การประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ ได้มีการอนุมัติให้แก้กฏกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอเข้ามา โดยเพิ่มประเภทความผิดเข้ามาอีก 9 ประเภท โดยหนึ่งในความผิดที่เพิ่มเข้ามาคือการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
รายชื่อประเภทคดีทั้งหมดที่เพิ่มเข้ามาได้แก่
ร่างกฏหมาย SOPA เป็นกฏหมายที่นับว่าเป็นไม้แข็งต่อปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ บริษัทเทคโนโลยีบางส่วนเริ่มเห็นขัดแย้งกันจนกระทั่งล่าสุดบริษัทผลิตซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสอย่าง Kaspersky ก็ประกาศไม่ต่ออายุสมาชิกกับทาง BSA (Business Software Alliance) เพราะ BSA สนับสนุน SOPA แล้ว
ทางฝั่ง BSA เองแม้จะไม่กล้าพูดเต็มปากเต็มคำว่าสนับสนุน SOPA แต่ก็ระบุว่ากฏหมายฉบับนี้ต้องถ่วงน้ำหนักให้ดีก่อนที่ BSA จะสนับสนุนได้ โดยกระบวนการ (due process), เสรีภาพในการพูด, และการละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องได้รับการปกป้อง
มัลลิกา บุญมีตระกูลรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ยังคงเดินหน้าโครงการ "Fight Bad Web" โดยวันนี้ได้ทวิตเชิญชวนแนวร่วมให้แจ้งเว็บไปยังเจ้าหน้าที่และแจ้งไปยังอีเมลของโครงการ
เนื้อหาสำคัญของวันนี้คงเป็นการอ้างว่ามีเด็ก 11 ขวบเข้าร่วมกิจกรรม "นักรบไซเบอร์ฝ่ายคุณธรรม" โดยคุณมัลลิกาชวนให้เปลี่ยนจากการเล่นเกมมาเป็นช่วยกันแจ้งเว็บผิดกฎหมายทั้งมั่นคง ลามก การพนัน ยาเสพติดและหมิ่นสถาบัน
ผมยกทวิตตลอดชั่วโมงที่ผ่านมา (ยกเว้นทวิตที่คุยกับคนอื่นๆ) ของคุณมัลลิกาไว้ท้ายข่าวพร้อมลิงก์ทุกอันเป็นที่มาของข่าวนี้
กฎหมาย Stop Online Piracy Act (SOPA) เป็นกฏหมายที่ให้อำนาจรัฐในการปิดกั้นเว็บไซต์ด้วยเหตุผลจากการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา กฏหมายฉบับนี้ให้อำนาจรัฐไว้กว้างมากถึงขนาดที่สามารถห้ามการ "ลิงก์" ไปยังเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
ภายใต้กฏหมายนี้ ให้อำนาจไว้กับรัฐและเอกชนไว้สามส่วนใหญ่ๆ
Wikipedia ภาคภาษาอิตาเลียนตัดสินใจซ่อนเนื้อหาทั้งหมดชั่วคราว เหตุเพราะร่างกฎหมายฉบับใหม่ของอิตาลีที่เกี่ยวข้องกับการดักฟัง (Wiretapping Act ชื่อภาษาอิตาเลียนคือ DDL intercettazioni)
กฎหมายฉบับนี้เสนอโดยรัฐบาลอิตาเลียนของนายกรัฐมนตรีซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี และกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภา ประเด็นที่เป็นปัญหาคือกฎหมายระบุว่าถ้าบุคคลใดๆ เห็นว่าเว็บไซต์ลงข้อมูลของตัวเองผิดพลาด และกระทบต่อภาพลักษณ์ของตัวเอง สามารถร้องขอให้เว็บไซต์แก้ไขข้อมูลได้ ซึ่งเว็บไซต์จะต้องแก้ภายใน 48 ชั่วโมง
การร้องขอให้แก้ไขก็เป็นปัญหา เพราะไม่มีกระบวนการตรวจสอบโดยคนนอกว่าจะต้องแก้ไขอย่างไรบ้าง (เท่ากับว่าเว็บไซต์จะต้องยอมแก้ตามเจ้าตัวทั้งหมด)
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีบารัค โอบามาลงนามบังคับใช้กฎหมายปฏิรูประบบสิทธิบัตร (Patent Reform Act) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว การปฏิรูปนี้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่กฎหมายสิทธิบัตรเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อปี 1952 ซึ่งก็มีการยื่นให้พิจารณาอยู่หลายครั้งกว่าจะมาถึงวันนี้ (ตั้งแต่ปี 2005 ถึง 2009 - ข่าวเก่า)
