หากจะตอบคำถามข้างต้นว่าต้องเป็นคนที่เก่งพอจะเข้าไปทำงานวิจัยที่ MIT ก็คงจะไม่ผิดนัก เพราะวันนี้โปรแกรมที่แก้บั๊กด้วยตนเองได้เกิดขึ้นจริงแล้วจากฝีมือนักวิจัยของสถาบันแห่งนี้
แนวทางที่เหล่าโปรแกรมเมอร์ที่ MIT ร่วมกันพัฒนา คือโปรแกรมที่พวกเขาเรียกว่า CodePhage มันคือซอฟต์แวร์ที่จะตรวจหาจุดผิดในโค้ดที่ถูกเขียนขึ้น แล้วไปหยิบยกเอาโค้ดบางส่วนของโปรแกรมอื่น (ซึ่งมีทั้งบรรดาโปรแกรมแบบ open source และโปรแกรมที่มีผู้บริจาคมาให้เพื่องานพัฒนานี้โดยเฉพาะ) มาทำการ "ซ่อมแซม" จุดผิดพลาดเหล่านั้น
ทีมนักวิจัยจาก University of California ใน San Diego ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำการวิจัยคิดค้นเทคนิคการส่งข้อมูลผ่านเส้นใยแก้วนำแสงจนทำให้สามารถส่งข้อมูลในระยะที่ไกลขึ้นกว่าที่เคย แถมยังลดการพึ่งพาอุปกรณ์ช่วยปรับปรุงสัญญาณอย่าง repeater ลงด้วย ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพการใช้งานระบบส่งข้อมูลผ่านเส้นใยแก้วนำแสงทำได้ดีขึ้นโดยใช้เงินลงทุนในการติดตั้งน้อยลง
พฤติกรรมตามธรรมชาติของระบบส่งข้อมูลผ่านเส้นใยแก้วนำแสงนั้น หากมีการเพิ่มกำลังที่ตัวส่งสัญญาณ ก็จะทำให้สัญญาณเดินทางได้ไกลขึ้น ทว่าด้วยเหตุที่มีการเพิ่มกำลังในการส่งก็กลับทำให้มีสัญญาณรบกวนเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกันอันจะส่งผลให้ปลายทางฝั่งตัวรับสัญญาณได้ข้อมูลที่ผิดเพี้ยนไปจากที่ควรจะเป็น
แม้ว่าไมโครซอฟท์จะมีแว่นตา VR ของตัวเองอย่าง HoloLens แต่ในงาน E3 ที่ผ่านมาก็ไม่ทิ้งความสัมพันธ์กับผู้ผลิตรายอื่น ด้วยการประกาศร่วมมือกับทั้ง Oculus VR และ Valve ที่พัฒนา VR อยู่เช่นกัน ล่าสุดทีมวิจัย Microsoft Research ออกมาโชว์ชุดเลนส์สำหรับ Oculus Rift ที่เคลมว่าคุณภาพเหนือกว่าต้นฉบับมาให้เปรียบเทียบให้ดู
แผนกวิจัยของซัมซุงตีพิมพ์ผลการวิจัยเกี่ยวกับแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนรูปแบบใหม่ที่ผลลัพธ์ออกมาได้ความจุแบตเตอรี่เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
วิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ของซัมซุงพัฒนานั้นทำโดยใช้ silicon anode ซึ่งจุแบตเตอรี่ได้มากกว่าลิเทียมไอออน ร่วมกับการนำผลึกแกรฟีนมาปิดทับที่พื้นผิวชั้นนอกสุด จากการทดสอบสามารถเพิ่มความจุแบตเตอรี่ได้มากถึง 1.5-1.8 เท่าจากแบตเตอรี่ในท้องตลาด
Uber จัดแจงดึงตัวอดีตหัวหน้าทีมพัฒนา Google Maps มาทำหน้าที่บริหารงานศูนย์วิจัย Advanced Technologies Center ที่ Uber เพิ่งสร้างขึ้นใหม่ใน Pittsburgh
ผู้บริหารคนใหม่ของ Uber นี้ก็คือ Brian McClendon ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสตาร์ทอัพที่ชื่อ Keyhole ซึ่งต่อมามันก็ได้กลายมาเป็น Google Earth อย่างที่เรารู้จัก ก่อนที่เขาจะสวมบทรับหน้าที่ผู้นำการพัฒนา Google Maps รวมถึง Google Streetview โดยร่วมทำงานให้กับ Google นานถึง 10 ปี ก่อนจะมารับหน้าที่กุมบังเหียนศูนย์วิจัยใหม่ของ Uber ในครั้งนี้
