มีคนพบโครงการพัฒนาระบบผู้ช่วยส่วนตัว (personal assistant) แบบเดียวกับ Cortana หรือ Siri ที่อยู่ภายใต้ห้องปฏิบัติการ Conversational Systems Lab ของไมโครซอฟท์ รีเสิร์ช ชื่อ Louise
นักพัฒนาโครงการดังกล่าวอธิบายว่า Louise คือโครงการต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายปีในการสร้างต้นแบบเพื่อที่จะพัฒนาระบบผู้ช่วยส่วนตัวที่ทำงานโดยอัตโนมัติ (automated personal assistant) ทางนักพัฒนาได้อัพโหลดคลิปนำเสนอโครงการ Louise บนวินโดวส์โฟน แท็บเล็ต และโทรทัศน์ รวมถึงคลิปนำเสนอโครงการ Louise ที่ทำงานระหว่างคู่สนทนาพูดคุยผ่าน Skype ด้วย สำหรับโครงการ Louise บนโทรทัศน์จะพิเศษหน่อยตรงที่การสั่งการระบบผู้ช่วยส่วนตัวนั้นเป็นได้ทั้งเสียงและท่าทาง (gesture) ครับ
ในยุคที่ Internet of Things กำลังคืบคลานเข้ามามีบทบาทกับชีวิตผู้คนมากขึ้น ทำให้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ได้รับความสนใจในกลุ่มของแฮกเกอร์เช่นกัน ล่าสุดมีข่าวว่าแฮกเกอร์กลุ่มหนึ่งสามารถโจมตีหลอดไฟอัจฉริยะได้สำเร็จแล้ว
การพัฒนาของเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติที่ก้าวกระโดดในระยะหลัง ไม่เพียงแต่ให้ประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมงานออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังเป็นทางเลือกในการพัฒนาวิทยาการด้านอื่นๆ ซึ่งก็รวมถึงด้านการแพทย์ด้วย ดังเช่นผลงานการค้นคว้าของเหล่านักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการนำการพิมพ์ 3 มิติมาช่วยในการสร้างอวัยวะเทียมให้แก่มนุษย์ และล่าสุดก็สามารถหาทางสร้างหลอดเลือดเทียมด้วยการพิมพ์เป็นผลสำเร็จ
สมมติว่าเจอกับคนที่ล้มลงและหยุดหายใจ ผู้คนมักจะรีบโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือก่อน หากไม่มีความรู้พื้นฐานในการช่วยชีวิตคน ในระหว่างที่รอทีมแพทย์มาช่วยเหลือพวกเขาก็อาจพยายามหาข้อมูลการช่วยชีวิตขั้นต้นจากแหล่งต่างๆ อาทิ WebMD, YouTube หรือ Wikipedia เป็นต้น แต่ในห้วงเวลาวิกฤตินั้นการงมหาข้อมูลแบบนี้คงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก
HP Labs เปิดตัวโครงการวิจัยชื่อ The Machine ตั้งเป้าออกแบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ยุคหน้า ที่สามารถตอบสนองการประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลโดยใช้ต้นทุนและพลังงานน้อยลงจากในปัจจุบันหลายเท่า
โครงการ The Machine ประกอบด้วยงานวิจัย 3 ส่วนหลักคือ
ขอมาเก็บตกข่าวงานวิจัยของไมโครซอฟท์ ที่อาจจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของมือถือโนเกียโค้ดเนม McLaren ซึ่งมีข่าวว่าจะมากับเทคโนโลยี 3D Touch หรือการสั่งงานแบบไม่ต้องสัมผัสหน้าจอครับ
ไมโครซอฟท์ รีเสิร์ชนำเสนอผลงานวิจัย A Low-cost Transparent Electric Field Sensor for 3D Interaction on Mobile Devices ซึ่งกล่าวถึงระบบตรวจจับการเคลื่อนไหวของนิ้วมือกับฝ่ามือในสามมิติ และการลากนิ้วแบบไม่สัมผัสกับอุปกรณ์พกพา (in-air gesture) ได้
