Spotify กล่าวว่าบริษัทได้ส่งแอปเวอร์ชันใหม่ เพื่อนำขึ้น App Store สำหรับคนใช้ iOS ในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งเพิ่มการให้ข้อมูลแพ็คเกจราคา และข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง โดยไม่มีการแทรกลิงก์ไปยังเว็บของ Spotify ถือเป็นขั้นต่ำที่สุดตามแนวทางคำตัดสินคดีที่คณะกรรมการยุโรป (European Commission - EC) สั่งปรับแอปเปิลเรื่องผูกขาด App Store
ก่อนหน้านี้ Spotify เคยร้องเรียนไปยัง EC ว่าแอปเวอร์ชันที่แทรกลิงก์รายละเอียดแพ็คเกจ และวิธีจ่ายเงินผ่านเว็บ Spotify โดยตรง ถูกแอปเปิลดึงเวลาไม่อนุมัติให้ขึ้น App Store
ประเด็นความขัดแย้งระหว่าง Spotify กับแอปเปิล ในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปหรือ EU ที่แอปเปิลถูกสั่งปรับไป 1,800 ล้านยูโร ดูจะยังไม่จบง่าย ๆ ล่าสุด Spotify อีเมลร้องเรียนไปยังคณะกรรมาธิการยุโรป (EC - European Commission) บอกว่า Spotify ได้ส่งแอปเวอร์ชันใหม่เฉพาะในประเทศกลุ่ม EU ให้แอปเปิลตรวจสอบเพื่ออนุมัติขึ้น App Store แต่ถึงตอนนี้แอปเปิลเงียบและไม่ตอบกลับใด ๆ
ข่าวนี้อาจสะท้อนให้เห็นกระบวนการกำกับดูแลกฎหมายดิจิทัลของสหภาพยุโรปนั้นจริงจังขนาดไหน โดยหน่วยงานดูแลปกป้องข้อมูลของสหภาพยุโรป (EDPS - European Data Protection Supervisor) เปิดเผยรายงานการสอบสวนว่าคณะกรรมาธิการยุโรป (EC - European Commission) ได้ละเมิดกฎการปกป้องข้อมูลส่วนตัวเสียเอง เนื่องจากมีการใช้งาน Microsoft 365 โดยไม่กำหนดวิธีการจัดเก็บข้อมูลร่วมกับไมโครซอฟท์
รายงานระบุว่าคณะกรรมาธิการไม่สามารถแสดงรายละเอียดที่เพียงพอได้ ว่าข้อมูลส่วนบุคคลใดบ้างที่ถูกจัดเก็บและวัตถุประสงค์การจัดเก็บเพื่ออะไร รวมถึงมีข้อมูลใดบ้างของผู้ใช้งานในสหภาพยุโรปที่ถูกส่งกลับไปสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ EC ได้เริ่มใช้งาน Microsoft 365 มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2021
Tim Sweeney ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Epic Games เปิดเผยว่าแอปเปิลได้แจ้งทาง Epic และคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission - EC) ว่าจะกลับมาเปิดการใช้งานบัญชีนักพัฒนาในสวีเดนของ Epic เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายดิจิทัล DMA ของสหภาพยุโรป ซึ่งเขาบอกว่า Epic ก็จะเดินหน้าให้บริการ Epic Games Store และนำ Fortnite กลับสู่ iOS สำหรับผู้ใช้ในยุโรปต่อไป
มีรายงานว่าคณะกรรมาธิการยุโรปหรือ EC ได้ร้องขอให้แอปเปิลชี้แจงเพิ่มเติม จากประเด็นที่แอปเปิลระงับบัญชีนักพัฒนาของ Epic Games ก่อนหน้านี้ ซึ่งอาจขัดต่อกฎหมายดิจิทัล DMA ตลอดจนกฎหมายอื่นของสหภาพยุโรปด้วย