Intelligent Environments เปิดตัว Emoji เพื่อทดแทนการใช้งาน PIN Code ด้วย Emoji 44 แบบ เพื่อใช้สร้างรหัสผ่านที่ให้ความปลอดภัยมากกว่าการสร้างรหัสจากเลข 0 - 9 ตอนนี้มีผู้ให้บริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตบางรายในอังกฤษแสดงความสนใจแล้ว
ระบบนี้ออกแบบมาโดยเน้นเอาใจผู้ใช้งานช่วงอายุ 15 - 25 ปี ช่วยเพิ่มความน่าใช้งานบนบริการทางการเงิน แต่ยังไม่ได้ทำการจดสิทธิบัตรและคาดว่าจะไม่สามารถทำได้
เมื่อเดือนที่แล้ว Baidu ประกาศความสำเร็จในการขึ้นเป็นที่หนึ่งของการแข่งขันจดจำภาพและจำแนกภาพ ImageNet เหนือกว่าไมโครซอฟท์และกูเกิล แต่เมื่อวานนี้ทาง ImageNet ก็ออกมาประกาศว่าผลของ Baidu ถูกถอนออกไป เพราะทีมงานของ Baidu ส่งผลเข้าไปอย่างต่อเนื่องขัดต่อกติกาที่ระบุให้ส่งผลได้ไม่เกินสองครั้งต่อสัปดาห์
ทีมงาน Image Net โพสข้อมูลแสดงจำนวนครั้งที่โพสโดยระบุว่าทีมงานของ Baidu สร้างบัญชีผู้ใช้อย่างน้อย 30 บัญชี และทดสอบกับข้อมูลทดสอบอย่างน้อย 200 ครั้ง เฉพาะสัปดาห์สุดท้ายมีการทดสอบถึง 40 ครั้งภายในช่วงเวลา 5วัน
หลังจากที่ทีมนักวิจัยของ Facebook เผยแพร่งานวิจัยที่ระบุว่าอัลกอริทึมของ News Feed ไม่มีผลมากเท่ากับตัวของผู้ใช้เอง นักวิชาการด้านอินเทอร์เน็ตศึกษา (Internet Studies) อย่าง Zeynep Tufekci ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำ School of Information and Library Science และสอนด้านสังคมวิทยาที่ University of North Carolina, Chapel Hill ออกมาระบุว่างานวิจัยดังกล่าวไม่สะท้อนความเป็นจริง โดยเธอชี้ให้เห็นว่าอัลกอริทึมของ News Feed มีผลต่อการรับรู้ข้อมูลของผู้ใช้ด้วย
หลายครั้งที่เราอาจจะคิดว่าอัลกอริทึมเบื้องหลังของ News Feed บน Facebook ทำให้เราเลือกที่จะรับข่าวสารภายในเครือข่ายสังคม (social network) ของตัวเองมากกว่าที่จะเป็นตัวเราเลือก แต่บทความวิชาการล่าสุดที่ตีพิมพ์โดยนักวิจัยของ Facebook ในวารสารวิชาการ Science กลับระบุว่าแท้ที่จริงแล้ว ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวอัลกอริทึมแต่อย่างใด หากแต่เป็นที่ตัวผู้ใช้เองที่เลือกรับข้อมูล
การแข่งขันระบบปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถจดจำและจำแนกประเภทของภาพได้อย่างแม่นยำในปีนี้แข่งขันกันอย่างดุเดือด โดย ไป่ตู้, ไมโคซอฟท์, และกูเกิลล้วนตีพิมพ์ผลสำเร็จใหม่ออกมาห่างกันไม่กี่เดืือน ล่าสุดเดือนนี้ไป่ตู้ก็ตีพิมพ์ผลงานล่าสุดมีความแม่นยำสูงกว่าคู่แข่งทั้งหมดแล้ว โดยมีความผิดพลาดเพียง 4.58% เทียบกับมนุษย์ทั่วไปที่จำแนกภาพได้ความผิดพลาด 5.1% และผลที่ดีที่สุดของกูเกิลก่อนหน้านี้อยู่ที่ 4.82%
