Meta เปิดตัวแปลงข้อมูลเสียง Meta Low Bitrate หรือ MLow โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงคุณภาพเสียงที่มีอัตราบิต (Bitrate) ต่ำ ในการสนทนาเสียงแบบเรียลไทม์ระหว่างอุปกรณ์ โดยเฉพาะกรณีอยู่ในสภาพแวดล้อมการเชื่อมต่อที่ช้า
สิ่งที่ท้าทายของบริการสื่อสารแบบเรียลไทม์ คือการรักษาคุณภาพข้อมูลของต้นทางมากที่สุด การโทรเสียงทั่วไป Bitrate อยู่ที่ 768 kbps แต่ตัวแปลงยุคใหม่สามารถบีบอัดข้อมูลจนเหลือที่ระดับ 25-30 kbps ได้ แต่ก็ต้องแลกกับคุณภาพที่ลดลง จึงเป็นสามสิ่งที่ต้องแลกกันก็คือ Bitrate, คุณภาพ และความซับซ้อนของตัวแปลง
Arif Dikici สมาชิกในทีม Android Video and Image Codecs ของกูเกิล ประกาศข่าวว่า Android ย้ายมาใช้ไลบรารีถอดรหัสวิดีโอ AV1 ตัวใหม่คือ dav1d ของโครงการ VideoLAN (เจ้าเดียวกับที่ทำ VLC) แทนไลบรารีตัวเดิม libgav1 ของกูเกิลเอง
การเปลี่ยนแปลงนี้จะอัพเดตให้ผ่าน Google Play ย้อนไปถึง Android 12 (Android S) ทำให้ฮาร์ดแวร์รุ่นเก่าๆ ที่ไม่มีตัวถอดรหัส AV1 ที่ระดับฮาร์ดแวร์ จะสามารถเล่นวิดีโอ AV1 ที่ความละเอียด 720p30 ด้วยซอฟต์แวร์ได้
Mishaal Rahman นักแกะข้อมูลสาย Android ชื่อดัง รายงานว่ากูเกิลเตรียมใช้ไลบรารีถอดรหัสวิดีโอ AV1 ตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้มือถือรุ่นเก่าๆ ที่ไม่มีชิปถอดรหัส AV1 ในตัวสามารถดูวิดีโอ AV1 ด้วยซีพียู แต่ประหยัดแบตเตอรี่กว่าเดิม
เดิมทีนั้น Android ใช้ไลบรารี libgav1 ของกูเกิลเองมาตั้งแต่ Android 10 แต่ไลบรารีถอดรหัสวิดีโอที่นิยมใช้กันในวงการคือ libdav1d ของ VideoLAN ซึ่งมีข้อดีกว่าตรงที่บางส่วนเขียนด้วยภาษาแอสเซมบลี ทำงานกับชิป ARMv8 โดยตรง ช่วยลด overhead ของซีพียูลงได้มาก เหมาะกับการถอดรหัส AV1 บนฮาร์ดแวร์รุ่นเก่าๆ
สัปดาห์ที่ผ่านมา Meta เปิดตัวชิป AI ออกแบบเองชื่อ MTIA แต่จริงๆ แล้วยังมีชิปประมวลผลวิดีโออีกตัวชื่อ MSVP (Meta Scalable Video Processor) เปิดตัวมาพร้อมกัน
MSVP เป็นชิป ASIC ที่ทีมออกแบบชิปของ Meta พัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาปริมาณวิดีโอเพิ่มขึ้นมาก จึงต้องมีชิปเฉพาะทางมาเพื่อเข้ารหัสวิดีโอ ทั้งแบบออนดีมานด์ (VOD) ที่ต้องการคุณภาพ และแบบไลฟ์สตรีมที่ต้องการ latency ต่ำ
Meta บอกว่าทุกวันนี้เฉพาะบริการ Facebook อย่างเดียวมีปริมาณการชมวิดีโอวันละ 4 พันล้านวิว และเมื่อ codec วิดีโอรุ่นใหม่ๆ ต้องการพลังประมวลผลตอนเข้ารหัสมากขึ้นเรื่อยๆ (อาจสูงถึง 10 เท่าจากเดิม) จึงต้องมีโซลูชันที่แก้ปัญหาเรื่องระยะเวลาและพลังงานในการเข้ารหัส
