ต่อเนื่องจากที่แบรนด์ผู้ผลิตนาฬิกาหรูสัญชาติสวิตเซอร์แลนด์ออกมาประกาศว่ากำลังหาแนวร่วมทำสมาร์ทวอทช์ไปชนกับแอปเปิล ล่าสุดมีข้อมูลเพิ่มเติมของโปรเจคนี้ออกมาแล้ว
Jean-Claude Biver ซีอีโอของ TAG Heuer บอกกับผู้สื่อข่าวว่าบริษัทกำลังจะเปิดตัวสมาร์ทวอทช์ตัวแรกในงาน Baselworld วันพฤหัสนี้ ซึ่งได้ความร่วมมือจากอินเทล และกูเกิลในการพัฒนาหน่วยประมวลผล และซอฟต์แวร์ภายใน แต่ตัวเรือนออกแบบโดย TAG Heuer ดังเดิมตามข่าวที่ออกมาก่อนหน้า
VentureBeat อ้างแหล่งข่าวใกล้ชิดสองแหล่งระบุว่าแอปเปิลเตรียมใช้ชิปอินเทลเป็นโมเด็มสำหรับไอโฟนในปีหน้าแทนที่ชิป Qualcomm เดิม โดยจะใช้ XMM 7360 LTE-Advanced ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา
แหล่งข่าวระบุว่าวิศวกรของแอปเปิลทำงานร่วมกับวิศวกรของอินเทลมานานหลายเดือนแล้ว โดยทำงานในสำนักงานในเยอรมันเพราะเป็นสำนักงานที่ได้มาจากการเข้าซื้อบริษัท Infineon
ไม่แน่ชัดว่าแอปเปิลจะเปลี่ยนไปใช้โมเด็มอินเทลทั้งหมดเลยหรือไม่ แอปเปิลอาจจะเลือกรองรับชิปจากทั้งอินเทลและ Qualcomm ไปพร้อมๆ กันเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองกับผู้ผลิตชิป หรือหากมีผู้ผลิตรายใดพัฒนาตามกำหนดการของแอปเปิลไม่ได้ก็อาจจะไม่ได้เข้าสู่กระบวนการผลิตเลย
อินเทลเปิดตัวซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่ Xeon D เน้นสำหรับงานที่ต้องการการประมวลผลจำนวนมากในพื้นที่น้อยๆ, สตอเรจ, หรืองานเครือข่าย โดยตัวเปรียบเทียบของอินเทลก่อนหน้านี้คือ Atom Avoton ที่ออกมาสำหรับเซิร์ฟเวอร์และแนวทางการใช้งานใกล้เคียงกัน
ช่วงเปิดตัวมีสองรุ่น คือ 4 คอร์ 8 เธรด แคช 6MB และ 8 คอร์ 16 เธรด แคช 12MB ตัวคอร์ดเป็น Broadwell ใช้กระบวนการผลิต 14 นาโนเมตร ทั้งสองรุ่นรองรับแรม DDR4 128GB แบบ ECC ส่วนของ I/O ความเร็วต่ำจะแยกอยู่บนซิลิกอนคนละแผ่นแต่บรรจุมาในชิปเดียวกัน ตัวชิปปล่อยความร้อนสูงสุด 45 วัตต์ โดย I/O ทั้งหมดได้แก่
อินเทลได้เปิดตัว McAfee Mobile Security สำหรับสมาร์ทวอทช์ โดยจะถูกพรีโหลดกับ LG Watch Urbane LTE ตั้งแต่แรก
เมื่อเว็บไซต์ The Verge ถาม Brian Krzanich ซีอีโอของอินเทลว่าทำไมต้องมีซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสสำหรับนาฬิกาข้อมือด้วย เขาก็ตอบว่าอุปกรณ์ใดก็ตามที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายก็ควรต้องหวังให้มันได้รับการปกป้องอยู่ตลอดเวลา
ที่มา: The Verge
Brian Krzanich ซีอีโออินเทลให้สัมภาษณ์ถึงซีพียูรุ่นถัดไปรหัส Skylake โดยเขาบอกว่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้แกน Skylake จะมีตั้งแต่ชิปสำหรับอุปกรณ์พกพาระดับ Core M ไล่ไปยัง Core i3/i5/i7 จนถึงชิปสำหรับเซิร์ฟเวอร์อย่าง Xeon เลยทีเดียว (ก่อนหน้านี้อินเทลเคยประกาศแค่ว่าจะมี Core M Skylake แต่ไม่เคยพูดถึงชิประดับอื่นๆ)