การแข่งขันระบบปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถจดจำและจำแนกประเภทของภาพได้อย่างแม่นยำในปีนี้แข่งขันกันอย่างดุเดือด โดย ไป่ตู้, ไมโครซอฟท์, และกูเกิลล้วนตีพิมพ์ผลสำเร็จใหม่ออกมาห่างกันไม่กี่เดือน ล่าสุดเดือนนี้ไป่ตู้ก็ตีพิมพ์ผลงานล่าสุดมีความแม่นยำสูงกว่าคู่แข่งทั้งหมดแล้ว โดยมีความผิดพลาดเพียง 4.58% เทียบกับมนุษย์ทั่วไปที่จำแนกภาพได้ความผิดพลาด 5.1% และผลที่ดีที่สุดของกูเกิลก่อนหน้านี้อยู่ที่ 4.82%
ทีมนักวิจัยจาก IBM Research ประกาศความสำเร็จด้านควอนตัมคอมพิวเตอร์ใน 2 ประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกัน
อย่างแรกคือเทคนิคการตรวจจับความผิดพลาดของควอนตัม แนวคิดของควอนตัมคอมพิวเตอร์มาจากทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์ ที่เราไม่สามารถฟันธง "สถานะ" ของอนุภาคได้ว่าเป็นอย่างไรกันแน่ (ทุกอย่างคือความน่าจะเป็น) เมื่อนำอนุภาคมาทำเป็นบิต (หรือคิวบิต qubit ในภาษาของควอนตัม) จึงต้องมีวิธีตรวจสอบให้ชัดเจนว่าคิวบิตนั้นเป็น 0 หรือ 1
เทคนิคที่ใช้กันในวงการแต่เดิมสามารถตรวจจับข้อผิดพลาดแบบ bit-flip (สถานะผิดจาก 0 เป็น 1 หรือกลับกัน) เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีข้อผิดพลาดอีกแบบที่เรียกว่า phase flip (มุมการหมุนของคิวบิตเพี้ยนไป) ซึ่งเทคนิคใหม่ของ IBM สามารถตรวจจับได้ทั้งสองแบบ
กลุ่มนักวิจัยของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเท็กซัสออกมาเผยผลงานวิจัยที่ได้รับเงินทุนจากซัมซุงด้วยการสร้างระบบระบุตำแหน่งผ่าน GPS สำหรับสมาร์ทโฟนที่เคลมว่าคลาดเคลื่อนในระดับเซนติเมตรเท่านั้น
แม้ว่า GPS ที่สามารถระบุตำแหน่งได้แม่นยำระดับเซนติเมตรจะไม่ใช่ของใหม่ (ใช้ทางการทหาร ภูมิศาสตร์ และทำแผนที่มานานแล้ว) แต่ตัวอุปกรณ์ที่ใช้นั้นขนาดใหญ่ และแพงเกินกว่าจะนำมาใช้ในสมาร์ทโฟน วิธีการที่นักวิจัยกลุ่มนี้ใช้คือการรวมข้อมูล GPS เข้ากับเสาสัญญาณที่มีในสมาร์ทโฟนอยู่แล้ว และจากการที่ได้ตำแหน่งแม่นยำระดับนั้น จึงทำให้สามารถบอกข้อมูลความเอียงแม่นยำระดับ 1 องศาด้วยกัน
หลังจากเปิดตัวแพลตฟอร์ม ResearchKit ไปเมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา วันนี้ทาง Apple ได้เปิดให้นักวิจัยทางการแพทย์ สามารถเข้าใช้งาน ResearchKit ได้อย่างเป็นทางการแล้ว โดยนักวิจัยสามารถสร้างแอพหรือโปรแกรม เพื่อนำข้อมูลจากแพลตฟอร์มดังกล่าว มาใช้ประกอบการวิจัยได้แล้ว
ทั้งนี้ Apple ยังเปิดเผยตัวเลขว่าสำหรับแอพชุดแรก ที่เปิดตัวไปพร้อมๆ กับการเปิดตัว ResearchKit มีการใช้งานกับ iPhone แล้วกว่า 60,000 เครื่องทั่วโลก
