Rami Barends และ Alireza Shabani สองวิศวกรด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ควอนตัม ได้เผยความสำเร็จอีกขั้นในการวิจัยสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมเพื่อการใช้งานทั่วไป (universal quantum computer) โดยจำลองโมเดลของคอมพิวเตอร์ควอนตัมแบบการประมวลผลด้วยทฤษฎี adiabatic บนโมเดลคอมพิวเตอร์ควอนตัมแบบวงจรอีกทีหนึ่ง วิธีการดังกล่าวทำให้คอมพิวเตอร์สามารถตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดของคิวบิตได้ (quantum error correction)
ผลลัพธ์ที่ได้คือโมเดลคอมพิวเตอร์ควอนตัมแบบใหม่ที่เรียกว่า digitized adiabatic quantum computing ทางนักวิจัยเชื่อว่าโมเดลนี้จะช่วยให้สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ใช้จำนวนคิวบิตมากขึ้นได้ ทำให้การสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมเพื่อใช้งานทั่วไปนั้นมีความเป็นไปได้มากขึ้นนั่นเอง
Wall Street Journal รายงานว่า Facebook ประกาศตั้งบอร์ด 5 คน เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและจริยธรรม หน้าที่คือ ประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการวิจัย
จากในปี 2014 Facebook เก็บข้อมูลจากผู้ใช้เพื่อทำการวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาและความรู้สึกของผู้ใช้ เหตุการณ์ครั้งนั้นถูกตั้งคำถามและวิพากษ์วิจารณ์กันว่า Facebook ล้มเหลวเรื่องจริยธรรมในการทำวิจัย ที่สำคัญนำข้อมูลของผู้ใช้ไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต
สำหรับคนที่ติดตามข่าวมหกรรมฟุตบอลชิงแชมป์ยุโรปหรือฟุตบอลโลก ไม่น่าจะพลาดข่าวสร้างสีสันกับการทำนายผลของสารพัดสัตว์ต่างๆ (ที่ดังที่สุดก็เห็นจะเป็นหมึกพอลที่ทายผลฟุตบอลโลก 2010 ได้แม่นถูกต้องทุกนัด) แต่ไหนเลยจะเอาแต่ปล่อยให้สัตว์ทำนาย นักวิจัยเองก็คิดว่าคอมพิวเตอร์ก็น่าจะฉลาดพอทำนายผลการแข่งขันได้เช่นกัน และสำหรับ Euro 2016 ที่เริ่มเปิดฉากขึ้นนี้ ก็มีปัญญาประดิษฐ์จากนักวิจัยในสวิตเซอร์แลนด์ทายผลการแข่งขันออกมาแล้ว ชื่อของมันคือ Kickoff.ai
งานวิจัยร่วมระหว่างนักวิจัยจาก Cornell, MIT, และ Dropbox เสนอแนวทางการช่วยเหลือผู้ใช้ในการพิมพ์รหัสผ่านด้วยการแก้ไขรหัสผ่านอย่างง่ายๆ ในรูปแบบที่มักพิมพ์ผิดให้กับผู้ใช้
งานวิจัยเก็บข้อมูลบน Amazon Mechanical Turk ด้วยการให้ผู้ร่วมทดลองพิมพ์รหัสผ่านที่กำหนดแล้วเก็บข้อมูลว่ามีความผิดพลาดรูปแบบใดบ้าง พบว่าความผิดพลาดเกือบครึ่งหนึ่งมาจากการพิมพ์ผิดเพียง 7 แบบ ได้แก่ สลับตัวใหญ่/เล็กทั้งหมด, สลับตัวใหญ่/เล็กเฉพาะตัวแรก, มีตัวอักษรเกินมาตอนท้าย, มีตัวอักษรเกินมาตอนต้น, ลืมพิมพ์ shift เพื่อพิมพ์สัญลักษณ์ในตอนท้าย, พิมพ์ผิดไปปุ่มข้างเคียง, และสับสนระหว่างตัวอักษรที่คล้ายกัน
นักวิจัยจาก Harvard ได้ผลิตใบไม้เทียม ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สามารถรับพลังงานแสงอาทิตย์และทำการเปลี่ยนรูปพลังงานเพื่อจัดเก็บในรูปของพลังงานทางเคมีสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง โดยประสิทธิภาพการแปลงพลังงานของมันนั้นทำได้ดีกว่าอุปกรณ์งานวิจัยอื่นที่เคยมีมา และดีเหนือกว่ากระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของใบไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติด้วย
