Qualcomm เปิดตัวชิปตระกูล Snapdragon สำหรับมือถือระดับกลาง-ล่างใหม่ จำนวนทั้งหมด 4 รุ่น
ชิปรุ่นสำคัญคือ Snapdragon 695 5G เป็นตัวต่อจาก Snapdragon 690 รุ่นของปีที่แล้ว อัพเกรดมาใช้คอร์ซีพียู Kryo 660 (ตัวเดิม 560) แรงขึ้น 15%, จีพียูเป็น Adreno 619 แรงขึ้น 30%, เปลี่ยนมาใช้กระบวนการผลิตระดับ 6nm (ของเดิม 8nm) และรองรับ 5G ทั้งคลื่น Sub-6 และ mmWave
ชิปตัวที่สองคือ Snapdragon 680 4G ตัวรองลงมาของซีรีส์ 6xx ใช้ซีพียู Kryo 265, จีพียู Adreno 610, กระบวนการผลิต 6nm เหมือนกัน จุดต่างคือไม่รองรับ 5G เน้นใช้กับมือถือราคาประหยัดที่ยังเป็น 4G อยู่
Nikkei Asia รายงานข่าวว่า Oppo เป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายล่าสุดที่พยายามออกแบบชิป SoC ของตัวเอง และคาดว่าจะใช้งานได้จริงในราวปี 2023-2024
ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลชิปของ Oppo มากนัก บอกเพียงว่าตั้งใจใช้โรงงานผลิตของ TSMC ระดับ 3nm, เน้นใช้ในมือถือไฮเอนด์ เพื่อลดการพึ่งพาชิปจาก Qualcomm และ MediaTek
แหล่งข่าวของ Nikkei บอกว่า Oppo เริ่มจ้างทีมออกแบบชิปมาตั้งแต่ปี 2019 หลังเห็นสหรัฐแบน Huawei ทำให้พยายามกระจายความเสี่ยง ลดการพึ่งพาชิปจากบริษัทภายนอกลง แนวทางของ Oppo ก็ใช้วิธีดึงตัวบุคลากรจากทั้ง Qualcomm, MediaTek และ Huawei มาทำงานด้วย โดยจ้างพนักงานทำงานในไต้หวัน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
Google Tensor ออกแบบโดยทีม Google Silicon ที่พัฒนาชิปในมือถือรุ่นก่อนหน้านี้ ได้แก่ Pixel Visual Core ของ Pixel 2/3 และชิปความปลอดภัย Titan M แต่เป็นคนละทีมกับที่พัฒนาชิป TPU สำหรับคลาวด์และเซิร์ฟเวอร์
แกนหลักของชิป Google Tensor อิงตามพิมพ์เขียวของ Arm เป็นหลักทั้งตัวซีพียู (Cortex) และจีพียู (Mali) ฝั่งซีพียูมีทั้งหมด 8 คอร์สูตร 2+2+4 ได้แก่
ส่วนจีพียูเป็น Mali-G78 ของ Arm เวอร์ชัน MP20 (20 คอร์) แรงกว่าใน Exynos 2100 ที่เป็นเวอร์ชัน MP14 (14 คอร์)
Google เปิดตัวชิปเซ็ตของตัวเอง Google Tensor บน Pixel 6 และ Pixel 6 Pro ซึ่ง Google ชูจุดขายใช้ประมวลผล Machine Learning ภายในเครื่องให้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
ภายใน Google Tensor มีชิป TPU สำหรับประมวลผล Machine Learning โดยเฉพาะ, ISP ชิปประมวลผลภาพ, CPU ที่ไม่ได้ระบุรุ่น 8 คอร์ (2+2+4) แบ่งเป็น 2 คอร์ high performance, 2 คอร์ mid performance และ 4 คอร์ high efficiency
นอกจากนี้ยังมีชิปที่ Google เรียกว่า Context Hub สำหรับประมวลผล Machine Learning แบบใช้พลังงานน้อย รวมถึงโหมด Ambient ต่างๆ เช่น หน้าจอ Always-on หรือ Now Playing
