Doom Eternal เป็นเกมเด่นอีกเกมของปี 2020 ที่ประสบความสำเร็จทั้งเสียงวิจารณ์และยอดขาย (ทำรายได้ 450 ล้านดอลลาร์ในช่วง 9 เดือนแรก) จนต้องออก DLC เพิ่มถึง 2 ภาค
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวของ Doom Eternal สองเรื่อง อย่างแรกคือ id Software ออกอัพเดตสำหรับคอนโซล next-gen ให้รองรับ ray tracing บน PS5/Xbox Series X (แต่ไม่รวม Xbox Series S) สามารถเล่นได้ที่ความละเอียดสูงสุด 1080p/60FPS และยังมีโหมดกราฟิก 120FPS ที่ความละเอียด 1800p (ไม่เปิด ray tracing) แถมกรณีของการเล่นบน PS5 ก็รองรับ adaptive trigger บนจอย DualSense อีกด้วย
ไมโครซอฟท์เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ด้านเกมมิ่งใน Windows 11 ทั้งหมด 3 อย่าง โดยสองอย่างแรกเป็นการยกฟีเจอร์จาก Xbox Series X|S มาใช้กับพีซีด้วย
Auto HDR เป็นการปรับภาพของเกมให้รองรับ HDR อัตโนมัติ แม้เกมนั้นไม่ได้ออกแบบกราฟิกมาเป็น HDR ก็ตาม ไมโครซอฟท์บอกว่ารองรับเกมที่เขียนด้วย DirectX 11 ขึ้นไป (ในเดโมใช้เกม Skyrim) และนักพัฒนาไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเลย
หลังการเปิดตัว FidelityFX Super Resolution ฟีเจอร์อัพสเกลให้ความละเอียดภาพสูงขึ้นโดยไม่เปลืองพลังประมวลจีพียูของฝั่ง AMD ซึ่งแม้ว่าการประกาศในครั้งแรกได้ระบุไว้ว่าจะรองรับจีพียูย้อนหลังถึงตระกูล Radeon RX 500 เท่านั้น
แต่น่าจะมีเกมเมอร์บางท่านที่ใช้จีพียูรุ่นเก่ากว่า RX 500 เพียงเล็กน้อยเกิดความสงสัย ว่าเหตุใดจีพียูตระกูล Radeon RX 400 ซึ่งใช้สถาปัตยกรรม Polaris เช่นเดียวกันกับ RX 500 จึงไม่เข้าข่ายจีพียูที่สามารถใช้งาน FSR ได้ มาถึงตอนนี้ก็มีคำตอบที่น่าจะชัดเจนจากทาง AMD แล้วครับ
NVIDIA ให้ข้อมูลว่ากำลังร่วมมือกับ Valve นำฟีเจอร์ DLSS (Deep Learning Super Sampling) ของ GeForce RTX มายังแพลตฟอร์มลินุกซ์ด้วย
ปัจจุบันเกมบน Steam จำนวนหนึ่งใช้เทคโนโลยี Proton ของ Valve เพื่อให้นำเกมจากวินโดวส์มารันบนลินุกซ์ได้ง่ายขึ้น (ข้างใต้เป็น Wine อีกที) สิ่งที่ NVIDIA ทำคือร่วมมือกับ Valve ให้เอนจิน Proton รองรับ DLSS ในตัวเลย
Valve ยังไม่เปิดเผยว่ามีเกมไหนบ้างที่รองรับ DLSS บนลินุกซ์แล้ว แต่จากฐานข้อมูล ProtonDB ที่ผู้ใช้ร่วมกันรายงานข้อมูลเข้ามาเอง พบว่ามีเกมบนลินุกซ์ประมาณ 30 เกมแล้วที่รองรับ
ตัวแทนของไมโครซอฟท์ยืนยันข้อมูลกับ IGN ว่า Xbox Series X|S จะรองรับ AMD FidelityFX Super Resolution เทคนิคการขยายภาพ upscaling ที่เพิ่งเปิดตัวในงาน Computex 2021
ข่าวนี้ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจนัก เพราะ Xbox Series X|S ใช้จีพียู AMD รุ่นล่าสุดที่เป็น RDNA 2 อยู่แล้ว และตัว FidelityFX เองก็เป็นเทคนิคทางซอฟต์แวร์ เปิดโอเพนซอร์ส และย้อนกลับไปใช้กับจีพียู NVIDIA Pascal (ที่ไม่รองรับ DLSS ของฝั่ง NVIDIA) ได้ด้วย