แม้ว่าชิ้นส่วนของสมาร์ทโฟนจะเล็กลงทุกวันๆ เพื่อหนุนให้สามารถทำสมาร์ทโฟนที่ใช้เนื้อที่ได้คุ้มค่ามากขึ้นเรื่อยๆ แต่หนึ่งในชิ้นส่วนหลักอย่างสายอากาศกลับยังมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆ เนื่องจากสายอากาศต้องการพื้นที่มากพอที่จะส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อติดต่อสื่อสารได้ แต่ดูเหมือนในอนาคตนี้ ข้อจำกัดที่ว่ากำลังจะหายไป ด้วยการนำสายอากาศไปใส่ไว้ในชิปเสียเลย
แนวคิดดังกล่าวเป็นผลงานของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งถูกตีพิมพ์ในบทความวิชาการของ Physical Review ว่าด้วยทฤษฎีการสร้างคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในแบบที่ต่างออกไปจากแบบเดิม โดยเรียกวิธีการนี้ว่าการทำลายสมมาตร (symmetry breaking) ของสนามไฟฟ้าให้ประจุไฟฟ้าเริ่มเคลื่อนที่จากการเข้าทำลายสมมาตรเพื่อสร้างคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐฯ ตีพิมพ์งานวิจัยแบตเตอรี่ที่ใช้อะลูมิเนียมเป็นขั้ว anode และกราไฟต์เป็นขั้ว cathode
ทีมวิจัยกล่าวว่าแบตเตอรี่นี้จะไม่มีโอกาสระเบิดหรือร้อนจนผิดปกติ (overheating) ได้เลยเมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ลิเทียม-ไอออน ถึงแม้จะถูกทำให้เสียหายก็ตาม แบตเตอรี่ที่มีคุณสมบัติไม่ไวต่อปฏิกิริยา (low reactivity) นี้ยังช่วยให้มันสามารถถูกขึ้นรูปบิดงอเข้ากับอุปกรณ์ที่มีรูปร่างที่ยืดหยุ่นได้
นอกจากความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น แบตเตอรี่นี้ยังรองรับการชาร์จไฟเต็มในเวลาเพียงหนึ่งนาที และรองรับการชาร์จซ้ำกว่าหลายพันถึงหลายหมื่นครั้งโดยไม่สูญเสียความสามารถในการเก็บประจุเลย ส่วนต้นทุนการผลิตแบตเตอรี่ก็ถูกลงด้วยการใช้อะลูมิเนียมแทนลิเทียม
เท้าความย้อนถึงงานวิจัยด้านการตัดต่อวิดีโอชื่อ Hyperlaps ผลงานของ Microsoft ที่เผยแพร่เป็นครั้งแรกเมื่อราวครึ่งปีก่อน มันคือระบบซอฟต์แวร์ที่ช่วยปรับปรุงคลิปภาพวิดีโอที่ถ่ายด้วยกล้อง action camera ให้ได้เป็นภาพต่อเนื่องที่ลื่นไหล อีกไม่นานมันจะกลายเป็นแอพสำหรับ Windows Phone แล้ว
รายงานข่าวระบุว่าตอนนี้แอพ Hyperlapse ได้รับการพัฒนาและเข้าสู่ขั้นตอนการทดสอบเป็นการภายในแล้ว แฟนๆ Windows Phone อดใจรอกันอีกนิดก็น่าจะได้เล่นแอพตบแต่งวิดีโอสุดเนียนอันนี้
Facebook โชว์ผลงานวิจัยล่าสุดจากทีมปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) สองอย่างดังนี้
เมื่อช่วงปลายสัปดาห์ DARPA (Defense Advance Research Project Agency) หรือองค์กรโครงการวิจัยทางความมั่นคงระดับสูง สังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ออกมาระบุว่าได้จัดตั้งโครงการ Brandeis เพื่อวิจัยเทคโนโลยีใหม่ที่จะช่วยปกป้องความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์ให้ดียิ่งขึ้น
