หากยังพอจำกันได้ เมื่อราวปี 2014 เกิดประเด็นถกเถียงและการฟ้องร้องด้านกฎหมายถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพ "ลิงเซลฟี่" ระหว่าง David Slater เจ้าของกล้องและ Wikipedia
อย่างไรก็ตามระหว่างกระบวนการฟ้องร้องกับ Wikipedia ที่ Slater อ้างความเป็นเจ้าของรูป (ทั้งที่ลิงกดถ่าย) องค์กรพิทักษ์สัตว์หรือ PETA (People for the Ethical Treatment of Animals) ก็ร่วมฟ้องร้อง Slater ในฐานะตัวแทนลิงกังตัวนั้นด้วยในปี 2015 ก่อนยื่นอุทธรณ์ในปี 2016 หลังศาลระบุว่าสัตว์ไม่ครอบคลุมในกฎหมายลิขสิทธิ์
กลุ่มอุตสาหกรรมเพลงในอังกฤษ ได้แก่ IFPI, RIAA และ BPI ฟ้องร้องเว็บไซต์ Youtube-Mp3 ที่สามารถแปลงไฟล์ YouTube เป็น MP3 ได้ เพราะละเมิดลิขสิทธิ์เพลงและศิลปิน
จากรายงานวิจัยที่ออกมาเมื่อสองอาทิตย์ก่อนของกลุ่มพันธมิตรอุตสาหกรรมเพลง (the International Federation of the Phonographic Industry) ระบุว่า คนอายุ 16-24 ปี ใช้เว็บไซต์แปลงไฟล์ก็อปปี้เพลงจาก YouTube และตอนนี้ก็กำลังจะไล่ตามทันบรรดาเว็บไซต์โหลดเพลงเถื่อน
คดีฟ้องร้องระหว่างออราเคิลและกูเกิลที่ออราเคิลฟ้องกูเกิลว่าละเมิดสิทธิ์ API ของจาวามาถึงศาลชั้นต้นรอบที่สอง และรอบนี้กูเกิลชนะอีกครั้งเมื่อคณะลูกขุนตัดสินว่าการใช้ API จาวาเป็นการใช้งานโดยธรรม (fair use)
คดีนี้จบรอบแรกไปตั้งแต่ปี 2012 เมื่อผู้พิพากษา William Alsup พิพากษาว่า API ไม่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ ทำให้คดีจบในศาลชั้นต้นไปโดยกูเกิลชนะ แต่ศาลอุทธรณ์กลับคำตัดสินโดยระบุว่า API มีลิขสิทธิ์ ทำให้คดีต้องกลับมาที่ศาลชั้นต้นอีกครั้งเพื่อพิจารณาว่าหาก API มีลิขสิทธิ์แล้ว การใช้งานแบบที่กูเกิลใช้นั้นเป็นการใช้งานโดยธรรมหรือไม่
คณะลูกขุนทั้งสิบคนระบุว่าการใช้งานของกูเกิลเป็นการใช้งานโดยธรรม (ลูกขุนชุดแรกในคดีนี้เสียงแตกในประเด็นนี้)
หนึ่งในแผนพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาของรัฐบาลญี่ปุ่นคือการเตรียมผลักดันให้ผลงานการสร้างสรรค์ของปัญญาประดิษฐ์มี "ลิขสิทธิ์" ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา
ก่อนหน้านี้เราเคยเห็นข่าวปัญญาประดิษฐ์เขียนนิยายส่งเข้าไปประกวดแข่งขันกับผลงานการเขียนของคนจริงๆ ในญี่ปุ่นมาแล้ว ดังนั้นคงไม่น่าแปลกใจที่ทางการญี่ปุ่นจะมีความตื่นตัวเรื่องศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ในการสร้างสรรค์ผลงานในทางศิลป์
Google ออกรายงานเพื่อความโปร่งใส ว่าด้วยเรื่องของคำร้องให้ลบลิงก์ที่เผยแพร่ผลงานแบบละเมิดลิขสิทธิ์จากหน้าแสดงผลการค้นหาข้อมูล โดยในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมามีคำร้องเรื่องนี้เข้ามามากกว่า 76 ล้าน URL