กลุ่มบริษัทไอที Alliance for Open Media (AOMedia) ผู้พัฒนา codec AV1 เริ่มเดินหน้าพัฒนา codec AV2 รุ่นถัดไปแล้ว
ถึงแม้ตอนนี้ AOMedia ยังไม่ประกาศเรื่องนี้อย่างเป็นทางการ แต่ทีมนักพัฒนาได้ทดลองสร้าง AV2 และมีข้อมูลปรากฏใน GitHub ของ AOMedia แล้วว่ากำลังพัฒนาให้ไลบรารีภาพ libavif รองรับการเข้ารหัสแบบ AV2
Meta เล่าเบื้องหลังการใช้ codec เสียง xHE-AAC ให้กับวิดีโอในบริการของตัวเอง ทั้ง Facebook และ Instagram (Reels, Stories)
xHE-AAC เป็น codec เสียงรุ่นล่าสุดของจักรวาล AAC ของกลุ่มมาตรฐาน MPEG และพัฒนาโดยสถาบัน Fraunhofer IIS ออกเป็นมาตรฐานตั้งแต่ปี 2012 (คู่แข่งคือ Opus Audio ที่เป็นมาตรฐานแบบไม่คิดค่าไลเซนส์)
แอปเปิลซื้อกิจการ WaveOne สตาร์ทอัพพัฒนาอัลกอริทึมบีบอัดวิดีโอโดยใช้ AI ซึ่งแอปเปิลไม่ได้ยืนยันดีลการซื้อกิจการดังกล่าว แต่พบว่าเว็บไซต์ของ WaveOne ปิดลงตั้งแต่เดือนมกราคม ขณะที่อดีตพนักงานหลายคนรวมทั้งผู้ร่วมก่อตั้ง ปัจจุบันทำงานที่แอปเปิล และอดีตหัวหน้าฝ่ายขายก็โพสต์บอกเองว่าแอปเปิลได้ซื้อ WaveOne ไปแล้ว
Cloudflare ประกาศรองรับการเข้ารหัสไฟล์วิดีโอแบบ AV1 แบบเรียลไทม์ เท่ากับว่าเราสามารถถ่ายทอดวิดีโอแบบไลฟ์เป็นไฟล์อะไรก็ได้ ส่งขึ้นบริการสตรีมวิดีโอ Cloudflare Stream แล้วปลายทางจะได้เป็น AV1 ถ้าอุปกรณ์รองรับ
Cloudflare บอกว่าไฟล์วิดีโอแบบ AV1 มีข้อดีตรงที่ใช้แบนด์วิดท์น้อยกว่า H.264 ถึง 46% ช่วยให้โหลดเร็วขึ้น ประหยัดปริมาณเน็ต และตอนนี้อุปกรณ์สมาร์ทโฟนจำนวนมากก็รองรับการถอดรหัส AV1 ที่ระดับฮาร์ดแวร์ (decoder) ทำให้ไม่เปลืองพลังซีพียูและแบตเตอรี่เลย
อินเทลเพิ่งเปิดตัวจีพียู Intel Arc โดยเริ่มจาก Arc 3 สำหรับโน้ตบุ๊ก และยังไม่มีผลทดสอบประสิทธิภาพกราฟิกจากสำนักที่เป็นกลางออกมา
ระหว่างที่กำลังรอผลกัน อินเทลก็อาศัยจังหวะนี้โชว์ฟีเจอร์ของ Arc ในฐานะจีพียูตัวแรกที่สามารถเข้ารหัส (encoding) และถอดรหัส (decoding) วิดีโอแบบ AV1 ได้ในตัว (จีพียู NVIDIA/AMD สามารถถอดรหัสได้อย่างเดียว) ทำให้งานตัดต่อวิดีโอ หรือสตรีมวิดีโอมีประสิทธิภาพมากขึ้น
dav1d ซอฟต์แวร์ถอดรหัสวิดีโอ AV1 ของกลุ่ม VideoLAN ที่เปิดตัวในปี 2018 ออกเวอร์ชัน 1.0 แล้ว
dav1d (ชื่อย่อมาจาก av1 + decoder) เป็นไลบรารีโอเพนซอร์สที่ใช้ถอดรหัสวิดีโอแบบ AV1 ที่ผลักดันโดยกูเกิลและกลุ่ม AOpen Media ปัจจุบันเริ่มใช้งานแล้วทั้งบน YouTube และ Netflix
ทีมพัฒนา dav1d บอกว่าตอนนี้มันเป็นไลบรารีที่ถอด AV1 ได้เร็วที่สุดในท้องตลาด รองรับทั้งสถาปัตยกรรม x86 และ ARM รวมถึงสามารถใช้ชุดคำสั่งเฉพาะทางอย่าง SSE3, AVX2, AVX-512 เพื่อเร่งความเร็วการถอดรหัสไฟล์วิดีโอได้แล้ว