ในอนาคตอันใกล้ เราอาจได้เห็นระบบซอฟต์แวร์ที่จะวิเคราะห์และประเมินได้ว่าข้อความใดบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นเรื่องจริง หรือเรื่องโกหกหลอกเล่น
ทีมนักวิจัยจากหลายประเทศได้ทำงานร่วมกันมานานกว่า 3 ปีในการพัฒนาโครงการ Pheme (ตั้งตามชื่อเทพีแห่งข่าวลือและเรื่องซุบซิบของกรีก) ซึ่งเป็นผลงานจากการผลักดันสนับสนุนเงินทุนโดยคณะกรรมการยุโรป ร่วมกับบุคลากรจาก 5 มหาวิทยาลัยในยุโรป กับบริษัทเอกชนอีก 4 ราย โดยเป้าหมายเพื่อให้มีระบบตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อความใดๆ ที่ถูกส่งต่อกันบนโลกเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อประเมินว่าเนื้อหาดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือเพียงใด
กลุ่มนักศึกษาปริญญาเอกจากแผนกวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์แห่ง Columbia University ได้ทำโครงการวิจัยที่ชื่อ Cider ซึ่งเป้นการหาทางเอาแอพสำหรับระบบปฏิบัติการ iOS มารันบนอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android
การทำงานของ Cider นี้ไม่ได้พึ่งพาการใช้ระบบปฏิบัติการจำลอง (emulator) แต่เป็นการแก้ไขโค้ดของ Android ในระดับ kernel ซึ่งมีทั้งการปรับแก้โค้ด compile-time และการใช้ diplomatic function โดยอย่างแรกนั้นทำให้ซอร์สโค้ดของแอพ iOS ถูกนำมาใช้ใน kernel ของ Android ได้ง่ายขึ้น ทำให้กระบวนการทำงานลดการพึ่งพาส่วนติดต่อแอพในระดับ binary ลงด้วย
เอกสารงานวิจัยที่เพิ่งได้รับการเผยแพร่ใหม่ระบุว่า ภาพถ่ายดิจิทัลแต่ละภาพมีลักษณะเฉพาะซึ่งรวมถึงรูปแบบของ noise ที่เกิดในภาพแตกต่างกันออกไป ซึ่งอาจทำให้ระบุได้ว่าภาพถ่ายนั้นถูกถ่ายโดยใคร และงานวิจัยนี้อาจเป็นประโยชน์ต่องานสืบสวนหาผู้กระทำผิด (เช่น ถ่ายภาพอนาจารเด็ก, ขโมยสมาร์ทโฟนแล้วมาใช้งานถ่ายภาพ) ในอนาคต
เราเคยเห็นตัวอย่างการพัฒนาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบสวมใส่เพื่อการทหารมาแล้ว ดังเช่นงานวิจัยใช้แว่น Google Glass ของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ล่าสุดมีอีกตัวอย่างโดยกองทัพของนอร์เวย์ได้ใช้ Oculus Rift ในการควบคุมรถถัง
ในการทดสอบใช้งาน ได้มีการติดตั้งกล้องถ่ายภาพไว้ด้านนอกของรถถัง โดยภาพจากกล้องดังกล่าวจะไปแสดงผ่าน Oculus Rift ที่เจ้าหน้าที่ผู้ขับรถถังสวมใส่อยู่ในขณะที่นั่งอยู่ภายในรถ ด้วยวิธีการนี้ ปัญหาเรื่องทัศนวิสัยการมองของผู้ขับรถถังก็จะถูกกำจัดไปในทันที
เมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมา ผมกับพี่ neizod ได้ไปฟังสัมมนาของไมโครซอฟท์ในงาน Microsoft Innovation Days ครับ โดยภายในงานก็เชิญทั้งฝ่ายไอทีของหน่วยงานต่างๆ มาร่วมการฟังสัมมนา รวมถึงทีมนักวิจัยจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ก็มาร่วมพูดในงานนี้ด้วยครับ ซึ่งหัวข้อบรรยายในงานมีดังนี้