DARPA ระบุว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้การปกป้องข้อมูลส่วนตัวนั้นไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งฝั่งผู้บริโภคที่ไม่มีกลไกที่ดีพอ และฝั่งผู้ให้บริการที่อาจจะไม่ได้ออกมาตรการคุ้มครองที่ดีพอ ซึ่งทาง DARPA ระบุว่า โครงการนี้จะช่วยทำให้ความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์ดีขึ้น และทุกคนจะได้ใช้เทคโนโลยีนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา บริษัท หรือหน่วยงานรัฐของสหรัฐอเมริกา
เมื่อคืนนี้ Apple ได้เปิดตัว Research Kit โดยโฆษณาว่ามันเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยนักวิจัยด้านการแพทย์ (Medical Research -- บางทีเราจะใช้คำว่า Clinical Research ในกรณีที่เก็บคนไข้ที่เป็นคนจริงๆ เพราะ Medical Research นี่รวมทดลองทางการแพทย์ที่ทำในห้องทดลองและสัตว์ทดลองด้วย) เพื่อนำไปในการเก็บข้อมูล และเพิ่มจำนวนคนไข้ที่สมัครใจเข้าร่วมงานวิจัย ผมในฐานะที่คลุกคลีอยู่กับวงการวิจัยทางการแพทย์ ขอแสดงความเห็นส่วนตัวจากคนที่เคยทำงานวิจัยมาบ้างเล็กน้อยดังนี้ครับ
หนังสือพิมพ์ The New York Times มีบทสัมภาษณ์ Astro Teller หัวหน้าห้องวิจัย Google X ของกูเกิล
จำได้ไหม? พวกเราจำได้ใช่ไหม? ปีที่แล้ว Google เผยแพร่งานวิจัยการใช้โครงข่ายประสาทเทียมที่เรียนรู้จนสามารถแยกแยะวัตถุที่เห็นในภาพต่างๆ ได้ ล่าสุด Microsoft ก็โชว์ผลงานลักษณะเดียวกันนี้ให้เห็นบ้าง โดย Microsoft อ้างว่านี่เป็นครั้งแรกที่ระบบซอฟต์แวร์สามารถเอาชนะมนุษย์ได้สำเร็จในการแยกแยะวัตถุในภาพ
นักวิจัยจาก Swiss Federal Institute of Technology ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และ University of California จากสหรัฐอเมริกานำเสนอผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์คอนแทคเลนส์ที่สามารถซูมภาพขยายใหญ่ได้ 2.8 เท่า โดยผู้ใช้เพียงควบคุมการทำงานด้วยการขยิบตา
ไมโครซอฟท์ รีเสิร์ช ได้ทำต้นแบบ AutoCharge ระบบชาร์จไฟไร้สายโดยการส่องลำแสงจากโคมไฟที่มีกล้องตรวจจับตำแหน่งวัตถุไปยังมือถือที่ติดแผงโซลาร์เซลล์ไว้ AutoCharge สามารถชาร์จมือถือที่วางบนโต๊ะหรืออยู่ในห้อง (อาทิ โคมไฟติดเพดาน) ได้เร็วเทียบเท่ากับการชาร์จไฟแบบมีสาย
จำข่าวเรื่องงานวิจัยสร้างอนุภาคนาโนไหลตามกระแสเลือดเพื่อตรวจหามะเร็งที่ทีม Google X กำลังทำอยู่ได้ไหม ตอนนี้มีข้อมูลเพิ่มเติมว่า Google X ลงทุนทำผิวหนังมนุษย์เทียมเพื่อใช้ทดสอบการทำงานของอนุภาคที่ว่านี้ด้วย
เว็บไซต์ The Atlantic ได้มีโอกาสบุกเข้าไปชมสถานที่ทำงานของ Google X และสัมภาษณ์ทีมงานเกี่ยวกับงานวิจัยที่ว่านี้ ทั้งยังมีโอกาสได้พบกับชิ้นส่วนแขนมนุษย์ที่ Google X ทำเทียมขึ้นมาเพื่อเลียนแบบร่างกายและใช้ทดสอบการทำงานของอนุภาคนาโนสุดมหัศจรรย์ซึ่งจะทำงานควบคู่กับกำไลหามะเร็งที่ Google X พัฒนาขึ้นมาควบคู่กัน