โลกวิดีโอกำลังหมุนไปยังตัวเข้ารหัสไฟล์แบบ AV1 ที่ผลักดันโดยกูเกิล โดยเริ่มใช้งานแล้วบนแพลตฟอร์มวิดีโอยอดนิยมทั้ง YouTube, Facebook และ Netflix
Qualcomm เปิดตัวโคเด็คเสียง aptX Lossless ระบุว่าสามารถเล่นเสียงผ่าน Bluetooth ได้คุณภาพเท่าแผ่น CD เพลงแบบ Lossless โดย aptX Lossless จะเป็นส่วนหนึ่งของโคเด็คเสียง Qualcomm aptX Adaptive ที่ปรับเปลี่ยนบิตเรตได้ตามคุณภาพการเชื่อมต่อและประเภทไฟล์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานระบบเสียง Snapdragon Sound
YouTube รายงานถึงการออกแบบชิปบีบอัดวิดีโอด้วยตัวเอง หลังจากกูเกิลพยายามผลักดันการบีบอัดวิดีโอแบบ VP9 มาเป็นเวลานานแต่พบว่าหากใช้ซีพียูบีบอัดแล้ว VP9 ใช้ซีพียูเปลืองกว่า H.264 ถึง 5 เท่าตัว แม้ว่า VP9 ภาพจะดีกว่าและประหยัดแบนวิดท์กว่า H.264 ก็ตาม
ชิปที่ทีม YouTube ออกแบบเป็น system-on-chip เรียกว่า VCU (video coding unit) มีซีพียูในตัวพร้อมหน่วยบีบอัดวิดีโอ 10 ชุดต่อชิป แต่ละหน่วยสามารถบีบอัดวิดีโอที่ความละเอียด 2160p 60fps ได้ตามเวลาจริง ต้องส่งข้อมูลเข้าออกไปยังแรมที่แบนวิดท์ 27-37 GB/s
วิดีโอแบบ AV1 ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และปลายปีนี้ เราจะเห็นจีพียูที่มีตัวถอดรหัส AV1 ที่ระดับฮาร์ดแวร์ออกวางขาย ทั้ง GeForce RTX 30, Intel Xe และ Radeon RX 6000
ไมโครซอฟท์ถือเป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่ม Alliance for Open Media (AOMedia) ผู้พัฒนา AV1 จึงไม่น่าแปลกใจที่ไมโครซอฟท์ออกมารับลูกเรื่องนี้ ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศว่า Windows 10 จะรองรับการถอดรหัส AV1 ที่ระดับฮาร์ดแวร์ หากใช้งานบนจีพียูที่รองรับ (ทั้ง 3 ยี่ห้อข้างต้น)
ตอนนี้เรายังไม่รู้อะไรมากนักเกี่ยวกับ AMD Radeon RX 6000 Series นอกจากการใช้สถาปัตยกรรม RDNA 2, รองรับ ray tracing และภาพตัวการ์ดที่ AMD นำมาโชว์ ก่อนงานแถลงข่าว 28 ตุลาคม
แต่จากแพตช์ล่าสุดในไดรเวอร์จีพียูโอเพนซอร์ส ก็พบข้อมูลชัดเจนว่า Radeon RX 6000 (โค้ดเนมในไฟล์คือ Sienna Cichlid) มีตัวถอดรหัสไฟล์วิดีโอแบบ AV1 เช่นเดียวกับคู่แข่ง GeForce RTX ซีรีส์ 30 ที่เปิดตัวไปแล้ว
เราเริ่มเห็นฮาร์ดแวร์ที่รองรับตัวเข้ารหัสวิดีโอ AV1 ออกสู่ตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ (เช่น MediaTek Dimensity 1000) ฝั่งของจีพียูก็มี NVIDIA ประกาศว่า GeForce RTX ซีรีส์ 30 สถาปัตยกรรม Ampere รองรับ AV1 แล้วเช่นกัน