จำนวนคำร้องขอให้ Google ลบลิงก์ด้วยเหตุผลเรื่องลิขสิทธิ์นี้เพิ่มขึ้นเรื่อยในทุกปี จากสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ปี 2012 ที่มีการแจ้งลบลิงก์ราว 0.3 ล้าน URL ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มมาเป็น 4.1 ล้าน URL ในช่วงเดียวกันของปีถัดมา ก่อนจะเพิ่มเป็น 5.5 ล้าน และ 9.6 ล้าน ในปี 2014 และ 2015 ตามลำดับ จนมาถึงปีนี้เฉพาะสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์จำนวนคำร้องขอให้ลบลิงก์ทะยานขึ้นมาเป็น 21 ล้าน URL
เมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว กลุ่มนักเขียนและผู้ประพันธ์ (the Authors Guild) ได้ยื่นฟ้อง Google ต่อศาล โดยระบุว่าการกระทำของ Google ที่ใช้การสแกนหนังสือจำนวนหลายล้านเล่ม ให้กลายเป็นระบบดิจิทัลแล้วเอาขึ้นไปโพสต์ไว้บนเว็บ (Google Books) เป็นการกระทำที่ละเมิดลิขสิทธิ์ แต่มาตอนนี้ ศาลอุทธรณ์ของรัฐบาลกลางสหรัฐตัดสินว่า การกระทำดังกล่าวจัดอยู่ใน "การใช้งานอย่างชอบธรรม" (fair use) ตามกฎหมายลิขสิทธิ์แล้ว
สถานะของคดีลิขสิทธิ์ Java ระหว่างกูเกิลกับออราเคิลคือ คดียังอยู่ในชั้นศาลอุทธรณ์ แต่กูเกิลก็ส่งเรื่องเข้าศาลฎีกาเมื่อเดือนตุลาคม 2014 ด้วยอีกทางหนึ่ง
ความคืบหน้าล่าสุดคือศาลฎีกาไม่รับคำร้องจากกูเกิล ทำให้เรื่องกลับไปที่ชั้นศาลอุทธรณ์อีกครั้ง เดิมทีนั้นศาลอุทธรณ์ตัดสินยืนตามศาลชั้นต้นว่า API ของ Java มีลิขสิทธิ์ (ซึ่งเป็นผลดีกับออราเคิล) แต่ศาลอุทธรณ์กลับมองว่าแม้ API มีลิขสิทธิ์ แต่กูเกิลมีสิทธิใช้ได้ตามหลัก fair use (ซึ่งเป็นผลดีกับกูเกิล) และส่งเรื่องกลับไปยังศาลชั้นต้นเพื่อพิจารณาประเด็นเรื่อง fair use อีกครั้ง
โดยทั่วไปแล้วการที่เราทำสำเนาไฟล์สื่อดิจิทัลเพื่อให้ผู้อื่นได้ใช้งานไฟล์ดังกล่าวหรืออัพโหลดไฟล์ที่ว่าสู่อินเทอร์เน็ตเพื่อให้คนอื่นดาวน์โหลดไปใช้งานนั้นถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ (แม้ว่าเราจะได้ไฟล์นั้นมาด้วยวิธีการถูกกฎหมายก็ตามที) ซึ่งตัวไฟล์ที่เป็นสำเนาก็จะถือเป็นไฟล์เถื่อนที่ผิดกฎหมาย
แต่แม้จะรู้ว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง หลายคนก็ยังเลือกที่จะหาและแบ่งปันไฟล์สื่อด้วยวิธีนี้ โดยยกเหตุผลว่าไฟล์แท้ถูกลิขสิทธิ์นั้นแพงเกินไป Apple จึงหาวิธีที่จะทำให้คนซื้อสิทธิ์ใช้งานสื่อเหล่านั้นได้โดยเฉพาะ ในราคาที่ถูกกว่าการซื้อไฟล์แบบธรรมดา และนำเอาแนวคิดของระบบที่ว่าไปจดสิทธิบัตรได้สำเร็จ
