เมื่อพูดถึง Microsoft Teams คนมักนึกถึงการแชทหรือการประชุมออนไลน์เป็นหลัก แต่อีกฟีเจอร์หนึ่งที่ได้รับความนิยมสูงเช่นกันคือการโทรศัพท์ (voice call หรือชื่อทางการคือ Teams Phone) ซึ่งตัวเลขของไมโครซอฟท์ที่เผยมาล่าสุดคือ มีผู้ใช้ Teams ถึง 80 ล้านคนใช้งานฟีเจอร์โทรศัพท์หากัน (จากผู้ใช้ทั้งหมด 145 ล้านคน)
Microsoft Teams รองรับทั้งการโทรแบบ VoIP และชุมสาย PSTN แบบดั้งเดิม ไมโครซอฟท์บอกว่าทิศทางชัดเจนว่า VoIP คืออนาคต แต่ PSTN ก็ยังมีคนใช้งานอยู่มากเช่นกัน แนวทางของ Teams คือมุ่งไปทาง VoIP เป็นหลัก แต่ก็ยังไม่ทิ้ง PSTN ไปซะทีเดียว
ไมโครซอฟท์ยังประกาศฟีเจอร์ใหม่ให้ Teams Phone อีกหลายอย่าง ได้แก่
Red Hat ประกาศอัพเกรด Ansible Automation Platform (APP) เป็นเวอร์ชั่น 2 โดยจัดรูปแบบเพ็กเกจใหม่ ตามแนวทางโครงการ Ansible ฝั่งโอนเพนซอรส์ที่แยกสคริปต์ต่างๆ ออกเป็นโครงการต่างหากออกจากตัวโครงการ Ansible
ใน AAP ทาง Red Hat จะแยก Ansible Tower ออกเป็นสองส่วน คือ automation controller และ automation execution environments และสองส่วนนี้แยกกันรันคนละโหนดได้ ในเวอร์ชั่นต่อๆ ไปจะเพิ่ม automation mesh เพื่อรองรับการรันในเครื่องบน edge หรือบนคลาวด์
ตอนนี้ AAP 2 ยังอยู่ในสถานะ Early Access ให้ลูกค้าของ Red Hat เข้าไปโหลดมาทดสอบเตรียมย้ายระบบ และภายในปีนี้คาดว่าจะออก AAP 2.1 ในสถานะ GA
Lansweeper บริษัทซอฟต์แวร์จัดการเครื่องพีซีในองค์กร (IT Asset Management) สำรวจความพร้อมของพีซีองค์กรจำนวน 30 ล้านเครื่อง ที่ระบบของตัวเองมอนิเตอร์อยู่ พบว่ามีพีซีถึง 55% ที่สเปกไม่ผ่านความต้องการขั้นต่ำของ Windows 11 และไม่สามารถอัพเกรดได้
Lansweeper บอกว่าปัจจัยสำคัญมีอยู่ 3 เรื่องคือ ซีพียูต้องใช้ตามรุ่นที่กำหนด, แรมต้องอย่างน้อย 4GB และตัวปัญหาคือต้องมีชิป TPM 2.0 ด้วย
Symphony Technology Group หรือ STG ประกาศแผนควบรวมกิจการบริษัทที่ซื้อมา ได้แก่ McAfee Enterprise และ FireEye โดยจะรวมเป็นบริษัทใหม่แห่งเดียว และแต่งตั้ง Bryan Palma อดีตผู้บริหาร BlackBerry และ Cisco ขึ้นเป็นซีอีโอของบริษัทใหม่นี้
Veeam ผู้ผลิตซอฟต์แวร์สำรองข้อมูลประกาศตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาว่ามีแผนจะเลิกขายไลเซนส์แบบคิดราคาตามซีพียู (per socket) แล้วหันไปคิดราคาตามจำนวนเครื่องที่สำรองข้อมูลแทน
Anton Gostev รองประธานอาวุโสฝ่าย product management ระบุว่าลูกค้าเดิมยังคงซื้อไลเซนส์แบบคิดราคาต่อซีพียูได้ต่อไป แต่จะอาศัยแรงจูงใจให้ลูกค้าหันไปใช้ Veeam Universal License (VUL) ที่นับจำนวนเครื่องที่สำรองข้อมูลแทน แต่ยังยืนยันว่าบริษัทจะยังขายไลเซนส์แบบถาวร (perpetual license) ต่อไป แม้จะมีแบบสมัครสมาชิกให้เลือก