เว็บประชาไทเสนอข่าวการดำเนินคดีกับนางสาวจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไทในคดีมีข้อความผิดกฏหมายตามมาตรา 14 และ 15 ตามพรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 โดยคดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาคดี
จุดที่น่าสนใจในคดีนี้คือการเบิกพยาน คือ พล.ต.ท.บุญเลิศ กัลยาณมิตร ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่กองปราบปรามฯ ได้ขึ้นให้การว่าหลังจากติดต่อกับทางเว็บไซต์ประชาไทก็ได้รับความร่วมมือโดยได้มอบหมายเลขไอพีของผู้โพสข้อความให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ พร้อมกับลบข้อความดังกล่าวออกในทันที อย่างไรก็ตาม พล.ต.ท.บุญเลิศ ระบุว่าการที่ข้อความอยู่ในเว็บเป็นเวลา 11 วัน ก็ถือเป็นเจตนาตามพรบ. แล้ว
อ่านพาดหัวข่าวไม่ผิดครับและมันเกิดขึ้นในฝรั่งเศสด้วย โดยหน่วยงานที่ดูแลด้านสื่อของฝรั่งเศสออกคำสั่งห้ามผู้ประกาศในรายการโทรทัศน์และวิทยุพูดคำว่า Facebook และ Twitter เว้นเสียแต่ว่าเนื้อหาที่นำเสนออยู่เกี่ยวข้องกับสองเว็บไซต์ดังกล่าว ทั้งนี้หน่วยงานของรัฐบาลได้อ้างถึงบทบัญญัติเมื่อปี 1992 ซึ่งห้ามไม่ให้มีการโฆษณาแฝงโดยวิธีการเอ่ยชื่อสินค้า ซึ่งในการออกมาห้ามครั้งนี้ก็คือสินค้าที่ชื่อ Facebook และ Twitter
รัฐบาลเมืองไทเปได้ออกมาสั่งให้ทั้งแอปเปิลและกูเกิลเริ่มการรับประกันความพึงพอใจให้กับลูกค้า ด้วยการรับปากว่าจะคืนเงินให้หากลูกค้าไม่พอใจกับแอพที่ซื้อมาจาก App Store หรือ Android Market ภายในเจ็ดวันหลังจากการซื้อ
โดยปัญหาหลักของสินค้าประเภทแอพคือการไม่มีกล่องบรรจุหรือสื่อที่สามารถนำไปคืนกับร้านค้าได้เหมือนกับสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป แต่การที่แอปเปิลและกูเกิลไม่มีการรับประกันความพึงพอใจ ก็ถือว่าเป็นการละเมิดกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของเมือง
อยากรู้เหมือนกันว่าหากสองบริษัทนี้เลือกที่จะไม่ทำตาม จะเกิดอะไรขึ้น
ประเด็นเรื่องการ "ห้ามตามรอย" หรือ Do Not Track กำลังเป็นประเด็นร้อนในสหรัฐอเมริกา โดยฝ่ายนิติบัญญัติพยายามเสนอกฎหมายที่กำหนดเงื่อนไขไม่ให้เว็บไซต์ตามรอยผู้ใช้
กฎหมายที่เสนอมีทั้งระดับรัฐและระดับชาติ ในกรณีของระดับรัฐคือรัฐแคลิฟอร์เนีย ส่วนระดับชาติกำลังจะเสนอโดยวุฒิสมาชิก Jay Rockefeller ซึ่งเป็นประธานกรรมาธิการด้านการค้าของวุฒิสภาสหรัฐ ร่างกฎหมายนี้จะให้อำนาจคณะกรรมการด้านการค้าของสหรัฐ (FTC) ในการลงโทษหน่วยงานที่ไม่ยอมปฏิบัติตามเกณฑ์เรื่อง Do Not Track
ช่วงหลังธุรกิจจำนวนมากเริ่มมีการเก็บข้อมูลเพื่อทำ data mining กันมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ที่มีการทำ data mining เพื่อทำตลาดกันเป็นเรื่องปรกติในทุกๆ ธุรกิจ รวมไปถึงตลาดยาที่มีกฏหมายให้บริษัทยาต้องเก็บข้อมูลใบสั่งยาเอาไว้ แต่บริษัทยากลับนำข้อมูลเหล่านี้ไปขายให้กับบริษัทรับทำ Data Mining เพื่อนำไปประมวลผล แล้วนำผลที่ได้กลับมาขายบริษัทยาอีกครั้งเพื่อนำไปทำตลาด