ก่อนหน้านี้แอปเปิลยืนยันว่าบริษัทใช้สิทธิระงับบัญชีนักพัฒนาในสวีเดนของ Epic Games ซึ่งมีผลไม่สามารถใช้งานในการพัฒนาเผยแพร่แอปได้ทั่วโลก ด้วยเหตุผลว่าที่ผ่านมาบริษัทมีพฤติกรรมที่ไม่สามารถไว้วางใจได้ และการกระทำดังกล่าวศาลให้สิทธิรับรองเนื่องจากมีคดีฟ้องร้องกันอยู่แล้ว
Spotify ออกคำแถลงหลังจากคณะกรรมการยุโรป (EC) ออกคำสั่งปรับแอปเปิล 1,800 ล้านยูโรในประเด็นมีพฤติกรรมผูกขาดการค้าผ่านระเบียบใน App Store โดยบอกว่าคำตัดสินของ EC ทำให้ได้ข้อสรุปชัดเจน ว่าการที่แอปเปิลจำกัดวิธีสื่อสารต่อลูกค้าในแอป ผิดกฎหมายยุโรป และคำตัดสินนี้ยังส่งสัญญาณเตือนต่อบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ ว่าไม่มีใครสามารถควบคุมตลาดสำหรับลูกค้าได้
แอปเปิลออกคำแถลงหลังจากกรรมาธิการยุโรป (European Commission - EC) ออกคำสั่งปรับแอปเปิลเป็นเงิน 1,800 ล้านยูโร ในประเด็นกีดกันการแข่งขันตลาดแอปฟังเพลงสตรีมมิ่งบน App Store ตามที่ Spotify ร้องเรียน โดยแอปเปิลบอกว่าคำตัดสินนี้ คนที่ได้ประโยชน์สูงสุดก็คือ Spotify บริษัทที่มีสำนักงานใหญ่ในสวีเดน บริษัทเพลงสตรีมมิ่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นบริษัทที่เข้าพบคณะกรรมาธิการยุโรปถึง 65 ครั้ง ระหว่างการสอบสวน
แอปเปิลบอกว่าในยุโรป Spotify มีส่วนแบ่งตลาด 56% และมากกว่าคู่แข่งเบอร์สองเกือบสองเท่า บริษัทไม่เคยจ่ายค่าตอบแทนให้กับแอปเปิล แม้บริการและเครื่องมือของแอปเปิลจะมีส่วนต่อความสำเร็จ ที่ Spotify ใช้เข้าถึงผู้ใช้งานทั่วโลก
คณะกรรมการยุโรป (European Commission - EC) หน่วยงานในกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) ออกคำสั่งปรับแอปเปิลเป็นเงิน 1,800 ล้านยูโร (ประมาณ 7 หมื่นล้านบาท) ในประเด็นมีพฤติกรรมกีดกันการแข่งขันในตลาดแอปฟังเพลงสตรีมมิ่งบน App Store ของผู้ใช้งาน iPhone และ iPad
ก่อนหน้านี้มีข่าวลือว่า EC จะสั่งปรับแอปเปิลประมาณ 500 ล้านยูโร ตัวเลขทางการที่ออกมาจึงสูงกว่าที่คาดมากพอสมควรเลยทีเดียว
ได้แถลงการณ์นั้น EC บอกว่า แอปเปิลได้จำกัดแนวทาง ไม่ให้ผู้พัฒนาแอปแจ้งผู้ใช้งาน ถึงวิธีการจ่ายเงินในช่องทางอื่น หรือถ้ามีช่องทางที่ถูกกว่าแต่อยู่ภายนอกแอป ซึ่งแนวทางนี้ผิดกฎหมายผูกขาดทางการค้าของ EU
Spotify ร่วมกับบริษัทไอทีที่ทำธุรกิจในยุโรปอีกหลายราย เช่น Deezer, Epic Games, Proton, 37signals และสมาคมด้านดิจิทัล-เทคโนโลยีในยุโรปอีกจำนวนหนึ่ง รวมทั้งหมด 34 องค์กร ร่วมกันส่งจดหมายถึงคณะกรรมการยุโรป (European Commission) ร้องเรียนว่าแอปเปิลไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมาย Digital Markets Act (DMA) ของยุโรป