Krzanich ยอมรับว่าบริษัทมีปัญหากับการผลิต Broadwell จนต้องเลื่อนมานานพอสมควร พอถึงรอบของ Skylake บริษัทจึงตัดสินใจไม่เลื่อนมันออกไปอีก ซึ่งก็ได้รับเสียงสนับสนุนเป็นอย่างดีจากผู้ผลิตพีซีทุกราย
ตอนนี้กำหนดการของ Skylake ที่อินเทลประกาศไว้คือ "ครึ่งหลังของปี 2015" และคาดว่าจะแถลงรายละเอียดในงาน Computex ที่ไต้หวันในเดือนมิถุนายน
Intel Security หรือ McAfee เดิม ประกาศความร่วมมือกับซัมซุง โดยจะพรีโหลดแอพ McAfee VirusScan Mobile มากับ Samsung Galaxy S6 และ S6 edge ด้วย
Henry Lee ตัวแทนฝ่ายความปลอดภัยของซัมซุงให้สัมภาษณ์ว่าการพรีโหลด McAfee จะช่วยป้องกันอันตรายให้กับลูกค้า ส่วนตัวแทนฝั่งอินเทลก็ให้ข้อมูลว่าไวรัสและมัลแวร์บนอุปกรณ์พกพาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการแฮ็กจากผู้ไม่ประสงค์ดี ดังกรณี Celebgate ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว
นอกจาก McAfee แล้ว ผู้ที่ได้ลองจับ Galaxy S6 เครื่องจริงก็ยืนยันข่าวพรีโหลดแอพจากไมโครซอฟท์ด้วย
หลังจากอินเทลเริ่มปล่อยชิปกราฟิก Iris Pro ออกมา ก็ดูเหมือนว่าจะจริงจังกับตลาดเกมพีซีมากขึ้น ในงาน GDC 2015 ครั้งนี้ นอกจากจะหยิบ Broadwell-K สำหรับเดสก์ท็อปมาโชว์แล้ว ยังเปิดโครงการใหม่สำหรับนักพัฒนาเกมในชื่อ Achievement Unlocked
Achievement Unlocked เป็นโครงการสนับสนุนนักพัฒนาเกมทั่วโลก โดยมุ่งไปที่การสร้างความร่วมมือกับนักพัฒนาเกมให้สร้างเกมที่เล่นได้ดีบนชิปของอินเทลตั้งแต่ Core i ไปจนถึง Atom โดยจะให้ความสนับสนุนตั้งแต่การให้คำแนะนำทางด้านเทคนิค และหาโอกาสในการเข้าสู่ตลาด รวมถึงจะมีงบสำหรับสนับสนุนภาคการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาเกม และงานอีเวนท์ต่างๆ อีกด้วย
อินเทลเปิดตัวซีพียู Core รุ่นที่ห้ารหัส Broadwell บนโน้ตบุ๊กไปแล้ว สิ่งที่หลายคนรอคอยคือเมื่อไร Core Broadwell รุ่นเดสก์ท็อปจะมาสักที
ที่งาน GDC 2015 อินเทลนำ Core Broadwell รุ่นเดสก์ท็อปมาโชว์เป็นครั้งแรก โดยรันประกอบกับจีพียู Iris Pro รุ่นล่าสุด และเผยข้อมูลว่าจะวางขายจริงช่วงกลางปีนี้ (mid-2015)
อินเทลยังให้ข้อมูลว่ากำลังร่วมพัฒนา DirectX 12 และ Vulkan เพื่อให้ทำงานบนฮาร์ดแวร์ของอินเทลได้อย่างเต็มที่
ที่มา - Intel Blog
Vulkan เพิ่งเปิดตัวไปไม่กี่วัน ตอนนี้ยังไม่มีชุดพัฒนาให้นักพัฒนาใช้งานจริง แต่ทาง Valve ก็ประกาศสัญญาว่าจะพัฒนาไดร์เวอร์สำหรับใช้งาน Vulkan บนกราฟิกของอินเทล นอกจากนี้เกมเอนจิน Source 2 ก็จะรองรับ Vulkan เช่นเดียวกับ Steam OS
