Microsoft ได้ซื้อกิจการใหม่อีกแห่งหนึ่ง โดยรอบนี้เป็นการซื้อกิจการ Wand Labs ซึ่งเป็นบริษัทที่เกี่ยวกับภาษาธรรมชาติและปัญญาประดิษฐ์
Wand Labs นั้นเป็นบริษัทสตาร์ทอัพ สร้างโดย Vishal Sharma ในปี 2013 มีผลงานคือแอพสำหรับส่งข้อความ ซึ่งมีเทคโนโลยีเบื้องหลังทำให้มันทำงานได้ฉลาดขึ้น ดีลนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างการสนทนาเป็นแพลตฟอร์ม "conversation as a platform" และทีมงานของ Wand Labs นี้จะเข้ามาทำงานกับทีมงาน Bing เพื่อทำงานด้าน intelligent agents และ chat bot
David Ku จาก Information Platform Group ของ Microsoft กล่าวว่า เทคโนโลยีและความสามารถของคนจาก Wand Labs จะช่วยให้ตำแหน่งของเราในยุคเริ่มต้นของ conversational intelligence นั้นแข็งแกร่งขึ้น
วันนี้ Blog ของ Facebook เปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ชื่อ Deep Text ที่ช่วยให้ Facebook เข้าใจข้อความที่ผู้ใช้โพสต์ และการสนทนาโต้ตอบมากขึ้น Deep Text คือระบบ deep learning ที่เข้าใจข้อความหรือเนื้อหาได้ถูกต้องและใกล้เคียงกับมนุษย์ ใช้เวลาในการทำความเข้าใจกว่า 1,000 โพสต์ต่อวินาที ใช้งานได้มากกว่า 20 ภาษา
หลังจากที่ปัญญาประดิษฐ์ชื่อ Ms. Watson เป็นผู้ช่วยอาจารย์มหาวิทยาลัยไปแล้ว คราวนี้ถึงคราวอาชีพนักกฎหมายกันบ้าง ROSS Intelligence ผู้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์สำหรับงานกฎหมาย ประกาศเมื่อวันพฤหัสที่แล้ว (5 พ.ค. 59) ว่า บริษัทที่ปรึกษากฎหมายชื่อดังอย่าง Baker & Hostetler LLP ซึ่งมีที่ปรึกษากฎหมาย 940 คน ใน 14 สาขาทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จ้าง ROSS เป็นที่ปรึกษากฎหมายซึ่งเป็นปัญญาประดิษฐ์คนแรกของโลก (the world’s first artificially intelligent attorney)
ยุคนี้ แอพแชทหลายตัวเริ่มมีระบบบ็อตช่วยพูดคุยและตอบโต้กับผู้ใช้ (ตัวอย่างก่อนหน้านี้คือ LINE) ฝั่งไมโครซอฟท์ก็เปิดตัวระบบบ็อตสำหรับ Skype เช่นกัน
Skype Bots นำเสนอตัวเองผ่านการสนทนากับ Cortana ภายในแอพ Skype (นั่นคือเราจะมี Cortana เป็นผู้ช่วยส่วนตัวก่อน แล้ว Cortana จะเรียกบ็อตของบริการอื่นๆ ให้อีกที)
หลังจากที่สัปดาห์ที่แล้ว เว็บไซต์ Tech Insider ที่ร่วมมือกับนักวิจัยของ IBM ในการนำเอาตัวละครจากภาพยนตร์และหนังสือ Harry Potter มาวิเคราะห์เพื่อหานิสัย มาสัปดาห์นี้ก็ถึงคิวภาพยนตร์ยอดฮิตอย่าง Star Wars ที่ถูกนำไปวิเคราะห์เพื่อหานิสัยต่างๆ ซึ่ง Watson อ่านบุคลิกของตัวละครแต่ละตัวจากบทแล้ว ได้ข้อสรุปดังต่อไปนี้
ทุกคนคงรู้จัก Watson ว่าเป็นปัญญาประดิษฐ์ผู้ชนะเลิศรายการควิซโชว์ Jeopardy แต่คราวนี้ Watson มีบทบาทใหม่คือวิเคราะห์ตัวละครจากนิยายโด่งดังตลอดกาล แฮรี่ พอตเตอร์ โดยวิเคราะห์ตัวละครเปรียบเทียบระหว่างต้นฉบับจากหนังสือ กับตัวละครในภาพยนตร์