ฝั่งของ PS5 ที่ใช้จีพียู AMD เหมือนกันก็น่าจะรองรับ FidelityFX เช่นกัน แต่โซนี่ยังไม่ประกาศข้อมูลใดๆ ในตอนนี้
AMD จะปล่อยฟีเจอร์ FidelityFX ให้กับผู้ใช้พีซีในวันที่ 22 มิถุนายนนี้
Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA ตอบคำถามสื่อในประเด็นคู่แข่ง AMD ออกจีพียูให้ชิปมือถือซัมซุง ใช้สถาปัตยกรรม RDNA 2 รองรับ ray tracing
Huang บอกว่า NVIDIA ยังไม่ทำ ray tracing บนมือถือในตอนนี้ ด้วยเหตุผลเรื่องข้อจำกัดทางฮาร์ดแวร์ เขาบอกว่าเกมที่รองรับ ray tracing มีขนาดใหญ่ ข้อมูลมีขนาดใหญ่ ในอนาคตคงมีวันที่ NVIDIA จะทำ แต่ยังไม่ใช่ในตอนนี้
เขามองว่าทางออกที่เหมาะกับการเล่นเกม ray tracing ในตอนนี้คือผ่านบริการ cloud gaming อย่าง GeForce Now มากกว่า ซึ่งปัจจุบันมีผู้เล่น 10 ล้านคน และมีเกมรองรับกว่า 1,000 เกมแล้ว
AMD เปิดตัว FidelityFX Super Resolution หรือ FSR ที่ใช้เทคนิกการอัพสเกลแบบ linear กับ non-linear ประสานกัน ให้ผลคล้ายกับ DLSS ของฝั่ง NVIDIA โดยไม่ต้องใช้แมชชีนเลิร์นนิ่ง
พร้อมโชว์ตัวอย่างเกม Godfall ความละเอียด 4K ตั้งค่าระดับ Epic เปิด ray tracing บน RX 6800 XT เฟรมเรตเพิ่มขึ้นจาก 49 fps บนความละเอียดแบบ native เป็น 78 fps หรือเพิ่มขึ้นกว่า 59% เมื่อเปิด FSR โหมด Ultra Quality
กลายเป็นวิวาทะในวงการเกมคอนโซลอีกรอบ หลัง Bioware เปิดเผยข้อมูลเทคนิคของเกม Mass Effect: Legendary Edition ภาครีมาสเตอร์ ที่จะเริ่มขาย 14 พฤษภาคมนี้
ประเด็นสำคัญอยู่ที่พลังกราฟิกของคอนโซลรุ่นท็อป ที่ได้เฟรมเรตสูงสุดไม่เท่ากันในโหมดเน้นเฟรมเรต (Favor Framerate)
หากเล่นที่ความละเอียด 4K (Favor Quality) คอนโซลทั้งสองจะรันที่ 60 fps เท่ากัน
แนวทางด้านเกมของไมโครซอฟท์ในคอนโซลยุคนี้คือ รองรับเกมเก่าย้อนไปตั้งแต่ Xbox รุ่นแรก และเพิ่มประสิทธิภาพของเกมเก่าด้วยพลังคอนโซลเจนใหม่ เช่น การใช้ AI ช่วย upscale กราฟิกเดิมให้คมขึ้น หรือการเปิด Auto HDR เป็นต้น
อีกฟีเจอร์หนึ่งที่เข้าข่ายนี้คือ FPS Boost ที่ช่วยดันเฟรมเรตของเกมยิง FPS ให้สูงขึ้น หลังจากทดสอบกับเกมกลุ่มเล็กๆ มาสักพัก ไมโครซอฟท์ก็ประกาศเปิดใช้ FPS Boost ชุดใหญ่ให้ 74 เกม (รวมเป็นทั้งหมด 97 เกมแล้ว)
ตัวอย่างเกมดังๆ ที่ได้ฟีเจอร์นี้คือ Battlefield V, Assassin’s Creed Unity, Anthem, Far Cry 5, The Elder Scrolls V, Watch Dogs 2 เป็นต้น ในกรณีของบางเกมอย่าง Titanfall 2 หรือ Metro: Last Light สามารถดันเฟรมเรตไปได้ถึง 120 Hz
วงการเกมยุคปี 2020 ให้ความสำคัญกับเรื่องเฟรมเรตมากขึ้นเรื่อยๆ และตอนนี้เกมที่ประกาศตัวว่ารองรับ 120 FPS ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน
ประเด็นนี้ลามมาถึงวงการคอนโซลที่กำลังจะเปลี่ยนข้ามรุ่น ล่าสุดมีคนเปรียบเทียบเกมที่รองรับ 120 FPS ทั้งสองฝั่ง พบว่าตอนนี้ Xbox Series X เหนือกว่าที่จำนวน 15 เกม ส่วนฝั่ง PS5 มีจำนวน 5 เกม (ตัวเลขย่อมเปลี่ยนแปลงได้ในภายหลัง)
เกมทั้ง 5 เกมของฝั่ง PS5 คือ Call of Duty Black Ops Cold War, Devil May Cry 5 Special Edition, Dirt 5, Monster Boy and the Cursed Kingdom, Rainbow Six Siege ซึ่งทั้งหมดเป็นเกมข้ามแพลตฟอร์ม และเล่นได้บน Xbox Series X ด้วย
Phil Spencer หัวหน้าทีม Xbox ให้สัมภาษณ์กับ Wired มีประเด็นน่าสนใจว่า ถึงแม้ทั้ง Xbox Series X และ PS5 รองรับการเล่นเกมในระดับ 8K แต่ตัวเขามองว่า 8K ไม่จำเป็นในทางปฏิบัติ
Spencer บอกว่า 8K เป็นเทคโนโลยีที่น่าไปให้ถึง แต่ตอนนี้ยังไม่มีหน้าจอแสดงผลระดับ 8K แพร่หลาย และอีกหลายปีกว่าโลกจะไปถึงระดับ 8K หรืออาจไม่มีวันนั้นด้วยซ้ำ
เขามองว่าเทคโนโลยีการแสดงผลที่จับต้องได้มากกว่าคือ หน้าจอ 120Hz ซึ่งใช้งานได้จริงแล้วสำหรับคนที่ต้องใช้มันจริงๆ
เกมเด่นอีกเกมที่น่าจับตาช่วงนี้คือ Crysis Remastered ที่ออกขายในจังหวะที่ตลาดจีพียูกลับมาร้อนแรงอีกครั้งพอดี แถมมีโหมด Can It Run Crysis ที่สร้างกระแสท้าทายประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์ด้วย
ตอนนี้เริ่มมีรีวิวออกมาจากสื่อหลายสำนัก ที่น่าสนใจคือ Digital Foundry เจ้าพ่อแห่งการรีวิวกราฟิกเชิงลึก ที่ออกรีวิวด้านเทคนิคของ Crysis Remastered เวอร์ชันพีซีมาโดยเฉพาะ (เกมมีเวอร์ชัน Switch, Xbox One, PS4 ด้วย)
NVIDIA ประกาศใน release notes ของไดรเวอร์ GeForce Game Ready เวอร์ชั่น 456.38 ว่าจะไม่ออกซอฟต์แวร์ซัพพอร์ตที่เป็นแบบ implicit สำหรับเทคโนโลยี SLI ในการ์ดจอรุ่น RTX 2xxx หรือก่อนหน้า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2021 เป็นต้นไป
Steffen Halbig หัวหน้าโครงการ Crysis Remastered ออกมาให้สัมภาษณ์ถึงโหมด Can it Run Crysis? ที่อัดกราฟิกมาหนักๆ เพื่อทดสอบสมรรถนะเครื่อง ว่าปัจจุบันนี้ยังไม่มีการ์ดจอรุ่นไหนสามารถรันโหมดนี้ ที่ความละเอียด 4K @ 30FPS ไหวเลย
เขาอธิบายว่าในกราฟิกที่นำมาโชว์ทางโซเชียล เบื้องหลังการเรนเดอร์คือมุมมองที่ไม่จำกัดระยะการมองเห็น (unlimited view distances), ไม่มีการนำกราฟิกโผล่มาแสดงผลทีหลัง (no pop ups of assets) และไม่มีการเปลี่ยนความละเอียดของวัตถุเมื่อเปลี่ยนระยะ (no level of detail changes) นั่นแปลว่าต้นไม้ที่อยู่ไกลมากๆ ก็จะถูกเรนเดอร์เต็มรูปแบบตั้งแต่แรกสุด ทำให้กินทรัพยากรมาก แต่นั่นก็คือสิ่งที่ผู้เล่นต้องการทดสอบเครื่องตัวเอง
ใกล้วันวางขาย Crysis Remastered บนพีซีและคอนโซล 18 กันยายนนี้ (เวอร์ชัน Switch ขายไปก่อนแล้วตั้งแต่ ก.ค.) ทำให้ Crytek ออกคลิปโปรโมทมา "โชว์ของ" ชุดใหญ่