ความหวังอย่างหนึ่งของผู้คนในปัจจุบันคือสมาร์ทโฟนที่สามารถปรับเปลี่ยนขนาดหน้าจอได้ตามที่ต้องการ (เช่น เมื่อต้องการอ่านหนังสือก็สามารถขยายหน้าจอได้ แบบที่ไมโครซอฟท์เคยออกวิดีโอมา) และเริ่มมีผู้ผลิตอย่าง Kyocera ที่เริ่มทำสมาร์ทโฟนแบบพับสองหน้าจออย่าง Echo มาแล้ว ล่าสุด มหาวิทยาลัยควีนส์ ประเทศแคนาดา ได้เผยสมาร์ทโฟนต้นแบบที่มีชื่อว่า Paperfold ซึ่งเป็นสมาร์ทโฟนที่พับได้เช่นกัน
Microsoft พัฒนาแป้นพิมพ์แบบใหม่ที่นอกจากจะมีปุ่มกดต่างๆ ไว้สำหรับงานพิมพ์แล้ว ยังมีความสามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวของมือ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ท่าทางเพื่อควบคุมการทำงานต่างๆ ของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้อีกด้วย คล้ายกับการใช้ Leap Motion
เริ่มตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป นักศึกษาของ MIT จะได้รับแจก Bitcoin ทุกคน โดยแต่ละคนจะได้รับในจำนวนที่มีมูลค่าเทียบเท่าเงิน 100 ดอลลาร์ (ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนในปัจจุบันคิดเป็น 0.2247 BTC) ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเกี่ยวกับ Bitcoin
โครงการนี้ริเริ่มโดย Jeremy Rubin นักศึกษาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และ Dan Elitzer ประธานชมรม MIT Bitcoin ซึ่งได้ช่วยกันรวบรวมเงินกันมากกว่าครึ่งล้านดอลลาร์เพื่อแจกจ่ายให้แก่นักศึกษา 4,528 คน โดยเงินทุนเหล่านั้นได้มาจากผู้บริจาค 25 ราย ซึ่งราวครึ่งหนึ่งของเงินทั้งหมดได้รับมาจาก Alexander Morcos ผู้ร่วมก่อตั้ง Hudson River Trading
ผลงานล่าสุดของ Disney Research ในตอนนี้คือการทดลองสร้างตุ๊กตาหมีจากวัสดุสิ่งทอโดยใช้เทคนิคการพิมพ์ 3 มิติ
ถึงแม้จะขึ้นชื่อว่าการพิมพ์ แต่การทดลองวิจัยในครั้งนี้ไม่ได้ใช้การพ่นเนื้อวัสดุเพื่อขึ้นรูป หากแต่เป็นการถักทอเส้นด้ายต่อกันทีละน้อยทีละชั้น จนได้เป็นวัตถุมีรูปทรงตามต้องการ (ตัวอย่างเช่นตุ๊กตาหมี) ซึ่งชิ้นงานที่ได้ก็จะมีรูปทรงตามแบบที่วาดไว้ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หากแต่สิ่งที่ต่างออกไปจากผลงานการพิมพ์ 3 มิติทั่วไป คือแทนที่จะได้ชิ้นงานซึ่งมีความแข็งเกร็ง ก็จะได้ชิ้นงานที่มีความยืดหยุ่นและมีผิวสัมผัสที่อ่อนนุ่มนั่นเอง
นักวิทยาศาสตร์ของ University of Michigan ได้วิจัยพัฒนาวัสดุแบบใหม่ที่ประกอบไปด้วยผลึกที่เปลี่ยนรูปลักษณ์ได้เมื่อโดนแสงตกกระทบ ซึ่งอาจนำไปใช้ประโยชน์ทำหน้าจอสัมผัสแบบเปลี่ยนรูปทรงได้
ตัวผลึกที่ประกอบขึ้นเป็นวัสดุพิเศษนี้จะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อคลื่นแสงที่ความถี่ต่างๆ แตกต่างกันออกไป โดยผลึกเหล่านั้นจะขยับเปลี่ยนตำแหน่งทำให้รูปทรงของเนื้อวัสดุมีการเปลี่ยนแปลง