แต่ในปี 2007 รัฐ Vermont ก็ผ่านกฏหมายการทำ data mining ห้ามไม่ให้บริษัทยาขายข้อมูลใบจ่ายยาเหล่านี้ เว้นแต่จะได้รับการยินยอมจากคนไข้ ทำให้บริษัทรับทำ data mining เหล่านี้ต้องหยุดทำธุรกิจในรัฐ Vermont ทั้งหมดเพราะหากขออนุญาตจากคนไข้ ย่อมยากที่จะได้รับการยินยอม
เราหลาย ๆ คนทราบดีว่าเครื่องอ่าน eBook อย่าง Kindle กำลังเป็นที่นิยมกันในกลุ่มคนรักการอ่าน อาจจะเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ผู้ใช้ eBook เหล่านี้ตัดสินใจที่จะไม่ซื้อหนังสือเป็นเล่ม ๆ มาอ่านอีกต่อไปแล้ว .. แต่สำหรับ ส.ส. จากรัฐ Illinois นาย Jesse Jackson Jr คนนี้ iPad เป็นต้นเหตุเพียงอย่างเดียวที่ทำให้ชาวอเมริกันที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์นั้นต้องตกงาน โดยไม่ได้พูดถึง Kindle และยอดขายหลักล้านของ Kindle แต่อย่างใด
ถ้าหากหยิบยกคำพูดของ ส.ส. คนนี้มาตรง ๆ เขากล่าวว่าการที่ iPad เป็นที่ยอดนิยมนั้น ทำให้ยอดประชากรที่ตกงานในอเมริกานั้นสูงขึ้น ในขณะเดียวกัน iPad กลับไปสร้างอาชีพในประเทศจีน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตของ iPad นั่นเอง
เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา กระทรวงไอซีทีก็เริ่มเผยแพร่ร่างพรบ. ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่ที่จะมาแทนฉบับ พ.ศ. 2550 (ที่ผ่านมาได้ด้วยการสนช. ที่มาจากคณะรัฐประหาร) ร่างฉบับใหม่นี้มีประเด็นน่าสนใจหลายประการ เช่น
กลุ่มบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตกว่า 20 บริษัท ฟ้องรัฐบาลฝรั่งเศสต่อศาลปกครองสูงสุด (Conseil d'État) เพื่อคัดค้านกฤษฎีกาที่บังคับให้เว็บไซต์ต้องเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้
สมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในนาม ASIC มีสมาชิกรายใหญ่ๆ อย่าง Google, Facebook, eBay รวมไปถึงเว็บไซต์จากฝรั่งเศสอย่าง DailyMotion (ดูสมาชิกทั้งหมด) คัดค้านกฎที่ออกมาเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ที่ระบุให้เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ อีเมล และเว็บไซต์วีดีโอ ต้องเก็บข้อมูลผู้ใช้ทั้งชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และรหัสผ่าน เป็นเวลาหนึ่งปี และมอบให้กับเจ้าหน้าที่เมื่อมีการร้องขอ
กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) และกระทรวงยุติธรรมได้ยื่นร่างกฏกระทรวงเพื่อเพิ่มหมวดคดีพิเศษเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี โดยยื่นขอเพิ่มหมวดคดีความผิดอีก 24 ความผิด โดยมีคดีความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เข้ามาด้วย
อย่างไรก็ดีร่างกฏกระทรวงนี้ตกไป โดยหลายหน่วยงานคัดค้านเนื่องจาก DSI เองมีงานล้นมืออยู่แล้ว และการสอบสวนคดีพิเศษนั้นจะอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 (PDF) ซึ่งมีอำนาจในการ "ล่วงเกิน" สิทธิเสรีภาพของประชาชนค่อนข้างกว้าง เช่นการดักฟังโดยไม่ต้องขอหมายศาล, การบุกค้นสถานที่และบุคคล, การอายัดทรัพย์, และการสอบถามข้อมูลทางการเงิน
ร่างกฏหมาย SB 1411 ของรัฐแคลิฟอร์เนียเริ่มบังคับใช้วันนี้ ทำให้การปลอมตัว, แอบอ้างเป็นผู้อื่นทางออนไลน์เป็นอาชญากรรม มีโทษสูงสุดคือโทษปรับ 1,000 ดอลลาร์ และจำคุกไม่เกิน 1 ปี ไม่รวมถึงค่าเสียหายที่ผู้เสียหายอาจจะฟ้องร้องเพิ่มเติม