เว็บไซต์ TorrentFreak รายงานว่าแบรนด์ดังนาฬิกาหรูหลายรายเตรียมดำเนินการทางกฎหมายกับงานละเมิดลิขสิทธิ์รูปแบบใหม่ นั่นคือผู้ออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งานสำหรับนาฬิกาอัจฉริยะที่ลอกเลียนงานออกแบบนาฬิกาของตน
คดีระหว่างออราเคิลและ SAP ที่บริษัทลูกคือ TomorrowNow ไปดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ของออราเคิลเพื่อให้บริการลูกค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต คดีนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2007 และมีการปรับค่าเสียหายกันหลายครั้งจากครั้งแรกที่ลูกขุนสั่งให้จ่ายค่าเสียหายถึง 1,300 ล้านดอลลาร์ ตอนนี้ทั้งสองบริษัทก็ตกลงกันได้โดยจะจ่ายค่าเสียหาย 359.2 ล้านดอลลาร์
ค่าเสียหายแยกเป็นค่าเสียหายโดยตรง 356.7 ล้านดอลลาร์ และดอกเบี้ยอีก 2.5 ล้านดอลลาร์ นอกจากนั้น SAP ยังจ่ายค่าใช้จ่ายทางกฎหมายให้ออราเคิลไปแล้วอีก 120 ล้านดอลลาร์
ปิดคดียาวนาน 7 ปีไปอีกคดี
ประเด็นลิขสิทธิ์ของการนำข้อมูลจากเว็บอื่นมาแสดงในเว็บของตัวเอง เช่นการวางวิดีโอจาก YouTube หรือภาพจาก Flickr มาไว้ในเว็บ หากภาพที่มาละเมิดลิขสิทธิ์แล้ว ผู้ที่นำมาใส่เว็บจะละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันทั่วโลก ตอนนี้สหภาพยุโรป (European Union) ก็ได้ข้อสรุปเบื้องต้นแล้ว เมื่อศาลยุติธรรมสหภาพแห่งยุโรปตีความว่าการนำข้อมูลจากเว็บอื่นมาฝังในเว็บตัวเองไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
การตีความกฎหมายนี้ถูกส่งต่อมาจากศาลเยอรมัน โดยมีคดีระหว่างบริษัท BestWater International และชายสองคนที่นำวิดีโอของบริษัทวางในเว็บของชายทั้งสอง ตัววิดีโอถูกโพสครั้งแรกบน YouTube โดยไม่ได้รับอนุญาตจากทาง BestWater
อาจถือได้ว่านี่คือสัปดาห์แห่งการปรองดองสำหรับ Google ก็เป็นได้ หลังจากที่มีข่าว Google ยอมชดใช้เงิน 19 ล้านเหรียญแก่ผู้ปกครองที่เสียเงินเพราะเด็กซื้อของในเกม ไล่มาถึงข่าว Google และ LVMH หันมาให้ความร่วมมือกันกำจัดของปลอมบนอินเทอร์เน็ต (ทั้งที่ก่อนหน้ามีคดีต่อสู้กันมานานหลายปี) ล่าสุด Google ก็ตกลงยอมความกับคู่ความไปอีกหนึ่งเรื่อง ซึ่งครั้งนี้เป็นเหล่าบรรดาช่างภาพที่ฟ้องร้อง Google ฐานละเมิดลิขสิทธิ์ภาพถ่ายในหนังสือเป็นจำนวนมาก เนื่องจาก Google ได้ทำสำเนาโดยการสแกนหนังสือจำนวนมหาศาลในโครงการ Google Books
ต่อเนื่องจากข่าว วงการลิขสิทธิ์มึน ภาพถ่าย "ลิงเซลฟี่" ใครควรเป็นเจ้าของภาพ? ที่ยังถกเถียงกันไม่จบว่าควรลงเอยอย่างไร
สำนักงานลิขสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกา (United States Copyright Office) ออก "ร่าง" เอกสารแนวทางปฏิบัติของสำนักงานฉบับปรับปรุงครั้งที่สาม (Third Edition) และเป็นการปรับปรุงครั้งใหญ่ครั้งแรกในรอบ 20 ปี (ลิงก์ดาวน์โหลด) โดยเอกสารฉบับใหม่นี้ระบุไว้ชัดเจนว่าสำนักงานจะรับรองลิขสิทธิ์เฉพาะผลงานที่สร้างโดย "มนุษย์" (human beings) เท่านั้น
เรื่องมีอยู่ว่าช่างภาพ David Slater ไปเดินป่าในอินโดนีเซียเมื่อปี 2011 และถูกลิงกังดำ (celebes crested macaque) ขโมยกล้องไป ลิงตัวนี้กดถ่ายภาพเป็นจำนวนหลายร้อยภาพ ภาพส่วนใหญ่เบลอหรือถ่ายพื้น แต่มี "ภาพถ่ายตัวเอง" สุดสวยออกมาหนึ่งภาพ กลายเป็นภาพ "ลิงเซลฟี่" ที่สร้างชื่อให้ David Slater เป็นอย่างมาก
Twitch บริการถ่ายทอดสดการเล่นเกมเริ่มตรวจสอบหาการถ่ายทอดที่มีเพลงดังเป็นพื้นหลังและปิดเสียงการถ่ายทอดนั้นๆ โดยเสียงพื้นหลังของการถ่ายทอดจะถูกตรวจสอบโดย Audible Magic ผู้ให้บริการคุ้มครองลิขสิทธิ์เพลงออนไลน์ที่ให้บริการแบบเดียวกันบน Vimeo และเฟซบุ๊กมาก่อนแล้ว
Twitch เก็บคลิปเป็นช่วง ช่วงละ 30 นาที หากเจอเพลงในช่วงใด ช่วงนั้นคลิปจะเงียบไปตลอด
นอกจากนี้ Twitch ยังเตรียมลบคลิปเก่าออกจากคลังทั้งหมด เหลือเพียงคลิปไฮไลต์เท่านั้น
ปัญหาเพลงพื้นหลังติดลิขสิทธิ์เป็นปัญหาแทบทุกเว็บ ใน YouTube เองก็มีคลิปถูกลบเพราะถูกตรวจเจอเพลงพื้นหลังอยู่เรื่อยๆ ในอนาคตหากเกมไหนอยากให้มีคนแคสเยอะๆ อาจจะต้องมีออปชั่นเลือกได้เพลงพื้นหลังแบบไม่มีปัญหา
เว็บไซต์รวมภาพถ่ายคุณภาพสูง Getty Images ซึ่งหลายคนรู้จักในฐานะ "จอมฟ้อง" กรณีนำภาพในคลังของ Getty Images ไปใช้แบบละเมิดลิขสิทธิ์
วันนี้ Getty Images ปรับเปลี่ยนนโยบายฉับพลัน โดยประกาศว่าทุกคนสามารถนำภาพจาก Getty Images ไปประกอบเว็บไซต์แบบไม่ใช้ในเชิงพาณิชย์ (non-commercial) แต่มีเงื่อนไขว่าต้องใช้วิธีแปะโค้ด embed ของ Getty Images เท่านั้น
บริการนี้จะเริ่มเปิดให้ใช้งานวันนี้ (6 มีนาคม) มีภาพให้เลือกใช้มากกว่า 35 ล้านภาพ (ดูตัวอย่างได้ท้ายข่าว)
คดีสิทธิบัตรจาวาที่น่าจะเป็นคดีสำคัญที่สุดในบรรดาสิทธิบัตรแอนดรอยด์ ที่จบคดีในปีที่แล้ว ออราเคิลแพ้คดีสิทธิบัตรแทบทั้งหมด และชนะคดีชุดทดสอบเพียง 9 บรรทัด แต่ยังมีคดีหนึ่งที่ตัดสินไม่เด็ดขาด คือ ลิขสิทธิ์ของ API ที่ลูกขุนไม่สามารถตัดสินอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้ผู้พิพากษา Alsup ต้องตัดสินเอง และจบคดีด้วยการยกฟ้องไปเพราะ Alsup ระบุว่า API นั้นไม่มีลิขสิทธิ์
ออราเคิลประกาศว่าจะอุทธรณ์ประเด็นนี้มาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว และตอนนี้ก็ถึงช่วงเวลาการสอบพยานใหม่