Canonical ประกาศนโยบายซัพพอร์ต Ubuntu เวอร์ชัน LTS (Long-term Support) รุ่นเก่าที่ออกไปแล้ว จากเดิม 5 ปี ขยายสองเท่าเป็น 10 ปี (ระยะเวลาซัพพอร์ตสำหรับลูกค้าองค์กรเดิม 8 ปี ขยายเป็น 10 ปี)
การเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลกับ Ubuntu LTS สองรุ่นก่อนคือ 14.04 LTS (หมดระยะซัพพอร์ตปี 2019 ขยายเป็น 2024) และ 16.04 LTS (หมดระยะซัพพอร์ตปี 2021 ขยายเป็น 2026) ถือเป็นการปลุกชีพกลับคืนมาใหม่ ส่วน LTS รุ่นใหม่ๆ คือ 18.04 LTS และ 20.04 LTS ได้ระยะซัพพอร์ตนาน 10 ปีอยู่แล้ว จึงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
Mirantis บริษัทซอฟต์แวร์สายคลาวด์ เปิดตัว Mirantis Flow ชุดเครื่องมือจัดการแอปพลิเคชันบนคลาวด์ทั้งระบบ ครอบคลุมทั้งฝั่ง Dev และ Ops รองรับเทคโนโลยีทั้งสาย OpenStack และ Kubernetes ในตัวเดียว
Mirantis Flow เป็นการรวมเอาเครื่องมือทั้งหมดในเครือ Mirantis ที่ทยอยพัฒนา-ซื้อกิจการมาในช่วงหลังเข้าไว้ด้วยกัน และผสานเพื่อให้ทำงานร่วมกันได้ราบรื่น หวังเป็นเครื่องมือตัวเดียวสำหรับจัดการแอปพลิเคชันยุค Cloud Native อย่างในปัจจุบัน ลดภาระการดูแลเครื่องมือหลายๆ ตัวจากหลายค่ายลง
เมื่อปี 2018 Oracle ประกาศนโยบายหยุดออกแพตช์ฟรีให้ Oracle JDK ที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ อยากได้ต้องเสียเงินสมัครสมาชิก Oracle Java SE Subscription เท่านั้น
ประกาศของ Oracle ทำให้ผู้ใช้ Java เหลือทางเลือกแค่ 2 ทางคือ ใช้ OpenJDK เวอร์ชันฟรี แต่อัพเดตสั้น หรือเสียเงินให้ Oracle เท่านั้น ช่องว่างนี้จึงมีบริษัทอื่นๆ เข้ามาออกอัพเดต Java ให้ฟรีหลายราย เช่น Red Hat, Amazon หรือแม้แต่ Microsoft
IBM เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ Power E1080 เซิร์ฟเวอร์ตัวแรกที่ใช้ซีพียูสถาปัตยกรรม Power10 ที่เปิดตัวครั้งแรกในช่วงกลางปี 2020 และเป็นรุ่นอัพเกรดโดยตรงของ Power E980 ของซีรีส์ Power9 เดิม
ซีพียู IBM Power10 ใช้กระบวนการผลิตที่ 7nm EUV ของซัมซุง, เพิ่มจำนวนคอร์เป็น 15 คอร์ (เดิม 12 คอร์) โดยผลิตที่ 16 คอร์และปิด 1 คอร์เพื่อเพิ่มอัตรา yield, มาพร้อมฟีเจอร์ symmetric multiprocessing (SMT) ที่สามารถสเกลทั้งระบบได้ถึง 240 คอร์
Cisco ประกาศความร่วมมือกับกูเกิล ให้ฮาร์ดแวร์สำหรับประชุมวิดีโอ Webex และ Google Meet สามารถคุยกันแบบข้ามค่ายได้โดยง่าย
ภายใต้ข้อตกลงนี้ ฮาร์ดแวร์สำหรับคุย Webex จะสามารถคอลล์เข้า Google Meet ได้ และในทางกลับกัน ฮาร์ดแวร์ Google Meet จะคอลล์เข้า Webex ได้เช่นกัน ซึ่ง Cisco อธิบายว่าสามารถทำได้เพราะในทางเทคนิคคุยกันผ่านโปรโตคอล WebRTC ที่เป็นมาตรฐานเปิด