ใบไม้เทียมที่ว่านี้ไม่เพียงแค่มีกระบวนการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้อยู่ในรูปของพลังงานพันธะเคมีเท่านั้น แต่มันยังมีการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศมาใช้งาน เช่นเดียวกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยตัวอุปกรณ์ใบไม้เทียมนี้ประกอบไปด้วยโถที่บรรจุน้ำและแบคทีเรีย Ralstonia eutropha ในน้ำที่มีแบคทีเรียนั้นมีแผ่นขั้วไฟฟ้า 2 ขั้วจุ่มไว้อยู่เชื่อมต่อกับแผงรับแสง
งานวิจัยของ MIT เกี่ยวกับโดรนนั้นมีมาต่อเนื่องหลายปี โดยกลุ่ม Robust Robotics Group แห่งห้องปฏิบัติการ CSAIL ของ MIT ในปัจจุบันได้พัฒนาโดรนให้มีขีดความสามารถในการบินเพิ่มมากขึ้น ด้านหนึ่งของงานนี้คือการพัฒนาความฉลาดของโดรนให้ใช้พลังงานลดน้อยลง อันจะช่วยยืดระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี่ในการบินแต่ละครั้ง ซึ่งการทำ "แผนที่ลม" ก็เป็นเทคนิคหนึ่งเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ว่านี้
เราคงเคยเห็นจากภาพยนตร์แนวไซ-ไฟหลายเรื่องที่ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI พัฒนาตนเองไปไกลจนถึงขั้นที่พวกมันไม่ต้องการมนุษย์อีกต่อไป เช่น The Terminator และ I, Robot และกลับกลายมาเป็นการทำลายหรือควบคุมมนุษย์แทน ซึ่ง Bill Gates และ Elon Musk ก็เคยแสดงความกังวลถึงประเด็นนี้เช่นกัน
ล่าสุดนักวิจัยจาก Google DeepMind องค์กรที่พัฒนา AlphaGo และนักวิจัยจาก The Future of Humanity Institute มหาวิทยาลัย Oxford ได้ร่วมกันตีพิมพ์เอกสารวิชาการเกี่ยวกับการ "กดปุ่มแดง" หรือการสั่งให้ AI หยุดการกระทำใดๆ ที่อาจนำไปสู่อันตราย โดยที่ AI ไม่สามารถเรียนรู้ที่จะขัดคำสั่งนั้นได้ด้วย
หนึ่งในฟีเจอร์เด็ดของ iPhone 6S ที่โดดเด่นกว่าสมาร์ทโฟนคู่แข่งรายอื่นคือความสามารถในการรับรู้แรงกดของปลายนิ้วบนหน้าจอสัมผัสที่เรียกว่า 3D Touch (จะมีเจ้าอื่นก็เพียง Huawei Mate S ที่สามารถแยกระดับแรงกดบนหน้าจอได้เช่นกัน) แต่จะดีกว่าไหมถ้าสมาร์ทโฟนรุ่นอื่นๆ ยี่ห้ออื่นๆ ก็สามารถรับรู้แรงกดหลายระดับบนหน้าจอเช่นเดียวกัน? ซึ่งก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ในทางเทคนิค เพราะงานวิจัยชื่อ ForcePhone จาก University of Michigan ทำให้สมาร์ทโฟนรุ่นใดๆ มีความสามารถอย่างที่ว่าได้แล้ว
หลายๆ ครั้งที่เราอาจจะตื่นเต้นกับการได้เห็นคุณแม่มือใหม่หลายคน ได้โพสต์รูปและเรื่องราวของลูกตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแม่มือใหม่ อย่างไรก็ตามจากการศึกษาวิจัยของ Ohio State University (OSU) ของสหรัฐอเมริกา กลับพบว่าคุณแม่มือใหม่ที่ชอบโพสต์เรื่องเกี่ยวกับลูกตัวเองลงสื่อสังคมออนไลน์ (social network) บ่อยๆ มักจะเป็นคนที่หากไม่แสวงหาความสมบูรณ์แบบ (perfectionist) ด้วยวิธีการยืนยัน (validation) ก็มักจะเป็นคนที่มีความเศร้า (depressed) อยู่ในใจ
