดิษฐ์โดยที่ฝ่ายไอทีสามารถจัดการโครงสร้างได้
แพลตฟอร์มแรกที่ NVIDIA รองรับให้ใช้งานกับ NVIDIA AI Enterprise คือ VMware vSphere 7 Update 2 ที่ออกมาวันนี้พร้อมๆ กัน โดย vSphere 7 จะรองรับชิป NVIDIA A100 Tensor Core เต็มรูปแบบ ทำให้ใช้งานเช่นฟีเจอร์ multi-instance GPU สามารถแบ่งชิป A100 ออกเป็นหลายๆ ส่วนทั้งพลังประมวลผลและหน่วยความจำ ทำให้งานบางอย่างเช่นการรันโมเดลปัญญาประดิษฐ์ (interference) ที่ใช้พลังประมวลผลน้อยกว่า สามารถแบ่งส่วนเล็กๆ ของชิปไปใช้งาน และกันพลังประมวลผลส่วนใหญ่ไว้กับโหลดงานที่ต้องการพลังประมวลผลสูงๆ เช่นการฝึกโมเดลปัญญาประดิษฐ์
McAfee ประกาศบรรลุข้อตกลง ในการขายส่วนธุรกิจ McAfee Enterprise ให้กับกลุ่มทุน Symphony Technology Group หรือ STG ที่มูลค่า 4 พันล้านดอลลาร์ โดยคาดว่ากระบวนการซื้อขายจะเสร็จสมบูรณ์ภายในปีนี้ หลังได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแล
McAfee ระบุว่าส่วนธุรกิจ Enterprise มีพาร์ตเนอร์ถึง 86% ที่เป็นองค์กรระดับ Fortune 100 และมีรายได้ในปี 2020 ที่ผ่านมามากกว่า 1,300 ล้านดอลลาร์ การขายธุรกิจนี้ให้ STG ซึ่งมีธุรกิจในเครือที่โฟกัสตลาดลูกค้าองค์กรจึงเป็นดีลที่เหมาะสม ส่วน McAfee จะเน้นตลาดลูกค้าบุคคลมากขึ้น
เมื่อปีที่แล้ว STG ก็ซื้อกิจการ RSA Security จาก Dell Technologies ที่มูลค่ามากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์
ประกาศเล็กๆ ที่น่าสนใจของไมโครซอฟท์ในงาน Ignite เมื่อคืนนี้คือ ไมโครซอฟท์จับมือกับทั้ง Oracle และ IBM ซัพพอร์ต Oracle WebLogic และ IBM WebSphere Liberty บน Azure Kubernetes Service (AKS)
ประกาศนี้ทำให้ Azure สามารถรองรับแอปพลิเคชันที่เขียนด้วย Java EE ทั้งสายที่เป็น WebLogic และ WebSphere ได้เต็มรูปแบบ สามารถใช้ประโยชน์จากระบบเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่ ที่เป็นเทคโนโลยีคอนเทนเนอร์/คลัสเตอร์ด้วย (AKS)
ไมโครซอฟท์บอกว่าร่วมมือกับทั้ง Oracle และ IBM พัฒนาโซลูชันนี้ให้ทำงานได้สะดวก ราบรื่น ลูกค้าสามารถดึงอิมเมจและสคริปต์จาก Azure Marketplace ได้เลย ทำให้องค์กรที่รันแอปพลิเคชัน Java EE สะดวกในการย้ายขึ้นคลาวด์ Azure มากขึ้น
IBM เปิดตัวบริการใหม่ IBM Cloud Satellite เป็นการยกซอฟต์แวร์ของ IBM Cloud ไปรันบนศูนย์ข้อมูลของลูกค้าแบบไฮบริด และคิดเงินแบบ As-a-service แบบเดียวกับบนคลาวด์
IBM บอกว่า Cloud Satellite ช่วยให้การใช้งานคลาวด์ยืดหยุ่นขึ้น เพราะยังเป็นซอฟต์แวร์ชุดเดิม แต่ไม่จำกัดทางกายภาพอีกต่อไป เช่น ประเทศนั้นไม่มีศูนย์ข้อมูลของ IBM หรือ ติดกฎระเบียบบางอย่างที่ทำให้นำข้อมูลออกนอกประเทศไม่ได้
ไมโครซอฟท์ประกาศแจก Power Automate Desktop ซอฟต์แวร์ RPA (robotic process automation) เวอร์ชั่นเดสก์ทอปให้ผู้ใช้ Windows 10 ฟรี แนวทางการใช้งาน Power Automate Desktop เช่นการเซฟข้อมูลจากเว็บ และนำไปใส่ Excel หรือส่งอีเมลแจ้งเตือนค่าต่างๆ
