VMware ประกาศข่าวการซื้อกิจการ SaltStack บริษัทด้านซอฟต์แวร์อัตโนมัติ (automation) โดยไม่เปิดเผยมูลค่า
SaltStack ก่อตั้งเมื่อ 8 ปีก่อน โดยพัฒนาซอฟต์แวร์ด้าน infrastructure automation ชื่อ SaltStack Enterprise ที่คอยจัดการตั้งแต่ระบบเซิร์ฟเวอร์ คลาวด์ เครือข่าย ฯลฯ ทั้งในเรื่องการสเกลเครื่องตามปริมาณงาน การแก้ไขคอนฟิกเครื่องให้เหมาะสม ซ่อมตัวเองอัตโนมัติถ้าระบบพัง (self-healing) และภายหลังก็ขยายมาจัดการด้านความปลอดภัย อุดช่องโหว่ให้อัตโนมัติ โดยใช้ชื่อว่า SaltStack SecOps
Red Hat ออก Red Hat Enterprise Linux (RHEL) เวอร์ชัน 7.9 ซึ่งเป็นเวอร์ชันย่อย (minor release) ตัวสุดท้ายของสาย RHEL 7.x
ปีที่แล้ว Red Hat ออก RHEL มาถึงเวอร์ชัน 7.7 ซึ่งเป็นเวอร์ชันสุดท้ายที่มีฟีเจอร์ใหม่ และตามออกอัพเดตย่อยแก้บั๊กต่างๆ มาถึง 7.9 เท่านั้น ถัดจากนี้ไป Red Hat จะออกแค่แพตช์ความปลอดภัยของช่องโหว่สำคัญๆ ระดับ Critical/Important เท่านั้น โดย RHEL 7.9 จะยังซัพพอร์ตนานอีก 4 ปี ไปจนถึงกลางปี 2024
RHEL 7.x ถือเป็นดิสโทรซีรีส์ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง แต่ตอนนี้ก็ถึงเวลาของสาย RHEL 8.x ที่เริ่มออกมาตั้งแต่ปี 2019 และเวอร์ชันล่าสุดในปัจจุบันคือ RHEL 8.2
Cisco ประกาศเพิ่มฟีเจอร์หลายอย่างให้ Webex โดยเฉพาะในยุค work from home ที่เน็ตบ้านอาจไม่ดีเท่าที่ทำงาน
Cisco บอกว่าแอพประชุมทางวิดีโอหลายตัวอาจใช้งานไม่ได้ หากแพ็กเกตข้อมูลสูญหายถึงระดับ 50% แต่ Webex ยังสามารถเอาตัวรอดได้ด้วยเทคนิคหลายอย่าง เช่น เลือกส่งเฉพาะแพ็กเกตของส่วนสำคัญในวิดีโอ (ใบหน้า แทนที่จะเป็นพื้นหลัง) หรือ ปิดโหมด grid view ชั่วคราวหากพบว่าแบนด์วิดท์ต่ำ แทนที่จะแสดงหน้าของเพื่อนร่วมประชุมเข้าๆ ออกๆ ตามสัญญาณเน็ต ก็ปรับวิธีการแสดงผล ลดจำนวนสตรีมวิดีโอที่แสดง เพื่อให้การพูดคุยราบรื่นขึ้น
สัปดาห์ที่แล้วในงาน Ignite 2020 มีบริการตัวใหม่ในสังกัด Azure ที่น่าสนใจเปิดตัวคือ Azure Communication Services
Azure Communication Services เป็นการนำแพลตฟอร์มสื่อสาร Microsoft Teams ที่รองรับทั้งแชท เสียง วิดีโอ โทรศัพท์แบบดั้งเดิม และข้อความ SMS มาแยกร่างออกเป็นส่วนๆ ให้องค์กรอื่นสามารถเรียกใช้ได้ผ่าน API และคิดค่าใช้งานตามปริมาณ
ในงาน Microsoft Ignite 2020 เมื่อคืนนี้ ไมโครซอฟท์ประกาศรีแบรนด์ผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัย (แบบเสียเงิน) ที่กระจัดกระจายใหม่หมด โดยจุดกลุ่มให้เหลือ 2 แบรนด์คือ Microsoft 365 Defender สำหรับฝั่งไคลเอนต์ และ Azure Defender สำหรับฝั่งเซิร์ฟเวอร์ โดยใช้ร่วมกับบริการเก็บข้อมูลความปลอดภัย Azure Sentinel ที่เปิดตัวไปก่อนแล้ว
