Eric Adams ว่าที่นายกเทศมนตรีนครนิวยอร์กคนใหม่ (เพิ่งชนะเลือกตั้งแต่ยังไม่เข้ารับตำแหน่ง) ประกาศว่าจะรับเงินเดือน 3 เดือนแรกเป็น Bitcoin เพื่อกระตุ้นให้นครนิวยอร์กเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมเงินคริปโต
นอกจาก Eric Adams แล้ว ยังมีนักการเมืองอีกคนในสหรัฐคือ Francis Suarez นายกเทศมนตรีของเมืองไมอามี ที่ประกาศรับเงินเดือนงวดหน้าเป็น Bitcoin ทั้งหมดด้วยเช่นกัน และทั้งสองคนต่างก็บลัฟกันว่านโยบายเรื่องคริปโตของใครเจ๋งกว่ากัน
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ประกาศเพิ่มรายชื่อ NSO Group และบริษัทด้านความปลอดภัยไซเบอร์ รวม 4 บริษัทเข้าในรายการ Entity List (รายการเดียวกับหัวเว่ย) ส่งผลให้บริษัทสหรัฐฯ ไม่สามารถติดต่อหรือขายสินค้าให้บริษัทเหล่านี้ได้อีก
เฉพาะ NSO Group นั้นเป็นที่รู้จักกันในฐานผู้ผลิตมัลแวร์ Pegasus ที่ขายให้กับรัฐบาลต่างๆ ทั่วโลก โดย Pegasus มีความสามารถในการฝังมัลแวร์ลงสู้เครื่องโดยเหยื่อไม่ต้องคลิกใดๆ จากนั้นสามารถเก็บข้อมูลกลับเซิร์ฟเวอร์รายงานความเคลื่อนไหวของเหยื่อได้อย่างต่อเนื่อง มีรายงานหลายต่อหลายครั้งว่ามัลแวร์ Pegasus ถูกติดตั้งในโทรศัพท์ของนักเคลื่อนไหว, นักข่าว, และนักการเมือง
กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ออกรายงานถึงความเสี่ยงของเงินคริปโตที่ผูกค่ากับค่าเงินของรัฐบาลหรือ Stablecoin ที่ได้รับความนิยมขึ้นอย่างรวดเร็วในปีที่ผ่านมา จนถึงเวลาที่ควรกำกับดูแลวงการนี้ในรูปแบบที่คล้ายกับธนาคารมากขึ้น
Mike Parson ผู้ว่ารัฐมิสซูรีกล่าวหานักข่าวของ St. Louis Post-Dispatch สำนักข่าวท้องถิ่นในรัฐ ว่าเป็นผู้แฮกเว็บ หลังนักข่าวพบว่าเว็บการฝ่ายการศึกษาระดับประถมและมัธยมของรัฐมีข้อมูลส่วนตัวของครูฝังอยู่ในโค้ด HTML จึงแจ้งผู้ดูแลก่อนจะรายงานช่องโหว่นี้ออกมาภายหลังจากผู้ดูแลแก้ไขแล้ว
Google Search บนมือถือเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ สามารถเลื่อนดูผลการค้นหาลงไปได้ยาวๆ โดยไม่ต้องกด See More เริ่มต้นเปิดใช้งานในสหรัฐฯ สามารถใช้งานได้ทั้งแอป Search และเว็บบราวเซอร์บนมือถือ ให้ประสบการณ์การใช้งานคล้ายการเลื่อนหน้าจอดู Instagram และ TikTok
กูเกิลระบุด้วยว่า พฤติกรรมคนค้นหา กดดูผลการค้นหาสูงสุดที่ 4 หน้า ก่อนจะกดเข้าไปยังเว็บไซต์ เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม
IBM ประกาศพนักงานทุกคนในสหรัฐฯ ต้องฉีดวัคซีน COVID-19 ครบโดสภายในวันที่ 8 ธ.ค.นี้ ไม่เช่นนั้นจะระงับการจ่ายค่าจ้าง ทางบริษัทบอกพนักงานด้วยว่า ในฐานะบริษัทคู่สัญญากับรัฐบาล ต้องทำตามคำสั่งเรื่องการฉีดวัคซีนของประธานาธิบดี โจ ไบเดน
Meng Wanzhou ซีเอฟโอของ Huawei และลูกสาวของผู้ก่อตั้งบริษัท ได้รับอนุญาตให้เดินทางกลับประเทศจีนแล้ว หลังถูกจับในแคนาดาตั้งแต่ปลายปี 2018 ตามคำขอของรัฐบาลสหรัฐ