นอกจากการใช้ฮาร์ดแวร์เร่งความเร็วการถอดรหัส AV1 ตามปกติแล้ว NVIDIA ระบุว่าการรองรับ AV1 จะช่วยปิดช่องว่างเรื่องการถ่ายทอดเกม เพราะสตรีมเมอร์มักเล่นเกมที่ความละเอียด 1440p @ 144 FPS แต่การถ่ายทอดสดยังเป็น 720p/1080p @ 60 FPS ซะเป็นส่วนใหญ่ การที่จีพียูรองรับ codec รุ่นใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ก็ช่วยผลักดันวงการสตรีมเกมไปได้อีก ซึ่ง GeForce RTX ซีรีส์ 30 สามารถดันไปได้ถึงการสตรีม 8K HDR ด้วยซ้ำ
สงครามฟอร์แมตวิดีโอกลับมาร้อนแรงอีกครั้ง โดยสถาบัน Fraunhofer HHI ในเยอรมนี (ซึ่งเป็นผู้พัฒนา codec สำคัญๆ ของโลกมาตั้งแต่ยุค MP3) เปิดตัว H.266 หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ Versatile Video Coding (VVC)
จากเลขชื่อ H.266 หลายคนคงเดากันได้ว่ามันคือตัวเข้ารหัสวิดีโอที่สืบทอดต่อจาก H.264/AVC และ H.265/HEVC สิ่งที่พัฒนาขึ้นจากเดิมคือความสามารถในการบีบอัดวิดีโอเพิ่มขึ้นเท่าตัวจาก H.265 (แปลว่าคุณภาพเท่ากัน ขนาดไฟล์เหลือครึ่งเดียว)
เราเห็นตัวเข้ารหัส/ถอดรหัสวิดีโอแบบใหม่ AV1 เปิดตัวในช่วงต้นปี 2018 โดยชูจุดเด่นเรื่องการบีบอัดที่ดีขึ้นกว่าเดิม 30% และในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาก็มีบริการวิดีโอออนไลน์ดังๆ หลายราย เช่น Netflix, YouTube, Facebook ทยอยใช้งาน AV1 กับวิดีโอของตัวเอง
แอปเปิลออก ProRes RAW เวอร์ชันบน Windows ซึ่งตอนนี้มีสถานะเป็นเบต้า ทำให้ผู้ใช้ Windows สามารถเปิดดูไฟล์วิดีโอที่เป็น ProRes RAW และ ProRes RAW HQ ได้
ทั้งนี้แอปเปิลระบุว่าการเปิดไฟล์ ProRes RAW บน Windows ต้องทำผ่านโปรแกรมที่รองรับ ซึ่งตอนนี้มี 4 โปรแกรมได้แก่ Adobe After Effects, Adobe Media Encocder, Adobe Premiere และ Adobe Premiere Rush
ProRes RAW เป็นรูปแบบไฟล์วิดีโอของแอปเปิล ซึ่งแอปเปิลบอกว่ามีจุดเด่นคือนำคุณภาพและเวิร์กโฟลว์ของ RAW ควบคู่กับประสิทธิภาพของ ProRes ทั้งยังมีขนาดเล็กกว่าไฟล์แบบ ProRes 4444
Apple ProRes RAW for Windows สามารถดาวน์โหลดได้ที่หน้าสนับสนุนของแอปเปิล
Netflix เพิ่งประกาศเริ่มใช้ตัวเข้ารหัสวิดีโอ AV1 ไปเมื่อเร็วๆ นี้ ล่าสุดบริษัทประกาศแล้วว่าจะเริ่มสตรีมวิดีโอที่เป็น AV1 โดยเริ่มจากแอพ Android ก่อนเป็นแพลตฟอร์มแรก
Netflix บอกว่า AV1 มีประสิทธิภาพมากกว่า VP9 ถึงประมาณ 20% จึงเหมาะกับการใช้งานบนอุปกรณ์พกพามากที่สุด เพราะมีทั้งเรื่องการเชื่อมต่อที่ไม่เสถียร และข้อจำกัดเรื่องแพ็กเกจข้อมูลของผู้ใช้ (อ่านบทความ รู้จัก AV1 มาตรฐานบีบอัดวิดีโอ 4K ตัวใหม่ท้าชน HEVC บีบอัดข้อมูลดีกว่าคู่แข่ง 30% ประกอบ)