ตัวหลักคือ Tech Trailer ที่โชว์ความละเอียดระดับ 8K (4320p @ 60 FPS ถ้าสามารถดูกันไหว) พร้อมฟีเจอร์กราฟิกของเกมยุคใหม่ๆ เช่น global illumination, real time reflections, ray tracing รวมถึง[โหมดความละเอียด 8K Can it Run Crysis? ที่เคยออกข่าวมาก่อนหน้านี้
หลังจากเปิดตัว Crysis Remastered ที่เป็นการรีมาสเตอร์หนึ่งในเกม FPS แห่งยุค แต่เมื่อเกมขายแบบมัลติแพลตฟอร์ม ชาว PC จึงสงสัยว่าเอกลักษณ์ของการกินสเปครีดประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์เหมือนสมัยออกมาครั้งแรกจะยังมีอยู่หรือไม่
ล่าสุด ทวิตเตอร์ของ Crysis คลายความกังวลนั้นด้วยการปล่อยภาพตัวอย่างของโหมด "Can it Run Crysis?" ที่สร้างมาเค้นประสิทธ์ภาพของฮาร์ดแวร์ให้ถึงที่สุดด้วยการตั้งค่าที่ไร้ขีดจำกัด โหมดนี้มีเฉพาะบน PC เท่านั้น
Crysis Remastered วางขายแล้วบน Nintendo Switch และจะวางขายบน PC, PS4, Xbox One 18 กันยายนนี้
มาถึงตอนนี้ยังไม่มีใครได้ลองใช้ GeForce RTX ซีรีส์ 30 กันอย่างจริงจังมากนัก (สินค้าจริงวางขาย 17 กันยายน ตอนนี้สื่อที่ได้ของไปรีวิวคงทดสอบกันอยู่)
NVIDIA จึงถือโอกาสออกคลิปเปรียบเทียบระหว่าง GeForce RTX 3080 กับรุ่นพี่ระดับเดียวกัน GeForce RTX 2080 Ti ให้ดูกันชัดๆ ด้วยการเล่นเกม Doom Eternal ซึ่งเป็นเกมที่เอนจินสามารถดันเฟรมเรตไปได้ถึง 1000 FPS
ในงานเปิดตัว GeForce RTX Series 30 เมื่อคืนนี้ NVIDIA ยังเปิดตัวโซลูชันด้านเทคโนโลยีกราฟิกอื่นๆ ด้วย เช่น NVIDIA Broadcast App สำหรับถ่ายทอดเกม
เทคโนโลยีอีกตัวที่น่าสนใจคือ NVIDIA Reflex ซึ่งเป็นชุดของเทคโนโลยีทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ที่ออกแบบมาเพื่อลด latency ของเกม (หมายถึง system latency คือการดีเลย์ที่เกิดขึ้นในเครื่องพีซีของเรา จากเมาส์คลิกไปจนถึงภาพแสดงบนจอ โดยไม่เกี่ยวกับ latency ของเครือข่าย) โดยมุ่งไปที่เกมสาย e-sport เป็นหลัก
Mark Grossman หัวหน้าฝ่ายสถาปัตยกรรมจีพียู Xbox Series X ไปพูดที่งานสัมมนาด้านหน่วยประมวลผล Hot Chips เล่าถึงสถาปัตยกรรมของ Xbox Series X
ประเด็นที่น่าสนใจคือ Grossman ยอมรับว่าถึงแม้จีพียู Big Navi ของ Xbox Series X รองรับการประมวลผล ray tracing ที่ระดับฮาร์ดแวร์ แต่นักพัฒนาเกมในตอนนี้ยังอยากใช้วิธีการเรนเดอร์แบบเดิมๆ ที่คุ้นเคยมากกว่า ซึ่ง Grossman ก็เชิญชวนให้นักพัฒนาเกมลองใช้ ray tracing กับสภาพแวดล้อมบางส่วนไปก่อนก็ได้
Halo Infinite ถือเป็นเกมเด่นสำหรับการเปิดตัว Xbox Series X ช่วงปลายปีนี้ (แม้ลง Xbox One และพีซีด้วย) แต่จากการโชว์คลิปเกมเพลย์ครั้งแรกเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ไมโครซอฟท์ก็ถูกวิจารณ์หนักว่า "กราฟิกไม่สมราคาคุย" ในฐานะเกมเด่นของคอนโซลยุคหน้า