จดหมายนี้สรุปประเด็นที่แอปเปิลไม่ยอมปฏิบัติตาม DMA จำนวน 4 ข้อคือ
ไมโครซอฟท์รายงานจำนวนเงินที่ลงทุนใน Mistral สตาร์ทอัพด้าน AI จากฝรั่งเศส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือให้บริการโมเดล Mistal Large บน Azure โดยไมโครซอฟท์ลงทุนเป็นเงิน 15 ล้านยูโร และเงินลงทุนนี้สามารถแปลงเป็นหุ้นของ Mistral ได้ เมื่อบริษัทเปิดระดมทุนซีรีส์ใหม่
ผลจากดีลดังกล่าวจึงทำให้มูลค่ากิจการของ Mistral ยังไม่เปลี่ยนแปลง จนกว่าจะมีการแปลงเงินลงทุนนี้เป็นหุ้น ทั้งนี้ Mistral ได้รับเงินลงทุนรอบล่าสุด 385 ล้านยูโร จากนักลงทุนนำโดยกองทุน Andreessen Horowitz และทำให้บริษัทมีมูลค่ากิจการล่าสุดประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์
ก่อนหน้านี้แอปเปิลได้ออกอัพเดต iOS 17.4 เบต้า สำหรับนักพัฒนา ทำให้มีคนพบว่า แอปเปิลได้ปิดการทำงานในการสร้างไอคอนเว็บแอปบน iOS (PWA - Progressive Web App) ซึ่งต่อมาแอปเปิลก็ยืนยันการจำกัดความสามารถนี้สำหรับผู้ใช้งานในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป เนื่องจากมีข้อกำหนดของกฎหมาย DMA ที่ระบุว่าเบราว์เซอร์อื่นต้องใช้เอ็นจินอื่นที่ไม่ใช้ WebKit ได้
คณะกรรมการกำกับดูแลการแข่งขันของ EU รายงานว่ากำลังส่งคำถามไปยังนักพัฒนาที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินว่าการกระทำนี้ของแอปเปิลส่งผลกระทบมากแค่ไหน และพิจารณาในการสอบสวนต่อไป
มีรายงานจาก The Financial Times ว่าคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission - EC) เตรียมออกคำสั่งปรับแอปเปิลเป็นเงิน 500 ล้านยูโร จากประเด็นผูกขาดทางการค้าที่ Spotify ร้องเรียนเมื่อปี 2019
ประเด็นที่ร้องเรียน ระบุว่าแอปเปิลพยายามขัดขวางบริการฟังเพลงสตรีมมิ่งรายอื่น เช่น Spotify ไม่ให้บอกลูกค้าว่ามีช่องทางจ่ายเงินค่าสมาชิกทางอื่น เพราะต้องการให้จ่ายผ่านช่องทาง In-App ที่แอปเปิลได้ส่วนแบ่งค่าธรรมเนียม แนวทางนี้ทำให้ไม่ยุติธรรมในการแข่งขันกับบริการฟังเพลงสตรีมมิ่งของแอปเปิลเองคือ Apple Music
คณะกรรมการดูแลกฎหมายการตลาดดิจิทัลของสหภาพยุโรป (Digital Markets Act - DMA) ประกาศให้ 4 บริการออนไลน์ ได้แก่ iMessage ของแอปเปิล และ Bing, Edge, Microsoft Advertising ของไมโครซอฟท์ ที่เคยระบุว่าเข้าข่าย gatekeeper ซึ่งทำให้ต้องเปิดแพลตฟอร์มให้บริการอื่นมาเชื่อมต่อใช้งานได้ ไม่เข้าสถานะดังกล่าวเนื่องจากยังไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด
ก่อนหน้านี้ทั้งแอปเปิลและไมโครซอฟท์ ได้ยื่นคำร้องต่อ EU ให้พิจารณาสถานะของ 4 บริการนี้ใหม่ โดยระบุว่ามีผู้ใช้งานน้อยกว่าเกณฑ์ที่ EU กำหนดคือ 45 ล้านคน ซึ่งหลังจากคำตัดสินดังกล่าวออกมา ทั้งแอปเปิลและไมโครซอฟท์ก็ออกแถลงการณ์ว่ายินดีต่อคำตัดสินนี้
Meta และ TikTok ยื่นขอให้ตรวจสอบค่าธรรมเนียม ที่บริษัทต้องจ่ายให้กับหน่วยงานกำกับดูแลของ EU เพื่อใช้ในการตรวจสอบเนื้อหาต่าง ๆ ตามกฎหมายดิจิทัลใหม่ DSA (Digital Services Act) โดยให้เหตุผลว่าค่าธรรมเนียมนี้ถูกคำนวณอย่างไม่เหมาะสม
ในข้อกำหนดนั้น EU ระบุว่าบริษัทจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียม ซึ่งมีการคิดคำนวณจากปัจจัยต่าง ๆ โดยเงินที่จ่ายให้กับหน่วยงาน จะสูงสุดไม่เกิน 0.05% ของกำไรบริษัท แต่ตัวเลขนี้ก็ทำให้ตัวแทนของ Meta มองว่าไม่ยุติธรรม เพราะบริษัทที่มีผลประกอบการขาดทุน ต่อให้มีฐานผู้ใช้งานจำนวนมากแค่ไหน ก็ไม่ต้องจ่ายเงินให้ EU เลย
ส่วนตัวแทนของ TikTok มองว่าการคิดจำนวนผู้ใช้งาน ที่ EU ใช้ข้อมูลจากบริษัทภายนอก แล้วนำคำนวณค่าธรรมเนียมนั้น เป็นตัวเลขที่ไม่ถูกต้อง
Amazon และ iRobot ผู้ผลิตหุ่นยนต์ดูดฝุ่นแบรนด์ Roomba ประกาศว่าทั้งสองบริษัทได้ตกลงยกเลิกดีลที่ Amazon จะซื้อกิจการ iRobot ซึ่งประกาศมาตั้งแต่สิงหาคม 2022
ในแถลงการณ์นี้ Amazon บอกว่าบริษัทรู้สึกผิดหวังที่ไม่สามารถดำเนินการซื้อกิจการได้ตามแผน แม้ดีลนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทั้ง iRobot และอุตสาหกรรมการแข่งขันของผู้ผลิตหุ่นยนต์สำหรับงานในบ้าน แต่ในมุมมองของฝ่ายกำกับดูแลมองว่าไม่เป็นเช่นนั้นก็ตาม
ก่อนหน้านี้มีข่าวว่าดีลดังกล่าวจะไม่ได้รับการอนุมัติจากสหภาพยุโรปหรือ EU ซึ่งแม้ในแถลงการณ์ไม่ได้ระบุแต่ก็น่าจะเกี่ยวข้องกับประเด็นนี้นั่นเอง
ก่อนหน้านี้มีรายงานข่าวว่าแอปเปิลเตรียมเปิดให้ผู้ให้บริการระบบจ่ายเงิน ในกลุ่มประเทศ EU สามารถเข้าถึง NFC เพื่อใช้งานระบบแตะจ่ายเงิน (Tap-and-go) ในอุปกรณ์ iOS ได้ เพื่อให้เป็นตามแนวทางที่คณะกรรมการยุโรป (European Commission) มองว่าแอปเปิลเข้าข่ายผูกขาดไม่ให้ผู้พัฒนารายอื่นเข้าถึง NFC เพราะจำกัดไว้เฉพาะ Apple Pay ซึ่งล่าสุดแอปเปิลออกมายืนยันเรื่องนี้แล้ว
มีรายงานว่าหน่วยงานด้านการแข่งขันของสหภาพยุโรปหรือ EU ได้หารือกับตัวแทนของ Amazon ประเด็นที่บริษัทจะซื้อกิจการ iRobot ผู้ผลิตหุ่นยนต์ดูดฝุ่นแบรนด์ Roomba โดยคาดว่า EU จะปฏิเสธการซื้อกิจการดังกล่าว
ทั้งนี้ตามขั้นตอนซื้อกิจการนั้น จะต้องผ่านการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลก่อน โดยคณะกรรมการจะออกคำตัดสินภายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์