สัปดาห์ที่ผ่านมา มีบริษัทเทคโนโลยีขายหุ้น IPO ในตลาดหลักทรัพย์หลายราย เช่น Snowflake, Unity, JFrog
Sumo Logic บริษัทด้าน log management และ monitoring เป็นอีกรายที่ขายหุ้น IPO ในตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq โดยใช้ตัวย่อว่า "SUMO" ตั้งราคาหุ้นที่ 22 ดอลลาร์ ซึ่งประสบความสำเร็จด้วยดี ราคาหุ้นวันแรกปิดที่ 26.88 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 22% จากราคาขาย
Kakao Enterprise หน่วยงานในเครือ Kakao ผู้ให้บริการแอปแชทในเกาหลีใต้ เปิดตัว Kakao Work แอปแชทในองค์กร ทำงานร่วมกับ Jira และ GitHub และมี AI ช่วยให้ค้นหาข้อมูลผ่านระบบเสิร์ชในแอปได้ ข้อมูลผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มจะถูกเข้ารหัสในเซิร์ฟเวอร์คลาวด์ที่บริษัทพัฒนาขึ้นเอง คือ Kakao Work E3 System
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Google Cloud เปิดตัวบริการใหม่ที่ชื่อน่าเบื่อสักหน่อยว่า Business Application Platform แท้จริงแล้วมันคือแพลตฟอร์มพัฒนาแอพพลิเคชันภายในองค์กรแบบ no-code/low-code ที่กำลังได้รับความนิยมในช่วงหลัง และเกิดจากการผนวกธุรกิจที่กูเกิลซื้อมา 2 ตัว ได้แก่ Apigee บริการสร้าง API ที่ซื้อมาในปี 2016 กับ AppSheet บริการสร้างแอพแบบ no code ที่ซื้อมาต้นปี 2020
กูเกิลบอกว่าในช่วงที่ผ่านมาได้พัฒนาฟีเจอร์ใหม่บนฐานของ Apigee และ AppSheet หลายอย่าง เช่น
Gartner ออกรายงานสรุปสถานการณ์แข่งขันในตลาดคลาวด์ (Magic Quadrant for Cloud Infrastructure and Platform Services) ประจำปี 2020
ผลลัพธ์ออกมาไม่มีอะไรน่าประหลาดใจ เพราะยังเหมือนปีก่อนๆ ที่ผู้ให้บริการ Top 3 ของโลก (AWS, Microsoft, Google) ยังอยู่ในกลุ่ม "ผู้นำ" (leaders) โดย AWS ยังนำคู่แข่งรายอื่นๆ แบบค่อนข้างทิ้งห่าง ส่วนผู้เล่นรายที่เหลือ 4 ราย (Alibaba Cloud, Oracle, IBM, Tencent Cloud) อยู่ในกลุ่ม "เฉพาะทาง" (niche players)
Dell เปิดตัว Latitude 7410 Chromebook Enterprise ซึ่งเป็น Chromebook เกรดพรีเมียมสำหรับลูกค้าองค์กร มีทั้งแบบโน้ตบุ๊กปกติ และแบบ 2-in-1 พับจอได้
ซีพียูเป็น Intel Core 10th Gen (สูงสุดคือ Core i5-10310U), แรมสูงสุด 16GB, สตอเรจเป็น SSD NVMe ขนาด 128GB, หน้าจอ 14" เลือกได้ทั้งแบบ touch และ non-touch ความละเอียดสูงสุด 4K, แบตเตอรี่อยู่ได้นานสูงสุด 21 ชั่วโมง และมีระบบชาร์จเร็ว ExpressCharge