Cisco อ้างผลสำรวจ CIO ขององค์กรต่างๆ พบว่าการประชุมออนไลน์ 80% มักอยู่บนแพลตฟอร์มที่องค์กรเลือกใช้ อีก 20% เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มอื่น (เช่น ตามองค์กรลูกค้า) แต่เมื่อองค์กรเลือกลงทุนกับฮาร์ดแวร์ของค่ายนั้นๆ ไปแล้ว ก็ทำให้การประชุมบนแพลตฟอร์มอื่นไม่สะดวกนัก การจับมือกับ Google Meet จึงช่วยแก้ปัญหาตรงนี้ไปได้เปลาะหนึ่งนั่นเอง
AWS ประกาศเปลี่ยนชื่อบริการ Amazon Elasticsearch Service (Amazon ES) มาเป็น Amazon OpenSearch Service หลังจากแยกมาทำโครงการ OpenSearch เอง
เดิมที AWS นำซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส Elasticsearch มาพัฒนาเป็นบริการ Amazon ES ในปี 2015 แต่หลังจากมีปัญหาเรื่องไลเซนส์กับบริษัท Elastic ผู้พัฒนา Elasticsearch ในช่วงต้นปีนี้ ทำให้ AWS ตัดสินใจ fork ซอร์สโค้ดมาเป็นโครงการใหม่คือ OpenSearch ที่เพิ่งออกเวอร์ชัน 1.0 ไปเมื่อเดือนกรกฎาคม
ไมโครซอฟท์ออกฟีเจอร์ใหม่ให้ Microsoft Teams สำหรับการประชุมแบบไฮบริด ที่ผู้เข้าร่วมประชุมมีทั้งรีโมทเข้ามาจากที่บ้าน และคนที่นั่งในห้องประชุมที่ออฟฟิศ
ปัญหาของการประชุมแบบนี้คือ ในห้องประชุมมักมีกล้องตัวเดียว ไมโครโฟนชุดเดียว แต่มีคนอยู่ในห้องหลายคน คนที่รีโมทจากบ้านจึงมองไม่เห็นหน้าของผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน ไม่รู้ว่าใครกำลังพูดอยู่บ้าง
AWS ประกาศข่าวบริการ Amazon Elastic Kubernetes Service (Amazon EKS) Anywhere ซึ่งเป็นการนำซอฟต์แวร์ EKS จากเดิมที่มีเฉพาะบนคลาวด์ของ AWS มาสู่ศูนย์ข้อมูลของลูกค้าเองแล้ว
AWS เปิดตัวบริการ Amazon Elastic Container Service (Amazon ECS) Anywhere และ EKS Anywhere ครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2020 (ความแตกต่างคือ ECS เป็นระบบจัดการคอนเทนเนอร์ของ AWS เอง ส่วน EKS ใช้ Kubernetes) ตอนนี้บริการ EKS Anywhere พร้อมใช้งานแบบ general availability (GA) เรียบร้อยแล้ว
Lenovo ประกาศร่วมบริการเช่าเครื่องตามการใช้งานจริง (pay-as-you-go หรือ Everything-as-a-Service) ทั้งหมดของบริษัทเข้าด้วยกัน โดยใช้ชื่อแบรนด์เดียวว่า Lenovo TruScale
ช่วงหลัง บริษัทไอทีสายฮาร์ดแวร์มักมีโมเดลการจ่ายเงินแบบ as-a-Service ที่ได้อิทธิพลมาจากการเช่าเครื่องบนคลาวด์ รูปแบบจะเป็นการเช่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไปตั้งในศูนย์ข้อมูลแบบ on-premise เหมือนเดิม แต่เปลี่ยนวิธีการจ่ายเงินจากซื้อขาด มาเป็นการจ่ายตามปริมาณใช้งานแทน