เราเห็นมาตรฐานการบีบอัดวิดีโอ AV1 ออกสู่ตลาดมาตั้งแต่ปี 2018 และเริ่มมีผู้ใช้งานเป็นบริษัทใหญ่ๆ อย่าง YouTube หรือ Facebook
ข้อดีของ AV1 คือบีบอัดวิดีโอได้มากขึ้น (อาจสูงถึง 60% เมื่อเทียบกับ codec รุ่นก่อนอย่าง H.264 AVC) แต่ก็มีข้อเสียคือต้องใช้เวลาบีบอัดนานขึ้น ซึ่งปัญหาข้อนี้จะค่อยๆ ถูกแก้ไขเมื่อซอฟต์แวร์เข้ารหัสวิดีโอ (encoder) ถูกปรับแต่งให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ
บริษัทยักษ์ใหญ่รายล่าสุดที่ประกาศใช้ AV1 คือ Netflix ที่ร่วมมือกับอินเทล พัฒนาซอฟต์แวร์ encoder ประสิทธิภาพสูงชื่อ SVT-AV1 ร่วมกันมาตั้งแต่ปีที่แล้ว (SVT-AV1 เปิดซอร์สโค้ดบน GitHub)
AV1 เป็นมาตรฐานการบีบอัดไฟล์วิดีโอแบบใหม่ พัฒนาโดยกลุ่ม Alliance for Open Media (AOMedia) ซึ่งมีสมาชิกเป็นบริษัทไอทียักษ์ใหญ่มากมาย เช่น Amazon, Apple, Facebook, Google, Microsoft ฯลฯ
ตัว AV1 แท้จริงแล้วเป็นสเปกบนกระดาษ ที่ซอฟต์แวร์ตัวใดจะนำไปใช้งานก็ได้ ในตอนแรกทางกลุ่ม AOM ก็สร้างซอฟต์แวร์เข้ารหัส-ถอดรหัสวิดีโอ AV1 ขึ้นมาในชื่อว่า libaom เพื่อเป็นต้นแบบของการใช้งาน
ล่าสุด ฝั่งของชุมชนซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สคือ VideoLAN, VLC, FFmpeg ก็ร่วมมือกันสร้างซอฟต์แวร์ตัวใหม่ชื่อ dav1d (อ่านว่า "เดวิด") ที่คุยว่ามันถอดรหัสวิดีโอได้เร็วกว่า libaom ถึง 100-400%
YouTube เริ่มทดสอบตัวเข้ารหัสวิดีโอแบบ AV1 ที่พัฒนาโดยกลุ่ม AOMedia ซึ่งมีกูเกิลและบริษัทไอทีจำนวนมากเป็นสมาชิกร่วมก่อตั้ง
การทดสอบเบื้องต้นยังมีวิดีโอเพียงไม่กี่คลิปที่เข้ารหัสแบบ AV1 (Playlist) และจำเป็นต้องใช้กับเบราว์เซอร์ Chrome 70 Beta หรือ Firefox 63 Nightly ขึ้นไป โดยต้องเปิดแฟลก media.av1.enabled ในเบราว์เซอร์ด้วย
เดือนที่แล้วเราเพิ่งเห็น AV1 ตัวเข้ารหัสวิดีโออันใหม่ที่มาท้าชน HEVC/H.265 โดยมีบริษัทไอทียักษ์ใหญ่จำนวนมากให้การสนับสนุน
ล่าสุดเริ่มมีเบนช์มาร์คของ AV1 ออกมาบ้างแล้ว รอบนี้มาจาก Facebook ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่ม AOMedia ผู้พัฒนา AV1
วิศวกรของ Facebook ลองทดสอบ AV1 เทียบกับตัวเข้ารหัสแบบโอเพนซอร์สที่นิยมคือ x264 (สำหรับ H.264/AVC) และ libvpx-vp9 (สำหรับ VP9 ของกูเกิล ที่เป็นสมาชิก AOMedia เช่นกัน) โดยจำลองสถานการณ์ใช้งานวิดีโอบน Facebook ที่พบเจอทั่วไป นำวิดีโอยอดนิยม 400 คลิปบน Facebook ทั้งแบบวิดีโอความละเอียดปกติ (SD) และวิดีโอความละเอียดสูง (HD) มาทดสอบเปรียบเทียบกัน