Palantir Technologies บริษัทซอฟต์แวร์ด้านวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อความมั่นคง ยื่นเอกสารเตรียมเข้าตลาดหลักทรัพย์ต่อ ก.ล.ต. สหรัฐอย่างเป็นทางการ หลังมีข้อมูลหลุดออกมาก่อนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
Palantir เป็นบริษัทที่ก่อตั้งโดย Peter Thiel นักลงทุนชื่อดังของซิลิคอนวัลเลย์ (เป็นนักลงทุนรายแรกๆ และปัจจุบันยังเป็นบอร์ดของ Facebook) แต่ด้วยแนวทางของบริษัทที่เต็มไปด้วยความลับ เพราะลูกค้าส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐ อีกทั้งตัว Thiel เองก็มีสายสัมพันธ์อันดีกับ Donald Trump จึงทำให้การเข้าตลาดหลักทรัพย์ของ Palantir ถูกจับตาอย่างมาก
Snowflake Inc. บริษัทซอฟต์แวร์ data warehouse ชื่อดัง ยื่นเอกสารต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์สหรัฐ (SEC) เพื่อเตรียมขายหุ้น IPO ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) โดยใช้ตัวย่อว่า SNOW
Snowflake ก่อตั้งในปี 2012 โดยเป็นซอฟต์แวร์ด้านคลังข้อมูล (data warehouse) ที่รันบนคลาวด์เท่านั้น ใช้โมเดลรายได้แบบ subscription
การยื่นเอกสารของ Snowflake ทำให้เราเห็นข้อมูลการเงินของบริษัท มีรายได้ 97 ล้านดอลลาร์ในปี 2019 และเพิ่มอย่างก้าวกระโดดเป็น 264.7 ล้านดอลลาร์ในปี 2020 แต่บริษัทยังขาดทุนอยู่ โดยขาดทุน 178 ล้านดอลลาร์ในปี 2019 และขาดทุนเพิ่มขึ้นเป็น 348.5 ล้านดอลลาร์ในปี 2020
วันนี้ทาง Red Hat จัดงานสัมมนา Red Hat Asia Pacific Partner Conference 2020 เป็นงานสัมมนาออนไลน์สำหรับคู่ค้าของ Red Hat โดยเฉพาะ โดยในงานทาง Red Hat แสดงความสำเร็จในการเพิ่มยอดขายถึงระดับ 3.4 พันล้านดอลลาร์ โดยในจำนวนนี้เป็นรายได้ที่เกิดจากพาร์ตเนอร์มากกว่า 70% ขณะที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นส่วนแบ่งรายได้ที่เกิดจากพาร์ตเนอร์สูงถึง 83%
ตอนนี้พาร์ตเนอร์ Red Hat ในแถบเอเชียแปซิฟิกมีมากกว่า 4,000 รายโดยทาง Red Hat ระบุว่าจำนวนพาร์ตเนอร์ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลังจากไอบีเอ็มเข้าซื้อบริษัท ในปี 2018 แม้ว่าในตอนนั้นหลายคนจะกังวลว่าทีมงานของไอบีเอ็มที่มีอยู่ทั่วโลกจะกลายเป็นคนมาขายสินค้าของ Red Hat แทนพันธมิตรเดิม
Microsoft Teams ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ระดับสูงที่เรียกว่า Advanced Communications (แปลว่าต้องจ่ายเงินซื้อเพิ่ม)