ในอีกด้าน สินค้ากลุ่มพีซีก็มีบริการเช่าเครื่องที่เรียกว่า Device-as-a-Service (DaaS) จากผู้ผลิตโดยตรงเช่นกัน กรณีของ Lenovo ใช้แบรนด์ DaaS ทำตลาดแยกจากฝั่งเซิร์ฟเวอร์ที่เป็นแบรนด์ TruScale
ข่าวช็อควงการลินุกซ์เมื่อปลายปีที่แล้วคือ Red Hat ประกาศหยุดซัพพอร์ต CentOS 8 จากเดิมที่ต้องซัพพอร์ตไปถึงปี 2029 จะลดเหลือแค่สิ้นปี 2021 เท่านั้น (ทางออกคือต้องใช้ RHEL 8 แบบเสียเงิน หรือ CentOS Stream ที่ไม่มีซัพพอร์ตระยะยาว)
ประกาศของ Red Hat ทำให้เกิดดิสโทรใหม่ๆ ที่มาแทน CentOS เดิม เช่น AlmaLinux, RockyLinux รวมถึง Oracle Linux ที่มีมานานแล้ว ก็ได้รับความสนใจอีกครั้ง
VMware เข้าสู่ตลาด Kubernetes ในปี 2019 ด้วยแบรนด์ Tanzu หลังจากนั้นก็ค่อยๆ งอกบริการใต้แบรนด์ Tanzu เพิ่มมาเรื่อยๆ (ปัจจุบันมี 8 ตัว ตามภาพ)
ล่าสุดในงานสัมมนา Spring One 2021 บริษัทออกบริการใหม่ที่น่าสนใจคือ Tanzu Application Platform (TAP) ซึ่งยังมีสถานะเป็น Beta
Tanzu Application Platform คือความพยายามแก้ปัญหา "Kubernetes ซับซ้อนเกินไป" นักพัฒนาแอพต้องมาสนใจเรื่องการคอนฟิกระบบที่มีหลายแนวทาง ทางออกของ TAP จึงเป็นการสร้าง "แพลตฟอร์ม" ของเครื่อง Kubernetes ที่ตั้งค่าดีฟอลต์มาให้แล้ว พร้อมใช้งานได้ทันที แต่ถ้าอยากเปลี่ยนคอมโพเนนต์บางอย่างในภายหลังก็สามารถทำได้
ไมโครซอฟท์ปล่อยบริการรักษาความปลอดภัยไคลเอนต์สำหรับองค์กร Microsoft Defender for Endpoint Plan 1 (P1) แพ็กเกจเริ่มต้นสำหรับองค์กรที่ต้องการควบคุมความปลอดภัยภายในองค์กร และขยับแพ็กเกจเต็มแบบเดิมไปเป็น P2
P1 จะตัดระบบจัดการภัยอัตโนมัติ, การทำ sandbox, และการให้คำปรึกษาจากไมโครซอฟท์ แต่ยังมีฟีเจอร์ด้านการควบคุมความปลอดภัยเครื่องไคลเอนต์มาตรฐานค่อนข้างครบ ทั้งการจัดการไฟร์วอลล์, การควบคุมการใช้อุปกรณ์ต่อพ่วง, ควบคุมการเข้าเว็บ, การกำหนดเงื่อนไขการเข้าถึงระบบขององค์กร, และการเชื่อมต่อข้อมูลเข้าไปยังระบบ SIEM ภายในองค์กร
Blognone ขอเรียนเชิญ CEOs, Owners/founders, COOs, CIOs, CTO, IT directors, Line of Business leaders, Senior IT professionals, IT Manager, Cloud Engineer, Data Center Engineer, ผู้ดูแลระบบ IT และผู้ที่สนใจทุกท่าน เข้าร่วม IBM Virtual Event ในงาน “IBM Solutions Summit 2021 powered by IBM Partners” เพื่อเรียนรู้แนวโน้มเทคโนโลยีหลัก ไฮบริดคลาวด์ เอไอ และซีเคียวริตี้ ที่สามารถขับเคลื่อนด้วยระบบอัตโนมัติตอบโจทย์ องค์กรในโลกยุคดิจิทัลที่ต้องตอบสนองลูกค้าด้วยความรวดเร็ว รู้ใจและปลอดภัยสูง ในวันศุกร์ที่ 10 กันยายน 2021 เวลา 08.30 – 13.00 น.