ก่อนหน้านี้คณะกรรมการยุโรปออกความเห็นต่อดีลดังกล่าวเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ว่าดีลนี้จะทำให้การแข่งขันในตลาดหุ่นยนต์ดูดฝุ่นลดลงมากกว่าเดิม อีกทั้ง Amazon สามารถใช้อำนาจที่เหนือกว่าในช่องทางการขาย กีดกันผู้ผลิตหุ่นยนต์ดูดฝุ่นคู่แข่งรายอื่นได้อีกด้วย
คณะกรรมการยุโรป (European Commission) ประกาศว่าหน่วยงานจะเริ่มการสืบสวน ว่าตลาดด้านเทคโนโลยีสองอย่างได้แก่ Virtual Worlds หรือโลกเสมือน และ Generative AI หรือปัญญาประดิษฐ์สร้างเนื้อหา มีการแข่งขันในตลาดที่เป็นปกติหรือไม่ หรือต้องใช้กฎหมายเข้ามากำกับดูแลการแข่งขันเพิ่มเติม
ในแถลงการณ์นี้มีการระบุชื่อบริษัทเพียงกรณีเดียวคือ Microsoft และ OpenAI ซึ่งคณะกรรมการยุโรปจะสืบสวนเพิ่มเติมว่าความร่วมมือนี้ส่งผลให้ตลาดเป็นของผู้เล่นรายใหญ่หรือไม่ และอาจเข้าข่ายต้องใช้กฎหมายการควบรวมกิจการขนาดใหญ่ (ปัจจุบัน Microsoft ถือหุ้นหลักใน OpenAI ส่วนธุรกิจ For-Profit)
Reuters อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง รายงานผลสืบเนื่องจากที่คณะกรรมการยุโรป (European Commission) ประเมินว่าบริการ Apple Pay เข้าข่ายผูกขาดระบบจ่ายเงินบน iOS เพราะเป็นแอปเดียวที่เข้าถึง NFC ได้ เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งตอนนั้นก็ยังไม่มีการระบุว่าแอปเปิลมีความผิด อย่างไรก็ตามดูเหมือนแอปเปิลก็เตรียมรับมือล่วงหน้าเลย
รายงานบอกว่าแอปเปิลได้เริ่มพูดคุยกับผู้ให้บริการระบบจ่ายเงินในกลุ่มประเทศ EU ถึงวิธีการเข้าถึง NFC และระบบแตะเพื่อจ่าย (Tap-and-go) ในอุปกรณ์ iOS แล้ว ซึ่งคาดว่าคณะกรรมการยุโรปน่าจะออกคำตัดสินว่าแอปเปิลมีความผิดหรือไม่ในเดือนหน้า
Financial Times รายงานข่าวว่า กูเกิลกับโอเปอเรเตอร์ยักษ์ใหญ่ในยุโรปบางราย เช่น Vodafone, Deutsche Telekom, Telefónica, Orange ยื่นจดหมายให้คณะกรรมการยุโรป (European Commission) พิจารณาว่าบริการ iMessage ของแอปเปิลเข้าข่ายเป็นบริการดิจิทัลที่มีคนใช้เป็นจำนวนมาก (gatekeeper) ตามกฎหมาย Digital Markets Act ฉบับใหม่ เพื่อบีบให้แอปเปิลต้องเปิด iMessage ให้เชื่อมต่อกับบริการคู่แข่งรายอื่นได้ด้วย
ตามที่กรรมมาธิการยุโรปออกกฎหมาย Digital Markets Act (DMA) ให้บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ที่มีแพลตฟอร์มซึ่งมีสถานะแข็งแกร่งได้เปรียบเหนือรายอื่นเป็น Gatekeeper ต้องเปิดแพลตฟอร์มให้บริการอื่นเข้ามาเชื่อมต่อใช้งาน และแข่งขันได้ ซึ่งมีบริษัทเทคโนโลยีที่เข้าข่าย 6 ราย ล่าสุดมีรายงานว่าแอปเปิลพยายามชี้แจงในส่วนของเบราว์เซอร์ Safari ว่าไม่ได้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างที่ถูกระบุ