ไมโครซอฟท์ยังประกาศความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ฮาร์ดแวร์ ออกเครื่องโทรศัพท์ตั้งโต๊ะที่รองรับการโทรเข้า Microsoft Teams (มีปุ่ม Teams สีม่วงบนแป้นโทรศัพท์เลย) โดยจะเริ่มขายช่วงต้นปี 2021
Atlassian บริษัทซอฟต์แวร์ด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ เจ้าของ Jira, Trello, Bitbucket ประกาศซื้อกิจการบริษัท Mindville ที่ทำระบบจัดการทรัพย์สินขององค์กร (asset management) ที่ขี่อยู่บนแพลตฟอร์ม Jira อีกทีหนึ่ง
ซอฟต์แวร์ของ Mindville ใช้จัดการทรัพย์สินทุกประเภทในองค์กร ตั้งแต่ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บุคคล รถยนต์ พาหนะ สิทธิบัตร ข้อมูล ฯลฯ ที่เดิมมักถูกแยกย้ายกันเก็บตามฝ่ายต่างๆ และมีวิธีเก็บข้อมูลแตกต่างกัน (เช่น ลงฐานข้อมูล ไฟล์) ซอฟต์แวร์ของ Mindville สามารถรวบรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ที่เดียวกัน มีระบบ automation จัดการอัตโนมัติ และวิเคราะห์ข้อมูลให้เสร็จสรรพ
SAP ประกาศแผนนำธุรกิจ Qualtrics ที่ซื้อมา 8 พันล้านดอลลาร์ในปี 2018 ไปขายหุ้น IPO ในตลาดหลักทรัพย์อเมริกา
Qualtrics เป็นบริษัทซอฟต์แวร์ด้าน experience management (XM) ที่ใช้บริหารประสบการณ์ของทั้งลูกค้าและพนักงานให้ราบรื่น ตัวอย่างซอฟต์แวร์ของ Qualtrics เป็นระบบแบบสอบถามความเห็นและวิเคราะห์ข้อมูล
เดิมที Qualtrics มีแผนจะขายหุ้น IPO อยู่ก่อนแล้ว แต่โดน SAP ตัดหน้าซื้อกิจการมาซะก่อน ส่วนการขายหุ้น IPO รอบนี้ SAP บอกว่าจะช่วยให้ Qualtrics เป็นอิสระมากขึ้น และขยายฐานลูกค้าไปไกลกว่าฐานลูกค้าของ SAP เอง โดยที่ Ryan Smith ผู้ก่อตั้ง Qualtrics จะยังอยู่เป็นผู้บริหารต่อไป และ SAP จะยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ Qualtrics อยู่
ออราเคิลเปิดบริการ Oracle Dedicated Region Cloud@Customer ขยายจากบริการ Cloud@Customer เดิมที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ติดตั้งในศูนย์ข้อมูลลูกค้า มาเป็นพื้นที่ที่บริหารโดยออราเคิลเองทั้งหมด โดยออราเคิลมองเทียบเท่าบริการคลาวด์หนึ่งภูมิภาค (region) ของออราเคิลเอง
จุดเด่นของ Dedicated Region คือออราเคิลระบุว่าจะได้บริการคลาวด์ทั้งหมดไปใช้งานในศูนย์ข้อมูลตัวเอง เช่นบริการฐานข้อมูลก็จะครบเท่าที่ออราเคิลให้บริการบนคลาวด์ หรือบริการรายล้อมเช่น API Gateway, Container Registry ก็จะใช้งานได้ทั้งหมด และบริการนี้ไม่ต้องการการสั่งงานผ่านคอนโซลของคลาวด์แต่สามารถต่อตรงเพื่อใช้งานได้เลย ทำให้ไม่มีปัญหาหากเน็ตเวิร์คมีปัญหาแล้วเชื่อมต่อคลาวด์ภายนอกไม่ได้