นักข่าวที่อยู่ในห้องพิจารณาคดีระบุว่ากูเกิลอาจจะตกที่นั่งลำบากเพราะองค์คณะผู้พิพากษาทั้งสามคนมีแนวโน้มจะเห็นด้วยกับออราเคิล
บริษัท LeakID ตัวแทนไมโครซอฟท์เพื่อหาเว็บละเมิดลิขสิทธิ์ทั่วอินเทอร์เน็ตมาแจ้งผู้ให้บริการในสหรัฐฯ เพื่อให้ลบผลค้นหาของเว็บละเมิดลิขสิทธิ์ ส่งคำร้องไปยังกูเกิลเพื่อให้ถอด URL จำนวนมากบนเว็บไมโครซอฟท์เองออกจากผลค้นหา
กระบวนการถอดผลค้นหาตามคำร้องนี้เป็นกระบวนการตามกฎหมาย DMCA ที่เปิดให้ผู้เสียหายโดยตรงเข้าแจ้งคำร้องกับผู้ให้บริการ แต่ปัญหาในช่วงหลังเกิดจากการแจ้งที่ไม่สมเหตุสมผลจำนวนมาก เช่น มีการแจ้งการละเมิดลิขสิทธิ์ของโปรแกรม VLC ที่เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส
กูเกิลพบความผิดพลาดในคำร้องนี้และยังไม่ได้ถอดหน้าเหล่านั้นออกจากผลค้นหาแต่อย่างใด
ในหลายประเทศตะวันตก ทุกวันนี้บริษัทที่ผลิตและจำหน่ายแผ่นซีดีเปล่าจะต้องจ่ายภาษีพิเศษ เนื่องจากว่าแผ่นซีดีเปล่านี้มักจะถูกนำไปใช้ในการละเมิดลิขสิทธิ์ ล่าสุด ศาลสูงสุดยุโรป (ECJ) ได้ตัดสินคดีที่มีการต่อสู้กันมาจากประเทศเยอรมนี ระหว่างกลุ่มเจ้าของลิขสิทธิ์และผู้ผลิตปริ้นเตอร์อย่าง Canon, Epson, Fujitsu, HP และ Xerox ว่าผู้ผลิตปริ้นเตอร์ควรจะต้องจ่ายค่าชดเชย เนื่องจากปริ้นเตอร์เหล่านี้มักจะถูกนำไปใช้ผลิตสิ่งพิมพ์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ได้
หลังจากที่โดนกลุ่มต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์มาโดยตลอด พรรคการเมือง Pirate Party ของสวีเดนไม่สามารถใช้สิทธิคุ้มครองพิเศษสำหรับพรรคการเมืองในการโฮสเว็บ The Pirate Bay ได้อีกต่อไป หลังจากที่ทำมาได้ตลอดเวลา 3 ปีที่ผ่านมา โดยในตอนนี้เว็บ The Pirate Bay ได้ย้ายข้อมูลทั้งหมดไปอยู่กับพรรคการเมือง Pirate Party ในประเทศนอร์เวย์กับสเปนแทนแล้ว
กลุ่มต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ในสวีเดน ที่มีกลุ่มบริษัทผลิตภาพยนตร์และเพลงระดับโลกคอยสนับสนุน ได้ออกมากล่าวว่าบริษัทสัญชาติสวีเดนใดก็ตามที่จะทำธุรกิจกับเว็บ The Pirate Bay จะโดนฟ้องทั้งหมด
ก่อนหน้านี้ลูกค้าที่ได้ซื้อแผ่นซีดีเพลงมาฟังที่บ้านในสหราชอาณาจักร ไม่สามารถที่จะทำก็อปปี้ในรูปแบบดิจิทัลเพื่อความสะดวกในการจัดเก็บได้อย่างถูกกฎหมาย แม้ว่าการกระทำลักษณะเดียวกันนี้ในสหรัฐอเมริกาถือว่าทำได้ตามกฎหมาย ด้วยกฎ Fair Use Permission แต่ล่าสุด สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของอังกฤษ ได้เริ่มทำการปฏิรูประบบลิขสิทธิ์ใหม่แล้ว ที่เริ่ม "ยอมรับ" พัฒนาการในยุคดิจิทัลต่าง ๆ และปรับเนื้อหาทางกฎหมายหลาย ๆ อย่าง ให้กระชับมากขึ้น (และกระชับกว่าของสหรัฐฯ เสียอีก)