ศูนย์วิเคราะห์สื่อออนไลน์ (Centre for the Analysis of Social Media: CASM) ของ Demos สถาบันวิจัยเพื่อการกุศลด้านการศึกษาและการใช้อำนาจของอังกฤษ ออกมาเปิดเผยผลการศึกษาวิจัยชิ้นใหม่ที่ทำต่อจากงานวิจัยในปี 2014 โดยระบุว่าผู้ใช้ทวิตเตอร์ชาวอังกฤษ มีการใช้คำหยาบคายเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมในช่วงที่ทำการศึกษายาวนาน 3 อาทิตย์ (ไม่ระบุว่าช่วงเวลาไหน) และในระดับนานาชาติ มีทวิตที่ใช้คำหยาบคายสูงถึง 2 แสนทวิต ส่งถึงกว่า 8 หมื่นคน
นักวิจัยของ Stanford ทำการศึกษาและพบว่าจากการวิเคราะห์ข้อมูล metadata ของการใช้โทรศัพท์ของคนคนหนึ่ง อาจบอกข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เกี่่ยวกับพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ อาทิ ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ, สถานะทางการเงิน ฯลฯ โดยใช้การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ที่ระบุได้จากข้อมูล metadata หลายด้านเข้าด้วยกัน
นักวิจัย MIT พัฒนาโซลาร์เซลล์ที่สามารถแปลงพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มากกว่าค่าขอบเขตทางทฤษฎีที่ตั้งไว้ว่าจะไม่สามารถแปลงพลังงานได้เกิน 33.7% โดยทีเด็ดสำคัญที่ทำให้โซลาร์เซลล์แบบใหม่ทำงานได้ดีเหนือกว่าทฤษฎีที่เคยมีมา คือการพัฒนาชิ้นส่วนที่ดูดซับพลังงานทุกรูปแบบของแสงอาทิตย์เอาไว้แล้วปล่อยแสงออกมาให้เหมาะกับโซลาร์เซลล์มากที่สุด
กระบวนการเข้ารหัสแบบบล็อคที่ได้รับความนิยมขึ้นมาในช่วงหลังคือ AES-GCM (RFC5084) แต่การเข้ารหัสเช่นนี้ต้องสร้างค่า nonce ขนาด 8 บิตขึ้นไปจนถึง 2^64 บิต (แนะนำที่ 96 บิต) แต่ทั้งนี้ไม่ควรใช้ค่านี้ซ้ำในการเชื่อมต่อ ทีมวิจัยพบว่ายังมีเซิร์ฟเวอร์ 184 เครื่องที่ตั้งค่า nonce เป็นค่าคงที่ รวมถึงเว็บไซต์บัตรเครดิตอย่าง visa.dk
การใช้ nonce เป็นค่าคงที่ทำให้แฮกเกอร์สามารถแทรกข้อมูลเข้าไปในการเชื่อมต่อได้โดยง่าย ในวิดีโอตัวอย่างทีมวิจัยสาธิตการแทรกจาวาสคริปต์เข้าไปในเว็บไซต์ visa.dk ซึ่งเป็นหนึ่งใน 184 เว็บไซต์ที่ทีมวิจัยพบ
เว็บไซต์ข่าวการพิมพ์สามมิติ 3DPrint.com รายงานว่านักวิจัยจาก Carnegie Mellon University (CMU) ของสหรัฐอเมริกา เผยแพร่งานวิจัยที่ระบุว่า งานพิมพ์จากเครื่องพิมพ์สามมิติที่ใช้วัสดุเป็นไทเทเนียมผง มีปัญหาขั้นรุนแรง (fatally flawed) โดยระบุว่าการพิมพ์สามมิติโดยใช้ไทเทเนียมผง ทำให้เกิดรูพรุนในเนื้องานมากกว่าปกติ
ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า รถยนต์อาจมีระบบการยืนยันตัวและตรวจสอบผู้ขับขี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลังนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันและมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย โชว์งานวิจัยระบบที่สามารถตรวจพิสูจน์ตัวตนของผู้ขับขี่ ได้จากพฤติกรรมการขับรถ
ระบบ Machine Learning จะรวบรวมพฤติกรรมการขับรถทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการเหยียบคันเร่ง การเหยียบเบรก หรือแม้แต่การควบคุมพวงมาลัยผ่านระบบ Controller Area Network (CAN) ของรถ ก่อนจะนำไปวิเคราะห์และแยกแยะตัวตนของผู้ขับ โดยนักวิจัยระบุว่า จากที่เคยทดสอบมา อัลกอริทึมสามารถแยกแยะคนขับได้ถูกต้องถึง 100% โดยใช้เวลารวบรวมข้อมูลจากการขับรถเพียง 15 นาทีเท่านั้น (เฉพาะการเบรกก็สามารถแยกแยะคนขับได้ถูกต้องถึง 87% เข้าไปแล้ว)