ตามข่าวบอกว่ากระทรวงยุติธรรมสหรัฐทำข้อตกลงกับ Meng Wanzhou และยอมถอนคำข้อควบคุมตัวในแคนาดา รายละเอียดของข้อตกลงคือ Wanzhou จะยอมรับข้อกล่าวหาบางอย่าง แลกกับการพ้นข้อกล่าวหาบางอย่าง และได้รับอิสระให้เดินทางกลับจีนได้ หากเธอปฏิบัติตามเงื่อนไขทั้งหมดที่ศาลแคนาดาสั่ง คดีนี้จะสิ้นสุดลง
สหรัฐฯ ออกมาตรการคว่ำบาตร (sanction) บุคคลใดๆ, บริการแลกเปลี่ยนเงินคริปโต, หรือผู้ให้บริการกระเป๋าเงินคริปโต ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มมัลแวร์เรียกค่าไถ่ นับเป็นมาตรการล่าสุดที่สหรัฐฯ ใช้จัดการกับกลุ่มมัลแวร์เหล่านี้หลังจัดความร้ายแรงของปัญหามัลแวร์เรียกค่าไถ่ว่าเทียบเท่าการก่อการร้าย
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ รายงานถึงคดีของ Muhammad Fahd ชาวปากีสถานที่ถูกตัดสินโทษจำคุก 12 ปีฐานปลดล็อคโทรศัพท์ติดสัญญาของเครือข่าย AT&T ในสหรัฐฯ โดยไม่ได้รับอนุญาตไปถึง 1.9 ล้านเครื่อง มูลค่าความเสียหาย 201 ล้านดอลลาร์
Fahd อาศัยการติดสินบนให้พนักงานช่วยปลดล็อคโทรศัพท์ให้ตั้งแต่ปี 2012 แต่ต่อมาบริษัทก็ปรับปรุงกระบวนการปลดล็อกโทรศัพท์ให้แน่นหนาขึ้น Fahd จึงหันไปจ้างนักพัฒนามาสร้างมัลแวร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ของ AT&T โดยเฉพาะ จากนั้นก็จ้างพนักงานของ AT&T ให้ติดตั้งมัลแวร์เพื่อขโมยรหัสผ่านจากพนักงานคนอื่นๆ เมื่อเข้าถึงเซิร์เวอร์ที่เกี่ยวข้องได้แล้วก็สามารถปลดล็อคโทรศัพท์ได้ทีละมากๆ
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ลงโทษ Marc Baier, Ryan Adams, และ Daniel Gericke อดีตเจ้าหน้าที่ข่าวกรองฐานฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมการส่งออกยุทโธปกรณ์ โดยทั้งสามไปพัฒนาเครื่องมือแฮกคอมพิวเตอร์ให้กับรัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยมีโทษปรับ 1.68 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 50 ล้านบาท
ทั้งสามไปพัฒนาเครื่องมือแฮกสมาร์ตโฟนโดยที่เหยื่อไม่ต้องคลิกใดๆ (zero-click) บนระบบปฎิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัทแห่งหนึ่ง (เอกสารระบุชื่อเพียง Company Two) เครื่องมือแฮก KARMA ถูกใช้งานในช่วงปี 2016 แต่ผู้พัฒนาก็อุดช่องโหว่ได้ภายในเวลาไม่กี่เดือน จากนั้นทีมงานก็พัฒนา KARMA 2 สำเร็จในปี 2017 ผู้พัฒนาก็สามารถแพตช์ได้ในเวลาไม่กี่เดือนอีกครั้งแต่ก็ยังพอใช้งานได้กับโทรศัพท์ที่ยังไม่ได้ติดตั้งแพตช์
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า กระทรวงการคลังของสหรัฐฯ และหน่วยงานอื่น ๆ กำลังเตรียมสอบสวน stablecoins ผ่านสภาดูแลความมั่นคงทางการเงินหรือ FSOC โดยหน่วยงานภาครัฐกังวลว่าสกุลเงินดิจิทัลเหล่านี้ส่วนใหญ่ยังไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแล และเป็นความเสี่ยงต่อระบบการเงินได้ จึงจำเป็นต้องตรวจสอบอย่างจริงจัง