หลังจากเริ่มปล่อย Microsoft Edge ตัวใหม่ที่ใช้เอนจิน Chromium ให้กับลูกค้าทั่วไปผ่าน Windows Update มาได้ระยะหนึ่ง ไมโครซอฟท์ก็ได้ประกาศแผนที่จะขยายการปล่อย Edge ตัวใหม่ไปยังพีซีในภาคการศึกษาและภาคธุรกิจ โดยจะเริ่มต้นภายหลัง 30 ก.ค. นี้
เปลี่ยนจากแผนเดิมเมื่อเดือน ม.ค. ที่ไมโครซอฟท์เคยออกเอกสารชี้แจ้งว่าจะไม่อัพเกรด Edge ตัวใหม่ให้อุปกรณ์ที่เข้าข่ายใช้งานในองค์กรซึ่งรวมถึงพีซีภาคการศึกษาและภาคธุรกิจให้อัตโนมัติ
โครงการ LibreOffice ประกาศข่าวการแยกรุ่น Personal Edition และ Enterprise Edition โดยจะเริ่มใช้ใน LibreOffice 7.0 ที่จะออกตัวจริงในเร็วๆ นี้ (สถานะตอนนี้คือรุ่น RC)
LibreOffice Personal Edition คือรุ่นที่มีในปัจจุบัน ใช้งานฟรีเช่นเดิม ซัพพอร์ตโดยชุมชน แต่แปะป้ายให้ชัดเจนขึ้น
ส่วนรุ่น Enterprise Edition ที่จะตามมาภายหลัง เป็นรุ่นที่ขายซัพพอร์ตเชิงพาณิชย์ เน้นใช้งานในตลาดองค์กร โดยมูลนิธิ The Document Foundation จะไม่ขายซัพพอร์ตเอง แต่เปิดทางให้บริษัทต่างๆ เข้ามาทำตลาดในแบรนด์ของตัวเอง แล้วแปะป้ายว่าเป็น LibreOffice Enterprise Edition
การมาถึงของเศรษฐกิจในยุคดิจิทัลไม่ได้ก่อให้เกิดเพียงแค่เปลี่ยนวิธีการทำงานขององค์กรที่หันมาใช้งานบริการออนไลน์ ลดขั้นตอนการทำงานต่างๆ ลง แต่ยังทำให้เกิดความคาดหวังของลูกค้าและพนักงานที่ต้องการการตอบสนองจากแอปพลิเคชั่นอย่างรวดเร็ว การที่แอปพลิเคชั่นทำงานได้ช้าไม่ตอบสนองต่อการทำงานอาจกลายเป็นอุปสรรคต่อการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานจนองค์กรขาดความสามารถในการแข่งขันในที่สุด
โซลูชันความปลอดภัยองค์กรเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ จากการเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกดิจิทัลขององค์กรที่มากขึ้น และรูปแบบการโจมตีของฝั่งแฮกเกอร์ที่หลากหลาย ซับซ้อน และเนียบเนียนมากขึ้น
โจทย์ขององค์กร จึงอาจไม่ใช่แค่การหาโซลูชันมาป้องกันแต่เพียงอย่างเดียวแล้วจบ แต่ต้องหาโซลูชันที่สามารถรับมือภัยคุกคามในเชิงรุก และครอบคลุมมิติความปลอดภัยหลากหลายยิ่งขึ้น ซึ่ง Lenovo ThinkShield เป็น โซลูชันความปลอดภัยครบวงจรแบบ end-to-end ทั้งบนฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการเสริม ที่มีทางเลือกให้องค์กรสามารถเลือกและปรับแต่ง ให้สอดคล้องกับนโยบายด้านความปลอดภัยได้ตามต้องการ