กฏหมายนี้จะบังคับใช้ได้โดยมีเงื่อนไขว่าการปลอมตัวต้องทำให้คนทั่วไปเชื่อว่าคนปลอมตัวนั้นเป็นตัวจริง (มาตรา 528.5 วรรค b) ดังนั้นคงไม่รวมถึงการปลอมตัวที่คนทั่วไปรู้กันว่าเป็นตัวปลอมเช่นบัญชีทวิตเตอร์ปลอมเพื่อความตลกขบขันต่างๆ
พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ หรือที่เราเรียกกันย่อๆ ว่า "พ.ร.บ. กสทช." ที่เพิ่งผ่านการโหวตของวุฒิสภาไปเมื่อเดือนที่แล้ว ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว และมีผลบังคับใช้ในวันนี้ (20 ธ.ค. 53)
เมื่อ พ.ร.บ. กสทช. บังคับใช้ ทำให้ กทช. สิ้นสุดลง แต่ในบทเฉพาะกาลของ พ.ร.บ. ฉบับใหม่ระบุให้คณะกรรมการ กทช. และเลขาธิการ กทช. ทำหน้าที่รักษาการไปก่อน จนกว่าจะสรรหาคณะกรรมการ กสทช. ชุดแรกได้
จากนี้ไป หน้าที่จะตกอยู่กับสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เป็นผู้เริ่มกระบวนการสรรหาคณะกรรมการ กสทช. ให้ครบ 11 คน เพื่อจะมาปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
จากที่การประมูล 3G ต้องหยุดชะงักเพราะปัญหาข้อกฎหมายว่า กทช. มีอำนาจในการประมูลคลื่นหรือไม่ ทางฝ่ายนิติบัญญัติก็เร่งการออกกฎหมายจัดตั้ง กสทช. หรือชื่อเต็มๆ ชื่อ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
เดิมทีกฎหมายฉบับนี้มีประเด็นที่ขัดแย้งกันระหว่างสภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภา แต่เมื่อตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างทั้งสองสภาก็สามารถประนีประนอมกันได้ ตัวร่างผ่านการโหวตของสภาผู้แทนราษฎรเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และวันนี้วุฒิสภาได้ลงมติเห็นชอบด้วยคะแนน 82 ต่อ 4 งดออกเสียง 4 และไม่ลงคะแนน 1 ครับ
พ.ต.อ. ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ รองผู้บังคับการ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก. ปอศ.) กล่าวว่า ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่จะถึงนี้นั้น กองปราบฯ จะระดมพลเจ้าหน้าที่กวาดล้างซอฟต์แวร์เถื่อน จากรายชื่อบริษัทที่เข้าข่ายต้องสงสัยว่ามีซอฟต์แวร์เถื่อนหรือได้รับลิขสิทธิ์ในการใช้งานซอฟต์แวร์ไม่ครบถ้วนอยู่ในมือกว่า 2,000 ราย โดยหวังว่าการดำเนินการนี้ จะทำให้ประเทศไทยสามารถลดอัตราการใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนลงได้มากขึ้น หลังจากที่ บก. ปอศ. สามารถลดอัตราการใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนลงจากร้อยละ 80 เหลือร้อยละ 75 ได้ในปีที่แล้ว
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ได้เข้าสืบสวนการทำข้อตกลงระหว่างบริษัทไอทีชั้นนำ 6 บริษัทได้แก่ กูเกิล, แอปเปิล, อโดบี, อินเทล, พิกซาร์, และ Intuit ที่ทำข้อตกลงกันไปมาว่าจะไม่ซื้อตัวพนักงานกันและกัน หลังการสอบสวนกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ได้ยื่นฟ้องต่อทั้งหกบริษัทว่าการทำข้อตกลงนี้เป็นการผูกขาด และวันนี้ทั้งหกบริษัทก็ยินยอมทำตามข้อเสนอของกระทรวงยุติธรรมเพื่อยุติคดีแล้ว