กลุ่มเหรียญ cryptocurrency ที่เรียกว่า stablecoins ถูกสร้างขึ้นมาให้มีมูลค่าผูกกับสกุลเงินทั่วไปซึ่งจะผันผวนน้อยกว่าสินทรัพย์ดิจิทัลต่าง ๆ เช่น USDT, USDC หรือ BUSD ที่ 1 เหรียญมีมูลค่าเท่ากับหรือใกล้เคียงกับ 1 ดอลลาร์ ซึ่งบริษัทที่เป็นผู้พัฒนาเหรียญอย่าง Tether ระบุว่าเหรียญเหล่านี้มีสินทรัพย์หนุนหลัง อย่างเช่นตราสารหนี้บริษัทเอกชนหรือว่าเงินดอลลาร์
เกิดเหตุรถ Tesla ขับชนกับรถฉุกเฉินที่จอดอยู่อีกครั้ง หลังหน่วยงานกำกับดูแลรถยนต์ของสหรัฐฯ (NHTSA) เริ่มสอบสวนระบบช่วยเหลือคนขับหรือ Autopilot ของรถ Tesla จากกรณีคล้ายกันที่เกิดขึ้นถึง 11 ครั้งระหว่างเดือนมกราคม 2018 ถึงกรกฎาคม 2021
กรณีล่าสุดนี้รถ Tesla Model 3 ขับชนทั้งรถตำรวจที่จอดกะพริบไฟ และรถเมอร์เซเดสเบนซ์ที่รับความช่วยเหลือจากตำรวจอยู่ ในรัฐออร์แลนโด้ สหรัฐอเมริกา โดยคนขับระบุว่ารถเปิดใช้งาน Autopilot แต่ระบบกลับตรวจไม่พบรถตำรวจที่จอดอยู่ข้างทาง หากตำรวจสืบสวนแล้วพบว่าฝั่ง Tesla ผิดจริง คนขับรถยังต้องรับความผิดตามปกติ เพราะทุกวันนี้ผู้ควบคุมรถยังต้องรับผิดชอบอุบัติเหตุของรถ Tesla อยู่แม้จะเปิด Autopilot ก็ตาม
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐและสำนักงาน ก.ล.ต.ในสหรัฐตั้งข้อหาเอาผิดอดีตซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท HeadSpin สตาร์ทอัพพัฒนาอุปกรณ์พกพา ด้วยข้อหาให้ข้อมูลหลอกลวงนักลงทุน ปลอมแปลงตัวเลขรายได้
จากการประชุมบิ๊กบอสระหว่างซีอีโอบริษัทเทคโนโลยีกับ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หารือเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์นั้น Google และ Microsoft ให้สัญญาว่าจะลงทุนเพื่อความปลอดภัยไซเบอร์รวมกันแล้ว 3 หมื่นล้านดอลลาร์ในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า โดย Google ลงทุน 1 หมื่นล้าน และ Microsoft ลงทุน 2 หมื่นล้าน
องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ประกาศรับรองวัคซีน Comirnaty (BNT162b2) ที่พัฒนาร่วมกันระหว่าง Pfizer-BioNTech นับเป็นวัคซีนตัวแรกที่ได้รับการรับรองแบบเต็มรูปแบบ โดยช่วงเวลาเกือบหนึ่งปีที่ผ่านมาวัคซีนทั้งหมดที่ใช้งานกันเป็นการรับรองฉุกเฉินเท่านั้น ทาง FDA ระบุว่าการรับรองเต็มรูปแบบนี้น่าจะช่วยสร้างความมั่นใจให้คนที่ยังลังเลให้ไปรับวัคซีนได้
Facebook ประกาศทดสอบ Facebook Reels หรือการคลิปสั้นในแบบ TikTok ในสหรัฐฯ โดยผู้ใช้สามารถสร้าง Facebook Reels ได้จากบนหน้า News Feed และ Facebook Groups หลังเปิดทดสอบไปแล้วในอินเดีย เม็กซิโก และแคนาดา
เครือโรงพยาบาล Memorial Health System ในสหรัฐฯ ถูกโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ตั้งแต่ช่วงวันอาทิตย์ที่ผ่านมา จนทำให้ต้องยกเลิกนัดผ่าตัดและการตรวจทางรังสีทั้งหมด เหลือเพียงห้องฉุกเฉินในเคสร้ายแรงบางกรณีเท่านั้น
สถานพยาบาลในเครือนี้ประกอบไปด้วยคลีนิค 64 แห่ง และโรงพยาบาลอีก 3 แห่ง ให้บริการแถบเวสต์เวอร์จิเนียร์และโอไฮโอ