หนึ่งในปัญหาช่วงที่ผ่านมาและมักจะเป็นข่าวร้อนคือกรณีความไม่เป็นกลางของอัลกอริทึมในตัวโปรแกรมหรือแอพที่ใช้งาน (เช่น กรณี Facebook โดนกล่าวหาว่าควบคุมเนื้อหาส่วน Trending หรือ ซอฟต์แวร์ประเมินประวัติอาชญากรรมมีความลำเอียง) ซึ่งทำให้เกิดความกังวลใจในแวดวงทั้งวิชาการและเทคโนโลยีว่า เรื่องเหล่านี้จะส่งผลอย่างไรบ้าง ทางออกอันหนึ่งที่เสนอกันคือเรื่องของการ open source โปรแกรม (เอาไว้ดูได้ว่าทำงานอย่างไร) แต่ในหลายกรณีที่ตัวโปรแกรมไม่เปิดสู่สาธารณะ ก็ย่อมมีปัญหา ซึ่งทีมนักวิจัยจาก CMU (Carnegie Mellon University) ได้นำเสนอทางออกไว้ผ่านงานวิจัยที่นำเสนอบนเวที IEEE Symposium on Security and Privacy ประจำปีนี้ ผ่านระบบการทดสอบอัลกอริทึม
ทีมนักวิจัยของ Fraunhofer Institute for Applied Solid State Physics ในประเทศเยอรมนีทำการทดลองส่งข้อมูลผ่านคลื่นวิทยุได้เร็ว 6Gbps ทำลายสถิติเดิมได้สำเร็จแบบเหนือกว่าเป็น 10 เท่า
การส่งข้อมูลดังกล่าวเป็นการส่งด้วยคลื่นวิทยุในย่านความถี่ 71-76 GHz ซึ่งโดยทั่วไปแล้วย่านความถี่นี้จะใช้งานสำหรับการส่งสัญญาณภาคพื้นดินและการส่งสัญญาณดาวเทียม โดยทำการส่งข้อมูลจากเสาสัญญาณสูงเท่าตึก 45 ชั้นซึ่งตั้งอยู่ใน Cologne ไปยังศูนย์ Space Observation Radar ซึ่งตั้งอยู่ใน Wachtberg ห่างออกไปราว 37 กิโลเมตรจากเสาส่งสัญญาณ
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว IBM ประกาศว่าได้เพิ่มโครงการ OpenZika ซึ่งเป็นโครงการประมวลผลข้อมูลเพื่อวิจัยเกี่ยวกับเชื้อไวรัส Zika เข้า World Community Grid (WCG) โครงการประมวลผลแบบกระจาย (grid computing) เพื่องานที่ไม่แสวงหาผลกำไร
โครงการ OpenZika เป็นความร่วมมือระหว่าง Federal University of Goias ของบราซิล ร่วมกับมูลนิธิ Oswalso Cruz, Rutgers University's New Jersey Medical School, Collaborations Pharmaceuticals และ Skaggs School of Pharmacy and Pharmaceutical Sciences ของ University of California San Diego ซึ่งจะร่วมกันหาการดื้อยาของไวรัส Zika
โครงการนี้เปิดแล้วบน WCG โดยไม่จำกัดแพลตฟอร์มที่ใช้รันสำหรับการประมวลผล ใครสนใจสามารถเพิ่มเข้าไปได้ทันทีครับ
ที่งาน IEEE International Memory Workshop ในปีนี้ IBM โดยนักวิจัยจาก IBM Research ประกาศความสำเร็จในการทำให้หน่วยความจำแบบ PCM (phase-change memory) สามารถเก็บข้อมูลได้ 3 บิตต่อหนึ่งเซลล์อย่างเป็นทางการ และถือเป็นการเปิดโอกาสให้กับแนวทางการเก็บข้อมูลในอนาคต
นักวิจัยจากทีม CSAIL แห่ง MIT ร่วมกันพัฒนาหุ่นยนต์ Origami หุ่นยนต์ที่พับได้ (อันเป็นที่มาของชื่อของมัน) ที่ถูกออกแบบมาสำหรับการทำงานในพื้นที่จำกัด ซึ่งหลังจากเริ่มนำออกแสดงในปี 2014 เป็นครั้งแรก ซึ่งตอนนี้หุ่นยนต์ Origami รุ่นล่าสุดที่มีนักวิจัยของ University of Sheffield และ Tokyo Institute of Technology มาช่วยพัฒนาด้วย ก็ได้รับการปรับปรุงจนกลายมาเป็นหุ่นยนต์เพื่อการปฏิบัติงานในร่างกายมนุษย์