เว็บไซต์ FOSS Patents อ่านเอกสารยื่นอุทธรณ์ของออราเคิลในคดี Java กับกูเกิล (ซึ่งยื่นเมื่อเดือนธันวาคม) พบว่าออราเคิลตัดสินใจไม่อุทธรณ์คดีส่วนสิทธิบัตร และอุทธรณ์เฉพาะคดีเรื่องลิขสิทธิ์ของ Java API เท่านั้น
FOSSPatents ประเมินว่าออราเคิลคงต้องการโฟกัสไปที่ประเด็นเรื่อง Java API เป็นหลัก, สิทธิบัตรบางชิ้นกำลังจะหมดอายุ และสิทธิบัตรบางชิ้นอาจเรียกค่าเสียหายได้ไม่มากนัก เลยตัดสินใจทิ้งประเด็นเรื่องสิทธิบัตรไป
กระบวนการของคดีนี้ยังต้องใช้เวลาอีกนาน ถ้ากำหนดการเป็นไปตามที่วางแผนกันไว้ กว่าที่ทั้งสองฝ่ายจะแถลงตอบโต้กันครบ (ฝ่ายละ 2 รอบ) ก็ช่วงกลางเดือนกรกฎาคม 2013 ครับ
ฝรั่งเศสกำลังพิจารณาบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้ Google จ่ายเงินให้กับสำนักข่าวในฝรั่งเศสสำหรับทุกลิงก์ข่าวในหน้าค้นหา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า Google จะตกลงยอมความกับสำนักข่าวในฝรั่งเศสเรื่องส่วนแบ่งรายได้จากการโฆษณาสำเร็จหรือไม่
การแถลงข่าวในครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศส François Hollande ได้เชิญ Eric Schmidt เข้าพูดคุยกันเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยประธานาธิบดีได้แจ้งอย่างชัดเจนว่าจะผลักดันกฎหมายใหม่ทันทีหาก Google ไม่สามารถยุติข้อพิพาทกับสำนักข่าวเรื่องเงินค่าโฆษณาได้ภายในปีนี้ ซึ่งเป็นกฎหมายเนื้อหาเดียวกันกับที่เยอรมันเพิ่งเห็นชอบฉบับร่างไปเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
กระบวนการพิจารณาคดีแอปเปิล-ซัมซุงเดินทางมาถึงขั้นตอนเกือบสุดท้ายแล้ว หลังการเจรจารอบสุดท้ายล้มเหลว และศาลได้ออกแบบฟอร์มการพิจารณาคดีสำหรับคณะลูกขุน โดยในขั้นตอนสุดท้ายก่อนแถลงคำตัดสิน ศาลได้เปิดโอกาสให้คู่กรณีสองฝ่ายได้แถลงปิดคดี เพื่อสรุปข้อกล่าวหา ข้อโต้แย้ง พยาน ตลอดจนหลักฐานที่นำเสนอมาอีกครั้ง แล้วลูกขุนจะได้นำพิจารณาในขั้นตอนถัดไป
การเจรจาครั้งสุดท้ายตามคำสั่งศาลของคดีแอปเปิล-ซัมซุงล่มไปแล้ว ทั้งคู่ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาผ่านลูกขุน งานของผู้พิพากษาในตอนนี้ก็คือการออกแบบฟอร์มคำพิพากษาให้คณะลูกขุนไปกรอก แบบเดียวกับคดีกูเกิลและออราเคิลก่อนหน้านี้
โค้งสุดท้ายยังมีการโต้เถียงกันในเรื่องสำคัญ คือ ผู้พิพากษาจะเตือนลูกขุนว่าทั้งสองบริษัทลบอีเมลภายในแม้จะอยู่ในช่วงการเก็บหลักฐานไว้ก็ตาม โดยก่อนหน้านี้แอปเปิลได้ร้องให้ผู้พิพากษาเตือนคณะลูกขุนในเรื่องนี้ ซึ่งผู้พิพากษาก็ทำตาม แต่หลังจากนั้นก็เป็นคำเตือนในฝั่งแอปเปิลที่ถูกแจ้งพฤติกรรมแบบเดียวกันให้กับคณะลูกขุน