ความได้เปรียบของชิปกราฟิกอินเทลคือซอร์สโค้ดและเอกสารค่อนข้างครบถ้วนกว่าชิปกราฟิกค่ายอื่นๆ มาก การที่ Valve เข้ามาพัฒนาไดร์เวอร์ Vulkan ให้จึงดูจะง่ายกว่าชิปยี่ห้ออื่นๆ
Valve ไม่ได้กำหนดช่วงเวลาที่ไดร์เวอร์จะออกมา ทางฝั่งอินเทลเองก็เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ร่วมกับ Khronos ในการเปิดตัว Vulkan ดังนั้นในระยะยาวน่าจะมีไดร์เวอร์จากทางอินเทลออกมา
มีคนไปพบ Lumia 520 ซึ่งใช้ "ซีพียูอินเทล" และรัน Windows Phone 8 (8.0.10532.0) กับ Lumia 1020 ซึ่งใช้ซีพียูอินเทลเช่นกัน แต่รัน Windows Phone 8.1 (8.10.12393.0) บน Geekbench โดยผู้ทดสอบไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นนักพัฒนาที่ Primate Labs บริษัทเจ้าของแอพ Geekbench นั่นเอง
ผลการทดสอบนี้ชี้ให้เห็นความเป็นไปได้ในสองเรื่อง คือ Lumia ใช้ชิปอินเทลอยู่ในระหว่างการพัฒนา และแอพทดสอบประสิทธิภาพเครื่อง Geekbench for Windows Phone อยู่ในระหว่างการทดสอบ
อนาคตจะได้เห็นมือถือสาย Windows ใช้ชิปของอินเทลอย่าง Atom x3 หรือเปล่านะ
อินเทลประกาศแนวทางการตั้งชื่อ Atom ใหม่ไปเมื่อวันก่อน วันนี้ก็เปิดตัวชิปรุ่นใหม่ทั้งหมดออกมาแล้ว โดยชิป SoFIA ที่รวมเอาโมเด็มไว้ในตัว มุ่งสำหรับโทรศัพท์ราคาต่ำกว่า 100 ดอลลาร์จะได้ชื่อเป็น Atom x3
ส่วนชิปรุ่นต่อไปคือ Cherry Trail จะได้ชื่อเป็น Atom x5 และ Atom x7 เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการประสิทธิภาพสูงขึ้น
อินเทลระบุว่าตอนนี้ผู้ผลิตที่สัญญาว่าจะออกสินค้าจากชิปตระกูลใหม่แล้วได้แก่ Acer, ASUS, Dell, HP, Lenovo, และ Toshiba โดยสินค้าชุดแรกน่าจะเปิดตัวภายในครึ่งปีแรกของปีนี้
ทางฝั่งชิปเครือข่ายอินเทลเปิดตัวโมเด็ม Intel XMM 7360 LTE-Advanced รองรับแบนด์วิดท์สูงสุด 450Mbps จากการใช้งานสามช่องสัญญาณ และรองรับการทำงานสองซิม
อินเทลปรับระบบรุ่นของ Atom จากเดิมที่เป็นตัวเลข ปรับเป็นตระกูลสามตระกูล ได้แก่ x3, x5, และ x7 แบบเดียวกับ Core i3, i5, i7 โดยแนวทางนี้น่าจะทำให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ว่ากำลังซื้อโทรศัพท์หรือแท็บเล็ตรุ่นไหนอยู่
ปัญหาชื่อซีพียูที่ซับซ้อนเคยเป็นปัญหาของอินเทลในยุคก่อน Core i ที่ลูกค้าต้องการฟีเจอร์บางอย่าง เช่น virtualization จำเป็นต้องค้นหาจากเว็บอินเทลทีละรุ่นว่ารุ่นใดรองรับบ้าง การจัดระเบียบที่ผ่านมาทำให้ลูกค้าเดาได้ง่ายขึ้นว่ารุ่นใหญ่มักจะมีฟีเจอร์มากกว่ารุ่นเล็กเสมอ
อินเทลจะเริ่มใช้แนวทางตั้งชื่อรุ่นนี้ในชิปรุ่นต่อไป
ที่มา - Intel