วิธีการทดสอบคือ ป้อนข้อความจากทั้งต้นฉบับในหนังสือนิยายและสคริปต์ภาพยนตร์ลงไป เพื่อรอดูว่า Watson จะสามารถวิเคราะห์ความแตกต่างอย่างไรบ้าง ซึ่ง Watson สามารถวิเคราะห์โทนเสียงเช่น กลัว สนุก มั่นใจ รวมถึงวิเคราะห์ว่าตัวละครใดมีลักษณะนิสัยอย่างไร ตามพื้นฐานนิสัยตามหลักจิตวิทยา
ข้อจำกัดของการทดลองนี้คือ นิยายมีปริมาณข้อความมากกว่าภาพยนตร์ ดังนั้น Watson จึงจับรายละเอียดจากนิยายมาวิเคราะห์ได้มากกว่า แต่เนื้อหาจากภาพยนตร์ก็มากพอที่จะแยกแยะเปรียบเทียบตัวละครทั้งสองเวอร์ชันได้ ผลลัพธ์นั้นน่าสนใจยิ่ง
คำเตือน: มีสปอยล์เนื้อหาสำหรับผู้ที่ไม่เคยอ่านหรือชมภาพยนตร์มาก่อน
Pantip.com เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ Auto Tag ระบบจัดแท็กให้กระทู้อัตโนมัติ โดยใช้เทคนิควิเคราะห์คำในกระทู้ตั้งแต่ตอนโพสต์ ระบบจะอ่านข้อความแล้วคัดเลือกแท็กที่น่าจะเกี่ยวข้องมานำเสนอให้ 15 แท็ก (Pantip ใส่ได้ 5 แท็ก) เป้าหมายเพื่อช่วยให้เจ้าของกระทู้เลือกแท็กอย่างแม่นยำขึ้น และลดภาระการดูแลกระทู้ของทีมงานลง
ระบบนี้เป็นความร่วมมือของ Pantip.com, บริษัท อินโนเวทีฟ เอ็กซ์ตรีมิสต์ (INOX) ผู้ดูแลระบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีให้ Pantip และภาควิชาวิศกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Google Search ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ เข้าใจความหมายของประโยคยาวๆ มากขึ้นอีกเยอะ
เริ่มจากเข้าใจการเปรียบเทียบขนาด ว่าอะไรใหญ่ที่สุด หรือยาวที่สุด (superlative) เช่น
ตามด้วยเข้าใจเรื่องช่วงเวลา (point of time) สามารถใช้คำค้นระบุช่วงเวลาได้
“What was the Royals roster in 2013?”
ผลของการจับเอางานวิจัยด้านการรู้จำและแยกแยะวัตถุในภาพของ Google มารวมพลังกับงานวิจัยด้านภาษาธรรมชาติของ Stanford ทำให้ได้ระบบซอฟต์แวร์ที่สามารถทำความเข้าใจองค์ประกอบของภาพถ่าย และบรรยายออกมาเป็นประโยคด้วยถ้อยคำที่เป็นธรรมชาติ
สำหรับคนที่คุ้นเคยกับ Unix คงคุ้นชินกับการใช้งานโดยป้อนคำสั่งเฉพาะเพื่อสั่งการระบบให้ทำงานต่างๆ แต่สำหรับ Jeff Pickhardt อดีตวิศวกรของ Google ผู้เบื่อหน่ายกับวิธีการเดิมๆ กับการใช้งานชุดคำสั่งดังกล่าว นั่นจึงเป็นที่มาของการพัฒนาซอฟต์แวร์ผู้ช่วยที่ชื่อ Betty ที่ยินดีจะทำงานตามคำสั่งในภาษาแบบที่มนุษย์ใช้กัน
กระแสซอฟต์แวร์แนวผู้ช่วยส่วนตัว (personal assistant) กำลังมาแรง เพราะบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ต่างก็มีผลิตภัณฑ์ทั้ง Siri, Google Now, Cortana กันครบ
ฝั่งของอินเทลที่เริ่มมารุกตลาดการสั่งงานคอมพิวเตอร์แบบใหม่ๆ มาได้สักระยะ (ข่าวเก่า) จึงเสริมทัพบ้างโดยการซื้อซอฟต์แวร์และทีมงานด้าน personal assistant จาก Ginger Software บริษัทซอฟต์แวร์จากอิสราเอลที่ทำเรื่องการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language processing)