ไมโครซอฟท์ปล่อยไฟล์ Windows Server 2022 ตัวจริงมาแบบเงียบๆ หลังเปิดให้ลูกค้ากลุ่มพาร์ทเนอร์ดาวน์โหลดผ่าน Evaluation Center มาได้สักระยะหนึ่ง
Windows Server 2022 มีทั้งหมด 3 รุ่นย่อยคือ Datacenter, Datacenter: Azure Edition, Standard โดยรุ่น Azure จะมีฟีเจอร์เยอะที่สุด (รายการเปรียบเทียบ) มีระยะซัพพอร์ตนาน 5+5 ปี สิ้นสุดวันที่ 14 ตุลาคม 2031 รายการฟีเจอร์ใหม่
Chuck Robbins ซีอีโอของ Cisco กล่าวในงานแถลงผลประกอบการไตรมาสล่าสุด มีประเด็นน่าสนใจตรงที่เขายอมรับว่า "ตกขบวน" ตลาดคลาวด์ยุคแรกเริ่ม จึงเป็นบทเรียนว่าบริษัทต้องเตรียมตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนสถาปัตยกรรมยุคที่สอง ซึ่ง Cisco ทำได้สำเร็จ
Robbins ขยายความเพิ่มว่า เดิมที Cisco ขายอุปกรณ์เครือข่ายสำหรับลูกค้าองค์กรแบบดั้งเดิม แต่เมื่อโลกเริ่มเข้าสู่ยุคคลาวด์เมื่อประมาณ 10 ปีก่อน ลูกค้าเดิมก็หันไปเช่าคลาวด์แทนการซื้ออุปกรณ์เครือข่ายแบบ on-premise
รอบเดือนที่ผ่านมา วงการซอฟต์แวร์สาย HR มีประเด็นข่าวที่น่าสนใจคือยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon ตัดสินใจเลิกใช้ซอฟต์แวร์ Workday Human Capital Management ของบริษัท Workday ส่งผลให้หุ้นของ Workday ตกลงทันที
เดิมที Amazon ใช้ซอฟต์แวร์ Oracle PeopleSoft จัดการพนักงาน แต่ช่วงหลังเมื่อสายสัมพันธ์ของ Amazon กับ Oracle แย่ลง จนเลิกใช้ซอฟต์แวร์ Oracle หลายตัว ทำให้เมื่อปี 2017 Amazon เซ็นสัญญาย้ายไปใช้ Workday แทน ซึ่งถือเป็นชัยชนะของ Workday ที่ได้ลูกค้าใหญ่ระดับ Amazon
Cisco ประกาศซื้อกิจการ Epsagon ผู้พัฒนาเครื่องมือตรวจสอบการทำงานของแอพพลิเคชัน ที่โดดเด่นเรื่องแอพพลิเคชันบนสภาพแวดล้อมทั้งคอนเทนเนอร์ และเซิร์ฟเวอร์เลส เพื่อนำมาเสริมกับบริการแพลตฟอร์ม Full-Stack Observability ของ Cisco เอง
ดีลดังกล่าวไม่มีการเปิดเผยมูลค่าอย่างเป็นทางการ แต่ทาง CRN ให้ข้อมูลว่าอยู่ที่ราว 500 ล้านดอลลาร์