The Linux Foundation องค์กรดูแลการพัฒนาเคอร์เนลลินุกซ์รายงานผลการพัฒนาประจำปี ครอบคลุมระยะเวลาพัฒนาจากรุ่น 3.11 ถึง 3.18
สิบบริษัทแรกที่ส่งโค้ดเข้ามายังลินุกซ์มากที่สุด ได้แก่ อินเทล, เรดแฮท, Linaro, ซัมซุง, ไอบีเอ็ม, SUSE, Texas Instruments, Vision Engraving Systems, กูเกิล, และ Renesas โดยอินเทลขึ้นมาที่หนึ่งจากการส่งโค้ดรวม 10,000 ชุด แนวโน้มอีกอย่างหนึ่งคือนักพัฒนาที่ได้รับค่าจ้างจากบริษัทเพื่อให้ส่งโค้ดเข้ามามีสัดส่วนสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยตอนนี้มากกว่า 80% ของนักพัฒนาได้รับค่าจ้างจากบริษัท
มีรายงานจาก JP Morgan Securities เผยว่าอินเทลมีแผนจะขายหุ้นทั้งหมดของ Imagination Technologies ผู้ผลิตจีพียูบนอุปกรณ์พกพาซีรีส์ PowerVR คู่แข่งรายสำคัญของจีพียูซีรีส์ Adreno จาก Qualcomm
ในรายงานที่ออกมา อินเทลมีแผนจะขายหุ้นจำนวนถึง 13.4 ล้านหน่วย หรือประมาณ 4.9% ของหุ้น Imagination Technologies ทั้งหมด ที่ซื้อมาตั้งแต่เมื่อปลายปี 2006 เพื่อใช้งานกับชิป Atom ในยุคนั้น
คาดกันว่าการเทขายหุ้นครั้งนี้น่าจะมาจากทิศทางของอินเทลช่วงหลังที่กำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้งานจีพียูของตัวเอง อย่างที่มีข่าวว่าชิป Atom รหัส Moorefield ตัวใหม่จะเปลี่ยนไปใช้จีพียู Intel HD ของตัวเองแบบเดียวกับที่ทำใน Atom รหัส BayTrail
นอกจากช่วงครึ่งหลังปีนี้เราจะได้เห็น Core M รหัส Skylake สำหรับอุปกรณ์พกพาแล้ว ฝั่งเดสก์ท็อปพีซีก็ไม่น้อยหน้า เพราะมีรายงานว่าอินเทลเตรียมแผนเปิดตัวซีพียูตัวแรงชุดใหม่สำหรับเดสก์ท็อปในรหัส Broadwell-E เช่นกัน แต่อาจจะมาช้าหน่อยเป็นช่วงต้นปี 2016 โน่น
รายละเอียดของ Broadwell-E บนเดสก์ท็อปยังไม่ออกมามากนัก คาดกันว่าจะมีรุ่นสูงสุดแปดคอร์ ปลดล็อกมาให้โอเวอร์คล็อกกันตั้งแต่ต้น TDP เท่ากันหมดที่ 140 วัตต์ โดยคาดว่ารุ่นท็อปจะเป็นซีรีส์ X ที่มีแปดคอร์ และซีรีส์ K ที่มีหกคอร์ ข่าวดีคือน่าจะยังใช้งานได้กับซ็อกเก็ต LGA 2011-v3 บนชิปเซ็ต X99 ได้ต่อไปครับ
ราคาตอนนี้เดาๆ กันว่าเริ่มต้นที่ 400 เหรียญ แพงสุดที่ 999 เหรียญ
ในงานสัมมนาเทคโนโลยี และอินเทอร์เน็ตของ Goldman Sachs (งานที่ Tim Cook พูดถึง Apple Watch) Brian Krzanich ซีอีโออินเทลก็มาประกาศแผนต่อไปของซีพียูรุ่นใหม่ในซีรีส์ Core M ด้วย
โดย Krzanich บอกว่าในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ Core M โฉมใหม่จะมาพร้อมกับการเปลี่ยนไปสู่สถาปัตยกรรม Skylake (น่าจะเป็นตัวแรกเลย) ซึ่งจะปรับปรุงด้านกราฟิกมากขึ้นจากรุ่นแรก เพิ่มการรองรับเทคโนโลยีกล้องสามมิติ RealSense 3D รุ่นที่สอง รวมถึงจะรองรับทั้ง Windows 10, Android และ Chrome OS