ข้อตกลงที่ทั้งหกบริษัททำร่วมกันนั้นเป็นข้อตกลงที่จะไม่ "เรียกตัว" (Cold calling) พนักงานจากบริษัทอื่นๆ ที่ไม่ได้ยื่นสมัครงาน แต่มีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการ เพื่อให้เข้ามาทำงานกับบริษัทของตัวเอง
ในโลกยุค social network เมื่อมีคนยื่นใบสมัครงาน ว่าที่นายจ้างอาจดูข้อมูลของบุคคลเหล่านี้ใน Facebook เพื่อพิจารณาคุณสมบัติ (ซึ่งนายจ้าง 45% เคยตอบแบบสอบถามว่าทำแบบนี้) และสิ่งที่พบอาจเป็นภาพเมาค้างหรือข้อความหยาบคาย จนเป็นผลให้ไม่รับบุคคลนั้นๆ เข้าทำงานในที่สุด (35% ไม่รับเข้าทำงานเพราะ social network)
แต่สถานการณ์กำลังจะเปลี่ยนไป อย่างน้อยๆ ก็ในประเทศเยอรมนี เพราะรัฐสภากำลังจะออกกฎหมายใหม่ที่กำหนดไว้ชัดเจนว่านายจ้างสามารถเก็บข้อมูลของผู้สมัครงานได้จากไหนบ้าง กฎหมายฉบับนี้ห้ามเก็บข้อมูลจาก Facebook แต่ก็อนุญาตให้ใช้ LinkedIn และค้นข้อมูลจากกูเกิลได้
กฎหมายฉบับนี้ยังห้ามถ่ายวิดีโอหรือดักฟังพนักงานคุยกันในห้องน้ำหรือห้องแต่งตัว ซึ่งเคยเป็นคดีที่เกิดขึ้นในเยอรมนีมาแล้ว
คณะกรรมการควบคุมกิจการโทรคมนาคม (Telecommunications Regulatory Authority: TRA) ของสหรัฐอาหรับเอมิเรต ได้ประกาศออกมาว่า BlackBerry Service ซึ่งได้แก่ BlackBerry Messenger, E-mail และ Web-browsing จะถูกระงับภายในวันที่ 11 ตุลาคมนี้ เหตุผลเนื่องมาจาก BlackBerry Service นั้นผิดข้อตกลงในการให้บริการกิจการโทรคมนาคมของสหรัฐอาหรับเอมิเรต ซึ่งถ้าทาง BlackBerry ทำตามระเบียบข้อตกลงของ TRA (ที่มาบอกไว้ว่าให้ข้อมูลทั้งหมดของ BlackBerry ส่งผ่านเซิร์ฟเวอร์ที่กำหนดไว้) ก็อาจจะได้กลับมาให้บริการได้เหมือนเดิม
ทั้งนี้ผู้ใช้ BlackBerry ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตก็ได้รับผลกระทบไปตามๆกัน ยิ่งกว่านั้น BlackBerry ก็ยังโดนข้อหาเดียวกันในประเทศอื่นๆอีกด้วย
ชิลีผ่านร่างกฏหมายหมายเลข 4915 ที่ว่าด้วยความเป็นกลางทางอินเทอร์เน็ตด้วยคะแนน 100 คะแนนงดออกเสียง 1 คะแนน โดยกฏหมายนี้จะรับรองสิทธิของผู้ใช้ที่จะได้รับบริการจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอย่างเป็นกลาง โดยมีหลักห้าข้อใหญ่คือ
สภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกา โหวตสนับสนุนการแก้กฎหมายให้เพิ่มเงื่อนไขว่า "คอมพิวเตอร์ของโครงการรัฐบาลจะต้องปิดกั้นการเข้าถึง ดาวน์โหลด แลกเปลี่ยนภาพอนาจาร" ด้วยคะแนน 239 ต่อ 182
การแก้กฎหมายครั้งนี้เสนอโดย ส.ส. David Obey จากพรรคเดโมแครต ซึ่งหลายคนมองว่านี่เป็นมาตรการตอบโต้ข่าวฉาวก่อนหน้านี้ว่า พนักงานกระทรวงมหาดไทยของสหรัฐที่มีหน้าที่ตรวจสอบแท่นขุดเจาะน้ำมัน (ซึ่งมีปัญหาน้ำมันรั่วใหญ่โต) เปิดเว็บโป๊ในเวลางาน
เรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องไกลตัวเราหน่อย แต่ผมเห็นว่ามันน่าสนใจดีเลยแปลเอามาให้อ่านกันครับ
หนึ่งในสมาชิกสภาล่างของสหรัฐพรรค Democrat ได้ออกเรียกร้องให้มีการสนับสนุนให้เก็บภาษีจากการซื้อขายของบนอินเทอร์เน็ตข้ามรัฐ โดยทุกวันนี้นั้นผู้ที่ทำการซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ตจากผู้ค้าที่อยู่อีกรัฐหนึ่งนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องเสียภาษีแต่อย่างใด ในขณะที่การจำหน่ายสินค้าออนไลน์นั้นเพิ่มมากขึ้นทุกที ทำให้รัฐหลาย ๆ รัฐเสียภาษีที่ควรจะได้เป็นมูลค่ามหาศาล