Ginger ยังมีธุรกิจอีกอย่างที่ยังไม่ขายออกไปคือ ซอฟต์แวร์ด้านการฝึกภาษาอังกฤษ โดยซอฟต์แวร์ในชุดมีทั้งการตรวจสะกด ตรวจไวยากรณ์ และฝึกซ้อมการอ่าน-การฟังเสียงพูด
ไมโครซอฟท์ประกาศปรับปรุงฟีเจอร์ Smart Search ของ Windows 8.1 (ที่ใช้เอนจิน Bing) ให้รองรับการประมวลผลภาษาธรรมชาติ ช่วยให้เราสามารถถามคำถามเป็นวลี และ Windows สามารถแสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคำถามนั้นๆ ได้ โดยที่ไม่ต้องมีคีย์เวิร์ดตรงกันแบบเป๊ๆ เลย เช่น
นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ยังปรับให้ Smart Search สามารถแก้คำสะกดผิดที่พบบ่อยได้ด้วย
ไม่รู้ว่าเราจะได้เห็น Cortana บน Windows ตัวเต็มกันเมื่อไรนะครับ
Baidu เปิดตัวโปรแกรมแปลงภาษาแบบเดียวกับ Google Translate บน iOS และแอนดรอยด์ โดยมีฟีเจอร์ครบทั้งการแปลงภาพเป็นข้อความ (OCR), การแปลภาษาจากเสียงพูด (voice recognition), และการจดจำสิ่งของ (image recognition)
ภาษาที่รองรับเป็นหลักได้แก่ จีนกลาง, กวางตุ้ง, และภาษาอังกฤษ โดยรองรับการจดจำเสียงด้วย แต่สำหรับภาษาอื่นๆ ที่รองรับเฉพาะข้อความ ได้แก่ เกาหลี, ญี่ปุ่น, ฝรั่งเศส, สเปน, และไทย
ไมโครซอฟท์เดโมซอฟท์แวร์สำหรับแปลภาษาพูดอีกภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่งแทบจะทันทีเป็นครั้งแรกแล้ว ในงานที่จัดขึ้นในเมืองเทียนจินเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม
ในระหว่างงาน Rick Rashid หัวหน้าฝ่ายวิจัยของไมโครซอฟท์ได้แสดงซอฟท์แวร์ดังกล่าวด้วยการพูดภาษาอังกฤษ และใช้ซอฟต์แวร์ประมวลออกมาเป็นภาษาจีนให้ผู้ชมอย่างรวดเร็ว
ก่อนหน้านี้ไมโครซอฟท์เคยออกมาโชว์ซอฟต์แวร์แปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาอื่น แต่นี่เป็นครั้งแรกที่นำมาแสดงในที่สาธารณะเป็นครั้งแรก
Rashid บอกว่าตัวระบบในตอนนี้ยังห่างจากคำว่าสมบูรณ์อยู่มาก แต่ก็ดีพอจะใช้ในการสื่อสารได้แล้ว ใครที่อยากเห็นประสิทธิภาพดูวิดีโอได้ท้ายข่าวครับ
บริษัท Dynamic Advances (ซึ่งว่ากันว่าเป็นบริษัทที่หากินกับการไล่ฟ้องสิทธิบัตร) ยื่นฟ้องแอปเปิลว่า Siri ละเมิดสิทธิบัตรเกี่ยวกับการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language processing) ของตัวเอง
อย่างไรก็ตามสิทธิบัตรหมายเลข 7,177,798 ที่อยู่ในคำฟ้องไม่ใช่สิทธิบัตรที่คิดค้นโดย Dynamic Advances แต่บริษัทซื้อมาจากสถาบัน Rensselaer Polytechnic Institute ในนิวยอร์กอีกทึหนึ่ง
ที่น่าสนใจคือสิทธิบัตรใบนี้ออกในปี 2007 ให้กับอาจารย์และนักศึกษาของสถาบันในขณะนั้น ซึ่งนักศึกษาเป็นคนไทยชื่อ Veera Boonjing ด้วยครับ
ที่มา - The Register