นอกจากนี้ยังมีชิปความปลอดภัยภายใน Google Tensor ที่ทำงานร่วมกับชิป Titan M2 ที่เป็นชิปความปลอดภัยแยกต่างหากอีกตัวด้วย
ที่ผ่านมา มือถือของซัมซุงใช้ชิปจากหลายค่าย ทั้ง Exynos ของซัมซุงเอง, Snapdragon ของ Qualcomm และชิปจาก MediaTek ในมือถือรุ่นล่างๆ หากคิดสัดส่วนมือถือซัมซุงที่ใช้ Exynos อาจมีเพียง 20% ของมือถือทั้งหมดเท่านั้น
ปีหน้าแนวทางของซัมซุงอาจเปลี่ยนไป เว็บไซต์ ET News ของเกาหลีใต้รายงานว่า ซัมซุงมีแผนเพิ่มสัดส่วนมือถือที่ใช้ Exynos มาเป็น 50-60% เลยทีเดียว
เหตุผลหลักๆ คงเป็นว่า ซัมซุงเตรียมคัมแบ็คอย่างยิ่งใหญ่กับ Exynos ของปี 2022 ที่จะใช้จีพียูจาก AMD บนชิปมือถือเป็นครั้งแรก และน่าจะทยอยใช้งานกับชิประดับรองๆ ตัวอื่นๆ ในระยะถัดไป
สัปดาห์หน้าเราจะเห็นกูเกิลเปิดตัว Pixel 6 ที่ใช้หน่วยประมวลผลออกแบบเอง Tensor ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เพราะมือถือตระกูล Pixel ใช้ชิป Snapdragon มาโดยตลอด
จะด้วยเหตุผลใดก็ไม่ทราบ บัญชีทวิตเตอร์ @snapdragon ออกมาโพสต์ถึงเรื่องนี้ โดยยกคำพูดลอยๆ ขึ้นว่า "We've decided to make our own smartphone SoC instead of using Snapdragon" พร้อมไอคอนธงแดง (red flag) ซึ่งทุกคนคงเดากันได้ว่าเป็นการแซะกูเกิลที่ออกไปทำชิปของตัวเอง แถมยังจับมือกับคู่แข่งคือซัมซุงอีกด้วย
เก็บตกรายละเอียดของชิป A15 Bionic ตัวใหม่ที่ใช้ใน iPhone 13, iPhone 13 Pro และ iPad Mini ที่เปิดตัวเมื่อคืนนี้
โครงสร้างหลักของชิปยังเหมือนเดิมกับของ A14 Bionic รุ่นที่แล้วคือ ซีพียู 6 คอร์ (4+2), จีพียู 4 คอร์, Neural Engine 16 คอร์ และยังใช้กระบวนการผลิต 5nm TSMC เหมือนเดิม จุดต่างเดียวคือกรณีที่เป็น iPhone 13 Pro จะได้จีพียู 5 คอร์ที่ถือเป็นรุ่นท็อปของ A15
Counterpoint Research เปิดส่วนแบ่งตลาดชิปมือถือไตรมาสที่ 2 ปี 2021 แล้ว MediaTek ยังนำเป็นอันดับ 1 ด้วยส่วนแบ่งตลาด 38% หลังแซง Qualcomm แชมป์เก่าได้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2020 คาดจากปัญหาการขาดแคลนชิป ที่ Qualcomm ระบุว่าน่าจะดีขึ้นในช่วงปลายปีนี้
หลังจากแซง Qualcomm เป็นเบอร์หนึ่งได้ด้วยส่วนแบ่ง 31% ต่อ 29% MediaTek ก็มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันอยู่ที่ 38% มีชิปชูโรงคือ Dimensity 700 สำหรับชิป 5G และ Helio P35 กับ G80 ในฝั่งมือถือ 4G
นอกจากการเปิดตัว Galaxy Watch 4 ซัมซุงยังเปิดตัวชิป Exynos W920 ที่ใช้ใน Galaxy Watch 4 ออกมาพร้อมกัน
การมาถึงของ Exynos W920 ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของนาฬิกาสายซัมซุง เพราะ Galaxy Watch 1-3 ล้วนแต่ใช้ชิป Exynos 9110 ตัวเดียวกันหมด การอัพเกรดชิปรอบนี้ทำให้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอีกระดับ
สเปกของ Exynos W920 คือ
ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดทางเทคนิคของชิป Google Tensor ใน Pixel 6 ออกมามากนัก
ล่าสุดมีข่าวลือออกมาจากเว็บ Galaxy Club ของเนเธอร์แลนด์ ระบุว่าชิป Tensor ตัวนี้คือ Exynos 9855 รุ่นคัสตอมของซัมซุง ที่ใช้โค้ดเนมว่า Whitechapel ซึ่งตรงกับข่าวลือก่อนหน้านี้
ชิปตัวนี้จะมีสมรรถนะอยู่ตรงกลางระหว่าง Exynos 9840 ตัวที่ใช้ใน Galaxy S21 และ Exynos 9925 ตัวใหม่ที่จะใช้ใน Galaxy S22 (เป็นตัวเดียวกับที่จะใช้จีพียู AMD RDNA2) ทำให้คนที่คาดหวังประสิทธิภาพระดับเรือธงของ Pixel 6 ก็น่าจะไม่ผิดหวังกัน เพราะน่าจะใกล้เคียงกับ S21 เป็นอย่างน้อย
Rick Osterloh หัวหน้าทีมฮาร์ดแวร์ของกูเกิล ให้สัมภาษณ์กับ Gizmodo อธิบายรายละเอียดของชิป Google Tensor ที่ใช้ใน Pixel 6 เพิ่มเติม
Osterloh บอกว่าที่ผ่านมา Pixel พยายามผลักดันฟีเจอร์ด้าน AI บนมือถือมาตลอด เช่น HDR+, Google Assistant (Pixel 1), Google Lens (Pixel 2), Night Sight (Pixel 3) แต่ก็ติดข้อจำกัดเรื่องการประมวลผล AI บนชิปที่มีในท้องตลาด ทำให้ Pixel ไปได้ไม่สุดตามที่กูเกิลตั้งใจไว้ ทางออกจึงเป็นการออกแบบชิปเอง
MediaTek ออกชิป SoC ซีรีส์ Kompanio รุ่นใหม่ที่เน้นใช้งานกับแท็บเล็ตและ Chromebook ที่รองรับ 5G โดยชิปรุ่นใหม่ Kompanio 1300T ใช้กระบวนการผลิต 6nm TSMC มีสเปกดังนี้
Qualcomm เปิดตัวหน่วยประมวลผล Snapdragon 888 Plus 5G เวอร์ชัน Plus สำหรับมือถือที่วางขายช่วงครึ่งหลังของปี 2021
Snapdragon 888 Plus ยังคงธรรมเนียมเดิมของรุ่น Plus คือปรับคล็อคของซีพียู Kryo 680 แกน Prime ที่เป็น Cortex-X1 แกนเดียว จากเดิม 2.84GHz เพิ่มเป็น 3.0GHz และเพิ่มสมรรถนะของ Qualcomm AI Engine จากเดิม 26 TOPS มาเป็น 32 TOPS ส่วนสเปกอย่างอื่นยังเหมือนเดิม
แบรนด์มือถือที่ประกาศใช้ Snapdragon 888 Plus แล้วคือ ASUS ROG, HONOR Magic 3, Motorola, Vivo, Xiaomi จะเริ่มเปิดตัวในช่วงไตรมาส 3/2021
ในงาน Keynote ของ AMD ในงาน Computex วันนี้ Lisa Su ซีอีโอของ AMD ออกมายืนยันเองว่าชิป Exynos เรือธงของ Samsung จะมาพร้อมกับจีพียู RDNA 2 ของ AMD เป็นครั้งแรกบนมือถือ และจะมีฟีเจอร์ ray tracing ช่วยให้แสงเงาสมจริง, variable rate shading ปรับอัตรา shading ต่างกันในแต่ละส่วนของมุมมองเพื่อลดการกินสเปกเครื่อง พร้อมระบุว่า Samsung จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับชิป Exynos ตัวใหม่ภายในปีนี้ (แต่ไม่ได้ระบุว่าชิปตัวนี้จะออกภายในปีนี้ด้วยหรือไม่)
Qualcomm เปิดตัวชิประดับกลาง Snapdragon 778G (รุ่นรองของซีรีส์ 7 จากตัวท็อป Snapdragon 780G ที่มาพร้อม Mi 11 Lite 5G) ซีพียูเป็น Kyro 670 แบ่งเป็น Cortex-A78 ความเร็ว 2.4GHz จำนวน 4 แกน และ Cortex-A55 ความเร็ว 1.8GHz อีก 4 แกน