Aditya Khosla นักศึกษาปริญญาเอกจาก MIT ได้ทำการวิจัยภาพจาก Flickr จำนวน 2.3 ล้านภาพ โดยเขียนอัลกอริทึมวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ของภาพ เช่น สีสัน องค์ประกอบ แท็ก จำนวนไลค์ การเข้าชม หรือแม้แต่การแชร์รูปภาพ เพื่อดูว่าปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลให้ภาพนั้นมียอดวิวที่สูงกว่าปกติ
Khosla สรุปผลการวิเคราะห์ไว้ดังนี้
เมื่อปลายปีที่แล้ว Blognone ได้ขอความร่วมมือสมาชิกเว็บร่วมทำแบบทดสอบความจำรหัสผ่าน ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากสมาชิกเว็บเป็นอย่างดี งานวิจัยนี้ได้เข้าสัมมนาในงาน ACIIDS 2014 ที่ผ่านมาครับ
งานของเราเกิดขึ้นมาจากข้อจำกัดด้านความจำรหัสผ่านของมนุษย์ การตั้งรหัสผ่านให้ปลอดภัยมากๆ อาจส่งผลให้ผู้ใช้ไม่สามารถจำรหัสผ่านที่ตั้งได้ เราเชื่อว่าการใช้รูปภาพและเรื่องราวสามารถช่วยแก้ไขปัญหาด้านความจำของมนุษย์ได้
เรานำเสนอแนวทางของเราภายใต้ชื่อ "รหัสผ่านท่องเที่ยว" ซึ่งมันเปลี่ยนแนวคิดว่ารหัสผ่านต้องเป็นตัวอักษรพิมพ์เล็กพิมพ์ใหญ่และอักขระพิเศษหลายๆ ตัวอักษร ไปใช้เรื่องราวกิจกรรมการท่องเที่ยว ณ เมืองต่างๆ แทน กิจกรรมเหล่านี้จะถูกแทนที่ด้วยรูปภาพบนแผนที่ ดังตัวอย่างในภาพ 1
ถึงแม้ซัมซุงจะทำการตลาดประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลาย ยอดขายสมาร์ทโฟนขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง (อ้างอิง) แต่งานวิจัยโดย Strategic Analytics ชี้ว่าผู้ใช้ซัมซุงแทบจะไม่ได้ใช้แอพของซัมซุงเลย หรือใช้ก็ใช้น้อยมาก
Strategic Analytics ที่ติดตามผู้ใช้ Galaxy S3 และ S4 ในสหรัฐ พบว่าผู้ใช้ใช้เวลาน้อยกว่า 7 นาทีในการใช้งานแอพของซัมซุงเช่น ChatOn, S Voice และ Samsung HUB ในหนึ่งเดือน ขณะที่แอพของกูเกิลอย่าง YouTube, Play Store และเสิร์ชเอนจินถูกใช้งานเฉลี่ย 149 นาที เฟซบุ๊กและอินสตาแกรมถูกใช้งานมากกว่า 11 ชั่วโมงและ 2 ชั่วโมงตามลำดับในระยะเวลาหนึ่งเดือน
Curtis Wong ผู้ที่อยู่เบื้องหลังแอพแผนที่โลกและอวกาศ WorldWide Telescope ภายใต้ไมโครซอฟท์ รีเสิร์ช และ GeoFlow เครื่องมือพล็อตข้อมูลจาก Excel บนแผนที่โลก 3 มิติ ได้นำเสนอโครงการ Holograph แพลตฟอร์มนำเสนอข้อมูลแบบตายตัวหรือแบบมีพลวัต (dynamic) ใน 3 มิติให้อยู่เหนือหรืออยู่ใต้แนวระนาบของหน้าจอ 2 มิติ
นักวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีในเกาหลีใต้ KAIST (Korea Advanced Institute of Science and Technology) ทำการวิจัยสร้างระบบส่งพลังงานไฟฟ้าแบบไร้สายที่จะสามารถชาร์จไฟให้แก่สมาร์ทโฟนถึง 40 เครื่องได้ในเวลาเดียวกัน
ทีมวิจัยได้สาธิตอุปกรณ์รุ่นต้นแบบของ Dipole Coil Resonant System (DCRS) ซึ่งก็คือระบบสั่นพ้องของขดลวดแบบ 2 ขั้ว โดยทำการส่งพลังงานระหว่างขดลวด 2 ชุดด้วยการเหนี่ยวนำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทั้งนี้ระบบดังกล่าวสามารถจ่ายพลังงานจากขดลวดฝั่งส่งกำลังในปริมาณที่มากเพียงพอที่จะเลี้ยงอุปกรณ์หลายชิ้นได้ในคราวเดียวกัน ไปยังขดลวดฝั่งรับพลังงานที่จะกระจายพลังงานไฟฟ้าไปให้อุปกรณ์ที่วางอยู่ในตำแหน่งต่างๆ ในห้องผ่านทางสายไฟและปลั๊กที่ต่อพ่วงอยู่กับขดลวดนั้น