ตอนนี้สถานพยาบาลในเครือต้องใช้ชาร์ตคนไข้แบบกระดาษไปก่อน และห้องฉุกเฉินต้องปฎิเสธคนไข้ทั้งหมด เหลือเพียง หลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน (STEMI), เส้นเลือกในสมองแตก (STOKE), และอาการบาดเจ็บร้ายแรง (TRAUMA) เท่านั้น
หน่วยงานกำกับดูแลรถยนต์ของสหรัฐฯ National Highway Traffic and Safety Administration (NHTSA) เริ่มสอบสวนระบบช่วยเหลือคนขับหรือ Autopilot ของรถ Tesla หลังพบว่า Autopilot ขับรถชนเข้ากับรถคันอื่นที่จอดอยู่ถึง 11 ครั้ง
ในเอกสารสืบสวนระบุว่า เหตุการณ์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นตอนกลางคืน และเกิดขึ้นทั้งๆ ที่รถคันอื่นเปิดไฟจอดฉุกเฉิน รวมถึงเกิดขึ้นท่ามกลางถนนที่มีไฟ, ป้ายจราจรสัญลักษณ์ให้เปลี่ยนเลน หรือแม้แต่กรวยกั้นไว้อยู่แล้ว
วุฒิสมาชิกสหรัฐ Richard Blumenthal, Marsha Blackburn และ Amy Klobuchar เสนอกฎหมาย Open App Markets Act มีเป้าหมายเพื่อกำกับดูแลตลาดแอปพลิเคชัน โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ Google และ Apple ที่มีอำนาจในการกำหนดเงื่อนไขของตลาดแอป โดยเฉพาะเรื่องการบังคับเงื่อนไขจ่ายเงินในแอป ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ Apple โดนเพ่งเล็งเรื่องผูกขาดในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา
สหรัฐอเมริกายังคงประสบปัญหาประชากรไม่ยอมมาฉีดวัคซีนที่ยังมีจำนวนมาก แต่ละรัฐจึงเริ่มหาวิธีต่างๆ มาดลใจ แทนการบังคับหรือจำกัดสิทธิ์ เช่นล่าสุดรัฐวอชิงตันดีซี นายกเทศมนตรี Mayor Muriel Bowser ประกาศว่ารัฐจะแจก AirPods ให้กับวัยรุ่นอายุ 12-17 ปี ที่ฉีดวัคซีนเข็มแรกกับโรงเรียนที่รัฐคัดเลือก
นอกจากนี้ผู้มาฉีดยังได้ร่วมลุ้นรางวัลที่จะแจก iPad พร้อมหูฟัง 8 รางวัล และทุนการศึกษา 25,000 ดอลลาร์ สองรางวัลทุกสัปดาห์ เริ่มต้นสิ้นเดือนนี้ นอกจากนี้พ่อแม่ที่ต้องพาลูกไปฉีดวัคซีน ยังได้รับบัตรของขวัญ Visa ใช้ลดตอนซื้อของผ่านบัตรเครดิต เป็นจำนวนเงินอีก 51 ดอลลาร์ ต่อเยาวชนหนึ่งคนที่พาไปฉีด
เราเห็นนโยบายเรื่องมลพิษจากรถยนต์ออกมาจากหลายประเทศที่ล้วนไปในทิศทางเดียวกันคือเพิ่มความเข้มงวดด้านการปล่อยมลพิษจากรถยนต์ไปพร้อมกับการบีบให้เปลี่ยนผ่านไปสู่รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น
ล่าสุดมีท่าทีเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมาจากสหรัฐอเมริกาแล้ว โดยประธานาธิบดี Biden ได้ลงนามคำสั่งฝ่ายบริหาร (executive order) ตั้งเป้าว่าภายในปี 2030 รถยนต์ 50% ที่ขายในประเทศต้องไม่ปล่อยมลพิษ (zero-emission) อย่างไรก็ตาม ตัวเลข 50% ที่ Biden ระบุยังคงรวมถึงรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดที่ยังมีเครื่องยนต์อยู่ และนอกจากรถยนต์ไฟฟ้าแล้วก็ยังรวมรถยนต์ fuel cell ด้วย
สหรัฐฯในขณะนี้กำลังรับมือกับโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา ข้อมูลจาก CDC ระบุว่า ไม่ถึงครึ่งของชาวอเมริกันอายุ 18-39 ปีที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบโดส และคนอายุ 12-17 ปี ราว 58% ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน ซึ่งเทียบกับคนอายุมากกว่า 50 ปี ได้ฉีดแล้วถึง 2 ใน 3