ส่วนการเปลี่ยนแปลงด้านการออกแบบนั้น Core M จะทำให้สามารถออกแบบตัวเครื่องได้บางขึ้นไปอีก จากตอนนี้ที่บางสุดปาเข้าไปถึง 7.2 มม. แล้ว
Thomas Edison เกิดวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1847 วันนี้ (ตามเวลาสหรัฐฯ) ทาง Sparkfun ก็ถือโอกาสฉลองครบรอบด้วยการเปิดขายบอร์ด Edison ทั้งชุด 13 แบบที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ยังมีบอร์ด breakout ของอินเทลเองอีกสองแบบคือ บอร์ด Arduino และบอร์ด mini breakout
เฉพาะบอร์ดเสริมทั้ง 13 บอร์ดถ้าไม่ซื้อแบบรวมชุดจะอยู่ที่ 310.35 ดอลลาร์ไม่รวม Edison อีก 49.95 ดอลลาร์
ก่อนหน้านี้ Edison มีความได้เปรียบบอร์ด Raspberry Pi ที่เป็นพลังประมวลผลสูงกว่า แถมมีแรม 1GB ตอนนี้ Raspberry Pi 2 ออกมา ความได้เปรียบสำคัญคงเป็นเรื่องของขนาดที่ยังเล็กกว่ามากครับ
ที่มา - Sparkfun
ข่าวดีสำหรับคนชอบของแรงขนาดเล็กๆ หลังจากอินเทลประกาศเพิ่มรุ่นของ NUC พีซีขนาดจิ๋วรุ่นใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวพร้อมกับซีพียูรุ่นที่ 5 ของ Core i ในรหัส Broadwell โดยมี Core i7 มาให้เลือกแล้ว
โมเดลที่ว่ามาในรหัส NUC5i7RYH ใช้ซีพียู Core i7-5557U ดูอัลคอร์ความถี่ 3.1GHz บูสต์ได้เป็น 3.4GHz พร้อมกับจีพียู Intel HD 6100 ส่วนตัวเครื่องจะแชร์กับอดีตรุ่นท็อปที่ยังไม่วางขายอย่าง NUC5i5RYH ที่ใช้กล่องทรงสูง (แต่ก็ยังเล็กมากเมื่อเทียบกับเดสก์ท็อปทั่วไป) รองรับแรมสูงสุด 16GB และฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5"
ตามกำหนดการแล้ว NUC ที่ใช้ Broadwell จะเริ่มขายเดือนมีนาคม แต่รุ่น i7 จะขายช้าหน่อยเป็นไตรมาสสองครับ
เว็บไซต์ PCWorld อ้างแหล่งข่าวของตนว่า HoloLens อุปกรณ์ลักษณะแว่นตาที่สามารถแสดงผลภาพโฮโลแกรมได้ จะใช้ชิป Atom รหัส Cherry Trail ซึ่งถูกเลื่อนการเปิดตัวไปกลางปี 2015 เป็น CPU และ GPU
Cherry Trail ถูกผลิตภายใต้เทคโนโลยีการผลิต 14 นาโนเมตร และถูกวางให้เป็นรุ่นถัดไปต่อจากชิป Atom รหัส Bay Trail โดย Cherry Trail มีขนาดเล็กพอที่จะฝังกับโครงร่างที่โค้งมนของ HoloLens รวมถึงมากับความสามารถในการประมวลผลรู้จำ gesture ซึ่งจำเป็นต่ออุปกรณ์ลักษณะแว่นตาจากไมโครซอฟท์ในการรู้จำท่าทางและการเคลื่อนไหวของมือ การสนับสนุนการชาร์จไฟไร้สาย และการสตรีมวิดีโอไร้สาย WiDi
Brian Krzanich ประกาศในงานประชุมผู้ถือหุ้นว่าปีนี้อินเทลจะหันมาสนใจกับการทำกำไรจากชิปฝั่งโมบายมากขึ้นหลังจากปีที่แล้วเน้นการชิงส่วนแบ่งเป็นหลัก โดยระบุว่าอินเทลไม่จำเป็นต้องเร่งขยายส่วนแบ่งตลาดเหมือนปีที่ผ่านมาอีกแล้ว ปีนี้ความสนใจจึงเป็นเรื่องของการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ
ปีที่แล้วอินเทลขายชิป Atom สำหรับแท็บเล็ตได้ 40 ล้านชุด เกินกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ แต่ยอดขายเหล่านี้มาจากการทุ่มเงินสนับสนุนให้ผู้ผลิตหันมาใช้ชิปอินเทล แผนกชิปโมบายของอินเทลจึงขาดทุนอย่างหนักในปีที่ผ่านมา ส่วนปีนี้จะลดต้นทุนของแผนกโมบายลงไป 800 ล้านดอลลาร์ ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากชิป SoFIA ที่น่าจะวางขายได้ปีนี้ จะมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าเดิม
คดีบริษัทไอทีขนาดใหญ่สร้างเครือข่ายพันธมิตรที่จะไม่ชิงตัวพนักงานระหว่างบริษัท ทำให้กลุ่มพนักงานร่วมกันฟ้องแบบกลุ่ม ตอนนี้อีกสี่บริษัทตอบรับข้อเสนอจ่ายค่าเสียหาย 415 ล้านดอลาร์ เพิ่มขึ้นจากข้อเสนอยุติคดีในปีที่แล้วที่เสนอไว้ 324.5 ล้านดอลลาร์ แต่ผู้พิพากษาไม่รับข้อเสนอนี้ ข้อเสนอใหม่ที่เพิ่มค่าเสียหายนี้ต้องรอการพิจารณาของผู้พิพากษาอีกครั้ง
อินเทลออกแถลงการณ์ระบุว่าบริษัทยืนยันว่าไม่ได้ทำผิดกฎหมายอะไร แต่เลือกที่จะเสนอเงินยุติคดีเพื่อเลี่ยงความเสี่ยง
อินเทลรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 4 ของปี 2014 มีรายได้เพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบกับปีก่อนอยู่ที่ 14,721 ล้านดอลลาร์ และมีกำไรสุทธิ 3,661 ล้านดอลลาร์
รายได้ส่วนธุรกิจซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์เติบโตสูงมากในไตรมาสที่ผ่านมาถึง 25% ขณะที่กลุ่มพีซีเติบโต 3% และกลุ่ม Internet of Things เติบโต 10%
ที่มา: อินเทล
ชิปรหัส Broadwell เพิ่งเริ่มเปิดตัวกับโน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ได้ไม่กี่รุ่น ข่าวหลุดของชิปตัวต่อไปในรหัส Skylake ที่จะเป็นช่วง tock ของอินเทลบนสถาปัตยกรรมขนาด 14 นาโนเมตรก็มาจ่อรอแล้ว
เริ่มต้นด้วยสเปคของ Skylake ฝั่งเดสก์ท็อปจะเปลี่ยนซ็อกเก็ตซีพียูเป็น LGA 1151 ใช้งานร่วมกับชิปเซ็ตซีรีส์ 1xx ซึ่งรองรับแรม DDR4 และพอร์ต Thunderbolt รุ่นใหม่แล้ว ส่วนฟีเจอร์ที่เพิ่มเข้ามามีดังนี้
ในที่สุดขาใหญ่วงการพีซีอย่างอินเทลก็ลงมาเล่นในตลาดพีซีขนาดจิ๋วอย่างเต็มตัวแล้ว หลังจากบนเวที CES 2015 ได้เปิดตัว Intel Compute Stick หรือพีซีขนาดราวกับแฟลชไดรฟ์ที่ใช้ Atom เป็นแกนหลัก
สเปคของ Intel Compute Stick มาพร้อมกับ Atom ควอดคอร์รหัส Baytrail, หน่วยความจำภายใน 32GB, แรม 2GB มีพอร์ต micro USB และ USB ขนาดเต็มอย่างละหนึ่งพอร์ต ต่อกับหน้าจอได้ผ่านพอร์ต HDMI ตัวพีซีจิ๋วนี้สามารถรันได้ทั้ง Windows 8.1, Linux และ Android
อินเทลระบุว่าจะเริ่มขายปลายไตรมาสแรกของปีนี้ เปิดราคามาที่ 149 เหรียญ หรือประมาณ 4,900 บาท
ที่มา - Intel