ไมโครซอฟท์ รีเสิร์ชโชว์ผลงาน 3D Reconstruction on Portable Devices ซึ่งเป็นการนำอุปกรณ์พกพาอย่างสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตมาถ่ายภาพพื้นผิววัตถุโดยรอบและประมวลผลเพื่อสร้างโมเดลสามมิติบนกลุ่มเมฆ
ทีมวิจัยกล่าวว่า ความท้าทายคือการแนะนำให้ผู้ใช้ถ่ายภาพพื้นผิวทั้งหมดของวัตถุ เพื่อแก้ปัญหานี้จึงใช้การประมวลผลทรงกลมสามมิติโดยรอบวัตถุและแนะนำให้ผู้ใช้ถ่ายภาพตาม (ดูคลิปนำเสนอได้ที่ท้ายข่าว รายละเอียดเพิ่มเติมนั้นดูได้จากที่มาของข่าว)
ทีมวิจัยกล่าวว่า สามารถปรับใช้เทคโนโลยีได้หลากหลาย อาทิ การจัดวางเฟอร์นิเจอร์ อีคอมเมิร์ช การระบุและค้นหาวัตถุ เป็นต้น โมเดลสามมิตินี้ยังสามารถพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์สามมิติได้ด้วย
ที่งาน TechFest 2014 เมื่อกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นักวิจัยจาก Human-Computer Interaction Group ของไมโครซอฟท์ รีเสิร์ชได้นำเสนอโครงการ Interactive Tile ซึ่งกล่าวถึงส่วนติดต่อผู้ใช้ (UI) ที่ผู้ใช้สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับฟังก์ชันหรือคอนเทนต์ของแอพหนึ่งผ่าน Live Tiles ได้ อาทิ ผู้ใช้สามารถเปิดไฟล์เอกสารโดยคลิกที่ชื่อไฟล์ที่ปรากฏบน Live Tiles บน Start screen ของ Windows 8 หรือ ผู้ใช้สามารถตอบข้อความ (reply) เพื่อนที่โพสต์บนเฟซบุ๊กได้จากไทล์ของแอพการเชื่อมต่อบุคคล (People) (แอพเรียกดูรายชื่อผู้ติดต่อแบบ Metro ที่มากับ Windows 8) โดยไม่ต้องเปิดแอพขึ้นมาแต่อย่างใด
จากเดิมที่เข้าใจกันว่า เกมที่มีภาพ และเนื้อหารุนแรง จะส่งผลให้ผู้เล่นมีแนวโน้มที่จะเป็นคนรุนแรงนั้น ผลการวิจัยล่าสุดชี้ว่าไม่มีความเกี่ยวข้องแต่อย่างใด
โดยคุณ Andrew Przybylski จากสถาบันอินเทอร์เน็ตแห่งมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดประเทศอังกฤษ (Oxford Internet Institute) ได้ทำการทดสอบจากกลุ่มตัวอย่างอายุ 20 - 30 ปี จำนวน 300 คน โดยการให้เล่นเกมที่ผ่านการดัดแปลงส่วนติดต่อผู้ใช้, คอนโทรลเลอร์ และความยาก หลายเกมหลายแนวด้วยกัน เพื่อศึกษาดูว่ามีปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลกับอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมของผู้รับการทดสอบ
ช่องโหว่ของตัวสร้างเลขสุ่มเทียม Dual_EC_DRBG นับเป็นประเด็นสำคัญที่วงการวิชาการรหัสวิทยาที่เคยเป็นมิตรกับ NSA ปฎิเสธที่จะร่วมงาน รับฟัง หรือพูดคุยกับ NSA ลงเรื่อยๆ ตอนนี้ทีมวิจัยกลุ่มหนึ่งก็เผยแพร่งานวิจัยค้นคว้าว่าผลกระทบของ Dual_EC_DRBG นั้นมีผลกระทบต่อการเข้ารหัสโดยทั่วไปอย่างไรบ้าง โดยเผยแพร่ในเว็บ ProjectBullrun.org ที่ตั้งชื่อตามโครงการ BULLRUN ของ NSA เอง