Power Automate มีเวอร์ชั่นเดสก์ทอปที่ใช้งานกับแอปเดสก์ทอปอย่างเดียว และเวอร์ชั่นคลาวด์ที่เป็นบริการ Flow เดิมที่ใช้เชื่อมแหล่งข้อมูลต่างๆ เข้าด้วยกันคิดค่าบริการ 15 ดอลลาร์ต่อเดือน ส่วนรุ่นที่มีความสามารถ RPA ด้วยจะคิดราคาเพิ่มไปอีก
ไมโครซอฟท์เปิดให้ดาวน์โหลด Power Automate Desktop ได้ฟรีแล้ววันนี้ และในอนาคตจะรวมมากับ Windows เลย เริ่มจาก Windows Insider Preview เวอร์ชั่นต่อไปในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
CyberRatings.org ออกรายงานการให้คะแนนผลิตภัณฑ์ Enterprise Firewall + SSL/TLS ปี 2021 จัดอันดับผู้นำตลาดจาก 11 บริษัทชั้นนำ โดยมี 4 บริษัทได้รับคะแนนระดับ “AAA” ได้แก่ Sangfor, Palo Alto Networks, Forcepoint และ Check Point
ส่วนบริษัทอื่นๆ ที่เข้ามาจัดอันดับด้วยมี Barracuda Networks, Cisco, Fortinet, Juniper Networks, SonicWall, Versa Networks, WatchGuard
ไมโครซอฟท์เปิดตัวบริการคลาวด์เฉพาะอุตสาหกรรมเพิ่ม 3 กลุ่ม รวมกับของเดิมที่เปิดตัวไปแล้วเมื่อเดือนมกราคม 2 กลุ่ม เป็นทั้งหมด 5 กลุ่ม ได้แก่
สังเกตว่าชื่อของบริการเหล่านี้ใช้คำว่า Microsoft Cloud เพราะไม่ได้มีเฉพาะ Azure อย่างเดียว แต่รวมไปถึง Microsoft 365, Teams, Power Platform, Dynamics 365 และบริการด้านความปลอดภัยด้วย
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Office แบบซื้อขาด (perpetual license) รุ่นใหม่ชื่อ Office 2021 ที่จะออกตัวจริงช่วงครึ่งหลังของปี 2021 นี้
ชื่อรุ่น Office 2021 ถือเป็นเซอร์ไพร์สเล็กน้อยเพราะไมโครซอฟท์ใช้ระบบออกรุ่นใหม่ทุก 3 ปีมาโดยตลอด (2007 > 2010 > 2013 > 2016 > 2019) แต่รอบนี้กลายเป็น 2 ปีแทน
ในแง่ฟีเจอร์ของ Office 2021 คงไม่มีอะไรเซอร์ไพร์สมากนัก เพราะ Office แบบซื้อขาดช่วงหลังใช้วิธีรวมฟีเจอร์จาก Office 365 ที่อัพเดตตลอดเวลา (คนใช้ Office 365 ได้ใช้กันนานแล้วค่อยรวมมาลงเวอร์ชันซื้อขาดเป็นระยะ)
ตามปกติแล้ว Windows รุ่นใหญ่ เช่น Windows XP, Vista, 7 มีระยะเวลาซัพพอร์ตนาน 10 ปี (แบ่งเป็นสองระยะคือ 5+5 ปี ที่ระดับการซัพพอร์ตต่างกัน) พอมาถึงยุค Windows 10 ที่ออกรุ่นใหญ่บ่อยขึ้นเป็นทุก 6 เดือน ทำให้ไมโครซอฟท์ต้องแยกระดับการซัพพอร์ต เป็นรุ่นปกตินาน 2 ปี และรุ่นซัพพอร์ตระยะยาว (LTSB - Long Term Servicing Branch) นาน 10 ปีแบบเดิม มีเฉพาะรุ่น Enterprise เท่านั้น
วันนี้ไมโครซอฟท์ประกาศนโยบายใหม่ของ Windows 10 Enterprise รุ่นซัพพอร์ตระยะยาว เปลี่ยนชื่อเล็กน้อยเป็นรุ่น Long Term Servicing Channel (LTSC) ที่สำคัญคือลดระยะเวลาซัพพอร์ตลงเหลือ 5 ปี
ไมโครซอฟท์ออกฟีเจอร์ใหม่สำหรับฝ่ายไอทีองค์กรชื่อ Windows 10 in cloud configuration เป็นการเตรียมชุดคอนฟิกมาตรฐานของ Windows 10 เอาไว้ให้ องค์กรสามารถใช้คอนฟิกชุดนี้ติดตั้งบนเครื่อง Windows 10 ของพนักงานได้เลย ไม่ต้องเปลืองแรงมาจัดคอนฟิกเอง
ไมโครซอฟท์อธิบายว่า in cloud configuration เป็นชุดการตั้งค่าที่ไมโครซอฟท์แนะนำ (a set of recommended configurations) โดยครอบคลุมทั้งตัว OS (Windows 10 Pro/Enterprise/Education) และแอพยอดนิยมของไมโครซอฟท์คือ Edge, Teams, OneDrive และ Office