Cisco อธิบายว่าแอพพลิเคชันเข้ามามีบทบาทในชีวิตผู้คนมากขึ้น องค์กรต้องการเครื่องมือที่ช่วยทั้งการพัฒนา ตรวจสอบ สเกล แอพพลิเคชันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมาพร้อมกับความซับซ้อนของระบบที่มากขึ้น เครื่องมือตรวจสอบที่สามารถเข้าถึง เชื่อมโยงข้อมูลได้ในทุกจุดจึงมีบทบาทสำคัญ
ระบบไอทีในองค์กรแทบทุกองค์กรกำลังปรับตัวไปสู่ยุค Hybrid Cloud ที่ทุกคนต้องการปรับปรุงโครงสร้างไอทีขององค์กรให้เข้าสู่ยุคใหม่ สามารถขยายระบบได้คล่องตัวตามการใช้งานที่อาจคาดเดาได้ยาก ระบบเหล่านี้ต้องรองรับแอปพลิเคชันเดิมขององค์กรที่เคยใช้งานมายาวนานได้โดยดัดแปลงแก้ไขแอปพลิเคชันไม่มากนัก, มีความปลอดภัยสูงพร้อมรับมือกับการโจมตีที่ซับซ้อนขึ้นทุกวัน, ระบบมีความเสถียรสูงสุดและต้องไม่สร้างภาระค่าใช้จ่ายสูงเกินไป
ไมโครซอฟท์ประกาศราคาของบริการ Windows 365 การสตรีมเดสก์ท็อป Windows ผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งเป็นบริการแบบใหม่ที่ไมโครซอฟท์เรียกว่า Cloud PC (เป็น remote desktop แบบสำเร็จรูป รันในคลาวด์อย่างเดียว ปรับแต่งได้น้อยกว่า Azure Virtual Desktop)
Windows 365 แบ่งออกเป็น 2 ระดับตามจำนวนผู้ใช้งานคือ Business (พนักงานไม่เกิน 300 คน) และ Enterprise (พนักงานมากกว่า 300 คน) โดยมีฟีเจอร์ด้านการจัดการต่างกันอยู่พอสมควร ส่วนราคาจะอิงตามสเปกเครื่องที่เลือกเช่าใช้งาน
แพ็กเกจราคาต่ำสุดของกลุ่ม Enterprise คือ 20 ดอลลาร์ต่อคนต่อเดือน ได้ 1 vCPU, แรม 2GB, สตอเรจ 64GB ส่วนแพ็กเกจสูงสุด 158 ดอลลาร์ต่อคนต่อเดือน ได้ 8 vCPU, แรม 32GB, สตอเรจ 512GB
ไมโครซอฟท์ปลดเกษียณ Skype for Business Online ตามที่ประกาศไว้ 2 ปีล่วงหน้า โดยมีผล 31 กรกฎาคม 2021
Skype for Business หรือชื่อเดิม Microsoft Lync เป็นซอฟต์แวร์ประชุมออนไลน์สำหรับลูกค้าองค์กร (คนละตัวกับ Skype รุ่นปกติ) ปัจจุบันถูกทดแทนด้วย Microsoft Teams หมดแล้ว บริการนี้จำเป็นต้องใช้เซิร์ฟเวอร์ Skype for Business ซึ่งมีทั้งแบบโฮสต์เอง และแบบออนไลน์ที่ไมโครซอฟท์โฮสต์ให้
หลังจากนี้ ไมโครซอฟท์จะทยอยอัพเกรดลูกค้าที่ยังรัน Skype for Business Online มาเป็น Teams ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2021 เป็นต้นไป