บริษัทวิจัยข้อมูล 1010data ออกมาเปิดเผยเบื้องต้นถึงรายงานการวิจัยของตนเองที่ระบุว่า แท็บเล็ตแบบ 2-in-1 ลูกผสม (เรียกว่า "laplet") เช่น Surface กำลังได้รับความนิยมและถือเป็นกลุ่มแท็บเล็ตที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
บริษัทระบุว่า แม้ Apple iPad จะยังครองส่วนแบ่งได้ที่ 32.5% ของตลาดรวมทั้งหมด แต่แท็บเล็ตกลุ่มลูกผสมเหล่านี้กำลังกินส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยในไตรมาสแรกของปีนี้ Surface Book ของ Microsoft สามารถทำส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นได้ถึง 9% ทำให้ Microsoft มีส่วนแบ่งในตลาดเป็นอันดับสองที่ 25% เมื่อเทียบกับไตรมาสแล้ว ขณะที่ Apple กลับมียอดส่งมอบ iPad คงที่ไม่เปลี่ยนแปลงนัก
รายงานวิจัยฉบับเต็มจะเผยสู่สาธารณะในสัปดาห์หน้าครับ
Disney Research ร่วมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon ได้พัฒนาแท็ก RFID ที่มีราคาถูก ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่และสามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวได้ภายใน 200 มิลลิวินาที หรือเรียกได้ว่าแทบจะจับการเคลื่อนได้แบบเรียลไทม์ ขณะที่แท็ก RFID ทั่วไปต้องใช้เวลาประมาณ 2 วินาที
ทีมวิจัยเรียกระบบนี้ว่า RapID พร้อมทั้งโชว์ความสามารถเบื้องต้น ผ่านเกมอย่าง tic-tac-toe (หรือที่เรียกกันว่า XO) หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่แสดงให้เห็นถึงการโต้ตอบของคอมพิวเตอร์ผ่านทางระบบ RapID นี้ ซึ่งนอกจากจะสามารถตรวจจับวัตถุได้เร็วแล้ว ยังสามารถบอกความเร็วที่วัตถุเดินทางผ่านแท็กได้อีกด้วย
ที่มา - Engadget
Human Media Lab แห่ง Queen’s University แคนาดา เผย HoloFlex งานวิจัยมือถือรองรับการแสดงผลโฮโลกราฟิกที่บิดงอได้ตัวแรกของโลก
HoloFlex ใช้เทคนิคความคลาดเคลื่อนกันของวิดีโอที่เกิดขึ้นเมื่อมองวัตถุจากจุดสองจุด (motion parallax) และการถ่ายภาพสามมิติ (stereoscopy) เพื่อสร้างเอฟเฟคภาพสามมิติบนหน้าจอสัมผัสแบบ Flexible Organic Light Emitting Diode (FOLED) ความละเอียด 1080p โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริม ทั้งนี้ภาพจะถูกแบ่งการแสดงผลเป็นเซลล์วงกลมกว้าง 12 พิกเซล แสดงผลบนเลนส์ฟิชอายสามมิติบิดงอได้จำนวน 16,000 เลนส์
นักวิจัยจาก Future Interfaces Group มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน ได้เผยงานวิจัย SkinTrack ที่ใช้ผิวหนังโดยรอบอุปกรณ์ลักษณะสายรัดข้อมืออย่างสมาร์ทวอชเป็นทัชแพดของอุปกรณ์ได้
SkinTrack ประกอบด้วยสองส่วนหลัก คือ อิเล็กโทรดสี่คู่ที่ถูกฝังอยู่ในสายรัดข้อมือเพื่อจับสัญญาณที่ถูกส่งจากวงแหวนใต้อุปกรณ์ เพื่อแปลงตำแหน่งนิ้วเป็นตำแหน่งบนแกน X และ Y แล้วแปลงการเคลื่อนไหวของนิ้วเป็นคำสั่งในการสั่งการต่างๆ อีกที
ลองดูคลิปนำเสนองานวิจัยได้ที่ท้ายข่าว
ที่มา: TechRadar
ที่ผ่านมาเรามักจะได้ยินข่าวความพยายามของ Microsoft ในการพัฒนาเทคโนโลยีการสัมผัสแบบสามมิติ หรือ 3D Touch (ลองดูข่าวเก่า) ล่าสุด Microsoft Research แผนกวิจัยของ Microsoft ได้ออกมาสาธิต 3D Touch แบบใหม่ที่เรียกว่า Pre-Touch Sensing โดยระบุว่าจะเข้ามาช่วยเปลี่ยนวิธีการมีปฏิสัมพันธ์กับสมาร์ทโฟนใหม่หมด