เมื่อนำมาเทียบกับ 780G แล้ว 780G มีแกน Cortex-A78 ความเร็ว 2.4GHz แกนเดียว และ 2.2GHz อีก 3 แกน แต่มีแกนพลังงานต่ำที่ความเร็ว 1.95GHz และผลิตด้วยกระบวนการ 5nm ของ Samsung ขณะที่ Snapdragon 778G ผลิตด้วยกระบวนการ 6nm ของ TSMC
เมื่อปี 2020 เคยมีข่าวลือว่ากูเกิลร่วมพัฒนาชิปกับซัมซุง ใช้โค้ดเนมว่า Whitechapel แล้วเงียบหายไป ล่าสุดมีข่าวลือออกมาอีกรอบว่าเราจะได้เห็น Whitechapel ถูกใช้กับสมาร์ทโฟน Pixel รุ่นถัดไป ซึ่งก็น่าจะชื่อ Pixel 6
เว็บไซต์ 9to5google อ้างว่าเห็นเอกสารภายในของกูเกิล ระบุว่า Pixel รุ่นของปี 2021 สองตัว ใช้โค้ดเนม Raven และ Oriole พัฒนาอยู่บนแพลตฟอร์ม Whitechapel SoC และชิปตัวนี้มีรหัสรุ่นว่า GS101 ซึ่งคาดว่า GS ย่อมาจาก "Google Silicon"
9to5google ยังมองว่าการที่โครงการ Whitechapel เป็นความร่วมมือกับซัมซุงด้วย จึงมีโอกาสสูงที่ชิปตัวนี้จะคล้ายกับ Exynos หรือมีชิ้นส่วนบางอย่างที่เหมือนกัน
Wang Xiang ประธาน Xiaomi ระบุกับผู้ถือหุ้นว่าสถานการณ์ชิปขาดตลาด อาจทำให้บริษัทต้องขึ้นราคาสินค้าในอนาคต ทำให้ผลกระทบตกไปถึงผู้บริโภคได้ในบางกรณี แต่บริษัทจะพยายามบริหารจัดการต้นทุนให้ดีที่สุด พร้อมทิ้งท้ายว่า “เรารู้สึกกดดันบ้าง แต่ยังดูโอเคอยู่” (“We are feeling pressure, but we are looking okay,”)
Qualcomm เปิดตัว Snapdragon 780G ชิปรุ่นอัพเกรดจาก 765G และ 768G ที่เป็น 8 แกนเหมือนเดิม คราวนี้ผลิตด้วยกระบวนการ 5nm (5LPE) ของ Samsung เปลี่ยนแกนหลักจาก Cortex-A76 สองแกน เป็น Coretex-A78 สี่แกน ความเร็ว 2.4GHz หนึ่งแกน กับ 2.2GHz อีกสามแกน และลดแกนประหยัดพลังงาน Cortex-A55 ลงเหลือ 4 แกน จาก 6 แกนในรุ่นก่อนๆ แต่เพิ่มความเร็วจาก 1.8GHz เป็น 1.95GHz
ประเด็น Exynos vs Snapdragon มีมายาวนานหลายปี กับการที่ผลิตภัณฑ์เดียวกัน ราคาเดียวกัน แต่ผู้ใช้กลับได้ประสิทธิภาพต่างกันจากชิปสองรุ่นที่ใช้ มาปีนี้ Samsung ก็ยังใช้ชิปสองรุ่นเหมือนเดิมคือ Exynos 2100 และ Snapdragon 888 แต่ Samsung หันมาใช้แกนประสิทธิภาพสูง Cortex-X1 บนชิป Exynos 2100 แทนแกนประสิทธิภาพสูงตระกูล Exynos ของซัมซุงเองแบบในรุ่นก่อนๆ แล้ว
ปีนี้ Exynos 2100 ใช้แกน Cortex-X1, Cortex-A78 และ Cortex-A55 และมีจำนวนเท่ากับ Snapdragon 888 คือ 1, 3 และ 4 แกนตามลำดับ มีสัญญาณนาฬิกาสูงสุดของแกน X1 อยู่ที่ 2.91GHz แกน A78 ที่ 2.81GHz, A55 ที่ 2.20GHz ใช้จีพียู Mali G78MP14 ความเร็ว 854MHz และผลิตโดยกระบวนการผลิต 5nm ของ Samsung