ทำเนียบขาวจึงแก้เกมด้วยการจ้างอินฟลูเอนเซอร์วัยรุ่นตาม TikTok, Twitch, YouTube ทำคอนเทนต์กระตุ้นให้แฟนๆ มาฉีดวัคซีนกันเยอะๆ เป้าหมายหลักคือ สื่อสารไปถึงคนอายุน้อย และตอบโต้ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีนที่กำลังท่วมท้นอินเทอร์เน็ตในขณะนี้
เจ้าหน้าที่ตำรวจของรัฐฮาวาย เริ่มทดสอบการใช้หุ่นยนต์หมา Spot ของบริษัท Boston Dynamics (ปัจจุบัน Hyundai เป็นเจ้าของ 80%) มาช่วยทำงาน
การใช้งาน Spot ยังจำกัดเฉพาะพื้นที่คนไร้บ้าน รูปแบบคือใช้สแกนอุณหภูมิร่างกายของคนไร้บ้านว่ามีอาการโควิดหรือไม่ ก่อนเจ้าหน้าที่แจกอาหารในแต่ละมื้อ และใช้หุ่นเข้าไปใกล้คนที่ผลทดสอบเป็นบวก เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้พูดคุย สัมภาษณ์อาการ โดยไม่ต้องเข้าใกล้กันนัก
เจ้าหน้าที่ตำรวจ Joseph O’Neal ที่ดูแลโครงการนี้ระบุว่า ยังไม่มีใครที่เจอหุ่นยนต์ Spot ปฏิบัติงานแล้วบอกว่าน่ากลัว อย่างไรก็ตาม การใช้หุ่นยนต์ Spot ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่อื่นๆ เช่น นิวยอร์ก ก็ถูกวิจารณ์อย่างหนักจนต้องหยุดใช้งาน
จากการที่ CDC หรือ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ ออกคำแนะนำรับมือโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา ให้เริ่มสวมใส่หน้ากากอนามัยอีกครั้งแม้จะได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว ส่งผลให้บริษัทเทคโนโลยีหลายรายที่เริ่มกลับมาเปิดสำนักงานต้องเปลี่ยนท่าทีใหม่
โดยทวิตเตอร์ประกาศปิดสำนักงานที่นิวยอร์กและซานฟรานซิสโก ทั้งที่เพิ่งเปิดให้กลับมาทำงานเมื่อวันที่ 12 ก.ค.ที่ผ่านมา ส่วนกูเกิลประกาศเลื่อนเปิดสำนักงานไปยังเดือน ต.ค. และบอกด้วยว่าพนักงานที่กลับมาทำงานต้องได้รับวัคซีนครบโดส ด้านเฟซบุ๊กประกาศต่อพนักงานง่า คนที่จะกลับเข้ามาทำงานต้องได้รับวัคซีนครบโดสเช่นกัน
จากประเด็นข่าวปลอมบนโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะข่าวปลอมเรื่องวัคซีนโควิด-19 ทำให้บริษัทโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook, Twitter, YouTube เป็นเป้าโจมตีของหน่วยงานรัฐอีกครั้ง โดยรัฐมองว่าเพราะข่าวปลอมทำให้การฉีดวัคซีนให้ประชากรไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
ล่าสุด วุฒิสมาชิกสภาสหรัฐ Amy Klobuchar และ Ben Ray Luján เสนอกฎหมาย Health Misinformation Act เพื่อเอาผิดบริษัทโซเชียลมีเดียที่จัดการข้อมูลปลอมไม่ดีพอ อัลกอริทึมส่งเสริมข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง จากเดิมที่บริษัทโซเชียลเหล่านี้มีกฎคุ้มครองคือ Section 230 บริษัทไม่ต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาที่โพสต์โดยผู้ใช้ Health Misinformation Act ก็มีเป้าหมายที่จะลบกฎคุ้มครองนั้นออกไป