กรณีของแอปเปิลนั้น มีบริการ 3 อย่างที่ถูกระบุว่าเป็น Gatekeeper คือ iOS, App Store และ Safari ทำให้แอปเปิลต้องเปิดให้ใช้สโตร์ภายนอกโหลดแอปได้ และต้องให้ใช้เอ็นจินอื่นของเบราว์เซอร์ได้นอกเหนือจาก WebKit กำหนดภายในมีนาคม 2024
Thierry Breton กรรมาธิการยุโรปด้านตลาดในสหภาพยุโรป หนึ่งในสมาชิกคณะกรรมาธิการยุโรป 27 คน ออกมาให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยสเตอร์ว่าควรเปิด ecosystem ของตัวเองให้คู่แข่ง ตามแนวทางของกฎหมาย DMA
Breton พูดถึงบริการสำคัญๆ ที่แอปเปิลยังผูกกับตัวเอง เช่น Wallet, App Store, และเบราว์เซอร์ ขณะที่ประกาศของกรรมาธิการยุโรปนั้นระบุว่าแอปเปิลมีสถานะเป็น gatekeeper ในบริการระบบปฎิบัติการ iOS, เบราว์เซอร์ Safari, และ App Store
Breton ให้สัมภาษณ์ครั้งนี้หลังพบกับ Tim Cook ก็อาจจะเป็นท่าทีว่าคณะกรรมาธิการยุโรปยังแข็งกร้าวกับบริษัทเทคขนาดใหญ่ต่อไป
เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการยุโรปเข้าสอบสวน Microsoft หลัง Salesforce ที่เป็นเจ้าของ Slack ร้องเรียนว่าอาจเข้าข่ายผูกขาด เหตุ Microsoft พ่วง Teams เข้ามาในชุด Microsoft 365 ล่าสุด Microsoft ยอมขาย Microsoft 365 แบบไม่พ่วง Teams แล้ว
Microsoft ระบุว่าบริษัทจะขาย Microsoft 365 แบบไม่พ่วง Teams ในราคาที่ถูกลง รวมถึงจะพยายามทำให้ Microsoft 365 และ Office 365 ทำงานร่วมกับเครื่องมือของคู่แข่งได้ง่ายขึ้นด้วย
ดีลที่ Adobe ประกาศซื้อกิจการ Figma ด้วยมูลค่า 20,000 ล้านดอลลาร์ เริ่มถูกหน่วยงานกำกับดูแลในประเทศต่าง ๆ มาสอบสวนมาเป็นการผูกขาดหรือไม่ ล่าสุด คณะกรรมการยุโรป หรือ European Commission ประกาศเตรียมทำการสอบสวนเต็มรูปแบบ หลังจากประเมินขั้นต้นว่าอาจเป็นการผูกขาดตลาด
หน่วยงานกำกับดูแลการผูกขาดการค้าของ EU มองว่าดีลนี้ทำให้ Adobe สามารถควบคุมตลาดในระดับโลก ให้ลดการแข่งขัน ลูกค้ามีตัวเลือกซอฟต์แวร์ออกแบบงานน้อยลง โดยทาง EU จะดูรายละเอียดว่าหากดีลนี้สำเร็จ ลูกค้าจะยังมีทางเลือกอยู่มากพอหรือไม่
คณะกรรมการยุโรป (European Commission) ประกาศเข้าสอบสวนไมโครซอฟท์อย่างเป็นทางการ (formal investigation) จากกรณีการพ่วง Microsoft Teams ไปกับ Office 365/Microsoft 365 อาจละเมิดกฎหมายด้านการแข่งขันของยุโรป
การสอบสวนนี้เริ่มจากการร้องเรียนของคู่แข่ง Slack มาตั้งแต่ปี 2020 และช่วงต้นปีนี้ มีข่าวลือว่าไมโครซอฟท์อาจยอมหยุดพ่วง Teams เพื่อแลกกับที่คณะกรรมการยุโรปไม่เข้ามาสอบสวน แต่สุดท้ายไม่เกิดขึ้น เพราะคณะกรรมการยุโรปเข้ามาสอบสวนอย่างเป็นทางการ