Asian Economy สื่อเกาหลีรายงานว่าซัมซุงจะเป็นพาร์ทเนอร์กับ Tesla Motors ในการพัฒนาและผลิตชิป Exynos Auto รุ่นใหม่ขนาด 5 นาโนเมตร กระบวนการผลิตแบบ EUV สำหรับการใช้งานกับระบบ Autopilot ของ Tesla
ปัจจุบันชิป Exynos Auto ของซัมซุงอยู่ที่ขนาด 8 นาโนเมตรและ 10 นาโนเมตรเท่านั้น และชิปล่าสุดอย่าง Exynos Auto V9 ก็เพิ่งจะนำมาใช้งานบนรถที่จะออกในปีนี้เท่านั้น ดังนั้นความร่วมมือระหว่างซัมซุงกับ Tesla น่าจะใช้เวลาอีกหลายปี (ในแง่กระบวนการผลิตชิปด้วย) กว่าจะออกเป็นผลิตภัณฑ์จริง
MediaTek เปิดตัว SoC รุ่นท็อปสุดของปี 2021 คือ Dimensity 1200 และ 1100 ที่ต่อยอดจาก Dimensity 1000 รุ่นของปีที่แล้ว
Qualcomm เปิดตัว Snapdragon 870 ไส้ในไม่ใช่ของใหม่อย่าง Snapdragon 888 แต่เป็นรุ่นที่ปรับปรุงจากเรือธงปีที่แล้วอย่าง Snapdragon 865 และ 865+
ซีพียูและจีพียูยังเป็นตัวเดิมคือ Kryo 858 และ Adreno 650 แต่เพิ่มคล็อกเป็น 3.2GHz (865+ อยู่ที่ 3.1GHz และ 865 อยู่ที่ 2.84GHz) ชิปประมวลผล AI เป็น Hexagon 698 โมเด็ม X55 5G รองรับ Wi-Fi6E ส่วนฟีเจอร์และไส้ในอื่น ๆ แทบไม่แตกต่างกันมากนัก (มันคือ Snapdragon 865++)
ซัมซุงเปิดตัว Exynos 2100 ตามสัญญา ภายใต้สโลแกนที่โปรโมทไว้ก่อนหน้านี้ว่า "Exynos is Back"
ในคลิปแถลงข่าวของซัมซุง ได้ยอมรับปัญหาของ Exynos รุ่นก่อนๆ โดยบอกว่าเสียงวิจารณ์เป็นแรงผลักดันให้ไปทำการบ้านมาใหม่ และ Exynos 2100 คือผลพวงจากความพยายามในปีที่ผ่านมา
Qualcomm เปิดตัว Snapdragon 480 5G เป็นชิปเซ็ตสำหรับสมาร์ทโฟนราคาถูกรุ่นเริ่มต้น ในกลุ่มราคาไม่กี่พัน ซึ่งจะทำให้สมาร์ทโฟนในกลุ่มนี้รองรับ 5G แล้ว
เทคโนโลยีการผลิตของ Snapdragon 480 5G อยู่ที่ 8 นาโนเมตร ซีพียูเป็น Kryo 460 8 คอร์ความถี่ 2GHz และจีพียู Adreno 619 ตัวใหม่ พร้อมด้วยชิปประมวลผล AI Hexagon 686 รองรับ Quick Charge 4+ รองรับกล้อง 3 ตัว หน้าจอความละเอียดสูงสุด FHD+ 120fps มีชิป Qualcomm aptX
ขณะที่ชิปโมเด็มเป็น Snapdragon X51 รองรับ 5G คลื่น sub-6GHz และ mmWave ทั้ง SA และ NSA รวมถึงรองรับการทำ Time Division Duplexing (TDD), Frequency Division Duplexing (FDD) และ Dynamic Spectrum Sharing (DSS) รองรับ Wi-Fi 6
หลัง Xiaomi Mi 11 เริ่มวางขาย ก็เริ่มมีผลทดสอบ Snapdragon 888 ออกมากันบ้างแล้ว ช่องยูทูบ Golden Reviewer ที่อยู่ในสิงคโปร์มีโอกาสได้เครื่องมาทดสอบเป็นคนแรกๆ ทำให้เราได้เห็นประสิทธิภาพของ Snapdragon 888 ผ่านเบนช์มาร์คยอดนิยม เช่น Geekbench, GFXBench กัน
ภาพรวมคือ Snapdragon 888 ทำผลงานได้ดีขึ้นจริง โดยอยู่ในระดับทัดเทียมกับ Kirin 9000 และ A13 Bionic แต่ยังตามหลัง A14 Bionic อยู่เพียงรุ่นเดียว หากเทียบกับรุ่นพี่ร่วมค่ายคือ Snapdragon 865+ ก็ถือว่าทำคะแนนได้ดีขึ้นอีกพอสมควร