ประเด็นเรื่องกราฟิกที่ Halo Infinite ถูกวิจารณ์มีหลากหลาย ทั้งเรื่องคุณภาพของภาพระหว่างการสตรีมเปิดตัวที่ไม่ชัดนัก (ไมโครซอฟท์อัพโหลดคลิปเดโมแบบชัดๆ ลง YouTube หลังสตรีม), รายละเอียดของ texture บางจุดที่ดูยังทำไม่เสร็จ ไปจนถึงทิศทางการออกแบบตัวละครในเกมที่ดูเก่าและตกยุคเกินไป ฯลฯ
ข่าวสำคัญของแวดวงกราฟิกปีนี้คือ DirectX 12 Ultimate ที่เป็น API กราฟิกเดียวกันของทั้ง Xbox Series X และพีซี (เริ่มใช้ใน Windows 10 v2004 ที่ออกเดือนที่แล้ว)
ล่าสุด NVIDIA ออกไดรเวอร์ GeForce Game Ready เวอร์ชัน 451.48 ที่รองรับ DirectX 12 Ultimate เรียบร้อยแล้ว ถือเป็นจีพียูค่ายแรกที่รองรับ DX12 Ultimate อย่างเป็นทางการ
ฟีเจอร์ใหม่ของ DX12 Ultimate ได้แก่ Ray Tracing, Variable Rate Shading, Mesh Shading, Sampler Feedback ซึ่งแน่นอนว่ากว่าเราจะได้ใช้ DX12 Ultimate กันจริงจัง ก็ต้องรอเกมชุดใหม่ที่พัฒนาด้วย DX12 Ultimate ที่จะเปิดตัวพร้อม Xbox Series X ในช่วงปลายปีนี้
GIMP ออกเวอร์ชันย่อย 2.10.20 (ช่วงหลังออกเวอร์ชันย่อยทุกประมาณ 4-5 เดือน โดยมีฟีเจอร์ใหม่ทุกเวอร์ชัน) มีของใหม่ดังนี้
ในข่าว Windows Terminal 1.0 ไมโครซอฟท์ประกาศว่าจะเรนเดอร์กราฟิกของแอพจากลินุกซ์ด้วย GPU ด้วย เบื้องหลังของมันคือสิ่งที่อาจจินตนาการไม่ถึงเมื่อหลายปีก่อนอย่าง DirectX บนลินุกซ์ (ในความหมายนี้คือลินุกซ์ที่ติดตั้งบน Windows Subsystem for Linux 2 หรือ WSL 2)
ไมโครซอฟท์อธิบายว่าพัฒนาเทคนิค GPU paravirtualization (GPU-PV) บนวินโดวส์มาหลายปีแล้ว และใช้งานในโปรแกรมฝั่งวินโดวส์หลายตัว เช่น Windows Defender Application Guard, Windows Sandbox และอีมูเลเตอร์ของ Hololens
ปกติแล้วคนที่ใช้จีพียูอินเทล จะต้องติดตั้งไดรเวอร์เวอร์ชันของ OEM (ผู้ผลิตโน้ตบุ๊กหรือผู้ผลิตบอร์ด) ด้วยเหตุผลเรื่องการคอนฟิกและปรับแต่งให้เข้ากันได้กับฮาร์ดแวร์ทั้งระบบ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ OEM มักไม่ค่อยขยันอัพเดตไดรเวอร์จีพียูสักเท่าไรนัก
ล่าสุด อินเทลแก้ปัญหานี้ด้วยการเปิดอัพเดตไดรเวอร์ตรง (generic driver) ผู้ที่อยากได้ไดรเวอร์จีพียูอินเทลเวอร์ชันล่าสุด สามารถดาวน์โหลดได้จาก หน้าเว็บของอินเทล โดยตรง (รองรับซีพียูอินเทล 6th Gen ขึ้นไป และต้องเป็น Windows 10 v1709 ขึ้นไป)
Minecraft ประกาศรองรับฟีเจอร์ Ray Tracing มาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2019 เวลาผ่านมาเกินครึ่งปี ในที่สุดก็ได้เวลาเปิดทดสอบ Beta กันในวันพรุ่งนี้ 16 เมษายน 2020
Minecraft with RTX รองรับเฉพาะจีพียู GeForce RTX เท่านั้น ตอนนี้ยังมีเฉพาะเวอร์ชัน Windows 10 โดยนอกจาก Ray Tracing แล้วยังรองรับฟีเจอร์ DLSS 2.0 ที่ใช้ AI ช่วยประเมินการเรนเดอร์ด้วย
เวอร์ชันทดสอบ Beta ยังเปิด RTX ให้กับ Creator Worlds จำนวน 6 world เท่านั้น สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีจาก Minecraft Marketplace