การมาถึงของยุค work from home ทุกหย่อมหญ้าทำให้ตลาดแอพแชทสำหรับองค์กรดุเดือด และมีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาร่วมวงมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดเป็นคิวของ Salesforce ยักษ์ใหญ่ของวงการแอพพลิเคชันองค์กร เปิดตัว Salesforce Anywhere ที่ทำให้ผู้ใช้แอพในตระกูล Salesforce ทั้งหมดสามารถแชทคุยกันเองได้
จุดเด่นของ Salesforce Anywhere ย่อมเป็นการเชื่อมกับระบบ CRM/ERP ของ Salesforce อย่างแนบแน่น เพราะมันฝังหน้าจอแชทเข้ามาในเว็บแอพของ Salesforce ได้โดยตรง (ขึ้นตรงมุมขวาล่างในภาพ) ลูกค้าองค์กรที่ใช้ Salesforce เป็นปกติอยู่แล้วก็สามารถปรับตัวมาแชทผ่าน Anywhere ได้ทันที (บนมือถือจะมีแอพ Anywhere แยกเฉพาะให้)
Fleetsmith ผู้พัฒนาโซลูชันสำหรับจัดการควบคุมอุปกรณ์แอปเปิล ให้กับลูกค้าระดับองค์กร (MDM - Mobile Device Management) ประกาศว่าแอปเปิลได้เข้าซื้อกิจการบริษัทแล้ว ซึ่งจากนี้ทีมงาน Fleetsmith จะเข้ามาร่วมพัฒนาโซลูชันสำหรับลูกค้าองค์กร ทั้งลูกค้าปัจจุบัน และลูกค้าใหม่ในอนาคต ผ่านแอปเปิล
ที่ผ่านมาลูกค้าระดับองค์กรมีการใช้งานอุปกรณ์ของแอปเปิลทั้ง iPhone, iPad และ Mac มากขึ้น แต่โซลูชัน MDM นั้นยังไม่มีที่มาจากแอปเปิลเองโดยตรง ดีลซื้อกิจการ Fleetsmith จึงเกิดขึ้น
Aruba เปิดตัว Aruba ESP (Edge Services Platform) แพลตฟอร์มวิเคราะห์ คาดการณ์และแก้ไขปัญหาของเครือข่ายในอุปกรณ์ปลายทางโดยใช้ AI ที่ Aruba เคลมว่าช่วยลดเวลาในการแก้ปัญหาลงถึง 90% และเพิ่มความสามารถรับส่งข้อมูล (Throughput Capacity) ที่ 15%
Aruba ESP เป็นโซลูชันแบบ Unified Infrastructure ที่ทำงานผ่าน Aruba Central อีกที ทำให้สามารถเข้าถึงและวิเคราะห์เครือข่ายและอุปกรณ์ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะไร้สาย, มีสายหรือแม้แต่ SD-WAN รวมถึงออกแบบมาในแบบ open standard ทำให้สามารถทำงานร่วมกับโซลูชันหรือบริการของ third-party ได้ด้วย
นอกจากซีพียูเซิร์ฟเวอร์ Intel ยังเปิดตัว SSD ซีรีส์ D7 ด้วย 2 รุ่นคือ D7-P5500 และ D7-P5600 อินเทอร์เฟสเป็น PCIe 4.0 U.2 ทั้งคู่ ชิป NAND เป็น 3D TLC ขนาด 96 เลเยอร์ form factor ขนาด 2.5 นิ้ว หนา 15 มม.
ทั้งสองรุ่นมีอัตราการอ่านข้อมูลต่อเนื่อง 7,000MB/s เขียนต่อเนื่อง 4,300MB/s อ่านสุ่ม (4k) 1M IOPS เขียนสุ่ม P5500 อยู่ที่ 130,000 IOPS ส่วน P5600 ที่ 260,000 IOPS โดยรุ่น P5500 มีความจุขนาด 1.92TB, 3.84TB และ 7.68TB ค่า DWPD อยู่ที่ 1 ระยะเวลาประกัน 5 ปี ส่วน P5600 มีขนาด 1.6TB, 3.2TB, 6.4TB ค่า DWPD อยู่ที่ 3 ระยะประกันเท่ากัน